Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา (พระมหาสมศักดิ์ ญาณโพโธ) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ย.2006, 7:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๒. พระพุทธศาสนาในประเทศธิเบต

พระพุทธศาสนาได้เข้าไปสู่ประเทศธิเบต ซึ่งเป็นดินแดนที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ ประมาณคริสตวรรษที่ ๗ หรือประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒ สมัย พระเจ้าสองตะสัน กัมโป (Songtsan - Gampo) ในระยะเวลานั้นหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้ตั้งมั่นมาหลายศตวรรษแล้วในประเทศจีนแถบตะวันออก แถวแคชเมียร์ และแถวโกตัน (Khotan) ตะวันตก มีความพยายามกันหลายด้านที่จะนำพระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนหิมะแห่งนี้ แต่ว่ามีภาวะเงื่อนไขหลายอย่างไม่เอื้ออำนวย จนกระทั่งประเทศธิเบตได้รวมเป็นหนึ่งด้วยกันภายใต้ศูนย์รวมอำนาจที่เข้มแข็ง พร้อมกับลัทธิศาสนาที่เก่าแก่ของธิเบตคือลัทธิโบนได้เสื่อมถอยลง

ประเทศธิเบตเป็นประเทศที่มีลัทธิศาสนาเป็นของตนเองเป็นเวลานานมาแล้ว ก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเข้าไปสู่ธิเบต ลัทธิศาสนาที่เก่าแก่ของธิเบตก็คือ ลัทธิโบน (Bonism)(๑) ลัทธินี้มีลักษณะความเชื่อคือ บูชาสวรรค์ วิญญาณ ภูเขา แม่น้ำ ต้นไม้ และมีความเชื่อลักษณะทางธรรมชาติอื่นๆ ในยุคโบราณลัทธิโบนเอามนุษย์และสัตว์บูชายัญ ทุกวันนี้ก็ยังคงทำพิธีสังเวยแก่ดวงวิญญาณ เคารพนับถือธรรมชาติ ตามลัทธิที่ตนเองเคยปฏิบัติมานั่นแหละ

ลัทธิโบนมีลักษณะตรงกันข้ามกับพระพุทธศาสนาโดยสิ้นเชิง แต่ก็ได้ดำเนินสืบต่อเรื่อยมาเป็นเวลาช้านานหลายศตวรรษ จนกระทั่งพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้รับการยอมรับในประเทศธิเบต แต่ลัทธิโบนก็ยังคงประพฤติปฏิบัติมากระทั่งจนทุกวันนี้ และได้ร่วมมือกับพระพุทธศาสนากลายเป็นพระพุทธศาสนาแบบธิเบต ก็เพื่อเป็นการดำรงรักษาวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของธิเบตไว้

ครั้นต่อมา พระเจ้าสองตะสัน กัมโป ได้ทำสงครามกับประเทศจีนและตีเมืองเสฉวนได้ กษัตริย์ในสมัยราชวงศ์ถัง คือ พระเจ้าถังไทจงฮ่องเต้ ใช้วิธีผูกมิตรกับธิเบตด้วยการยกเจ้าหญิงในราชสกุลองค์หนึ่งให้เป็นมเหสีของกษัตริย์ธิเบต เจ้าหญิงองค์นี้มีนามว่า บุ้นเซ้งกงจู๊ ในขณะเดียวกันธิเบตก็รุกรานเนปาล กษัตริย์เนปาลก็ใช้วิธีแบบกษัตริย์จีน โดยการยกราชธิดาให้เพื่อเป็นการปลูกสัมพันธไมตรี และเจ้าหญิงองค์นี้ทรงพระนามว่า กฤกุฎีเทวี เป็นความโชคดีของพระพุทธศาสนาที่เจ้าหญิง ทั้งสองพระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะ เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ต่างอัญเชิญพระพุทธรูปและพระธรรมคัมภีร์เข้าไปยังธิเบตด้วย และได้ชักชวนพระเจ้าสองตะสัน กัมโป ให้ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และก็เป็นผลตามที่พระนางขอร้องจริงๆ พระเจ้าสองตะสัน กัมโป ได้ให้สร้างวัดทางพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศธิเบตชื่อว่า "วัดโจกัง" (Jokhang) ตั้งอยู่ในเมืองลาสา (Lhasa)

ปัจจุบันเรารู้จักศาสนาพุทธในธิเบตอย่างดี พระธิเบตเรียกว่า ลามะ ซึ่งเป็นคำที่ทั่วโลกรู้จักเช่นเดียวกับที่รู้จักประเทศธิบต คำว่า "ลามะ" หมายถึงสูงสุดยอด เช่นเดียวกับคนไทยเราเรียกว่า "พระ" แปลว่า ประเสริฐ คำว่า ลามะ ไม่ใช่มีความหมายหรือใช้เรียกแต่พระอย่างเดียว อาจรวมไปถึงอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญปฏิบัติธรรม และมีความรอบรู้ธรรมะ ดังนั้น ลามะจึงอาจเป็นทั้งพระสงฆ์หรือฆราวาสก็ได้

พระพุทธศาสนาเข้าสู่ธิเบต

นิกายทางพระพุทธศาสนามหายานที่สามารถเข้าไปตั้งในธิเบตได้สำเร็จนั้นเป็น นิกายพุทธันตรยานหรือตันตรมนตรยาน ซึ่งเป็นนิกายที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยเวทย์มนต์อาคมขลัง นับได้ว่าเป็นช่วงจังหวะกับที่ประเทศธิเบตมีลัทธิศาสนาดั้งเดิมหนักไปทางถือเวทย์มนต์อาคมขลังอยู่แล้ว ก็เลยถูกจริตรสนิยมของคนธิเบต ถ้าเป็นนิกายอื่นๆ ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าพระพุทธศาสนาจะสามารถเข้าไปหยั่งหลักฐานฝังรากในประเทศนี้ได้หรือเปล่า คณาจารย์ที่มีบทบาทสำคัญในที่นำพระพุทธศาสนาเข้าไปยังประเทศธิเบตมีชื่อว่า ปัทมสัมภวะ (Padmasambhava) ท่านได้รับอาราธนาให้เข้าไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในธิเบต ท่านใช้เวลาไม่นานนักก็สามารถปราบฤทธิ์พวกพ่อมดที่นับถือลัทธิโปนดั้งเดิมได้สำเร็จ และท่านก็ได้เป็นประธานต้นกำเนิดนิกายลามะที่เรียกว่า นิกายนยิงมะปะ (Nyingmapa) ในธิเบต จนก่อให้เกิดศรัทธาความเชื่อถือแก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยพระราชาหลายพระองค์ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ และยังประกาศพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ต่อมาระยะหลังจากพระสัมภวะก็มีภิกษุชาวอินเดียที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนาลันทา มหาวิทยาลัยวิกรมศิลา เช่น พระอติศะได้เดินทางเข้าธิเบตทำการเผยแพร่ศาสนา ตลอดจนได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงเล่มหนึ่งชื่อว่า "โพธิบทประทีปศาสตร์" และแปลคัมภีร์เป็นภาษาธิเบต อักษรธิเบตก็มีรากฐานมาจากภาษาสันตกฤต หลักการปฏิบัติและหลักการสอนของพระธิเบต ได้อาศัยแบบอย่างการสอนของมหาวิทยาลัยนาลันทา กระทั่งปัจจุบันก็ใช้หลักเดียวกันตกทอดมาถึงเดี๋ยวนี้

บทบาทของพระสองขะปะ (Tsongkhapa)

เมื่อพระพุทธศาสนาเจริญมาถึงประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ มีคณาจารย์ผู้เป็นชาวธิเบต มีความเชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฎกเป็นอย่างมาก ท่านได้แต่งอรรรถกถาฎีกาเป็นจำนวนมาก เล่มที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ โพธิมรรค อนุปุพพศาสตร์ ใจความของหนังสือเล่มนี้ก็เป็นการอธิบาย คำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับเรื่องของศีล สมาธิ และปัญญานั่นเอง ตลอดจนใช้เป็นตำราเรียนของพระธิเบตมาจนทุกวันนี้

ท่านสองขะปะเห็นความตกต่ำของพระพุทธศาสนาในประเทศ เพราะพระสงฆ์เริ่มละทิ้งการศึกษาพระธรรมวินัย ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ มุ่งกระทำสิ่งนอกธรรมนอกพระวินัย กระทำเรื่องไร้สาระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระลามะในนิกายยิงมะปะประพฤติตัวเลอะเทอะ คือ มีลูกเมียได้ในวัด สร้างความตกต่ำในวงการของพระลามะเป็นอย่างมาก พระสองขะปะจึงจัดตั้งนิกายใหม่ขึ้นมาชื่อว่า นิกายเกลุกะปะ (Gelukpa School) นิกายนี้ยึดมั่นการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดไม่มีลูกไม่มีภรรยา ศึกษาพระธรรมวินัยอย่างเอาจริงเอาจัง สามารถพลิกฟื้นกลับกลายเป็นนิกายที่มีมหาชนเคารพนับถืออย่างกว้างขวางในระยะเวลาอันสั้น ดาไลลามะทุกพระองค์เป็นภิกษุในนิกายนี้และได้รับการยกย่องเป็นนิกายประจำชาติ

นิกายในประเทศธิเบต

ประเทศธิเบตนับตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๒ - ๒๐ มีนิกายใหญ่ๆ ที่แพร่หลายในชุมชนชาวธิเบต มีอยู่ด้วยกัน ๔ นิกาย(๒) คือ

๑. นิกายนยิงมาปะ หรือ นิกายยิงมะปะ (Nyingmapa School) พระปัทมสัมภวะ ซึ่งเป็นภิกษุชาวอินเดียที่นำพระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ธิเบตเป็นครั้งแรก เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น และแพร่หลายถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ก็เสื่อมลง

๒. นิกายศากยะ (Sakya School) สืบต้นต่อมาจากพระอติศะ นักปราชญ์ชาวอินเดีย มีชีวิตอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๗

๓. นิกายกาคะยุปะ (Kagyupa School) มีพระนโรปะชาวอินเดียเป็นผู้เริ่มตั้งนิกาย

๔. นิกายเกลุกะปะ (Gelukpa School) ตั้งขึ้นโดยพระธิเบตชื่อว่า สองขะปะ นิกายของท่านเป็นนิกายที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในประเทศธิเบต นับเป็นนิกายที่เจริญสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ดาไล ลามะ ทุกองค์จะสังกัดในนิกายนี้ทั้งสิ้น

การปฏิบัติตามหลักนิกายเกลุกะปะ จะต้องผ่านการอบรมชั้นสูงเสียก่อนซึ่งเราเรียกว่า ลามะ อาจใช้เวลาถึง ๒๐ ปี เพื่อขัดเกลานิสัยจิตใจให้ตั้งอยู่ในความสงบ ไม่เกิดความฟุ้งซ่าน ส่วนมากการศึกษาอบรมกระทำกันตามอารามใหญ่ๆ ในกรุงลาสา การสั่งสอนก็ยึดถืออุปนิสัยของผู้เรียนเป็นหลัก ดังนั้น ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นลามะแล้วย่อมเป็นผู้ทรงคุณวุฒิอย่างแท้จริง พระลามะของธิเบตจึงเป็นผู้ปฏิบัติธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดมีสมาธิอันดีเลิศ เพราะว่าได้ผ่านการชำระจิตใจมาเป็นเวลานาน ความเป็นลามะจึงมีความสมบูรณ์มากในตัวบุคคลที่ผ่านการฝึกหนักมาอย่างนั้นโดยแท้

ดาไล ลามะ กับการปกครอง

การปกครองในประเทศธิเบต ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ลงมาเป็นลามะ(๓) ทั้งสิ้น ฐานันดรสูงสุดในธิเบตมีอยู่ ๒ ตำแหน่ง คือ ดาไล ลามะ, ตาชิ ลามะ ดาไล ลามะถืออำนาจทางอาณาจักรคือเป็นพระมหากษตริย์ ส่วนตาชิ ลามะ ถืออำนาจทางศาสนาปกครองเน้นหนักทางศาสนจักร ชาวธิเบตเชื่อระบบอวตาร ถือกันว่า ดาไล ลามะ อวตารมาจากพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และตาชิ ลามะ อวตารมาจากอาทิพุทธะ ดังนั้น การสรรหาบุคคลเข้ารับตำแหน่งทั้ง ๒ นี้ จึงมีวิธีการที่แปลกประหลาดมากเมื่อดาไล ลามะ และตาชิ ลามะ สิ้นชีพลง ก็ต้องแสวงหาเด็กที่เชื่อว่าอวตารลงมา พวกเราจึงรู้กันว่า ผู้ที่รับตำแหน่งดาไล ลามะ ในธิเบตนั้น เป็นเด็กๆ ทั้งสิ้น

วิธีการสรรหาเด็ก ก็ใช้วิธีการสืบสวนและสดับตรับฟังว่า มีเด็กคนไหนบ้างที่รู้ความลับของลามะทั้งสอง มีการเสี่ยงทาย เช่น นำสิ่งของเครื่องใช้ของดาไล ลามะองค์ก่อนมาให้เด็กเลือก เป็นต้นว่า สมุดคัมภีร์บ้าง พวงประคำ หรือไม้เท้า นำมาปะปนกับของบุคคลอื่น ถ้าเด็กสามารถหยิบเครื่องใช้ของดาไล ลามะองค์เก่าได้ถูกต้อง ก็เลือกเด็กคนนั้น

นี่เป็นหลักการ แต่โดยความเป็นจริงการเลือกนั้น ก็พยายามเลือกสรรหาเด็กที่มีลักษณะดี มีแววแห่งความเฉลียวฉลาดอย่างมาก เมื่อเอามาตั้งขึ้นเป็นลามะสูงสุดแล้ว ก็มีคณะผู้สำเร็จราชการแทนลามะว่าราชการ การบ้านการเมืองแทนไปก่อนจนกว่าเด็กนั้นจะบรรลุนิติภาวะ ในระหว่างนี้ คณะผู้ทำงานแทนก็จะให้การฝึกอบรมให้การศึกษาอย่างดีที่สุดแก่เด็กคนนั้น ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่าดาไล ลามะ เป็นผู้ที่มีจรรยามารยาท มีความสง่างาม มีวิสัยทรรศน์อย่างดีมากทีเดียว ตำแหน่งสูงสุด ๒ ตำแหน่ง คือ ดาไล ลามะ ว่าการทางอาณาจักร และตาชิ ลามะ ว่าการทางศาสนจักรนี้ ต่อมาในภายหลังเหลือเพียงตำแหน่งเดียว คือ ดาไล ลามะ ซึ่งต้องรับผิดชอบในการปกครองทั้งอาณาจักรและศาสนจักร คือเป็นทั้งพระมหากษัตริย์และพระสังฆราชพร้อมกันไปด้วย ก็เป็นอันว่าการปกครองประเทศ ธิเบตเป็นการปกครองโดยพุทธจักรโดยแท้

บทนิคม

ชนชาวธิเบตเป็นผู้ที่มีศรัทธาปสาทะในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง เป็นชนชาติที่น่ารัก มีจิตใจสูง มีความอดทนไม่มีความทุกข์ร้อนเรื่องความยากลำบาก มีความกล้าเผชิญต่อความจริง มีความเมตตาอารีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ให้ถือว่าคนทุกคนที่ท่านพบเป็นเสมือนพระพุทธเจ้า เขาคนนั้นอาจยังไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้าในปัจจุบัน แต่เพราะเขามีความเป็นพุทธะในตัวเอง สักวันหนึ่งเขาอาจเป็นพระพุทธเจ้าได้

ปัจจุบันนี้เป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่ง ประเทศธิเบตถูกลัทธิคอมมิวนิสต์จากประเทศจีนเข้ารุกรานและผนวกเอาประเทศธิเบตเป็นส่วนหนึ่งของจีนไปแล้ว องค์ดาไล ลามะ จึงต้องอพยพประชากรของพระองค์ลี้ภัยเข้าไปสู่ประเทศอินเดียตอนเหนือในรัฐหิมาจัลประเทศ (Himachal Pradesh) ประมาณปี ค.ศ. ๑๙๕๔ หรือ พ.ศ. ๒๔๙๗ สมัยประธานาธิบดีเยาวาห์ราล เนห์รู (Jawaharlal Nehru) ปกครองประเทศ จากอุปนิสัยของชาวธิเบตทั่วๆ ไปดังกล่าว เป็นที่ยืนยันได้อย่างชัดแจ้งว่า พระพุทธศาสนาสามารถเปลี่ยนอุปนิสัยใจคอของผู้มีศรัทธาให้กลับกลายไปในทางที่ดีได้ เพราะก่อนที่ชาวธิเบตจะหันมานับถือพระพุทธศาสนาก็เป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่ไม่มีอารยธรรม ชอบแต่การสงคราม เมื่อพระพุทธศาสนาแพร่หลายเป็นศาสนาประจำชาติธิเบตได้ไม่นาน ชาวธิเบตก็เปลี่ยนสภาพความเป็นอยู่ตรงกันข้าม มีจิตใจใฝ่หาสันติอย่างยิ่ง และกลับกลายเป็นประเทศที่มีอารยธรรมด้านปรัชญาลึกซึ้งประเทศหนึ่งของโลกทีเดียว


.................................................................................

(๑) The path of the Buddha by Kenneth W. Morgan, printed in India at Shri Jainendra Press, p. 237
(๒) The path of the Buddha by Kenneth W. Morgan, printed in India at Shri Jainendra Press, p. 249
(๓) พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ, ศาสนาสากล, เล่ม ๔ น. ๕๐๙


มีต่อ >>> ๓. พระพุทธศาสนาในประเทศจีน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ย.2006, 7:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๓. พระพุทธศาสนาในประเทศจีน

ประเทศจีนเป็นประเทศที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ปัจจุบันประเทศจีนปกครองด้วยระบบคอมมิวนิตส์ และเปลี่ยนมาปกครองด้วยระบบสาธารณรัฐเมื่อปี ค.ศ. 1911 เรียกชื่อเป็นทางการว่า ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก มีเนื้อที่รวมกันทั้งหมด ๙,๕๖๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงชื่อว่า ปักกิ่ง ภาษาประจำชาติคือภาษาจีน ประชากรของประเทศมีประมาณ ๑,๒๒๑.๕ ล้านคนเศษ อัตราการอ่านออกเขียนได้ของประชากรมีประมาณ ๗๐ % ศาสนาที่มีคนนับถือในประเทศจีน คือ พระพุทธศาสนา ศาสนาขงจื๊อ และศาสนาเต๋า

พระพุทธศาสนาในสมัยราชวงศ์ฮั่น

พระพุทธศาสนาเข้าไปสู่ประเทศจีน ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๖ (A.D. 58 - 75) ในสมัยราชวงศ์ฮั่น พระเจ้าจักรพรรดิฮั่นมิ่งเต้หรือฮั่นเม้งเต้ พระองค์ทรงเห็นมนุษย์ทองคำมีแสงรัศมีสว่าง พุ่งออกจากด้านหลังถึงคอ เหาะมาในบรรยากาศและลงมาสู่พื้นดิน พระองค์ได้รับถวายคำแนะนำจากโหรประจำราชสำนักว่า มนุษย์ทองคำที่เหาะมาในความฝันนั้น บางทีอาจจะเป็นพระพุทธเจ้าจากประเทศอินเดียก็ได้ พระเจ้ามิ่งเต้จึงได้ทรงส่งคณะทูตไปประเทศอินเดียเพื่อให้นำเอาพระพุทธศาสนากลับมาสู่ประเทศจีน เมื่อคณะทูตกลับมาสู่ราชสำนักโลยาง (Lo - yang) พร้อมกับคณะที่มาด้วยเป็นพระภิกษุชาวอินเดีย ๒ รูป ชื่อว่า พระกัสปมาตังคะและพระธรรมรักษ์ ซึ่งก็นำเอาพระพุทธรูปและคัมภีร์ทางศาสนาเข้ามาด้วย พระภิกษุชาวอินเดียทั้งสองได้รับการต้อนรับด้วยความยินดียิ่งจากพระเจ้ามิ่งเต้ และให้พำนักอาศัยอยู่ที่ วัดม้าขาว(๑) (White Horse Temple) หรือภาษาจีนเรียกว่าวัด "แปะเบ้ยี่" และถือว่าเป็นวัดแรกที่สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ม้าที่บรรทุกพระธรรมคัมภีร์มา ในเวลาต่อมา ท่านทั้งสองก็ได้แปลพระสูตรเป็นภาษาจีน ๔๒ สูตร และนับได้ว่าพระเจ้าฮั่นมิ่งเต้เป็นปฐมกษัตริย์ที่ทรงนับถือพระพุทธศาสนาเป็นพระองค์แรกของประเทศจีน

พระพุทธศาสนาในสมัยสามก๊กหรือยุคน่ำปัก

ในยุคนี้เรียกได้ว่าเป็นยุคปลายสมัยสามก๊ก พระเจ้าโจผีราชวงศ์โจโฉ ทรงอาราธนาพระภิกษุ ชาวอินเดียชื่อว่า "พระธรรมกาละ" เข้ามาเป็นพระอุปัชฌาย์แก่ประชาชนชาวจีนที่ต้องการอุปสมบท ก่อนหน้านี้ชาวจีนอุปสมบทไม่ได้ นับได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ชาวจีนอุปสมบทในประเทศของตนได้ พระธรรมกาละยังได้แปลวินัยปาฏิโมกข์ขึ้นเป็นการเปิดศักราชแห่งนิกายวินัยขึ้นในจีนอีกด้วย

พระพุทธศาสนาในสมัยราชวงศ์จิ้น

พระพุทธศาสนาได้แพร่ไปยังประชาชนทั่วไป ธรรมทูตจากเอเซียกลางบ้าง จากอินเดียบ้าง จาริกเข้าสู่ประเทศจีนไม่ขาดระยะ สมัยนี้ศาสนาพุทธเจริญรุ่งเรืองมาก หลวงจีนฟาเหียนได้เดินทางไปศึกษาภาษาสันสกฤตและพระธรรมวินัยควบคู่กันไป และท่องเที่ยวนมัสการสังเวชนียสถานทั่วชมพูทวีป แล้วเดินทางกลับทางเรือผ่านเกาะสิงหล เกาะชวา กลับถึงประเทศจีน เมื่อ พ.ศ. ๙๕๗ รวมระยะเวลา ๑๕ ปี ท่านได้นำพระธรรมวินัยปิฎกและพระปฏิมากรกลับมาด้วย ในครั้งนั้นท่านยังได้เขียนจดหมายเหตุเรื่องเดินทางไปประเทศอินเดียอย่างละเอียดละออสามารถใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของนักค้นคว้าทั่วไป และได้ลงมือแปลคัมภีร์ที่นำมาจากอินเดียด้วย

ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ท่านกุมารชีพซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังทั่วเอเซียกลางที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น "ติปิฏกธราจารย์" ได้รับนิมนต์ให้เข้ามาสู่ประเทศจีน ท่านกุมารชีพทำการแปลพระสูตร พระวินัย พระอภิธรรม มากกว่า ๓๐๐ ผูก และแปลศาสตร์ต่างๆ ของฝ่ายศูนยตวาทิน ทำให้ปรัชญามาธยมิกเจริญแพร่หลาย พร้อมกันนั้นยังได้แปลคัมภีร์สัตยสิทธิศาสตร์ ผลงานของท่านได้รับความนับถืออย่างสูง โดยเฉพาะภาษาหนังสือที่ท่านแปลออกมาสู่ภาษาจีนเป็นสำนวนที่ไพเราะซาบซึ้ง จนถือเป็นแบบฉบับของภาษาชั้นสูงของประเทศจีน ประชาชนหันมานับถือพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก วัดอารามได้ถูกสร้างขึ้นเป็นจำนวนมาก

พระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าเหลียงบู๊ตี้

ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้เป็นปฐมราชวงศ์เหลียง ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระเจ้าอโศกของจีน พระองค์วางรากฐานพระพุทธศาสนาไว้อย่างมั่นคง ทรงอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญแพร่หลาย ในยุคนี้ท่านโพธิธรรมซึ่งชาวจีนเรียกว่า "ตั้กม้อโจ้วซือ" ท่านเป็นผู้นำนิกายเซียมจงหรือนิกายเซนเข้ามาสู่ประเทศจีน ทางอุตตรนิกายยกย่องท่านในตำแหน่งพระบุพพาจารย์อันดับหนึ่ง นิกายของท่านได้รับการยกย่องนับถืออย่างสูงจากพระเจ้าจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ถัง และในปลายศตวรรษที่ ๑๒ ก็มีพระโพธิรุจิอีกรูปหนึ่งเดินทางเข้าสู่ประเทศจีน ท่านได้แปลทศภูมิศาสตร์และศาสตร์อื่นๆ อีกมากมายพร้อมกับให้กำเนิดนิกายภูมิศาสตร์

ในปลายศตวรรษที่ ๑๒ นี้ ก็ยังมีคณาจารย์จีนอีกท่านหนึ่งชื่อว่าตี้เจี้ย ได้ประกาศปรัชญานิกายเทียนไท้แพร่หลาย ท่านเป็นผู้ที่มีเกียรติคุณโด่งดังมีศิษย์บริวารเป็นจำนวนมาก นิกายเทียนไท้เจริญมากในประเทศจีน และยังเป็นที่เคารพของพระเจ้าจักรพรรดิอีกด้วย

พระพุทธศาสนาในสมัยราชวงศ์ถัง

พระพุทธศาสนาในสมัยราชวงศ์ถัง มีพระภิกษุชาวจีนที่มีชื่อเสียงโด่งดังท่านหนึ่ง ชื่อว่าเฮี่ยงจัง หรือเรารู้จักกันในนาม "พระถังซำจั๋ง" เป็นชาวมณฑลโฮนาน ท่านเป็นติปิฏกธราจารย์ ได้เดินทางไปศึกษาพุทธธรรมในประเทศอินเดีย โดยได้ไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่มหาวิทยาลัยนาลันทา ประกอบกับท่องเที่ยวนมัสการปูชนียสถานที่อินเดีย รวมเวลาไปกลับ ๑๖ ปี เมื่อจาริกกลับประเทศจีนท่านได้เริ่มแปลคัมภีร์ได้จำนวนได้ ๑,๓๓๕ ปริเฉท และยังได้เขียนบันทึกการเดินทางไปอินเดียชื่อว่าบันทึกแคว้นตะวันตก หนังสือเล่มนี้ ได้นำประโยชน์อย่างมหาศาลแก่นักศึกษาผู้ค้นคว้าหรือนักโบราณคดี ตลอดถึงนักประวัติศาสตร์ นักศาสนา ได้รับประโยชน์เช่นกัน เพราะท่านได้บันทึกลัทธิศาสนาของประเทศอินเดียโบราณและของประเทศบริเวณแถบเอเซียกลาง

ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ก็มีสมณอี้จิง ชาวเมืองฟันยาง จาริกไปประเทศอินเดียศึกษาพระธรรมวินัยด้วยความเพียรอยู่ร่วม ๒๕ ปี ได้เดินทางไปหลายประเทศ และเดินทางกลับประเทศจีนโดยทางเรือ พร้อมทั้งอัญเชิญพระคัมภีร์มาเกือบ ๔๐๐ ผูก ท่านได้ร่วมกับพระภิกษุอื่นแปลพระคัมภีร์รวมได้ ๕๖ เรื่อง

พระพุทธศาสนาในสมัยราชวงศ์ถัง นับได้ว่าเป็นสมัยที่พระพุทธศาสนาได้เจริญถึงขีดสูงสุด จนได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของพระพุทธศาสนาในประเทศจีนเลยทีเดียว ประชาชนเกิดความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแรงกล้า ชนชั้นปัญญาชนได้ช่วยกันสนับสนุนเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างสำคัญ

พระพุทธศาสนาในสมัยราชวงศ์หงวน

พระพุทธศาสนาในสมัยของราชวงศ์หงวน ปรากฏว่าพระเจ้ากุ๊บไลข่านทรงเลื่อมใสพระพุทธศาสนาแบบมหายานในลัทธิตันตระมนตรยานแบบธิเบต และทรงยกย่องพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำสำนัก โปรดให้พิมพ์พระไตรปิฎกขึ้นใหม่ ยกเลิกเก็บภาษีวัด ทรงศรัทธามากในพระลามะ ธิเบตรูปหนึ่งชื่อว่า ฟาซือปา ในกาลต่อมาลามะฟาซือปาได้รับการสถาปนาให้เป็นสกลสังฆปริณายก

พระพุทธศาสนาในสมัยราชวงศ์เหม็ง

ในสมัยราชวงศ์ของพระเจ้าไท่โจ้ว หรือฮั่งบู๊ พระพุทธศาสนาได้รับการยกย่องเป็นอย่างดีจากกษัตริย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิกายสุขาวดีกับนิกายเซน ได้รับการยกย่องจากราชการอีกด้วย

แต่เมื่อมาถึงสมัยของพระเจ้าซีจง กษัตริย์องค์นี้เลื่อมใสในลัทธิเต๋ามาก และกระทำพระองค์เป็นปฏิปักษ์กับพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาจึงถูกทำลายครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เริ่มทำลายพระพุทธรูปทำลายวัด ให้นักบวชพวกเต๋ายินเข้าไปอยู่ในวัด วัดถูกแปลงเป็นสำนักเต๋า

พระพุทธศาสนาในสมัยราชวงศ์ชิงหรือเซ็ง

เมื่อราชวงศ์เซ็งซึ่งเป็นเผ่าแมนจูได้บังคับให้ประชาชนไว้ผมเปีย และให้แต่งกายแบบแมนจู มีชาวจีนโดยเฉพาะพวกฮั่นได้ถูกประหารชีวิตไปเป็นจำนวนมาก กิจการทางด้านพระพุทธศาสนา กลับกวดขันในการบวช โดยต้องได้รับอนุญาตจากทางการก่อนจึงจะบวชได้ ห้ามสร้างวัดใหม่ แต่ก็ยังให้การสนับสนุนทางศาสนาอยู่บ้าง เช่น ให้รวบรวมพระไตรปิฎกถวายวัดทุกวัด พร้อมทั้งให้แปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาแมนจูเรีย ทรงอุปถัมภ์เฉพาะพระลามะเท่านั้น

พระพุทธศาสนาในสมัยจีนเป็นสาธารณรัฐ

หลังจากระบอบการปกครองด้วยพระมหากษัตริย์ล้มสลาย หันมาปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์ ทำให้จีนไม่มีศูนย์กลางแห่งความสามัคคี พวกทหารนายกอง นักการเมือง ต่างแย่งชิงแสวงหาอำนาจ ทุกคนมีความต้องการเป็นประธานาธิบดีด้วยกันทั้งสิ้น

สถานการณ์ทางพระพุทธศาสนา ในสมัยที่ประเทศจีนปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์ พระพุทธศาสนาก็เป็นเหมือนวัตถุโบราณชิ้นหนึ่งเสื่อมถอยลง ไม่เฉพาะศาสนาพุทธเท่านั้น ศาสนาทุกศาสนาก็ถือว่าขัดกับลัทธิมาร์กซ์ทั้งสิ้น ลัทธิคอมมิวนิสต์ถือว่าศาสนานั้นเป็นกาฝากสังคม (Social Parasite) สูบเลือดเอาประโยชน์จากสังคม แต่คืนกำไรให้กับสังคมน้อย ศาสนาเป็นเหมือนกับยาฝิ่น (Religion is Opium) ทำให้คนพัฒนาได้ยาก เป็นคนไร้ประสิทธิภาพ ดังนั้น ศาสนาจึงไม่ควรจะมีอยู่เคียงคู่กับลัทธิคอมมิวนิสต์ หลังจากแผ่นดินใหญ่ถูกปกครองด้วยคอมมิวนิสต์ ฝ่ายจีนเสรีซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นชาวพุทธได้อพยพไปอยู่เกาะฟอร์โมซาหรือประเทศไต้หวันในปัจจุบัน


.................................................................................

(๑) The path of the Buddha by Kenneth W. Morgan, printed in India at Shri Jainendra Press, p. 184


มีต่อ >>> ๔. สรุปนิกายพระพุทธศาสนาในประเทศจีน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ย.2006, 7:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๔. สรุปนิกายพระพุทธศาสนาในประเทศจีน

หลังจากพระพุทธศาสนาแบบมหายานได้มาหยั่งรากฝังลึกอยู่ในประเทศจีน ก็ได้มีความเจริญรุ่งเรืองมาควบคู่กับศาสนาขงจื๊อ และเหลาจื๊อ สามารถเข้าไปอยู่ในจิตใจของชาวจีนได้โดยไม่ได้เป็นพิษเป็นภัยกับลัทธิเก่าที่เขาเคยประพฤติปฏิบัติมา พระพุทธศาสนามีลักษณะเหมือนกับกระแสน้ำที่ไม่มีความขัดแย้งกับเทหวัตถุที่น้ำเข้าไปอาศัยอยู่ ไปอยู่ในรูป อยู่ในรูปตุ่มก็เป็นตุ่ม จึงมีศัตรูน้อย แต่อย่างไรก็ดี ในส่วนของพระพุทธศาสนาเองนั่นแหละ คณาจารย์ของจีนเองได้มีแนวความคิดในการตีความขยายธรรมะในแนวทางที่แตกต่างกันออกไป จนเป็นเหตุให้เกิดนิกายบริสุทธิ์ขึ้นในจีนขึ้นมาหลายนิกาย มีอยู่ ๔ นิกายใหญ่คือ นิกายสัทธรรมปุณฑริก (เทียนไท้) นิกายธฺยาน (เซ็น) นิกายอวตังสกะ (ฮั่วเงี้ยมจง) นิกายสุขาวดี (เจ้งโท้วจง)

นิกายเทียนไท้

ผู้เป็นต้นกำเนิดของนิกายนี้คือ อาจารย์ ตี้เจีย สำนักก๊กเชงยี่ บนภูเขาเทียนไท้ ดังนั้น จึงเอาชื่อภูเขาตั้งเป็นนิกาย ท่านได้แบ่งพระพุทธวจนะออกเป็น ๕ สมัย(๑) คือ

๑. ปฐมกาล เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้วใหม่ๆ พระองค์ทรงแสดงพุทธาวตัมสกมหาไวปุลยสูตร แก่บรรดาพระโพธิสัตว์และทวยเทพ

๒. ทุติยกาล พระศาสดาทรงปรารภว่า พระธรรมนั้นลึกซึ้งนัก ยากที่ผู้มีอินทรีย์ไม่แก่กล้าจะเข้าใจได้ จึงทรงผ่อนให้ง่ายลง มีอริยสัจ ๔ ยุคนี้ทรงแสดงแก่พวกเถรวาท

๓. ตติยกาล ทรงเล็งเห็นว่า บรรดาพระสาวกส่วนหนึ่งยังเข้าใจผิดว่า มีแต่ธรรมฝ่ายเถรวาทเท่านั้น พระองค์จึงทรงแสดงธรรมฝ่ายมหายาน เลื่อนภูมิพระสาวกขึ้น อาทิเช่น ทรงแสดงไวปุลยสูตร ศรีมาลาเทวีสิงหนาทสูตร ตถาคัพภสูตร เป็นต้น

๔. จตุตถกาล พระศาสดาทรงตระหนักว่า บรรดาพระสาวกซึ่งฟังธรรมมา ๓ ยุคนั้น บางส่วนยังเข้าใจผิดว่า สภาวธรรม มีอยู่ เป็นอยู่ พระองค์จึงทรงแสดงธรรมปลดเปลื้องความเข้าใจผิดนี้ คือแสดงมหาปรัชญาปารมิตาสูตร

๕. ปัญจมกาล เป็นเวลปัจฉิมโพธิกาลแล้ว พระองค์ทรงแสดงความลี้ลับสุดยอดแก่พระสาวกทั้งปวง โดยทรงแสดงสัทธรรมปุณฑริกสูตร

นิกายนี้ถือว่าตนเองได้กำธรรมสุดยอดของพุทธศาสนาไว้ เพราะใช้สัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นหลักของนิกาย

นิกายธฺยาน

นิกายธฺยานหรือเรียกอีกอย่างก็คือนิกาย "เซ็น" นั่นเอง มาจากศัพท์ว่า ธฺยาน หรือ ฌาน นิกายนี้มีความเจริญรุ่งเรืองมากแม้กระทั่งในปัจจุบันนี้ ได้แพร่หลายออกไปยังนานาอารยประเทศ เช่น ในยุโรปและอเมริกา ผู้ตั้งต้นนิกายนี้คือพระโพธิธรรม ชาวอินเดียภาคใต้ ได้เข้ามาเผยแพร่ในเมืองจีน ในรัชมัยของพระเจ้าเหลียงบูเต้ ครั้งพระโพธิธรรมได้เข้าไปเฝ้าพระองค์ พระเจ้าเหลียงบูเต้รับสั่งถามว่า

โยมสร้างวัดเป็นจำนวนมาก บวชพระเป็นจำนวนมาก จะมีอานิสงส์เป็นอย่างไร

พระโพธิธรรม ตอบว่า ไม่มีเลย เพราะเป็นฝ่ายวัฏฏคามินีทั้งนั้น

คำตอบของพระโพธิธรรมไม่เป็นที่พอใจของพระเจ้าเหลียงบูเต้ หลังจากนั้นพระโพธิธรรมก็เดินทางไปจำพรรษาที่วัดเสี่ยวลิ่มยี่ นั่งเข้าฌานหันหน้าเข้าหาฝาผนังอยู่ ๙ ปี ไม่ลุกขึ้น ท่านโพธิธรรมได้แต่งตั้งพระภิกษุฮุ้ยค้อ เป็นสังฆนายกนิกายเซ็นเป็นลำดับที่ ๒ แต่นั้นก็มีอาจารย์สืบมาจนถึงองค์ที่ ๖ คือ ท่านเว่ยหล่าง

นิกายเซ็นนั้น ถือว่าการบรรลุมรรรคผลนั้น ไม่ใช่อยู่ที่ตัวบทอักษร หรือความรู้ในด้านปริยัติ แต่ต้องอยู่ที่การขัดเกลาจิตใจของตนเองเป็นสำคัญ แม้จะเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกแต่เป็นผู้รกรุงรังอยู่ภายในจิตใจก็ใช้ไม่ได้ ต้องบริสุทธิ์ทั้งภายนอกและภายใน นิกายเซ็นถือเป็นนิกายแห่งปัญญาวิมุตติถือปัญญาเป็นเรื่องสำคัญ มีวาจาที่เป็นประดุจดาบสองคม คือพูดสอนตรงประเด็นเลย คนรับได้ก็ดีไป คนที่ไม่เข้าใจหรือรับไม่ได้ก็อาจเป็นปรปักษ์ไปเลยทีเดียว

มีคำขวัญประจำนิกายเซ็นว่า "ปุกลิบบุ้นยี่ ติกจี้นั้งซิม เกียงแส่ ซั่งฮุด"(๒) แปลว่า ไม่ต้องอาศัยหนังสือ แต่ชี้ไปตรงจิตของมนุษย์ให้เห็นแจ้งในภาวะที่แท้จริง แล้วจะบรรลุเป็นพุทธะ นิกายเซ็นถือว่าสรรพสัตว์มีพุทธภาวะอยู่ภายในตัวทุกๆ คน คำพูดหรือตัวหนังสือไม่เพียงพอที่จะอธิบายสัจภาวะอันนี้ได้ เพราะฉะนั้น บางคราวจำต้องอาศัยปริศนาธรรมและคำพูดที่เสียดแทงเข้าไปถึงหัวใจ วิธีนี้นิกายเซ็นเรียกว่า "โกอาน" แปลว่า ตามตัวควรจะมีปริศนาธรรม สำหรับมอบไปให้ศิษย์ไปขบคิด ผู้ใดขบคิดปัญหาโกอานแตก ผู้นั้นก็มีดวงตาเห็นธรรมได้

ดังมีตัวอย่างปริศนา โกอาน ครั้งหนึ่งในฤดูหนาวมีหลวงจีนท่านหนึ่ง เมื่อหิมะตกจัดจึงเดินเข้าไปในโบสถ์แล้วนำเอาพระพุทธรูปมาทำฟืนเผาไฟ บังเอิญสมภารในวัดเดินผ่านมาพบเข้าจึงทักท้วงว่าทำไมกระทำเช่นนั้น หลวงจีนท่านนั้นจึงบอกว่าจะเผาหาพระบรมธาตุ สมภารบอกว่าจะหาพระบรมธาตุมาจากไหนได้พระพุทธรูปเป็นไม้ หลวงจีนท่านนั้นก็กล่าวกะสมภารอีกว่า งั้นก็ขอเอาพระพุทธรูปมาเผาอีกสัก ๒ - ๓ องค์ สมภารเมื่อได้ฟังดังนั้นก็มีดวงตาเห็นธรรมในทันที

ปริศนาธรรมตรงนี้หมายความว่า จะหาพุทธะในภายนอกนั้นไม่ได้ พุทธะอยู่ภายในตัวของเรานี้เอง วัตถุบูชาเป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น

นิกายอวตัมสก (ฮั่วเงี้ยมจง)

นิกายนี้นับถือพุทธาเวตัมสกมหาไวปุลยสูตร ซึ่งในระยะกาลระหว่างพุทธปรินิพพานแล้ว ๕๐๐ ปี พระสูตรนั้นยังไม่ถึงกาลจะควรแพร่หลาย ได้ถูกประดิษฐานซ่อนเร้นอยู่ในมณเฑียรเมืองใต้บาดาลจนถึงสมัยท่านนาคารชุน ท่านลงไปเมืองพญานาคท่องพระสูตรนั้นจนจำได้คล่องแคล่วแล้วขึ้นมาเผยแผ่แก่มนุษย์ เชื่อกันว่าพระสูตรนี้มี ๓ ฉบับๆ ที่แพร่หลายเป็นฉบับเล็ก ประกอบด้วยหนึ่งแสนโศลก ฉบับกลางมี ๑,๙๘๘,๘๐๐ โศลก ส่วนฉบับใหญ่นั้นมีโศลกนับไม่ถ้วน ในราวพุทธศตวรรษที่ ๙ ท่านพุทธภัทรแปลสูตรนี้สู่ภาษาจีน ต่อมาในราชวงศ์ถัง ท่านศึกษานันทะได้เป็นผู้แปลซ้ำอีกครั้งหนึ่ง จึงถือกันว่าเป็นฉบับที่สมบูรณ์ พระสูตรนี้ถูกกับนิสัยชาวจีนมากในพุทธศตวรรษที่ ๑๑ คณาจารย์จีนองค์หนึ่งชื่อ โต่วสุง ได้ตั้งนิกายอวตัมสกะขึ้นและมาเจริญในสมัยเฮียงซิ้ว

นิกายสุขาวดี (เจ้งโท้วจง)

นิกายสุขาวดี ผู้เป็นต้นของนิกายนี้คือ คณาจารย์ฮุยเอี้ยงมีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์จิ้น ในราวศตวรรษที่ ๙ ตั้งสำนักอยู่บนภูเขาลู้ซัว บนภูเขาขุดสระใหญ่ ปลูกดอกบัวขาวเต็มสระ คณาจารย์ฮุยเอี้ยงพร้อมทั้งสาวกหลายพันคนนั่งสวดมนต์หน้าสระนี้ โดยให้การสมมติว่า สระนี้เป็นสระทิพย์ในแดนสุขาวดี ซึ่งท่านตั้งจิตปรารถนาจะไปเกิด นิกายสุขาวดีที่ท่านตั้งขึ้นในชั้นแรก ได้อาศัยข้อความในพระสูตรชื่อว่า "พุทธธฺยานสาครสูตร" คือเพ่งจิตถึงพระอมิตาภะพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ต่อมาในราชวงศ์ถัง มีคณาจารย์ชานเตา ได้วางระเบียบปฏิบัติโดยยึดถือเอาพระสูตรอีก ๓ สูตรเป็นหลักคือ

๑. มหาสุขาวดีวยูหสูตร
๒. จุลลสุขาวดีวยูหสูตร
๓. อมิตายุรธฺยานสูตร

นิกายสุขาวดี จึงเป็นนิกายสำหรับสามัญชนง่ายๆ ทั่วไป ไม่มีหลักอภิปรัชญาหนักๆ ที่ต้องทำให้คิดมากนัก การไปบังเกิดในแดนสวรรค์สุขาวดีเน้นความภักดีเป็นหลักจึงทำให้สามัญชนเข้าถึงได้ง่าย คือสอนให้มีความภักดีในพระพุทธเจ้าอมิตาภะอย่างเดียวก็สามารถพ้นจากความทุกข์ได้ ไม่ต้องอธิบายเหตุผลใดๆ ทั้งสิ้น จึงถูกกับจริตของคนที่ชอบลงทุนน้อยแต่ได้ผลกำไรตอบแทนมามาก คณาจารย์ชานเตาได้สรุปหัวใจของนิกายสุขาวดีไว้ ๓ ข้อคือ

๑. สิ่ง แปลว่า ความเชื่อ ต้องปลูกศรัทธาอย่างซาบซึ้งในองค์พระอมิตาภะ

๒. ง่วง แปลว่า ตั้งปณิธานอธิษฐานเพื่อไปเกิดในสุขาวดีอย่างแน่วแน่

๓. เหง แปลว่า คือปฏิบัติกายวาจาใจให้อยู่ในกุศลธรรม โดยเฉพาะการเปล่งคำบูชาพระอมิตาภะว่า "นโม อมิตาภาย พุทฺธาย" ข้อความนี้จะต้องท่องบ่นวันละหลายๆ หน ยิ่งมากเท่าไรยิ่งดี วิธีภาวนามีการนับลูกประคำ ประคำเม็ดหนึ่งต่อการภาวนาบทหนึ่ง เมื่อเปรียบกับคติธรรมในเถรวาทแล้ว ข้อปฏิบัติในนิกายสุขาวดีจึงเป็นการเจริญสมถภาวนา แบบหนึ่งเพื่อทำจิตให้สงบได้


.................................................................................

(๑) เสถียร โพธินันทะ, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ, เล่ม ๑ น. ๒๑๔
(๒) เสถียร โพธินันทะ เรื่องเดิม, น. ๒๓๖


มีต่อ >>> ๕. พระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ย.2006, 7:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๕. พระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น

พระพุทธศาสนาได้แพร่หลายจากประเทศเกาหลีเข้าไปสู่ดินแดนประเทศญี่ปุ่น ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ในสมัยแผ่นดินของพระเจ้าจักรพรรดิกิมเมอิ (จักรพรรดิองค์ที่ ๒๙ ของญี่ปุ่น) เนื่องจากวัฒนธรรมสมัยนั้นของญี่ปุ่นยังอยู่ระดับต่ำมาก ศาสนาชินโตก็เพิ่งจะเริ่มก่อตั้งขึ้น มีหลักปรัชญาและหลักคำสอนที่ไม่สามารถจะเปรียบเทียบกับหลักปรัชญาและหลักคำสอนของพุทธศาสนาได้ พระจักรพรรดิกิมเมอิจึงรับเอาศาสนาพุทธเข้าประเทศญี่ปุ่น แต่ที่ปรึกษาฝ่ายการทหารและฝ่ายทางลัทธิชินโตไม่เห็นด้วย พยายามขัดขวางการเผยแพร่ของศาสนาพุทธทุกวิถีทาง เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำพระพุทธศาสนาไม่สามารถแพร่หลายออกไปในหมู่ชนชั้นต่างๆ ต่อมา ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๒ พระเจ้าจักรพรรดิโยเม (จักรพรรดิองค์ที่ ๓๑) ได้โปรดให้สร้างพระพุทธรูปยากุชินโยโร (ได้แก่ พระพุทธรูปตถาคตไภษัชยคุรุ) พระพุทธรูปองค์นี้สร้างเสร็จหลังจากที่พระองค์สวรรคตแล้ว ๒๐ ปี และปัจจุบันอยู่ในวัดโฮระยูจิ (วัดนี้มีชื่อเสียงมากและเป็นสิ่งก่อสร้างที่ทำด้วยไม้เก่าแก่ที่สุดในโลก)

พระพุทธศาสนาเริ่มแพร่หลายในหมู่ชุมชน เมื่อ พระเจ้าจักรพรรดินีซุยโกะ (เป็นพระน้องนางของพระเจ้าจักรพรรดิโยเม และมีเจ้าชายโชโตกุซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้าจักรพรรดิโยเม เป็นผู้สำเร็จราชการ รวมทั้งรับตำแหน่งรัชทายาทของพระจักรพรรดินีซุยโกะ) ขึ้นครองราชย์ พระนางซุยโกะได้ตราพระราชเสาวนีย์เกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยให้ยึดถือเป็นนโยบายของประเทศ ประกอบกับผู้สำเร็จราชการคือ เจ้าชายโชโตกุ ได้พิจารณาเห็นว่า พระพุทธศาสนาเป็นแหล่งความคิดที่ก่อให้เกิดปัญญา พระองค์ได้พยายามส่งเสริมฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเป็นการใหญ่ในทุกวิถีทาง เจ้าชายโชโตกุถือว่าเป็นพระเจ้าอโศกแห่งประเทศญี่ปุ่นก็ว่าได้ พระองค์ได้ส่งคณะทูตและนักศึกษาไปยังประเทศจีน เพื่อศึกษาค้นคว้าหลักธรรมของพระพุทธศาสนากับวัฒนธรรมอื่นๆ ของจีน เพื่อหวังประโยชน์ที่จะนำมาปรับปรุงประเทศญี่ปุ่นต่อไป

การปฏิรูปสังคมและวัฒนธรรมต่างๆ ก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองแก่ประเทศญี่ปุ่นอย่างคาดไม่ถึง กฎหมายที่ประกาศใช้ในราชการนี้ล้วนแต่มีอิทธิพลของพระพุทธศาสนาเป็นยาดำปนอยู่เป็นอันมาก และเจ้าชายโชโตกุยังประกาศพระบรมราชโองการอุปถัมภ์พระรัตนตรัยอย่างเป็นทางการอีกด้วย ศาสนาพุทธจึงได้รับความนิยมแพร่หลายกลายเป็นศาสนาประจำชาติโดยปริยาย ยุคนี้นับเป็นยุคที่ศาสนาพุทธในญี่ปุ่นมีความเจริญมากยิ่งกว่ายุคใดๆ มีการส่งคณะทูตไปประเทศจีนหลายครั้ง แต่ละครั้งก็ได้อัญเชิญพระไตรปิฎก และนำอารยธรรมของชาวจีนกลับมาด้วย พระสูตร พระวินัย พระธรรมอื่นๆ จำนวนมากมาย และเจ้าชายโชโตกุได้ทรงเริ่มงานเกี่ยวกับพระสูตรโดยเขียนเป็นอรรถกถาอธิบายไว้ อรรถกถาชุดนี้มีอยู่ ๓ เล่ม เรียกรวมกันว่า "ซันเกียวคิโช" อันได้แก่ ยุยมาเกียว โชมันเกียว และโฮกเกเกียว ทั้ง ๓ เล่มแบ่งออกเป็น ๘ บรรพ เป็นตำราทางพระพุทธศาสนาชุดแรก ที่เขียนเป็นภาษาญี่ปุนและสูตรอรรถกถาอีก ๓ เล่ม มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่นมาก เล่มแรกคือ ยุยมาเกียว เป็นหลักคำสอนเกี่ยวกับฝ่ายมหายาน ส่วน ๒ เล่มหลังเกี่ยวกับคำอธิบายหลักคำสอนทางเอกยานโดยเฉพาะ

เอกยาน หมายถึง วิถีชีวิตไม่ว่าจะมีสภาพใด ก็สามารถจะตรัสรู้ได้ โดยไม่มีความแตกต่างระหว่างสิ่งที่มีชีวิต เอกยานมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือ พุทธภาวะอันเที่ยงแท้ แต่พุทธภาวะนี้อยู่เหนือกาละ และเทศะ เพราะเป็นธรรมหรือกฎนิรันดรมีอยู่ในตัวเองไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่เกิดและไม่ตาย และเป็นจุดประสงค์สุดท้ายของมนุษย์ที่แสวงหาทางการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงพุทธภาวะอันเที่ยงแท้ ตามคำอธิบายของเอกยานกล่าวว่า ทุกคนไม่ว่าจะถือเพศคฤหัสถ์หรือเพศบรรพชิตสามารถปฏิบัติได้ โดยไม่ถือเป็นข้อแตกต่างแต่อย่างใด กล่าวคือการปฏิบัติตามลัทธิเอกยานนั้นสามารถปฏิบัติได้ทุกโอกาส โดยไม่จำเป็นต้องละทิ้งเพศฆราวาสออกถือสันโดษบวชเป็นบรรพชิตแต่อย่างใด คำอธิบายนี้มีอิทธิพลต่อพระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่นมาก จนกลายมาเป็นวิวัฒนาการทางศาสนาอีกแบบหนึ่งซึ่งไม่ซ้ำประเทศใดๆ และพระพุทธศาสนาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกเข้าญี่ปุ่นก็มีพระพุทธศาสนานิกายต่างๆ แพร่หลายเข้ามาอย่างไม่ขาดระยะ นิกายส่วนใหญ่เป็นนิกายมหายาน หลักธรรมการปฏิบัติจึงค่อนข้างหนักไปทางฝ่ายมหายาน

ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๔ ศาสนาชินโตที่เคยขัดแย้งกับพระพุทธศาสนาแต่เริ่มแรก ได้ค่อยๆ ปรับแนวความคิด หลักปรัชญาให้ผสมกลมกลืนกับพระพุทธศาสนา มีการอธิบายพระเจ้าของชินโตว่าเป็นพระโพธิสัตว์ในศาสนาพุทธนั่นเอง ประชาชนของญี่ปุ่นจึงมีความเคารพนับถือพระพุทธศาสนาและศาสนาชินโตควบคู่กันไป สังเกตได้จากโบสถ์ของพระพุทธศาสนาจะมีรูปพระเจ้าของศาสนาชินโตรวมอยู่ด้วยเสมอ เช่น มีรูปเทพีอะมะเตระสุโอมิกามิ (ซึ่งลัทธิชินโตเคารพนับถือว่าเป็นผู้สร้างประเทศญี่ปุ่น) ประดิษฐานอยู่ในโบสถ์ พุทธศาสนิกชนชาวญี่ปุ่นอธิบายว่าเทพีองค์นี้ เป็นการอวตารของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (พระกวนอิมโพธิสัตว์) ลักษณะพุทธศาสนาในญี่ปุ่นจึงมีการปฏิบัติที่แปลกแตกต่างกว่าประเทศในเอเซียทั่วไป

พุทธศาสนาจากประเทศจีนต่างก็หลั่งไหลเข้าญี่ปุ่นนับเป็นจำนวนหลายนิกาย แต่ที่สำคัญๆ ปัจจุบันมี พุทธศาสนาแบบชินโต และพุทธศาสนานิกายเซน โดยเฉพาะนิกายเซนกำลังแพร่หลาย มีพุทธมามกะรวมประมาณ ๑๐ ล้านคน และนับวันจะเพิ่มมากขึ้น พุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่นมีความเจริญมาก มีวัดตามเมืองต่างๆ ทั่วไปถึงประมาณ ๗ หมื่นวัด พระสงฆ์ประมาณ ๒ แสนรูป นอกจากนี้ยังมีสถานศึกษาธรรมชั้นสูงอีกราวประมาณ ๑๐ กว่าแห่ง ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมากในเรื่องการสอนและการปฏิบัติ


มีต่อ >>> ๖. พระพุทธศาสนาในประเทศพม่า
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ย.2006, 7:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๖. พระพุทธศาสนาในประเทศพม่า

สมัยพระเจ้ากนิษกมหาราชเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศอินเดีย ได้แผ่ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวาง พระองค์ทรงนับถือพระพุทธศาสนา ดังนั้น ดินแดนที่พระองค์ตีได้จึงได้รับศาสนาพุทธเป็นศาสนาของชุมชนนั้นๆ ด้วย และพระองค์ยังโปรดให้คณะทูตนำพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแพร่ในประเทศต่างๆ ในทวีปเอเซีย เชื่อกันว่าประเทศพม่าก็ได้รับพระพุทธศาสนาในยุคนี้เอง ประมาณราวพุทธศตวรรษที่ ๖ - ๗ พุทธศาสนาจึงมีรากฐานในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มานานนับเป็นพันๆ ปี เมื่อราว พ.ศ. ๑๖๐๐ พระเจ้าอนอระทามังช่อ หรือพระเจ้าอนุรุทธ ทรงเป็นกษัตริย์พม่าที่เคารพนับถือพระพุทธศาสนามาก พระองค์ได้สถาปนาเมืองปาฆัน (เป็นเมืองตั้งอยู่ใจกลางประเทศพม่า) โดยสมมติให้เป็นเมืองพระพุทธนคร พร้อมกับสร้างวิหาร พระสถูปเจดีย์อย่างวิจิตรงดงาม รวมจำนวน ๑,๐๐๐ แห่ง ประดิษฐานถี่ห่างจากกันแทบเต็มเนื้อที่เมืองปาฆัน นับว่าเป็นพระมหากษัตริย์พม่าพระองค์หนึ่งที่ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญอย่างสูงสุด ปัจจุบันพระวิหาร พระสถูป และพระเจดีย์ มีสภาพหักพัง อันเนื่องมาจากสภาพความเก่าแก่และสภาพสงคราม เมืองปาฆันตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอิราวดี รัฐบาลพม่ากำลังลงมือปฏิสังขรณ์เพื่อคงสภาพไว้เป็นโบราณวัตถุทางพระพุทธศาสนา

ในกรุงย่างกุ้งมีพระเจดีย์ชะเวดากอง สร้างไว้บนยอดเขาเตี้ย แต่นับว่าเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่มากที่สุดแห่งหนึ่งของพุทธอาณาจักรด้วยกัน ฝีมือของช่างสถาปนิกนับว่าเป็นช่างชั้นเอก เพราะสร้างได้อย่างงดงามมาก

ตามสถิติของรัฐบาล ได้สำรวจพระและสามเณรทั่วประเทศมีทั้งหมดประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ รูป มากกว่าประเทศไทยประมาณ ๑ แสนรูป ปัจจุบันพม่าจึงนับเป็นแหล่งหรือศูนย์กลางพระพุทธศาสนาประเทศหนึ่งในเอเซีย


มีต่อ >>> บทที่ ๖
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ย.2006, 7:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

บทที่ ๖

๑. พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
๒. พระพุทธศาสนาในลานนาไทย
๓. พระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัย
๔. พระพุทธศาสนาในสมัยอยุธยา
๕. พระพุทธศาสนาในสมัยธนบุรี
๖. พระพุทธศาสนาสมัยรัตนโกสินทร์
๗. การปฏิวัติการศึกษาของคณะสงฆ์สมัยใหม่
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ย.2006, 7:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๑. พระพุทธศาสนาในประเทศไทย

พระพุทธศาสนาได้แพร่หลายเข้ามาในแถบประเทศบริเวณสุวรรณภูมิตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๓ คือหลังจากการทำสังคายนาครั้งที่ ๓ ที่พระเจ้าอโศกทรงให้การอุปถัมภ์ หลังจากการทำสังคายนาเสร็จ พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงจัดตั้งศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาขึ้นที่เมืองปาฏลีบุตร หรือเมืองราชคฤห์นั่นเอง ปัจจุบันนี้ก็คือเมืองปัตนะซึ่งตั้งอยู่ในรัฐพิหาร ประเทศไทยเราก็ได้รับอานิสงส์ของพระพุทธศาสนาจากที่พระเจ้าอโศกทรงส่งพระธรรมทูต คือ พระโสณะ กับ พระอุตตระ มาเผยแผ่ที่จังหวัดนครปฐม เพราะมีหลักฐานจากโบราณสถานหลายแห่ง ที่สำคัญที่สุดคือพระปฐมเจดีย์ ซึ่งลักษณะเจดีย์เป็นทรงรูปโอคว่ำ (เจดีย์องค์ปัจจุบันก่อสร้างขึ้นใหม่ครอบเจดีย์องค์เดิม ในรัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงศ์จักรี) ที่เป็นศิลปะนิยมแพร่หลายในประเทศอินเดียในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ภายหลังพระพุทธศาสนาก็ได้แพร่หลายเข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิอย่างไม่ขาดระยะ พระพุทธศาสนาในประเทศไทยได้มีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาหลายปี จึงไม่เป็นการแปลกเลยที่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยมีความเจริญรุ่งเรืองตลอดมา

ประเทศไทยมีเนื้อที่อยู่ในอาณาเขตแหลมสุวรรณภูมิ เมื่อในอดีตอันยาวนานหลายพันปีเนื้อที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยยังจมอยู่ในทะเล ข้อพิสูจน์ดังกล่าวก็คือได้มีผู้พบซากฟอสซิล (Fossil) หอยทะเลต่างๆ บนเทือกเขาภูพานบ้าง บนเขาวังจังหวัดเพชรบุรีบ้าง แม้แต่ที่วัดเจดีย์หอยจังหวัดนนทบุรีก็มีการพบสุสานหอยนางรมซึ่งเป็นหอยทะเลเป็นจำนวนมากมายมหาศาล สามารถนำไปก่อเป็นองค์เจดีย์ได้ อันนี้ก็เป็นข้อพิสูจน์ได้เป็นอย่างดีว่า ในอดีตอาณาเขตแถบนี้เคยเป็นทะเลมาก่อน จึงไม่แปลกที่มีนักธรณีวิทยาได้พบซากหอยเป็นจำนวนมากบนภูเขาต่างๆ เพราะว่าภูเขาเหล่านี้เคยจมอยู่ในมหาสมุทรมาก่อน

มนุษย์พวกแรกที่อยู่ในประเทศไทย เท่าที่นักสำรวจได้ตรวจพบตามถ้ำต่างๆ แถบจังหวัดกาญจนบุรี คือเป็นมนุษย์ในสมัยหิน (Stone Age) ซึ่งสันนิษฐานว่าจะมีชีวิตอยู่ในราว ๒ - ๓ หมื่นปีมานี้ ทางการได้ขุดพบเครื่องใช้ของมนุษย์ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก รวมทั้งซากโครงกระดูก ทั้งหญิงชายและเด็ก ต่อมาอีกประมาณ ๒ - ๓ พันปีมานี้ ในบริเวณราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามนุษย์เผ่าละว้าก็ได้ตั้งบ้านแปลงเมืองอย่างง่ายๆ ขึ้น และช่วงนั้นก็มีชาวอินเดียเดินทางเข้ามาและเผยแผ่อารยธรรมแก่พวกละว้า และเข้ามาตั้งหลักปักฐานอยู่ปนกับพวกละว้าด้วย เส้นทางที่พวกชาวอินเดียเดินทางเข้ามา สู่อาณาจักรแถบนี้อาจจะเป็นได้หลายสายด้วยกันคือ(๑)

๑. ทางบก โดยผ่านอ่าวเบงกอล ข้ามเทือกเขาปาดไก่แล้วเข้าสู่พม่าตอนบน

๒. ทางเรือ โดยการลงเรือข้ามอ่าวเบงกอลมาขึ้นที่อ่าวเมาะตะมะ หรือมาขึ้นที่ฝั่งมะริด ทวาย ตะนาวศรี แล้วเดินบกเข้าสู่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา โดยผ่านจังหวัดกาญจนบุรี

๓. ทางเรือ ข้ามมหาสมุทรอินเดียเข้าช่องแคบมะละกา มาขึ้นบกแถบแหลมมาลายู

ชาวอินเดียที่อพยพมานอกประเทศเหล่านี้เป็นนักแสวงโชค ส่วนมากเป็นชาวอินเดียภาคใต้ เพราะฉะนั้น อารยธรรมชมพูทวีปในสุวรรณภูมิ จึงเป็นอารยธรรมแบบอินเดียใต้มากกว่าอินเดียตอนเหนือ การอพยพครั้งใหญ่ๆ ของอินเดียมาสู่สุวรรณภูมิเกิดขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช กล่าวกันว่า ชาวแคว้นกาลิงคะหนีภัยสงครามลงเรือจำนวนหลายร้อยลำ มาสู่สุวรรณภูมิและหมู่เกาะอินโดนีเซีย และในการอพยพครั้งนั้นคงต้องมีนักปราชญ์ราชบัณฑิตมาด้วย ดังนั้น ตำนานพื้นเมืองของชาติต่างๆ ในสุวรรณภูมิมักจะเล่าถึงปฐมวงศ์ของตนว่าเป็นขัตติยะจากอินเดีย พูดง่ายๆ ก็คือชาวอินเดียได้มาสอนความเจริญให้แก่สุวรรณภูมิ ดังนั้น เมื่อพระโสณะและพระอุตตระซึ่งนำพระพุทธศาสนามาเผยแผ่เป็นคณะแรก ท่านจึงใช้ภาษาสื่อสารกับชาวสุวรรณภูมิรู้เรื่อง อย่างน้อยก็อาจจะพูดกับชาวอินเดียแล้วจึงแผ่ออกไปถึงชาวพื้นเมือง อาจจะกล่าวได้ว่า พวกมนุษย์มอญโบราณ ละว้า เป็นพวกแรกในสุวรรณภูมิที่นับถือพระพุทธศาสนา

การอพยพของบรรพบุรุษไทยสมัยโบราณ

ในสมัยโบราณ การตั้งถิ่นฐานและการอพยพไปตามท้องที่ต่างๆ ค่อนข้างอิสระ ไม่ต้องทำหนังสือเดินทางขอวีซ่าเหมือนในสมัยปัจจุบัน ยังไม่มีพรมแดนมาแบ่งสรรกันแน่นอน ชนชาติต่างๆ ที่เดินทางมา ต่างก็มีสิทธิจับจองที่ดินสร้างบ้างแปลงเมืองขึ้น สุดแต่ว่าใครมีอำนาจเหนือกว่าก็ชนะ เพราะฉะนั้น การอพยพของคนในสมัยโบราณจะมีอยู่ ๒ ลักษณะ พวกหนึ่งจะพยายามอพยพไปทางตะวันขึ้น คือ ถือเอาดวงอาทิตย์เป็นเป้าหมาย อีกพวกหนึ่งจะพยายามอพยพไปตามลำแม่น้ำ และลำน้ำที่ชนชาติไทยคุ้นเคยในภาคใต้ของจีน ก็คือ แม่น้ำโขง และแม่น้ำสาละวิน การอพยพจึงต้องพยายามเดินตามลำน้ำทั้ง ๒ สายนี้ การอพยพก็มาเป็นคราวๆ ครั้งละหลายร้อยครัวเรือน แต่ก็มิได้หมายความว่าชนชาติไทยได้อพยพลงมาสู่สุวรรณภูมิทั้งหมด คนที่ไม่ได้อพยพมีมากกว่าพวกที่อพยพ พวกที่ไม่ได้อพยพมาก็ได้ตั้งอาณาจักรสร้างบ้านแปลงเมือง โดยมีเมืองหนองแสเป็นราชธานีอยู่ในมณฑลยูนาน เนื่องด้วยชนชาติไทยนับถือพระพุทธศาสนาจึงรับเอาวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ามาด้วย บางครั้งก็เรียกประเทศของตนว่า คันธารรัฐ เมืองหนองแสเรียกว่า ตักกสิลานคร ยกย่องพระมหากษัตริย์ไทยด้วยภาษาอินเดียว่ามหาราชะ แต่จีนเรียกว่า "น่านเจ้า" หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ทางทิศใต้ โดยได้ทำสงครามกับจีนเรื่อยมา ต่อมาในราวศตวรรษที่ ๑๘ กองทัพกุบไลข่านได้ยกกองทัพมาตีประเทศจีน ได้เข้าตีอาณาจักรน่านเจ้าก่อน แล้วจึงย้อนเข้าไปตีราชสำนักซ้อง น่านเจ้าจึงเสียแก่พวกมองโกล ภายหลังถูกยุบเป็นเพียงจังหวัดหนึ่งขึ้นตรงต่อจีน อาณาจักรไทยในยูนานจึงอวสานลง

บรรพบุรุษของชนชาติไทย

บรรพบุรุษของชนชาติไทยนั้น เมื่อประมาณ ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางภาคเหนือของลุ่มแม่ย้ำแยงซีเกียง ต่อมาได้อพยพร่นลงมาทางใต้เพราะถูกชนชาติจีนรุกราน จนกระทั่งในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าฮั่นเม้งตี่หรือฮั่นเม้งเต้ราชวงศ์ฮั่น จีนแผ่อิทธิพลเข้ามาถึงอาณาจักรอ้ายลาวของไทย พระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทยในสมัยอาณาจักรอ้ายลาวคือ "ขุนหลวงเม้า" มีพลเมืองอยู่ประมาณ ๕๕๓,๗๖๑ คน อาณาเขตของไทยทางทิศตะวันตกติดกับอินเดีย มีสมณทูตจากอินเดียเข้ามาเรื่องราวในตำนานสมัยนี้จึงเกี่ยวพันกับพระเจ้าอโศกว่า พระองค์ได้ทรงส่งสมณทูตเข้ามา สมณทูตได้ผ่านแว่นแคว้นขึ้นไปถึงเมืองจีน เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า ชนชาติไทยนั้นได้เริ่มนับถือพระพุทธศาสนาในพุทธศตวรรษที่ ๖ ในอาณาจักรอ้ายลาว เรียกได้ว่านับถือพระพุทธศาสนาก่อนที่จะมาตั้งถิ่นฐานในแดนสุวรรณภูมิเสียอีก แต่การนับถือนั้นน่าจะนับถือในหมู่ชนชั้นสูง ราษฎรทั่วไปคงนับถือผีสางเจ้าป่าเจ้าเขา

ต่อมาในราวศตวรรษที่ ๘ เสนาธิการและแม่ทัพของพระเจ้าเล่าปี่ คือ ขงเบ้ง ได้ยกกองทัพข้ามแม่น้ำทรายทองตีอาณาจักรอ้ายลาวของไทยแตก รุกลงมาถึงภาคเหนือของพม่า ชนชาติไทยจึงเริ่มอพยพเข้ามาสู่ดินแดนที่เรียกกันว่าสุวรรณภูมิ


.................................................................................

(๑) เสถียร โพธินันทะ, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา , ฉบับมุขปาฐะ, เล่ม ๒ น. ๙๑


มีต่อ >>> ๒. พระพุทธศาสนาในลานนาไทย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ย.2006, 7:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๒. พระพุทธศาสนาในลานนาไทย

สมัยพระเจ้าเม็งราย

พระพุทธศาสนาในสมัยของพระเจ้าเม็งราย เป็นแบบเถรวาทที่รับมาจากมอญ ศิลปกรรมทางศาสนามีปฏิมากรรมเป็นต้น เข้าใจว่าคงรับอิทธิพลแบบทวาราวดี นักปฏิมากรรมรุ่นก่อนได้แบ่งสมัยพระพุทธรูปทางภาคเหนือออกเป็น สมัยเชียงแสนยุคต้น และสมัยเชียงแสนยุคหลัง สมัยเชียงแสนยุคต้นกำหนดเอา พ.ศ. ๑๗๐๐ ซึ่งเป็นสมัยก่อนราชอาณาจักรลานนาไทยจะอุบัติขึ้น ในพงศาวดารเมืองเหนือเล่าว่า ในรัชกาลของพระเจ้าเม็งรายนี้มีคณะสงฆ์จากลังกาเข้ามา ได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์มาถวาย พระเจ้าเม็งรายเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระชนม์ยืนยาวมาก แต่มาสิ้นพระชนม์ด้วยอาการไม่ดี คือ ถูกฟ้าผ่าสวรรคตในขณะเสด็จประพาสตลาด ราชโอรสของพระองค์คือพระเจ้าชัยสงคราม ไม่ประทับเสวยราชย์ที่เชียงใหม่ ได้กลับขึ้นไปครองราชสมบัติที่เมืองเชียงราย ทางเชียงใหม่นั้นก็ได้ตั้งโอรสชื่อว่าแสนภูขึ้นปกครอง

สมัยพระเจ้ากือนา

ในรัชสมัยของพระเจ้ากือนา พระองค์ทรงเป็นธรรมิกราชาของล้านนาอย่างแท้จริง ทรงได้สดับเกียรติคุณของพระอุทุมพรบุบผามหาสวามีผู้เป็นพระชาวลังกา แต่จำพรรษาอยู่ที่นครพันสันนิษฐานว่าเป็นเมืองเมาะตะมะ ในประเทศพม่า พระเจ้ากือนาจึงส่งราชทูตไปอาราธนามาเชียงใหม่ แต่ท่านชราภาพมากแล้วจึงส่งพระหลานชายชื่อว่า พระอานันทเถระ และคณะสงฆ์จำนวนหนึ่งมาแทน พระเจ้ากือนาให้พระอานันทเถระบวชกุลบุตรตามลัทธิลังกาวงศ์ แต่ท่านไม่ยอมบวชให้โดยได้ถวายพระพรว่า พระอุทุมพรบุบผามหาสวามีได้มอบอำนาจให้พระสุมนเถระ และพระอโนมทัสสีเถระ แห่งกรุงสุโขทัย ทำหน้าที่เป็นพระอุปัชฌาย์ในอาณาเขตนี้ ขอให้ไปนิมนต์พระเถระรูปใดรูปหนึ่งขึ้นมาเถิด ตัวของท่านเองจะทำหน้าที่เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อเป็นดังนั้น พระเจ้ากือนาจึงส่งราชทูตมายังกรุงสุโขทัยในรัชมัยของพระเจ้าลิไท เพื่อทูลขออาราธนาพระสุมนเถระไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ในล้านนาและอุปสมบทกุลบุตรชาวลำพูน พระสุมนเถระได้อยู่จำพรรษา ณ วัดพระยืน และได้ร่วมกับพระเจ้ากือนาบูรณะพระสถูปวัดพระยืนใหม่ พร้อมทั้งสร้างพระพุทธรูปยืนอีก ๓ องค์รวมกับของเก่าเป็น ๔ องค์ เมื่อออกพรรษาแล้วพระเจ้ากือนาได้อุทิศอุทยานหลวงนอกเชียงใหม่ให้เป็นวัด (วัดสวนดอก) แล้วได้อาราธนาพระสุมนะมาประจำอยู่ที่วัดนี้ ตลอดจนสถาปนาพระสุมนะเป็นสังฆราชองค์แรกของล้านนาไทย มีการสร้างพระธาตุเจดีย์ที่วัดบุบผาราม (วัดสวนดอก) และทรงสร้างพระธาตุดอยสุเทพด้วย

ต่อมาถึงรัชมัยของพระเจ้าแสนเมืองมหาราชโอรสของพระเจ้ากือนาขึ้นเสวยราชย์ พระองค์ได้สร้างวัดพระสิงห์ขึ้นที่เชียงใหม่เพื่อประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ในปลายแผ่นดินของพระเจ้าแสนเมืองมามีพระเถระชาวเชียงใหม่หลายรูปเช่น พระเมธังกร พระคัมภีร์ พระญาณมงคล พระสารีบุตร พระอานนท์ พร้อมทั้งพระชาวมอญ พระกัมโพช ประมาณ ๒๐ รูปได้เดินทางไปลังกาไปทำพิธีอุปสมบทใหม่ ณ อุทกสีมาในแม่น้ำกัลยาณีคงคา มีพระธรรมมหาสวามีเป็นอุปัชฌาย์ พระวันรัตเป็นกรรมวาจาจารย์ จากนั้นได้กลับมายังประเทศของตน คณะนี้ถือว่าเป็นลังกาวงศ์ชุดใหม่ เมื่อกลับมาถึงบ้านเมืองแล้วได้ตั้งข้อรังเกียจพระลังกาวงศ์ชุดเก่าซึ่งสืบเนื่องมาแต่พระสุมนะ

พระลังกาวงศ์สายใหม่นี้ ได้ไปรุ่งเรืองในประเทศรามัญ ไทย และกัมโพช ก่อให้เกิดความเจริญในด้านการศึกษาภาษาบาลีมากมาย

พระเจ้าติโลกราชมหาราช

พระเจ้าติโลกราชมหาราช เป็นพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์เม็งรายเป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๖ ของพระเจ้าสามฝั่งแกน (ในสมัยของพระองค์ พระสถูปเก่าแก่องค์หนึ่งที่เมืองเชียงราย ต้องอสนีบาตลงจนได้พบพระแก้วมรกต) เมื่อมาถึงรัชสมัยพระเจ้าติโลกราชพระองค์ได้ทำสงครามกับกรุงศรีอยุธยาในแผ่นดินของพระเจ้าบรมไตรโลกนาถ ชิงหัวเมืองปลายแดนต่อแดนกัน ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะหลายคราว ในรัชสมัยของพระองค์ได้ขยายอำนาจไปถึงเมืองเชียงรุ้ง เมืองหลวงพระบาง ครั้งนั้น อาณาจักรลานนาไทยมีเขตแดนกว้างใหญ่กว่าทุกสมัย คือทิศเหนือจรดยูนานของจีน ทิศใต้จรดเมืองกำแพงเพชร ทิศตะวันออกจรดริมฝั่งโขง ทิศตะวันตกจรดพม่า

ทางด้านพระพุทธศาสนาในรัชกาลของพระเจ้าติโลกราช พระสงฆ์คณะหนึ่งได้รับพระบรมราชูปถัมภ์ไปศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศลังกา เมื่อกลับมาได้นำต้นพระศรีมหาโพธิ์มาด้วย จึงโปรดให้สร้างอารามถวายชื่อว่า วัดโพธาราม หรือวัดเจดีย์เจ็ดยอด ครั้นถึง พ.ศ. ๒๐๒๐ โปรดอุปถัมภ์จัดการสังคายนาครั้งที่ ๑ ขึ้น (แต่ถ้านับต่อจากประเทศลังกาก็เป็นครั้งที่ ๘) กระทำที่วัดโพธารามหรือวัดเจดีย์เจ็ดยอดนั่นเอง ถือเป็นการทำสังคายนาในประเทศไทยเป็นครั้งแรกอีกด้วย

รัชสมัยพระเมืองแก้ว

เมื่อมาถึงรัชสมัยของพระเมืองแก้ว กษัตริย์พระองค์นี้มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ตลอดรัชสมัยของพระองค์มีแต่เรื่องบวชพระสร้างวัด เป็นราชกิจประจำทุกปี ในรัชสมัยของพระองค์นับเป็นยุคที่วรรณคดีบาลีทางพระพุทธศาสนาเจริญที่สุด มีภิกษุชาวล้านนาแตกฉานในการแต่งปกรณ์บาลีมากมาย เช่น พระสิริมังคลาจารย์ แต่งมงคลทีปนี จักรวาฬทีปนี และเวสสันตรทีปนี พระญาณกิตติ แต่งโยชนาอภิธรรม ๗ คัมภีร์ พระรัตนปัญญา แต่งชินกาลมาลี และปัญญาสชาดก ก็เข้าใจกันว่าแต่งขึ้นในยุคนี้เหมือนกัน โดยภิกษุชาวล้านนาได้รวบรวมเอานิทานพื้นบ้านพื้นเมืองมาแต่งเป็นสำนวนโวหาร ไม่แพ้ปกรณ์บาลีของชาวลังกา

พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์เข้าสู่ลานนาไทยและสุโขทัย

ขอมองย้อนรอยเหลียวหลังไปดูประวัติศาสตร์ความเป็นมาเป็นไปของพระพุทธศาสนาที่เข้าไปสู่ประเทศลังกาพอได้เค้าเรื่องสักเล็กน้อย หลังจากที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงอุปถัมภ์การทำสังคายนาครั้งที่ ๓ เสร็จแล้ว ก็ทรงส่งพระมหินทเถระไปสู่ประเทศลังกาเพื่อไปประกาศพระพุทธศาสนาที่นั่น ในสมัยนั้นประเทศลังกาถูกปกครองโดยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ซึ่งพระองค์ทรงเป็น อทิฏฐสหาย (สหายที่ไม่เคยพบกัน) กับพระเจ้าอโศก พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะทรงสร้างมหาวิหารถวายพระมหินทเถระตลอดจนทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกด้วย

เมื่อกาลเวลาผ่านมาถึงรัชสมัยของพระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย พระองค์ทรงเลื่อมใสพระเถระองค์หนึ่งชื่อว่าพระมหาติสสะ พระเถระรูปนี้มีคุณูปการะคุณอย่างมากแก่พระองค์ในคราวที่ต้องระเหเร่ร่อนหลบหนีพวกทมิฬก่อนจะได้รับราชสมบัติ ต่อมาภายหลังพระเจ้าวัฏฏคามินีอภัยได้นิมนต์แต่งตั้งให้พระมหาติสสะเป็นสังฆนายกปกครองอภัยคีรีวิหาร เมื่อได้รับสมณศักดิ์ยิ่งใหญ่เช่นนี้ พระมหาติสสะถูกพระสงฆ์ส่วนมากตรวจสอบเป็นการใหญ่ตั้งข้อรังเกียจว่าเป็นผู้ประพฤติตนระคนด้วยตระกูล ไม่ยอมร่วมทำสังฆกรรมด้วย เป็นเหตุให้เกิดรอยร้าวเกิดความแตกแยกเป็น ๒ พวกขึ้น ในครั้งนั้น คนส่วนมากเรียกพระภิกษุสงฆ์พวกเก่าว่า "มหาวิหารวาสีนิกาย" พวกหัวอนุรักษ์นิยม และเรียกพวกพระมหาติสสะว่า "อภัยคีรีวิหารวาสีนิกาย" พวกหัวก้าวหน้า

ต่อมาถึงรัชสมัยของพระเจ้ามหาเสนครองราชสมบัติ ทรงสร้างเชตวันวิหารขึ้น ได้นิมนต์พระเถระชื่อว่าติสสะอีกรูปหนึ่งมาตั้งให้เป็นสังฆนายก พวกภิกษุทั้ง ๒ นิกายเก่าตั้งข้อรังเกียจพระติสสะรูปนี้อีกว่า เป็นพระคดโกง และกล่าวหาว่าไปเที่ยวคบหาพวกบาปมิตรและไม่ยอมร่วมสังฆกรรมกับพวกพระติสสะ จึงทำให้เกิดเป็น "เชตวันวิหารวาสีนิกาย" ขึ้นมาอีกพวกหนึ่ง รวมเป็น ๓ นิกาย แต่ละนิกายก็ไม่ขึ้นแก่กัน นับเป็นรอยร้าวในสังฆมณฑล

เมื่อมาถึงรัชมัยของ พระเจ้าปรักกมพาหุมหาราช ได้ครองราชสมบัติ พระเจ้าปรักกมพาหุพระองค์นี้ได้ทรงจัดการปฏิรูปชำระสังฆมณฑลให้สิ้นเสี้ยนหนามสะอาดบริสุทธิ์ เหมือนอย่างที่พระเจ้าอโศกมหาราชเคยทรงกระทำมาแต่ก่อน การที่พระเจ้าปรักกมพาหุทรงจัดการปฏิรูปพระพุทธศาสนาในครั้งนั้นทำให้ลัทธิและความประพฤติของพระสงฆ์ในลังกามีวินัยมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยเคร่งครัดดีขึ้นกว่าแต่ก่อนเป็นอันมาก มีความเป็นเอกภาพอันเดียวกัน กิตติศัพท์จึงเลื่องลือขจรไปในยังนานาอารยประเทศ

ในปี พ.ศ. ๑๗๑๓ มีสังฆนายกในเมืองพุกามองค์หนึ่งชื่อว่า พระอุตราชีวมหาเถร เป็นอาจารย์ของพระเจ้าพุกาม ได้พาพระภิกษุบริษัทพวกหนึ่งออกไปเมืองลังกามีสามเณรไปด้วยหนึ่งรูป ชื่อว่า ฉปัฏ และสามเณรนั้นได้บวชเป็นภิกษุเล่าเรียนในเมืองลังกาถึง ๑๐ ปี ตอนกลับได้พาพระมาจากลังกาพร้อมกันอีก ๔ รูป พระสงฆ์ทั้ง ๕ รูปนี้ถือได้ว่าเป็นผู้นำเอาลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาประดิษฐานที่พุกามเป็นครั้งแรก

ส่วนในประเทศไทยเรานั้น ลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาตั้งสำนักเผยแผ่ที่นครศรีธรรมราชจนกระทั่งได้รับอาราธนาให้ไปเผยแผ่ที่อาณาจักรของพ่อขุนรามคำแหง ตลอดจนไปถึงอาณาจักรล้านนาไทยถึงล้านช้างลัทธิลังกาวงศ์ได้ก่อให้เกิดอิทธิพลในหลายๆ ด้าน เช่น ด้านการศึกษาไทยเราได้รับพระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถาและฎีกามาจากลังกา แม้ว่าก่อนหน้านี้พระไตรปิฎกของเถรวาทจะมีอยู่แล้วในชนชาติมอญ ภายหลังอาจจะขาดตกหล่นสูญหายไปบ้าง เพิ่งจะได้รับพระไตรปิฎกครบถ้วนก็ในสมัยต้นสุโขทัยจากลังกา

อิทธิพลทางศิลปะ เจดีย์แบบลอมฟางคล้ายรูประฆังคว่ำซึ่งก็ถ่ายแบบมาจากลังกา ถูปารามของลังกาก็ดี ซึ่งก็ถูกถ่ายแบบมา เช่น สุโขทัยได้สร้างพระมหาธาตุวัดช้างร้อง เมืองชะเลียง เป็นต้น

อิทธิพลด้านการปกครองคณะสงฆ์ไทย สมณศักดิ์ในประเทศอินเดียนั้นไม่มี ประเทศลังกาถือเป็นต้นแบบที่ตั้งให้มีสมณศักดิ์ ในชั้นเริ่มแรกมี ๒ ตำแหน่ง คือ ตำแหน่งสวามี และมหาสวามี อิทธิพลของสมณศักดิ์ก็ติดมาด้วยกับลัทธิลังกาวงศ์นี้เอง ตำแหน่งสมณศักดิ์สมัยสุโขทัยก็คือ ครูบา เถระ มหาเถระ สังฆราช (เทียบเท่ามหาสวามี) และ สังฆปรินายกสิทธิ การปกครองแบ่งออกเป็น ๒ คณะ คือ คามวาสี พวกที่คลุกคลีด้วยชาวบ้าน และ อรัญญวาสี พวกอยู่ในป่า ลัทธิลังกาวงศ์ทำให้เกิดสมณศักดิ์ขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรกก็ว่าได้และมีตำแหน่งสมณศักดิ์ต่างๆ จำนวนมากในปัจจุบัน และก็คงจะมีมากขึ้นอีกในอนาคต คนไทยเราเป็นชาติที่นิยม เรื่องเจ้ายศเจ้าอย่างเจ้าขุนมูลนายอย่างอยู่แล้ว ซึ่งก็ถูกกับจริตของคนไทย อิทธิพลเรื่องสมณศักดิ์จึงเข้ามามีอิทธิพลในการ ปกครองคณะสงฆ์อย่างง่ายดายดังที่เห็นกันอยู่ในทุกวันนี้


มีต่อ >>> ๓. พระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ย.2006, 7:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๓. พระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัย

สมัยพ่อขุนรามคำแหง

รัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหง พลเมืองส่วนใหญ่ในสมัยสุโขทัยนับถือศาสนาที่แพร่หลายในขณะนั้น ก็คือ พระพุทธศาสนาทั้งมหายานและเถรวาท และศาสนาพราหมณ์ หลักฐานที่จะเป็นเครื่องชี้ชัดก็คือ คณะสงฆ์ลัทธิลังกาวงศ์ได้เข้ามาตั้งสำนักเผยแผ่ที่เมืองนครศรีธรรมราชเป็นครั้งแรกดังที่กล่าวแล้วข้างบน ในเรื่องลัทธิลังกาวงศ์ก็มีอยู่ในจารึกของพ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งมีจารึกไว้ว่า (เมื่อปีมะโรง จุลศักราช ๖๕๔ พ.ศ. ๑๘๓๕) เมืองสุโขทัยมีวัดวาอารามมากมายครึกครื้น ส่วนพระสงฆ์นั้นมีปู่ครู มีพระสังฆราช มีพระเถระ มีพระมหาเถระ เรียนรู้พระไตรปิฎก พ่อขุนรามคำแหงทรงทราบเกียรติคุณแห่งพระพุทธศาสนาแบบลัทธิลังกาวงศ์ จึงนิมนต์พระมหาเถระสังฆราชมาจากเมืองนครศรีธรรมราช และให้พำนักอยู่ที่วัดอรัญญิกในกรุงสุโขทัย พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ก็เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่นั้นมา ในขณะที่ลัทธิมหายานค่อยเสื่อมกำลังหายไป พ่อขุนรามคำแหงทรงนับถือพระในลัทธิลังกาวงศ์มาก ในวันพระจะนิมนต์พระมหาเถระขึ้นนั่งแสดงธรรมบนพระแท่นมนังศิลาอยู่เป็นประจำ พระองค์เป็นธรรมิกราชาอย่างแท้จริง

พ่อขุนรามคำแหงทรงประพฤติพระองค์เป็นดุจพ่อ ทรงใกล้ชิดกับราษฎรผู้เป็นเหมือนลูกเสมอ จึงได้เกิดมีสุภาษิตสอนราษฎร เช่น พ่อสอนลูกเรียกว่าสุภาษิตพระร่วง ดังมีใจความพอเป็นตัวอย่างดังนี้ "อาสาเจ้าจนตัวตาย อาสานายจนพอแรง ปลูกไมตรีอย่างรู้ร้าง สร้างกุศลอย่ารู้โรย อย่าขูดคนด้วยปาก อย่าถากคนด้วยตา อย่าเผื่อแผ่ความผิด อย่าผูกมิตรคนจร อย่ารักเขากว่าผม อย่ารักลมกว่าน้ำ อย่ารักถ้ำกว่าเรือน อย่ารักเดือนกว่าตะวัน"

ด้วยอิทธิพลเกี่ยวกับประเพณีทางศาสนา ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ได้พรรณนาถึงสภาพของของชาวสุโขทัยและประเพณีทางศาสนามีความว่า "คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัย ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้หญิง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษา กรานกฐินเดือนหนึ่งจึงแล้ว เมื่อกรานกฐินมีพนมเบี้ยพนมหมากมีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนนอน บริพารกฐิน โอยทานแล่ปี่แล้ญิบล้าน ไปสวดญัตติกฐินถึงอรัญญิกพู้น...ใครจะมักเล่น...เล่น ใครจะมักหัว...หัว ใครจะมักเลื่อน...เลื่อน เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากประตูหลวง เทียนญอมคนเสียดกันดูท่านเผ่าเทียน เมืองสุโขทัยนี้มีดังจะแตก"

ศิลปะทางด้านพุทธศาสนา ในสมัยสุโขทัยได้รับพระพุทธสิหิงค์มาจากลังกา ซึ่งเป็นแม่แบบของพระพุทธรูปสุโขทัย พระพุทธรูปในประเทศไทยก่อนหน้านี้ทุกยุคไม่เคยมีเปลวรัศมีสูง เพิ่งจะมีขึ้นครั้งแรกในสมัยสุโขทัย สังฆาฏิพระพุทธรูปในสมัยก่อนหน้านี้ ไม่เคยเป็นแฉกชนิดที่เรียกว่า เขี้ยวตะขาบ พระเจดีย์แบบลอมฟางซึ่งถ่ายทอดมาจากมรีจิวัดเจดีย์ในลังกาก็ดี ถูปารามในลังกาก็ดี สมัยสุโขทัยก็สร้างขึ้นเลียนแบบ เช่น พระมหาธาตุวัดช้างร้อง เมืองชะเลียง

สมัยพระเจ้าธรรมราชา (ลิไท)

ต่อมาถึงรัชสมัยของ พระเจ้ามหาธรรมราชา (ลิไท)(๑) ผู้เป็นราชนัดดาของพ่อขุนรามคำแหง (ปีมะเส็ง จุลศักราช ๖๗๙ พ.ศ. ๑๘๖๐) ทรงสร้างพระมหาธาตุและปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ในเมืองนครชุม ในจารึกกล่าวว่าพระบรมธาตุและต้นมหาโพธิ์เป็นของที่แท้จริงได้มาจากประเทศลังกา และทรงส่งให้ราชบัณฑิตไปอาราธนาพระสวามีสังฆราชมาจากเมืองลังกามีนามว่า พระสุมนะ และพระองค์ก็ได้ออกผนวชชั่วระยะหนึ่งที่วัดอรัญญิก นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทยที่ได้ทรงพระผนวช ในขณะที่พระองค์ทรงผนวชก็ได้ทรงนิพนธ์หนังสือเรื่อง เตภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง เป็นนิพนธ์ที่เด่นและมีอิทธิพลต่อคนไทยมากในหลายยุคหลายสมัยต่อมา ทำให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึงบาปบุญคุณโทษนรกสวรรค์เป็นอย่างดี


.................................................................................

(๑) พระพุทธศาสนาในเอเซีย, พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต),
จัดพิมพ์โดยธรรมสภา, พ.ศ. ๒๕๔๐ น. ๑๔๗


มีต่อ >>> ๔. พระพุทธศาสนาในสมัยอยุธยา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ย.2006, 7:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๔. พระพุทธศาสนาในสมัยอยุธยา

กรุงศรีอยุธยามีเมืองเก่าแก่ชื่อว่า อโยธยา มาก่อน มีการขุดพบซากเมืองโบราณสถูปเจดีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีพระพุทธรูปปรากฏเป็นหลักฐานสำคัญคือ พระพุทธรูปองค์ใหญ่วัดพนัญเชิง ได้สร้างมาก่อนสมัยจะสร้างพระนครศรีอยุธยา และผู้ที่จะสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่โตอย่างนั้นได้ก็ต้องบุคคลผู้มีบุญบารมีต้องเป็นชั้นเจ้าฟ้ามหากษัตริย์จึงจะมีกำลังสร้างปูชนียวัตถุขนาดมหึมาขึ้นได้ และลักษณะพุทธศิลป์ก็เป็นศิลปะแบบอู่ทอง เพราะฉะนั้นจึงสรุปได้ว่าเมืองอโยธยาเก่าคงจะตั้งขึ้นในสมัยขอมเป็นใหญ่ ต่อมาในสมัยอู่ทองไทยเข้ามาครอบครอง ไทยในสมัยอู่ทองนั่นเองคงจะเป็นผู้สร้างวัดพนัญเชิงขึ้น

พระพุทธศาสนาในสมัยพระรามาธิบดีที่ ๑

ในรัชสมัยพระรามาธิบดีที่ ๑ พระองค์ทรงสถาปนาวัดที่สำคัญมี ๒ วัด คือ วัดพุทไธศวรรย์ วัดนี้สร้างอยู่ในบริเวณตำบลเวียงเหล็ก ในที่ตั้งพลับพลาก่อนสร้างพระนคร วัตถุที่สำคัญในวัดนี้ที่ยังเหลืออยู่คือพระปรางค์องค์ใหญ่ พระวิหารพระพุทธรูปตามระเบียงคดซึ่งทำด้วยศิลา วัดพุทไธศวรรย์นี้เรียกได้ว่าเป็นปฐมอารามในสมัยอยุธยา เป็นวัดที่มีความสำคัญมากเป็นที่ประสิทธิ์ประสาทพิชัยสงครามตลอดสมัยอยุธยา แม่ทัพนายกองส่วนมากต้องมารับการอบรมจากสำนักวัดพุทไธศวรรย์แห่งนี้ ในปลายแผ่นดินพระองค์ได้สร้าง วัดเจ้าพระยาไท (วัดใหญ่ชัยมงคล) ขึ้น

ข้อสังเกตอย่างหนึ่งก็คือ ความเปลี่ยนแปลงในสมัยอยุธยา ไทยได้รับอิทธิพลมาจากขอมมากอยู่เหมือนกัน เหตุผลก็คืออยุธยามีอาณาเขตตั้งอยู่ใกล้อิทธิพลขอมมากกว่าทางสุโขทัย ระบบกษัตริย์ไม่เป็นเหมือนพ่อปกครองลูก แต่กลับเป็นระบบเทวสิทธิที่ราษฎรจะใกล้ชิดไม่ได้ ในสมัยสุโขทัยไม่มีระบบทาส การปกครองในสมัยอยุธยาเริ่มมีระบบทาสขึ้นมา

พระพุทธศาสนาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ

พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระบรมไตรโลกนาถนั้นนิยมการสร้างสถูปแบบลอมฟางหรือแบบลังกากันมาก ในยุคต้นของอยุธยาพุทธศิลป์ได้รับอิทธิพลของลพบุรีและอู่ทองอยู่มาก ในยุคของพระบรมไตรโลกนาถอิทธิพลของสุโขทัยเริ่มเข้ามาแทนที่ เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นก็คือพระองค์มีพระราชมารดาเป็นเจ้าหญิงผู้มีศักดิ์ของสุโขทัย ได้เสด็จไปประทับที่หัวเมืองเหนือตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงคุ้นเคยกับศิลปะแบบสุโขทัยมาก จึงทำให้พระองค์ได้รับเอาศิลปะของสุโขทัยไปโดยปริยาย

พระเจ้าบรมไตรโลกนาถ ได้ทรงอุทิศพระราชวังเดิมซึ่งสร้างมาแต่ครั้งพระเจ้าอู่ทองให้เป็นวัด แล้วย้ายพระราชวังไปติดอยู่ทางริมน้ำ วัดที่ทรงอุทิศถวายนั้นเป็นวัดในเขตกำแพงวัง ไม่มีพระสงฆ์อยู่ มีแต่เขตพุทธาวาสอย่างวัดพระแก้วในกรุงเทพมหานนคร เรียกว่า วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ ทรงหล่อรูปพระโพธิสัตว์ ๕๐๐ ชาติไว้ในวัดนี้ด้วย รูปเหล่านี้ในปัจจุบันยังเหลืออยู่เพียง ๒ - ๓ รูป แล้วทรงนิพนธ์คำหลวงสำหรับใช้เทศนาตามวัด เพราะฉะนั้นร่ายมหาชาติจึงเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่ประเพณีการฟังเทศน์มหาชาติมีมาแต่ครั้งสุโขทัยแล้ว แต่ว่าไม่มีเทศน์ฉบับหลวงซึ่งเพิ่งจะมีในสมัยอยุธยานี้เอง สาเหตุที่คนไทยนิยมฟังเทศน์มหาชาตินั้น ก็เพราะอิทธิพลของหนังสือ "มาลัยสูตร" ซึ่งกล่าวว่า พระศรีอริยเมตไตรย์ตรัสบอกผ่านพระมาลัยว่า "ผู้ใดปรารถนาไปเกิดทันศาสนาของพระองค์ ต้องฟังเทศน์มหาชาติให้จบ ๑๓ กัณฑ์ในวันเดียวกัน และบูชาด้วยธูปเทียนดอกบัวอย่างละพัน"

พระเจ้าบรมไตรโลกนาถ ทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ถึงกับเสด็จทรงผนวช ณ วัดจุฬามณี พร้อมด้วยพระราชโอรส พระราชนัดดา และข้าราชบริพารรวมทั้งหมดถึงพันเศษ เป็นพิธีกรรมมโหฬาร พระองค์ยังได้ทรงสร้างพระสถูปแบบลังกาสูงเส้นเศษ ๒ องค์ ในวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ อุทิศให้พระชนกและพระเชษฐา และยังได้ทรงหล่อพระพุทธรูปยืน หนักด้วยโลหะต่างๆ ๕ หมื่นกว่าชั่ง สูง ๘ วา ใช้เวลาหล่อและตบแต่ง ๓ ปีจึงแล้วเสร็จ แล้วถวายพระนามว่าพระศรีสรรเพ็ชญ์ และประดิษฐานไว้ ณ วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์รัชสมัยของพระเจ้าบรมไตรโลกนาถ นับว่ายาวนานที่สุดกว่ากษัตริย์ในสมัยอยุธยาทุกๆ พระองค์ เสวยราชย์อยู่ ๔ กว่าปี บ้านเมืองสงบสุขร่มเย็นเศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองจนสามารถหล่อพระพุทธรูปขนาดใหญ่ได้ ทรงอุปถัมภ์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญตลอดมาด้วยดี

พระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าทรงธรรม

ในรัชสมัยของพระเจ้าทรงธรรม พระองค์เป็นผู้มีความแตกฉานในพระไตรปิฎกตั้งแต่ยังทรงผนวชแล้ว ภายหลังได้มาเสวยราชย์แต่พระองค์ก็ยังเสด็จลงพระที่นั่งจอมทอง ๓ หลังบอกบาลีแก่พระสงฆ์สามเณรทุกวัน มีพระเณรในวัดต่างๆ ผลัดกันเข้ามาเรียนเป็นประจำ ในรัชกาลนี้มีพระสงฆ์ไทยพวกหนึ่งกลับมาจากลังกามาทูลว่า พระสงฆ์ลังกายืนยันว่ามีรอยพระพุทธบาทในประเทศไทย คือพระพุทธเจ้าได้ทรงประทับรอยพระบาทไว้ ณ สถาน(๑) ๕ แห่งคือ

๑. เขาสุวรรณมาลิก
๒. เขาสุวรรณบรรพต
๓. สุมนกูฏ
๔. โยนกปุระ
๕. ริมหาดแม่น้ำนัมมทา

พระสงฆ์ลังกายืนยันว่า สุวรรณบรรพตนั้นอยู่ในเมืองไทย เมื่อได้ทราบความดังนั้น พระองค์จึงมีพระราชโองการให้พยายามหาเขาสุวรรณบรรพตว่าอยู่ ณ สถานที่แห่งใด ก็บังเอิญในสมัยนั้น เจ้าเมืองสระบุรีมีหนังสือมากราบทูลว่า พรานป่าในเมืองนี้ออกไปล่าเนื้อ ยิงเนื้อตัวหนึ่งบาดเจ็บ เนื้อนั้นวิ่งไปในซอกหินแห่งหนึ่ง ครั้นกลับออกมาบาดแผลหายเป็นอัศจรรย์ พรานบุญจึงตามเข้าไปดู เห็นเป็นรอยเท้ามนุษย์บนแผ่นหิน ในรอยเท้ามีน้ำขังอยู่ พรานบุญจึงวักน้ำในรอยเท้านั้นมาลูบตามผิวหนังของตนซึ่งเป็นกลากเกลื้อน ปรากฏว่าโรคทางผิวหนังได้หายไปอย่างปลิดทิ้ง และนำเรื่องราวมาแจ้งให้เจ้าเมืองสระบุรีทราบ พระเจ้าทรงธรรมเมื่อทรงทราบเรื่องเช่นนี้ จึงเสด็จออกไปทอดพระเนตรสอบสวนรายละเอียดบนฝ่าเท้านั้น เห็นต้องตามคำมหาปุริสลักษณะ จึงมีพระราชศรัทธาอุทิศ ที่ดินโดยรอบภูเขานั้นให้เป็นพุทธบูชา แล้วทรงสถาปนามณฑปครอบรอยพระพุทธบาท จึงเกิดเป็นประเพณีเทศกาลไหว้พระพุทธบาทขึ้นในกลางเดือน ๓ และเดือน ๔ ทุกปีมา

เมื่อพระเจ้าทรงธรรมสวรรคตแล้ว พระโอรสได้ขึ้นเสวยราชย์ ต่อก็มีอำมาตย์ผู้ท่านหนึ่งชื่อว่าเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ เป็นอำมาตย์ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม เจ้าพระยากลาโหมประกาศตนเป็นกบฏออกหน้าจับพระเจ้าแผ่นดินสำเร็จโทษแล้วขึ้นเสวยราชย์เป็น พระเจ้าปราสาททอง ในรัชกาลนี้ไทยได้ไปตีกัมพูชาได้ พระเจ้าปราสาททองได้ทรงอุทิศบ้านเดิมของมารดาสร้างเป็นวัดให้ชื่อว่า "วัดชัยวัฒนาราม" และให้จำลองแบบปรางค์ขอมมาสร้าที่วัดนี้ วัดนี้ทรงโปรดเป็นพิเศษ เสด็จออกบำเพ็ญกุศลเนืองๆ เมื่อพระเจ้าปราสาททองสวรรคตแล้ว ราชโอรสก็ได้ขึ้นเสวยราชย์ แต่เกิดเรื่องแย่งราชสมบัติกันขึ้นกับพระโอรสอีกองค์หนึ่งคือ พระนารายณ์ ซึ่งมีกำลังร่วมกับพระศรีสุธรรมราชา ซึ่งเป็นพระเจ้าอา

พระพุทธศาสนาในสมัยพระนารายณ์

พระนารายณ์นั้นเป็นโอรสเกิดจากเจ้าจอมมารดา และได้ร่วมมือกับพระศรีสุธรรมราชาสำเร็จโทษพระเชษฐา แล้วก็สถาปนาพระเจ้าอาขึ้นเป็นกษัตริย์ ต่อมาหลานกับอาขัดกันในเรื่องที่พระเจ้าอามีพฤติกรรมที่จะลวนลามพระราชกัลยาณีซึ่งเป็นพระกนิฏฐาของพระนารายณ์ อากับหลานจึงทำสงครามกันขึ้น ในที่สุดอาถูกจับไปสำเร็จโทษ พระนารายณ์จึงเสด็จขึ้นครองราชย์แทน ในรัชสมัยของพระนารายณ์มีเหตุการณ์ที่สำคัญต่อพระพุทธศาสนาก็คือ

ในรัชสมัยของพระองค์ ศาสนาคริสต์ต้องการอย่างยิ่งที่จะให้พระองค์เข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์ ในสมัยนั้น ทั้งโปรตุเกสทั้งฝรั่งเศสจ้องที่จะเอาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ และอีกอย่างหนึ่งประเทศไทยเรานั้นก็ต้องถือว่าเป็นชาติแรกในเอเซียที่มีนโยบายให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา ในเวลานั้นประเทศจีน ญี่ปุ่น ญวน ตั้งข้อรังเกียจศาสนาคริสต์ว่าเป็นศาสนาที่บ่อนทำลายความสงบสุขของประเทศชาติ ประเทศไทยไม่ได้ตั้งข้อรังเกียจศาสนาคริสต์อย่างนั้น สมเด็จพระนารายณ์ทรงให้การอุปถัมภ์ทุกศาสนาที่เข้ามาเผยแผ่ในเวลานั้นด้วยดีทุกศาสนา ทั้งพุทธ คริสต์ อิสลาม และทรงมีพระราชโองการให้ประชาชนในปกครองของพระองค์มีสิทธิเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการนับถือศาสนาต่างๆ ได้ตามความสมัครใจ นับได้ว่าพระองค์ทรงมีพระทัยกว้างขวางอย่างหาที่สุดมิได้

พวกบาทหลวงเห็นพระองค์ทรงให้การอุปถัมภ์ด้วยดีแก่ศาสนาคริสต์ ความยังทราบไปถึงพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ พระองค์ได้ส่งพระราชสาสน์และทูตพิเศษชื่อว่า เชวาเลียร์ เดอ โชมองต์ พร้อมกับคณะบาทหลวงพิเศษสำหรับทำหน้าที่โปรดศีลให้แก่สมเด็จพระนารายณ์เมื่อเข้ารีตแล้ว เข้ามากรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. ๒๒๒๙ เพื่อทำหน้าที่เกลี้ยกล่อมเพื่อให้สมเด็จพระนารายณ์เข้ารีตโดยเฉพาะ ใจความของพระราชสาสน์ว่า "พระเจ้าฝรั่งเศสขอชักชวนพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาให้มาร่วมแผ่นดินเดียวกัน โดยขอให้พระองค์เปลี่ยนศาสนามาถือศาสนาเดียวกับฝรั่งเศส เพราะศาสนาที่เที่ยงแท้มีศาสนาเดียวในโลก คือศาสนาของพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว ถ้าฝ่ายกรุงศรีอยุธยาหันมานับถือในพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวนี้ พระองค์เป็นผู้มีฤทธิ์อำนาจก็จะบันดาลให้กรุงศรีอยุธยารุ่งเรืองเหมือนฝรั่งเศส"

สมเด็จพระนารายณ์ทรงขอบพระทัยพระเจ้าหลุยส์แห่งฝรั่งเศสที่มีความหวังดีต่อพระองค์ แต่การที่จะเปลี่ยนศาสนาที่เคยนับถือมาเป็นเวลา ๒๒๒๙ ปีแล้ว ไม่ใช่เป็นของง่าย พระองค์ตรัสแก่พวกทูตพิเศษและบาทหลวงแบบบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่นว่า ก่อนอื่นนั้นขอให้บาทหลวงทำให้ราษฎรของพระองค์เข้ารีตให้หมดก่อน แล้วพระองค์จะเข้ารีตตามในภายหลัง

อีกประการหนึ่ง ทรงแปลกฉงนพระทัยเป็นหนักหนาว่า "เหตุใด พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจึงมาก้าวก่ายกับฤทธิ์อำนาจของพระผู้เป็นเจ้า เพราะการที่มีศาสนาต่างๆ ในโลกนี้ ไม่ใช่เป็นความประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าหรอกหรือ พระองค์จึงปล่อยให้มีไปดังนั้น มิได้ทรงบันดาลให้มีเพียงศาสนาเดียว เมื่อพระผู้เป็นเจ้ามีฤทธิ์มากในเวลานี้ พระองค์คงปรารถนาให้ตัวเรานับถือพระพุทธศาสนาไปก่อน เพราะฉะนั้น เราจึงจะรอคอยพระกรุณาของพระองค์ บันดาลให้เราเลื่อมใสคริสตศาสนาในวันใด เราก็จะเข้ารีตนับถือในวันนั้น เราจึงขอฝากชะตากรรมของเราและกรุงศรีอยุธยา สุดแต่พระเจ้าจะทรงบันดาลเถิด ขอพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสสหายเราอย่าทรงเสียพระทัยเลย"

ตรงนี้เราจะเห็นได้ว่า การดำเนินทางด้านวิเทโสบายของสมเด็จพระนารายณ์เป็นที่ชาญฉลาดเป็นอย่างมาก ไม่หักด้ามพร้าด้วยเข่า เพราะถ้าจะพูดไปแล้วตอนนั้นถ้าต้องรบกันต่อสู้ด้วยอาวุธประเทศเราก็สู้ประเทศฝรั่งเศสไม่ได้อย่างแน่นอน ด้วยประเทศตะวันตกมีอาวุธที่ทันสมัยกว่า ในปลายแผ่นดิน สมเด็จพระนารายณ์ทรงชอบประทับอยู่ที่พระที่นั่งสุทธาสวรรค์ และพระที่นั่งธัญญมหาปราสาทในพระราชวังเมืองลพบุรี เมื่อถึงฤดูฝนจึงจะเสด็จลงมาประทับที่พระนคร เมื่อประชวรหนักลงที่ลพบุรี ก่อนจะสวรรคต พระองค์ได้อุทิศพระราชวังลพบุรีให้เป็นวิสุงคามสีมาอีกด้วย

พระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าบรมโกษฐ์

พระพุทธศาสนาในสมัยของพระเจ้าบรมโกษฐ์ ต้องนับว่าเป็นสมัยที่พระพุทธศาสนาได้รับการทำนุบำรุงให้เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก พระองค์ได้บูรณะวัดวาอารามใหญ่น้อยทั้งในพระนครและหัวเมืองเป็นจำนวนมาก เช่น ในพระนคร ก็มีวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ วัดพระราม สำหรับวัดภูเขาทองนั้น พระเจ้าบรมโกษฐ์ให้สร้างพระเจดีย์ใหญ่แบบไทยแท้ คือพระเจดีย์ที่เรียกว่าแบบย่อไม้สิบสอง พระเจดีย์แบบนี้นิยมสร้างกันมากในสมัยนี้ และที่วัดภูเขาทองนับเป็นแบบย่อไม้สิบสองที่ใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ยังทรงบูรณะวัดบรมพุทธาราม วัดหน้าพระเมรุ วัดตะไกร เป็นต้น ในหัวเมืองทรงบูรณะวัดพระแท่นศิลาอาสน์ เมืองอุตรดิตถ์ วัดมหาธาตุ เมืองลพบุรี เป็นต้น

พระเจ้าบรมโกษฐ์ ทรงโปรดเรื่องการบรรพชาอุปสมบทเป็นสิ่งสำคัญยิ่งนัก ราษฎรก็ดี ข้าราชบริพารก็ดี ถ้าไม่ได้ผ่านการบรรพชาอุปสมบทมาแล้วจะไม่โปรดชุบเลี้ยงหรือเลื่อนยศให้

ส่งพระสงฆ์ไปลังกา

ในราวศตวรรษที่ ๒๒ ประเทศลังกาต้องผจญภัยกับสงครามกลางเมืองอยู่เนืองๆ และยังถูกกดขี่จากพวกโปรตุเกสห้ามมิให้นับถือพระพุทธศาสนา ปรากฏว่าพระสงฆ์ในลังกาได้สูญวงศ์ลง เพราะไม่ได้อุปสมบทกันช้านาน แต่ก็มีสามเณรอยู่รูปหนึ่งชื่อว่า สรณังกร ได้พยายามขวนขวายที่จะให้ฟื้นสมณวงศ์ขึ้นใหม่ สามเณรสรณังกรจึงทูลให้พระเจ้ากิตติราชสิงหะซึ่งปกครองลังกาอยู่ในเวลานั้นให้ส่งราชทูตมากรุงศรีอยุธยา ทางฝ่ายไทยได้มอบหน้าที่ให้สมเด็จพระสังฆราชวัดมหาธาตุเป็นผู้คัดเลือกพระสงฆ์ที่จะไปลังกา และได้พระอุบาลีแห่วัดธรรมารามเป็นหัวหน้าคณะออกไปอุปสมบทชาวลังกา พระเจ้ากิตติราชสิงหะได้นิมนต์ให้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดบุบผาราม แล้วได้ทำพิธีผูกพัทธสีมาขึ้นที่วัดบุบผารามนั่นเอง และให้การอุปสมบทสามเณรสรณังกรเป็นรูปแรก ต่อมาก็ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชแห่งลังกา พระอุบาลีได้บรรพชาอุปสมบทกุลบุตรชาวลังกาทั้งหมดหลายพันรูป คณะสงฆ์ที่เกิดขึ้นใหม่นี้จึงเรียกชื่อว่า "สยามวงศ์" หรือ "อุบาลีวงศ์" และพระอุบาลีนั้น ต่อมาได้อาพาธถึงมรณะภาพในลังกานั่นเอง ปัจจุบันอัฐิของท่านยังปรากฏอยู่ อาสนะที่ท่านนั่งบวชกุลบุตร ตลอดจนพัดรองที่ท่านใช้ประจำ ยังคงรักษาไว้ในรูปเดิม จัดเป็นปูชนียวัตถุอนุสรณ์ของพระสงฆ์ในนิกายสยามวงศ์ในลังกามาตราบเท่าทุกวันนี้


.................................................................................

(๑) เสถียร โพธินันทะ, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, ฉบับมุขปาฐะ, เล่ม ๒ น. ๑๖๙


มีต่อ >>> ๕. พระพุทธศาสนาในสมัยธนบุรี
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ย.2006, 7:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๕. พระพุทธศาสนาในสมัยธนบุรี

ในสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินทรงมีบทบาทสำคัญในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรือง พระองค์มีพระบิดาเป็นคนจีน นามสกุล แซ่แต้ และมีมารดาเป็นคนไทยชื่อว่า นางนกเอี้ยง เกิดในพระนครศรีอยุธยาในแผ่นดินของพระเจ้าบรมโกษฐ์ ต่อมาได้ถวายตนเป็นมหาดเล็ก แล้วได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระยาตาก และต่อมามีความดีความชอบได้รับเลื่อนยศสูงขึ้นเป็นพระยาวชิรปราการ แต่ยังไม่ทันได้รับตำแหน่งก็เกิดศึกกับพม่า พระยาวชิรปราการมีอัธยาศัยห้าวหาญ มีความเสียสละมากในการรบกับข้าศึกทุกครั้ง เสด็จออกนำหน้าทหารเหมือนกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทำให้ทหารภายใต้บังคับบัญชามีความฮึกเหิมและอบอุ่นใจ พระเจ้าตากสินทรงเคร่งครัดในบวรพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ในสมัยของพระองค์ทรงชำระพวกอลัชชีคือพระที่ประพฤติตนนอกรีตนอกรอยให้สึกไปเสียจำนวนมาก

ครั้งหนึ่ง เสด็จไปตีเมืองนครศรีธรรมราช ได้ทรงพบพระอาจารย์ศรีชาวกรุงเก่า ซึ่งเคยคุ้นเคยกันมาก่อนแล้วจึงโปรดให้นิมนต์เข้ามาสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช แล้วโปรดให้อัญเชิญพระไตรปิฎกฉบับเมืองนครเข้ามาเป็นแม่แบบ ทรงจ้างให้ช่างลอกพระไตรปิฎกหลายจบ แล้วพระราชทานให้พระสงฆ์ตามอารามใหญ่ๆ คัมภีร์ใดขาดตกบกพร่อง ก็โปรดให้ไปแสวงหาถึงกัมพูชา เช่น คัมภีร์วิสุทธิมรรคในกรุงธนบุรีไม่มีต้นฉบับเหลืออยู่เลย จึงโปรดให้พระเทพกวีออกไปหาต้นฉบับถึงเขมร การศึกษาของพระสงฆ์จึงค่อยฟื้นฟูขึ้น ในยามว่างจากศึกพระองค์ทรงโปรดการปฏิบัติพระกรรมฐานที่วัดอินทาราม มีเรื่องเล่าว่าทรงมีพระสติฟั่นเฟือน ถึงกับพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของพระสงฆ์ด้วยการให้ดำน้ำ และทรงเข้าพระทัยว่าพระองค์เป็นพระอริยบุคคลถึงกับบังคับให้พระสงฆ์กราบไหว้พระองค์ พระสงฆ์ที่ไม่ยอมทำตามก็ถูกลงโทษในปลายแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้าตากสิน หลังจากที่ได้เสวยราชย์เป็นเวลาได้ ๑๕ ปี ในปี พ.ศ. ๒๓๒๔ เป็นปีสุดท้ายของรัชกาล ได้เกิดการจลาจลขึ้นที่กรุงธนบุรี พระองค์ทรงเห็นแก่ชีวิตคนไทยด้วยกัน ไม่ทรงคิดจะต่อสู้เพราะเป็นคนไทยด้วยกัน พระองค์ห้ามผู้ที่จงรักภักดีว่า "สิ้นบุญพ่อแล้วอย่าให้ยากแก่ไพร่เลย" สุดท้ายพระองค์ถูกบังคับโดยพระยาสวรรค์ให้ทรงผนวชที่วัดแจ้ง หลังจากนั้นก็ถูกนำไปกักขังไว้กับพระราชโอรสธิดาองค์น้อยๆ พระองค์ใหญ่ๆ ก็ถูกจับไปเสียทั้งหมด สุดท้ายพระองค์ก็ถูกบังคับให้สึก บรรดาพวกลูกขุนพิพากษาว่า ให้สำเร็จโทษด้วยสาเหตุปกครองให้บ้านเมืองเกิดการจลาจล เมื่อวันเสาร์ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๕ พ.ศ. ๒๓๒๕


มีต่อ >>> ๖. พระพุทธศาสนาสมัยรัตนโกสินทร์
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ย.2006, 7:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๖. พระพุทธศาสนาสมัยรัตนโกสินทร์

สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

เหตุการณ์พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของรัชกาลที่ ๑ พระองค์ได้ย้ายเมืองหลวงจากธนบุรีมาอยู่แถบฝั่งตะวันออก คือ ฝั่งพระนคร การสร้างพระนครก็ดี การสร้างวัดก็ดี ทรงใช้แผนผังของกรุงเก่ามาเป็นแม่บททั้งสิ้น อีกอย่างหนึ่งก็เพื่อให้ไม่เป็นการลืมเมืองหลวงเก่า พระองค์ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง วัดนี้ก็เลียนแบบวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์กรุงเก่า คือเป็น วัดสำหรับใช้ประกอบพระราชพิธีไม่มีพระสงฆ์อยู่ประจำ และทรงปฏิสังขรณ์วัดอีกหลายแห่ง เช่น วัดสุทัศนเทพวราราม วัดโพธาราม หรือวัดพระเชตุพนในปัจจุบัน เป็นต้น และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๓๑ ทรงมีพระราชปรารภว่า ทุกวันนี้การศึกษาของคณะสงฆ์ย่อหย่อนไป เพราะพระไตรปิฎกมีข้อความวิปลาสคลาดเคลื่อนมาก จึงโปรดให้ประชุมพระสงฆ์นักปราชญ์ราชบัณฑิตเพื่อทำสังคายนาครั้งที่ ๙ ณ วัดมหาธาตุ มีพระมหาเถรานุเถระ ๒๑๘ รูป ราชบัณฑิต ๓๒ ท่าน หลังจากเสร็จแล้วก็โปรดให้พระราชทานแก่พระอารามใหญ่น้อยในพระนคร ทำให้การศึกษาของคณะสงฆ์เจริญรุ่งเรือง และโปรดให้มีการสอนพระปริยัติธรรมในพระบรมมหาราชวัง ตลอดจนตามวังเจ้านาย และบ้านข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ และทรงตามกฎหมายพระสงฆ์เพื่อกวดขันความประพฤติของพระสงฆ์ ชำระพระศาสนาให้บริสุทธิ์

สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

เหตุการณ์พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระองค์มีสิ่งที่สำคัญก็คือ ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีวิสาขบูชาขึ้น ประเพณีวิสาขบูชาน่าจะมีมาตั้งแต่ในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานีแล้ว ดังมีปรากฏในหนังสือเรื่องนางนพมาศ ซึ่งเป็นพระสนมเอกของพระเจ้ามหาธรรมราชา วงศ์พระร่วง น่าจะมาขาดตอนไปตอนเสียกรุงศรีอยุธยาก็เป็นได้ การพิธีวิสาขบูชาในสมัยของพระองค์จึงถือได้ว่าโปรดให้มีเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนั้นพระองค์ยังทรงให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดหลายวัด เช่น วัดอรุณราชวราราม เป็นต้น และในปี พ.ศ. ๒๓๕๗ ทรงส่งสมณทูต ๘ รูป มีพระอาจารย์ดีกับพระอาจารย์เทพเป็นหัวหน้าไปสืบพระพุทธศาสนาที่ประเทศลังกา ในสมัยของพระองค์นั้นประเทศลังกาถูกปกครองโดยพวกฝรั่ง ไม่ทราบว่าพระพุทธศาสนาจะมีสถานภาพเป็นเช่นไร ตอนกลับได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์มา ๗ ต้น จากนั้นก็โปรดให้นำไปปลูกเพื่อเป็นพุทธบูชาสืบไป

สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในรัชสมัยของพระนั่งเกล้าฯ พระองค์โปรดให้สร้างพระไตรปิฎกฉบับหลวงเพิ่มจำนวนขึ้นไว้อีกหลายฉบับครบถ้วนสมบูรณ์กว่าในรัชกาลก่อนๆ โปรดให้แปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยเรียงตามลำดับคัมภีร์ แต่เป็นที่น่าเสียดายไม่ทันจบเพราะสิ้นรัชกาลก่อน ในรัชสมัยของพระองค์ยังทรงสร้างและปฏิสังขรณ์พระอารามหลวง และวัดที่ทรงสร้างในรัชกาลนี้ ก็คือ วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดาราม วัดนี้ทรงสร้างโลหปราสาทสำหรับเป็นที่บำเพ็ญกรรมฐาน ทรงส่งเสริมการเรียนพระปริยัติธรรมในพระบรมมหาราชวัง ทรงอุทิศพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระราชวังให้เป็นที่บอกพระปริยัติธรรมแก่ภิกษุสามเณร โดยแบ่งออกเป็น ๔ กองตามมุขพระที่นั่ง มีเรื่องตลกเล่ากันว่า มีอยู่ครั้งหนึ่งสามเณรที่มาเรียนปริยัติธรรมในพระบรมหาราชวังเล่นตะกร้อบนระเบียงมหาปราสาท พวกสังฆการีนำความไปกราบทูลฟ้อง พระองค์กลับตรัสว่า "เจ้ากูจะเล่นบ้าง ก็ช่าง เจ้ากู" พร้อมกันนี้ยังโปรดให้จ้างอาจารย์สอนพระปริยัติธรรมทุกพระอารามหลวง การศึกษาของพระสงฆ์สามเณรเจริญรุ่งเรืองมาก ในรัชสมัยของพระองค์นี้เอง เจ้าฟ้ามงกุฎ (ร. ๔) ได้ผนวชเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๐ และผนวชเป็นภิกษุเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๗ ประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุ อันเป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราช ทรงสอบได้เปรียญ ๕ ประโยค ได้ทรงเลื่อมใสในความเคร่งครัดวินัยของพระมอญชื่อ ซาย ฉายา พุทฺธวํโส เป็นพระราชาคณะที่พระสุเมธาจารย์ อยู่วัดบวรมงคล มีความประสงค์จะประพฤติเคร่งครัดเช่นนั้น จึงเสด็จย้ายไปประทับ ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๒ ทรงอุปสมบทใหม่ แยกไปตั้งคณะธรรมยุติกนิกายขึ้น(๑) กำหนดด้วยการฝังลูกนิมิตผูกพัทธสีมาใหม่ของวัดสมอรายว่าเป็นการตั้งคณะธรรมยุต ในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ จากนั้นได้เสด็จมาประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุตต่อมา

สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี ในหลวงรัชกาลที่ ๔ นับได้ว่าพระองค์ใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนามากกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใด เพราะเหตุว่าพระองค์ทรงผนวชในพระบวรพระพุทธศาสนาเป็นเวลาถึง ๒๗ พระพรรษา การที่ได้ทรงผนวชอยู่นานนั้นนับเป็นผลดีแก่พระองค์อย่างยิ่งในการบริหารราชการแผ่นดิน เพราะได้มีโอกาสเสด็จจาริกธุดงค์ไปในถิ่นตามหัวเมืองต่างๆ ทำให้พระองค์ใกล้ชิดกับราษฎร รู้สุขทุกข์ของเขาซึ่งเป็นประโยชน์เมื่อทรงเสวยราชย์ ทรงทราบเหตุการณ์รอบบ้านผ่านเมืองและข้อบกพร่องต่างๆ เป็นอย่างดี ทรงรู้ภาษาอังกฤษ รู้นิสัยใจคอของพวกฝรั่งต่างชาติซึ่งจะต้องมีความสัมพันธ์กันในทางราชการต่อไป

ในแผ่นดินของพระองค์ คริสตศาสนานิกายโปรเตสแตนต์ได้เข้ามาเผยแผ่ในเมืองไทย โดยมิชชันนารีอเมริกันเป็นผู้นำเข้ามา ผู้ที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงอย่างสำคัญคือหมอบัดเล่ย์ ท่านผู้นี้นอกจากจะทำหน้าที่สอนศาสนาแล้ว ยังเป็นคนแรกที่นำเอาวิชาการแพทย์สมัยใหม่มาแพร่หลายในเมืองไทยอีกด้วย คนไทยรู้จักวิชาศัลยกรรมและปลูกฝีจากหมอผู้นี้ นอกจากวิชาการทางการเป็นหมอแล้ว เขายังเป็นคนแรกที่นำเครื่องพิมพ์มาใช้ในเมืองไทย เป็นคนแรกที่ออกหนังสือพิมพ์ในเมืองไทย และทางราชการได้จ้างพิมพ์เป็นฉบับแรกคือพระราชกฤษฎีกาห้ามสูบฝิ่นของรัชกาลที่ ๓ หมอบัดเล่ย์ได้อยู่มาถึงต้นรัชกาลที่ ๕ จึงถึงแก่กรรม นับว่าเป็นผู้มีคุณต่อประเทศไทยคนหนึ่งในด้านการแพทย์และการพิมพ์

ในรัชสมัยของพระองค์ยังได้สร้างวัดขึ้นมาใหม่หลายวัดด้วยกัน เช่น วัดบรมนิวาส วัดโสมนัสวิหาร วัดปทุมวนาราม วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม และวัดมกุฏกษัตริยาราม กับทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ปฐมเจดีย์ เป็นต้น และทรงให้มี "พิธีมาฆบูชา" ขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ. ๒๓๙๔ ตลอดจนทรงอุปถัมภ์พระสงฆ์ญวน นับเป็นการให้ความรับรองเป็นทางการแก่พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานขึ้นเป็นครั้งแรกอีกด้วย

สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ปรากฏการณ์พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องนับว่าพระองค์มีคุณูปการอันยิ่งใหญ่ต่อประเทศไทยในหลายๆ ด้าน พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เสด็จไปถึงอินเดียดินแดนพระพุทธศาสนา ได้เสด็จไปบูชาสังเวชนียสถานมฤคทายวัน ได้ทรงแสวงหาศาสนวัตถุ และรูปพระพุทธเจดีย์มาหลายอย่าง พร้อมกับทรงได้พันธุ์พระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยาโดยตรง และโปรดให้ปลูกไว้ที่วัดเบญจมบพิตร

พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาสร้างวัดเป็นอันมาก เช่น วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นวัดประจำรัชกาล โดยใช้ศิลปะแบบโกธิกของฝรั่ง วัดเทพศิรินทราวาส วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ เป็นต้น พระองค์ยังทรงโปรดให้พิมพ์หนังสือพระไตรปิฎกด้วยอักษรไทยจบละ ๓๙ เล่ม จำนวน ๑,๐๐๐ จบ เป็นครั้งแรกที่มีการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นอักษรไทย พร้อมทั้งโปรดให้พิมพ์คัมภีร์เทศนาพระราชทานแก่พระอารามหลวงและวัดราษฎร์ทั้งในกรุงและหัวเมืองทั่วไปอีก ทั้งโปรดให้ย้ายการศึกษาพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณรจากในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ออกมาจัดเป็นบาลีวิทยาลัยขึ้นที่วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ ใช้ชื่อว่า มหาธาตุวิทยาลัย และในวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๔๓๙ เสด็จไปวางศิลาฤกษ์สังฆเสนาสน์วิทยาลัย และต่อมาได้เปลี่ยนนามมหาธาตุวิทยาลัยเป็น มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ให้เป็นสถานศึกษาพระปริยัติธรรมและวิชาการชั้นสูง

ในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ เสด็จไปทรงเปิดมหามกุฏราชวิทยาลัยที่ตั้งอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงริเริ่มจัดตั้งขึ้น และในปี พ.ศ. ๒๔๔๑ ประเทศอินเดียได้ส่งพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดค้นพบที่เมืองกบิลพัสดุ์ รัฐอุตตรประเทศ ซึ่งมีคำจารึกเป็นอักษรเก่าสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นหลักฐาน มาร์วิส เดอสัน อุปราชอินเดียได้กราบทูลถวายพระบรมธาตุนี้ จึงโปรดให้พระยาสุขุมนัยประดิษฐ์ ต่อมาได้เป็นพระยายมราช ออกไปอัญเชิญพระบรมธาตุมาประเทศไทย และโปรดให้บรรจุไว้ในพระสถูปเจดีย์บนยอดเขาสุวรรณบรรพต (ภูเขาทอง) วัดสระเกศ

พระองค์เป็นผู้วางแนวทางการปกครองคณะสงฆ์ โดยได้โปรดให้ตราพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรกต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ทรงประกาศพระราชโองการ พระราชบัญญัติลักษณะปกครองสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ เพื่อให้พุทธจักรมีการปกครองคู่กับฝ่ายอาณาจักร มีผลทำให้การปกครองคณะสงฆ์มีความเป็นเอกภาพมั่นคงเรียบร้อยด้วยดี

สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

สถานการณ์พระพุทธศาสนาในรัชสมัยนี้มีสิ่งที่น่าศึกษา ก็คือ พระองค์มีพระปรีชาสามารถทั้งคดีโลกและคดีธรรม ทรงได้รับการถวายพระนามว่า สมเด็จพระมหาธีรราช ความปรีชาทางด้านศาสนา พระองค์สามารถอบรมสั่งสอนข้าราชบริพารด้วยพระองค์เอง ทรงนิพนธ์หนังสือด้านพระพุทธศาสนาหลายเล่ม เช่น พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร เป็นต้น

งานที่เด่นทางด้านศาสนาอย่างมาก ก็คือ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ พระองค์ทรงให้เปลี่ยนรัตนโกสินทร์ศก มาใช้เป็นพุทธศักราชแทน ที่ประเทศนับถือพระพุทธศาสนาหลายประเทศต่างพากันยกย่องสรรเสริญ นับได้ว่าพระองค์ทรงมีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาอย่างใหญ่หลวง นอกจากนั้น พระองค์ได้ทรงโปรดให้พิมพ์อรรถกถาพระไตรปิฎกเพื่ออุทิศถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระพันปีหลวง และเนื่องในการบำเพ็ญพระราชกุศลถวายแด่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ตลอดจนส่งเสริมให้พระบรมวงศานุวงศ์ได้บริจาคทรัพย์พิมพ์อรรถกถาชาดกและคัมภีร์อื่นๆ เช่น วิสุทธิมรรค และมิลินทปัญหา เป็นต้น

สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระพุทธศาสนาในสมัยของรัชกาลที่ ๗ มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่พระองค์ได้ขึ้นครองราชย์แล้วก็คือ พระองค์โปรดให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ จบละ ๔๕ เล่ม จำนวน ๑,๕๐๐ จบ เพื่ออุทิศถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว และยังโปรดให้พระราชทานไปยังนานาประเทศ ตลอดจนมีการพิมพ์คัมภีร์ต่างๆ เช่น อภิธัมมัตถวิภาวินี และฎีกาวิสุทธิมรรค อีกด้วย

สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

ในรัชสมัยของพระองค์ได้โปรดให้ราชบัณฑิตยสภาเปิดการประกวดแต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็กในงานพระราชพิธีวิสาขบูชา หนังสือเล่มแรกที่ได้รับรางวัลคือ "ศาสนาคุณ" ของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ในปีนั้นเองเริ่มเปิดโอกาสให้ฆราวาสเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม โดยแยกจากแผนกนักธรรมสำหรับพระภิกษุและสามเณร และเรียกว่า "ธรรมศึกษา"

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ รัฐบาลได้สร้างวัดพระศรีมหาธาตุขึ้นที่เขตบางเขน แล้วอาราธนาให้พระสงฆ์ทั้งมหานิกายและธรรมยุตอยู่รวมกัน เพื่อหวังผลในการรวมนิกายทั้งสองเข้าด้วยกันจะได้มีความสมัครสมานสามัคคี แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะทิฏฐิสามัญญตาและสีลสามัญญตาเท่านั้นเอง และในปีนั้นได้เปลี่ยนชื่อกระทรวงธรรมการมาเป็น กระทรวงศึกษาธิการ และรัฐบาลได้ออก พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม เพื่อเปลี่ยนการปกครองของคณะสงฆ์ให้สอดคล้องกับการปกครองของฝ่ายบ้านเมือง โดยให้มีคณะบริหารที่เรียกว่า สังฆมนตรี มีสังฆนายกเป็นหัวหน้าในการบริหาร แบ่งการบริหารออกเป็น ๔ ฝ่าย คือ

๑. องค์การปกครอง
๒. องค์การศึกษา
๓. องค์การเผยแผ่
๔. องค์การสาธารณูปการ

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ มหามกุฏราชวิทยาลัยซึ่งตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๖ ได้ประกาศตั้งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ชื่อว่า สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๘ และเปิดการศึกษาตั้งแต่วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๔๘๙ เป็นต้นมา

สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

เหตุการณ์ทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญในรัชกาลนี้ ก็คือ พระองค์เสด็จออกทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเสด็จมาประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา ๑๕ วัน จึงทรงลาผนวช ในแผ่นดินนี้มีองค์กรสมาคมเกิดขึ้นมาอย่างมาย เช่น พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ยุวพุทธิกสมาคม เป็นต้น มีการเฉลิมฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษที่มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ อย่างยิ่งใหญ่

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ มีการตั้งโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้นเป็นครั้งแรก ที่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และได้รับความนิยมจัดตั้งโรงเรียนลักษณะอย่างนี้ไปทั่วประเทศ

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ รัฐบาลต้องการจะปรับปรุงการบริหารกิจการของคณะสงฆ์ จึงได้ออก พ.ร.บ. คณะสงฆ์ ๒๕๐๕ ขึ้น เป็นการบริหารแบบรวมศูนย์อำนาจ โดยให้มีสมเด็จพระสังฆราชทรงบัญชาการคณะสงฆ์สูงสุดทั้งสองนิกาย

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ได้มาตั้งสำนักงานใหญ่ในประเทศไทย โดยที่ประชุมของชาติที่นับถือพระพุทธศาสนามีมติให้ตั้งอยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวรตลอดไป

ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงนิพนธ์หนังสือที่เด่นมากที่สุดชื่อว่า "พระมหาชนก" ซึ่งเป็นหนังสือแนวอิงธรรมะเน้นวิริยะบารมีของพระมหาชนกมี ๒ ภาษา คือ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะภาษาไทยมี ๒ ภาค ภาคที่เป็นเนื้อหาล้วนๆ เหมาะสำหรับผู้ใหญ่ และอีกภาคหนึ่งคือใช้สื่อเนื้อหาแบบมีรูปภาพประกอบแนวการ์ตูน เพื่อเน้นให้เด็กและเยาวชนสามารถอ่านได้อย่างสนุกสนานอย่างมีสาระ


.................................................................................

(๑) พระพุทธศาสนาในเอเซีย, พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต),
จัดพิมพ์โดย ธรรมสภา, พ.ศ. ๒๕๔๐ น. ๑๕๙


มีต่อ >>> ๗. การปฏิวัติการศึกษาของคณะสงฆ์สมัยใหม่
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ย.2006, 7:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๗. การปฏิวัติการศึกษาของคณะสงฆ์สมัยใหม่

ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ นี้การศึกษาในวงการของคณะสงฆ์ได้พลิกโฉมหน้าไปอย่างมาก โดยได้มีการจัดการศึกษาสมัยใหม่เพิ่มขึ้นอีก ไม่เหมือนสมัยดั้งเดิมที่เน้นอยู่เฉพาะการศึกษาแผนกนักธรรมและภาษาบาลี ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นระบบการศึกษาในรูปแบบของการศึกษาปริยัติธรรมสายสามัญและมหาวิทยาลัยในระดับอุดมศึกษาขึ้น เพื่อเน้นให้พระสงฆ์มีความสมบูรณ์ทางความรู้ในหลายๆ ด้าน โดยเน้นในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กับชาวต่างประเทศด้วย มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง ๒ แห่งจึงได้เปิดทำการเรียนการสอนในสมัยรัชกาลนี้ แต่โดยความเป็นจริงแล้วมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งได้สถาปนาขึ้นตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แล้ว แต่มาเปิดอย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ ๙ นี้เอง

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตั้งวิทยาลัยขึ้นในบริเวณวัดบวรนิเวศวิหาร พระราชทานนามว่า "มหามกุฏราชวิทยาลัย"(๑) โดยมีพระราชประสงค์เพื่อเป็นที่ศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุสามเณร ทรงอุทิศพระราชทรัพย์บำรุงประจำปีและก่อสร้างสถานศึกษาแห่งนี้ขึ้น

เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จมาเปิดมหามกุฏราชวิทยาลัย พระองค์ทรงรับอุปถัมภ์และพระราชทานพระราชทรัพย์บำรุงประจำปี อาศัยพระราชประสงค์ดังกล่าวนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จึงทรงตั้งพระวัตถุประสงค์ เพื่อดำเนินกิจการของมหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้น ๓ ประการ คือ

๑. เพื่อเป็นสถานศึกษาของพระภิกษุสามเณร
๒. เพื่อเป็นสถานศึกษาวิทยาการอันเป็นของชาติภูมิและของต่างประเทศ
๓. เพื่อเป็นสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา

เมื่อกิจการของมหามกุฏราชวิทยาลัยได้ดำเนินการแล้ว ปรากฏว่าพระวัตถุประสงค์เหล่านั้นได้รับผลเป็นที่น่าพอใจตลอดมา เพื่อที่จะให้พระวัตถุประสงค์เหล่านั้นได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้น ในวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ในฐานะที่ทรงเป็นนายกกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย พร้อมด้วยพระเถรานุเถระ จึงได้ทรงประกาศตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูงในรูปแบบมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาขึ้น โดยอาศัยนามว่า "สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย" โดยมีเป้าประสงค์ดังนี้

๑. เพื่อให้เป็นสถานศึกษาพระปริยัติธรรม

๒. เพื่อให้เป็นสถานศึกษาวิทยาการอันเป็นของชาติภูมิและต่างประเทศ

๓. เพื่อให้เป็นสถานเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในและนอกประเทศ

๔. เพื่อให้พระภิกษุสามเณรมีความรู้และความสามารถในการบำเพ็ญประโยชน์แก่ประชาชน

๕. เพื่อให้ภิกษุสามเณรมีความรู้ และความสามารถในการค้นคว้า โต้ตอบ หรืออภิปรายธรรมได้อย่างกว้างขวางแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ

๖. เพื่อให้พระภิกษุสามเณรได้เป็นกำลังสำคัญในการจรรโลงพระพุทธศาสนา และเป็นศาสนทายาทที่เหมาะแก่กาลสมัย

๗. เพื่อความเจริญก้าวหน้าและคงอยู่ตลอดกาลนานของพระพุทธศาสนา

ทั้งนี้ ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย สถาบันการศึกษาแห่งนี้ได้เริ่มเปิดให้การอบรมศึกษาแก่พระภิกษุสามเณร ตั้งแต่วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๙ จนถึงปัจจุบัน ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติให้การรับรองสภาการศึกษาแห่งนี้ และได้เปลี่ยนนามของสถานการศึกษาแห่งนี้ใหม่เป็น "มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย" และให้เป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่ในกำกับของรัฐบาล

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ได้เปิดทำการเรียนการสอนเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ที่วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ เปิดทำการศึกษาหลังมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ๑ ปี โดยมีพระพิมลธรรม (ช้อย) เป็นสภานายกองค์แรก แต่โดยความเป็นจริงแล้วมหาวิทยาลัยทั้ง ๒ แห่งนั้น แม้จะผลิตนักศึกษาไปหลายรุ่นแล้ว แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลแต่อย่างใด เพิ่งจะมาได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ (เฉพาะปริญญาตรีเท่านั้น) และต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติให้การรับรองมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง ให้สามารถเปิดการเรียนการสอนได้ถึงชั้นปริญญาเอก จึงนับได้ว่า ถึงตอนนี้มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งมีศักดิ์และสิทธิในการเปิดทำการศึกษาได้ในทุกระดับปริญญา นับเป็นยุคของมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ได้รับการยอมรับและเจริญถึงขีดสูงสุด

ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือพระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๔๐ ของมหาวิทยาลัยทั้ง ๒ แห่งเปิดโอกาสให้กับบุคคลภายนอกที่มีความสนใจในการศึกษาในระบบของพระสงฆ์ เข้ามาศึกษาได้ทั้งแม่ชีและคฤหัสถ์ ชายหญิง นับเป็นการแหวกแนวกับแนวความคิดแบบการศึกษาเก่าๆ ที่จำกัดวงขอบเขตการศึกษาอยู่แต่เฉพาะพระภิกษุและสามเณรเท่านั้น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เปิดทำการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีสำหรับคฤหัสถ์และแม่ชีในปีการศึกษา ๒๕๔๓

ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้เปิดหลักสูตรระดับปริญญาโทสำหรับคฤหัสถ์ขึ้น และในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้เปิดหลักสูตรนานาชาติ (International Courses) ในระดับปริญญาโท

ในส่วนของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยได้เปิดการศึกษา ๒ ระบบ คือ ระบบสหศึกษาสำหรับคฤหัสถ์ชายหญิงทั่วไป ในปีการศึกษา ๒๕๔๓ ที่วัดราชาธิวาส และสำหรับแม่ชีและสตรีทั่วไป ในนามว่า "มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย" มีสถานที่ตั้งอยู่ที่สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี แขวงสีกัน เขตดอนเมือง ได้เปิดทำการเรียนการสอนในปีการศึกษา ๒๕๔๒ เป็นต้นมา

ทั้งสองระบบนี้ใช้หลักสูตรและวิชาเอกเดียวกันคือวิชาเอกพุทธศาสตร์ สำหรับโครงการนำร่องมหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย สังกัดคณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปิดโครงการนำร่องในปีการศึกษา ๒๕๔๒ โดยมีวัตถุประสงค์คือ

๑. เพื่อเป็นสถานศึกษาและวิจัยในระดับอุดมศึกษา ให้การฝึกอบรมแก่แม่ชีไทยและสตรีอื่นๆ ผู้สนใจในพระพุทธศาสนา

๒. เพื่อให้การศึกษาอบรมวิชาการด้านพุทธศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ แก่แม่ชีและสตรีอื่นๆ ในการนำหลักธรรมของพระพุทธศาสนาและวิชาการสมัยใหม่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาและสังคม

โครงการนำร่อง มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย แห่งนี้ ต้องถือว่าเป็นประวัติศาสตร์แห่งวงการศึกษาทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทยอย่างแท้จริง ที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยได้เปิดโอกาสให้แม่ชีและสตรีทั่วไปที่มีความสนใจในการเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนาในแนวลึกได้มีโอกาสศึกษาทัดเทียมกับพระภิกษุสามเณร และเป็นการบ่งบอกว่าการศึกษาทางพระพุทธศาสนานั้นไม่ได้ผูกขาดไว้เฉพาะพระภิกษุสามเณรอีกต่อไป ซึ่งก็ตรงกับหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ตรัสว่า พระพุทธศาสนานั้นจะยั่งยืนอยู่ได้มั่นคงหรือไม่มั่นคง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับพระองค์เพียงพระองค์เดียว แต่พระพุทธศาสนาจะยั่งยืนมั่นคงอยู่ได้นานนั้นต้องอาศัยพุทธบริษัททั้ง ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ช่วยกันประคับประคองอุดหนุนค้ำชู จะผูกขาดเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพียงฝ่ายเดียวนั้นหาไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้นพระพุทธศาสนาคงจะไม่สามารถตั้งอยู่ถาวรได้นานอย่างแน่นอน


.................................................................................

(๑) พิธีประสาทปริญญาบัตร, ศาสนศาสตรบัณฑิต, รุ่นที่ ๔๔,
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, พ.ศ. ๒๕๔๑ น. ๑๑


มีต่อ >>> บรรณานุกรม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 1:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

บรรณานุกรม

- การศาสนา, กรม. กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือการศึกษานักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี พิมพ์ครั้งที่ ๔. พ.ศ. ๒๕๓๖.

- ญาณวโรดม, พระ. ศาสนาต่างๆ . โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ, ๑๐๒๐๐.

- ทรงวิทย์ แก้วศรี, พุทธสถานในเอเซียใต้ : (อินเดีย-ปากีสถาน-บังคลาเทศ-ศรีลังกา). โรงพิมพ์ท่าพระจันทร์. กรุงเทพฯ, ๑๐๒๐๐.

- ทองหล่อ วงษ์ธรรมา, ปรัชญาตะวันออก. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. เลขที่ ๘๖๐-๘๖๒ . วังบูรพา. กรุงเทพ ฯ, ๑๐๒๐๐.

- ดำรงราชานุภาพ, กรมพระยา. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา. โรงพิมพ์โอเดียนสโตร์. กรุงเทพฯ, ๑๐๒๐๐.

- ธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พระ. พุทธธรรม. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ท่าพระจันทร์. กรุงเทพฯ, ๑๐๒๐๐.

- ธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พระ. พระพุทธศาสนาในเอเซีย. จัดพิมพ์โดยธรรมสภา. ครั้งที่ ๑. กุมภาพันธ์, ๒๕๔๐.

- ธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พระ. พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี. สุตฺต. สํ., สคาถวคฺโค, เล่มที่ ๑๕.

- ธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พระ. พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี. สุตฺต. องฺ. (๓). ปญฺจก-ฉกฺกนิปาตา, เล่มที่ ๒๒ .

- ธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พระ. มังคลัตถทีปนี. เล่ม ๒. ทุติโย ภาโค. โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระนคร. กรุงเทพฯ, ๑๐๒๐๐.

- สุชีพ ปุญญานุภาพ, พระไตรปิฎกฉบับประชาชน. โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระนคร. กรุงเทพฯ, ๑๐๒๐๐.

- สุชีพ ปุญญานุภาพ, ประวัติศาสตร์ศาสนา. โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระนคร. กรุงเทพฯ, ๑๐๒๐๐.

- สุชีพ ปุญญานุภาพ, ศาสนาเปรียบเทียบ. โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระนคร. กรุงเทพฯ, ๑๐๒๐๐.

- เสฐียร พันธรังษี, ศาสนาเปรียบเทียบ. (เล่ม ๑-๒). โรงพิมพ์แพร่พิทยา. ๗๑๖-๗๑๘. วังบูรพา. กรุงเทพฯ, ๑๐๒๐๐.

- เสถียร โพธินันทะ, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. (ฉบับมุขปาฐะ เล่ม ๑-๒). โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ, ๑๐๒๐๐.

- โสภณคณาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ), พระ. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ, ๑๐๒๐๐.

- สุนทร ณ รังษี, ปรัชญาอินเดีย : ประวัติและลัทธิ. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. ปทุมวัน, กรุงเทพมหานคร.

- วิจิตรวาทการ, หลวง. ศาสนาสากล. โรงพิมพ์ลูก ส. ธรรมภักดี. ถนนข้าวสาร. พระนคร. กรุงเทพฯ, ๑๐๒๐๐.

- วิชัย สุธีรชานนท์, ศาสนาเปรียบเทียบ. โรงพิมพ์ หจก. การพิมพ์พระนคร. พระนคร. กรุงเทพฯ, ๑๐๒๐๐

- อาจารย์จีนธรรมคณาธิการ (เย็นเจี่ยว), พระ. สารัถธรรมมหายาน. วัดมังกรกมลาวาส. ๑ มกราคม ๒๕๑๓. ป้อมปราบฯ. กรุงเทพฯ, ๑๐๑๐๐.

- Morgan, Kenneth. The Path of the Buddha (Buddhism Interpreted By Buddhists).

- printed in India. By Narendra Prakash Jain at Shri Jainendra Press. New Delhi, 110028.

- Dr. W. Rahula, Venerable. What the Buddha Taught. printed in Thailand. By Kurusapha Press. Bangkok, 1990.

- Tiwari, Kedar Nath. Comparative Religion. printed in India by Jainenfra.Prakash Jain at Shri Jainendra Press. New Delhi, 110028.

- Manorama : Year Book 1996, India.

- http://www.asia.cnn.com/2001/WORLD/asiapcf/central/03/05/afghanistan.m5/index.htm


>>>>> จบ >>>>>


........................................................

คัดลอกมาจาก
http://www.history.mbu.ac.th/
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง