Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สติปัฏฐานสี่ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 15 พ.ย.2006, 9:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สติปัฏฐานสี่

ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงก็ล้วนแต่เป็นเครื่องสำรอกของใจนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นธรรมข้อไหน ทั้งที่เป็นส่วนศีล ทั้งที่เป็นส่วนสมาธิและทั้งที่เป็นส่วนปัญญา

ในส่วนที่เป็นสมาธิและปัญญาประกอบกันนั้น ก็ได้แก่ส่วนที่มาตั้งสติพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ตามนัยที่ตรัสแสดงไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร ก็เพราะว่าบุคคลทุกๆ คนนั้น ย่อมเป็นประเภท

ตัณหาจริตอย่างหยาบบ้าง
ตัณหาจริตอย่างละเอียดบ้าง
ทิฏฐิจริตอย่างหยาบบ้าง
ทิฏฐิจริตอย่างละเอียดบ้าง

คนที่เป็นตัณหาจริตอย่างหยาบ ก็เช่นว่ามุ่งรักสวยรักงามมักจะติดกาย ก็ตรัสสอนให้ตั้งสติพิจารณากายนี้ให้เห็นธรรมดา คือความเกิดดับเพื่อที่จะคลายความติดในกายลงไป

คนที่มีตัณหาอย่างละเอียด ก็คือคนที่มักจะแสวงหาความสุขเป็นประการสำคัญ คือมุ่งสุขกายสุขใจเป็นใหญ่ แม้ว่าทางร่างกายจะไม่สวยสดงดงามไปบ้างก็ไม่เป็นไร ขอให้มีความสุขกายสุขใจก็แล้วกัน ก็ตรัสสอนให้ตั้งสติพิจารณาเวทนา คือความรู้สึกเป็นสุขเป็นทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์ ให้เห็นเป็นธรรมดา คือความเกิดความดับ และเมื่อเป็นดังนี้ ก็จะคลายติดในเวทนาลงไป

คนที่มีทิฏฐิจริตอย่างหยาบ คือมักจะถือเอาความเห็นของตนเป็นประมาณ มักจะติดจิต คือติดในอาการแห่งใจของตนเอง มุ่งเอาแต่ใจของตนเองเป็นที่ตั้ง เมื่อถูกใจแล้วก็ใช้ได้ ก็ตรัสสอนให้พิจารณาจิต ให้เห็นความเกิดดับเช่นเดียวกัน เมื่อเป็นดังนี้ก็จะคลายจากความติดในจิตใจ

คนที่มีทิฏฐิจริตอย่างละเอียด คือมักจะติดในเรื่องที่บังเกิดขึ้นในใจเป็นประการสำคัญ ต้องการให้ใจนี้ได้พบกับเรื่องที่พอใจที่ชอบใจเป็นที่ตั้ง ก็ตรัสสอนให้พิจารณาธรรม คือเรื่องที่บังเกิดขึ้นในจิตใจทั้งหลาย ให้เห็นความเกิดความดับเช่นเดียวกัน

สติปัฏฐานทั้งสี่นี้ จึงเหมาะสำหรับผู้มีจริตทั้งสี่ดังที่กล่าวมาแล้ว ทุกๆ คนก็ย่อมจะมีจริตทั้งสี่นี้อยู่ด้วยกัน เพราะฉะนั้นก็สามารถที่จะตั้งสติกำหนดพิจารณาได้ทุกข้อ และแต่ละข้อในสี่ข้อนี้ก็ได้แบ่งแยกเป็นหมวดย่อยๆ ออกไปอีก

และวิธีที่ปฏิบัติตั้งสติบางข้อ ก็ต้องการให้รวมจิตเข้ามากำหนดอยู่เพียงเรื่องเดียว บางข้อก็ต้องการให้พิจารณาดังที่ได้แสดงมาโดยลำดับ


: ความสงบ
: พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 15 พ.ย.2006, 6:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาบุญค่ะ...คุณ I am

ธรรมะสวัสดีค่ะ

ยิ้ม ยิ้มแก้มปริ อายหน้าแดง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
TE_WH.
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 21 ก.พ. 2006
ตอบ: 4
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 16 พ.ย.2006, 8:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณค่ะ สาธุ
 

_________________
อย่ามัวค้นหาอีกเลย ที่อยู่ในใจเรานี่แหล่ะ ส่องสว่างยิ่งนัก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง