Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อารมณ์ซึ่งเกิดแก่ผู้ปฏิบัติกรรมฐาน แล้วไม่รู้จักวิธีแก้ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ย.2006, 10:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อาการหลอน ไม่กลัวบ้าตอนนั่งกรรมฐาน แต่กลัวบ้าตอนนอน
เป็นความรู้สึกที่อธิบายยาก ผมจะพยายามเล่าผ่านตัวอักษรครับ ผมสังเกตมาหลายครั้งแล้ว ผมจะเป็นเฉพาะช่วงที่ฝึกสมาธิต่อเนื่องกัน

กรรมฐานที่ผมใช้มักจะดูลมหายใจเข้าออก พอฝึกถึงจุดหนึ่งรู้สึกเย็นตามจุดจักรกะของร่างกาย ซาบซ่าตามร่างกายตรงนั้นมั่ง
ตรงนี้บ้าง แต่ส่วนใหญ่จะเย็นบริเวณศรีษะ และหน้าอก รสชาติอร่อย อันนี้ตอนนั่งกรรมฐานจะไม่เกิดภาพนิมิตรอะไรมาหลอน

ถ้าจะมีนิมิตรส่วนใหญ่จะเป็นแสงไฟสว่างอยู่ด้านหน้าผาก แต่ก็ไม่ได้จับมาเป็นนิมิตรอารมณ์ สนใจแต่ลมหายใจเข้าออก พอนั่งสมาธิจนพอแล้วก็ล้มตัวลงนอน เมื่อนอนไปได้สัก 1-2 ชั่วโมงมันจะเริ่มฝัน ฝันเป็นเรื่อง เป็นราว เป็นเหตุการณ์ ฝันไปสักพักก็จะเหมือนหลับๆ ตื่นๆ จะเห็นภาพในห้องลางๆ จะเห็นแบบเคลิ้มๆ สลัวๆ หลอนๆ แล้วก็หลับต่อ แล้วก็ฝันเหตุการณ์เรื่องราวต่อจากที่ฝันเมื่อกี้ ฝันไปได้สักพัก ก็จะหลับๆ ตื่นๆ เคลิ้ม สลัวๆ หลอนๆ เหมือนเมื่อกี้อีกจะสลับกับฝันอย่างนี้เรื่อยไปจนเช้า
ฯลฯ

พอหลุดจากฝันชั้นนั้นได้แล้ว นึกว่าตัวเองตื่นได้แล้ว แต่ที่ไหนได้ก็พบว่าตัวเองยังฝันอยู่ ยังติดอยู่ในฝันอีกชั้นหนึ่ง ช่วงนี้จะอยู่ในสภาพหลอนๆ เบลอๆ ทำให้น่ากลัว
แต่ก็ไม่รู้ว่ากลัวอะไร บอกไม่ถูกเหมือนกัน ช่วงน่ากลัวนี้อยากจะให้เช้าเร็วๆ เพราะไม่อยากเจอสภาวะอย่างนี้ บางครั้งพอตื่นขึ้นมากลางดึกได้แล้ว จะลุกขึ้นเลย ไม่กล้านอนต่อ ไม่กล้านั่งสมาธิ กลัวตัวเองจะบ้าเมื่ออยู่ในสภาพฝันๆหลอนๆ เบลอๆ แต่พอหยุดการนั่งสมาธิ

อาการเหล่านี้จะไม่มีเลย ทำให้ทุกครั้งพอนั่งสมาธิมาถึงจุดนี้ ไม่กล้าฝึกสมาธิต่อ กลัวบ้าตอนฝัน แต่ตอนนั่งกรรมฐาน ทุกครั้งส่วนใหญ่จะไม่มีนิมิตรมาแทรก ไม่มีนิมิตรมาหลอนเลย ไม่กลัวบ้าตอนนั่ง แต่กลัวบ้าตอนนอน
ฯลฯ
เพียรชำระ [ @: 21 พ.ย. 49 01:11 ]

..........

-มาจากเว็บข้างล่าง

http://larndham.net/index.php?showtopic=23266&st=0
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 พ.ย.2006, 9:52 am, ทั้งหมด 3 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ย.2006, 11:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ปัจจุบันนี้ การปฏิบัติจิตภาวนา หรือที่คุ้นหูในหมู่ชาวพุทธว่า ปฏิบัติกรรมฐาน เริ่มแพร่หลายเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น ผู้คนให้สนใจลองทำ ลองปฏิบัติกันเพิ่มขึ้น สำนักต่างๆ ผุดขึ้นหลายๆ แห่ง เว็บไซต์ธรรมะหลาย ๆ ที่ ก็มีการสนทนาพูดคุยกัน และนำไปลองทำกันดู

-ถ้ามองในแง่ปริมาณก็ว่าดี เพราะผู้คนให้ความสนใจมากขึ้น แต่ปัญหาก็ตามมาเช่นกัน
เพราะอะไร ? ??
-เพราะบางคนทดลองทำเองตามหนังสือโดยขาดความเข้าใจบ้าง บางคนเข้าไปเรียนรู้จากสำนักต่างๆ ที่สอนกันอยู่บ้าง

ปัญหาก็เกิดอีกว่า บางแห่งบางที่ มีประสบการณ์ทางปฏิบัติมาน้อย หรือรู้เพียงรูปแบบปฏิบัติ หรือไม่มีประสบการณ์ทางปฏิบัติโดยตรงมาเลย

ปัญหาจึงมีว่า ผู้มาฝึกแล้วเกิดอาการต่างๆ ....ก็แก้อารมณ์ให้เขาไม่ได้ แก้อารมณ์ทางปฏิบัติภาวนาไม่เป็น จึงผู้นั้นได้รับสิ่งไม่พึงประสงค์ตามมา เช่น เห็นภาพหลอนบ้าง เกิดอาการทางจิตซึ่งเรียกว่านิมิตติดมาบ้าง หรือเวทนาบางอย่างรบกวนตามมาบ้าง หรือบางคนหลงอารมณ์ตนเองโดยเข้าใจว่า ตนบรรลุธรรมโดยมีผู้นั้น..ผู้นี้ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (อะไรไม่ทราบ) มาบอกนั่นบอกนี่ให้บ้าง ฯลฯ

-นักปริยัติก็รู้อย่างปริยัติ แต่ภาคจิตภาวนาไม่รู้ว่าจะแก้ไขอย่างไร ? พูดกันไปตามหนังสือตามความรู้สึกว่ามีเหตุมีผล... ที่ได้ยินบ่อย ๆ คือ คำพูดว่า อย่ายึดติด,อย่ายึดมั่นถือมั่น, ปล่อยวางเป็นต้นบ้าง.....แต่ผู้ที่ประสบปัญหาด้วยตนเอง ณ ขณะนั้นไม่รู้จะวางอย่างไร ไม่ยึดน่ะทำอย่างไร เพราะเป็นนามธรรม และสิ่งที่ประสบตนก็เห็นอยู่รู้อยู่....

ตัวอย่างข้างบนนั่นก็เป็นรายหนึ่งที่เกิดปัญหาทางความรู้สึกขึ้นจากการปฏิบัติภาวนา แก้ไม่ได้แล้วจึงเรียกร้องหาผู้ช่วยเหลือ ช่วยแก้อารมณ์ให้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็มีแต่นักคิดนักเขียน นักวิจารณ์ ไม่ใช่นักปฏิบัติภาวนามาก่อน...... ให้คำแนะนำจนแตกออกไปหลายทาง....ผู้ฟังผู้ปฏิบัติโดยตรงก็งงงวย ไม่รู้จะทำอย่างไรดี วิธีไหนดี เพราะมากมายเหลือเกิน....น่าสงสารและเห็นใจมากๆ

-ฉะนั้นปัญหานี้เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง ซึ่งจะทำให้ภาพของการปฏิบัติกรรมฐานโดยรวมเสียหายในสายตาของผู้มองเข้ามาว่า และผู้กำลังจะเข้ามาปฏิบัติคิดว่า อะไรกันปฏิบัติกรรมฐานแล้วเป็นแบบนี้หรอ...แบบนี้ไม่เอาดีกว่า.....

-ครั้นจะเข้าไปช่วยแก้อารมณ์ความรู้สึกให้ผู้เช่นนั้น...บางแห่งก็ขัดข้องด้วยทิฐิ... ด้วยถือมติกันคนละสำนัก เป็นต้น บ้าง โดยมิได้คิดช่วยเหลือเขาผู้ซึ่งเป็นเช่นนั้นในทางที่ถูกที่ควร เพื่อให้เขาประสบสันติจากการปฏิบัติภาวนา.

จากส่วนลึกของความรู้สึก
กรัชกาย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 พ.ย.2006, 8:12 am, ทั้งหมด 6 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ย.2006, 9:45 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่มาจากเว็บนี้

http://larndham.net/index.php?showtopic=23266&st=18

คุณเพียรชำระ.....
การเดินจงกรม (เดินกลับไปกลับมา) โดยมีเท้า ซ้าย ขวา เป็นที่ทำงานของจิตแค่นี้เอง แล้วก็เดินไปตามปกติ ไปต้องไปตั้งท่าอะไรให้ผิดปกติธรรมดาสามัญ
ผมจะเริ่มเดินให้คุณเห็นภาพนะครับ

-เมื่อเราได้ที่เดินยาวพอสมควรแล้ว ที่ไหนก็ได้ในบ้าน ในสวน ในห้อง ฯลฯ ยืนตัวตรงๆ เก็บมือประสานกันไว้ข้างหน้า หรือไขว้หลังก็ได้แล้วแต่สะดวก หรือหน้าบ้างหลังบ้างก็ได้ไม่สำคัญ (ไม่พึงยึดในรูปแบบ) นึกสำรวจรูปยืนตั้งแต่เบื้องล่างขึ้นข้างบน จากบนลงล่าง คือ จากปลายเท้า ขึ้นมาถึงศีรษะ จากศีรษะลงมาถึงปลายเท้า พร้อมกับบริกรรมรูปยืนนั้น...
ยืนหนอ
ยืนหนอ
ยืนหนอ...
เมื่อจะก้าวเดิน....เท้าไหนก้าวก่อนรู้สึกตัว ก้าวเดิน พร้อมกับภาวนาว่า
ซ้าย ย่าง หนอ,
ขวา ย่าง หนอ,
ซ้าย ย่าง หนอ,
ขวา ย่าง หนอ...

-สุดพื้นที่แล้วหยุด ยืน ภาวนารูปยืนอีก

ยืนหนอ ยืนหนอ....แล้วค่อยหมุนตัวกลับหลัง
กลับหนอ
กลับหนอ
กลับหนอ...เหมือนดังกล่าวแล้ว...หมดเวลาที่ตั้งใจหยุด...
สมมุติว่า เคยเดิน 15 นาที ครบ 15 นาทีหยุด แล้วนั่งกำหนดอารมณ์พุทโธๆ ตามที่ตนเคยทำมา 15 นาที (แต่ระยะนี้พักการนั่งพุทโธไว้ก่อน)

-ที่พลาดจุดสำคัญของผู้ซึ่งภาวนาพุทโธ คือ ไม่รู้วิธีเดินจงกรมให้ทันปัจจุบันขณะ และ ไม่ภาวนา เวทนา จิต และ ธรรม ซึ่งเกิดขึ้นๆ ภาวนาแต่ลมหายใจอย่างเดียว ครั้นเห็นอะไรหรือรู้สึกอย่างไรเกิดขึ้นแปลก ๆ ก็สงสัยร่ำไปว่า มันเป็นอะไร คืออะไร.....หรือไม่ก็เข้าใจสภาวะต่างๆ ซึ่งปรากฏแปลก....ซึ่งตนไม่เคยคิดเป็นต้น เมื่อตนไม่กำหนดตามที่คิด ที่เห็น.....จึงให้เข้าใจผิดหลงสำคัญตนผิดว่าเป็นนั่นเป็นนี่ไป.....

-คุณเพียรชำระ พึงภาวนาอารมณ์ความรู้สึกทุกอย่างที่รู้สึก ที่ปรากฏตามความรู้สึกนั้นๆ ทุกๆ ครั้ง ไม่พึงปล่อยให้ล่วงเลยไป เมื่อภาวนาทัน ความคิดเช่นนั้น อาการเช่นนั้น การภาวนานี่ล่ะ สติสัมปชัญญะและองค์ธรรมมากมายเช่น วิริยะ ปัญญาเป็นต้นก็...เกิดขึ้นๆ แล้วจะผ่านสิ่งต่างๆไปได้เองโดยไม่ต้องสงสัย
-ขอให้ภาวนาๆๆ เท่านั้น ไม่พึงคิดพึงทำหรือคิดแก้สิ่งต่าง ๆ ซึ่งเกิดกับตน ตามความต้องการของตนไม่ได้เลย ภาวนาอย่างเดียว.

..................

http://larndham.net/index.php?showtopic=21157&st=165

-คุณเพียรชำระ เข้าไปศึกษารูปแบบการเดินจงกรมได้ที่เว็บข้างบนนั้น
ระยะที่1-3 เพิ่มความเพียร (วิริยะ)
ส่วน 4-6 เพิ่มสมาธิ (ความตั้งใจมั่น)

-หมายเหตุ...ไม่จำเป็นต้องเดิน ทั้ง 6 ระยะ แต่ประการใด
-ส่วนคุณควรเดินระยะที่ 1 ให้มากๆ เพราะจะเพิ่มวิริยะ สมาธิจะลดลง
ความจริงสมาธิไม่ได้ลดหรอก เพียงอย่างหนึ่งมากกว่าอีกอย่างหนึ่ง ก็ดูเหมือนว่า อีกอย่างหนึ่งลดลง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 พ.ย.2006, 9:44 am, ทั้งหมด 6 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ย.2006, 10:26 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอบปัญหาคุณตัวนิดฉบับที่ ๓ จากเว็บนี้
http://larndham.net/index.php?showtopic=23134&st=15

..............

เมตตา กรุณา อุเบกขา ขันติ ฯลฯ มีอะไรเป็นปัจจัยให้เกิดหรือคะ เกิดขึ้นทำไมคะ เกิดแล้วก็หายไป เราควรเอามาต่อยอดอย่างไรคะ หรือตามดู มักไม่เห็นมันเกิด ดับ แต่รู้ว่าเหมือนเส้นโค้งที่ค่อยๆลาดขึ้น ลาดลง แต่ไม่เห็นตอนเริ่ม ตอนหมดค่ะ
.........
เมตตา กรุณา อุเบกขา ขันติ ฯลฯ - เป็นสภาวธรรม เป็นสังขตธรรม เป็นเจตสิกธรรม แล้วแต่จะเรียก ได้เหตุให้เกิดก็เกิด หมดเหตุก็ดับ ตอบไปแล้ว ตามเหตุปัจจัยของมัน
............
เกิดขึ้นทำไมคะ
! คุณนิดนี่ช่างซักช่างถาม เหมือนเด็กๆ กำลังอยากรู้อยากเห็นเชียวนะคะ
เกิดขึ้นทำไมคะ ? ก็เกิดขึ้นทำหน้าของเค้าสิครับ หน้าที่ของเมตตา= ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่น มีความสุข....ดังนี้เป็นตัวอย่าง...
ส่วนขันติ-ความอดทน หน้าที่ของขันติคือไม่หยั่นไม่กลัวต่อความยากลำบาก ในการภาวนาพองหนอ ยุบหนอ ซ้าย ย่าง หนอ ขวา ย่าง หนอเป็นต้น
.........
เกิดแล้วก็หายไป เราควรเอามาต่อยอดอย่างไรคะ หรือตามดู มักไม่เห็นมันเกิด ดับ แต่รู้ว่าเหมือนเส้นโค้งที่ค่อยๆลาดขึ้น ลาดลง แต่ไม่เห็นตอนเริ่ม ตอนหมดค่ะ
.

(ที่เป็นลักษณะเช่นว่า นั้นเพราะสันตติ (ความสืบต่อ) ยังไม่ขาด...)...เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป นี่คือสัจธรรม เกิดดับเกิดดับ

คุณนิดเคยคิดถึงใครสักคนไหมครับ คิดถึงแบบสุดๆ คิดถึงทุกวันน่า
เพราะอะไร ? เพราะการนึกถึงบ่อย ๆ ความคิดถึงก็เกิดถี่ ๆ เกิดบ่อย ๆ แต่ความคิดถึงนั่นก็เกิดดับนะครับ แต่ว่ามันเกิดดับเร็ว
การต่อยอดให้องค์ธรรมก็ลักษณะนี้ กำหนดปัจจุบันอารมณ์บ่อยๆ จนกุศลธรรมเกิดดับเกิดดับถี่ยิบเป็นสายเหมือนต่อยอดติดกันเป็นพืด
.............
หรือตามดู มักไม่เห็นมันเกิด ดับ แต่รู้ว่าเหมือนเส้นโค้งที่ค่อยๆลาดขึ้น ลาดลง แต่ไม่เห็นตอนเริ่ม ตอนหมด

-บอกชัด ๆ อีกว่า สัจธรรม (กาย เวทนา จิต ธรรม) เค้าเกิดดับๆ อย่างที่บอกที่รู้กันตามนั้นแหละ หายใจเข้าสั้น หายใจออกยาว หรือหายใจออกสั้น หายใจเข้ายาว หรือเข้าสั้นออกสั้น เป็นต้นเป็นธรรมดา ผู้ซึ่งอ่านหนังสือ หรือฟังเค้าพูดมาดังนี้ เอาเลยเอาเชียว... พอเริ่มภาวนาพองหนอ ยุบหนอ ไม่กี่ทีก็จ้องแต่จะเห็นเกิดดับ หรือต้องการเห็นตามหนังสือบอกเลย โดยลืมไปว่า สติสัมปชัญญะและปัญญา เป็นต้นของตนยังไม่แข็งแรงพอ กำหนดลมหายใจเข้าออกได้ไม่กี่ทีอยากจะเห็นไตรลักษณ์แระ ใจเย็นๆ อย่าใจร้อนจะเกิดอาการเครียด เพราะไปจ้องจับมันเกินไป ทำงานคือการภาวนาพองหนอ ยุบหนอไป ไม่ใช่จ้องจะจับไตรลักษณ์ หรืออยากเห็นเกิดดับ
การจะเห็นสิ่งที่ละเอียดลออนั่นก็ยากอยู่พอสมควร ภาวนาพองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ซ้าย ย่าง หนอ ขวา ย่าง หนอ เป็นต้นไป สร้างเหตุปัจจัยให้พร้อมก่อนครับ.
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 พ.ย.2006, 7:09 am, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ย.2006, 3:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุญาตแสดงความเห็น ย้อนหลังนิด ครับ
คำบางคำ สามารถ ทำให้จิตนิ่ง จิตระลึกรู้ จิตมีความรู้ตัวได้ เหมือนสะกดจิตของตนเอง
เช่น หนอ น่ะ พุทโธ
ผู้ใดที่มีสติไม่เท่าทัน คำบริกรรม หรืออาการที่ปรากฎ ก็จะเกิดอาการต่างๆ เช่น ตัวสั่น แสดง วาจาเสียงดัง กระโดดโลดเต้น เป็นต้น
คำว่า พุทโธ นี้ เป็นคำ บริกรรม ภาวนาที่ดีมาก เพราะ ว่าคนที่เข้าใจในความหมาย และระลึกรู้ในความหมายของคำนี้ อยู่ตลอดการ ภาวนา จะไม่ทำให้จิตไหล จิตหลง จิตจม จนทำให้เกิดจิตใต้สำนึก สั่งให้ปรากฎอาการสื่อออกมา
สัมมาธรรมฤทธิ์ [ @: 21 พ.ย. 49 15:37


[size=18]ที่มาจากเว็บนี้
http://larndham.net/index.php?showtopic=23134&st=19

................

ขอบพระคุณ คุณสัมมาธรรมฤทธิ์เป็นอย่างสูง ที่กรุณาสงสัยและแนะนำเข้ามา ขอน้อมรับคำแนะนำด้วยความยินดี และจะตอบข้อซักถามให้ด้วยความเต็มใจ ไว้มีอะไรสงสัยอีกเชิญถามใหม่นะครับ จะตอบให้เท่าที่รู้ ตอบให้แล้วจะเชื่อ จะโดนใจหรือไม่แล้วแต่จริตนะครับคงไม่ว่ากัน....ยังมีช่องทาง แนวทางอื่นๆให้เลือกอีกเยอะแยะลองๆ ดูเถอะครับ....

เข้าไปดูหลักภาวนาตามลิงค์นี้ก่อนสิครับ พิจารณาดูดีๆ
http://larndham.net/index.php?showtopic=22054&st=84

และในเมื่อเห็นพุทโธเหมาะแก่จริตตนก็น้อมเอาพุทโธเข้ามาไว้ในใจ (โอปะนะยิโก) เถอะครับ เป็นพุทธานุสติ=ตามระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า เป็นอนุสติข้อ ๑ ในบรรดาอนุสติ ๑๐ ข้อ

ดูที่ลิงค์นั้นแล้วพอจะเข้าใจหลักการเจริญภาวนาบ้างไหมครับ
หน้านั้นมีประเด็นสำคัญสั้นๆว่า....มิใช่เอาสติมากำหนดตัวตน (ว่าฉันทำนั่นทำนี่) ให้นึกถึงงาน (สิ่งที่ทำ=กรรมฐาน...) ไม่ใช่นึกถึงตัว (ผู้ทำ...ว่าฉันกำลังทำอย่างนั้นอย่างนี้) ให้สติตามกำหนดอยู่กับสิ่งที่กำลังทำหรือกำลังเป็นไป จนไม่มีโอกาสนึกถึงตัวเองหรือตัวผู้ทำเลย คือใจอยู่กับสิ่งที่ทำนั้น จนกระทั่งความรู้สึกว่าตัวฉันหรือความรู้สึกต่อตัวผู้ทำไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย.

ส่วนตัวเห็นว่า บริกรรมภาวนาพุทโธๆ อารมณ์เดียวนั่นล่ะ.....ทำให้จิตไหล จิตหลง จิตจม จนทำให้เกิดจิตใต้สำนึก สั่งให้ปรากฎอาการสื่อออกมา.....

เพราะเหตุไรจึงกล่าวอย่างนั้น เพราะว่า ไม่ตามปัจจุบันขณะ หรือตามปัจจุบันธรรมไม่ทัน หรือไม่กำหนดปัจจุบันอารมณ์ เพราะมัวแต่พุทโธๆๆ อยู่
เกิดความคิด (ใจสั่ง) ขึ้นก่อนแล้วก่อนที่จะเกิดอาการทางกาย...ก็ยังพุทโธๆอยู่เรื่อย.....อาการต่างๆ เช่น ตัวสั่น แสดง วาจาเสียงดัง กระโดดโลดเต้น เป็นต้น

ใจคิดก็ไม่กำหนดความคิดว่า คิดหนอๆๆ ...ตัวสั่นก็ไม่กำหนดตัวสั่นว่า สั่นหนอๆๆ เมื่อไม่กำหนดอารมณ์เช่นนั้น ซึ่งเป็นปัจจุบันอยู่ มันก็สั่นเอาจริงๆ ตะโกนโวกเวก ตามใจสั่งไปแล้ว ขณะจิตหนึ่งติดพุทโธ ๆ สลับกันไปมา สั่นหนอๆๆ เสียก็สิ้นเหตุ มัวแต่สั่นตามใจสั่ง... (กายกับใจสัมพันธ์กัน ใจเป็นนายกายเป็นบ่าว).. ตัวสั่นเป็นปัจจุบันธรรม กำหนดสั่นหนอๆ ๆ ไม่ใช่บริกรรมพุทโธๆๆ ดังนี้เป็นต้น

หนอ พูดหลายครั้งแล้วเปลี่ยนได้ ถ้าเห็นศัพท์อื่นคำอื่นเหมาะดีเอาเลย แต่สภาวธรรมความรู้สึกขณะนั้นๆ คงไว้ รู้สึกอย่างไรก็อย่างนั้น สุข ก็สุข... ทุกข์ ก็ทุกข์... ปวดก็ปวด....อย่าบิดเบือนความรู้สึกเป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข.. อย่าบิดเบือนความรู้สึกเฉย ๆ ว่าเป็นสุข หรือรู้สึกเป็นสุข ว่าเฉย ๆ ดังนี้เป็นต้น

คำบางคำ สามารถ ทำให้จิตนิ่ง จิตระลึกรู้ จิตมีความรู้ตัวได้ เหมือนสะกดจิตของตนเอง เช่น หนอ

ขอถามกลับเพราะไม่เข้าใจ....คำบางคำ สามารถ ทำให้จิตนิ่ง....
คำบางคำนั้น คุณคงหมายถึง หนอ พอเข้าใจ แต่ไม่เข้าใจและต้องการคำอธิบายจากคุณว่า...หนอ...ทำให้จิตนิ่ง...เหมือนสะกดจิตได้อย่างไร ? อธิบาย ?

และที่ว่า..........คำว่า พุทโธ นี้ เป็นคำ บริกรรม ภาวนาที่ดีมาก เพราะ ว่าคนที่เข้าใจในความหมาย และระลึกรู้ในความหมายของคำนี้ อยู่ตลอดการ ภาวนา จะไม่ทำให้จิตไหล จิตหลง จิตจม จนทำให้เกิดจิตใต้สำนึก สั่งให้ปรากฎอาการสื่อออกมา

ผม...เห็นกระทู้... ไม่กลัวบ้าตอนนั่ง แต่กลัวบ้าตอนนอน

- เป็นบุญของคุณแล้วที่จะได้ช่วยเค้า ทั้งเป็นวาสนาของเค้าที่ได้พบกับคุณ และเพื่อพิสูจน์สัจวาจาดังกล่าวของคุณด้วย ช่วยเค้าหน่อยเถอะนะ เค้าไม่ใช้ พองหนอ ยุบหนอ...แต่จะใช้วิธีใดลองถาม จขกท. ดูสิครับ


-[color=blue] หมายเหตุ คำถามผม คุณตอบที่กระทู้ ปฏิบัติกรรมฐาน ได้เลย ผมอ่านได้ ถ้ามีอะไรสงสัยอีก ถามที่นั่นได้เลยนะครับ สาธุ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 พ.ย.2006, 2:18 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ย.2006, 5:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากฟังความเห็นของเพื่อนๆ ว่าในชีวิตประจำวัน ทำไมเราไม่ควรคิดโน่นคิดนี่ มันมีข้อเสียอะไรคะ และข้อดีของการไม่คิด การอยู่กับปัจจุบัน มีอะไรบ้างคะ
tonmai [ @ 20 พ.ย. 49 19:25 ]


-มาจากเว็บนี้
http://larndham.net/index.php?showtopic=23263&st=0

...............

-ท่านมิได้ห้ามไม่ให้...คิดเรื่องอดีต-อนาคต นึกได้คิดได้
แต่ให้คิดด้วยปัญญา หรือควบคุมความคิดไว้ด้วยอำนาจของปัญญา คิดอย่างมีเหตุมีผลและความเป็นไปได้ ไม่ใช่คิดเลื่อนลอยเรื่อยเปื่อยอย่างไร้จุดหมาย

-ที่ท่านสอนให้ฝึกกรรมฐานชนิดต่างๆ ก็เพื่อฝึกควบคุมจิตควบคุมความคิดให้อยู่ในอำนาจ จิตจะได้มีงานทำเป็นเรื่องเป็นราวเป็นระเบียบ ไม่เที่ยวเล่นพลุคพล่านไป

-ส่วนการอยู่กับปัจจุบัน - คือ อยู่กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น กำลังเป็นไปอยู่ กำลังรับรู้ หรือกำลังกระทำในปัจจุบันทุก ๆ ขณะ

ท่านเจ้าคุณ ป.อ.ปยุตโตอธิบายเรื่องกาลไว้ดังต่อไปนี้

-การที่มีผู้เข้าใจผิดเกี่ยวกับความหมายของการเป็นอยู่ในปัจจุบัน หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์โดยเห็นไปว่า พระพุทธศาสนาสอนให้คิดถึงสิ่งที่อยู่เฉพาะหน้า กำลังเป็นไปในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้คิดพิจารณา เกี่ยวกับอดีตหรืออนาคต ตลอดจนไม่ให้คิดเตรียมการหรือวางแผนงานเพื่อกาลภายหน้า เมื่อเข้าใจผิดแล้ว ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมก็เลยปฏิบัติผิดจากหลักพระพุทธศาสนา ถ้าเป็นคนภายนอกมองเข้ามา ก็เลยเพ่งว่าถึงผลร้ายต่างๆ ที่พระพุทธศาสนาจะนำมาให้แก่หมู่ชนผู้ปฏิบัติ

ความหมายเกี่ยวกับปัจจุบัน อดีต และอนาคต

-ลักษณะสำคัญของความคิดชนิดที่ไม่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คือ ความคิดที่เกาะติดกับอดีตและเลื่อนลอยไปในอนาคตนั้น ได้แก่ความคิดที่เป็นไปในแนวทางของตัณหา หรือคิดด้วยอำนาจตัณหา หรือพูดอย่างภาษาสมัยปัจจุบันว่า ตกอยู่ในอำนาจอารมณ์ (emotion-ไม่ใช่อารมณ์ในภาษาธรรม) โดยมีอาการหวนละห้อยโหยหาอาลัยอาวรณ์ถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว เพราะความเกาะติด หรือค้างคาในรูปใดรูปหนึ่ง หรือเคว้งคว้างเลื่อนลอยฟุ้งซ่านไปในภาพที่ฝันเพ้อปรุงแต่งซึ่งไม่มีฐานแห่งความเป็นจริงในปัจจุบัน เพราะอึดอัดไม่พอใจสภาพที่ประสบอยู่ปรารถนาจะหนีจากปัจจุบัน

-ส่วนความคิดชนิดที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นการคิดในแนวทางของความรู้ หรือคิดด้วยอำนาจปัญญา ถ้าคิดในแนวทางของความรู้ หรือคิดด้วยอำนาจปัญญาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เป็นไปอยู่ในขณะนี้ หรือเป็นเรื่องล่วงไปแล้ว หรือเป็นเรื่องกาลภายหน้า ก็จัดเข้าในการเป็นอยู่ในปัจจุบันทั้งนั้น

-จะเห็นได้ชัดเจนว่าความรู้ การคิดการพิจารณาด้วยปัญญาเกี่ยวกับเรื่องอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคตก็ตาม เป็นสิ่งที่ถูกต้องและมีความสำคัญตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาในทุกระดับ ทั้งในชีวิตประจำวัน เช่น การสั่งสอนเกี่ยวกับบทเรียนจากอดีต ความไม่ประมาทระมัดระวังป้องการภัยในอนาคต เป็นต้น

-ในระดับการรู้แจ้งสัจธรรม ตลอดจนการบำเพ็ญพุทธกิจ เช่น
รู้อดีต (ปุพเพนิวาสานุสติญาณ)
รู้อดีต (อตีตังสญาณ)
รู้อนาคต (อนาคตังสญาณ) เป็นต้น

-ว่าโดยความหมายทางธรรมขั้นการฝึกอบรมทางจิตใจที่แท้จริง คำว่า อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ก็ไม่ตรงกับความเข้าใจของคนทั่ว ๆไป คำว่า ปัจจุบัน ตามที่เข้าใจกัน มักครอบคลุมกาลเวลาช่วงกว้างที่ไม่ชัดเจน

-ส่วนในทางธรรม เมื่อว่าถึงการปฏิบัติทางจิต (ปฏิบัติกรรมฐาน) ปัจจุบัน หมายถึงขณะเดียวที่กำลังเกิดขึ้นเป็นอยู่

-ในความหมายที่ลึกซึ้งนี้ เป็นอยู่ในปัจจุบัน หมายถึงมีสติตามทันสิ่งที่รับรู้เกี่ยวข้อง หรือ ต้องทำอยู่ในเวลานั้นๆ แต่ละขณะทุกๆ ขณะ ถ้าจิตรับรู้สิ่งใดแล้วเกิดความชอบใจหรือไม่ชอบใจขึ้น ติดข้องวนเวียนอยู่กับภาพของสิ่งนั้นที่สร้างซ้อนขึ้นในใจ ก็เป็นอันตกไปอยู่ในอดีต ตามไม่ทัน หลุดหลงไปจากขณะปัจจุบันแล้ว หรือจิตหลุดลอยจากขณะปัจจุบันไปเกาะเกี่ยวกับภาพสิ่งที่ยังไม่มา ก็เป็นอันฟุ้งไปในอนาคต

-โดยนัยนี้ แม้แต่อดีต และ อนาคต ตามความหมายทางธรรม ก็อาจยังอยู่ในขอบเขตแห่งเวลาปัจจุบันตามความหมายของคนทั่วไป

ดังกล่าวมาแล้วนั้น จะมองเห็นความสำคัญแง่หนึ่งของคำว่า ปัจจุบันในทางธรรม มิใช่เพ่งที่เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในโลกภายนอกแท้ทีเดียว แต่หมายถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องในขณะนั้นๆ เป็นสำคัญ ดังนั้นมองอีกด้านหนึ่งสิ่งที่ตามความหมายของคนทั่วไปว่า เป็นอดีตหรืออนาคต ก็อาจกลายเป็นปัจจุบันตามความหมายทางธรรมได้

-สรุปเอาง่าย ๆว่า ความเป็นปัจจุบันกำหนดเอาที่ความเกี่ยวข้องต้องรู้ต้องทำเป็นสำคัญ ขยายความออกมาในวงกว้างถึงระดับชีวิตประจำวัน สิ่งที่เป็นปัจจุบันคลุมถึงเรื่องราวทั้งหลายที่เชื่อมโยงต่อกันมาถึงสิ่งที่กำลังรับรู้ กำลังพิจารณา เกี่ยวข้องต้องทำอยู่ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการกระทำกิจหน้าที่ เรื่องที่ปรารภเพื่อทำกิจ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหรือปฏิบัติได้ ไม่ใช่คิดเลื่อนลอยฟุ้งเพ้อฝันไปกับอารมณ์ที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจ ติดข้องอยู่กับความชอบความชัง หรือฟุ้งพล่านไปอย่างไร้จุดหมาย.


(หนังสือพุทธธรรมหน้า 703)
..........
เรื่องปัจจุบันธรรม หรือปัจจุบันขณะ ในความหมายทางธรรมขั้นฝึกจิตภาวนา หรือปฏิบัติกรรมฐานนั้น มีความสำคัญมากๆ ถ้าไม่เข้าใจแล้วการปฏิบัติกรรมฐาน ก็พลาดจากปัจจุบันธรรม หรือปัจจุบันขณะไปเสีย แล้วจะทำให้ตามปัจจุบันอารมณ์ไม่ทัน เป็นอันปฏิบัติผิดพลาดจากหลักสติปัฏฐาน ๔ อย่างสิ้นเชิง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ย.2006, 7:36 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอถามท่านที่ฝึกพองหนอ ยุบหนอ หน่อยนะครับ

เวลาที่เรากำหนดคำว่า ยกหนอ
ตอนยกขาขึ้นนั้น เรามีสติรู้อยู่กับคำบริกรรมว่ายก
หรือว่า มีสติไปรู้กับอาการยกของขา
หรือว่ารู้ทั้งสองอย่าง

ตอนที่บริกรรมคำว่า เหยียบหนอ นั้น
ตอนเหยียบ เรามีสติรู้อยู่กับคำว่าเหยียบหนอ หรือ
มีสติรู้ที่บริเวณฝ่าเท้าว่าเหยียบ
หรือรู้ว่า ที่ฝ่าเท้านั้น เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง กันแน่ครับ

ช่วงที่บริกรรมคำว่า หนอ สติอยู่ที่ไหน
อยู่ที่คำบริกรรมหนอ หรือสติอยู่ที่ใจ
หรือสติอยู่ที่ร่างกายทั้งร่าง กันแน่ครับ
ขอบคุณครับ
อติ [ @: 22 พ.ย. 49 20:13 ]
คำถามมาจากเว็บนี้
http://larndham.net/index.php?showtopic=23134&st=22

..........
คุณอติครับ ในการบำเพ็ญเพียรทางจิต (ฝึกจิต) นั้นท่านไม่ได้แยกแยะธรรมะหรือธรรมชาติหรือว่าซอยๆ องค์ธรรมต่างๆ มีสติเป็นต้น ออกมาคิดทำเองทีละตัว ๆ นะครับ ....

-ผู้ซึ่งเจริญสติสัมปชัญญะ โดยมีพองยุบ เป็นต้นเป็นอารมณ์อยู่ พอง-ยุบนั้นก็เป็นเสมือนหนึ่งสนามสำหรับฝึกสติสัมปชัญญะ เป็นต้น

-ผู้ซึ่งมีลมหายใจเข้าออก (อานาปานสติ) เป็นอารมณ์ก็มีลมหายใจนั้นเป็นดังสนามฝึกเช่นกัน

และมิใช่แต่สติเท่านั้นที่เกิด ยังมีธรรมะหรือองค์ธรรมอื่นที่เกิดร่วมด้วย (สหชาตธรรม) อีกมากมาย เช่น สัญญา มนสิการ เจตนา วิริยะ เป็นต้น ก็เกิดด้วยตามสมควรแก่การปฏิบัติ แต่ไม่ใคร่มีคนพูดถึงกันเท่าไหร่ เน้นแต่สติและมีสัมปชัญญะบ้างประปราย

-การปฏิบัติกรรมฐาน มีรูป-นามเป็นอารมณ์ พองหนอ ยุบหนอ.... เป็นส่วนรูป ตัวที่กำหนดนั่นเป็นนาม โดยมีสติและสัมปชัญญะเป็นต้นทำงานอยู่ด้วย

ตามลิงค์ข้างบนให้ความหมายของสติ และสัมปชัญญะไว้ ขอเน้นอีกทีดังนี้

-ท่านให้มองความหมายของสติในแง่ว่า การนึกไว้ การคุมจิตไว้กับอารมณ์ การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังทำ หรือ คุมจิตไว้ในกระแสของการทำกิจ คือมิใช่ว่า เอาสติมากำหนดตัวตน (ว่าฉันกำลังทำนั่นทำนี่)
ให้นึกถึงงาน (สิ่งที่ทำ=กรรมฐาน=รูป-นาม)
ไม่ใช่นึกถึงตัว (ผู้ทำ,หรือ ตัวคนทำ)
ให้เอาสติตามกำหนดอยู่กับสิ่งที่กำลังกระทำ หรือ กำลังเป็นไป จนไม่มีโอกาสนึกถึงตัวเอง หรือ ตัวผู้ทำเลย คือ ใจอยู่กับสิ่งที่ทำนั้น จนกระทั่งความรู้สึกว่า ตัวฉัน หรือ ความรู้สึกต่อตัวผู้ทำ ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย

-พึงมองความหมายของสัมปชัญญะในแง่ว่า การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้ หรือ รู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำ

-ในทางปฏิบัติกรรมฐาน เมื่อกำหนด พองหนอ ยุบหนอ โยคีรู้ทันว่า กำลังพอง... กำลังยุบจริง ๆ เพียงเท่านี้สติสัมปชัญญะเกิดแล้ว เกิดตรงไหน ก็ดับตรงนั้น เกิดที่ พองหนอ ก็ดับที่พอง เกิดที่ยุบหนอ ก็ดับที่ยุบนั้น เกิดดับ เกิดดับเป็นขณะๆ มีเหตุให้เกิดก็เกิด หมดเหตุก็ดับ เป็นไปตามเหตุปัจจัย เท่านี้เองภาคปฏิบัติ

- และให้พึงมองหนอเหมือนอุปมาคำถามที่ว่า....ไปไหนกันมาครับ/ค่ะ/จ้าว/ เด้อ ฉันใดฉันนั้น... หนอ มีค่าเท่ากับ ครับ,ค่ะ,จ้าว,เด้อ เท่านั้นเอง... ถามว่า ไม่เพิ่มครับ ไม่เอาค่ะ...เอาแค่ “ไปไหนกันมา”....ได้ไหม คิดเองคงได้แล้ว...
.....
ช่วงที่บริกรรมคำว่า หนอ สติอยู่ที่ไหน
อยู่ที่คำบริกรรมหนอ หรือสติอยู่ที่ใจ
หรือสติอยู่ที่ร่างกายทั้งร่าง กันแน่ครับ

.....
ถามเหมือนพระยามิลินท์ถามพระนาคเสนเลยนะครับ ต่างกันแค่องค์ธรรมเท่านั้นเอง คุณถามถึงที่อยู่ของสติ แต่ราชามิลินท์ถามถึงที่อยู่ของปัญญา....
ดูละครตัวอย่าง...

พระยามิลินท์: ...ปัญญาอยู่ที่ไหน ?
นาคเสน: ...ปัญญาไม่ได้อยู่ที่ไหน.
ถ้าอย่างนั้น ปัญญาก็ไม่มีน่าสิ ?
ขอถวายพระพร ลมอยู่ที่ไหน ?
...ที่อยู่แห่งลมไม่มี.
ถ้าอย่างนั้น ลมก็ไม่มีน่าสิ.


-ถาม-ตอบกันลักษณะนี้ เรียกว่าถาม-ตอบกันในเชิงปรัชญา คือแยก-ซอยสิ่งนั้นๆ (ธรรม) ออกที่ละข้อๆ แล้วถาม-ตอบกัน... มิใช่ถาม-ตอบในเชิงปฏิบัติกรรมฐาน ซึ่งมีรูป-นามเป็นอารมณ์

....ทำความเข้าใจภาพรวมธรรมชาติธรรมดา ธรรมะ หรือ สัจธรรม แล้วแต่จะเรียกกัน...
นาม-รูป (จิต เจตสิก รูป...) เกิดที่ไหนดับที่นั่น เกิดดับเกิดดับ เป็นขณะๆ แล้วก็รวมถึงสติเจตสิกด้วย... ความจริงเป็นอย่างนี้ แม้พูดถึงอย่างนี้แล้วก็ยังมองไม่เห็น เมื่อมองไม่เห็น จึงบางทีอาจฟังไม่เข้าใจ (แม้จะเรียนมาก็ตาม) ที่ไม่เข้าใจ ก็เพราะยังไม่เข้าถึง ถ้าเข้าถึงเสียแล้ว ก็จึงไม่มีอะไรสงสัยให้ถาม จึงเท่ากับหมดปัญหา (สิ้นทุกข์หมดปัญหา)

แต่ถาม-ตอบกันและกัน ณ สถานที่แห่งนี้ได้อยู่ เป็นกรณียกเว้นจึงไม่เป็นไรครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 พ.ย.2006, 4:39 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ย.2006, 12:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อใดสติตามทันงาน (กรรมฐาน) สม่ำเสมอต่อเนื่องอย่างชำนาญ คนไม่ปิดบังตนเอง ไม่บิดเบือนภาพที่มอง และพ้นจากอำนาจความเคยชินหรือนิสัยเก่าของจิตแล้ว
-เมื่อนั้น ก็พร้อมที่จะมองเห็นสิ่งทั้งหลายตามสภาวะของมันและรู้เข้าใจความจริง

-ถ้าอินทรีย์อื่นๆ โดยเฉพาะปัญญาแก่กล้าพร้อมดีอยู่แล้ว ก็จะร่วมงานกับสติ หรืออาศัยสติคอยเปิดทางให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ ทำให้เกิดญาณทัศนะ ความหยั่งรู้หยั่งเห็นตามเป็นจริง ที่เป็นจุดหมายของวิปัสสนา แต่การที่ปัญญินทรีย์ เป็นต้น จะพร้อมหรือแก่กล้าได้นั้น ย่อมอาศัยการฝึกฝนอบรมมาโดยลำดับ.....

-สติมิใช่ตัววิปัสสนา ปัญญาหรือการใช้ปัญญาต่างหากเป็นวิปัสสนา แต่ปัญญาจะได้โอกาสและทำงานได้อย่างปลอดโปร่งเต็มที่ก็ต่อเมื่อมีสติคอยช่วยกำกับหนุนอยู่ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น การฝึกสติจึงมีความสำคัญมากในวิปัสสนา

-การฝึกสติก็เพื่อจะใช้ปัญญาได้เต็มที่ หรือ เป็นการฝึกปัญญาไปด้วยนั่นเอง (ไม่ใช่ฝึกคิดฝึกทำกันทีละอย่างทีละตัว เพราะมันเป็นสัมปยุตธรรม สหชาตธรรม เกิดร่วมกันทำงานร่วมกัน)

-ในภาษาการปฏิบัติธรรม เมื่อพูดถึงสติก็เล็งถึงปัญญาที่ควบอยู่ด้วย และสติจะมีกำลังกล้าแข็งหรือ ชำนาญคล่องแคล่วขึ้นได้ก็เพราะมีปัญญาร่วมทำงาน ปัญญาที่ทำงานร่วมอยู่กับสติในกิจทั่วๆไป มักมีลักษณาการที่เรียกว่า สัมปชัญญะ

-ในขั้นนี้ ปัญญายังดูคล้ายเป็นตัวประกอบ คอยร่วมมือและประสานงานอยู่กับสติ การพูดจากล่าวขานมักเพ่งเล็งไปที่สติ เอาสติเป็นตัวหลักหรือตัวเด่น

- แต่ในขั้นที่ใช้ปัญญาพินิจพิจารณาอย่างจริงจัง ความเด่นจะไปอยู่ที่ปัญญา สติจะเป็นเหมือนตัวที่คอยรับใช้ปัญญา ปัญญาที่ทำงานในระดับนี้ เช่นที่เรียกว่า ธรรมวิจัยในโพชฌงค์ ๗ ประการเป็นต้น สัมปชัญญะก็ดี ธรรมวิจัยก็ดี....ที่ทำงานให้เกิดความเห็นแจ้งรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตรงตามสภาวะที่มันเป็น เพื่อให้จิตหลุดพ้นเป็นอิสระ นี่แหละ คือ วิปัสสนา.
...............
ธรรม-ธรรมชาติ = ธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย ที่รู้แล้วจะบรรลุธรรมที่เหนือเหตุปัจจัย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 พ.ย.2006, 4:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-กระบวนของจิตในระดับละเอียดลึกซึ้ง ที่ทำให้มนุษย์ (บุถุชน) มองเห็นสิ่งทั้งหลายเป็นของคงที่ เป็นชื้นเป็นอันมีสวยงามน่าเกลียด ติดในสมมุติต่างๆ ไม่เห็นความเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ดำเนินอยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ดี กระบวนธรรมเช่นนี้เป็นความเคยชิน หรือนิสัยของจิตที่คนทั่วไปได้สั่งสมกันมาคนละนานๆ เกือบจะว่าตั้งแต่เกิดทีเดียว ๒๐-๓๐ ปีบ้าง ๔๐-๕๐ ปีบ้าง เกินกว่านั้นบ้าง และไม่เคยหัดตัดวงจรลบกระบวนกันมาเลย

-การจัดการแก้ไข จึงไม่ได้ทำได้ง่ายนัก ในทันที่ที่รับรู้อารมณ์หรือมีประสบการณ์ ยังไม่ทันตั้งตัวที่จะยั้งกระบวน จิตจะแล่นไปตามความเคยชิน หรือนิสัยที่ไหลแรงไปข้างเดียวของจิตอีกด้วย องค์ธรรมสำคัญที่จะใช้เป็นตัวเบิกทาง ก็คือสติ การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน ก็มีวัตถุประสงค์อย่างนี้ กล่าวคือ มีสติตามทันขณะปัจจุบัน และมองดูสิ่งนั้นๆ ตามที่มันเป็นอยู่ในขณะนั้นๆ ตลอดเวลา ย่อมตัดวงจรทำลายกระบวนธรรมฝ่ายอกุศลลงได้ด้วย ค่อยๆ แก้ไขความเคยชินเก่าๆ พร้อมกับสร้างแนวนิสัยใหม่ให้แก่จิตได้ด้วย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 พ.ย.2006, 4:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จิตที่มีสติช่วยกำกับให้ตามทันอยู่กับขณะปัจจุบันจะมีสภาพ ดังนี้
-ความชอบใจ หรือขัดใจ ไม่มีโอกาสเกิดขึ้น เพราะการที่จะชอบใจหรือขัดใจ จิตจะต้องข้องขัดอยู่ ณ จุดหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง และชะงักค้างอยู่คือตกลงในอดีต

-ไม่เลื่อนไหลลงไปในอดีต ไม่เลื่อนลอยไปในอนาคต ความชอบใจ ไม่ชอบใจ กับการตกอดีตเป็นอาการที่เป็นไปด้วยกัน เมื่อไม่ข้อง ไม่ค้างอยู่ ตามดูทันอยู่กับสภาวะที่กำลังเป็นไปอยู่ การตกอดีต ลอยอนาคต ก็ไม่มี

-ไม่ถูกความคิดปรุงแต่งเนื่องด้วยภูมิหลังที่ได้สั่งสมไว้ ชักจูงให้แปลประสบการณ์หรือสิ่งที่รับรู้ให้เอนเอียงบิดเบือนหรือย้อมสีไปตามอำนาจของมัน พร้อมที่จะมองไปตามสภาวะของสิ่งนั้นๆ

-ไม่ปรุงแต่งเสริมซ้ำ หรือเพิ่มกำลังแก่ความเคยชินผิดๆ ที่จิตได้สั่งสมเรื่อยมา

-เมื่อตามรู้ดูทันทุกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันขณะ ก็ย่อมได้รู้เห็นสภาพจิตนิสัย เป็นต้นของตนที่ไม่พึงปรารถนา หรือที่ตนไม่ยอมรับ ปรากฏออกมาด้วย ทำให้ได้รับรู้สู้หน้าเผชิญสภาพที่เป็นจริงของตนเองตามที่มันเป็น ไม่เลี่ยงหนี ไม่หลอกลวงตนเอง และทำให้สามารถชำระล้างกิเลสเหล่านั้น แก้ปัญหาในตนเองได้ด้วย

-นอกจากนั้น ในด้านคุณภาพจิต ก็จะบริสุทธิ์ ผ่องใส โปร่ง เบิกบาน เป็นอิสระ ไม่ถูกบีบจำกัดให้คับแคบ และไม่ถูกเคลือบคลุมให้หมองมัว

-สิ่งทั้งหลายตั้งอยู่ตามสภาพของมัน และเป็นไปตามธรรมดาของมัน ขยายความให้ชัดก็คือว่าความจริงเปิดเผยตัวมันเองอยู่ตลอดเวลา แต่มนุษย์ปิดบังตนเองจากมัน หรือไม่ก็มองภาพของมันบิดเบือนไป หรือไม่ก็ถึงกับหลอกลวงตัวของมนุษย์เอง ตัวการที่บิดบัง บิดเบือน หรือหลอกลวงก็คือ การตกลงไปในกระแสของกระบวนธรรมดังกล่าวข้างต้น เครื่องปิดบัง บิดเบือน หรือหลอก ก็มีอยู่แล้ว ยิ่งความเคยชินคอยชักลากให้เขวไปเสียอีก โอกาสที่จะรู้ความจริงก็แทบไม่มี ในเมื่อความเคยชิน หรือติดนิสัยนี้ มนุษย์ได้สั่งสมเนื่องกันมานานนักหนา การปฏิบัติเพื่อแก้ไขและสร้างนิสัยใหม่ ก็ควรต้องอาศัยเวลามากเช่นเดียวกัน.
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 พ.ย.2006, 8:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

http://larndham.net/index.php?showtopic=23134&st=0

(กระทู้) เว็บที่ให้ความรู้ เกี่ยวกับการปฏิบัติกรรมฐาน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 พ.ย.2006, 8:17 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เพียรชำระ
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 09 ต.ค. 2006
ตอบ: 5
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 25 พ.ย.2006, 5:34 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอขอบพระคุณ คุณกรัชกาย ที่ชี้แนะ ทิฐิ เคยทำให้ผมทุกข์มาแล้ว จะพิจารณาดูครับ หากสงสัยขอคำชี้แนะเพิ่มเติมด้วยนะครับ
จากส่วนลึกของใจเช่นกันครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 พ.ย.2006, 10:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำถามมาจากเว็บนี้
http://larndham.net/index.php?showtopic=23301&st=5

-ตอบข้อ 1.กระผมเองก็อยากบอกให้แน่ชัดเหมือนกันเป็นแบบที่คุณกล่าวมาทั้งหมดแต่ปะบนกันนะครับ สวนมากเมื่อเวลาที่คิด จะดูว่าคิดอะไรแล้วเรื่องอะไร บางครั้งก็ใช้การภาวนา "คิดหนอ คิดหนอ" แล้วก็จะหยุดคิดเองแต่ก็กลับมาใหม่ในอีกไม่นานนัก

-สวนบางครั้งก็ ดูว่ามันคิดอะไร แล้วเป็นเรื่องอะไร จบมั้ย บางที่เผื่อไปว่า ที่คิดนะ โลภ มั้ย โทสะ มั้ย หรือโมหะ มั้ย แต่สวนมาก มักจะเป็นโลภ นะครับ นั่งดูไปเรื่อยๆ อย่างเช่นเมื่อคืนนี้ (คือจะนั่งก่อนนอนนะครับ ช่วง 04.00 - 05.00 โดยประมาณ)

-นั่งไปได้ไม่นาน ก็เริ่มคิด แรกๆก็ หลงไม่รู้ปล่อยให้อยู่ในโมหะ เมื่อรู้สึกว่าคิด ก็ไม่ได้หยุดคิด แต่ดูไปเรื่อย คิดไปคิดมา รู้สึก ตัวเบา ลอย แต่จะไม่ดิ่ง จะอยู่ในลักษณะไม่มากนักและยังรู้สึกตัวอยู่ ระว่างนั้นก็ดูว่าคิดในลักษณะใหน โลภะ โทสะ โมหะ รู้ก็สักแต่ว่ารู้ จนหมดเวลาที่ตั้งไว้ รู้สึกว่ามันเร็วกว่าปกติทั้งที่เวลาก็เท่าเดิมทุกวัน

-ถ้าจะให้บอกให้ชัดว่าใช้อะไรเป็นอารมณ์นั้นเห็นจะบอกยาก เพราะมันมีทุกอย่างแล้วแต่ว่า จิดวันนั้นเป็นแบบใหน แต่ก็ไม่ได้ตั้งใจที่จะเอาความคิดมาเป็นอารมณ์แต่มันมีมาเองโดยไม่ได้ตั้งใจ หรืออาจจะตั้งใจแต่ไม่สามารถบังคับได้
ฯลฯ

.............
-หลักการทำกรรมฐาน (ฝึกจิต) ต้องมีรูป-นามเป็นอารมณ์ระลึกรู้ ยึดรูป-นามไว้ก่อน
ส่วนรูปให้ใช้ลมหายใจบ้าง....อาการท้องพอง ท้องยุบ เป็นต้นบ้าง
- ยึดส่วนรูปดังกล่าวเป็นหลักยืน คุมสติไว้กับหลักระลึกรู้ลมหายใจหรือท้องพองท้องยุบนั่นไว้
-ส่วนนาม แล้วแต่ว่า อะไรเกิดก็กำหนดรู้ความรู้สึกตามเป็นจริง รู้สึกอย่างไรก็กำหนดรู้อย่างนั้น

- แต่คุณ mean0497 ทิ้งรูปเกือบสิ้นเชิงแล้ว ตามดูแต่ความคิด (นาม) อย่างเดียว คือดูว่ามันจะคิดอะไรกันบ้าง เป็นโลภะหรือโทสะ เป็นต้น ทีนี้ความคิดมันไม่หมดมันไม่หยุด เราก็ต้องนั่งดูกันอยู่นั่นวนไปวนมา ยิ่งคิดผิดว่าความคิดจะต้องหมดด้วยแล้ว... !!......

- ชัดจนไม่สามารถหลับ เริ่มนอนตั้งแต่ 5.00 จน 8.00 โดยประมาณ ก็ยังไม่หลับไม่ทราบเพราะอะไร อยากให้ช่วยแนะนำตรงนี้ด้วย ระหว่างที่ไม่หลับนั้น ก็มีความคิดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยครับ)

(แปลกใจเฉยๆนะครับไม่ได้ถาม 8.00 น่าจะลุกขึ้นเพื่อทำกิจวัตรประจำวันแล้ว แต่นี่เริ่มนอนนอนไม่หลับงง)

-เริ่มๆ มั่นใจว่า คุณต้องการให้ความคิดหมดแน่ๆ เช่น.... ระหว่างที่ไม่หลับ นั้น ก็มีความคิดเข้ามาเกี่ยวข้อง ด้วยครับ
(...ไม่หลับ.....มีความคิดเข้ามาเกี่ยวข้อง...)

-คุณ mean0497 ครับ สมมุตินอนหลับ จะรู้สึกตัวตื่น จิตเริ่มถอนตัวออก.... เตรียมทำงานตามหน้าที่ทันที จะรับรู้อารมณ์ต่างๆ ทางตา ทางหู ฯลฯ ทางใจ

- คุณจำพลาดไหมว่าปฏิบัติกรรมฐานแล้ว ปฏิบัติวิปัสสนาแล้ว ความคิดจะหมดไป คือไม่คิดอะไรเลย ถ้าเข้าใจผิดก็ขออภัย แต่ข้อเขียนคุณบ่งอย่างนั้น

- ถ้าคุณคิดอย่างนั้นจริง ๆ จำมาผิดครับและค่อนข้างอันตรายต่อการบำเพ็ญเพียรทางจิตเป็นอย่างยิ่ง
-จิตมีหน้าที่คิด ท่านจึงมีกุศโลบายให้ยึดกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งให้มันคิด ให้คิดเป็นเรื่องเป็นราว คิดอย่างมีระเบียบ ไม่คิดเตลิดเปิดเปิงไปไหนต่อไหน ฯลฯ คือ ให้มันคิดอยู่กรอบในที่ที่จัดไว้ให้เท่านี้เอง จับหลักตรงนี้ให้ได้ก่อนนะครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 พ.ย.2006, 1:08 pm, ทั้งหมด 7 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 พ.ย.2006, 4:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จิตที่มีสติช่วยกำกับให้ตามทันอยู่กับขณะปัจจุบันจะมีสภาพ ดังนี้

-ความชอบใจ หรือขัดใจ ไม่มีโอกาสเกิดขึ้น เพราะการที่จะชอบใจหรือขัดใจ จิตจะต้องข้องขัดอยู่ ณ จุดหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง และชะงักค้างอยู่คือตกลงในอดีต

-ไม่เลื่อนไหลลงไปในอดีต ไม่เลื่อนลอยไปในอนาคต ความชอบใจ ไม่ชอบใจ กับการตกอดีตเป็นอาการที่เป็นไปด้วยกัน เมื่อไม่ข้อง ไม่ค้างอยู่ ตามดูทันอยู่กับสภาวะที่กำลังเป็นไปอยู่ การตกอดีต ลอยอนาคต ก็ไม่มี

-ไม่ถูกความคิดปรุงแต่งเนื่องด้วยภูมิหลังที่ได้สั่งสมไว้ ชักจูงให้แปลประสบการณ์หรือสิ่งที่รับรู้ให้เอนเอียงบิดเบือนหรือย้อมสีไปตามอำนาจของมัน พร้อมที่จะมองไปตามสภาวะของสิ่งนั้นๆ

-ไม่ปรุงแต่งเสริมซ้ำ หรือเพิ่มกำลังแก่ความเคยชินผิดๆ ที่จิตได้สั่งสมเรื่อยมา

-เมื่อตามรู้ดูทันทุกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันขณะ ก็ย่อมได้รู้เห็นสภาพจิตนิสัย เป็นต้นของตนที่ไม่พึงปรารถนา หรือที่ตนไม่ยอมรับ ปรากฏออกมาด้วย ทำให้ได้รับรู้สู้หน้าเผชิญสภาพที่เป็นจริงของตนเองตามที่มันเป็น ไม่เลี่ยงหนี ไม่หลอกลวงตนเอง และทำให้สามารถชำระล้างกิเลสเหล่านั้น แก้ปัญหาในตนเองได้ด้วย

-นอกจากนั้น ในด้านคุณภาพจิต ก็จะบริสุทธิ์ ผ่องใส โปร่ง เบิกบาน เป็นอิสระ ไม่ถูกบีบจำกัดให้คับแคบ และไม่ถูกเคลือบคลุมให้หมองมัว

-สิ่งทั้งหลายตั้งอยู่ตามสภาพของมัน และเป็นไปตามธรรมดาของมัน ขยายความให้ชัดก็คือว่าความจริงเปิดเผยตัวมันเองอยู่ตลอดเวลา แต่มนุษย์ปิดบังตนเองจากมัน หรือไม่ก็มองภาพของมันบิดเบือนไป หรือไม่ก็ถึงกับหลอกลวงตัวของมนุษย์เอง ตัวการที่บิดบัง บิดเบือน หรือหลอกลวงก็คือ การตกลงไปในกระแสของกระบวนธรรมดังกล่าวข้างต้น เครื่องปิดบัง บิดเบือน หรือหลอก ก็มีอยู่แล้ว ยิ่งความเคยชินคอยชักลากให้เขวไปเสียอีก โอกาสที่จะรู้ความจริงก็แทบไม่มี ในเมื่อความเคยชิน หรือติดนิสัยนี้ มนุษย์ได้สั่งสมเนื่องกันมานานนักหนา การปฏิบัติเพื่อแก้ไขและสร้างนิสัยใหม่ ก็ควรต้องอาศัยเวลามากเช่นเดียวกัน.
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 พ.ย.2006, 5:06 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สวัสดีคะ คือมีปัญหาเกี่ยวกับการนั่งสมาธิอะค่ะ

คือ เพิ่งเริ่มนั่งสมาธิทุกวันได้ประมาณ 2-3 เดือนคะ
วันนี้มีความรุ้สึกแปลกๆคะ พอเรานั่งไปได้นานประมาณครึ่งชม. อยู่เกิดไม่หายใจไปประมาณ หนึ่งนาทีมั้งคะ ประมาณเอาน๊ะคะไม่มั่นใจ มันเหมือนค้างไปเลย แล้วหลังจากนั้นก็หายใจทีละนิดนึง พอให้มีลมเข้าคะ นิดนึงจริงๆ ไม่ทราบเป็นไรคะ สักระยะนึง แล้วหลังจากนั้นก็เริ่มหายใจปกติ แบบสบายๆ แล้วอยู่ๆก็ยิ้มขึ้นมา ยิ้มเยอะเลย แล้วก็ค่อยๆ หุบยิ้มลงคะ แปลกคะ อยากทราบว่ามันเกิดจากอะไรคะ ควรทำอย่างไรต่อไปคะ
: Traveler [ ตอบ: 26 พ.ย. 49 01:01 ]
มาจากเว็บด้านล่าง


http://larndham.net/index.php?showtopic=23353&st=0

คุณTraveler ครับ ขณะนั้น มีอาการอย่างไร รู้สึกอย่างไร เมื่อรู้สึกตัวภาวนาว่า “ หายหนอๆ” (กรณีลมหายใจหาย).... จึงในขณะนั้นไม่รู้ว่าจะยึดอารมณ์อะไรภาวนาต่อไปอีก (เพราะลมหายไปแล้ว) ......ให้กำหนดรู้จุดที่ชัดเจนอะไรก็ได้ที่ปรากฏชัดในความรู้สึกตอนนั้น แล้วก็ภาวนาไป ผมสมมุติ “รูปนั่ง” ให้
“นั่งหนอๆๆ” .... เมื่อลมปรากฏแล้ว ก็ภาวนาลมหายใจต่อไป

-กรณีอื่นๆ ก็ลักษณะกับที่กล่าวนั้น เพียงแต่เปลี่ยนภาวนาไปตามอาการ.....เอา "ยิ้ม" บ้าง รู้สึกตัวว่า มีอาการยิ้มๆ “ยิ้มหนอๆ” เสียก่อนแล้ว จึงกลับไปภาวนาพุทโธต่อ ในกรณีใช้พุทโธ แค่นี้เองครับ.

ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นนะครับ

-อ้อ..มันจะเกิดจากอะไร ? ช่างมันก่อนเถอะ...คุณภาวนาไปตามที่ผมแนะนำนั้นก่อน คือ ตามปัจจุบันขณะให้ทันให้ได้มากได้ถี่ๆ ก่อน...อย่าเพิ่งรู้ตอนนี้เลย ... บอกไปเดี๋ยวคุณก็ไปนั่งจับนั่งจ้องอีก... เป็นอีร๊อบเดิมอีก คุณภาวนาทันปัจจุบันขณะแห่งความคิด และอาการซึ่งเกิดขึ้นทันบ่อยๆ จะเห็นความสงสัยและข้ามความสงสัยไปได้เอง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 พ.ย.2006, 2:55 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 พ.ย.2006, 12:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

bb [ ตอบ: 24 พ.ย. 49 03:58 ]
มาจากลิงค์นี้[/size]

http://larndham.net/index.php?showtopic=23323&st=0

bb [ ตอบ: 24 พ.ย. 49 22:48 ]
บีบี ใช้ภาวนาหลายๆ รูปแบบค่ะ พุท โธ ก็ใช้เหมือนกัน แต่จะกำหนดอยู่ได้สักพัก
คำว่า พุท โธ จะหายไป เหลือแต่การมองดูลมหายใจ ซึ่งบีบี ไม่แน่ใจว่า การไม่ได้กำหนดอยู่ในใจให้นานพอนั้น จะเป็นสาเหตุให้เกิดอาการสัปหงกหรือเปล่า
และอย่างที่คุณกรัชกายว่ามา ก็คิดว่าบีบีเป็นอย่างนั้นด้วยเหมือนกันค่ะ คือ พยายามจะไปบีบ
ให้อาการต่างๆ หายไป แต่ไม่ได้ไปตามดู คล้าย ๆ พยายามบังคับ เคยมีอยู่บางครั้งที่นั่งไปแล้วสัปหงก บีบี ก็พยายามข่มตาไว้ ไม่ให้หลับ ผลคือ หลังจากการนั่งสมาธิ จะปวดที่ตามากค่ะ ต่อไปจะพยายามตามรู้อารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น

บางครั้งยังมี นั่ง ๆ สมาธิอยู่ เสียงดังขึ้นมา ก็ตกใจ สมาธิหลุดไปเลย

bb [ @ : 24 พ.ย. 49 22:48 ]
………….
สวัสดีครับคุณบีบี ลองปฏิบัติแล้วหรือยังเป็นไงบ้าง
คุณบีบี ฟังคำพูดมาหลายกระแส บ้างก็ว่าไม่กำหนดรู้ ก็ได้ดูเฉยๆ ก็พอ.. จึงกิเลสคือโกสัชชะ หรือ ความขี้เกียจ จึงได้ช่องได้โอกาสครอบงำจิตเอา เพราะตัวมันก็ไม่อยากทำอะไรอยู่แล้ว เพราะมันขี้เกียจ ไม่อยากกำหนดรู้อะไร อยากนั่งเฉยๆ ไม่รู้ไม่ชี้ เพราะมันเพลินดี
ยิ่งได้อ่านหนังสือเสริมเข้ามาอีก เลยทิ้งการกำหนดรู้อารมณ์ไปเลย ไม่เอาแล้ว จิตจึงไม่ตื่นขึ้นรับรู้อารมณ์รอบๆ ข้าง มีทางตา ทางหูเป็นต้น

คุณบีบีครับ การกำหนดรู้อารมณ์ต่างๆ นั่นแหละสำคัญมากๆ เมื่อรู้สึกตัว กำหนดรู้ว่า “ ง่วงหนอๆ” แล้ว จึงดึงความคิดไปกำหนดลมหายใจต่ออีก พุทโธ ๆ ไปต่อไปอีก การฝึกสติ มิใช่ให้จิตนิ่งโดยไม่รับรู้อะไรนะครับ

ยิ่งบางคนให้คำแนะนำว่า ง่วงก็นอนก่อน ตื่นมาปฏิบัติใหม่ อย่างนี้ไม่ใช่แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าเอาง่วงก็นอน ฯลฯ แบบนี้พรุ่งนี้ปฏิบัติกรรมฐานอีก ง่วงอีกนอนอีก วนซ้ำไปซ้ำมา แล้วกิเลสนิวรณ์จะหมดได้อย่างไร ที่ถูกต้องกำหนดรู้ “ง่วงหนอๆ” กระตุ้นให้จิตตื่น ปลุกสติสัมปชัญญะ ไม่ใช่ตามใจกิเลส แล้วก็มิใช่จิตจมหรือแช่ไว้ เมื่อรู้สึกตัวว่าง่วง กำหนดรู้ “ง่วงหนอๆๆ” ก่อนแล้ว จึงความคิดกลับไปพุทโธๆ ต่อ

บางครั้งยังมี นั่ง ๆ สมาธิอยู่ เสียงดังขึ้นมา ก็ตกใจ สมาธิหลุดไปเลย

-การปฏิบัติกรรมฐาน ควรทำให้ได้สติปัฏฐาน ๔ อย่าง ย่อ ๆ มี ๒ คือ ส่วน รูป (ร่างกาย) จิต (ความคิด)
อะไรเกิดขึ้นในขณะนั้นๆ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ฯลฯ ความคิด พึงกำหนดรู้ด้วย มิใช่ปล่อยนิ่งๆ เฉยๆ ทำอย่างนั้น นั่นล่ะจิตจะจมจะแช่อยู่กับความนิ่ง โดยไม่รับรู้อะไรๆ

ถ้าได้ยินเสียง กำหนดรู้ว่า "เสียงหนอๆๆ" ตกใจ กำหนดรู้ว่า "ตกใจหนอๆ" ดังนี้เป็นต้น
จิตจะตื่นและว่องไว้ในการตัดสินใจ และไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ทางตาทางหูเป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 26 พ.ย.2006, 7:39 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 พ.ย.2006, 4:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-เป็นอยู่ในปัจจุบัน (ความหมายในการปฏิบัติธรรม) หมายถึงมีสติตามทันสิ่งที่รับรู้ เกี่ยวข้อง หรือ ต้องทำอยู่ในเวลานั้น ๆ แต่ละขณะทุกๆ ขณะ

-ถ้าจิตรับรู้สิ่งใดแล้วเกิดความชอบใจ... หรือไม่ชอบใจขึ้น ติดข้องวนเวียนอยู่กับภาพของสิ่งนั้นที่สร้างซ้อนขึ้นในใจ ก็เป็นอันตกไปอยู่ในอดีตตามไม่ทันหลุดหลงไปจาก ขณะปัจจุบัน แล้ว

-หรือ จิตหลุดลอยจาก ขณะปัจจุบัน ไปเกาะเกี่ยวกับภาพสิ่งที่ยังไม่มา ก็เป็นอันฟุ้งไปในอนาคต

-ดูอุทาหรณ์: การเดินจงกรม ที่อยู่กับ ปัจจุบันขณะ และ เป็นปัจจุบันธรรม

-ซ้าย ย่าง หนอ, ขวา ย่าง หนอ,

-ขณะเดินจงกรมอยู่รู้สึกตัวทุกขณะที่ ขา...ก้าว...เดินไป...จนถึงพื้น....ขาข้างซ้ายก็รู้ตัวว่าขาข้างซ้าย อย่างนี้เรียกว่า ทันปัจจุบันขณะ และเป็นปัจจุบันธรรม

-ขาข้างขวา ก็มีลักษณะเดียวกัน .... ขวา ย่าง หนอ ระลึกรู้ชัดถึง...ขาขวายกขึ้น...ก้าวเดิน...ถึงพื้น...ขวา ย่าง หนอ ทันปัจจุบันขณะ แต่ละขณะ เป็นปัจจุบันธรรม เหมือนกัน

-ถ้าจำผิดจำถูก เดินๆ เอ๊ะ...ขาข้างไหนหว่า อย่างนี้พลาดจากปัจจุบันขณะ ไม่เป็นปัจจุบันธรรม

พองหนอ ยุบหนอ ก็ลักษณะเดียวกัน

-ขณะกำหนดรู้ว่า “พองหนอ” (=๑ ขณะ) “ยุบหนอ” (=๑ ขณะ)

พองหนอ ยุบหนอ กำหนดรู้เป็นขณะ ๆ ไป อย่างนี้ เป็นปัจจุบันขณะ ตามทันปัจจุบันธรรม

-กำลังกำหนดรู้ปัจจุบันธรรมคือ พองหนอ ยุบหนอ แต่จิตแวบคิดถึงเรื่องอื่นๆ นอกจากพอง-ยุบ
-แล้วคิดวนซ้ำคิดความคิดเก่า (ซึ่งดับ-จบไปแล้ว) คิดซ้ำๆ อีก อย่างนี้ก็ตามปัจจุบันไม่ทัน ตกไปในอดีต...

-เมื่อทำความเข้าใจปัจจุบันขณะ ในการปฏิบัติกรรมฐานได้อย่างนี้แล้ว จะทำให้การปฏิบัติได้ผลเร็วขึ้น

-การฝึกระยะต้นๆ มีหลงมีลืมไปบ้าง ก็เป็นธรรมดา คงต้องค่อยๆ กำหนดรู้ไปเรื่อยๆ
พองหนอ ยุบหนอ...ซ้าย ย่าง หนอ ขวา ย่าง หนอ...กันเรื่อยไป
ไม่บังคับ ไม่บีบความรู้สึกตน

-เมื่อรู้สึกตัวว่า กำลังคิดออกนอกพอง นอกยุบแล้ว “คิดหนอๆ” ก่อน แล้วดึงความคิดกลับมากำหนดรู้ “พองหนอ” “ยุบหนอ” ใหม่

-เมื่อฝึกจิตลักษณะนี้บ่อย ๆ จนกระทั่งความคิดอยู่กับงานปัจจุบัน (กรรมฐาน) ความคิด ความฟุ้งซ่านต่างๆ จะค่อยๆลดลงๆ เรื่อยๆ ด้วยอำนาจของสติและสัมปชัญญะที่เกิดจากการกำหนดทันนั้น

-ไม่พึงฝึกแต่ พองหนอ ยุบหนอ หรือ ซ้าย ย่าง หนอ ขวา ย่าง หนอ เท่านั้น
ในการดำรงชีวิตประจำวัน งานทุกๆ อย่าง...อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ กินข้าวกินปลา ล้างหน้าแปรงฟัน อาบน้ำ เป็นต้น ใช้เป็นสนามฝึกได้หมด แม้ไม่ได้กำหนดรู้...แต่ก็ควบคุมความคิดให้อยู่กับงานที่ทำ เป็นต้น ก็ใช้ได้

-พูดง่ายๆว่า ใช้งานทุกอย่างฝึกจิตให้อยู่กับปัจจุบันขณะได้หมด
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 15 ธ.ค.2006, 5:39 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 27 พ.ย.2006, 9:00 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Traveler [ @:26 พ.ย. 49 22:32 ]
ขอบคุณมากค่ะคุณกรัชกาย
ตอนนี้ฝึกสมาธิแบบ ตอนแรกจะรู้ลมหายใจออก หายใจเข้าไปเรื่อยๆคะ
พอมีความคิดอะไรผุดขึ้นมา ก็จะไปดูตรงนั้น ก็นั่งอย่างนี้ไปเรื่อยๆค่ะ
บางทีก็สงบดี
บางวันก็ฟุ้งมาก
แล้วก็ฝึกรู้ตัวระหว่างวันด้วย
ควรปรับปรุงอย่างไรจึงจะดีคะ แล้วเกิดอาการเกี่ยวกับจิตนี้เป็นครั้งที่สองค่ะ
ครั้งแรกตอนนั้นรู้สึกว่านั่งอยู่แล้วเหมือนถูกดูดออกไปข้างนอก
แล้วสักพักก็ดูดเข้ามาคะ
ไม่ทราบอธิบายถูกหรือเปล่า ก็ประมาณนี้แหละคะ


http://larndham.net/index.php?showtopic=23353&st=4
………………
เพื่อตัดวงจรความคิดปรุงแต่งเรื่องราวต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นในใจ หรือตัดวงจรความคิด มีความฟุ้งซ่าน เป็นต้นให้หยุดทำหน้าที่ลง
คุณ....ควรกำหนดรู้ความคิดแต่ละขณะๆ “ฟุ้งซ่านหนอๆๆ” เมื่อรู้สึกตัวว่ากำลังฟุ้งซ่านอยู่ (นี้ขณะหนึ่ง)
เมื่อเกิดความรู้สึกเหมือนโดนดูดออก รู้สึกตัว “ดูดหนอๆๆ” (ขณะหนึ่ง)
เมื่อเกิดความรู้สึกเหมือนโดนดูดเข้ามา “ดูดหนอๆๆ” (เป็นอีกขณะหนึ่ง)

-คำว่า แต่ละขณะๆ มีลักษณะดังกล่าวข้างบน ความรู้สึก (ความคิดเช่นนั้น) เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับลง ไม่จีรัง เดี๋ยวดูดออกไป เดี๋ยวรู้สึกว่า ดูดเข้ามา นี่แปลว่าคนละขณะแล้ว ถูกไหมครับ ลักษณะความคิดและอาการต่างๆ ที่ประสบไม่จีรังทั้งหมด ไม่ว่าสุขหรือทุกข์ หรืออาการเฉยๆ เฉาๆ ไม่คงทน (เป็นไตรลักษณ์)

-ผมจึงบอกเน้นทุกๆ ครั้งว่า อะไรเกิดขึ้นกำหนดรู้....สุขหนอ ทุกข์หนอ ปวดหนอ เจ็บหนอ เป็นต้น กำหนดรู้เป็นขณะๆ อย่างนี้ สุขก็สุขหนอๆ ทุกข์ก็ทุกข์หนอเป็นต้น ไม่นั่งเฉยๆ นั่งเฉยๆ แล้วจิตจะนิ่งไม่รู้อะไร หรือไม่ก็คิดเตลิดไปกันใหญ่.....

-การเดินจงกรม ก็กำหนดรู้แต่ละขณะๆ .... ซ้าย ย่าง หนอ (ขณะหนึ่ง) ขวา ย่าง หนอ (ขณะหนึ่ง)... เหตุผล....ก็ในเมื่อธรรมชาติธรรมดาเกิดดับเกิดดับ เป็นขณะๆ ดังกล่าวแล้ว

การเดินจงกรมเป็นขณะๆ เพื่อให้สอดคล้องกับธรรมชาติ (รูป-นาม) สัมพันธ์กับธรรมะธรรมดา เพื่อแยกสิ่งซึ่งเกิดดับๆๆ ถี่ๆ ให้ช้าลง....วงจรของสันตติ (ความสืบต่อของรูป-นาม) จะขาด (เข้าใจยากหน่อยครับไว้สักวันหนึ่งคุณไม่หยุดเพียงแค่นี้คงเข้าใจคำพูดนี้)

ไม่ใช่เดินเล่นๆ หรือ พองหนอ ยุบหนอ ตามๆ กันไป
ผู้ปฏิบัติกรรมฐานเบื้องต้นควรเข้าใจธรรมชาติของรูป-นามดังนี้ก่อน

ยากเกินเข้าใจไหมครับ หากไม่เข้าใจถามได้ทุกความสงสัยครับ


เกล็ดความรู้เบาๆบ้าง

-ผู้ซึ่งบำเพ็ญเพียรทางจิตนั้น มักโดนความคิดหรืออารมณ์แต่ละขณะๆ หลอกเอาเสมอ ถ้าไม่แก่ปริยัติ ปฏิบัติไม่กล้าจริงๆแล้ว หลงทางอริยมรรค เป็นมิจฉาทิฐิบุคคลไปเลย

-อย่างเช่นความรู้สึกคุณที่เหมือนโดนดูดอะไรนั่น จะมีผู้หลงว่า โดนแรงดึงดูดพลัดเข้าไปสู่ดินแดนแห่งหนึ่ง ซึ่งสวยงามมาก สงบ ร่มเย็นมีความสุข ไม่มีทุกข์ ฯลฯ ลืมตาขึ้นมาก็หลงเข้าใจตนว่า ดินแดนแห่งนั้นเป็นแดนสวรรค์บ้าง เป็นเมืองนิพพานบ้าง

-หากผู้นั้นมีฐานความคิดชอบฤทธิ์อภินิหารย์ จะมีความรู้สึกเหมือนเหาะได้เนื้อตัวเบาโหวง ที่ร้ายไปกว่านั้น บางคนเห็นตนเองมีร่างซ้อนมาอีกร่างหนึ่ง ร่างหนึ่งกำลังนั่งกรรมฐานแต่อีกร่างไปทำงาน หรือ บางคนเดินก็เห็นร่างตนเดินคู่กับร่างภาพมายาซึ่งซ้อนขึ้นมา

-ผู้เช่นนี้แหละ ถ้าไม่ได้ผู้เคยผ่านมาก่อนแนะนำแล้วก็หลงผิดไปได้ทุกทิศทุกทาง มีบางคนเข้าใจว่า เป็นพระอรหันต์ไปโน้นเลยก็มี...อย่าว่าแต่ฆราวาสเลย แม้แต่พระบางรูปก็โดนอารมณ์แต่ละขณะๆหลอกเอาก็มี


-สังเกตดูเองเถอะครับ ถามเกี่ยวกับนิพพานต่อใครๆ เกือบทั้งหมด มีแต่เห็นว่า นิพพานเป็นดินแดนแห่งหนึ่งที่สวยงาม (=อยากไปอยู่ที่สวยๆงามๆ) ...หรือไม่ก็ไม่มีทุกข์เลย ( =ลึกๆ ยังเข้าใจว่าเป็นดินแดนเช่นกัน นี้อยากหนีทุกข์..) ...หรือไม่ก็ไม่เกิดอีก... (=ต้องการหนีจากปัจจุบัน เกิดมาชาตินี้เห็นแต่ความทุกข์)... ยังคิดพิสดารไปกว่านั้นอีก คือ หลับแล้วฝันว่าได้ไปนิพพาน หรือไม่ก็มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือ อาจารย์รูปนั้นรูปนี้มาบอกทางนิพพานให้ในฝัน.....

แต่หารู้ไม่ว่า ความคิดเหล่านั้น เป็นการแสดงตัวตนในรูปของตัณหาซึ่งมีลักษณะต่างๆกัน อยากนิพพาน แต่ไม่แน่ใจว่า นิพพานเป็นอย่างไร แล้วจะถึงจะไปได้อย่างไร

เหมือนๆ ผู้จะเดินทางไปจังหวัดเชียงราย แต่ตนไม่รู้ว่าเชียงรายอยู่ที่ไหน ไปทางไหน ไม่มีข้อมูลเลย ฯลฯ แล้วจะไปได้อย่างไร

ยิ่งเรื่องนิพพานด้วยแล้ว นึกคิดไม่เห็น ถามร้อยคนตอบร้อยนิพพาน ความจริงนิพพานมีนิพพานเดียว คือ ยังราคะให้สิ้นไป (ราคัขโย=ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ) ยังโทสะให้สิ้นไป (โทสัคขโย=ธรรมเป็นที่สิ้นโทสะ) และยังโมหะให้สิ้นไป (โมหัคขโย=ธรรมเป็นที่สิ้นโมหะ)... นั่นแหละนิพพานของพระพุทธเจ้า

-แต่มนุษย์รักกิเลสตนเอง กลัวไม่มีกิเลส กลัวหมดกิเลสในใจตน พระพุทธบอกให้ทำลายกิเลสก่อน จึงเห็นนิพพาน จึงขัดความรู้สึก-ขวางความคิดของตน จึงได้คิดสร้างสวรรค์วิมาน และนิพพานเอาเอง
.
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 28 พ.ย.2006, 4:40 am, ทั้งหมด 3 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 27 พ.ย.2006, 8:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-หลักปฏิจจสมุปบาททั้งหมด เป็นกระบวนการเกิด-ดับของทุกข์ ฉะนั้น คำว่า ทุกข์ จึงมีความสำคัญและมีบทบาทมากในพุทธธรรม และในหลักธรรมสำคัญอื่นๆ เช่นไตรลักษณ์ และอริยสัจ ก็มีคำว่า ทุกข์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ

จึงควรทำความเข้าใจคำว่า ทุกข์ ให้ชัดเจน และให้สลัดความเข้าใจแคบๆ ในภาษาไทยทิ้งเสียก่อน และพิจารณาทุกข์ใหม่ตามความหมายกว้าง ๆ ของพุทธพจน์ที่แบ่ง (ทุกข์) ทุกขตาเป็น ๓ อย่าง พร้อมด้วยคำอธิบายในอรรถกถา ดังนี้

๑. ทุกขทุกขตา- ทุกข์ที่เป็นความรู้สึกทุกข์
-คือ ความทุกข์กายทุกข์ใจ ไม่สบาย เจ็บปวดเมื่อยขบ โศกเศร้า เป็นต้น อย่างที่เข้าใจกันโดยสามัญ ตรงตามชื่อ ตามสภาพ ที่เรียกว่า ทุกขเวทนา
(ความทุกข์อย่างปกติที่เกิดขึ้น เมื่อประสบอนิฏฐารมณ์ หรือ สิ่งที่กระทบกระทั่งบีบคั้น)

๒. วิปริณามทุกขตา - ทุกข์เนื่องด้วยความผันแปร หรือทุกข์ที่แฝงอยู่ในความแปรของสุข คือความสุขที่กลายเป็นความทุกข์ หรือทำให้เกิดทุกข์ เพราะความแปรปรวนกลับกลายของมันเอง
(ภาวะที่ตามปกติ ก็สบายดีเฉยอยู่ ไม่มีรู้สึกทุกอย่างใดเลย แต่ครั้นได้เสวยความสุขบางอย่าง พอสุขนั้นจางลงหรือหายไป ภาวะเดิมที่เคยรู้สึกสบายเป็นปกตินั้น กลับกลายเป็นทุกข์ไป เสมือนเป็นทุกข์แฝง ซึ่งจะแสดงตัวออกมาในทันทีที่ความสุขนั้นจืดจางหรือเลือนรางไป ยิ่งสุขมากขึ้นเท่าใดก็กลับกลายเป็นทุกข์รุนแรงมากขึ้นเท่านั้น เสมือนว่าทุกข์ที่แฝงขยายตัวตามขึ้นไป ถ้าความสุขนั้นไม่เกิดขึ้น ทุกข์เพราะสุขนั้นก็ไม่มี แม้เมื่อยังเสวยความสุขอยู่ พอนึกว่าสุขนั้นอาจจะต้องสิ้นสุดไป ก็ทุกข์ด้วยหวาดกังวล ใจหายไหวหวั่น ครั้นกาลเวลาแห่งความสุขผ่านไปแล้ว ก็หวนระลึกด้วยความละห้อยหาว่า เราเคยมีสุขอย่างนี้ๆ บัดนี้ สุขนั้นไม่มีเสียแล้วหนอ)

๓. สังขารทุกขตา- ทุกข์ตามสภาพสังขาร คือ สภาวะของตัวสังขารเอง
หรือสิ่งทั้งหลาย ทั้งปวงที่เกิดจากเหตุปัจจัย ได้แก่ขันธ์ ๕... (รวมถึง มรรค ผล ซึ่งเป็นโลกุตรธรรม) .... เป็นทุกข์ คือ เป็นสภาพที่ถูกบีบคั้นด้วยปัจจัยที่ขัดแย้ง มีการเกิดขึ้นและการสลายหรือดับไป ไม่มีความสมบูรณ์ในตัวของมันเอง อยู่ในกระแสแห่งเหตุปัจจัย จึงเป็นสภาพซึ่งพร้อมที่จะก่อให้เกิดทุกข์ .... (ความรู้สึกทุกข์หรือทุกขเวทนา).... แก่ผู้ไม่รู้เท่าทันต่อสภาพและกระแสของมัน และเข้าไปฝืนกระแสอย่างทื่อๆ ด้วยความอยากความยึด (ตัณหาอุปาทาน) อย่างโง่ ๆ (อวิชชา) ไม่เข้าใจเกี่ยวข้องและปฏิบัติต่อมันด้วยปัญญา

-ทุกข์ข้อสำคัญ คือ ข้อที่ ๓ แสดงถึงสภาพของสังขารทั้งหลายที่มันเป็นของมันเอง แต่สภาพนี้จะก่อให้เกิดความหมายเป็นภาวะในทางจิตวิทยาขึ้นก็ได้ ในแง่ที่ว่า มันไม่อาจให้ความพึงพอใจโดยสมบูรณ์ และสามารถก่อให้เกิดทุกข์ได้เสมอ แก่ผู้เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยอวิชชาตัณหาอุปาทาน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 พ.ย.2006, 10:45 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-คำว่า “วิปัสสนา” เดี๋ยวนี้พูดถึงกันบ่อยๆ ทำอะไร ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทางศาสนา บ้างก็ว่าวิปัสสนา......ทำอะไรประหลาดๆ ก็ว่าเป็นวิปัสสนาเช่น......นานวันเข้ามีการเข้าคอร์ส นั่งวิปัสสนามีการกำหนดจิต ถอดจิต เขย่าตัว ท่องสวรรค์ ทัวร์นรก และอะไร....ที่ดูแปลก ๆ อีกสารพัด....5 คอร์ส.
มาจากนี่....
http://larndham.net/index.php?showtopic=23380&st=0

ผู้มีไม่รู้หลงเชื่อตกเป็นเหยื่อของจิ้งจอกสังคม โดยเอาคำสอนทางศาสนาเป็นเครื่องมือลวงล่อชนผู้ศรัทธาแต่ยังด้อยเรื่องศาสนา จึงตกเป็นเหยื่อได้ไม่ยากนัก

เพราะฉะนั้น ควรทำความเข้าใจคำว่า “วิปัสสนา” กันบ้างว่าหมายถึงอะไร
วิปัสสนา ตามรูปศัพท์แปลว่า การเห็นแจ้ง (ในรูป-นาม=กายและใจ) หรือรู้จักตนเอง เมื่อรู้จักตนเองอย่างแจ่มแจ้งทะลุปรุโปร่งแล้ว ก็อ่านตนเองออก บอกตนเองได้ ใช้ตนเองเป็น ใช้ตนตามเหตุผล โดยไม่ยึดมั่นถือหมายในนาม-รูปนี้ ก็จึงพ้นจากทุกข์

แต่ก็มิใช่อยู่ๆ จะเห็นแจ้งในนาม-รูป ไม่ใช่ ต้องมีวิธีการและเครื่องมือในการโน้มนาวให้จิตเขาเห็นตนเอง ด้วยตนเอง คือเห็นตนเองว่างั้นเถอะ การงานนั้น คือ กรรมฐาน หรือที่ที่ให้จิตทำงาน ซึ่งก็ได้อานาปานสติเป็นต้น....ไม่ใช่ถอดจิต ทัวร์นรก สวรรค์อะไรนั่น ผิดเป้าหมายของคำว่าวิปัสสนาอย่างสิ้นเชิง
ลองอ่านความเป็นไปของคำว่าวิปัสสนาดังต่อไปนี้.........

- เมื่อใดสติตามทันงาน (กรรมฐาน) สม่ำเสมอต่อเนื่องอย่างชำนาญ คนไม่ปิดบังตนเอง ไม่บิดเบือนภาพที่มอง และพ้นจากอำนาจความเคยชินหรือนิสัยเก่าของจิตแล้ว
-เมื่อนั้น ก็พร้อมที่จะมองเห็นสิ่งทั้งหลายตามสภาวะของมันและรู้เข้าใจความจริง ถ้าอินทรีย์อื่นๆ โดยเฉพาะปัญญาแก่กล้าพร้อมดีอยู่แล้ว ก็จะร่วมงานกับสติ หรืออาศัยสติคอยเปิดทางให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ ทำให้เกิดญาณทัศนะ ความหยั่งรู้หยั่งเห็นตามเป็นจริง ที่เป็นจุดหมายของวิปัสสนา แต่การที่ปัญญินทรีย์ เป็นต้น จะพร้อมหรือแก่กล้าได้นั้น ย่อมอาศัยการฝึกฝนอบรมมาโดยลำดับ.....

-สติมิใช่ตัววิปัสสนา ปัญญาหรือการใช้ปัญญาต่างหากเป็นวิปัสสนา แต่ปัญญาจะได้โอกาสและทำงานได้อย่างปลอดโปร่งเต็มที่ก็ต่อเมื่อมีสติคอยช่วยกำกับหนุนอยู่ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น การฝึกสติจึงมีความสำคัญมากในวิปัสสนา

-การฝึกสติก็เพื่อจะใช้ปัญญาได้เต็มที่ หรือเป็นการฝึกปัญญาไปด้วยนั่นเอง (ไม่ใช่ฝึกคิดฝึกทำกันทีละอย่างทีละตัว เพราะมันเป็นสัมปยุตธรรมเกิดร่วมกันทำงานร่วมกัน)

ในภาษาการปฏิบัติธรรม เมื่อพูดถึงสติก็เล็งถึงปัญญาที่ควบอยู่ด้วย และสติจะมีกำลังกล้าแข็งหรือ ชำนาญคล่องแคล่วขึ้นได้ก็เพราะมีปัญญาร่วมทำงาน ปัญญาที่ทำงานร่วมอยู่กับสติในกิจทั่วๆไป มักมีลักษณาการที่เรียกว่า สัมปชัญญะ

ในขั้นนี้ ปัญญายังดูคล้ายเป็นตัวประกอบ คอยร่วมมือและประสานงานอยู่กับสติ การพูดจากล่าวขานมักเพ่งเล็งไปที่สติ เอาสติเป็นตัวหลักหรือตัวเด่น

แต่ในขั้นที่ใช้ปัญญาพินิจพิจารณาอย่างจริงจัง ความเด่นจะไปอยู่ที่ปัญญา สติจะเป็นเหมือนตัวที่คอยรับใช้ปัญญา ปัญญาที่ทำงานในระดับนี้ เช่นที่เรียกว่า ธรรมวิจัยในโพชฌงค์ ๗ ประการเป็นต้น สัมปชัญญะก็ดี ธรรมวิจัยก็ดี....ที่ทำงานให้เกิดความเห็นแจ้งรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตรงตามสภาวะที่มันเป็น เพื่อให้จิตหลุดพ้นเป็นอิสระ นี่แหละคือวิปัสสนา.
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง