Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อารมณ์ซึ่งเกิดแก่ผู้ปฏิบัติกรรมฐาน แล้วไม่รู้จักวิธีแก้ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 15 ธ.ค.2006, 10:37 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เฉลิมศักดิ์ [@15 ธ.ค. 49 05:51
แต่ถ้าการปฏิบัติแบบยุบหนอ พองหนอ ที่มีจุดมุ่งหมายให้เกิดความสงบจะได้สมาธิขั้นสูง ๆ
สมัยก่อนผมภาวนาไป พอเริ่มสงบความง่วงก็เข้ามาทันที บางทีก็เผลอหลับไปในท่านนั่ง นั่นแหละ หรือไม่ก็เกิดทุกขเวทนา ขึ้นมา แต่ไม่รู้จะแก้อย่างไร เพราะยังไม่ครบเวลาที่ทางสำนักกำหนดไว้ ก็ต้องทนอยู่ในคำภาวนาพร้อมกับท่านั่งนั้น คอยแต่ดูเวลาเมื่อไหรหนอจะครบ ๑ ชั่วโมงเสียที
แต่บางครั้งสมาธิเกิดมาก ๆ ความสงบก็เกิดขึ้น ก็รู้สึกดีใจ ที่เราทำได้
http://larndham.net/index.php?showtopic=23134&st=162


สำนักที่คุณเฉลิมศักดิ์กล่าวถึงอยู่ที่ไหนหนอ อยากรู้จังเรยย
สภาวธรรมที่....พูดถึงทั้งหมดนั่น เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาทั้งสิ้น “ง่วง” เป็นนิวรณ์ธรรม ซึ่งเป็นเครื่องกั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณธรรมความดี ทำให้ปัญญาดับ ทำให้มืดบอด
-พึงกำหนดรู้ “ง่วงหนอๆๆๆ” (ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน) ไม่ใช่ให้นั่งหลับ

เกิดทุกขเวทนา ขึ้นมา แต่ไม่รู้จะแก้อย่างไร
-ทุกข์ก็เป็นอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน ก็กำหนดรู้ตามเป็นจริง “ทุกข์หนอๆๆๆ” (ทุกข์=เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน) ได้ทำกิจในทุกขสัจแล้ว

แต่ไม่รู้ว่าจะแก้อย่างไร
-ไม่ใช่นั่งคิดแก้เอาเองโดยไม่รู้ที่มาที่ไป ทุกข์ควรกำหนดรู้

-ปฏิบัติกรรมฐานให้กำหนดรู้สภาวธรรมทั้ง มีกำหนดรู้ทุกข์เป็นต้น แต่พี่เล่นไปนั่งนับเวลานาทีว่า เค้าจะเลิกกันเมื่อไหร่จึงสวนทางกับอริยสัจหมดเลย

บางครั้งสมาธิเกิดมาก ๆ ความสงบก็เกิดขึ้น ก็รู้สึกดีใจ
-นี่ก็เช่นกัน เป็นอารมณ์วิปัสสนา เป็นสติปัฏฐาน... ความสงบก็เกิดขึ้น
กำหนดรู้ “สงบหนอๆๆๆ” (เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน)

รู้สึกดีใจ “ดีใจหนอๆๆๆ”
- การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเขาทำกันอย่างนี้

พีงทำความเข้าใจศัพท์และความหมาย “วิปัสสนา” ก่อนจะดีกว่า หรือดูที่สุดแห่งวิปัสสนาที่นี่
http://larndham.net/index.php?showtopic=23134&st=27

ดูหลักย่อๆ แห่งสติปัฏฐานได้ที่นี่
http://larndham.net/index.php?showtopic=23134&st=134


สุดท้ายนำอริยสัจ ๔ จากพุทธธรรม คัดเอาที่ง่ายที่สุด ดังนี้
๑. ทุกข์- คู่กับกิจคือ ปริญญา หมายความว่า เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ดังนั้น ทุกข์และธรรมทั้งหลายที่อยู่ในจำพวกปัญหาหรือที่ตั้งแห่งปัญหา จึงรวมเรียกว่า ปริเญยยธรรม (ธรรมที่ควรกำหนดรู้)

๒. สมุทัย- คู่กับกิจคือ ปหานะ หมายความว่า เป็นสิ่งที่ควรละหรือกำจัด ดังนั้น ตัณหาและธรราจำพวกทำให้เกิดปัญหาเป็นสาเหตุของทุกข์ อวิชชา โลภะ โทสะ อุปาทาน เป็นต้น จึงเรียกว่า
ปหาตัพพธรรม (ธรรมที่ควรละ)

๓. นิโรธ - คู่กับกิจคือ สัจฉิกิริยา หมายความว่า เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้งหรือควรบรรลุ ดังนั้น นิพพาน และธรรมจำพวกที่เป็นจุดหมายหรือเป็นที่แก้ปัญหา จึงเรียกว่า สัจฉิกาตัพพธรรม (ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง)

๔. มรรค – คู่กับกิจ คือ ภาวนา หมายความว่า เป็นสิ่งที่ควรเจริญคือดำเนินการ ดังนั้น มรรคามีองค์ ๘ และธรรมทั้งหลายที่เป็นจำพวกข้อปฏิบัติเป็นวิธีการเพื่อเข้าถึงจุดหมาย จึงรวมเรียกว่า
ภาเวตัพพธรรม (ธรรมที่ควรเจริญ)

ธรรมทั้งหลาย หรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงบรรดามี ย่อมจัดรวมเข้าในประเภทใดประเภทหนึ่งแห่งธรรม ๔ จำพวกนี้ไม่มีเหลือ
ปฏิบัติการแก้ปัญหาทั้งหลาย ตั้งแต่หยาบจนถึงละเอียด ตั้งแต่ภายนอก จนถึงลึกซึ้งในภายใน ผู้ศึกษาที่สนใจอาจคอยกำหนดจับธรรมที่ตนเกี่ยวข้องจัดเข้าในธรรม ๔ ประเภทนี้ได้เสมอ เช่น การปฏิบัติขั้นถึงแก่น เอาแต่สาระ พระพุทธเจ้าเคยทรงแสดงธรรม ๔ ประเภทไว้ ดังนี้
๑. (ทุกข์) ปริญเญยยธรรม ได้แก่ อุปาทานขันธ์ ๕
๒. (สมุทัย) ปหาตัพพธรรม ได้แก่ อวิชชา และภวตัณหา
๓. (นิโรธ) สัจฉิกาตัพพธรรม ได้แก่ วิชชา และวิมุตติ
๔. (มรรค) ภาเวตัพพธรรม ได้แก่ สมถะ และวิปัสสนา.
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
TIIIIIPPPPPP
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 16 ธ.ค.2006, 9:47 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เช้านี้ ตี 5.30 น นั่งภาวนาได้ 1 ชม. จะได้ขนาดนี้บ่อย
มากกว่านี้ ไม่ได้ ทำไงดีอะ
อยากได้ มากกว่านี้ แต่ร่างกาย ไม่ยอม ฝืนแล้วนะ กิเลส เก่งกว่าอะ
ชอบนั่งตอน เช้า ตื่นมานั่งเลย ก่อนนอน ได้บ้างเล็กน้อย
....โปรดชี้แจงให้ทราบ แนะนำก็ดีนะ... สาธุ สาธุ
 
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 16 ธ.ค.2006, 12:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-การเอาชนะกิเลส มิได้ขึ้นกับการนั่งได้น้อย หรือมาก ขึ้นอยู่กับว่า ปฏิบัติแล้ว รู้ทันอารมณ์ซึ่งผ่านเข้ามาแค่ไหน กำหนดรู้ทันมัน เป็นต้นไหม

-ควรเดินจงกรมคู่กันด้วยครับ
โดยเริ่มจากน้อยๆไปก่อน เช่นเดินจงกรม ซัก 30 นาที นั่งภาวนา 30 นาที (ภาวนาลมหายใจเข้าออกก็พุทโธๆไป ใช้พอง-ยุบ พองหนอ ยุบหนอไป)
แล้วค่อยๆปรับขึ้นครั้งละ5-10 นาทีไป
ถึง 60 นาทีก็เพียงพอแล้ว เป็นเดินจงกรม 60 นาที นั่ง 60 นาที
เวลาไหนๆก็ทำได้ทั้งสิ้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 ธ.ค.2006, 4:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มาจากเว็บนี้
http://larndham.net/index.php?showtopic=23295&st=8
เรียนคุณสิทธิคะ
ถ้าเอี้ยงเดาผิดไป ก็ต้องขอโทษด้วยนะคะ เพราะเอี้ยงรุสึกเหมือนกับว่าที่คุณทำอยู่นี่เป็นแค่สมถะหรือเปล่าคะ ถ้าเป็นเช่นนั้นทำไมไม่ลองเปลี่ยนจากอนาปาณสติ มาลองเดินจงกรมดูละคะ เพราะการเดินจงกรม ก็เป็นอีกอริยาบทที่สามารถทำให้ได้ทั้งสมถะและสมาธิ อันเป็นฐานเพื่อนำไปใช้ในการเจริญปัญญาได้เช่นเดียวกับอนาปาณสติน่ะค่ะ (จริงๆ แล้วเราสามารถทำสมาธิได้จากอริยบททั้ง 4 นะคะ ไม่ใช่แค่จากอนาปาเท่านั้นอะค่ะ)
หากล่วงเกินสิ่งใด หรือพลาดพลั้งประการใด ขออโหสิกรรมค่ะ


-รายนี้เข้าใจว่า การเจริญอานาปานสติว่าเป็นสมถะหรือเป็นสมาธิ
เข้าใจการเดินจงกรมว่าเป็นสมาธิหรือเป็นสมถะ
เลย...คิดเตลิดเปิดเปิงไปถึงว่า ยืน เดิน นั่ง นอน (อิริยาบถ ๔) เป็นสมถะไปอีก
เหมือนๆจะคิดว่า อะไรที่เป็นส่วนเกี่ยวกับร่างกายหรือรูปแล้วเป็นสมถะไปหมด

-ชาวพุทธเรายังขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องศาสนาโดยรวมพอสมควร โดยเฉพาะเรื่องทำกรรมฐานด้วยแล้วไปกันใหญ่

-ความจริงการปฏิบัติกรรมฐานเบื้องต้นท่านให้ยึดเอารูป-นาม หรือขันธ์ ๕ นี้เอง เป็นอารมณ์ระลึกหรือเจริญวิปัสสนา ไม่ใช่แยก ๆ ว่า กายเป็นสมถะแล้วใจ (คิด) วิปัสสนา

ก็ในเมื่อมนุษย์มีเพียงรูปกับนามเท่านั้นที่ทำงานกันอยู่ รูปหรือรูปธรรมที่เห็นนี่
ส่วนนามธรรมหรือจิตใจมองไม่เห็น แต่รู้สึกได้

ผู้ซึ่งจะทำกรรมฐานก็ยึดเอารูป-นามนี่นั่นภาวนาไปรวมๆกัน ไปด้วยกัน อะไรปรากฏชัดก็ภาวนาสิ่งนั้น โดยยึดลมหายใจเข้า-ออกเป็นหลัก
หรือจะเอาสิ่งอื่นเช่นเอาท้องที่พองและยุบลง เป็นหลักก็ได้ นี้เป็นส่วนรูปภาวนาไป

ในขณะเดียวกันก็ภาวนาส่วนนามไปด้วย ไม่ได้แยกกันทำทีละอันสองอัน เพราะในขณะนั้นรูปกับนามจะเกิดตลอดเวลา ตามเหตุปัจจัยของมัน
-โยคีพึงกำหนดรู้สิ่งที่เกิดนั้นตามสภาพความเป็นจริงของมัน ไม่ใช่ไปจัดสรรให้มันเป็นไปตามความอยากของตน

-บางคนอยากได้นิพพานแต่ขี้เกียจ ที่สำคัญไม่รู้ว่าคืออะไร ทำอย่างไร แต่อยากได้ไว้ก่อน แล้วก็อยากได้ง่ายๆ
นั่นมันเป็นตัณหาชัดๆ

-ลักษณะของตัณหา ยากแล้วไม่เอา เอาสบายๆ ยิ่งรู้ว่าทำแล้วต้องประสบกับทุกขเวทนาด้วยแล้ว ตัณหาจะไม่เอาเลยกลัวยากกลัวลำบาก แต่ต้องการเสพเสวยรสอันอร่อยแบบสบายๆ แล้วก็เสพสุขเวทนานั่นอย่างมัวเมาลืมตัว พอประสบทุกขเวทนาก็ดิ้นรนอยากจะพ้นๆไปจากปัจจุบันอารมณ์นั้น...
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 ธ.ค.2006, 5:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มาจากเว็บนี้
http://larndham.net/index.php?showtopic=23171&st=77
(คุณระนาดเข้าใจพระธรรมผิดซ้ำอีกแล้วครับ !!!!!!!!!!!!!!!!!!!!)

เพราะที่ถูก คือ ผู้ที่ปฏิบัติตรงตามพระไตริปิฎก ไม่ใช่มีแต่ " พระอรหันต์ " แต่
1. สุปฏิปันโน หมายถึง พระโสดาบัน
2. อุชุปฏิปันโน หมายถึง พระสกทาคามี
3. ญายปฏิปันโน หมายถึง พระอนาคามี
4. สามีจิปฏิปันโน หมายถึง พระอรหันต์
...


-เป็นอีกรายหนึ่งที่เข้าใจบทสวดสรรเสริญพระสังฆคุณ ๔ บทนั้นผิด โดยจับแยกเป็นพระอริยบุคคลแต่ละขั้นๆ เข้ากับบทสรรเสริญอย่างที่เห็น

1. สุปฏิปันโน- แปลว่า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว

2. อุชุปฏิปันนำ- แปลว่า ผู้ปฏิบัติตรงแล้ว

3. ญายปฏิปันโน-แปลว่า ผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
(ปฎิบัติเพื่อ ญายธรรม ได้แก่ โลกุตรธรรม สัจธรรม หรือ นิพพาน )

4. สามีจิปฏิปันโน-แปลว่า ผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว
พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปท่านมีคุณหมดทั้ง ๔ บทนั้น ไม่ใช่แยกเป็น ๔ บุคคลอย่างที่เห็น

-ถ้าต้องการจะเรียนรู้เรื่องศาสนาให้เข้าใจ ควรมีพื้นฐานทางบาลีภาษาบ้าง เพื่อที่จะได้ไม่งงกับมคธ ภาษา และที่สำคัญควรผ่านการปฏิบัติกรรมฐานที่ถูกต้องมาบ้าง เพื่อให้รู้จักตนเองหรือธรรมชาติภายในตน
อย่างรายนี้เรียนอภิธรรมมา แต่ขาดความรู้เรื่องภาษาบาลี จึงได้เป็นเช่นนั้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 21 ธ.ค.2006, 11:18 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 20 ธ.ค.2006, 8:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทำไมเวลาอ่านวิธีการดูจิตดูใจแล้ว รู้สึกว่าทำไมเหมือนวกวนวนเวียน...ระหว่างนั่นนี่
เหมือนกับหลายๆความเห็นแต่แตกต่างกันตรงไหนก็แยกออกจากกันยาก แล้วใครถูกใครผิด..........มีใครรู้สึกเหมือนกันหรือเปล่า

มาจากกระทู้นี้
http://larndham.net/index.php?showtopic=23823

-เป็นคำพูดที่ตรงสภาวธรรมที่สุด เพราะจิตใจก็คิดวกไปวนมาอย่างนี้ วนเป็นวงเหมือนงูกินหาง ต่อให้นั่งดูทั้งชาติก็เป็นอย่างนั้นแหละ คิดเรื่องนี้จบก็คิดเรื่องนั่นต่อไปๆ ก็แค่นี้เองดูจิตหรือดูความคิดเท่ากับนั่งดูธรรมชาติมันทำงานรักษาชีวิตไว้ แต่คนดูนี่สิหวังอะไรจากการดูนั่น ตรงนี้แหละเป็นทิฐิที่ตนเองสร้างขึ้นมา อาจจะสวนทางกับธรรมชาติ หรือแย้งธรรมชาติ หรือสร้างอัตตาเข้าไปฝืนธรรมชาติ
ดูไปดูมาเดี๋ยวก็รำคาญ ๆ ตนเองว่า ทำไมไม่หยุดคิดเสียทีฟ่ะ

แนวสติปัฏฐาน ๔ ท่านวางไว้ดีแล้ว ท่านวางหลักการไว้แล้วแต่โบราณกาล
หลักโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ ซึ่งเป็นหลักการปฏิบัติก็แสนประเสริฐไม่เอากันเอง

การดูจิต... ซึ่งก็ได้แก่จิตตานุปัสสนา นั่นเอง แต่แยกออกไปทำโดดๆ เป็นแนวทางของตน
ซึ่งผิดหลักสติปัฏฐาน ซึ่งย่นย่อก็ได้แก่รูปกับนาม
สติปัฏฐานท่านให้ดูเคล้า ๆ กัน อะไรเกิดขึ้น ก็กำหนดรู้ดูอันนั้น ซึ่งเป็นปัจจุบันธรรม
ดูให้ทัน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 20 ธ.ค.2006, 11:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มาจากที่นี่...
http://larndham.net/index.php?showtopic=23795&st=0
จำเป็นมั้ย ?? คนที่ฝึกภาวนาจำเป็นต้องมีครูชี้ทาง
ไม่แน่ใจว่าเดินมาถูกทาง ปฏิบัติถูกแล้วหรือยังค่ะ...
...
mysmilely [@18 ธ.ค. 49 16:01
-ดิฉันทุกข์มา จึงมา search หาคำว่า "ธรรมะ" เพราะเป็นที่พึ่งสุดท้าย ... ได้เจอ "ลานธรรม" ด้วยเหตุบังเอิญ และเริ่มปฏิบัติธรรม จากการแนะนำของหมอพีร์ (ขออนุญาตอ้างอิงค่ะ) โดยรักษาศีล 5 ทุกวัน (ถือศีล 8 สัปดาห์ละวัน) น้อมจิตใจเข้าหาธรรมะ ศึกษาธรรมะจากหนังสือ และเว็บไซต์ต่างๆ

แรก ๆ ที่เริ่มปฏิบัติภาวนาก็สบายใจขึ้นค่ะ เหมือนทุกข์มันคลายตัวอย่างไม่น่าเชื่อ แต่พักเดียวเท่านั้น ทุกข์มันก็กลับมาอีก

การภาวนาที่เหมือนทำมาถูกทาง ก็ชักจะไม่แน่ใจ ว่านี่คือถูกหรือยัง ใช่หรือเปล่า บางทีก็ตามดูกายดูจิตตัวเองไม่ทัน บางครั้งเผลอทีเกือบครึ่งวัน... บอกตรงๆ ว่าบางครั้งดิฉันท้ออย่างบอกไม่ถูก ยิ่งปฏิบัติ มันจุก มันตื้อ จนต้องหยุดพัก

ทางสายกลางดิฉันทราบความหมาย แต่ยังหาทางไม่เจอเลยค่ะ จำเป็นต้องมีครูบาอาจารย์ชี้แนะมั้ยคะ ผู้ภาวนาทุกท่าน โปรดชี้แนวทางด้วยค่ะ


-การฝึกภาวนาหรือจะเรียกว่าอะไรสุดแล้วแต่ชื่อเรียกไม่สำคัญ ... สำคัญที่ว่าปฏิบัติถูกทางถูกจุดหรือไม่ นี่สิสำคัญ
-การภาวนาเป็นการฝึกด้านในคือจากจิตเองเลย ฝึกแก้ที่ต้นเหตุเลย พูดให้เข้าใจง่ายว่า หักดิบนั่นแหละ

ผู้ฝึกจะต้องได้วิธีแก้อารมณ์ความคิดแต่ละครั้งแต่ละขณะๆเองได้ด้วย จึงจะเป็นที่พึงตนเองได้ทุกที่ทุกเวลา ในขณะกำลังฝึกอยู่

วิธีแก้ทุกข์แบบภาวนาเหมือนยาหม้อใหญ่ อาจขมหน่อย ต้องใช้วิริยะอุตสาหะอดทนสารพัด
ไม่ใช่ง่ายๆ อย่างที่พูด ๆ กัน แต่ถ้าปฏิบัติถึงแล้ว ทุกข์จะไม่วนกลับมาอีกเลย

จึงต่างจากการพูดปลอบใจคนผิดหวังในรัก ถูกหักอกมาเป็นต้น ทุกข์ของบุคคลประเภทนี้ได้ผู้พูดแนะนำ กล่าวแสดงความเห็นใจปลอบประโลมประเดี๋ยวก็หาย แต่ก็รอวันประทุรอบใหม่ได้เสมอ เพราะต้นเหตุแห่งทุกข์ยังไม่ถูกขจัดออกไป

การปฏิบัติกรรมฐานหรือฝึกภาวนา เพื่อแก้ทุกข์นั่น เกือบทุกครั้งที่ไม่ได้ผล เพราะเราใจร้อนเกินไป เมื่อเกิดความไม่สบายใจ หรือทุกข์โทมนัสขึ้น ได้หรือมีใครสะกิดว่า ทำกรรมฐานสิแก้ได้ ฝึกสติซี่ช่วยได้ หรือไปวัดนั้นวัดนี้สิท่านสอนกรรมฐานเก่ง....รีบไปรีบทำเพราะต้องการพ้นจากทุกข์นั้นโดยเร็วพลันทันใด....

แต่มันไม่ง่ายอย่างที่คิดดังกล่าวไว้ ต้องอาศัยเวลา การทำติดต่อเนื่อง และถูกทางด้วยอันนี้สำคัญ
ถ้าไม่ถูกทางเสียแล้วทำจนตายก็ไม่ขยับ มีแต่จะทำให้ฟุ้งซ่าน ศรัทธาเสื่อมคลายลงไปด้วย
เพราะฉะนั้นที่ว่า.....จำเป็นมั้ย ?? คนที่ฝึกภาวนาจำเป็นต้องมีครูชี้ทาง
จึงได้คำตอบประเด็นที่ถาม เบื้องต้นควรมีผู้แนะนำ เน้นว่า ผู้แนะนำก็ต้องมีภูมิธรรมปฏิบัติ พูดถึงจุดสูงสุดได้คือรู้วิธีดับทุกข์ใจได้ด้วยธรรมะปฏิบัติ เพราะอริยสัจข้อที่ ๔ มีทุกข์เป็นเบื้องแรก และที่อยู่เบื้องหลังทุกข์คือตัณหา รู้วิธีกำจัดต้นเหตุแห่งตัณหานั้น เพื่อให้ทุกข์ซึ่งเป็นผลดับลง

การปฏิบัติกรรมฐาน มิใช่พูดแบบมีเหตุมีผลแล้วใช้ได้ ยังไม่ถูกทั้งหมด เพราะบางทีเหตุผลก็ไม่ตรงกับความเป็นจริงของธรรมชาติ เพราะญาณต่างจากเหตุผล เช่น... บางครั้ง ญาณ เกิดขึ้น โดยอาศัยความคิดเหตุผล แต่ญาณนั้นเป็นอิสระจากความคิดเหตุผล คือไม่ขึ้นต่อความคิดเหตุผล แต่ออกไปสัมพันธ์กับตัวสภาวะที่เป็นอยู่จริง

(มีต่อ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 20 ธ.ค.2006, 8:20 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 20 ธ.ค.2006, 7:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต่อจากข้างบน

-ตามปกติจิตจะรับรู้อารมณ์ทางทวาร ๖ อยู่ ตลอดเวลา เดี๋ยวแวบมาทางตา เดี๋ยวแวบไปทางหู ฯลฯ หรือ ไม่มีอะไรก็เก็บเอาเรื่องเก่า ๆ มาคิด พูดง่ายๆว่า อยู่ว่างไม่เป็นว่างั้นเถอะ....จิตจึงหาความสงบให้ตนเองไม่ได้ ดูวุ่นไปหมด

ที่สำคัญมักจะจมแช่อยู่กับสิ่งที่ตนสร้างขึ้นมาเหมือนติดบ่วงติดแร้วตนเอง....เพราะฉะนั้น ผู้ฉลาดจึงฝึกจิตให้อยู่ในอำนาจ จิตที่ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้ เมื่อฝึกจนอยู่ในอำนาจแล้ว...จะให้เค้าคิดอะไรทำอะไรก็ง่ายและมีประสิทธิภาพ....

แต่....หลักสำคัญในการฝึกภาวนาต้องมีที่ยึดที่ยันให้เค้าก่อน เหตุเราจะพรากเค้ามาจากการรับรู้อารมณ์ที่เคยชิน....
จะใช้อานาปนสติ (ลมหายใจเข้าออก) หรือส่วนอื่นที่ปรากฏตามร่างกายที่สังเกตรู้ได้ชัด เช่นท้องที่พองขึ้น และยุบลงก็ได้ ไม่อย่างนั้นจิตจะเคว้งคว้างเลื่อนลอยไร้จุดหมาย ตามปกติลมหายใจก็ดี ส่วนท้องที่พองและยุบก็ดี ตั้งแต่เกิดมา...แทบไม่เคยให้ความสนใจเลยด้วยซ้ำ โดยเฉพาะลมหายใจ นอกจาก หายใจไม่ออกนั่นแหละนึกถึงถึงที

-ส่วนท้องพอง-ยุบ ก็เช่นกัน หายใจเข้าท้องพอง หายใจออกท้องยุบ เราก็ไม่เคยให้ความสนใจนัก ดังกล่าวนั่นเป็นรูปธรรม ที่จะให้จิตยึดไว้เป็นเบื้องต้น สำหรับฝึกสติ
-ส่วนนาม ที่ใช้การรับรู้มี ๓ อย่าง คือ เวทนา สุข ทุกข์ ความรู้สึกเฉยๆ ซึ่งเกิดแต่ละขณะ ทางธรรมเรียกว่า เวทนานุปัสสนา
-ส่วนความคิด หรือจิตตานุปัสสนา เมื่อความคิดเกิดขึ้น เช่น มีราคะ ไม่มีราคะ เป็นต้น ก็กำหนดรู้อารมณ์นั้นตามสภาพที่เป็นจริง

-ส่วนนาม อีกส่วนหนึ่งเรียกว่า ธรรมานุปัสสนา ฝึกจิตรับรู้ดูให้ทัน เช่น สังเกตดูความฟุ้งซ่าน ความสงสัย ความท้อแท้ หดหู่ ความง่วงงุน ซึมเซาเป็นต้น...

-สิ่งดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นสลับกันไปมาในแต่ละวันเวลานาที ก่อนๆเราไม่เคยให้ความใส่ใจรับรู้เลย ดูเหมือนไม่มีอะไร ก็ปล่อยๆมันไป ต่อเมื่อมากำหนดรู้ทันมันเข้าดูเหมือนกับว่า จะมีมากมายเสียเกิน สิ่งนั้นดับไปหายไป เรื่องนี้ถาโถมเข้ามาไม่มีหยุด จนเกิดความท้อแท้ถดถอยไม่อยากรู้ไม่อยากกำหนดมันแล้วเบื่อ..

- แรกๆ ตนมีความมุ่งมั่นเอาจริงเอาจังภาวนากันจริงๆ จนความคิดอื่นๆ แทรกเข้ามาไม่ได้
- นานๆไปความเพียรเริ่มอ่อนลง ความขยันภาวนาน้อยลงๆ ก็เป็นธรรมดาอยู่เอง เมื่อฝ่ายหนึ่งกำลังอ่อนกว่า ฝ่ายที่มีกำลังมากกว่าก็ครอบงำเอาอีกได้
กุศลกับอกุศลยืนอยู่คนละฝ่าย ฝ่ายไหนมีกำลังกว่าก็เป็นฝ่ายชนะ แต่ส่วนใหญ่กุศลต้องอาศัยการปลูกขึ้นจากการกำหนดอารมณ์ต่างๆดังกล่าว ซึ่งผ่านมาทางตา ทางหู เป็นต้น

ลองย้อนดู เราเกิดมา 20 --30 ปี สั่งสมความเคยชินสิ่งผิดๆไว้มากกว่าสั่งสมสิ่งที่เป็นสัมมาทิฐิ คือได้ปล่อยจิตให้เตลิดมาเสียนาน ไม่เคยห้าม และไม่รู้วิธีห้าม จู่ๆจะมาห้ามมากักไว้ย่อมเป็นไปได้ยาก คงต้องอาศัยเวลาและการฝึกฝนที่ถูกวิธี ทีละเล็กละน้อย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 21 ธ.ค.2006, 5:13 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 ธ.ค.2006, 5:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต่อจากข้างบน
ขณะปัจจุบัน ในการปฏิบัติกรรมฐาน คือ กำลังมี กำลังเป็นไป แต่ละขณะๆ เฉพาะหน้า ตัวอย่าง เช่น กำลังตักข้าว กำลังยกขึ้น กำลังเคี้ยว กำลังกลืน... กำลังดื่ม กำลังเดิน กำลังคิด.... เรียกว่า ขณะปัจจุบัน หรือ ปัจจุบันขณะ
-เป็นปัจจุบันอารมณ์ที่ใช้ระลึกรู้ จิตเข้าไปรับรู้สิ่งใด สิ่งนั้นก็เป็นปัจจุบันอารมณ์ที่พึงกำหนดรู้ได้ตามความเป็นจริง

-พึงทำความเข้าใจการปฏิบัติกรรมฐานย่อ ๆ ดังนี้

กระบวนการปฏิบัติ
๑. องค์ประกอบ หรือสิ่งที่ร่วมอยู่ในกระบวนการปฏิบัตินี้ มี ๒ ฝ่าย
คือ ฝ่ายที่ทำ (ตัวการที่คอยกำหนด หรือคอยสังเกตเพ่งพิจารณา)
กับ ฝ่ายที่ถูกทำ (สิ่งที่ถูกกำหนด หรือถูกสังเกตเพ่งพิจารณา)

๒. องค์ประกอบฝ่ายที่ถูกทำ หรือถูกกำหนดเพ่งพิจารณา ก็คือ สิ่งที่ธรรมดาสามัญที่มีอยู่กับตัวของทุกคนนั่นเอง เช่น ลมหายใจเข้าออก (อานาปานสติ) (ท้องพองท้องยุบ) ร่างกาย การเคลื่อนไหวของร่างกาย ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ เฉพาะที่เป็นปัจจุบัน คือ ที่กำลังเกิดขึ้น เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ เท่านั้น

๓. องค์ประกอบฝ่ายที่ทำ คือ คอยกำหนดคอยเพ่งพิจารณา เป็นตัวการหลักของสติปัฏฐาน ได้แก่สติ กับ สัมปชัญญะ

สติเป็นตัวเกาะจับสิ่งที่จะพิจารณาเอาไว้
สัมปชัญญะ เป็นตัวปัญญา ตระหนักรู้สิ่ง หรืออาการที่ถูกพิจารณานั้นว่า คือ อะไร มีความมุ่งหมายอย่างไร เช่น เมื่อกำหนดพิจารณาการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น การเดิน ก็รู้ตัวเดินทำไม เพื่อไปไหนเป็นต้น และเข้าใจสิ่งนั้นหรือการกระทำนั้นตามความเป็นจริง โดยไม่เอาความรู้สึกเป็นต้นของตนเข้าเคลือบ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 ธ.ค.2006, 5:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต่อจากข้างบน

-มีข้อควรระวังที่ควรย้ำไว้เกี่ยวกับความเข้าใจผิดอาจเป็นเหตุให้ปฏิบัติผิดพลาดเสียผลได้ กล่าวคือ บางคนเข้าใจความหมาย ของคำแปลสติ ที่ว่าระลึกได้ และสัมปชัญญะที่ว่ารู้ตัว ผิดพลาดไป

-โดยเอาสติมากำหนดนึกถึงตนเอง และรู้สึกตัวว่า ฉันกำลังทำนั่นทำนี่ กลายเป็นการสร้างภาพตัวตนขึ้นมา และจิตก็ไปจดจ่ออยู่กับภาพตัวตนอันนั้น เกิดความเกร็งตัวขึ้นมา หรือ อย่างน้อยจิตก็ไม่ได้อยู่ที่งาน ทำให้งานที่กำลังทำนั้น แทนจะได้ผลดี ก็กลับกลายเป็นเสียไป

-สำหรับผู้ที่เข้าใจผิด พึงมองความหมายของสติในแง่ว่า การนึกไว้ การคุมจิตไว้กับอารมณ์ การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ หรือคุมจิตไว้ในกระแสของการทำกิจ

-และมองความหมายของสัมปชัญญะในแง่ว่า การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้ หรือ รู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำ กล่าวคือ มิใช่เอาสติมากำหนดตัวตน (ว่าฉันทำนั่นทำนี่)

ให้นึกถึงงาน (สิ่งที่ทำ คือ กรรมฐาน)
ไม่ใช่นึกถึงตัว (ผู้ทำ) ให้สติตามกำหนดอยู่กับสิ่งที่กำลังทำ หรือกำลังเป็นไป จนไม่มีโอกาสนึกถึงตัวเอง หรือตัวผู้ทำเลย

คือ ใจอยู่กับสิ่งที่ทำนั้น จนกระทั่งความรู้สึกว่าตัวฉัน หรือความรู้สึกต่อตัวผู้ทำไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย


(พุทธธรรมหน้า 815 )
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 ธ.ค.2006, 9:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จิตรับอารมณ์ทางอายตนะ ๖ มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มิใช่หมายความว่า มันไปรับทีเดียว ๖ อายตนะเลย ไม่ใช่อย่างนั้น

-จิตไปรับรู้ทีละอายตนะ แล้วแต่ว่า อายตนะไหนมีเหตุปัจจัยให้เกิด ก็เกิดที่นั้น รับรู้ที่นั่น จึงกำหนดรู้ที่นั่น มันก็ดับที่นั่น
เช่น ตาเห็นรูปก็ไปรับทางตา หูได้ยินเสียงก็ไปรับทางหู จมูกได้กลิ่นก็ไปรับทางจมูก อย่างนี้เป็นต้น
-เหมือนที่พูดว่า เจริญสติปัฏฐาน ๔ บางคนเข้าใจไปว่า ต้องไปรับรู้ทั้ง ๔ เลย คิดไปโน้นเลย ไม่ใช่อย่างนั้น

-ที่ท่านว่า ให้กำหนดรู้ตามหลักสติปัฏฐาน ๔ หมายความว่า กาย เวทนา จิต ธรรม ทั้ง ๔ นี้ จิตไปเกาะเกี่ยวที่ใด ก็ไปกำหนดรู้ที่นั่น อย่างนี้ต่างหากล่ะ

ในขณะที่นั่งกำหนดพองหนอ ยุบหนอ อยู่ เวทนาเกิดก็ไปรับรู้กำหนดรู้ที่เวทนา ทีละอย่างทีละอารมณ์ อย่างนี้ต่างหาก....

- แต่บางกลุ่มบางคณะ ได้อ่านหนังสือเป็นต้นมาว่า จิตรับอารมณ์ได้ทีละอย่างทีละอารมณ์ ก็เอาเลย ทำทีละอย่างเลยตามหนังสือเลย นั่งดูรูปก็เอาแต่รูปอย่างเดียวเลย หรือนั่งดูนามก็อย่างเดียวเลย เอากันทื่อๆ ซื่อๆ เลย ไม่ใช่อย่างนั้น

-มนุษย์มีแต่รูป-กับนามเท่านั้น... ดูรูป ใช้อะไรดู ก็ใช้นามนั่นแหละดู ก็มันมีอยู่แค่ ๒ อย่างคือรูปกับนาม แล้วทำไมจะต้องไปนั่งดูรูปแล้วก็มานั่งดูนาม ทีละตอน นามดูรูปก็เห็นตัวมันเองคือนามอยู่แล้ว

ในขณะที่..กำหนดรูป คือ พองหนอ ยุบหนอ ก็ใช้นามกำหนดรู้ เมื่อแวบไปไม่อยู่กับพองกับยุบ ก็เห็นตัวมันเองแล้วว่าไม่อยู่กับพองกับยุบ มันแวบออกไปแล้ว ก็เห็นนามแล้วว่าไม่อยู่กับรูป

กลุ่มนี้ติดพยัญชนะมากเกินไป คือไม่เข้าใจสภาวธรรมตามจริง ตัวหนังสือว่ายังไงก็ว่ายังงั้นตรงเด่ไปเลย นักปฏิบัติกรรมฐานพึงตามปัจจุบันขณะให้ทันกำหนดรู้ดูให้ทัน

ที่...ฝึกเดินจงกรมก็ดี ฝึกภาวนาพองหนอ ยุบหนอก็ดี คิดหนอๆ ก็ดี ฟุ้งซ่านหนอๆๆ ก็ดี หรือกำหนดรู้อาการอื่นๆ ก็ดี ก็เท่ากับฝึกติดตามปัจจุบันธรรม แต่ละขณะอยู่แล้ว

-สำหรับผู้ใหม่ อาจจะหลงๆลืมๆ ไปบ้าง ก็ไม่พึงกังวล ค่อยๆกำหนดรู้ติดตามความคิด ติดตามการกระทำต่างๆ ทางกายในแต่ละวันๆ เท่าที่จะตามทัน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 ธ.ค.2006, 5:23 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 ธ.ค.2006, 11:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แรก ๆ ที่เริ่มปฏิบัติภาวนาก็สบายใจขึ้นค่ะ เหมือนทุกข์มันคลายตัวอย่างไม่น่าเชื่อ แต่พักเดียวเท่านั้น ทุกข์มันก็กลับมาอีก

การภาวนาที่เหมือนทำมาถูกทาง ก็ชักจะไม่แน่ใจ ว่านี่คือถูกหรือยัง ใช่หรือเปล่า บางทีก็ตามดูกายดูจิตตัวเองไม่ทัน บางครั้งเผลอทีเกือบครึ่งวัน... บอกตรงๆ ว่าบางครั้งดิฉันท้ออย่างบอกไม่ถูก ยิ่งปฏิบัติ มันจุก มันตื้อ จนต้องหยุดพัก


- ดังกล่าวมา..จิตต้องมีที่ยึดที่ยันตัวไว้ ไม่อย่างนั้นจะเคว้ง สรุปว่า เอาลมหายใจเข้าออกแล้วกันเป็นอารมณ์ภาวนาไว้ หายใจเข้าพุท หายใจออก โธ (ถ้าใช้ท้องพอง-ยุบ.... ท่อง พองหนอ ยุบหนอไป)
ใช้เป็นกรรมฐาน หรือเป็นที่ทำงานของจิต ภาวนาไปพุทโธๆๆ ไป ไม่ต้องคิดถึงสิ่งอื่น เมื่อจิตมันแวบออกไปนอกพุทโธ กำหนดรู้ความคิด คิดหนอๆๆ แล้วกลับมาพุทโธ ๆ ต่อไปอีก
กำหนดรู้ทีละขณะๆ อย่างนี้ มีความรู้สึกอย่างไร พึงกำหนดรู้อย่างนั้น ตามสภาพที่เป็นจริงของมัน...

หากใช้พอง-ยุบ เป็นที่ทำงานของจิต ก็มีลักษณะเดียวกัน ขณะ
พองหนอ ยุบหนอ ความคิดแวบออกนอกพอง-ยุบ กำหนดรู้ คิดหนอๆๆ แล้วกลับมาพองหนอ-ยุบหนอ ต่ออีก....

- กำหนดรู้ให้ทันความคิดทันอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ค่อยๆ ทำจนความคิดเผลอไผลน้อยลงนั่นแหละ จึงพอมองเห็นประสิทธิภาพแห่งการปฏิบัติกรรมฐานบ้าง....

-ฝึกใหม่ๆก็เผลอมากเผลอนานอย่างนี้แหละ อย่างที่บอกว่า เราปล่อยให้จิตเขาเตลิดเปิดเปิงไปไหนต่อไหนจนชินเสียแล้ว คงต้องพยายามกำหนดรู้ดูให้ทัน

คิดหนอๆๆ เมื่อคิด
ฟุ้งซ่านหนอๆ เมื่อฟุ้งซ่าน
รำคาญหนอๆ ๆ เมื่อรู้สึกรำคาญ
ท้อหนอๆ เมื่อรู้สึกท้อแท้
จุกหนอๆๆ เมื่อรู้สึกจุก
ตื้อหนอๆๆ เมื่อรู้สึกตื้อๆ รู้สึกอย่างไรก็กำหนดรู้อย่างนั้นตามสภาพความเป็นจริง
ไม่นานหรอก ถ้า....ไม่หยุดพักเสียกลางคัน ก็จะเห็น ความคิดเริ่มสงบลงๆ ตามลำดับ

-มิใช่เพียงนั่งกำหนดอารมณ์เท่านั้น ทุกอิริยาบถในการดำรงชีวิต ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐานได้หมด อาบน้ำอาบท่า กินข้าวกินปลาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้น.

กำหนดรู้ความคิด ความรู้สึกเป็นขณะๆ อย่างนี้แหละ ถ้าเราตามทันบ่อยๆเข้าก็จะรู้ว่า ความคิดค่อยๆ เชื่องลง ๆ
...
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 ธ.ค.2006, 4:28 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 ธ.ค.2006, 3:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มาจากคห.นี้
http://larndham.net/index.php?showtopic=23795&st=5
ในเมื่อเรายังไม่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ทั้งยังตัดกิเลสไม่ได้ กัลยาณมิตรในลานธรรมแห่งนี้ปฏิบัติยังไงเวลาเกิดกิเลสคะ ..... อย่างส่วนตัวดิฉันเองก็เช่นว่า ไปเดินห้างฯ และเห็นเสื้อผ้าชุดนึงสวย ก็เกิดความอยากได้ นั่นก็เกิดกิเลสแล้ว ดิฉันก็พิจารณาแล้วว่ามีกำลังซื้อหาได้ ก็ซื้อหามาเป็นของตน อย่างนั้นก็เท่ากับว่าให้กิเลสชักจูงไป ทีนี้ดิฉันลองสังเกตตนเองดู รู้สึกว่าเมื่อไรที่เราตามใจเจ้าตัวกิเลสนี้บ่อยๆ
เราจะอ่อนภาวนาค่ะ เพื่อนๆในลานธรรมเป็นเหมือนกันมั้ยคะ และมีความคิดเห็น / จัดการกับเจ้าตัวกิเลสยังไง
mysmilely [@ 19 ธ.ค. 49 13:45


- ปัจจัย ๔ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานของมนุษย์ พึงพิจารณาว่า แต่ละอย่างๆ พอดีกับความต้องการหรือยัง ยกตัวอย่าง เช่น กินอาหารในแต่ละมื้อ ๆ อิ่มพอดีกับความต้องการหรือยัง รู้สึกอิ่มแล้วแต่ยังอร่อยก็ขืนอีกหน่อยเพราะอร่อยดี อย่างนี้เกินความจำเป็น กลายเป็นบริโภคด้วยด้วยตัณหาไป

- อย่างอื่นๆ มีเครื่องนุ่งห่มเป็นต้น ก็พึงพิจารณาแบบเดียวกัน คือ มุ่งประสงค์ประโยชน์
เพื่อปกปิดร่างกายไม่ให้เกิดความละอาย เมื่อเห็นว่า จำเป็นมีกำลังพอซื้อได้ก็ซื้อได้ มิใช่ว่าภาวนาแล้วปล่อยเนื้อตัวให้มอมแมม เสื้อผ้าเก่า ๆไม่น่าทัศนา ผู้คนพบเห็นจิตใจก็เศร้าหมองอีก

- แต่ก็มิใช่เดินห้างทุกวันเห็นสวยทุกวัน ซื้อทุกครั้งอย่างนี้ก็เกินพอดีอีก กลายเป็นทำตามใจอยากเกินไป พึงพิจารณาด้วยความพอเหมาะ

-การภาวนาภาวนาได้ทุกครั้งที่รู้สึกไม่มีเว้น ขณะที่ใจต้องการอยู่ตอนนั้นก็ภาวนาได้ อยากได้หนอๆ สวยจริงหนอๆ ลองดูก็ได้ บางทีภาวนาจนความต้องการดับ ไม่อยากซื้อแล้วก็ได้เกิดเสียดายตังขึ้นมา ความคิดเปลี่ยนได้เสมอเกิดดับเกิดดับ...

-ลองเล่นกับความคิดก็ได้ เห็นแล้วชอบสวยจังแฟชั่นใหม่ล่าสุดเลย อยากได้ แต่เราเดินเลยไปก่อนดูอะไรต่ออะไรสักพักหนึ่งแล้วลองสังเกตความคิดดูซี้...
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ธ.ค.2006, 9:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทางสายกลางดิฉันทราบความหมาย แต่ยังหาทางไม่เจอเลยค่ะ จำเป็นต้องมีครูบาอาจารย์ชี้แนะมั้ยคะ ผู้ภาวนาทุกท่าน โปรดชี้แนวทางด้วยค่ะ

-บางครั้ง มีผู้นำเอาคำว่า ทางสายกลางไปใช้อย่างกว้างขวาง หมายถึงการกระทำ หรือความคิดที่อยู่กึ่งกลางระหว่างการกระทำ หรือความคิดสองแบบสองแนว หรือคนสองพวกสองฝ่าย คือวัดเอาให้ได้ครึ่งทางระหว่างสองแบบหรือสองฝ่ายนั้น ความเป็นกลางหรือทางสายกลางอย่างนี้ ไม่มีหลักอะไรที่แน่นอนต้องรอให้เขามีสองพวกสองฝ่ายก่อน จึงจะเป็นกลางได้ และจุดกลางหรือเส้นกลางก็ไม่แน่ลงไปว่าแค่ไหนสุดแต่สองพวกหรือสองฝ่ายเขาจะยึดถือปฏิบัติกันแค่ใด ทางสายกลางนั้นก็ขยับเขยื้อนเลื่อนไปให้ได้ครึ่งทางระหว่างสองพวกสองฝ่ายนั้น
-บางครั้งทางสายกลางแบบนี้ก็มองดูคล้ายกับทางสายกลางที่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา แต่ก็พึงทราบว่าเป็นทางสายกลางเทียม ไม่ใช่ของแท้จริง
ดูต่อด้านล่าง
.
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ธ.ค.2006, 9:11 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ทางสายกลางที่แท้จริงมีหลักที่แน่นอน ความหมายที่แน่นอนของทางสายกลางนั้น อยู่ที่ความมีจุดหมายหรือเป้าหมายที่แน่ชัด เมื่อมีเป้าหมายหรือจุดหมายที่แน่นอนแล้ว ทางที่จะนำไปสู่จุดหมายนั้น หรือการกระทำที่ตรงจุดพอเหมาะพอดีที่จะให้ผลตามเป้าหมายนั้นแหละคือทางสายกลาง

-ทางสายกลางที่เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทานี้ มีจุดหมายที่แน่นอน คือ ความดับทุกข์หรือภาวะหลุดพ้นเป็นอิสระไร้ปัญหา มรรคคือระบบความคิดและการกระทำ หรือการดำเนินชีวิตที่ตรงจุดพอเหมาะพอดีให้ได้ผลสำเร็จตามเป้าหมายคือความดับทุกข์นี้ จึงเป็นทางสายกลาง หรือมัชฌิมาปฏิปทา

อนึ่ง โดยเหตุที่ทางสายกลางเป็นทางที่มีจุดหมายแน่ชัด ผู้ปฏิบัติจึงต้องรู้จุดหมายจึงจะเดินทางได้ คือ เมื่อจะเดินทางก็ต้องรู้ว่าตนจะไปไหน ด้วยเหตุนี้ ทางสายกลางจึงเป็นทางแห่งปัญญา และจึงเริ่มต้นด้วยสัมมาทิฐิ คือ เริ่มด้วยความเข้าใจปัญหาของตนและรู้จุดหมายที่จะเดินทางไป

โดยนัยนี้ ทางสายกลางจึงเป็นทางแห่งความรู้และความมีเหตุผลเป็นทางแห่งการรู้เข้าใจ ยอมรับและกล้าเผชิญหน้ากับความจริง เมื่อมนุษย์มีความรู้ความเข้าใจและกล้าเผชิญหน้ากับความจริงของโลกและชีวิตแล้ว มนุษย์จึงจะสามารถจัดการกับชีวิตด้วยมือของตนเอง หรือสามารถดำเนินชีวิตให้ถูกต้องดีงามกันได้เอง โดยไม่ต้องหวังพึ่งอำนาจศักดิ์สิทธ์ฤทธานุภาพดลบันดาลจากภายนอก

และเมื่อมนุษย์มีความมั่นใจด้วยอาศัยปัญญาเช่นนี้แล้ว มนุษย์ก็จะไม่ต้องไปหมกมุ่นวุ่นวายอยู่กับสิ่งที่ห่วงกังวลว่าจะมีอยู่นอกเหนือวิสัยของมนุษย์ ท่าทีแห่งความมั่นใจเช่นนี้แหละคือลักษณะอย่างหนึ่งของเป็นทางสายกลาง

ผู้เดินทางสายกลาง เมื่อเข้าใจปัญหาและกำหนดรู้แนวแห่งจุดหมายแล้วก็จะมีความรู้ความเข้าใจตามมาอีกด้วยว่า ทางสายกลางสู่จุดหมายนั้น คือทางดำเนินชีวิตที่ไม่ตีราคาค่าตัวต่ำถึงกับยอมสยบจมลงในกระแสโลก ปล่อยชีวิตให้เป็นทาสแห่งอามิสที่เป็นเหยื่อล่อของโลก เป็นอยู่ด้วยความหวังที่จะได้เสพรสอร่อยของโลกถ่ายเดียว โดยยอมให้สุขทุกข์ ความดีงาม และคุณค่าแห่งชีวิตของตนขึ้นต่อวัตถุ และความผันผวนปรวนแปรของเหตุปัจจัยต่างๆ ในภายนอกอย่างสิ้นเชิง ไม่ให้ชีวิตมีอิสรภาพ เป็นตัวของตัวเอง โดยไม่ขึ้นต่อโลกร่ำไปเสียบ้างเลย

ทางดำเนินชีวิตที่เป็นสายกลางนั้น นอกจากไปเอียงสุดทางวัตถุ จนเป็นทาสของวัตถุหรือขึ้นต่อวัตถุโดยสิ้นเชิงแล้ว ก็ไม่เอียงสุดทางจิตด้วย
คือมิได้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นต่อการบำเพ็ญเพียรและผลสำเร็จทางจิตฝ่ายเดียวจนปล่อยปละละเลยไม่เอาใจใส่สภาพทางวัตถุและร่างกาย กลายเป็นการประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเอง

ทางดำเนินชีวิตนี้มีลักษณะไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น เป็นไปด้วยการรู้เข้าใจสภาพที่เป็นอยู่ตามที่เป็นจริง ทั้งทางวัตถุและทางจิตใจ แล้วปฏิบัติด้วยความรู้เท่าทัน พอสมแก่เหตุปัจจัย และสอดคล้อง พอเหมาะพอดี ที่จะให้ได้ผลตามจุดหมาย มิใช่ทำสักว่าจะให้ได้เสพเสวยเวทนาอันอร่อยของอามิส หรือ สักว่าถือตามๆกันมา โดยสำคัญมั่นหมาย ว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้โดยงมงาย

- ทางสายกลางมีลักษณะบางอย่างที่พึงทราบ ดังกล่าวมานี้ หากผู้ใดจะกล่าวอ้างถึงทางสายกลาง หรือเดินสายกลาง อย่างหนึ่งอย่างใด ก็พึงถามท่านผู้นั้นว่า เขาได้เข้าใจสภาพปัญหาที่มีอยู่และจุดหมายของทางสายกลางที่จะเดินนั้นแล้วหรือยัง

พุทธธรรมหน้า 583
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 27 ธ.ค.2006, 7:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นี่อีกรายหนึ่งที่แก้ไม่ได้และเป็นปัญหา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=9773

-บอกให้นักปฏิบัติกรรมฐาน (แบบภาวนามัย) เรียกจะเรียกว่าอะไรสุดแท้แต่ รู้ทั่วกันว่า
ถ้าอาการต่างๆ ซึ่งเกิดจากภาวนาสมาธิแล้วละก็ จะต้องแก้ด้วยวิธีรู้ทันสภาวธรรมนั้น แล้วกำหนดรู้อาการนั้นตามเป็นจริงอย่างที่บอกให้เท่านั้น (อ่านๆ ดู บางท่านอาจนึกขำๆรู้สึกตลกๆ)

รู้สึกอย่างไรพึงกำหนดอย่างนั้น มีอาการอย่างไรพึงกำหนดตามอาการนั้น ตามสภาพที่มันเป็น

-การจะให้ผู้อื่นมาแก้ด้วยการเทศน์ให้ฟัง ก็ดี พูดบอกให้ฟังก็ดี บอกได้คำเดียวว่าไม่มีทางสำเร็จ...

เพราะอาการนั้นมันเกิดมาจากจิตจากความคิดของผู้นั้นเอง ซึ่งภาวนาจนเป็นหนึ่ง หรือเป็นสมาธิ แล้วสติสัมปชัญญะคุมอาการนั้นไม่อยู่ คือ สติสัมปชัญญะอ่อนไป

จึงต้องแก้ด้วยวิธีดังกล่าวมาอย่างเดียว ถ้าต้องการทำต่อไป
หรืออีกวิธีหนึ่ง คือ หยุดทำไปเลย เท่านี้เอง
นอกนั้นไม่มีทาง จึงขอบอกด้วยความปรารถนาดี

อ้อ...แล้ววิธีที่ปฏิบัติร่วมด้วย ก็คือการเดินจงกรมระยะต่ำๆ ปรับอินทรีย์ช่วยด้วย...
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 27 ธ.ค.2006, 7:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลองศึกษาลิงค์เหล่านี้เป็นตัวอย่างประกอบ

http://larndham.net/index.php?showtopic=21405&st=0

http://larndham.net/index.php?showtopic=21533

http://larndham.net/index.php?showtopic=21323
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
โนเนม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 28 ธ.ค.2006, 1:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่ว่าจะเป็นการเจริญสมถกรรมฐาน หรือ วิปัสสนากรรมฐานนั้น ต้องมีปัญญาเข้าประกอบร่วมด้วย เพียงแต่ปัญญาในระดับของสมถนั้นรู้เพียงการเจริญความสงบจนถึงฌานเท่านั้น แตกต่างจากการเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่เป็นปัญญาที่รู้แจ้งในลักษณะของรูป หรือ นามบ่อยๆเนืองๆ และเป็นปรกติ ไม่ใช่ผิดปรกติ ดังนั้นความเข้าใจในการเจริญสติปัฎฐานที่จะเป็นปัจจัยให้ถึงวิปัสสนาญานนั้นจึงมีความสำคัญมาก ซึ่งถ้าเข้าใจแล้วก็จะไม่มีการที่จะไปนั่งนานๆ เพื่อที่จะเพ่งหรือรอให้เกิดอะไรสักอย่าง นั่นไม่ใช่การกำหนดรู้เลย และเมื่อกำหนดรู้ก็ไม่ใช่การไปกำหนดว่า ยุบหนอ พองหนออะไรแบบนั้น แต่เป็นการกำหนดรูในอรรถของนามและรูป โดยไม่ต้องอาศัยการนึกถึงคำหรือความหมายแต่ประการใด เช่นปฐวีธาตุ เป็นต้น ลักษณะของปฐวีธาตุมีลักษณะที่แข้นแข็งหรืออ่อน ความหมายบอกแล้ว แต่ลักษณะแข็งหรืออ่อน ซึ่งปรากฎให้รู้ในชีวิตประจำวันของทุกคนนั้น ถ้าไม่มีสติแล้วก็จะไม่มีทางรู้ได้ รู้แต่เพียงว่าเป็นสิ่งของ เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนที่แข็ง แต่ถ้ามีสติสัมปชัญญะเกิดขึ้นแล้วจะรู้ว่าขณะนั้น ไม่ได้มีใคร ตัวตนอะไรที่ไหนที่กำลังแข็ง มีแต่ลักษณะที่แข็งเท่านั้นที่เกิดขึ้น นามก็เช่นเดียวกัน ที่รู้แข็งได้เพราะมีนามถ้ากำหนดรู้แข็งก็จะไม่รู้นาม ถ้ากำหนดลักษณะที่รู้แข็งก็จะไมรู้แข็ง เพราะจิตเกิดขึ้นทีละขณะเท่านั้น ต้องเป็นจีรกาลภาวนาจริงๆ
 
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 ธ.ค.2006, 3:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต้องมีปัญญาเข้าประกอบร่วมด้วย...ฯลฯ

นั่นสิครับ ต้องเป็นญาณสัมปยุต แล้วทำอย่างไรปฏิบัติอย่างไรล่ะ ปัญญาจึงจะเกิดขึ้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 ม.ค. 2007, 6:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นี่ก็อีกรายหนึ่งครับ
http://larndham.net/index.php?showtopic=24026&st=0


http://www.dhammachak.com/viewtopic.php?p=483#483
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง