Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 องค์สามของความดี (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 03 ม.ค. 2007, 5:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

องค์สามของความดี
โดย หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

วันอาทิตย์ที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๕


คัดลอกจาก...
http://www.panya.iirt.net

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 03 ม.ค. 2007, 5:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย
ณ บัดนี้ถึงเวลาของการฟังธรรมะปาฐกถา
อันเป็นหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาแล้ว
ขอให้ทุกท่านอยู่ในอาการสงบ ตั้งอกตั้งใจฟังด้วยดี
เพื่อให้ได้ประโยชน์อัน เกิดขึ้นจากการฟัง ตามสมควรแก่เวลา

คนไทยเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา
พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย
เราได้ รับเอาพุทธศาสนามาเป็นสมบัติประจำใจ
เป็นเวลานานกว่าพันปีแล้ว
บ้านเมืองของเรา ได้รับความร่มเย็น
ก็เพราะบารมีของพระพุทธศาสนา
เราจึงเทิดทูนพุทธศาสนาไว้ เสมอด้วยชีวิตของเรา
มีหลายครั้งที่บ้านเมืองตกอยู่ในสภาพคับขัน
แต่โดยที่ชาวไทยและ ประมุขของชาติไทย
ยึดมั่นในธรรมะของพระพุทธองค์
ชาวเราจึงหลุดพ้นจากความเดือดร้อนมาได้
ความเดือดร้อนและความสงบ
เป็นผลของการกระทำของประชาชนภายในประเทศ
สมัยใดประชาชนมั่นคงในศีลธรรม ก็มีแต่ความสุขความสงบ
แต่ถ้าสมัยใดประ ชาชนขาดศีลธรรม
สมัยนั้นก็มีแต่ความทุกข์ความเดือดร้อน

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้


(มีต่อ 1)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 03 ม.ค. 2007, 5:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หลักพุทธศาสนาของเราได้ สอนให้เราเข้าใจว่า
"ความสุข ความทุกข์ของเรา เป็นผลเนื่องมาจากการกระทำของเรา
ไม่มีใครหรือสิ่งใดมาดลบันดาลให้เราเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ได้
ถ้าเราไม่ทำมัน ด้วยตัวเราเอง
ครูบาอาจารย์เป็นแต่เพียงผู้บอกทางให้เท่านั้น
การลงมือเดินเป็นกิจที่เราเองจักต้องทำ"
เมื่อเป็นเช่นนี้ การกระทำความดี จึงเป็นกิจจำเป็นของเราทุกคน


แต่การที่จักทำความดีนั้น
ก็ต้องศึกษาให้เข้าใจเสียก่อนว่า ความดีคืออะไร?
หลักที่ ควรจำง่ายๆ ในเรื่องความดีก็คือ
สิ่งที่ทำเป็นประโยชน์แก่ตน สิ่งที่ทำเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
ท่านผู้รับรองว่าเป็นคนดี หลัก ๓ ประการนี้
เป็นส่วนประกอบให้เป็นความดี
ฉะนั้น ในเวลาจะกระทำอะไรเพื่อให้เป็นความดี
ก็ควรพยายามทำให้ประกอบด้วยหลัก ๓ ประการนี้
ขาดอันใดอันหนึ่งเสียมิได้ เหมือนก้อนเส้า ๓ ก้อน
ขาดก้อนหนึ่งหม้อแตก หลักนี้ก็เป็นเช่นนั้น
คนเราส่วนมากมักเป็นคนเห็นแก่ประโยชน์ตน
ไม่ค่อยได้คิดถึงประโยชน์ของคนอื่น
ถ้าจะทำสิ่งใด ก็มุ่งแต่จะเอาประโยชน์ตนเป็นประมาณ
ไม่ได้คิดว่าคนอื่นจักเสียผล
คนเช่นนี้เป็นคนจำพวกที่ถือตนเป็นใหญ่
คิดเห็นเข้าข้างตนถ่ายเดียว เป็นคนเอาเปรียบสังคม
เพราะมุ่งหาและเก็บไว้เพื่อตนเองถ่ายเดียว
ทำให้วัตถุอันเป็นของกลาง สำหรับคนทั่วไปจักได้ใช้
และของเหล่านั้นมีเพียงพอสำหรับทุกคนจะหากิน หาใช้
แต่เกิดการไม่พอขึ้นก็เพราะคนบางคนโลภมาก
แสวงหาและเอามาเพื่อตนถ่ายเดียว
การกระทำในรูปเช่นนี้ เป็นการเบียดเบียนประโยชน์ของผู้อื่น
เป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรม จึงไม่เป็นความดี
เมื่อเราจะแสวงหาประโยชน์แก่ตน
ก็อย่าให้เป็นการทำลายประโยชน์ของผู้อื่น
ให้เป็นคนคิดเห็นอกเขาอกเรา
เพราะการเป็นอยู่ในโลกเป็นการเป็นอยู่แบบรวมกัน
ผลประโยชน์ทุกอย่างต้องอิงอาศัยกัน
ความสุขจึงเกิดขึ้นได้ประโยชน์ตน และประโยชน์ท่าน
จึงต้องมีส่วนสำพันธ์กันอยู่เสมอ
แต่ถ้าว่าในบางกรณี แม้การกระทำนั้นได้ประ โยชน์ทั้ง ๒ ฝ่ายแล้ว
ก็ยังไม่แน่นักว่า จักเป็นความดีเสมอไป
เช่นว่า นาย ก ทำ การต้มเหล้าขาย
เขาคิดว่าการต้มเหล้าขายของเขาเป็นการได้ประโยชน์ตน
ประโยชน์ผู้อื่นก็ไม่เสีย
เพราะมีคนจำนวนมากมาซื้อเหล้าจากเขาบ้าง
มาพลอยร่วมวง เปล่าๆ บ้าง คงจะเป็นการดีแล้ว
แต่ยังไม่ดีเพราะผู้รู้ทั้งหลายติเตียน
การกระทำเช่นนั้นว่า เป็นการผิดธรรม
เป็นการผิดต่อกฏหมายของบ้านเมือง ผู้รู้ดีเขาติกันทั้งนั้น
ฉะนั้นการกระทำเช่นนั้น จึงเป็นการเสียใช้ไม่ได้
ต้องมีองค์ที่สาม คือ ผู้รู้รับรองว่า ดีด้วย
คำว่าผู้รู้ นั้นหมายถึงผู้รู้เหตุผลอย่างแท้จริง
ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ เราก็ ยอมรับว่า
ผู้รู้อย่างแท้จริงก็คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แม้พระองค์ไม่มีชีวิตอยู่ก็จริง
แต่คำสอนยังคงมีปรากฏตัวแทนพระองค์อยู่
ฉะนั้น เราจักทำอะไรลงไป
ก็ต้องเอาหลักธรรมเป็นแว่นแก้วส่องดูเสียก่อนว่า
การกระทำเช่นนั้นจักเป็นการขัดต่อคำสอนของพระองค์หรือไม่
ถ้าเห็นว่าขัดกันก็ไม่ควรทำ
ถึงแม้ว่าการกระทำนั้นนำผลมาให้มากหลาย
เพราะผลที่เกิดจากการกระทำชั่วๆ
นำความทุกข์มาให้แก่ผู้กระทำ
พระพุทธองค์ จึงตรัสเตือนว่า ใค่รครวญก่อนจึงทำดีกว่า
เพราะสิ่งที่ทำลงไปแล้วจักทำคืนอีกไม่ได้
การกระทำที่จักนำความเดือดร้อนมาให้
เป็นการกระทำที่ไม่ดีเป็นพระโอวาท ผู้รักตนควรกกระทำโดยแท้

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้


(มีต่อ 2)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 03 ม.ค. 2007, 5:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีคำถามแทรกเข้ามาว่า ชาวโลกมีความต้องการอะไร?
คำตอบพึงมีว่า ทุกคน ต้องการมีความสุข ความเจริญ
ไม่มีใครต้องการความทุกข์ ความเสื่อม
แต่ทำไมทั้งๆ ที่ ทุกคนต้องการความสุข ความเจริญ
เขายังไม่ได้รับสิ่งที่ต้องการสมหมาย
กลับได้รับ ความทุกข์ ความเสื่อมเสมอ
คำตอบในเรื่องนี้ก็มีอยู่ว่า เพราะเขาขาดคุณธรรมบางประการ
อันเป็นสิ่งสนับสนุน ให้เขามีความสุขสมหมาย

ในปัญจกนิบาต อังคุตตรนิบาต มีคำกล่าวไว้ว่า
คนอยู่เป็นทุกข์เพราะเหตุ ๕ ประการ คือ
๑ ไม่มีความเชื่อ
๒ ไม่มีความละอาย
๓ ไม่มีความเกรงกลัว
๔ มีความเกียจคร้าน
๕ มีความรู้ชั่ว


ในทางธรรมสอนให้เรามีความเชื่อในทางที่ชอบที่ถูก
เป็นความเชื่อที่อาจนำผู้ปฏิบัติตามไปสู่ความพ้นทุกข์ได้
แต่มีคนจำนวนไม่ใช่น้อย ขาดความเชื่อในรูปนั้น
เมื่อไม่มีความเชื่อเขาก็ขาดความรู้สึกผิดชอบ
อันเป็นปัจจัยสำคัญของการทำความดี
เพราะ ความรู้สึกผิดชอบ เป็นความคิดที่เกิดขึ้น
คอยสะกัดมิให้กระทำความชั่ว
และบอกให้รู้ได้ทัน ที่ว่า สิ่งที่ตนกระทำอยู่นี้ เป็นสิ่งไม่ดี
เป็นการฝึกต่อมในธรรมโดยแท้
ขณะใด ขาดความรู้สึกแบบนี้แล้ว
ก็อาจก่อให้เกิดการกระทำที่ผิดและเสียหายได้ง่าย
เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคน
ควรเพาะนิสัยผิดชอบให้เกิดแก่ตน
การกระทำโดยวิธีนี้ ก็เป็นการปฏิบัติธรรมแบบหนึ่งเหมือนกัน


มีคนบางคนเข้าใจว่า การกระทำความดี
หรือ ปฏิบัติกิจศาสนานั้น เป็นเรื่องของคนแก่
ส่วนคนหนุ่มสาวนั้นยังไม่จำเป็นก่อน
ความเข้าใจในรูปนี้ เป็นความเข้าใจที่ผิดพลาด
ธรรมะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทุกเพศ ทุกวัย
เหมือนกับอาหารสำหรับหล่อเลี้ยงร่างกาย
เป็นสิ่งจำเป็นแก่ทุกคน
ถ้าร่างกายของใคร ขาดอาหาร ก็คงถึงแก่ความตาย
ธรรมะเป็นอาหารหล่อเลี้ยงใจ
ใจของใครขาดธรรมะ เขาก็คงเป็นอยู่แบบคนที่ตายแล้ว
การตายในขณะเป็นอยู่ เป็นการตายที่ร้ายแรงกว่า
การตายของคนตายจริงๆ
เพราะคนตายจริงๆ ไม่ให้โทษแก่ใคร
แต่คนตายยังเป็นอยู่ เพราะขาดคุณความดีนั้น เป็นภัยต่อสังคมมาก
จึงเป็นตายที่น่ากลัวโดยแท้
ชีวิตที่ต้อง การอยู่อย่างคนเป็นจึงต้องมีธรรมะประจำใจ


ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้


(มีต่อ 3)
 


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 03 ม.ค. 2007, 5:58 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 03 ม.ค. 2007, 5:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมะเป็นเกราะป้องกันมิให้เราตกไปสู่ความชั่ว
ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

อีกประการหนึ่งการกระทำความชั่ว ย่อมเกิดแก่คนทุก เพศทุกวัย
ถ้าหากเขาไม่มีเครื่องห้ามเครื่องกันแล้ว
ความลำบากก็เกิดแก่เขาได้ง่าย
โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวจิตใจกำลังคึกคะนองร้อนแรง
ถ้าเอนไปในทางดีก็ดีนัก
ถ้าเอน ไปในทางชั่วก็ชั่วนัก
แต่ส่วนมากมักเอนไปในทางที่ชั่ว
เพราะธรรมชาติของใจคน มี ปกติเดินไปในทางต่ำอยู่เสมอ
ยิ่งขาดการห้ามด้วยแล้วก็ไปกันใหญ่
ประดุจม้าคะนองที่ ขาดสารถีบังคับ
ม้าที่กำลังคะนองและพยศ
ต้องการมีบังเหียนและควานม้าผู้จับบังเหียน ไว้ฉันใด
คนหนุ่มสาวที่กำลังคะนอง ก็ควรที่จักมีสิ่งสำหรับบังคับไว้ฉันนั้น
ก็สิ่งนั้นไม่มีอะไร ดีไปกว่าธรรมะในทางศาสนา
จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่หนุ่มสาวในสมัยนี้จักนำตน
เข้าหาพระกันเสียบ้าง
ไม่อย่างนั้นมารร้ายจักจูงท่านไปสู่ทางร้าย
ซึ่งมีตัวอย่างปรากฏอยู่อย่างชุกชุมในสมัยนี้
อันเป็นผลจากการขาดความสนใจในธรรมะ
เป็นคนนับถือศาสนากันแต่เพียงชื่อเท่านั้น
คนหนุ่มสาวยังมีหวังที่จะอยู่ไปในโลกอีกนานปีมากกว่าคนแก่
และจักมีโอกาสได้ กระทำความดีแก่โลกมากขึ้นไปอีก
ความจำเป็นในการแสวงหาหลักทางใจจึงมากกว่า
คนแก่เป็นธรรมดา คนไม่มีหลักศาสนาในใจ
เป็นคนปราศจากเครื่องยึดเหนี่ยว
เขาอาจทำผิดทำเสียเมื่อไรก็ได้
ในเรือนจำนักโทษ ส่วนมากเป็นคนหนุ่ม คนแก่มีแต่น้อย
นี้ก็เนื่อง จากคนแก่ท่านมีธรรมะรั้งใจ
ส่วนคนหนุ่มขาดคุณธรรมรั้งใจ จึงก่อกรรมทำเข็ญได้มาก

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้


(มีต่อ 4)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 03 ม.ค. 2007, 5:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าหากท่านไม่อยากเป็นทุกข์ จงหันเข้าหาธรรมะกันเถอะ
เพราะถ้าไม่เข้าหาธรรมะ อธรรมก็จะเข้าจับใจของท่าน ธรรมกับอธรรมให้ผลต่างกัน
คือ ธรรมจะนำตนไปสู่ สถานที่ดี
อธรรมนำตนไปสถานที่ชั่ว
ท่านชอบอย่างไหนก็เลือกเอาเอง
นึกว่าท่านคงไม่เลือกอธรรมแน่ๆ
เพราะใจของท่านยังปรารถนาความสุขความเจริญอยู่
จึงหวังว่า ท่านคงเลือกเอาธรรมะเป็นฝ่ายดี
เป็นฝ่ายที่ทำให้ท่านเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์


การที่เราเรียกกันว่ามนุษย์นั้น
ย่อมหมายถึงร่างกายและจิตใจอันอาศัยกันอยู่
ดังคำ ว่า กายกับใจประกอบกันเข้า
คำว่า "คน" จึงเกิดขึ้น
ถ้ามีกายไม่มีใจ หรือมีแต่ใจไม่มีกายก็หมดความเป็นคน
ทั้งสองอย่างต้องอาศัยรวมกันเป็นอยู่เสมอ
ในการบำรุงจึง ต้องบำรุงทั้งสองอย่าง
แต่คนเราส่วนมากมักพอใจบำรุงแต่ส่วนร่างกาย
หาสนใจการบำรุงใจไม่
มิใช่แต่ได้บำรุงเท่านั้น ซ้ำร้ายยังทำลายใจกันเสียด้วย
การทำลายใจของตนก็คือ การห่างเหินจากธรรมะนั่นเอง
ถ้าเราบำรุงกายด้วยอาหารการกิน
อาบน้ำ ตกแต่งอย่างไหนแล้ว
เราก็ต้องบำรุงใจด้วยอาหารและน้ำฉันนั้น
อาหารของกายเป็นคำข้าว
อาหารของใจเป็นธรรมะ ธรรมะนี่แหละเป็นอาหารของใจ
ถ้าร่างกายอ้วนพี เพราะได้รับการบำรุงอย่างดีแล้ว
ก็ควรบำรุงใจให้เป็นอย่างนั้นด้วย
ใจที่ขาดการบำรุงเป็นใจที่ซูบผอม ขาดกำลังสำหรับต่อสู้
เมื่อขาดกำลังย่อมแพ้ข้าศึกได้ง่าย
ข้าศึกทางกายได้แก่โรคภัยนานาชนิด
ข้าศึกทางใจได้แก่ความชั่วทำใจให้อ่อนแอนั่นเอง
ความชั่วที่เรียกว่า กิเลสบ้าง มารบ้าง ซาตานบ้างก็มี
และถ้าเอาชนะไม่ได้ก็ต้องพ่ายแพ้ต่อมัน
ความทุกข์ก็เกิดขึ้นดังคำที่ว่า
การพ่ายแพ้เป็นความทุกข์
ทุกข์เพราะตกอยู่ในอำนาจของมารร้าย
ที่คอยดึงไปสู่หลุมอบาย ตกเป็นทาสของมัน

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้


(มีต่อ 5)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 03 ม.ค. 2007, 6:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า การเป็นทาสเป็นทุกข์หนัก
แต่ถ้าเรามีหลักในทางใจ มีอาหารหล่อเลี้ยง
มีกำลังสกัด ต่อต้าน โดยวิธีการเข้าหาการฟังธรรมะ
สนทนาธรรมะ คิดค้นธรรมะให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
แล้วลงมือปฏิบัติธรรมะนั้นๆ ให้ใจอ้วนพีมีกำลังมั่นคง
ไม่มีข้าศึกใดๆ มาย่ำยีได้เลย
เมื่อไม่มีข้าศึกมารบกวน
ก็นอนหลับอย่างเป็นสุข
ในหมู่ของคนที่เป็นสุขและเป็นทุกข์ทั้งหลาย
ธรรมะย่อมรักษาคุ้มครองผู้ปฏิบัติธรรมอย่างนี้แหละหนอ
มีพุทธภาษิตกล่าวไว้ว่า
"ธมฺมกาโม ภวํ โหติ - ผู้ใคร่ธรรมเป็นผู้เจริญ"
ใน ทางตรงกันข้าม ผู้ไม่ใคร่ธรรมก็เป็นคนเสื่อมแน่
ความใคร่ธรรม ก็คือ ความอยากได้ในทางดี


ตรงกันข้ามกับความชังธรรม
อันหมายถึงความไม่ปรารถนาในทางดีเสียเลย
ภาษิตไทยโบราณ "รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา"
จั่วเป็นของสูง เสาเป็นของต่ำและหนักด้วย
นับว่าเป็นคำเตือนใจได้อย่างดี
ให้พยายามทำตนเป็นคนเบากันเถิด
อย่าเป็นคนหนักด้วยบาปอกุศลกันเลย
คนจักเบาใจได้เพราะการกระทำในทางดี
ทางดีเป็นทางธรรม
เป็นทางของพระที่ได้ประกาศไว้เป็นตัวศาสนา
ศาสนาเป็นสิ่งจำเป็นแก่ชีวิต
จึงเป็นการสมควรที่พวกเราจักเปลี่ยนใจ
มีเดินทางของศาสนา อันเป็นทางที่สงบและ ปลอดภัย
การเดินก็เช่นเดียวกัน อย่ามัวให้ผลัดวันประกันพรุ่งอยู่เป็นอันขาด
เมื่อรู้สึก ตนต้องการธรรมแล้ว ก็จงลงมือทำทันที
เพราะพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า
"ถ้าหากจะทำความดีจงทำทันทีอย่าช้าไว้เป็นอันขาด
เพราะการทำความดีช้าๆ อาจตกไปสู่บาปเสีย"
อีกแห่งหนึ่งตรัสสอนไว้ว่า
"ความเพียรควรทำเสียแต่วันนี้ อย่าผลัดไว้ค่อยทำเลย
เพราะ ใครจักรู้ได้ว่า ชีวิตจักตายในวันนี้"
คิดอย่างนี้เป็นการคิดเพื่อเตือนใจให้เข้าหาความดี
คนไทยโบราณก็ได้สอนไว้ว่า "น้ำขึ้นให้รีบตัก"
น้ำลงจักไปตักได้ที่ไหน
ฝรั่งสอนว่า "จงตีเหล็กเมื่อยังร้อน จงดายหญ้าเมื่อแดดออก"
เหล่านี้เป็นคำเตือนใจให้รีบกระทำในสิ่งที่ ควรกระทำ
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งอันเกี่ยวกับใจเป็นงานรีบด่วน
ช้านิดเดียวไม่ได้ จึงควรมีสำนึกในเรื่องนี้ แล้วออกเดินทางทันที
ทางได้เปิดไว้แล้วสำหรับทุกคน
เป็นทางตรงไปสู่ความพ้นทุกข์

ทางที่กล่าวถึงก็ คือ การเดินทางกาย วาจา ใจ
ตามหลักพระพุทธศาสนา มีอยู่ทางเดียวเป็นทางเอก
อันประกอบด้วยองค์แปดประการ เป็นทางที่เป็นไปเพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย
เป็นไปเพื่อความดับสนิทของความโศกร่ำไรรำพัน
เพื่อความดับสนิทของทุกข์โทรมมนัส
เป็นทางที่พระบรมครูของเราทรงค้นพบด้วยพระปรีชาสามารถ
และทรงเดินตามนั้น จนกระทั่งพ้นทุกข์ได้สมความปรารถนา
มิใช่เดินแต่ลำพังพระองค์ยังทรงมีพระเมตตาแก่ชาวโลก
ผู้ตกอยู่ในกองทุกข์ ได้ทรงสอนให้เขาได้เข้าใจหนทางนั้น
และทรงเร่งเร้าให้ทุกคนเดินตามทางนั้น
เป็นทางที่ทำให้ผู้เดินตาม
เปลี่ยนจากสภาพของปุถุชนไปเป็นพระอริยเจ้า
เป็นทางที่ทำให้โลกเปลี่ยนแปลง จากความทุกข์ไปเป็นทางสงบสุข
เป็นทางที่ให้ประโยชนแก่ทุกคนทุกสมัย


ตราบใดที่ชาวโลกยังเห็นว่า ทางนี้เป็นทางถูก
และพยายามเดินตามทางนี้อยู่แล้ว
โลกจึงไม่ว่างจากพระอรหันต์
ทางนั้นอันประกอบด้วยองค์แปดนี้คือ

๑.สมฺมาทิฏฺฐิ - ความเห็นชอบ
๒.สมฺมาสงฺกปฺป - ความคิดในทางที่ชอบ
๓.สมฺมาวาจา - การพูดในทางที่ชอบ
๔.สมฺมากมฺมนฺต - การกระทำที่ชอบ
๕.สมฺมาอาชีว - การเลี้ยงชีวิตชอบ
๖.สมฺมาวายาม - การทำความเพียรชอบ
๗.สมฺมาสติ - การระลึกในทางที่ชอบ
๘.สมฺมาสมาธิ – ความตั้งใจมั่นชอบ

มรรคหรือหนทางอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้
เป็นทางสายกลางที่นำคนผู้เดิน ตามไปสู่ความพ้นทุกข์
ที่อิงทางนี้ก็ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง
คือ สัมมาทิฏฐิและ สัมมาสังกัปปะ เป็นตัวปัญญา
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ส่วนนี้เป็นศีล
สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ส่วนนี้เป็นสมาธิ
รวมความก็ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
อันเป็นบทเรียน ๓ ประการ ของพระพุทธศาสนานั่นเอง


ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้


(มีต่อ 6)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 03 ม.ค. 2007, 6:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต่อไปจักได้พิจารณาถึง มรรคเหล่านี้ไปตามลำดับ
พอเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนให้พ้นจากทุกข์

๑. สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นในทางที่ชอบ
ทิฏฐิ แปลว่าความคิดเห็น ความเข้าใจ
ความเป็นกลางๆ ไม่ดี ไม่ชั่ว
แต่ในภาษาไทยมักหมายถึงความชั่ว
เช่นพูดว่า คนนั้นทิฏฐิแรงมาก
ต่อเมื่อได้ใส่คำเข้าข้างหน้า เช่น
มิจฉาทิฏฐิ ก็หมายถึงความเห็นผิด
สัมมาทิฏฐิ ก็หมายถึงความเห็นถูก
ที่เอาคำอื่นมาใส่ข้างหลัง ทำให้เป็นคุณบทไปก็มี
เช่น ทิฏฐิสัมปันโน-ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
ทิฏฐิวิปันโน-วิบัติด้วยทิฏฐิ ในที่นี้มุ่งกล่าวถึงสัมมาทิฏฐิ
อันเป็นทางประกอบของทางสายกลาง
เรื่องของความคิดเห็น หรือความเข้าใจ
เป็นมูลฐานอย่างสำคัญของการกระทำ
ถ้าผู้ใดมีความเห็นถูกตรงแล้ว
การกระทำเป็นไปในทางที่ดี
ผู้มีความเห็นผิด การกระทำก็เป็นไปในทางชั่วเสีย
ข้อนี้เป็นความจริงโดยแท้

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้


(มีต่อ 7)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 03 ม.ค. 2007, 6:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลองสังเกตเพื่อนของท่านก็พอเห็นได้
เช่น ถ้าเขามีความเห็นว่า การดื่มเหล้าเป็นของดี
เป็นเครื่องสมานมิตร เขาจักเป็นนักเลงเหล้า
ที่ดื่มได้อย่างไม่อั้นที่เดียว
ถ้าใครไปชวนให้เขาเลิก
เขาอาจเห็นเป็นความคิดที่เหลวไหลไปเลย
คนไหนเห็นว่าการไม่ โกงไม่ร่ำรวย
เขาก็ต้องเดินตามความเห็นของเขา
นักศาสนาที่มีความเห็นในหลักใด ก็พอใจในหลักนั้น
ทำตามความคิดเห็นนั้นๆ เสมอไป
จึงเห็นได้ว่า ความเห็นก่อให้เกิดการกระทำทั้งส่วนดี และส่วนเสีย
การกระทำทั้งมวลของบุคคลและจากความเห็นของเขา
ความเห็นของแต่ละบุคคล
การรวมกันเข้าก็เป็นความเห็นสาธารณ และการกระทำ
ให้เกิดจากความเห็นแบบนั้น
อันเป็นไปในทางที่ดีบ้าง ชั่วบ้าง
สุดแล้วแต่พื้นฐานของความเห็น
โดยเหตุนี้แหละเจ้าลัทธิทุกฝ่ายไม่ว่าในด้านไหน
ได้ทำการชักจูงให้ประชาชน มีความโน้มเอียงมาตามความเห็นฝ่ายตน
โดยบอกให้เห็นว่า คนที่มีความเห็นแบบนี้
ย่อมเป็นคนก้าวหน้างอกงาม อยู่กันฉันท์พี่น้อง
เมื่อชักจูงมากๆ เข้าก็เกิดความสนใจศึกษา
เห็นว่าดีก็รับไว้ อันการชักจูงนั้นเขา
อาจทำของดำให้เป็นของขาว ของขาวให้เป็นของดำ
เพื่อยั่วใจของผู้ฟังก็ได้

ในทางด้านศาสนาก็มีความเห็นต่างๆกัน
ใครมีความเห็นแบบใดก็พูดชักจูงคนให้คล้อยตามความเห็นในแบบนั้น
ที่สุดก็มีหลายแบบหลายความเห็น
ต้องถกเถียงกันเป็นการใหญ่
ทำไมจึงถกเถียงกัน เพราะเขาเป็นผู้ยึดถือในความเห็นของตน
ตนต่างก็ถือว่า อันนี้จริง อันอื่นหาจริงไม่
เมื่อไม่ยอมกันก็เถียงกัน การยึดมั่นในความเห็น เป็นกิเลสแบบหนึ่ง
ท่านเรียกว่า ทิฏฐุปาทาน - การยึดมั่นในความเห็น
การยึดถืออย่างนี้ก็เป็นทุกข์ เหมือนกัน
ทุกข์เพราะคิดว่า คนอื่นไม่เห็นเหมือนตัว
ทุกข์ว่าน่าสงสารเขาที่เป็นคนเห็นผิด
แต่เจ้าตัวเองหาได้รู้ไม่ว่าตนเองก็เป็นคนเจ้าทิฏฐิ
เห็นอะไรผิดอยู่เหมือนกัน

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้


(มีต่อ 8)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 03 ม.ค. 2007, 6:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ครั้งหนึ่งมีพราหมณ์มาถามพระพุทธองค์ว่าพระองค์มีทิฏฐิอย่างไร?
ตรัสตอบว่า "ตถาคตไม่มี ทิฏฐิ"
เพราะไม่ทรงยึดมั่นในอะไรๆ
ทรงใช้ความรู้ความเห็นเป็นทางเดิน
เหมือนคนใช้แพข้ามฟาก หาได้ทรงติดในแพนั้นไม่
จึงทรงกล่าวตอบอย่างนั้น


ทิฏฐิหรือความเห็นผิด มีอิทธิพลเหนือใจคนเหนือสังคมอยู่มาก
จึงเป็นการจำเป็นที่ ต้องมอบความเห็นในทางที่ชอบไว้แก่เขา
ตั้งแต่ใจของเขายังว่าอยู่ ยังไม่ได้รับอะไร ไว้ว่าเป็นลัทธิของตน
การทำงานอย่างนี้เป็นงานของผู้นำในครอบครัว
ที่ให้การศึกษาแก่เด็กของตนอย่างถูกต้อง
เพื่อให้เขารับไว้เฉพาะแต่สิ่งที่ถูกต้องอย่างเดียว
ไม่ว่าในด้านศาสนาการเมือง ลัทธิเศรษฐกิจ
งานอย่างนี้เป็นงานที่ต้องทำอย่างรีบด่วน
ช้าไว้ ไม่ได้ เพราะเรื่องของใจคนเป็นเรื่องที่ช้านาทีเดียวก็เสียหาย
จึงต้องพร้อมกันให้ ความเห็นถูกแก่เขา
เราจะเห็นได้ในสงครามโลกครั้งที่สอง
ฮิตเล่อร์ประมุขของประเทศเยอรมัน
ได้ทำการชักจูงใจชนเยอรมันให้เกิดความเชื่อว่า
ชนเยอรมันเท่านั้นเป็น อารยัน เป็นผู้สมควรจักครองโลก
นักรบเยอรมันเป็นนักรบไม่รู้จักคำว่าแพ้
พูดเสมอๆ ในวิทยุกระจายเสียง ในหนังสือพิมพ์ในบทละคร
ในการสอนในโรงเรียนตลอดถึงในครอบครัว
เป็นการฉีดความเห็นอย่างนี้เข้าสมองของเด็กหนุ่มเยอรมัน
ผลที่สุด แถวทหารกล้าตายก็พร้อมพรัก
เยอรมันทั้งชาติได้เข้าสู่สงคราม และได้รับความแหลกลาญไปหมด
ความเห็นที่กล่าวในสมัยผู้นำมีอำนาจ
ก็ยังคงถูกอยู่ แต่มิใช่ถูกโดยธรรม ถูกตามความเห็นของเขาเท่านั้น
ความถูกแบบนี้เป็นความถูกที่กลับกลายได้
เป็นความถูกที่ไม่ถูกแท้จริง
ความเห็นที่มิใช่เป็นความจริงแท้ขั้นเด็ดขาด
ซึ่งเรียกว่า อันติมติ แล้วยังมี การกลับกลายได้เสมอ

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้


(มีต่อ 9)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 03 ม.ค. 2007, 6:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมัยหนึ่งเขาว่าโลกแบน ดวงตะวันเป็นเทวดาชักรถเทียมม้า
ส่องแสงสว่างแก่โลก พวกเดินเรือไม่กล้าไปไกลๆ
เพราะกลัวจะตกออกไปนอกโลก
แต่ต่อมาเขาเห็นกันใหม่ว่าโลกกลม
โลกเดินรอบตัวเอง และเดินรอบดวงอาทิตย์
อาทิตย์เป็นไฟดวงใหญ่เวลานี้ชาวโลกมีความเข้าใจกันเช่นนั้น
แต่ความเห็นแบบนี้ก็มิได้ เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์อย่างแท้จริง
เป็นความเห็นด้านโลกเท่านั้น
หาเป็นความเห็นที่ ควรจะเอามาเถียงกันไม่
ในฐานะที่เราท่านทั้งหลายเป็นชาวพุทธ
ลองมาศึกษาความเห็นตามหลักพุทธธรรม
เป็นความเห็นที่เที่ยงแท้เป็นความเห็นที่พิสูจน์ได้ด้วยใจของตนได้
เป็น ความจริงที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง
ถึงแม้สิ่งทั้งหลายในโลกเปลี่ยนไป ความจริงหาได้เปลี่ยนไปไม่
ก่อนที่เราจะเข้าถึงความเห็นที่ถูกต้อง-จริง-แท้ ของพระพุทธองค์
เราลองมาพิจารณาถึงความเห็นของคนในยุคของพระพุทธองค์
กันสักเล็กน้อย คนในยุคก่อน แต่พระพุทธเจ้าบังเกิดเล็กน้อย
หรือนานไปมาก จนกระทั่งถึงเวลาพระพุทธเจ้าแล้ว
เขามีความคิดเห็นแตกต่างกันเป็นอย่างมากทีเดียว
ในเรื่องเกี่ยวกับการเกิด การตาย การได้รับความทุกข์สุข
ตลอดถึงเรื่องโลกที่เขาอาศัยอยู่นี้ด้วย
เขามีความเชื่อแปลกๆ ตามความคิดเห็นของเขา
และปฏิบัติตามความคิดเห็นของเขา
ประการต้นในเรื่องเกี่ยวกับโลกและชีวิต
เขาถือว่าโลกนี้มีผู้สร้าง ผู้รักษา
ผู้สร้างเป็นใหญ่กว่าอะไรทั้งหมด ตัวผู้สร้างเองเป็นผู้เกิดมาเอง
เกิดจากความสิ่งว่างเปล่าเป็นตัวขึ้นแล้วสร้างอะไรต่ออะไร
ให้ยุ่งไปหมด บางพวกถือผู้สร้างองค์เดียว
บางพวกถือหลายองค์ ความเห็นก็แตกแยกออกไป
เลยเป็นเหตุให้ทะเลาะกันยุ่งไปหมด
เพราะความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องความสุข-ทุกข์
บางพวกว่าสุขทุกข์เกิดจากภายนอก
เช่นเทวดาดลให้เป็นไป ถ้าเทวดาโกรธก็ทำให้เป็นทุกข์
ถ้าเทวดาพอใจก็ช่วยให้เป็นสุข
ความพอใจหรือไม่พอใจของเทวดาอยู่ที่การประจบกราบไหว้
เพียงพอหรือไม่เพียงพอ
ฉะนั้น เขาจึงทำการบูชาเทวดาเป็นการใหญ่
ฆ่าสัตว์ ฆ่าคน บูชาเทวดา เป็นการกระทำที่อยากได้ความสุข
แต่ให้ผู้อื่นสัตว์อื่นเป็นทุกข์ เป็นการกระทำที่ดีหรือไม่
ลองคิดดูก็พอมองเห็น

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้


(มีต่อ 10)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 03 ม.ค. 2007, 6:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในเรื่องความตายบางพวกถือว่าตายแล้วเกิด
คนเป็นอะไรก็เกิดเป็นอย่างนั้น
บางพวกถือว่าคนตายแล้ว
แต่มีการเปลี่ยนแปลงไปได้สุดแล้วแต่กรรม
บางพวกว่าตายแล้วหมดเรื่องกัน
แต่บางพวกว่าหมดแต่เพียงบางสิ่ง
บางสิ่งยังคงเหลืออยู่
บางพวกว่าร่างกายกับวิญญาณอันเดียวกัน
บางพวกว่าคนละอัน การปฏิบัติจึงแตกต่างกัน
ตามความเห็นของตน
ตนทำให้สถานการณ์ทางศีลธรรม
และปรัชญาอยู่ในสภาพที่ยุ่งยากพอใช้ทีเดียว
แม้ในสมัยนี้ซากความเห็นต่างๆ ก็ยังมีอยู่
เราจึงเห็นการปฏิบัติของโยคีเป็นไปในรูปแปลกๆ
เช่นบางพวกไม่นุ่งผ้าเลย
บางพวกนอนกลางดินเหมือนสัตว์เดรัจฉาน
บางพวกก็กินอาหารอย่างสกปรก
ดูแล้วเป็นสภาพที่น่าทุเรศและน่าสงสารเขา
ก็โดยเข้าใจ ว่าจักเป็นทางพ้นทุกข์ได้สมหมาย
นี่เป็นความเห็นที่พระบรมครูได้แสดงออกมาแก่พวกเราทั้งหลาย
อันเป็นเรื่องที่ควรจะศึกษาให้เข้าใจ
ความเห็นถูกหรือความเข้าใจถูกทางในพุทธธรรม
จึงเป็นเรื่องที่พอมองเห็นได้ด้วยการตรึกตรองตาม
เป็นความเห็นถูกหรือ ความเข้าใจถูกทางในทางพุทธธรรม
เป็นความเข้าใจที่ควรศึกษาเพื่อทำตนให้พ้นจากทุกข์
แต่ก่อนที่จะศึกษาความเห็นถูกอันเป็นชั้นยอดนี้
เราลองไต่ตามความเห็นชั้นง่ายๆ เสียก่อน
เป็นความเห็นที่ควรทำความเข้าใจในเบื้องต้น
เป็นการเตรียมตัวเพื่อความเห็นชอบชั้นสูงต่อไป
จักได้นำความเห็นชั้นต่ำมาพิจารณาเป็นข้อๆ เห็นหลักกรรม
"กัลยาณการี กลฺยาณัง ปาปการี จ ปาปกัง-ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว "
คำพูดเพียง ๘ คำนี้ เป็นคำพูดที่อมความจริงไว้มาก
เป็นคำที่เราควรศึกษาสนใจ
เป็นคำที่ถ้าเข้าใจและทำตามแล้วก็นำความสุขความเจริญมาให้
และถ้าไม่เข้าใจ ไม่ทำ ตามก็นำความทุกข์มาให้ได้เช่นเดียวกัน
จึงเป็นเรื่องที่ชาวพุทธควรทำความเข้าใจกันก่อนเป็นเบื้องต้น
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นคำสอนที่มีทั้งเหตุผลอยู่ในตัวอย่างชัดเจน
"ทำดีเป็นเหตุ ได้ดีเป็นผล ทำชั่วเป็นเหตุ ได้ชั่วเป็นผล"
การกระทำก่อให้เกิดผลแก่ผู้กระทำ
หลักนี้เป็นหลักใหญ่ เรียกว่าหลักกรรม
คำว่า กรรม แปลว่าการกระทำเป็นไปได้ทั้งเหตุและผล
เมื่อมีการกระทำ ผลของการกระทำก็เกิดแก่ผู้กระทำ
และส่งผลกว้างออกไปถึงคนอื่นด้วย

เหมือนการที่เอาก้อนหินปาลงไปในน้ำ
ด้วยแรงดันของก้อนกินทำให้น้ำกระเพื่อม
ทำให้ปลาในน้ำเกิดความรำคาญ
ทำให้ตลิ่งพังเกิดการเสียหาย
ผลเกิดทยอยกันไปตามลำดับ
ในภาษาสมัยใหม่พูดว่า กิริยาและปฏิกิริยา
กิริยาคือ การกระทำ
ปฏิกิริยาหมายถึง การกระทำตอบอันเป็นตัวผล
เช่น เราเอาฝ่ามือทั้ง ๒ ข้างตบกันเป็นกิริยา
เกิดเสียงดัง เจ็บฝ่ามือ หนวกหหูคนที่อยู่ใกล้เคียง
เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นตามลำดับ
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ เป็นอยู่ในอำนาจแห่งกรรมทั้งนั้น
อาการหมุนของโลกการเดินของดวงดาว
การเดินของดวงอาทิตย์
ก็เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางดินฟ้าอากาศ
การเปลี่ยนแปลงในทางดินฟ้าอากาศ
ก่อให้เกิดมี การออกดอกออกผลของต้นไม้
คนได้เก็บมารับประทานหล่อเลี้ยงร่างกาย
ทำให้เกิด ความสุขสบายในเมื่อรับเอาแต่พอดีพอควร
เกิดเป็นโทษเพราะรับเอาเกินพอดีไป
ความเป็นไปของสากลจักรวาลทั้งหมดอยู่ในอำนาจของกรรม
พ้นจากกฏนี้ไปไม่ได้เป็นอัน ขาด
ไม่มีสิ่งใดที่จักเกิดขึ้นและเป็นอยู่โดยมิได้อาศัยกรรม
ต้องมีกฏนี้เข้าไปแทรกแซงอยู่เสมอ
และที่ทุกอย่างดำเนินไปได้เป็นปกติ
ก็เพราะยังมีกรรมของมันอยู่


ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้


(มีต่อ 11)
 


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 04 ม.ค. 2007, 10:19 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 03 ม.ค. 2007, 6:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าหากหมดกรรมลงเมื่อใดแล้วก็แตกสลาย
แต่การสลายตัวของสิ่งหนึ่ง ทำให้เกิดสิ่งอื่นต่อไปอีก
เช่นต้นไม้ต้นหนึ่งตายก็กลายเป็นไม้ท่อน
คนเราเอาไม้ท่อนไปทำรถ ทำเรือน ทำอะ ไรหลายอย่าง
ถ้าวัตถุที่ถูกทำนั้นตาย คือ ผุต่อไปอีกก็กลายเป็นปุ๋ย
ก่อให้เกิดเป็นอาหาร แก่หญ้าแก่ต้นไม้ต่อไป
วัตถุทั้งปวงในโลกจึงมิได้หายไปจากโลก
มันหมุนเวียนเป็นสังสารวัฏฏ์วนไปมาอยู่เสมอ
เป็นเรื่องไม่จบ แต่เป็นวงกลมที่ไม่มีการตั้งต้นและไม่มีที่สุด
เป็นแต่อาศัยเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปๆ แล้วก็เกิดขึ้นอีก
เป็นวงเวียนตลอดสายจึงเรียกว่า เป็นไปตามอำนาจของกรรม
"กมฺมุนา วตฺตติ โลโก - โลกหมุนไป ตามกฏของกรรม"
เรื่องของโลกเป็นเช่นใด เรื่องของชีวิตก็เป็นเช่นกัน
ที่จริงชีวิตเราก็เป็นโลกเหมือนกัน เรียกว่า สัตวโลก
โลกคือ หมู่สัตว์ สัตว์โลกทั้งปวงเกิดดับไปตามอำนาจของกรรม
กรรมนั้นเป็นของเขาผู้กระทำ
กระทำแล้วก็เกิดผลแก่เขาต่อไป
สัตว์โลกเช่นมนุษย์เป็นผู้มีร่างกาย มีใจครองร่างกาย
กายกับใจมีส่วนสัมพันธ์กันมาก และก่อให้เกิดเรื่องราวมากหลาย
การกระทำของกายและใจเป็นกรรมทั้งนั้น

เช่นเรายกมือ เดิน กิน พูด เราทำทุกอย่าวเป็นเรื่องของกรรม
ส่วนใจก็ทำหน้าที่ในทางคิดค้นนึกไปในเรื่องของกรรม
ส่วนใจก็ทำหน้าที่ในทางคิดค้นนึกไปในเรื่องต่างๆ
การกระทำของกาย โดยไม่มีการบังคับจากใจ ยังไม่จัดเป็นกรรม
ที่จักก่อให้เกิดผลแก่ผู้กระทำในทางเป็นบุญ เป็นบาป
เรียกตามภาษาธรรมะว่า ยังไม่มีเจตนา
ดังพุทธดำรัสว่า "เจตนาหัง ภิกขะเว กัมมัง วะทามิ
- ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นตัวกรรม"
เจตนาแปลว่า ความจงใจความตั้งใจที่จะทำ

เช่น การทำให้สัตว์ตาย
ถ้าเราเดินไปและไม่ได้เห็นว่า มีตัวสัตว์อยู่บนพื้นดิน เหยียบมันตาย
การกระทำเช่นนี้ไม่ก่อให้เป็นบาปในทางใจ
แต่เจ้า สัตว์ตัวนั้นต้องตายโดยไม่ได้อะไร เป็นการตายเปล่า
เพราะผลกรรมของมันที่เดินมาขวางอยู่ตรงนั้น
ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า ผลของกรรมเป็นไปในด้านวัตถุอย่างหนึ่ง
เป็นไปในด้านจิตใจหรือนามอย่างหนึ่ง
ผลกรรมที่เกิดเพราะผลทางด้านวัตถุไม่จัดเป็นบุญเป็นบาป
เรื่องบุญบาปเป็นเรื่องทางด้านจิตใจโดยเฉพาะ
ส่วนกรรมที่มีเข้าประกอบก็จัดเป็นบุญเป็นบาป
ได้บุญบาป ก่อให้ชีวิตของผู้กระทำหมุนเวียน
ไปสู่ความสุขบ้างทุกข์บ้าง สุดแต่อย่างไหนเกิดขึ้น
ดังที่กล่าวว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นั่นเอง
เรื่องดีชั่วเป็นเรื่องของ แต่ละบุคคล
เป็นเรื่องของใจโดยแท้ ไม่ใช่เรื่องของวัตถุ
ผู้ใดทำผู้นั้นได้รับผลของ การกระทำนั้น
หาก่อให้เกิดการกระทบกระเทือนทางใจแก่ใครไม่
แต่อาจมีการกระทบกระเทือนทางวัตถุกันบ้าง
เพราะเรื่องของวัตถุก็เกิดผลทางด้านวัตถุ
เรื่องของใจก็เกิดผลทางด้านจิตใจ
ความดีความชั่วเป็นเรื่องของใจล้วนๆ
เมื่อเป็นเรื่องของใจ ผลก็ต้องเป็นไปในทางใจโดยส่วนเดียว
ฉะนั้นคำที่ตรัสว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
จึงเป็น ความจริงแท้ไม่เปลี่ยนแปลง

เพื่อให้เข้าใจชัดเรามาพิสูจน์อีกสักเล็กน้อย
อันที่กระทำความดี ก่อนลงมือกระทำ ต้องมีความคิดเกิดขึ้นก่อน
เช่น คิดจะทำทาน จะรักษาศีล
จะไปนั่งภาวนาเพื่อ ความสงบใจ
ความคิดเช่นนี้เป็นความคิดในด้านดี เป็นเรื่องของใจ
ในขณะที่ใจ คิดอย่างนี้ เรียกว่า การทำกรรมโดยใจ เป็นมโนกรรม
คนที่คิดเช่นนี้ ถ้าใจของเขา ไม่มีความชั่ว
เมื่อคิดจะทำทาน ความโลภไม่มี ความเห็นแก่ตัวไม่มี
เมื่อจะรักษาศีล ความเกลียดไม่มี ความพยาบาทไม่มี
ความคิดจะฆ่า จะลัก จะประพฤติผิดในกาม
หรือ จะพูดจาหลอกลวงใครไม่มีอยู่ในใจของเขา
เขาเริ่มได้ความดีแล้ว เหมือนจะจุดตะเกียงให้แสงสว่าง
พอขีดไม้ขีดไป ก็ได้ความสว่างแล้วนิดหนึ่ง
พอจุดตะเกียงความส่วางก็มากขึ้น
ในเรื่องการกระทำความดีก็เช่นกัน พอคิดก็ได้แล้ว
ลงมือทำก็ได้ความดี เพิ่มขึ้นในใจ
ทำไปไม่หยุดความดีก็เพิ่มมากขึ้น
ทำให้เกิดความสะอาด สงบ สว่าง ใน ทางใจ
นี่แหลผลของการกระทำความดี


ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้


(มีต่อ 12)
 


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 04 ม.ค. 2007, 10:21 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 03 ม.ค. 2007, 6:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในด้านความชั่ว การฆ่า การลัก การประพฤติผิดในกาม
การพูดโกหก พูดหยาบ พูดเหลวไหล
พูดยุให้คนแตกจากกัน การดื่มกินของมึนเมา
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เหล่านี้เป็นความชั่ว
เพราะเป็นการกระทำที่ทำลายตนทำลายท่าน
ผู้รู้กล่าวติว่าเป็นสิ่งไม่ดี
ลองนึกถึงตัวเราเองสักเล็กน้อย
คนที่ใจดีใจงามอยู่จักทำสิ่งเหล่านี้ได้ลงคอไหม
ทำไม่ได้ เมื่อจะทำชั่วเริ่มเศร้าหมอง

เหมือนบ้านจะมืดตะเกียงเริ่มหรี่ เพราะหมดน้ำมัน
พอน้ำแห้ง ตะเกียงดับทันที
ความมืดปรกฏออกมาให้เห็น
คนทำบาปก็เช่นเดียวกัน
เขามีความตั้งใจในทางผิดเกิดขึ้นเป็นความชั่ว
และทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น
จนกระทั่งทำบาปได้โดยปราศจากความยับยั้ง
ผลที่เกิดทางใจ ก็คือ ความเศร้าหมองทวี จำนวนมากชึ้น
ใจเป็นบาปหนักเพราะความเศร้าหมองนั้นๆ
นี่เป็นคววามชั่วที่เขาได้รับ
ทุกครั้งขณะทำชั่วอันคนที่ทำชั่วนั้นๆ
นี่เป็นความชั่วที่เขาได้รับทุกครั้งขณะที่ทำชั่ว
อันคนที่ทำชั่วนั้น ทำทีละน้อยๆ ไปก่อน ค่อยทวีจำนวนมากขึ้น
จนชินและรู้สึกตัวต่อความชั่ว

เหมือนคนที่ไปทำงานที่สกปรก เช่นทำงานถ่ายอุจจาระ
นานเข้าจมูกชินกับกลิ่นนั้น
ความรู้สึกว่าสกปรกหายไปจากใจ
เขาก็จับถึงอุจจาระได้สบายเหมือนจับถังข้าวต้ม
คนที่ทำชั่วก็เป็นเช่นนั้น ทำหนักเข้าก็กลายเป็นคนชั่วชนิดด่ำดื่ม
ถอนตัวไม่ออก ใจของเขาถูกเย็บย้อมพัวพันรัดรึงกับความชั่วเสียแล้ว
เป็นเรื่องน่ากลัวโดยแท้ ความดีความชั่ว เป็นเรื่องของใจก่อน

เมื่อใจมีความดี การกระทำก็เป็นไปในทางดี
เป็นการเพิ่มความดีให้แก่ตน
ถ้าใจมีความชั่วการกระทำก็เป็นความชั่ว เป็นการเพิ่มความชั่วให้แก่ตน
การเพิ่มความดีเป็นความสุข
การเพิ่มความชั่วเป็นความทุกข์
ท่านชอบอย่างไหน


ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้


(มีต่อ 13)
 


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 04 ม.ค. 2007, 10:23 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 03 ม.ค. 2007, 6:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในสมัยนี้มีคนจำนวนมาก มีความเข้าใจผิดจากความจริง
เขาเข้าใจคำว่าคำสอนที่ว่า ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว เป็นสิ่งที่ไม่จริง
โดยอ้างว่าบางคนทำชั่ว แต่เห็นเขาร่ำรวยมีกินมีอยู่ดี
บางคนเป็นซื่อตรงสุจริต แต่ลำบากยากจนต้องหาเช้ากินเย็น
ความเป็นอยู่ลำบากเต็มที
เขาจึงกล่าวติหลักธรรมข้อนี้ว่าเรื่องเหลวไหลไม่เป็นจริง
เป็นเช่นนี้มีอยู่มากเหมือนกัน
เพราะเขาตีความหมายผิดไปจากหลักเดิม
เข้าใจว่า ได้ดีได้ ชั่วเป็นเรื่องของวัตถุเงินทองไปเสีย
เขาจึงเขวไปจากแนวทางของความเห็นชอบ
และเมื่อเขวก็เป็นเหตุทำให้ทำผิดไปได้มาก
มีตัวอย่างอยู่มากมายในสมัยนี้
ที่จริงคำสอนนี้ ท่านพูดให้ฟังอย่างง่ายๆ ที่สุดว่า
"ทำได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว"
ดีกับชั่วเป็นคุณภาพของจิตใจ ต้องได้ดีเมื่อมีการกระทำ
ส่วนวัตถุต่าง ๆนั้นมันเป็นผลพลอยได้อีกทีหนึ่ง
อาจได้เร็วหรือช้าสุดแล้วแต่การประกอบ
เพราะการประกอบกรรมที่จะให้ได้ผลทางวัตถุนั้น
ต้องรอเวลา ต้องรอบุคคล ต้องรอสถานที่
และต้องมีการประกอบให้ตรงกับสิ่งเหล่านี้
ถ้าพลาดไปก็ยังไม่เกิดผลและทำให้เข้าใจผิดเป็นอื่นไปก็ได้
เหมือนการปลูกต้นไม้และหวังผล ต้องรอไปหน่อยอย่าใจร้อน
ถ้าร้อนใจก็เป็นทุกข์ และเป็นความเศร้าหมองแก่ตนโดยใช่เหตุ
ให้ทำความเข้าใจเสียก่อนว่า ผลที่ได้ก่อนเป็นเรื่องทางใจ
แล้วต่อมาก็เป็นเรื่องทางวัตถุ

เช่นว่า ท่านเป็นข้าราชการไปทำงาน
ถ้าท่านไปทำงานดีตลอดมา ท่านได้ความสบายแล้ว
ต่อมาก็ได้เลื่อนยศขึ้นเงินเดือนสูงขึ้น
ถ้าท่านขาด สาย หรือทำงานอย่างขาดตกบกพร่อง
ขั้นต้นท่านก็ร้อนใจ ต่อมางานเสียหนักเข้าพอผลกรรมสุกกรอบดี
ท่านก็ตกจากตำแหน่ง นี่เป็นผลที่เกิดมาตามลำดับ
เป็นเรื่องจริงทั้งนั้น
จึงควรได้ตั้งไว้เป็นกฎว่า "ทำดีได้ความดีในทางใจก่อน
ความดีในใจเป็นทาง ให้ได้วัตถุ"
วัตถุทีได้มาโดยควมดีเป็นสิ่งให้ใจสบาย
ในที่สบายเห็นเหตุให้สงบ สะ อาด สว่าง
ทำความชั่วได้ความชั่วในทางใจก่อน
ความชั่วเจริญในก็หมดทรัพย์สิน
คนหมดทรัพย์ต้องมีความทุกข์
ความทุกข์ทำให้ใจเป็นบาปและบาปหนักขึ้น

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้


(มีต่อ 14)
 


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 04 ม.ค. 2007, 10:24 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 03 ม.ค. 2007, 6:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ใคร่จะแนะนำอีกสักเล็กน้อย
เกี่ยวกับการทำกรรมเพื่อหวังผลแก่ตน
ผู้กระทำที่มี ความเชื่อในทางผลกรรมแล้วว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
เป็นเรื่องของใจก่อน ผลเป็นวัตถุเป็นสิ่งตามมาทีหลัง
เป็นของแน่นอน แต่การเป็นอยู่ในโลก
เราอยู่กับคนที่มีนิสัยใจ คอไม่เหมือนกัน
มีความคิดเห็นแตกต่างกัน
การอยู่ร่วมกันต้องเรียรู้นิสัยใจคอกันบ้าง
พอให้รู้ใจว่าใครชอบอย่างไร
เพื่อจักได้ปฏิบัติตนให้พอเหมาะพอควรกัน
การกระทำ อะไรทุกอย่างต้องเป็นไปในรูปพอดี
และเหมาะแก่กาละเทศะเสมอ
ถ้าขาดความพอดี ไม่เหมาะแก่กาละเทศะ
ผลก็ไม่อำนวยให้แก่ตนได้

ฉะนั้นการทำความดีที่หวังผลทางวัตถุ
ต้องเข้าใจว่าวัตถุที่คนจักพึงได้นั้น จะได้จากไหน
ใครเป็นผู้อำนวยให้วัตถุอันนั้นมาบ้าง
แล้วคิดต่อไปว่าคนนั้นๆ เขาชอบในทางไหน
ต้องหาทางเข้าถึงจิตใจของเขา
แต่ไม่ทิ้งความดีของเรา
การทำความดีในบางครั้งอาจไม่เป็นที่พอใจของคนบางคนก็ได้
เมื่อเขาไม่พอใจ เขาก็เป็นปรปักษ์กับเรา
เราเองต้องได้รับความเบียดเบียนจากเขา
เรื่องมันยุ่งอยู่เหมือนกัน เพราะการกระทำที่ไม่ถูกกาล และบุคคล
จึงเป็นความจำเป็นต้องทำให้เหมาะแก่กาลเวลา

ผู้ใหญ่บางคนก็มีศีลธรรมดีบางคนก็ปราศจากศีลธรรม
ถ้าเราอยู่ใต้บังคับบัญชาของคนที่มีศีลธรรม ก็ไม่สู้ลำบากนัก
แต่ถ้า ได้คนขาดศีลธรรมก็เดือดร้อน
จึงต้องหาทางออกให้แยบคาย
อย่าทำสิ่งใดที่เขาไม่ชอบใจ
การทำดีนั้นมีหลายอย่าง
เหมือนทางเดินมีหลายทาง
ถ้าทำดีแบบนี้ คนอื่นเขาขัดใจ เราก็เปลี่ยนทำอย่างอื่นเสียก็ได้
ถือหลักว่าอย่าขัดใจเขา และเราก็ไม่เสียคนเป็นใช้ ได้
หรืออีกประการหนึ่ง การทำดีอย่างเดียวไม่เพียงพอ
แต่ต้องเป็นความชอบด้วย เช่นชอบใจผู้บังคับบัญชา
ชอบด้วยตัวบทกฏหมาย ชอบด้วยเวลาชอบด้วยภูมิประเทศ
และ ชอบด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
อย่างนี้เป็นความชอบ
ถ้าดีกับชอบมารวมกันเมื่อใดผลก็จะเกิดขึ้นทันที

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้


(มีต่อ 15)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 03 ม.ค. 2007, 6:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จงคอยกำหนดดูคนที่เขาก้าวหน้าในทางงาน
เขาต้องมีความดีส่วนตนอยู่ก่อน
เช่นมีความรู้ดี มีความประพฤติดี
เมื่อมีความดีอย่างนี้แล้ว ก็พยายามเข้าหาเจ้านายไว้บ้าง
ทำดีชนิดที่นายชอบให้เหมาะแก่โอกาส
เขาก็เป็นที่คุ้นเคยกับนาย เวลาจะเลื่อนคนเลื่อนเงิน
เป็นธรรมดานายจะต้องนึกถึงคนใกล้ และคนที่รู้จักก่อนเสมอ
เรื่องนี้เป็นธรรมดาของโลกหนีไม่พ้น
คนอยู่ในโลกต้องเรียนรู้ไว้บ้าง
แต่คนใดที่ทำดีไปฝ่ายเดียว โดยไม่ทำให้เป็นที่ชอบใจนาย
ไม่เป็นที่รู้จักของนาย ทางเดินมันตันบ่อย
ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะใช้ธรรมะไม่ถูกกาละเทศะนั่นเอง
จึงขอฝากความคิดนี้ไว้ ด้วย

ส่วนบุคคลที่กระทำความดี โดยหวังเอาความดีแท้ๆ
นั่นไม่มีปัญหาอะไร เขาจักต้องได้ความดีตอบแทนเสมอ
คนเช่นนี้แหละ เป็นคนนำความสงบสุขมาสู่โลก
ว่ากัน ตามความจริงแล้ว
ควรทำดีเพื่อความดี ทำงานเพื่องาน
อย่าไปหวังผลจากอะไร จากสิ่งนั้น
ปล่อยให้ผลมันเกิดขึ้นเองตามเรื่องของมัน
เราเองมีหน้าที่แต่เพียงกระทำเท่านั้น
เมื่อทำกิจเสร็จแล้วก็เป็นอันหมดเรื่องกัน
อย่างนี้ใจสบาย ความทุกข์ไม่เกิด
เพราะต้องการอะไรแล้วไม่ได้สมหวัง

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้


(มีต่อ 16)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 03 ม.ค. 2007, 6:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรื่องของกรรมเป็นหลักสำคัญมาก
เป็นกุญแจสำคัญของการแก้ไขปัญหาของชีวิต
ถ้าเราหมั่นศึกษาสนใจก็มักมองเห็นเหตุผลอย่างแจ่มแจ้งว่า
ความสุข ความทุกข์ ความดี ความชั่ว ความเสื่อม ความเจริญทั้งมวล
เป็นสิ่งเนื่องมาจากกรรมของตนเองทั้งนั้น
เราเองเป็นผู้สร้างโชคชะตาของชีวิตให้แก่ตนเอง
อนาคตของชีวิตขึ้นอยู่กับการกระทำในปัจจุบัน
การเป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็เนื่องมาเป็นลำดับโดยการกระทำของเราเอง
หาใช่ โดยการกระทำของใครๆ ในที่ใดไม่
คนที่มีความเชื่อในเรื่องกรรม
ย่อมไม่มีการลงโทษคนอื่น
แต่จักลงโทษตนเองถ่ายเดียว
เขาจักคิดว่าเป็นความผิดของตนเองเท่านั้น
คนอื่นเป็นแต่เพียงตัวประกอบ หาใช่ตัวการสำคัญไม่
การแก้ไขเหตุร้ายของชีวิต ก็หันมาแก้การกระทำของตนเอง
ไม่เที่ยวแก้ไขเหตุการณ์ภายนอก
ผลของกรรมที่เกิดแก่ผู้กระทำนั้น เกิดขึ้นเองเพราะแรงดันของกรรม
ไม่มีอะไรสิ่งใดมาอยู่เหนือกฏของกรรมอีก


ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้


(มีต่อ 17)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 03 ม.ค. 2007, 6:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เพื่อให้เห็นเหตุผลของกรรมชัดเจนขึ้น
ขอยกเอาข้อความใน จูฬกัมมวิภังคสูตร
อันเป็นสูตรที่แสดงถึงเหตุผลของเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ
ให้เห็นได้ว่า ความเป็นอยู่ของชีวิตของแต่ละบุคคลนั้น
เนื่องจากกรรมอย่างไร ดังนี้คือ

๑. คนมีอายุน้อย เพราะการฆ่าสัตว์ มีอายุยืน
เพราะการไม่ฆ่าสัตว์
๒. มีโรคน้อย เพราะไม่เบียดเบียนสัตว์
มีโรคมากเพราะเบียดเบียนสัตว์
๓. มีผิวพรรณงาม เพราะไม่โกรธแค้นพยาบาท
มีผิวพรรณทราม เพราะโกรธแค้นพยาบาท
๔. มีความเป็นผู้สูงศักดิ์ เพราะไม่ริษยา มีศักดิ์ต่ำเพราะริษยา
๕. มีทรัพย์มาก เพราะทำทาน มีทรัพย์น้อย เพราะตระหนี่
๖. เกิดในตระกูลสูง เพราะไม่กระด้างถือตัว รู้จักอ่อนน้อม
เกิดในตระกูลต่ำ เพราะกระด้างถือตัว ไม่รู้จักอ่อนน้อม
๗. มีปัญญาดี เพรารู้จักไต่ถาม
และแสวงหาความรู้ มีปัญญาทรามเพราะไม่รู้จักไต่ถาม
ไม่แสวงหาความรู้

นี่เป็นหลักเกณฑ์ที่ควรนำไปพิจารณาเทียบเคียง
กับความเป็นอยู่ได้ ดังที่กล่าวมาในวันนี้
ก็พอสมควรแก่เวลาจึงขอยุติธรรมะปาฐกถาไว้แต่เพียงนี้


ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้



------จบ------
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง