Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ความเป็นมาของพระไตรปิฎก (เสฐียรพงษ์ วรรณปก) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ย. 2006, 5:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(16) อจินไตย 4 อย่าง

1. พุทธวิสัย (พระกำลังความสามารถ พระปรีชาญาณของพระพุทธเจ้า)
2. ฌานวิสัย (เรื่องความสามารถของผู้ได้ฌาน)
3. กัมมวิปากวิสัย (เรื่องกรรมและการให้ผลของกรรม)
4. โลกจินตา (คิดเรื่องโลก)


(17) เหตุที่ทำให้การค้าขาดทุนและได้กำไร 4 อย่าง

1. ขาดทุนย่อยยับหมด เพราะปวารณาจะถวายปัจจัย 4 แก่ผู้ทรงศีลแล้วไม่ถวาย
2. ไม่ได้กำไรเท่าที่ควร เพราะถวายน้อยกว่าที่ปวารณาไว้
3. ได้กำไรตามต้องการ เพราะถวายตามที่ปวารณาไว้
4. ได้กำไรเกินคาดหมาย เพราะถวายมากกว่าที่ปวารณาไว้


(18) บุคคล 4 จำพวก

นัยที่ 1 มืดมามืดไป, มืดมาสว่างไป, สว่างมามืดไป, สว่างมาสว่างไป

นัยที่ 2 จมแล้วจมอีก, จมแล้วลอยขึ้น, ลอยขึ้นแล้วจมลง, ลอยขึ้นแล้วลอยขึ้นอีก

นัยที่ 3 คนฟ้าร้องฝนไม่ตก, คนฝนตกฟ้าไม่ร้อง, คนฟ้าไม่ร้องฝนไม่ตก, คนฟ้าร้องฝนตก

นัยที่ 4 คนหม้อน้ำเปล่าปิดฝา, คนหม้อน้ำเต็มเปิดฝา, คนหม้อน้ำเปล่าเปิดฝา, คนหม้อน้ำเต็มปิดฝา

นัยที่ 5 คนมะม่วงดิบสีสุก, คนมะม่วงสุกสีดิบ, คนมะม่วงดิบสีดิบ, คนมะม่วงสุกสีสุก


(19) การฆ่า ในความหมายแห่งอริยวินัย

พระพุทธเจ้าทรงสนทนากับผู้ฝึกม้าชื่อเกสี นายเกสีกราบทูลถึงวิธีการฝึกม้าของเขาว่าใช้วิธีละมุนละม่อมบ้าง วิธีรุนแรงบ้าง ทั้งสองวิธีรวมกันบ้าง ถ้าม้าตัวไหนฝึกไม่ได้ ก็จะฆ่าทิ้ง พระพุทธเจ้าตรัสว่าพระองค์ใช้วิธีเดียวกับนายเกสี บางครั้งก็ทรงใช้วิธีละมุนละม่อม บางครั้งทรงใช้ทั้งสองวิธี ถ้าใครฝึกไม่ได้ ก็ทรงฆ่าทิ้งเสีย เมื่อนายเกสีทูลถามว่า การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่ควรแก่พระองค์มิใช่หรือ

พระองค์ทรงอธิบายว่า "การฝึกอย่างละมุนละม่อม หมายถึง ชี้ให้เห็นสุจริต การฝึกอย่างรุนแรงหมายถึง ชี้ให้เห็นทุจริตและผลแห่งทุจริต การฆ่าในความหมายแห่งอริยวินัย นั่นคือ การไม่ว่ากล่าวตักเตือน"


(20) ลักษณะของภิกษุเทียบกับม้าอาชาไนย 4

1. ซื่อตรง เทียบกับม้าที่ซื่อตรง
2. มีปัญญา เทียบกับม้าวิ่งไว
3. อดทน เทียบกับม้าที่ทนต่อความเจ็บได้
4. สงบเสี่ยม เทียบกับม้าที่สงบเสงี่ยม


(21) บุรุษอาชาไนยเทียบกับม้าอาชาไนย 4

1. เพียงได้ข่าวคนเจ็บคนตายก็สลดจิต เริ่มตั้งแต่ความเพียรเพื่อแทงตลอดสัจจะ เทียบกับม้าอาชาไนยพอเห็นเงาปฏัก ก็สำเหนียกรู้สิ่งที่สารถีต้องการให้ทำ

2. เมื่อเห็นคนเจ็บ คนตายด้วยตาจึงสลดจิต เทียบกับม้าอาชาไนยถูกแทงด้วยปฏักจนขนร่วงจึงสำเหนียกรู้

3. เมื่อเห็นญาติสายโลหิตเขาเจ็บหรือตายจึงสลดจิต เทียบกับม้าอาชาไนยถูกแทงจนทะลุหนังจึงสำเหนียกรู้

4. เมื่อตนเองเจ็บจึงสลดจิต เทียบกับม้าอาชาไนยถูกแทงทะลุกระดูกจึงสำเหนียกรู้


(22) คุณสมบัติของภิกษุผู้ควรบูชาเทียบกับช้างดี 4 ประการ

1. ฟังเป็น (ฟังแล้วจับสาระได้) เทียบกับช้างรู้จักรับฟังคำสั่งของควาญ (โสตา)

2. ฆ่าเป็น (กำจัดวิตก 3) เทียบกับช้างสามารถฆ่าข้าศึกในสงคราม (ฆาตา)

3. อดทนเป็น (มีขันติธรรม) เทียบกับช้างทนต่ออาวุธต่างๆ ในสนามรบ (ขนฺตา)

4. ไปได้ (ไปสู่นิพพาน) เทียบกับช้างควาญไสไปทางไหนก็ไปได้ตามต้องการ (คนฺตา)


(23) บุคคล 4 จำพวก

1. บุคคลผู้ตรัสรู้เร็ว (อุคฺฆฏิตญฺญู)
2. บุคคลผู้ฟังเขาอธิบายแล้วตรัสรู้ (วิปจิตญฺญู)
3. บุคคลที่เข้าแนะนำพร่ำสอนบ่อยๆ จึงตรัสรู้ (เนยฺย)
4. บุคคลไม่อาจรู้ธรรมได้เลย (ปทปรม)


(24) บุคคล 4 จำพวกอีกนัยหนึ่ง

1. ผู้ออกแต่กาย ใจไม่ออก
2. ผู้กายไม่ออก แต่ใจออก
3. ผู้ไม่ออกทั้งกายและใจ
4. ผู้ที่ออกทั้งกายและใจ


(25) โรคของนักบวช 4 อย่าง

1. มีความอยากมาก คับแค้นมาก
2. ไม่สันโดษในปัจจัย 4
3. อยากมาก คับแค้นมาก ปรารถนาลามกให้ได้ปัจจัย 4
4. พยายามเพื่อการนั้น เข้าไปสู่ตระกูล ทำความคุ้นเคยกับเขา อุตส่าห์นั่งกลั้นอุจจาระปัสสาวะในบ้านเขานานๆ


(26) ธรรม 4 ประการ ที่ให้พระสัทธรรมอันตรธาน

1. ภิกษุเรียนพระสุตตันตะไม่ดี เสียคำ เสียความ (เรียนผิดๆ)
2. ว่ายาก ไม่อดทน ไม่ฟังคำตักเตือนโดยเคารพ
3. พวกที่เรียนมาก ทรงจำได้มาก ก็ไม่สอนคนอื่น
4. พระที่เป็นเถระก็มักมากในปัจจัย 4 หย่อนในสิกขา เต็มด้วยนิวรณ์ ไม่เพียรเพื่อบรรลุธรรม และเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่ชนรุ่นหลัง


(27) ฐานะ 4 ประการ

1. จะทราบศีลของบุคคล ด้วยการอยู่ร่วมกัน
2. จะทราบความสะอาด ด้วยถ้อยคำ (บางแห่งแปลว่า การงาน)
3. จะทราบความกล้าหาญในเวลามีอันตราย
4. จะทราบปัญญาด้วยการสนทนา


(28) ธรรม 4 ประการ

1. ความรักเกิดเพราะความรักก็มี
2. โทสะเกิดเพราะความรักก็มี
3. ความรักเกิดเพราะโทสะก็มี
4. โทสะเกิดเพราะโทสะก็มี


(29) ยอดแห่งพรหมจรรย์

พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์ที่เราประพฤตินี้มีสิกขาเป็นอานิสงส์ มีปัญญาเป็นยอด มีวิมุติเป็นแก่น มีสติเป็นอธิปไตย"


(30) การนอน 4 แบบ

1. นอนอย่างเปรต (เปตเสยฺยา)
2. นอนอย่างผู้บริโภคกาม (กามโภคีเสยฺยา)
3. นอนอย่างราชสีห์ (สีหเสยฺยา)
4. นอนอย่างพระตถาคต (ตถาคตเสยฺยา)


(31) ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นานเพราะเหตุ 4 อย่าง

1. ไม่แสวงหาของที่หาย
2. ไม่บูรณะซ่อมแซมของเก่า
3. ไม่รู้จักประมาณในการใช้สอย
4. ตั้งบุรุษหรือสตรีผู้ทุศีลเป็นพ่อบ้านแม่เรือน


(มีต่อ 41)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2006, 6:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

2.5 ปัญจกนิบาต ประชุมหัวข้อธรรม 5 ข้อ ขอยกมาพอเป็นตัวอย่างดังนี้

(1) นิวรณ์เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต เปรียบกับเครื่องเศร้าหมองของทอง 5 อย่าง คือ เหล็ก, โลหะ, ดีบุก, ตะกั่ว, เงิน

1. ความพอใจในกาม
2. ความปองร้าย
3. ความหดหู่ง่วงงุน
4. ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ
5. ความลังเลสงสัย


(2) การเดินจงกรมมีอานิสงส์ 5 อย่าง คือ

1. เดินทางไกลได้ทน
2. อดทนต่อความเพียร
3. มีอาพาธน้อย
4. อาหารย่อยง่าย
5. สมาธิได้ขณะเดินจงกรมอยู่ได้นาน


(3) ฐานะที่ขอไม่ได้ในโลก 5 ประการ

1. ขอให้สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาว่า อย่าแก่
2. ขอให้สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาว่า อย่าเจ็บ
3. ขอให้สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาว่า อย่าตาย
4. ขอให้สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดาว่า อย่าสิ้นไป
5. ขอให้สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาว่า อย่าฉิบหาย


(4) ผู้บวชเมื่อแก่มีคุณธรรมได้ยาก 5 ประการ

1. พระแก่ที่ละเอียดอ่อนหายาก
2. พระแก่ที่สมบูรณ์ด้วยอากัปกิริยาหายาก
3. พระแก่ผู้คงแก่เรียนหายาก
4. พระแก่เป็นธรรมกถึกหายาก
5. พระแก่ผู้ทรงวินัยหายาก


(5) ผู้บวชเมื่อแก่มีคุณธรรมหาได้ยาก 5 ประเภท อีกนัยหนึ่ง

1. พระแก่ว่าง่ายหายาก
2. พระแก่รับฟังโอวาทด้วยดี หายาก
3. พระแก่ที่รับโอวาทโดยเคารพหายาก
4. พระแก่เป็นธรรมกถึก หายาก
5. พระแก่เป็นผู้ทรงวินัย หายาก


(6) ภิกษุดุจนักรบ 5 ประเภท

1. ภิกษุเข้าไปบิณฑบาตไม่สำรวมเห็นมาตุคามเกิดกำหนัดไม่บอกคืนสิกขา เสพเมถุนกับมาตุคาม เหมือนนักรบตายในสนามรบ

2. ภิกษุไม่สำรวมเห็นมาตุคามเกิดความกำหนัด เดินกลับวัดคิดบอกลาสิกขายังไม่ถึงวัดก็ลาสิกขาเอง เหมือนนักรบถูกยิงบาดเจ็บ ถูกหามไปส่งญาติแต่เสียชีวิตระหว่างทาง

3. ภิกษุไม่สำรวมเห็นมาตุคามเกิดความกำหนัด กลับวัดไปบอกลาสิกขา เพื่อนพรหมจรรย์กล่าวตักเตือน ไม่ยอมฟังลาสิกขาไป เหมือนนักรบถูกยิงบาดเจ็บเขาหามส่งญาติรักษาแต่เสียชีวิตในที่สุด

4. ภิกษุไม่สำรวมเห็นมาตุคามเกิดความกำหนัด กลับมาลาสิกขา ถูกเพื่อนพรหมจรรย์ตักเตือนได้สติ ตั้งใจประพฤติพรหมจรรย์ต่อไป เหมือนนักรบถูกยิงบาดเจ็บ เขาหามส่งญาติและญาติได้รักษาจนหาย

5. ภิกษุเข้าไปบิณฑบาต สำรวมอินทรีย์ กลับจากบิณฑบาตนั่งเข้าสมาธิได้ฌาน และบรรลุความสิ้นกิเลสในที่สุดเหมือนนักรบเข้าสนามรบชนะสงคราม


(7) ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ 5 อย่าง

1. เลี้ยงบิดามารดา บุตร ภรรยา และคนในปกครองให้เป็นสุข

2. บำรุงมิตรสหายและผู้ร่วมงานให้เป็นสุข

3. ใช้ป้องกันอันตราย

4. ทำพลี 5 อย่าง (ญาติพลี, อติถิพลี, ปุพพเปตพลี, ราชพลี, เทวตาพลี)

5. อุปถัมภ์บำรุงสมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติชอบ


(8) ภัยในอนาคตที่ภิกษุควรคำนึง 5 ประการ

1. ควรคำนึงว่าสักวันหนึ่งตนจะต้องแก่ คนแก่จะทำตามคำสอนพระพุทธเจ้า อยู่ในเสนาสนะอันสงัดทำมิได้ง่าย จึงควรพากเพียรเพื่อบรรลุผลที่ต้องการก่อนที่ความแก่จะมาถึง

2. ควรคำนึงว่าสักวันหนึ่งจะต้องเจ็บ คนเจ็บจะทำตามคำสอนพระพุทธเจ้ามิใช่ของง่าย จึงควรพากเพียรเพื่อบรรลุผลที่ต้องการก่อนที่ความเจ็บจะมาถึง

3. ควรคำนึงว่าสักวันหนึ่งคงบิณฑบาตเลี้ยงชีพลำบาก สมัยข้าวยากหมากแพงคนคงไปรวมกันอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งอย่างพลุกพล่าน ซึ่งไม่สะดวกแก่การทำตามคำสอนพระพุทธเจ้า จึงควรพากเพียรเพื่อบรรลุผลที่ต้องการก่อนที่ทุพภิกขภัยจะมาถึง

4. ควรคำนึงว่าสักวันหนึ่งมนุษย์คงมีภัย มนุษย์คงจะต้องหลั่งไหลไปในที่ที่ปลอดภัย ณ ที่นั้นย่อมจะต้องมีการคลุกคลีกับหมู่คณะ ซึ่งยากที่จะทำตามคำสอนพระพุทธเจ้า จึงควรพากเพียรเพื่อบรรลุผลที่ต้องการ ก่อนที่ภัยจะมาถึง

5. ควรคำนึงว่า สักวันหนึ่งสงฆ์คงแตกแยกกัน เวลาที่สงฆ์แตกแยกกัน เป็นการยากที่จะทำตามคำสอนพระพุทธองค์ จึงควรจะพากเพียรเพื่อบรรลุผลที่ต้องการก่อน ก่อนที่สงฆ์จะแตกกัน


(9) องค์แห่งพหูสูต 5

1. ฟังมาก หรือศึกษาเล่าเรียนมาก (พหุสฺสุตา)
2. ทรงจำได้มาก (ธตา)
3. ท่องจนคล่องปาก (วจสา ปริจิตา)
4. เพ่งจนขึ้นใจ หรือใส่ใจนึกคิดพิจารณาจนเจนใจ (มนสานุเปกฺขิตา)
5. แทงทะลุด้วยความเห็น คือความเข้าใจลึกซึ้ง (ทิฏฺฐิยา สุปฏิวทฺธา)


(มีต่อ 42)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 22 ก.ย. 2006, 6:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(10) ธรรม 5 อย่าง ทำให้เสขบุคคลเสื่อม

1. ชอบทำงานก่อสร้าง (กมฺมารามตา)
2. ชอบคุย (ภสฺสารามตา)
3. ชอบนอน (นิทฺทารามตา)
4. ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ (สงฺคณิการามตา)
5. ไม่พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว (ยถาวิมุตฺตํ จิตฺตํ ปจฺจเวกฺขติ


(11) พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมดุจราชสีห์จับสัตว์

พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุทั้งหลายว่า "ราชสีห์เวลาออกหากิน เหลียวดูสี่ทิศบันลือสีหนาทเมื่อจับสัตว์ไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก จะจับอย่างแม่นยำ ไม่พลาด ฉันใด

ตถาคตก็เช่นเดียวกัน เวลาบันลือสีหนาทคือแสดงธรรม ไม่ว่าแสดงแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ปุถุชน โดยที่สุดแม้คนขอทานหรือพรานนก ก็แสดงโดยเคารพ เพราะตถาคตเป็นผู้หนักในธรรม เคารพในธรรม"


(12) ธรรมเป็นเหตุให้อายุสั้น อายุยืน 5 ประการ

1. ไม่ทำความสบายแก่ตนเอง
2. ไม่รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย
3. บริโภคอาหารที่ย่อยยาก
4. เป็นคนทุศีล
5. คบมิตรชั่ว

(เหตุทำให้อายุยืนพึงทราบโดยนัยตรงกันข้าม)


(13) ทุกข์ของสมณะ 5 ประการ

1. ไม่สันโดษในจีวรตามมีตามได้
2. ไม่สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้
3. ไม่สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้
4. ไม่สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัช (ยารักษาโรค) ตามมีตามได้
5. ไม่ประพฤติพรหมจรรย์


(14) คนหลับน้อยตื่นมาก 5 จำพวก

1. สตรีผู้คิดถึงบุรุษ
2. บุรุษผู้คิดถึงสตรี
3. โจรผู้มุ่งลักทรัพย์
4. พระราชาผู้ทรงบริหารราชกิจ
5. ภิกษุผู้มุ่งบรรลุธรรมปราศจากกิเลส


(15) อานิสงส์การฟังธรรม 5 ประการ

1. ได้ฟังสิ่งที่ไม่เคยฟัง
2. สิ่งที่เคยฟังแล้ว เข้าใจชัดเจนขึ้น
3. บรรเทาความสงสัยได้
4. ทำความเห็นให้ถูกต้อง
5. จิตย่อมผ่องใส


(16) โทษ 5 ประการของคนดุจป่าช้า

1. มีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมไม่สะอาด ดุจป่าช้าที่สกปรก

2. เสียชื่อเสียงเพราะความชั่วนั้น ดุจป่าช้าที่มีกลิ่นเหม็น

3. ผู้มีศีลหลีกเขาห่างไกลเพราะกลัวภัย ดุจป่าช้าที่คนหลีกห่างไกล

4. ผู้ทุศีลนั้นย่อมอยู่ร่วมกับคนทุศีลเช่นตน ดุจป่าช้าเป็นที่อยู่ของสัตว์ร้าย

5. ผู้ทุศีลนั้นเป็นที่รำพึงรำพัน (ด้วยความสงสาร) ของผู้ทรงศีล ดุจป่าช้าเป็นที่รำพันทุกข์ของคนทั้งหลาย


2.6 ฉักกนิบาต ประชุมข้อธรรม 6 ข้อ ขอยกมาแสดงพอเป็นตัวอย่างดังนี้

(1) คารวะ 6

1. เคารพในพระศาสดา (สัตถุคารวตา)
2. เคารพในพระธรรม (ธัมมคารวตา)
3. เคารพในพระสงฆ์ (สังฆคารวตา)
4. เคารพในการศึกษา (สิกขาคารวตา)
5. เคารพในความไม่ประมาท (อัปปมาทคารวตา)
6. เคารพในการปฏิสันถาร (ปฏิสันถารคารวตา)


(2) สาราณียธรรม 6

1. ทำด้วยเมตตา (เมตตากายกรรม)
2. พูดด้วยเมตตา (เมตตาวจีกรรม)
3. คิดด้วยเมตตา (เมตตามโนกรรม)
4. มีอะไรแบ่งกันกินกันใช้ (สาธารณโภคี)
5. มีความประพฤติเข้ากันได้ (สีลสามัญญตา)
6. มีความคิดเห็นเข้ากันได้ (ทิฏฐิสามัญญตา)


(มีต่อ 43)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ย. 2006, 6:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(3) พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ที่หากินทางฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เช่น ฆ่าปลา ฆ่าโคขาย ไม่เจริญด้วยโภคทรัพย์ ไม่ได้ครอบครองกองโภคสมบัติ ยิ่งผู้ที่ฆ่ามนุษย์ด้วยกัน ยิ่งจะหาความเจริญไม่ได้ ตายไปย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก


(4) มูลเหตุแห่งการวิวาท 6 ประการ

1. มักโกรธ ผูกโกรธ
2. ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอ
3. ตระหนี่ ริษยา
4. โอ้อวด มารยา
5. ปรารถนาลามก มีความเห็นผิด
6. ยึดมั่นความคิดเห็นของตน


(5) พระพุทธเจ้าตรัสว่า คนทั่วไปเห็นสัตว์ใหญ่ เช่นช้าง เป็นต้น ก็มักเรียกว่า "นาค" สำหรับพระองค์แล้ว ทรงเห็นว่าคนที่ทำความชั่วทางกาย วาจา ใจ เท่านั้นจึงเรียกว่า "นาค"

พระกาลุทายี ผู้นั่งฟังพระพุทธดำรัสอยู่จึงกล่าวเสริมว่า "พระองค์ทรงเป็น" "นาค" (ช้าง) แท้จริง มีโสรัจจะ และอวิหิงสา เป็นเท้าหน้า มีตบะและพรหมจรรย์ เป็นเท้าหลัง มีศรัทธาเป็นงวง มีอุเบกขาเป็นงาขาวงาม มีสติ เป็นคอ มีปัญญาเป็นเศียร มีการสอดธรรมเป็นปลายงวง มีธรรมเผากิเลสเป็นท้อง มีวิเวกเป็นหาง มีความยินดีในฌานสมาบัติเป็นลมหายใจ "นาค" เช่นนี้จะยืนมั่นคงนอนก็มั่นคง สำรวมในทวารทั้งปวง"


(6) ทุกข์ของบ้านผู้บริโภคกาม 6 อย่าง

1. ความจน เป็นทุกข์ในโลก
2. การกู้หนี้ยืมสิน เป็นทุกข์ในโลก
3. การรับใช้ดอกเบี้ย เป็นทุกข์ในโลก
4. การถูกทวงหนี้สิน เป็นทุกข์ในโลก
5. การถูกตามตัว เป็นทุกข์ในโลก
6. การถูกจองจำ เป็นทุกข์ในโลก


(7) ทุกข์ในความหมายทางธรรม 6

1. ผู้ไม่มีศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา คือคนจน
2. ผู้นั้นทำความชั่วทางกาย วาจา ใจ คือการกู้หนี้
3. ทำชั่วแล้วนึกภาวนาขออย่าให้คนอื่นรู้ คือการเสียดอกเบี้ย
4. ผู้มีศีลอื่นๆ กล่าวตำหนิการกระทำของเขา คือการถูกทวงหนี้
5. ความชั่ว ความเดือดร้อนติดตัวเขาไปทุกหนทุกแห่ง คือการถูกตามตัว
6. สิ้นชีพแล้วถูกจองจำในนรกบ้าง ในกำเนิดสัตว์เดรัจฉานบ้าง คือการถูกจองจำ


(8) ความต้องการไม่เหมือนกันของคน 6 อย่าง

1. กษัตริย์ต้องการความเป็นใหญ่ในแผ่นดิน (ปฐวีอภินิเวสอิสฺสริยปริโยสานา)

2. พราหมณ์ต้องการเกิดในพรหมโลก (เข้าถึงพรหมัน) (พรฺหฺมโลกปริโยสานา)

3. คฤหบดีต้องการความสำเร็จในธุรกิจการงาน (นิฏฺฐิตกมฺมนฺตปริโยสานา)

4. สตรีต้องการความเป็นใหญ่ในเรือนไม่มีสตรีอื่นร่วมสามี (ไม่ต้องการให้สามีมีภรรยาน้อย) (อสปตีภินิเวสอิสฺสริยปริโยสานา)

5. โจรต้องการความมืดไม่มีใครเห็น (อนฺธการาภินิเวสอทสฺสนปริโยสานา)

6. สมณะต้องการพระนิพพาน (นิพฺพานปริโยสานา)


(9) พลังของพระตถาคต 6 ประการ

1. ทรงรู้ฐานะและอฐานะ (สิ่งที่เป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ (ฐานาฐานญาณ)

2. ทรงรู้ผลแห่งการกระทำทั้งอดีตอนาคตและปัจจุบัน (กัมมวิปากญาณ)

3. ทรงรู้ความเศร้าหมอง ผ่องแผ้ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สนธิ และสมาบัติ (ฌานาทิสังกิเลสสาทิญาณ)

4. ทรงรู้ระลึกชาติได้ (ปุพเพนิวาสานุสติญาณ)

5. ทรงได้ทิพยจักษุ (จุตูปปาตญาณ)

6. ทรงทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติไม่มีอาสวะ (อาสวักขยญาณ)


2.7 สัตตกนิบาต ประชุมข้อธรรม 7 ข้อ ขอยกมาเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้

(1) อปริหานิยธรรม 7 ของภิกษุ

1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์

2. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจสงฆ์

3. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติ ไม่ล้มล้างสิ่งที่ทรงบัญญัติไว้

4. เคารพนับถือภิกษุผู้เป็นใหญ่ เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก รับฟังโอวาทของท่าน

5. ยินดีในเสนาสนะป่า

6. ไม่ลุอำนาจตัณหา (ความอยาก) ที่เกิดขึ้น

7. ตั้งสติระลึกไว้ในใจว่า ขอให้เพื่อนพรหมจารีผู้ทรงศีล จงมาอยู่ด้วยกันอย่างผาสุก


(2) อปริหานิยธรรม 7 ของภิกษุอีกนัยหนึ่ง

1. ไม่เพลินการงาน
2. ไม่เพลินการคุย
3. ไม่เพลินการนอน
4. ไม่เพลินการคลุกคลีหมู่คณะ
5. ไม่ตกอยู่ในอำนาจความปรารถนาลามก
6. ไม่มีมิตรชั่ว
7. ไม่นิ่งนอนใจในระหว่างเพราะได้บรรลุคุณวิเศษเพียงขั้นต้นๆ


(3) กัลยาณมิตตธรรม 7 ประการ

1. น่ารัก (ปิโย)
2. น่าเคารพ (ครุ)
3. น่ายกย่อง มีคุณธรรมควรเอาอย่าง (ภาวนีโย)
4. รู้จักพูด (รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ) (วตฺตา)
5. อดทนต่อถ้อยคำ (รับฟังการปรึกษา ซักถาม ไม่เบื่อ) (วจนกฺขโม)
6. กล่าวชี้แจงเรื่องต่างๆ ได้ลึกซึ้ง (คมฺภีรฺญจ กถํ กตฺตา)
7. ไม่ชักจูงศิษย์ไปในทางเสื่อมเสีย (โน จฏฺฐาเน นิโยชเย)


(มีต่อ 44)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ย. 2006, 6:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(4) วิธีแก้ง่วง 7 ประการ

1. คิดถึงสัญญา คือ ทบทวนความทรงจำในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
2. พิจารณาความรู้ ได้แก่ ตรึกตรองวิชาความรู้ที่ได้เล่าเรียนมา
3. สาธยายมนต์ คือ ท่องหนังสือดังๆ
4. เอานิ้วยอนหู เอามือลูบตัวไปมา
5. ลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างหน้าล้างตา เหลียวมองรอบทิศ
6. เดินจงกรม คือ เดินกลับไปกลับมา
7. สำเร็จสีหไสยาสน์ คือ นอนตะแคงขวา เอาเท้าเหลื่อมกัน ตั้งสติไว้ก่อนหลับ


(5) ภรรยา 7 ประเภท

1. ภรรยาเยี่ยงเพชฌฆาต (วธกาภริยา)
2. ภรรยาเยี่ยงโจร (โจรีภริยา)
3. ภรรยาเยี่ยงนาย (อยฺยาภริยา)
4. ภรรยาเยี่ยงมารดา (มาตาภริยา)
5. ภรรยาเยี่ยงน้องสาว (ภคินีภริยา)
6. ภรรยาเยี่ยงเพื่อน (สขีภริยา)
7. ภรรยาเยี่ยงนางทาสี (ทาสีภริยา)


(6) สัปปุริสธรรม 7 ประการ

1. รู้เหตุ (ธมฺมญฺญุตา)
2. รู้ผล (อตฺถญฺญุตา)
3. รู้ตน (อตฺตญฺญุตา)
4. รู้ประมาณ (มตฺตญฺญุตา)
5. รู้กาล (กาลญฺญุตา)
6. รู้บริษัท (ปริสญฺญุตา)
7. รู้บุคคล (ปุคฺคลญฺญุตา)


(7) พระพุทธเจ้าตรัสว่า "โดยล่วงไปแห่งกาลนานนับได้หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี จะมีสมัยซึ่งฝนไม่ตก พืชต้นไม้ใบหญ้าจะเหี่ยวแห้งตายไม่มีเหลือ โดยล่วงไปแห่งกาลอันยาวนาน ก็จะถึงสมัยที่พระอาทิตย์ปรากฏขึ้น 2 ดวง 3 ดวง 4 ดวง 5 ดวง 6 ดวง 7 ดวง มหาปฐพีนี้และขุนเขาสิเนรุจะลุกไหม้มีเปลวไฟพุ่งขึ้นถึงพรหม"


2.8 อัฏฐกนิบาต ประชุมข้อธรรม 8 ข้อ ขอยกมาพอเป็นตัวอย่างดังนี้

(1) อานิสงส์เมตตา 8

1. หลับเป็นสุข (สุขํ สุปติ)
2. ตื่นก็เป็นสุข (สุขํ ปฏิพุชฺฌติ)
3. ไม่ฝันร้าย (น ปาปิกํ สุปินํ ปสฺสติ)
4. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย (มนุสฺสานํ ปิโย โหติ)
5. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย (อมนุสฺสานํ ปิโย โหติ)
6. เทวดาพิทักษ์รักษา (เทวตา รกฺขนฺติ)
7. ไฟ ยาพิษ ศัสตรา มิกล้ำกราย (นาสฺส อคฺคิ วา วิสํ วา สตฺถํ วา กมติ)
8. ตายไปเกิดในพรหมโลก (พรฺหมฺโลกูปโค โหติ)


(2) คุณสมบัติของทูต 8 ประการ

1. รู้จักฟัง (โสตา)
2. รู้จักทำให้ผู้อื่นฟัง (สาเวตา)
3. เรียนรู้อยู่เสมอ (อุคคฺเหตา)
4. ความจำดี (ธาเรตา)
5. รู้แจ่มแจ้ง (วิญฺญาตา)
6. ให้ผู้อื่นรู้แจ่มแจ้ง (วิญฺญาเปตา)
7. ฉลาดในประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ (กุสโล สหิตาหิตสฺส)
8. ไม่ชวนทะเลาะ (โน จ กลหการโก)

ตรัสว่า พระสารีบุตรมีคุณสมบัติ 8 ประการนี้


(3) ชาย-หญิง ผูกใจกันด้วยอาการ 8 อย่าง

1. ด้วยรูปร่าง (รูเปน)
2. ด้วยการยิ้ม (หลิเตน)
3. ด้วยคำพูด (ภณิเตน)
4. ด้วยเพลงขับ (คีเตน)
5. ด้วยการร้องไห้ (โรณฺเณน)
6. ด้วยอากัปกิริยา (อากปฺเปน)
7. ด้วยของกำนัล (วนภงฺเคน)
8. ด้วยสัมผัส (ผสฺเสน)


(4) ความอัศจรรย์ของพระธรรมวินัยเปรียบกับมหาสมุทร 8 ประการ

1. ในพระธรรมวินัยนี้มีการศึกษา การปฏิบัติและการตรัสรู้ไปตามลำดับ เบื้องต้นจนลึกซึ้งตามลำดับ เปรียบเหมือนมหาสมุทรค่อยลุ่ม ค่อยลาด ค่อยลึกลงตามลำดับ

2. เหล่าสาวกไม่ล่วงละเมิดข้อบัญญัติที่ตราไว้ แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต เปรียบเหมือนมหาสมุทรมีลักษณะคงตัวไม่ล้นฝั่ง

3. พระธรรมวินัยนี้ไม่เก็บคนทุศีลไว้ เปรียบเหมือนมหาสมุทรไม่เก็บซากศพไว้ มีแต่ซัดเข้าหาฝั่ง

4. พระธรรมวินัยนี้เป็นที่รวมคนในวรรณะทั้ง 4 ไม่ว่ามาจากวรรณะไหน ย่อมทิ้งชื่อโคตรเดิมหมด เหลือแต่ชื่อ "สมณศากยบุตร" เปรียบเหมือนมหาสมุทรเป็นที่ไหลมารวมแห่งแม่น้ำทั้งหลาย และเมื่อไหลมาถึงมหาสมุทรก็ละชื่อเดิมทั้งหมด

5. แม้ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงลับไปมากต่อมาก ก็ไม่ปรากฏว่าพระธรรมวินัยนี้พร่อง หรือล้นเปรียบเหมือนมหาสมุทรไม่ปรากฏพร่อง หรือล้นฉะนั้น

6. พระธรรมวินัยนี้มีรสเดียว คือวิมุติเป็นรส เปรียบเหมือนมหาสมุทรมีรสเค็มอย่างเดียว

7. พระธรรมวินัยนี้มีรัตนะมากมาย เช่น สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 เป็นต้น เปรียบเหมือนมหาสมุทรมีรัตนะมากมาย เช่น มุกดา ไพฑูรย์ เป็นต้น

8. พระธรรมวินัยนี้เป็นที่อาศัยอยู่ของคนสำคัญๆ เช่น พระโสดาบัน พระสกทาคามี เป็นต้น

เปรียบเหมือนมหาสมุทรเป็นที่อาศัยของสัตว์ใหญ่ เช่น ปลาติมิติมิงคละ เป็นต้น


(มีต่อ 45)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 02 ต.ค.2006, 10:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(5) คุณสมบัติของอุบาสก 8 ประการ

1. ตนมีศรัทธา ชักชวนให้ผู้อื่นมีศรัทธา

2. ตนมีศีล ชักชวนให้ผู้อื่นมีศีล

3. ตนมีจาคะ ชักชวนให้ผู้อื่นมีจาคะ

4. ตนใคร่เพื่อเห็นพระภิกษุ ชักชวนให้ผู้อื่นใคร่เพื่อเห็นภิกษุ

5. ตนทรงจำธรรม ชักชวนให้ผู้อื่นทรงจำธรรม

6. ตนพิจารณาอรรถแห่งธรรมที่ฟัง ชักชวนให้คนอื่นให้พิจารณาอรรถแห่งธรรม

7. ตนรู้ทั่วแห่งธรรมที่พิจารณา ชักชวนผู้อื่นให้รู้ทั่วถึงธรรมที่พิจารณา

8. ตนรู้แล้วปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรม ชักชวนผู้อื่นให้ปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรม


(6) พลัง 8 ประการ

1. ทารกมีการร้องไห้เป็นพลัง
2. มาตุคาม (ผู้หญิง) มีความโกรธเป็นพลัง
3. โจรมีอาวุธเป็นพลัง
4. พระราชามีความเป็นใหญ่ (อำนาจ) เป็นพลัง
5. คนพาลมีการเพ่งโทษคนอื่นเป็นพลัง
6. บัณฑิตมีการเพ่งโทษตนเองเป็นพลัง
7. ผู้คงแก่เรียนมีการพิจารณาเป็นพลัง
8. สมณพราหมณ์มีขันติเป็นพลัง


(7) สัปปุริสทาน (การให้ทานอย่างสัตบุรุษ) 8 ประการ

1. ให้ของสะอาด (สุจึ เทติ)
2. ให้ของประณีต (ปณีตํ เทติ)
3. ให้เหมาะแก่กาล (กาเลน เทติ)
4. ให้ของควร (กปฺปิยํ เทติ)
5. ให้ด้วยวิจารญาณ (วิเจยฺย เทติ)
6. ให้เป็นประจำ (อภิณฺหํ เทติ)
7. เมื่อให้จิตผ่องใส (ททํ จิตฺตํ ปสาเทติ)
8. ให้แล้วเบิกบานใจ (ทตฺวา อตฺตมโน โหติ)


(8) ลักษณะตัดสินธรรมวินัย 8 ประการ

1. ธรรม (คำสอน) เหล่าใดเป็นไปเพื่อคลายกำหนัด (วิราคาย)
2. เพื่อหมดเครื่องผูกรัด (วิสํโยคาย)
3. เพื่อไม่พอกพูนกิเลส (อปจยาย)
4. เพื่อความมักน้อย (อปฺปิจฺฉตาย)
5. เพื่อความสันโดษ (สนฺตุฏฺฐิยา)
6. เพื่อความสงัด (ปวิเวกาย)
7. เพื่อปรารถนาความเพียร (วิริยารมฺภาย)
8. เพื่อเป็นคนเลี้ยงง่าย (สุภรตาย)

คำสอนเหล่านั้นพึงรู้ว่าเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุสาสน์


(9) พระนามของพระตถาคต

พระพุทธเจ้าตรัสว่า คำเหล่านี้ก็เป็นพระนามของพระตถาคต คือ สมณะ (ผู้สงบ) พราหมณ์ (ผู้ลอยปาบ) เวทคู (ผู้จบพระเวท) ภิสักกะ (หมอ) นิมมล (บริสุทธิ์) วิมละ (บริสุทธิ์) ญาณี (ผู้ทรงญาณ) วิมุตตะ (ผู้พ้นแล้ว)


(10) โจรมีพฤติกรรม 8 ประการ อยู่ได้ไม่นาน

1. ทำร้ายผู้มิได้ทำร้าย (อปหรนฺตสฺส ปหรติ)
2. ขโมยของไม่เหลือ (อนวเสสํ อาทิยติ)
3. ฉุดคร่าสตรี (อิตฺถึ หรติ)
4. ข่มขืนหญิงสาว (กุมารึ ทูเสติ)
5. ปล้นนักบวช (ปพฺพาชิตํ วิลุมฺปติ)
6. ปล้นพระคลังหลวง (ราชโกสํ วิลุมฺปติ)
7. หากินใกล้ถิ่นตนเกินไป (อจฺจาสนฺเน กโรติ)
8. ไม่รู้จักที่ซ่อนทรัพย์สิน (น จ นิธานกุสโล โหติ)


(มีต่อ 46)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 09 ต.ค.2006, 6:47 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

2.9 นวกนิบาต ประชุมข้อธรรม 9 ข้อ ขอยกมาแสดงพอเป็นตัวอย่างดังนี้

(1) สอุปาทิเสสบุคคล 9 ประเภท

1. อันตราปรินิพพายี (พระอนาคามี ผู้มีศีล สมาธิบริบูรณ์ มีปัญญาพอประมาณ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ได้)

2. อุปหัจจปรินิพพายี (พระอนาคานี ผู้มีศีล สมาธิบริบูรณ์ มีปัญญาพอประมาณ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ได้)

3. อสังขารปรินิพพายี (พระอนาคามี ผู้มีศีล สมาธิสมบูรณ์ มีปัญญาพอประมาณ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ได้)

4. สสังขารปรินิพพายี (พระอนาคามี ผู้มีศีล สมาธิบริบูรณ์ มีปัญญาพอประมาณ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ได้)

5. อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี (พระอนาคามี ผู้มีศีล สมาธิบริบูรณ์ มีปัญญาพอประมาณ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ได้)

6. พระสกทาคามี (ผู้ศีลบริบูรณ์ มีสมาธิและปัญญาพอประมาณ มีราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง)

7. เอกพีชี (พระโสดาบันผู้มีศีลบริบูรณ์ มีสมาธิและปัญญา พอประมาณ ละสังโยชน์ 3 ได้ จักเกิดอีกครั้งเดียว ก็จักบรรลุอรหัต)

8. โกลังโกละ (พระโสดาบัน ผู้มีศีลบริบูรณ์ มีสมาธิและปัญญาพอประมาณ ละสังโยชน์ 3 ได้เกิดอีก 2-3 ครั้ง ก็จักบรรลุอรหัต)

9. สัตตักขัตตุปรมะ (พระโสดาบันผู้มีศีลบริบูรณ์ มีสมาธิและปัญญาพอประมาณ ละสังโยชน์ 3 ได้ เกิดอีกอย่างมาก 7 ครั้ง ก็จักบรรลุอรหัต)


(2) สิ่งที่มีรากเหง้ามาจากตัณหา (ตัณหามูลธรรม) 9 ประการ

1. มีตัณหา (ความยาก)

2. เมื่อแสวงหาก็ได้มา (ลาภะ)

3. เมื่อได้มาแล้วก็ได้มีการกะกำหนด (วินิจฉัย)

4. เมื่อมีการกะกำหนด ก็มีความรักใคร่พอใจ (ฉันทราคะ)

5. เมื่อมีความรักใคร่พอใจ ก็มีความฝังใจ (อัชโฌสานะ)

6. เมื่อมีความฝังใจ ก็มีความหวงแหน (ปริคคหะ)

7. เมื่อมีความหวงแหน ก็มีความตระหนี่ (มัจฉริยะ)

8. เมื่อมีความตระหนี่ ก็มีความปกป้อง (อารักขา)

9. เมื่อมีการปกป้อง ก็มีการถือไม้, มีด, การทะเลาะ, แก่งแย่ง, ขึ้นมึงกู, ส่อเสียด, มุสาวาท อกุศลธรรมทั้งหลายก็เกิดมีขึ้น


(3) พราหมณ์ผู้ถือลัทธิโลกายัต 2 คน ไปทูลถามพระพุทธเจ้า เจ้าลัทธิชื่อปูรณะกัสสปะกับเจ้าลัทธิชื่อนิครนถ์นาฏบุตร ต่างก็อ้างว่าตนเป็นสัพพัญญู (รู้สิ่งทั้งปวง) เป็นสัพพทัสสาวี (เห็นสิ่งทั้งปวง) รู้เห็นโลกไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยญาณไม่มีที่สุด ทั้งสองท่านนี้ใครพูดเท็จ ใครพูดจริง

พระพุทธเจ้าตรัสว่า ใครจะพูดเท็จ ใครจะพูดจริงชั่งเถอะ เราจะแสดงให้ท่านฟังดีกว่า

"บุรุษ 4 คน มีฝีเท้าเร็วอย่างยิ่ง ออกวิ่งหาที่สุดโลกไม่พักเลย แม้มีอายุถึง 100 ปี ก็จะตายเสียก่อนถึงที่สุดโลก ในอริยวินัย คำว่า "โลก" หมายถึงกามคุณ 5 คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันน่าใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวนให้กำหนัด ภิกษุผู้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ได้รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 และสัญญาเวทยิตนิโรธ สิ้นอาสวะ ภิกษุนี้แหละจึงจะเรียกว่า ถึงที่สุดโลก"


2.10 ทสกนิบาต ประชุมข้อธรรม 10 ข้อ ขอยกมาเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้

(1) นาถกรณธรรม (ธรรมที่สร้างที่พึ่งแก่ตน) 10 อย่าง

1. ความประพฤติดีงาม (ศีล)

2. มีการศึกษาเล่าเรียนมาก (พาหุสัจจะ)

3. คบเพื่อนที่ดี (กัลยาณมิตตตา)

4. เป็นคนว่าง่าย ฟังเหตุฟังผล (โสวจัสสตา)

5. เอาใจใส่ขวนขวายในกิจการน้อยใหญ่ของหมู่คณะ (กึกรณีเยสุ ทักขตา)

6. ใฝ่ในธรรม (ธัมมกามตา)

7. ขยันหมั่นเพียร (วิริยารัมภะ)

8. สันโดษ ภูมิใจในผลสำเร็จที่เกิดจากความพยายาม (สันตุฏฐี)

9. สติ ระลึกการที่ทำคำที่พูด ไม่ประมาท (สติ)

10. ปัญญา มีเหตุมีผล รู้จักคิดพิจารณา (ปัญญา)

นาถกรณธรรม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พาหุการธรรม (ธรรมมีอุปการะหรือมีประโยชน์มาก) บ้าง สาราณียธรรมบ้าง


(2) ตถาคตพลญาณ 10 ประการ

1. ปรีชาหยั่งรู้สิ่งที่เป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ (ฐานานานญาณ)

2. ปรีชาหยั่งรู้ผลแห่งการกระทำทั้งอดีตและปัจจุบัน (กัมมวิปากญาณ)

3. ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง (สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ)

4. ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ (นานาธาตุญาณ)

5. ปรีชาหยั่งรู้ความโน้มเอียงและความถนัดแห่งบุคคล (นานาธิมุติกญาณ)

6. ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งหรือหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งปวง (อินทริยปโรปริยัตตญาณ)

7. ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมองความผ่องแผ้ว การออกแห่งฌาน สมาธิ และสมาบัติ (ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ)

8. ปรีชาหยั่งรู้ชาติหนหลังได้ (ปุพเพนิวาสานุสติญาณ)

9. ปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย (จุตูปปาตญาณ)

10. ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย (อาสวักขยญาณ)

บางแห่งเรียก "ทศพลญาณ" โปรดเทียบกับตถาคต 6 ในฉักกนิบาต


(3) พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงมีความนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ จะทรงก้มลงจุมพิตพระยุคลบาท เมื่อพระพุทธองค์ตรัสถามว่า ทำไมมหาบพิตรจึงทรงแสดงความนอบน้อมต่อตถาคตอย่างยิ่ง ได้กราบทูลว่า เพราะพระองค์ทรงประกอบด้วยคุณธรรม 10 ประการ คือ

1. ทรงปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนหมู่มาก ทรงประดิษฐานชนหมู่มากไว้ในกัลยาณธรรมในกุศลธรรม

2. ทรงศีล

3. ทรงถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เสพเสนาสนะอันสงัด

4. ทรงสันโดษด้วยปัจจัย 4 ตามมีตามได้

5. ทรงเป็นผู้ควรคำนับ ของต้อนรับ ของควรทำบุญ ควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอันประเสริฐของโลก

6. ทรงมีถ้อยคำขัดเกลากิเลส

7. ทรงได้ฌาน 4 ตามปรารถนา

8. ทรงระลึกชาติได้

9. ทรงมีทิพยจักษุ

10. ทรงทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ

โปรดเทียบกับข้อความในโกศลสังยุตต์ด้วย


(มีต่อ 47)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 09 ต.ค.2006, 6:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(4) วัตถุประสงค์ที่ทรงบัญญัติพระวินัย 10 ประการ

1. เพื่อความเรียบร้อยดีงามแห่งสงฆ์ (สงฺฆสุฏฐุตาย)

2. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์ (สงฺฆผาสุตาย)

3. เพื่อกำจัดคนหน้าด้าน (ทุมฺมงฺกูนํ ปุคฺคลานํ นิคฺคหาย)

4. เพื่อความผาสุกแห่งภิกษุผู้มีศีลอันดีงาม (เปสลานํ ภิกฺขูนํ ผาสุวิหาราย)

5. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน (ทิฏฺฐธมฺมิกานํ อาสวานํ สํวราย)

6. เพื่อบำบัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต (สมฺปรายิกานํ อาสวานํ ปฏิฆาตาย)

7. เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส (อปฺปสนฺนานํ ปสาทาย)

8. เพื่อให้ชุมชนที่เลื่อมใสแล้วเลื่อมใสยิ่งขึ้น (ปสนฺนานัง ภิยฺโยภาวาย)

9. เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม (สทฺธมฺมฏฺฐิติยา)

10. เพื่อสนับสนุนความมีระเบียบวินัย (วินยานุคฺคหาย)

ข้อ 1 และ 2 เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์หรือส่วนรวม ข้อ 3 และ 4 เพื่อประโยชน์แก่บุคคล

ข้อ 5 และ 6 เพื่อประโยชน์แก่ความบริสุทธิ์แห่งชีวิตทั้งทางกายและใจ ข้อ 7 และ 8 เพื่อประโยชน์แก่ประชาชน ข้อ 8 และ 10 เพื่อประโยชน์แก่ตัวพระศาสนาเอง


(5) พระพุทธเจ้าตรัสสอนอุบาสกชาวสักกชนบทว่า ผู้มีรายได้วันละ 2 กหาปณะ จนถึง 1,000 กหาปณะ เก็บทรัพย์ที่ได้มานั้น ก็จะมีทรัพย์มากมาย ควรกล่าวว่ามีความฉลาด มีความขยันแต่ถึงแม้เขาจะมีอายุถึง 100 ปี เขาจะได้เสวยสุขโดยส่วนเดียว สักวันหนึ่ง คืนหนึ่ง หรือครึ่งวันก็ยังไม่แน่ แต่สาวกของ พระองค์ไม่ประมาทบำเพ็ญเพียรอย่าว่าแต่ 10 ปีเลย เพียงหนึ่งคืนหนึ่งวัน ก็สามารถเสวยสุขเป็นร้อยปี เป็นหมื่นปี เป็นแสนปีได้ และได้เป็นพระโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี


(6) กถาวัตถุ (เรื่องที่ควรพูดคุยกัน) 10 ประการ

1. เรื่องเกี่ยวกับความมักน้อย (อัปปิจฉกถา)

2. เรื่องเกี่ยวกับความสันโดษ (สันตุฏฐิกถา)

3. เรื่องเกี่ยวกับความสงัดวิเวก (ปวิเวกกถา)

4. เรื่องเกี่ยวความไม่คลุกคลี (อสังสัคคกถา)

5. เรื่องเกี่ยวกับความขยันหมั่นเพียร (วิริยารัมภกถา)

6. เรื่องเกี่ยวกับศีล (สีลกถา)

7. เรื่องเกี่ยวกับสมาธิ (สมาธิกถา)

8. เรื่องเกี่ยวกับปัญญา (ปัญญากถา)

9. เรื่องเกี่ยวกับวิมุติ (วิมุตติกถา)

10. เรื่องเกี่ยวกับความรู้เห็นวิมุติ (วิมุตติญาณทัสสนกถา)


(7) สิ่งที่เป็นเสี้ยนหนาม 10 ประการ

1. ความคลุกคลีด้วยหมู่ เป็นเสี้ยนหนามของผู้ชอบความสงัด

2. การชอบมองในแง่สวยงาม เป็นเสี้ยนหนามของผู้ประกอบอสุภนิมิต (ผู้ปฏิบัติอสุภกรรมฐาน)

3. การดูการละเล่น เป็นเสี้ยนหนามของผู้สำรวมอินทรีย์

4. การเข้าใกล้สตรี เป็นเสี้ยนหนามของพรหมจรรย์

5. เสียง เป็นเสี้ยนหนามของฌานที่ 1

6. วิตก วิจาร เป็นเสี้ยนหนามของฌานที่ 2

7. ปีติ เป็นเสี้ยนหนามของฌานที่ 3

8. ลมหายใจ เป็นเสี้ยนหนามของฌานที่ 4

9. สัญญา (ความกำหนดหมาย) เวทนา (ความรู้สึกสุขทุกข์) เป็นเสี้ยนหนามของการเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ

10. ราคะ โทสะ เป็นเสี้ยนหนามทั่วๆ ไป (น่าจะรวม โมหะ ด้วย)


(8) กามโภคี (ผู้บริโภคกาม) 10 พวก

1. พวกหนึ่งแสวงหาทรัพย์โดยผิดธรรม ไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข, ไม่แจกจ่ายแบ่งปันทำบุญ

2. พวกหนึ่งแสวงหาทรัพย์โดยผิดธรรม เลี้ยงตนให้เป็นสุข แต่ไม่แจกจ่ายแบ่งปันทำบุญ

3. พวกหนึ่งแสวงหาทรัพย์โดยผิดธรรม เลี้ยงตนให้เป็นสุข และแจกจ่ายแบ่งปันทำบุญ

4. พวกหนึ่งแสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรมบ้าง ผิดธรรมบ้าง ไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข ไม่แจกจ่ายแบ่งปันทำบุญ

5. พวกหนึ่งแสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรมบ้าง ผิดธรรมบ้าง เลี้ยงตนให้เป็นสุข แต่ไม่แจกจ่ายแบ่งปันไม่ทำบุญ

6. พวกหนึ่งแสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรมบ้าง ผิดธรรมบ้าง เลี้ยงตนให้เป็นสุข ทั้งแจกจ่ายแบ่งปันทำบุญ

7. พวกหนึ่งแสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม ไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข ไม่แจกจ่ายแบ่งปันไม่ทำบุญ

8. พวกหนึ่งแสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม เลี้ยงตนเองให้เป็นสุข แต่ไม่แจกจ่ายแบ่งปันไม่ทำบุญ

9. พวกหนึ่งแสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม เลี้ยงตนเองให้เป็นสุข ทั้งแจกจ่ายแบ่งปันทำบุญ

10. พวกหนึ่งแสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม เลี้ยงตนเองให้เป็นสุข แจกจ่ายแบ่งปัน ทำบุญ ไม่สยบ มัวเมา หมกมุ่น ในโภคทรัพย์เหล่านั้น รู้เท่าทันเห็นโทษ มีปัญญาทำตนให้เป็นอิสระเป็นนายเหนือโภคทรัพย์


(9) เถรธรรม คุณธรรมที่ทำให้เป็นพระผู้ใหญ่ 10 ประการ

1. เป็นผู้ใหญ่ บวชนาน มีประสบการณ์มาก (เถโร รตฺตญฺญู)

2. มีศีลเคร่งครัด (สีลวา)

3. เป็นพหูสูต (พหุสฺสุโต)

4. ทรงจำปาติโมกข์ได้ดี รู้หลักวินัยดี (สฺวาคตปาติโมกฺโข)

5. ฉลาดในการระงับอธิกรณ์ (อธิกรณสมุปฺปาทวูปสมกุสโล)

6. ใฝ่ธรรม (ธมฺมกาโม)

7. สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ (สนฺตุฏฺโฐ)

8. มีอากัปกิริยาน่าเลื่อมใส (ปาสาทิโก)

9. ได้ฌาน (ฌานลาภี)

10. บรรลุเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ สิ้นอาสวะ (อนาสวเจโตวิมุตฺติปญฺญาวิมุตฺติ)


(มีต่อ 48)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 04 พ.ย.2006, 7:16 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(10) สัมมัตตะ (ภาวะที่ถูก ความเป็นสิ่งที่ถูก) 10 ประการ

1. เห็นชอบ (สัมมาทิฐิ)

2. ดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ)

3. เจรจาชอบ (สัมมาวาจา)

4. กระทำชอบ (สัมมากัมมันตะ)

5. เลี้ยงชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ)

6. พยายามชอบ (สัมมาวายามะ)

7. ระลึกชอบ (สัมมาสติ)

8. ตั้งใจมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ)

9. หยั่งรู้ชอบ (สัมมาญาณะ)

10. หลุดพ้นชอบ (สัมมาวิมุติ)


2.11 เอกาทสกนิบาต ประชุมข้อธรรม 11 ข้อ ขอยกมาเป็นตัวอย่างดังนี้

(1) อานิสงส์เมตตาเจโตวิมุติ (เมตตาที่เป็นฌาน) 11 ประการ

1. หลับเป็นสุข

2. ตื่นเป็นสุข

3. ไม่ฝันร้าย

4. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย

5. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย

6. เทวดาพิทักษ์รักษา

7. ไฟ ยาพิษ ศัสตรา ไม่กล้ำกราย

8. จิตเป็นสมาธิเร็ว

9. ผิวหน้าผ่องใส

10. ไม่หลงตาย (ตายด้วยจิตสงบ)

11. ถ้าไม่บรรลุธรรมสูงขึ้นไป ก็จะเข้าสู่พรหมโลก

เทียบกับอานิสงส์เมตตา 8 ในอัฏฐกนิบาต ข้อความเหมือนกัน ในที่นี้เพิ่มขึ้น 8, 9, 10 เข้ามา


3. ข้อสังเกตบางประการและจุดที่ควรเน้น

3.1 ข้อที่ควรคำนึง คือ พุทธศาสนาเป็นหน้าที่ของ "พุทธบริษัท" ที่จะพึงรับผิดชอบร่วมกันในด้านความเป็นอยู่ พระสงฆ์และคฤหัสถ์ต่างอาศัยซึ่งกันและกัน (อญฺโญญฺญนิสฺสิตา) คฤหัสถ์อำนวยความสะดวกทางด้านอามิส พระสงฆ์อำนวยธรรมทาน ในด้านปฏิบัติ ทุกคนเป็น "สหธรรมิก" คือปฏิบัติธรรมร่วมกัน โดยมีเมตตากรุณาเป็นคุณธรรมเชื่อมประสาน อุบาสก อุบาสิกา มีบทบาทสำคัญไม่น้อยไปกว่าบรรพชิต จะเห็นได้จากปรินิพพาน พระองค์ทรงพิจารณาฐานะของพระพุทธศาสนาว่ามั่นคงแล้ว จึงตัดสินพระทัยปรินิพพาน

เงื่อนไขที่ทำให้พระพุทธศาสนามั่นคงอย่างหนึ่งในหลายอย่างคือ ฝ่ายคฤหัสถ์พร้อมที่จะปกป้องพระพุทธศาสนา ตราบใดที่อุบาสกอุบาสิกาไม่พร้อมด้านนี้ พระพุทธศาสนาจะมั่นคงไม่ได้ เพราะฉะนั้นควรคำนึงว่า การฝากพระพุทธศาสนาไว้ในความรับผิดชอบของพระสงฆ์ฝ่ายเดียว ชาวบ้านไม่เกี่ยว นั้นไม่ถูกต้อง ดูตัวอย่างจากการตั้ง "เอตตทัคคะ" มีทั้งพระเถระ พระเถรี อุบาสก อุบาสิกา แต่ละท่านที่ยกมานี้ ล้วนมีบทบาทในการเผยแผ่ ปกป้อง อุ้มชูพระพุทธศาสนาในด้านต่างๆ ตามความสามารถของตน จึงควรศึกษาประวัติของท่านเหล่านี้โดยละเอียด (อ่านหนังสือ พุทธานุพุทธประวัติ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สาวกนิพพาน ของพระธรรมโกศาจารย์ Dictionary of Pali Proper Names โดย ดร.มาลาลา เสเกร่า) โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพุทธองค์ตรัสว่า

"ถ้าใครอยากเป็นอุบาสกที่ดีให้เอาอย่าง จิตตะคฤหบดี กับ หัตถกะอุบาสก ถ้าอยากออกบวชให้เอาอย่างพระสารีบุตร กับ พระโมคคัลลานะ ส่วนในหมู่อุบาสิกาก็ให้เอาอย่างนางขุชชุตตรากับนางนันทมาตา ถ้าออกบวชให้เอาอย่างนางอุบลวรรณา กับนางเขมา"

สมัยพุทธกาลท่านที่เอ่ยนามมานี้คงมีบทบาทมาก แต่ปัจจุบันบางท่านชาวพุทธไม่คุ้นนามนี้เท่าที่ควรจึงควรศึกษาประวัติของท่านโดยละเอียด

3.2 กตัญญุตา และกตเวทิตา (หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า กตัญญูกตเวที) เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าเป็นเครื่องหมายของคนดี ดังพระวจนะว่า นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา (เป็นพระนิพนธ์ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ มิใช่พุทธดำรัส แต่ถือว่าเป็นพระพุทธพจน์) ในพระบาลีจริงๆ เรียกคุณธรรม 2 ข้อนี้ว่า เป็น "ภูมิ" หรือพื้นของคนดี (ภูมิ เว สปฺปุริสานํ กตญฺญูกตเวทิตา) ถ้าปราศจากคุณธรรมทั้ง 2 นี้ จะเป็นคนดีไปไม่ได้ พระพุทธศาสนาเน้นในเรื่องนี้มาก

ในแง่การประยุกต์ใช้นั้นถ้าแปล กตัญญูว่าผู้รู้คุณ ของคนอื่นและสิ่งอื่นที่มีคุณต่อเรา ก็จะกว้างขึ้น จะช่วยให้คนเราเห็นคุณประโยชน์และมีคุณต่อมนุษย์ ไม่ใช่เฉพาะคนเท่านั้น หากรวมถึงสัตว์และทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย

3.3 พระสูตรที่มีชื่อและเป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงผู้ศึกษาพระพุทธศาสนาสูตรหนึ่ง คือ เกสปุตตสูตร (หรือกาลามสูตร) มีบันทึกไว้ในติกนิบาต อังคุตรนิกาย พระไตรปิฏกเล่ม 10 ข้อ 505 พระสูตรนี้นอกจากจะให้หลักกว้างๆ ว่าชาวพุทธที่ดีต้องใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบเสียก่อนจึงเชื่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วยังบอกมาตรฐานการตัดสินความดี (กุศล) ความชั่ว (อกุศล) อีกด้วย สาระของกาลามสูตรมิใช่อยู่ที่จะต้องเชื่อหรือไม่เชื่ออะไร แต่อยู่ที่ควรจะเชื่อหรือไม่เชื่ออย่างไรมากกว่า เป็นการให้บทบาทแก่ปัญญาทำหน้าที่ของมันอย่างเต็มที่

3.4. อีกสูตรหนึ่งที่น่าสนใจ คือ โรณสูตร มีข้อความสั้นๆ แต่กินใจคือ "ภิกษุทั้งหลายการขับร้องคือการร้องไห้ในวินัยของอริยเจ้า การฟ้อนรำคือการเป็นบ้า ในวินัยของพระอริยเจ้า การหัวเราะจนเห็นฟันเต็มปากคือความเป็นเด็กในวินัยของพระอริยเจ้า" เพราะฉะนั้นจึงควรเลิกเด็ดขาดซึ่งการขับร้อง ฟ้อนรำ เมื่อมีความเบิกบานในธรรม ก็เพียงแต่ยิ้มแย้มก็พอ

พระสูตรนี้เตือนสติคนสองระดับคือ ระดับชาวบ้าน ก็เตือนสติว่าอย่าได้หลงระเริงสนุกสนานในการฟ้อนรำขับร้องจนเกินไป "รำที่ไหน ขับร้องที่ไหนไปที่นั่น ดีดสีตีเป่าที่ไหนไปที่นั่น เสภาที่ไหนไปที่นั่น เพลงที่ไหนไปที่นั่น เถิดเทิงที่ไหนไปที่นั่น" ท่านว่าเป็นอบายมุข เพราะสิ่งที่ชาวโลกเขาเรียกว่าความสุขความสนุกสนานนั้น ในสายตาของพระอริยเจ้าแล้วก็คืออาการเยี่ยงทารกผู้ไร้เดียงสาเดี๋ยวก็หัวเราะ เดี๋ยวก็ร้องไห้ หรือกิริยาอาการของคนบ้านั่นเอง

สำหรับพระสงฆ์ ผู้ปฏิญาณตนงดเว้นอากัปกิริยาของชาวบ้านหมดแล้ว ถ้ายังประพฤติเช่นชาวบ้านอยู่ ก็ไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง พระสูตรนี้จึงเตือนบรรพชิตทั้งหลายให้รู้จักสำรวมปฏิบัติตนให้เป็นที่เจริญศรัทธาปสาทะของประชาชน อย่าได้ทำให้พระศาสนาเต็มไปด้วย "การร้องไห้ หรือหัวเราะบ้าคลั่ง" เป็นที่สลดสังเวชแก่วิญญูชน


(มีต่อ 49)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 04 พ.ย.2006, 8:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

3.5 ข้อที่ควรสังเกตในอังคุตตรนิกายอย่างหนึ่ง คือ การประมวลหลักธรรมเรื่องเดียวกัน บางครั้งจำนวนองค์ประกอบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงไม่เท่ากัน ในการนำออกไปใช้หรือปฏิบัติจะเอาหมวดไหนก็คงจะได้ เพราะองค์ประกอบที่เพิ่มเข้ามา ก็ลงรอยกันหรือเสริมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของอุบาสกมี 7 ก็มี 8 ก็มี ตถาคตพลญาณมี 6 ก็มี 10 ก็มี อานิสงส์เมตตา 8 ก็มี 11 ก็มี เป็นต้น

3.6 มารดาบิดา เป็นบุคคลผู้มีบุญคุณสูงสุดของมนุษย์ เป็นที่เคารพสูงสุด ในบาลีบางแห่งกล่าวว่ามารดาบิดา มีฐานะเป็นพรหมของบุตร เป็นบูรพาจารย์เท่านั้น ในอังคุตตรนิกายได้ระบุฐานะสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเป็น "อาหุไนย" ของบุตรด้วย คำว่าอาหุไนย เป็นชื่อของพระอริยบุคคลโดยสูงสุดหมายเอาพระอรหันต์ เพราะฉะนั้น ถ้าจะกล่าวว่ามารดาบิดาก็คือ "พระอรหันต์ของบุตร" ก็ไม่เป็นการกล่าวผิดแต่ประการใด ในยุคสมัย "อรหันตนิยม" อย่างปัจจุบัน คนที่ชอบเดินทางไปไหว้ (ผู้ที่ตนคิดว่าเป็น) อรหันต์ตามที่ต่างๆ ก็เป็นการเจริญศรัทธาปสาทะดีอยู่ แต่ถ้าจะสนใจไหว้ "พระอรหันต์ในบ้าน" ก่อน ก็จะเป็นการดียิ่งขึ้น

3.7 อังคุตตรนิกาย ให้แง่คิดธรรมมากมาย รวมถึงความรู้รอบตัวที่น่าสนใจอีกด้วยเช่น ทูตที่ดีต้องมีคุณสมบัติอย่างไร นักการค้าที่ดีต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ทำอย่างไรจึงอายุยืนแม้กระทั่งโจรที่หากินไม่ยืดเพราะอะไร

3.8 วิธีอธิบายธรรม ใช้อุปมาอุปไมย ทำให้เข้าใจชัดเจนขึ้น เช่น

- เปรียบพระบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา เหมือนชาวนาปรับพื้นที่นา หว่านกล้า และไขน้ำ

- เปรียบสามีภรรยา คนหนึ่งดีอีกคนหนึ่งไม่ดี เหมือนศพอยู่กับเทพ (หรือผีกับเทวดา) ถ้าดีสองคนก็เหมือนเทพอยู่กับเทพ ถ้าเลวทั้งคู่เหมือนผีอยู่กับผี

- เปรียบคนดีกับคนชั่วอยู่ห่างไกลกันเหมือนฟ้ากับดิน ฝั่งนี้กับฝั่งโน้น พระอาทิตย์ขึ้นกับพระอาทิตย์ตก

-เปรียบคนล้มเหลวทั้งทางโลกและทางธรรมเหมือนคนตาบอด คนประสบความสำเร็จทางการดำรงชีวิตแต่ไร้ศีลเหมือนคนตาเดียว คนที่สมบูรณ์ทั้งสองด้านเหมือนคนสองตา

- เปรียบคนดีแต่พูด แต่ไม่ทำเหมือนฟ้าร้องฝนไม่ตก คนทำด้วยพูดด้วยเหมือนฟ้าร้องฝนตกด้วย

- เปรียบการฝึกคนเหมือนการฝึกม้า ใช้ทั้งวิธีละมุนละม่อม และวิธีรุนแรง

- เปรียบคนโกรธง่ายหายเร็วเหมือนรอยขีดบนดิน คนโกรธง่ายหายช้าเหมือนรอยขีดบนแผ่นหิน คนไม่มักโกรธเหมือนรอยขีดในน้ำ

- เปรียบผู้นำมีคุณธรรมและปราศจากคุณธรรมเหมือนโคจ่าฝูงพาลูกฝูงข้ามน้ำไปตรงหรือคด

- เปรียบคนไม่มีคุณธรรมเหมือนคนจน คนทำชั่วเหมือนการกู้หนี้ คนทำชั่วแล้วปกปิดไว้ เหมือนการเสียดอกเบี้ย คนทำชั่วถูกนินทาตำหนิเหมือนถูกทวงหนี้ คนทำชั่วได้รับความร้อนใจเหมือนถูกตามตัว คนทำชั่วได้ผลกรรมเหมือนคนเป็นหนี้ถูกฟ้องร้อง และตัดสินจำคุก

3.9 คำว่า "โลก" ในอังคุตตรนิกายนี้ให้ความหมายไว้ 2 นัย คือ นัยหนึ่งบอกว่า โลกคือร่างกายยาววาหนาคืบ "ทรงบัญญัติโลก การเกิดแห่งโลก การดับโลกและทางให้ถึงความดับโลก ที่ร่างกายยาววาหนาคืบ" อีกแห่งหนึ่งบอกว่า โลก หมายถึงกามคุณทั้ง 5 แต่เมื่อเพ่งโดยความหมายแล้ว ไม่แตกต่างกัน

3.10 ในติกนิบาตอังคุตตรนิกาย ข้อ 517 พูดถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดใหม่ 3 ประการ คือ กรรม วิญญาณ ตัณหา กรรมเปรียบเหมือนที่นา วิญาณเปรียบเหมือนพืช ตัณหาเปรียบเหมือนยางเหนียวในพืช ทั้ง 3 อย่างนี้รวมเป็นองค์ประกอบอันเดียวกัน เรียกว่า "คันธัพพะ" ซึ่งจะต้องมีองค์ประกอบทางรูปธรรมอีก 2 รวมเป็น 3 องค์ประกอบคือ

- มารดาบิดาร่วมกัน

- มารดามีไข่สุกพร้อมที่จะผสม

- คันธัพพะ (ปฏิสนธิวิญญาณ, กรรม, ตัณหา) ปรากฏพร้อม (โปรดดู อินทกสูตร สัง.ส.15/801-803 ประกอบ)

3.11 เคล็ดลับของการเป็นปราชญ์ หรือสูตรแห่งการเรียนรู้ที่ทำให้คนเป็นพหูสูต มี 5 อย่าง (ต้องผ่านขั้นตอนทั้ง 5 ตามลำดับจึงจะเรียก พหูสูต) คือ

- ฟังมาก (รวมถึงการอ่านมาก รวบรวมข้อมูลได้มาก)

- จำมาก (จำหลักการใหญ่ๆ ได้)

- คล่องปาก (ท่องจนคล่องไม่ลืมไม่หลง)

- เจนใจ (คิดจนเกิดภาพขึ้นในใจ)

- ขบได้ด้วยทฤษฎี (นำข้อมูลต่างๆ ที่ได้ศึกษามาคิดพิจารณาได้ข้อสรุปเป็นของตน หรือสร้างแนวคิดใหม่ๆ ขึ้นมา สามารถประยุกต์ใช้อย่างได้ผลดี) การเรียนที่ไม่ค่อยได้ผล ก็เพราะทำไม่ครบกระบวนการ ไม่ครบขั้นตอนทั้ง 5 ข้างต้น


(มีต่อ 50)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ย.2006, 10:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย


1. โครงสร้างขุททกนิกาย

ขุททกนิกาย

ขุททกปาฐกะ ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะ สุตตนิบาต (25)

วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา (26)

ชาดก (27-28) นิเทศ (29-30) ปฏิสัมภิทามรรค (31) อปทาน พุทธวังสะ จริยาปิฎก (32-33)

2. เนื้อหาสาระ

2.1 ขุททกปาฐะ ว่าด้วยบทสำหรับสวด ซึ่งแต่งเป็นพระสูตรสั้นๆ แบ่งออกเป็น 8 ส่วนคือ

(1) สรณคมนะ กล่าวถึงบทสวดถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก 3 ครั้ง

(2) ทสสิกขาบท ว่าด้วยสิกขาบท หรือศีลของสามเณร 10 ข้อ

(3) อาการ 32 คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้เล็ก อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร มันสมอง

(4) ปัญหาของสามเณร 10 ข้อ ถามว่าอะไรชื่อ หนึ่ง สอง สาม...จนถึง สิบ คำตอบมีซ้ำกับทสกนิบาตอังคุตตรนิกาย คือ 1 ข้อ ได้แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ได้ด้วยอาหาร 2 ข้อ ได้แก่นามกับรูป 3 ข้อ ได้แก่เวทนา 3 4 ข้อ ได้แก่อริยสัจ 4 5 ข้อ ได้แก่ อุปาทานขันธ์ 5 6 ข้อ ได้แก่อายตนะภายใน 6 7 ข้อ ได้แก่โพชฌงค์ 7 8 ข้อ ได้แก่มรรคมีองค์ 8 9 ข้อ ได้แก่ สัตตาวาส 9 10 ข้อ ได้แก่พระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ 10

(5) มงคลสูตร พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาว่า คุณธรรมที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญหรือ "มงคลชีวิต" มี 38 ประการ มีการไม่คบคนพาล คบบัณฑิต บูชาคนที่ควรบูชา เป็นต้น

(6) รตนสูตร เป็นบทสวดมนต์พรรณนาคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ แล้วอ้างสัจวาจาว่าด้วยการกล่าวความจริงดังกล่าวข้างต้น ขอให้สวัสดีมงคลจงเกิดมี

(7) ติโรกุฑฑกัณฑ์ เป็นเรื่องพรรณนาถึง "เปรต" (ผู้ล่วงลับไปแล้ว) ว่าญาติพี่น้องอุทิศส่วนกุศลไปให้ย่อมสำเร็จแก่ผู้ล่วงลับเหล่านั้นโดยสมควรแก่ฐานะ

(8) นิธิกัณฑ์ ว่าด้วยขุมทรัพย์ ขุมทรัพย์ภายนอก เช่น เงินทอง ที่บุคคลฝังไว้ในดิน อาจถูกคนขุดไป หรือ ดินเลื่อนเคลื่อนที่ หรือฝังไว้แล้วลืมที่ฝัง เมื่อสิ้นบุญ ทรัพย์เหล่านั้นก็พินาศสูญหายไปส่วนทรัพย์ภายในคือบุญ ไม่มีใครช่วงชิงไปได้ เป็นของติดตัวผู้กระทำไปเสมอ

(9) กรณียเมตตสูตร พรรณนาถึงการแผ่เมตตาไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายโดยไม่เจาะจง ขอให้มีความสุขปราศจากเวรภัยโดยทั่วกัน


2.2 ธัมมปทคาถา หรือธรรมบท เป็นการประมวลบทกวีบรรยายธรรมมีข้อความลึกซึ้ง กินใจ ภาษากวีไพเราะ เข้าใจง่าย และข้อธรรมก็สามารถนำไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน มีทั้งหมด 423 คาถา แบ่งเป็น 26 วรรค เพื่อประโยชน์แก่การศึกษา ขอคัดมาลงไว้ ณ ที่นี้เพียงบางส่วน (ผู้ปรารถนาจะทราบโดยละเอียดโปรดอ่าน "พุทธวจนะในธรรมบท" แปลพากย์ไทยและอังกฤษ โดยผู้บรรยาย)

ขอนำบทกวีบางบทมาให้อ่านพอเป็นตัวอย่าง ดังนี้

(1) ใจเป็นผู้นำทุกสิ่งทุกอย่าง ใจเป็นใหญ่ ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ ถ้าคนเรามีใจบริสุทธิ์ การพูดการทำก็พลอยบริสุทธิ์ไปด้วย เพราะการพูดการทำอันบริสุทธิ์นั้น ความสุขย่อมตามสนองเขาเหมือนเงาติดตามตน

(2) แต่ไหนแต่ไร ในโลกนี้ เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่ระงับด้วยการไม่จองเวร นี้เป็นกฎตายตัว

(3) สามัญชนมักนึกไม่ถึงว่า ตนกำลังฉิบหายเพราะการทะเลาะวิวาทกัน ส่วนผู้ที่รู้ข้อเท็จจริงนี้ย่อมไม่ทะเลาะกัน

(4) ผู้ใดเห็นสิ่งไร้สาระว่าเป็นสาระ เห็นสิ่งเป็นสาระว่าไร้สาระ เขามีความคิดผิดเสียแล้ว ย่อมไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ

(5) คนที่ท่องจำตำราไว้มากแต่มัวประมาทเสีย ไม่ปฏิบัติตามคำสอน ย่อมไม่ได้รับผลที่พึงได้จากการออกบวช เหมือนเด็กเลี้ยงโคนับโคให้คนอื่นเขา

(6) ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย ผู้ไม่ประมาทไม่มีวันตาย ผู้ประมาทถึงมีชีวิตอยู่ ก็เหมือนคนตายแล้ว

(7) ยศย่อมเจริญแก่คนขยัน มีสติ มีการงานสะอาด ทำงานด้วยความรอบคอบระมัดระวัง เป็นอยู่โดยชอบธรรม ไม่ประมาท

(8) ผู้มีปัญญา มักไม่ประมาท เมื่อคนส่วนมากพากันประมาท และตื่นเมื่อคนส่วนมากพากันหลับอยู่ เขาจะละทิ้งคนเหล่านั้นไปไกล เหมือนม้าฝีเท้าเร็ว วิ่งเลยม้ากระจอก

(9) จิตดิ้นรน กลับกลอก ป้องกันยาก ห้ามยาก คนมีปัญญาสามารถทำให้ตรงได้ เหมือนช่างศรดัดลูกศร

(10) อีกไม่นาน ร่างกายนี้จักปราศจากวิญญาณ ถูกทอดทิ้งทับถมแผ่นดิน เหมือนท่อนไม้อันหาประโยชน์มิได้

(11) มารดาก็ทำให้ไม่ได้ บิดาก็ทำให้ไม่ได้ ญาติพี่น้องก็ทำให้ไม่ได้ แต่จิตที่ฝึกฝนไว้ชอบ ย่อมทำสิ่งนั้นให้ได้ และทำให้ได้อย่างประเสริฐด้วย

(12) ภมรดอมดมบุปผชาติที่หอมหวน และมีสีสดสวยไม่ให้ชอกช้ำ ดูดรสหวานแล้วบินจากไปมุนีเจ้าก็พึงเที่ยวไปในบ้านดุจเดียวกัน

(13) ไม่ควรแส่หาความผิดของผู้อื่น หรือธุระที่เขาทำแล้วหรือยังไม่ทำ ควรตรวจดูแต่สิ่งที่ตนทำแล้ว หรือยังไม่ทำเท่านั้น

(14) ราตรีนานสำหรับคนนอนไม่หลับ ระยะทางโยชน์หนึ่งไกลสำหรับคนเมื่อยล้า สังสารวัฏยาวนานสำหรับคนพาล ผู้ไม่รู้พระสัทธรรม


(มีต่อ 51)
 


แก้ไขล่าสุดโดย สาวิกาน้อย เมื่อ 05 พ.ย.2006, 2:30 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ย.2006, 2:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(15) คนโง่มัวคิดวุ่นวายว่า เรามีบุตร เรามีทรัพย์ ก็เมื่อตัวเขาเองก็มิใช่ของเขา บุตรและทรัพย์จะเป็นของเขาได้อย่างไร

(16) คนโง่รู้ตัวว่าโง่ ยังพอมีทางฉลาดได้บ้าง แต่โง่แล้วอวดฉลาด นั้นแหละเรียกว่าคนโง่แท้

(17) คนพาลได้ความรู้มาเพื่อทำลายตนถ่ายเดียว ความรู้นั้นทำลายคุณความดีของเขาสิ้น ทำให้มันสมองเขาตกต่ำไป

(18) ทางหนึ่งแสวงหาลาภ ทางหนึ่งไปนิพพาน รู้อย่างนี้แล้ว ภิกษุพุทธสาวกไม่ควรไยดีลาภสักการะ ควรอยู่อย่างสงบ

(19) ชาวนาไขน้ำเข้านา ช่างศรดัดลูกศร ช่างไม้ถากไม้ บัณฑิตฝึกตน

(20) ขุนเขาย่อมไม่สะเทือนเพราะแรงลมฉันใด บัณฑิตก็ไม่หวั่นไหวเพราะนินทา หรือสรรเสริญฉันนั้น

(21) ห้วงน้ำลึก ใส สะอาด สงบ ฉันใด บัณฑิตฟังธรรมแล้วย่อมมีจิตใจสงบ ฉันนั้น

(22) ผู้เดินถึงจุดหมายปลายทางแล้ว วิมุติหลุดพ้นโดยประการทั้งปวง หมดโศก หมดเครื่องผูกพันแล้ว ความร้อนใจก็หมดไป

(23) พระอรหันต์เป็นอิสระเพราะรู้แจ้ง สงบระงับ และมีจิตใจมั่นคง ใจของท่านย่อมสงบ วาจาก็สงบการกระทำทางกายก็สงบ

(24) ไม่ว่าจะเป็นบ้าน หรือป่า ไม่ว่าที่ลุ่มหรือดอน พระอรหันต์ทั้งหลายอยู่ ณ ที่ใด ที่นั่นเป็นที่รื่นรมย์

(25) บทกวีที่บรรยายธรรมบทเดียว ที่ทำให้ผู้ฟังได้รับความสงบ ประเสริฐกว่าบทกวีที่ท่องจำได้ตั้งพันโศลก แต่ไม่มีประโยชน์แม้แต่บทเดียว

(26) ชนะตนเองดีกว่าชนะข้าศึกเป็นพันๆ ในสงคราม คนเช่นนี้นับว่าเป็น "ยอดขุนพล" แท้

(27) ผู้มีศีล สมาธิ มีชีวิตอยู่วันเดียว ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปีของผู้ทุศีล ไร้สมาธิ

(28) พึงเร่งทำความดีและป้องกันจิตจากความชั่ว เพราะถ้ากระทำความดีช้าไป จิตใจจะกลับยินดีในความชั่ว

(29) อย่าดูถูกความชั่วเล็กน้อยว่าจะไม่เผล็ดผล น้ำตกจากเวหาทีละหยาดๆ ยังเต็มตุ่มได้ คนพาลทำความชั่วทีละเล็กละน้อย ก็ย่อมเต็มด้วยความชั่วเช่นกัน

(30) เมื่อไม่มีแผล คนย่อมจับต้องยาพิษได้ ยาพิษไม่สามารถทำอันตรายได้ บาปก็ไม่มีแก่ผู้ไม่ทำบาปเช่นกัน

(31) ไม่ว่าบนท้องฟ้า ไม่ว่าท่ามกลางมหาสมุทร ไม่ว่าในหุบเขา ไม่มีแม้แต่ที่เดียวที่ผู้ทำกรรมชั่วอาศัยอยู่ จะหนีพ้นกรรมไปได้

(32) สัตว์ทั้งหลายกลัวโทษทัณฑ์ สัตว์ทั้งหลายรักชีวิตตนเอง เปรียบตนเองกับคนอื่นอย่างนี้แล้วก็ไม่ควรฆ่าหรือสั่งให้ฆ่าผู้อื่น

(33) ความแก่และความตาย ไล่ต้อนอายุสัตว์ทั้งหลายไป เหมือนเด็กเลี้ยงโคต้อนฝูงโคไปสู่ที่หากิน

(34) จะมัวร่าเริงสนุกสนานกันไปทำไม ในเมื่อโลกกำลังลุกเป็นไฟอยู่เนืองนิตย์ พวกเธอถูกความมืดมิดปิดบังอยู่ฉะนี้ ไยไม่แสวงหาแสงสว่างกันเล่า

(35) คนโง่ย่อมแก่เปล่าเหมือนโคถึก มากแต่เนื้อหนังมังสา แต่ปัญญาหาเพิ่มขึ้นไม่

(36) เมื่ออยู่ในวัยหนุ่มสาว ไม่ทำตัวให้ดี และไม่หาทรัพย์ไว้ พอถึงวัยแก่เฒ่าพวกเขาย่อมนอนเป็นทุกข์ ทอดถอนใจรำพึงถึงความหลัง เหมือนธนูหัก (ใช้ยิงอะไรก็ไม่ได้)

(37) สอนคนอื่นอย่างใดควรทำตนอย่างนั้น ฝึกตนเองได้แล้วค่อยฝึกคนอื่น เพราะตัวเองฝึกได้แสนยาก

(38) คนทุศีลก็เหมือนต้นไม้ที่เถาวัลย์ขึ้นจนรก เขาทำตัวเองให้วอดวาย มิจำต้องรอให้ศัตรูมาคอยกระทำให้

(39) สูเจ้าทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ อันวิจิตรตระการตาดังราชรถทรง ณ ที่นี้แหละเหล่าคนโง่พากันหมกอยู่ แต่ผู้รู้หาข้องอยู่ไม่

(40) โลกนี้มืดมน น้อยคนจักเห็นแจ้ง น้อยคนจักไปสวรรค์ เหมือนนกติดข่าย น้อยตัวจะหลุดรอดไปได้

(41) พระยาหงส์เหินฟ้าไปหาพระอาทิตย์ ผู้มีฤทธิ์เหาะเหินเดินอากาศ นักปราชญ์ออกไปจากโลกเพราะเอาชนะมารพร้อมทั้งกองทัพ

(42) ถึงแม้เงินจะไหลมาดั่งห่าฝน ความอยากของคนก็หาอิ่มไม่ กามวิสัยมีความสุขน้อย มากไปด้วยทุกข์ รู้ดังนี้แล้ว สาวกพระพุทธเจ้าย่อมไม่ยินดีกามารมณ์แม้ที่เป็นทิพย์ หากแต่ยินดีในทางสิ้นกิเลสตัณหา

(43) บุรุษอาชาไนยหาได้ยาก เขาไม่เกิดในที่ทั่วไป คนฉลาดเช่นนั้นเกิดในตระกูลใด ตระกูลนั้นย่อมรุ่งเรืองด้วยความสุข

(44) ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมเป็นทุกข์ ผู้ละได้ทั้งความชนะและความแพ้ มีจิตใจสงบนั้นแหละเป็นสุข

(45) ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง ความรู้จักพอเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง ความไว้วางใจกันเป็นญาติอย่างยิ่ง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

(46) พยายามในสิ่งที่ไม่ควรพยายาม ไม่พยายามในสิ่งที่ควรพยายาม ละเลยสิ่งที่เป็นประโยชน์ คนเช่นนี้ก็ได้แต่ริษยาคนที่พยายามช่วยตนเอง

(47) อย่าติดในสิ่งที่รัก หรือไม่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ การพบเห็นแต่สิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์

(48) ที่ใดมีรักที่นั่นมีโศก ที่ใดมีรักที่นั่นมีภัย เมื่อไม่มีความรักเสียแล้วโศกภัยก็ไม่มี

(49) ผู้ใดยับยั้งความโกรธที่เกิดขึ้นไว้ได้เหมือนสารถีหยุดรถที่กำลังแล่น ผู้นั้นเราเรียกว่าสารถี ส่วนคนนอกนั้นได้ชื่อเพียงคนถือเชือก

(50) พึงเอาชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ เอาชนะความร้ายด้วยความดี เอาชนะคนตระหนี่ด้วยการให้ เอาชนะคนพูดพล่อยด้วยคำสัตย์

(51) อตุละเอย เรื่องนี้มีมานานแล้ว มิใช่เพิ่งจะมีในยุคปัจจุบัน อยู่เฉยๆ เขาก็นินทา พูดมาก เขาก็นินทา พูดน้อยเขาก็นินทา ไม่มีใครในโลกที่ไม่ถูกนินทา ไม่ว่าอดีต ปัจจุบัน คนที่ถูกสรรเสริญหรือนินทาโดยส่วนเดียว ไม่มี

(52) คนมีปัญญาควรขจัดมลทินของตนทีละน้อยๆ ทุกๆ ขณะโดยลำดับ เหมือนนายช่างทองปัดเป่าสนิมแร่ทอง

(53) จงรู้เถิดบุรุษผู้เจริญเอย ความชั่วร้ายมิใช่สิ่งที่พึงจะควบคุมได้ง่ายๆ ขอความโลกและความชั่วช้า อย่าได้ฉุดกระชากเธอไปหาความทุกข์ตลอดกาลนานเลย

(54) ไม่มีไฟใดเสมอไฟราคะ ไม่มีเคราะห์ใดเสมอโทสะ ไม่มีข่ายดักสัตว์ใดเสมอโมหะ ไม่มีแม่น้ำใดเสมอตัณหา


(มีต่อ 52)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 12 พ.ย.2006, 6:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(55) โทษคนอื่นเห็นง่าย โทษของตนเห็นยาก คนเรามักเปิดเผยโทษคนอื่นเหมือนโปรยแกลบปิดบังโทษของตนเหมือนนักเลงเต๋าโกงซ่อนลูกเต๋า

(56) เพียงมีผมหงอกยังไม่นับว่าเถระ เขาแก่แต่วัยเท่านั้น คนเช่นนี้เรียกว่าแก่เปล่า

(57) พวกเธอจงพยายามทำความเพียรเสียแต่บัดนี้ ตคาคตเป็นเพียงผู้ชี้บอกทางเท่านั้น ผู้ที่เดินทางสายนี้ (อริยมรรคมีองค์แปด) โดยปฏิบัติภาวนา ก็จะพ้นจากบ่วงมาร

(58) ปัญญาเกิดเพราะการตั้งใจพินิจ เสื่อมไปเพราะไม่ตั้งใจพินิจ เมื่อรู้ทางเจริญและทางเสื่อมของปัญญาแล้ว ควรทำตนโดยวิถีทางที่ปัญญาจะเจริญ

(59) บุตรก็ป้องกันไม่ได้ บิดาหรือพวกพ้องก็ป้องกันมิได้ คนเราเมื่อถึงคราวจะตายหมู่ญาติก็ป้องกันไม่ได้

(60) ผู้ใดปรารถนาสุขเพื่อตนโดยการก่อทุกข์ให้คนอื่น ผู้นั้นมักเกี่ยวพันด้วยเวรไม่รู้จบสิ้น ไม่มีทางพ้นทางเวรไปได้

(61) การสละโลกียวิสัยออกบวชก็ยาก การยินดีในบรรพชาก็ยาก การครองเรือนเป็นทุกข์ การอยู่ร่วมกับคนไม่เสมอกันก็เป็นทุกข์ การท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏก็เป็นทุกข์ เพราะฉะนั้น ไม่ควรท่องเที่ยวในสังสารวัฏและไม่ควรแส่หาทุกข์ใส่ตน

(62) คนดีย่อมปรากฏเด่นดุจขุนเขาหิมพานต์ คนไม่ดีถึงอยู่ใกล้ก็ไม่ปรากฏ เหมือนลูกศรที่เขายิงไปในราตรี

(63) สถานหนึ่งได้บาป สถานสองได้ภพชาติชั่วร้ายในอนาคต สถานสามทั้งคู่มีสุขชั่วแล่นแต่สะดุ้งใจเป็นนิตย์ สถานสี่พระราชาย่อมลงโทษอย่างหนัก เพราะฉะนั้นไม่ควรผิดภรรยาผู้อื่น

(64) ทำอะไรหละหลวมมีข้อปฏิบัติเศร้าหมอง ประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่เต็มใจ ปฏิปทาเช่นนั้นไม่เป็นไปเพื่อผลอันไพศาล

(65) เราจักอดทนต่อคำส่อเสียดของคนอื่น เหมือนพระยาคชสารในสนามรบ ทนต่อลูกศรที่ปล่อยออกไปจากคันธนู เพราะว่าคนโดยมากมีสันดานชั่ว

(66) ม้าอัสดร ม้าอาชาไนย จากลุ่มสินธุหรือพระยากุญชรที่ได้รับการฝึกปรือ นับเป็นสัตว์ประเสริฐ แต่บุคคลผู้ฝึกตนแล้วย่อมประเสริฐกว่านั้น

(67) คนกินจุ สะลึมสะลือ กลิ้งเกลือกไปมาบนที่นอน เหมือนสุกรที่เขาขุนให้อ้วนด้วยเศษอาหาร เป็นคนโง่ทึ่ม ย่อมเกิดไม่รู้จบสิ้น

(68) มีเพื่อนตายก็เป็นสุข ยินดีเท่าที่ตนหามาได้ก็เป็นสุข ทำบุญไว้ถึงคราวจะตายก็เป็นสุข ละทุกข์หมดได้ก็เป็นสุข

(69) เราขอบอกแก่ท่านทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายผู้มาชุมนุมกัน ณ ที่นี้ จงมีความเจริญ ขอให้ท่านทั้งหลายขุดรากเหง้าตัณหา เหมือนถอนรากหญ้ารก อย่าปล่อยให้มารรังควาญบ่อยๆ เหมือนกระแสน้ำพัดโค่นต้นอ้อ ฉะนั้น

(70) เหล่าสัตว์มีแต่โสมนัส ชุ่มชื้นด้วยรักเสน่หา ซาบซ่านในกามารมณ์ทั้งปวง พวกเขาใฝ่แสวงหาแต่ความสุขสันต์หรรษา ก็ต้องเกิดต้องแก่ร่ำไป

(71) ธรรมทานชนะการให้ทุกอย่าง รสพระธรรมชนะรสทั้งปวง ความยินดีในธรรมชนะความยินดีทุกอย่าง ความสิ้นตัณหาชนะทุกข์ทุกอย่าง

(72) จงปล่อยวางทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ไปให้ถึงที่สุดภพ เมื่อใจหลุดพ้นจากทุกอย่างแล้ว พวกเธอจะไม่มาเกิด จะไม่มาแก่อีกต่อไป

(73) ผู้ไม่ยึดมั่นโดยประการทั้งปวงว่า "กู" "ของกู" ไม่ว่าในรูปหรือนาม เมื่อไม่มีก็ไม่เศร้าโศก เขาผู้นั้นแหละเรียกได้ว่าเป็นภิกษุ

(74) ภิกษุผู้อยู่ด้วยเมตตา เลื่อมใสในพระศาสนา พึงบรรลุสภาวะอันสงบเป็นสุข และระงับสังขารทั้งหลาย

(75) ภิกษุ เธอจงวิดน้ำออกจากเรือนี้ เมื่อวิดน้ำออกหมดแล้ว เรือจักแล่นเร็ว ทำลายราคะ โทสะ โมหะ เสียแล้ว เธอจักไปถึงพระนิพพาน

(76) ถึงจะเป็นภิกษุหนุ่ม แต่อุทิศเพื่อพระพุทธศาสนา ท่านย่อมส่องโลกนี้ให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆ

(77) พระอาทิตย์สว่างกลางวัน พระจันทร์สว่างกลางคืน นักรบสง่างามเมื่อยามสวมเสื้อเกราะเตรียมรบ พราหมณ์สง่างามเมื่อเข้าฌาน พระพุทธเจ้าสง่างามทั้งกลางวันและกลางคืน


2.3 อุทาน ได้แก่คาถาที่พระพุทธองค์ ทรงเปล่งด้วยโสมนัส มีทั้งหมด 82 สูตร พุทธอุทานนี้มีปรากฏในที่อื่นด้วย เช่น ธรรมบท, สังยุตตนิกาย เป็นต้น ขอนำมาแสดงเพียงบางสูตร

(1) โพธิสูตร หลังจากตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้าประทับเสวยวิมุติสุขอยู่ใต้ต้นโพธิ์ 7 วัน ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาททั้งฝ่ายเกิดและฝ่ายดับ ทรงเปล่งพุทธอุทาน 3 คราว ในยามทั้ง 3 แห่งราตรี คือ ในปฐมยามทรงเปล่งอุทานว่า

"ในกาลใด ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้เพียรเพ่งพินิจอยู่ ในกาลนั้น

ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะรู้ธรรมพร้อมทั้งเหตุ" ในมัชณิมยามทรงเปล่งอุทานว่า

"ในกาลใด ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้เพียรเพ่งพินิจอยู่

ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป

เพราะได้รู้ความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย"

ในปัจฉิมยามทรงเปล่งอุทานว่า

"ในกาลใด ธรรมทั้งหลายปรากฏแห่งพราหมณ์ผู้เพียรเพ่งพินิจอยู่

พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารพร้อมทั้งเสนามารเสียได้

เหมือนดวงอาทิตย์อุทัยขึ้น กำจัดความมืด ส่องสว่างอยู่ในอากาศ ฉะนั้น"

(2) พาหิยสูตร พาหิยะเดินเรือไปค้าขาย เรือแตก เกาะแผ่นกระดานลอยไปขึ้นที่ท่าสุปปาระ ชาวบ้านนึกว่าเป็นพระอรหันต์ (เพราะเธอนุ่งเปลือกไม้) จึงให้ข้าวและน้ำ ภายหลังมีผู้เตือนสติ พาหิยะ รู้สึกตัวจึงเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พบพระองค์กำลังเสด็จบิณฑบาตอยู่ ทูลขอให้แสดงธรรมให้ฟัง พระองค์ตรัสว่าไม่ใช่เวลา พาหิยะรบเร้าให้แสดงจึงทรงแสดงธรรมสั้นๆ พาหิยะได้บรรลุอรหัตทันทีและขอบวช พระองค์ตรัสให้เขาไปหาบาตรและจีวร ขณะที่เดินเที่ยวหาอยู่ถูกแม่โคขวิดตาย พระพุทธองค์ตรัสว่า พาหิยะนิพพานแล้ว ได้ตรัสเปล่งพุทธอุทานว่า

"ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด นิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์ก็ไม่ปรากฏ พระจันทร์ก็ไม่ส่องสว่าง ความมืดก็ไม่มี เมื่อใดพราหมณ์ชื่อว่านุนีเพราะรู้อริยสัจด้วยตน เมื่อนั้นพราหมณ์นั้นหลุดพ้นจากรูป อรูป จากสุขและทุกข์"


(มีต่อ 53)
 


แก้ไขล่าสุดโดย สาวิกาน้อย เมื่อ 27 พ.ย.2006, 8:33 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 12 พ.ย.2006, 7:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(4) ธาตุสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่า นิพพานธาตุมี 2 อย่างคือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ และอนุอาทิเสสนิพพานธาตุ โดยอธิบายว่า "ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว มีประโยชน์ตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นแล้ว หลุดพ้นเพราะรู้ชอบ ภิกษุย่อมเสวยอารมณ์ที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่ เพราะอินทรีย์ทั้งห้าเหล่าใดยังไม่บุบสลาย อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านั้นยังตั้งอยู่นั้นเทียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันตขีณาสพ...หลุดพ้นเพราะรู้ชอบ เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น อันกิเลสตัณหา เป็นต้น ให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จักดับเย็น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี่เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ"

(5) สังฆาฏิสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่า ถึงภิกษุจะจับชายสังฆาฏิของพระองค์ เดินตามไปข้างหลัง ถ้าเธอมากด้วยความโลภจัด กำหนัดแรงกล้าในกาม มีจิตพยาบาท มีความคิดชั่วร้าย หลงลืมสติ จิตไม่ตั้งมั่น จิตหมุนไปผิด ไม่สำรวมอินทรีย์ ก็นับว่าอยู่ห่างพระองค์ แต่ถ้าภิกษุมีคุณสมบัติตรงข้ามจากที่กล่าวมา ถึงแม้เธอจะอยู่ห่างไกลพระองค์ตั้งร้อยโยชน์ ก็ชื่อว่าอยู่ใกล้พระองค์โดยแท้ เพราะเธอย่อมเห็นธรรม เมื่อเห็นธรรมก็ชื่อว่าเห็นพระพุทธองค์"

(6) พรหมสูตร พระองค์ตรัสว่า ตระกูลใดบูชาบิดามารดาในเรือนของตน ตระกูลนั้นชื่อว่ามีพระพรหม บุรพเทวดา บุรพาจารย์ อาหุไนยบุคคล (พระอรหันต์) คำว่าพรหม บุรพเทวดา บุรพาจารย์ อาหุไนยบุคคล เป็นชื่อเรียกบิดามารดา เพราะท่านทั้งสองเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นผู้ถนอมเลี้ยง เป็นผู้แสดงโลกนี้แก่บุตร


2.5 สุตตนิบาต ประชุมสูตรสั้นๆ เป็นคาถาล้วน (มีร้อยแก้วปนบ้างเล็กน้อย) มีทั้งหมด 70 สูตรแบ่งเป็น 5 วรรค ดังต่อไปนี้

ก. อุรควรรคที่ 1

(1) อุรคสูตร พระสูตรเปรียบด้วยงู (ลอกคราบ) กล่าวถึงภิกษุผู้ละกิเลสชั่วร้ายต่างๆ ได้ เช่น ราคะ ตัณหา มานะ วิตก เป็นต้น ย่อมละฝั่งนี้ไปถึงฝั่งโน้น (พระนิพพาน) ได้ เหมือนงูลอกคราบเก่าทิ้งไปฉะนั้น

(2) ธนิยสูตร เป็นคำโต้ตอบระหว่างคนเลี้ยงโคชื่อธนิยะกับพระพุทธเจ้า ถ้อยคำโต้ตอบน่าสนใจ นายธนิยะมองโลกในแง่โลกียะ หรือคิดอย่างชาวโลก แต่พระพุทธองค์ทรงมองในแง่โลกุตตระ เช่น นายธนิยะเชิญให้ฝนตกลงมาเพราะตนได้ทำหน้าที่เสร็จแล้ว เช่น มุงหลังคาบ้านดีแล้ว นำเชื้อไฟมาเตรียมไว้แล้ว ฝนตกก็ไม่กลัว พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์ทรงเปิดหลังคาบ้านไว้แล้ว (ละกิเลส) ได้ดับไฟแล้ว ฝนจะตกก็เชิญตกลงมาเถิด เป็นต้น

(3) ขัคควิสาณสูตร กล่าวถึงประโยชน์ของการเที่ยวไปคนเดียวของภิกษุเหมือนนอแรด (ซึ่งมีอันเดียว) ด้วยคาถาที่มีคำและความไพเราะกินใจ เช่น "คนที่วางอาชญาในสัตว์ทั้งปวงได้แล้ว เว้นการเบียดเบียนจะพึงปรารถนาบุตรและสหายแต่ที่ไหน พึงเที่ยวไปคนเดียวเหมือนนอแรด เมื่อมีความเกี่ยวข้องกัน ความเยื่อใยก็ย่อมมี ทุกข์ย่อมเกิดตามมา ผู้เล็งเห็นโทษ ควรเที่ยวไปคนเดียวเหมือนนอแรด"

(4) กสิภารทวาชสูตร ว่าด้วยพราหมณ์ชาวนา พราหมณ์กล่าวว่า คนทั้งหลายเขาไถนาหว่านกัน พระพุทธองค์ทรงไถหว่านกับเขาหรือไม่ พระองค์ตรัสว่า พระองค์ก็ทรงไถและหว่านพืชเช่นกัน "ศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน ปัญญาเป็นแอกและไถ หิริเป็นงอนไถ ใจเป็นเชือก สติเป็นผาลสำหรับไถนา" เท่ากับบอกว่าวิธีการทำนาแบบนี้เป็นการทำนาแบบพุทธนั่นเอง

(5) จุนทสูตร พระพุทธเจ้าตอบคำถามของนายจุนทะกัมมารบุตร เรื่องสมณะ 4 ประเภท คือ มัคคชินะ (ผู้ชนะกิเลสได้ด้วยมรรค) มัคคเทสกะ (ผู้ชี้ทาง) มัคคชีวี (ผู้ดำรงอยู่ในมรรค คือผู้ปฏิบัติตามมรรค) มัคคทูสี (ผู้ทำลายมรรค คือไม่ปฏิบัติตามหลักอริยมรรค)

(6) ปราภวสูตร ทรงแสดงทางแห่งความเสื่อมไว้เป็นชุดๆ น่าศึกษาอย่างยิ่ง ทำนองเดียวกับทรงแสดงมงคลสูตร ทางแห่งความเสื่อมในสูตรนี้มี 12 ประการ เช่น รู้ชั่ว ชังธรรม รักอสัตบุรุษ ไม่รักสัตบุรุษ มักหลับ ชอบคุย ขี้เกียจ มักโกรธ ไม่เลี้ยงดูบิดามารดา เย่อหยิ่งเพราะชาติ เป็นต้น

(7) วสลสูตร ว่าด้วยคนถ่อย 20 จำพวก เช่น คนมักโกรธ ลบหลู่คุณท่าน มีความเห็นวิบัติ มีมารยา เบียดเบียนสัตว์ ยกตนข่มท่าน กู้เงินเขาแล้วพูดว่าไม่ได้เป็นหนี้ จี้ปล้นชิงทรัพย์ เป็นพยานเท็จ เป็นต้น แต่ละข้อล้วนเป็นลักษณะของคนถ่อยโดยสมบูรณ์

(8) เมตตสูตร ว่าด้วยเมตตาจิตไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายโดยทั่วหน้ากัน สูตรนี้ซ้ำกับที่กล่าวไว้ในขุททกปาฐะข้างต้น

(9) เหมวตสูตร สูตรนี้เป็นการโต้ตอบกันระหว่างสาตาคิรยักษ์ กับเหมวตยักษ์และมีพุทธภาษิตตอนท้าย คำถามและคำตอบเรื่อง "โลก" น่าสนใจ คือสาตาคิรยักษ์ทูลถามว่า โลกเกิดขึ้นในอะไร ทำความพอใจในอะไร โลกอาศัยอะไร และเดือดร้อนเพราะอะไร พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า โลกเกิดขึ้น ใน 6 สิ่ง อาศัย 6 สิ่ง เดือดร้อน เพราะ 6 สิ่ง (6 สิ่งนี้คือกามคุณ 5 กับ ใจ)

(10) อาฬวกสูตร พระพุทธเจ้าทรงปราบอาฬวกยักษ์ดุร้ายลงแล้ว ได้ตอบคำถามยักษ์ในเรื่องต่างๆ เช่น อะไรเป็นเครื่องปลื้มใจของคน (ตรัสตอบว่า ศรัทธา) อะไรที่คนประพฤติแล้วนำความสุขมาให้ (ธรรมะ) อะไรมีรสอร่อยกว่ารสทุกอย่าง (สัจจะ) ปราชญ์กล่าวชีวิตเช่นไรว่าประเสริฐสุด (ชีวิตอยู่ด้วยปัญญา) คนจะได้รับเกียรติโดยวิธีใด (สัจจะ) จะผูกมิตรอย่างไร (การให้) เป็นต้น

(11) วิชยสูตร บรรยายความน่าเกลียดน่าขยะแขยงของส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างละเอียด แล้วสอนไม่ให้ลุ่มหลง ยึดติดในร่างกายอันน่าเกลียดนี้ และทิ้งท้ายให้แง่คิดว่า "ผู้ใดพึงสำคัญเพื่อยกย่องตนหรือพึงดูหมิ่นผู้อื่น จักมีอะไรนอกจากการมองไม่เห็นอริยสัจ"

(12) มุนิสูตร พรรณนาลักษณะของบุคคลที่เรียกว่า "มุนี" เช่น ผู้ที่ตัดกิเลสที่เกิดขึ้นได้ เพราะไม่ปลูกกิเลสขึ้นในใจอีก ไม่ยอมให้มันไหลเข้าไปในใจอีก ปราศจากกำหนัดยินดี ไม่ก่อกรรม ถึงฝั่งโน้น (ถึงจุดหมายปลายทาง) ครอบงำสิ่งทั้งปวง รู้แจ้งสิ่งทั้งปวง มีปัญญา ไม่ยึดมั่นในสิ่งทั้งปวง หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา เรียกว่าเป็นมุนี


(มีต่อ 54)
 


แก้ไขล่าสุดโดย สาวิกาน้อย เมื่อ 27 พ.ย.2006, 8:34 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 12 พ.ย.2006, 7:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ข. จุฬวรรค ที่ 2

(13) รตนสูตร พรรณนาคุณของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ทำนองเดียวกับมารกล่าวมาแล้วในขุททกปาฐะ

(14) อามคันธสูตร สูตรว่าด้วยกลิ่นคาว กล่าวถึงความชั่วร้ายทางกาย วาจา ใจ เป็นกลิ่นดิบ กลิ่นคาว มิใช่ของดิบของคาวในความหมายธรรมดา และกล่าวว่าการประกอบคุณงามความดี ทำให้ปราศจากกลิ่นดิบกลิ่นคาว น่าสังเกตสูตรนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้านามว่ากัสสปะ ในอดีตพระสังคีติกาจารย์นำมาประมวลไว้

(15) หิริสูตร เป็นสูตรสั้นๆ ว่าด้วยคนที่ปราศจากหิริ ถึงจะกล่าวว่าเป็นเพื่อนก็ไม่ควรนับว่าเป็นเพื่อน หรือเพื่อนที่พูดจาไพเราะ แต่ไม่เกื้อกูลแก่เพื่อนไม่ทำตามพูด คอยหาความผิดเพื่อน หวังความแตกแยก ไม่ควรคบเพื่อนเช่นนั้น

(16) มงคลสูตร ว่าด้วยมงคลชีวิต 38 ประการ ข้อความซ้ำกับที่กล่าวไว้ในขุททกปาฐะ

(17) สูจิโลมสูตร สูจิโลมยักษ์ทูลถามปัญหาว่า ราคะ โทสะ โมหะ ความยินดี ความไม่ยินดี ความกลัว ความตรึก เกิดจากอะไร พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า ทั้งหมดเกิดจากอัตภาพร่างกายนี้ทั้งนั้น ผู้ใดรู้และบรรเทาได้ผู้นั้นข้ามโอฆสงสารได้

(18) ธัมมจริยสูตร ว่าด้วยการประพฤติธรรมและการประพฤติพรหมจรรย์ ว่าเป็นแก้วอันประเสริฐที่สุด คนที่มาบวชแล้วประพฤติตนไม่ดี เป็นมนุษย์แกลบ มนุษย์หยักเยื่อ มิใช่สมณะ ควรขจัดบุคคลเช่นนั้นออกไปเสีย ผู้ที่อยู่อย่างบริสุทธิ์ มีปัญญารักษาตน พึงทำที่สุดทุกข์ได้

(19) พราหมณธัมมิกสูตร ทรงแสดงธรรมแก่พราหมณ์มหาศาลหลายคน ชาวเมืองโกศลที่ไปสนทนากับพระองค์ ชี้แจงประเพณี ค่านิยม และธรรมะของพวกพราหมณ์ที่มีมาแต่โบราณนั้นดี ทำให้สังคมพราหมณ์มีความสงบร่มเย็น แต่ต่อมาความโลภได้ครอบงำจิตใจ พวกพราหมณ์จึงบัญญัติมหายัญ 5 อย่าง มีการฆ่าสัตว์บูชายัญ เป็นต้น ทำให้สังคมมีการเบียดเบียนกันทั่วไป ความเสื่อมก็มีมา

(20) นาวาสูตร ตรัสสอนว่า คนที่เป็นอาจารย์สอนคนอื่นต้องมีคุณสมบัติและคุณธรรม เช่น เป็นพหูสูต เป็นที่เคารพบูชาของอันเตวาสิก (ลูกศิษย์) มีวิจารณญาณ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ฉลาด รู้แจ้ง เป็นต้น เปรียบเหมือนคนที่ช่วยให้คนอื่นข้ามน้ำที่ไหลเชี่ยวได้ ตนเองต้องมีความฉลาดพร้อมมูล ในการพาย การถ่อ และรู้วิธีการนำเรือฝ่ากระแสน้ำ นำคนข้ามฝั่งได้ฉะนั้น

(21) กิงสีลสูตร ว่าด้วยการตอบปัญหา ที่พระสารีบุตรทูลถามว่า คนพึงประพฤติเช่นไร มีปกติอย่างไร พอกพูนกรรมชนิดใด จึงจะดำรงอยู่โดยชอบและบรรลุประโยชน์อันสูงสุด พระองค์ทรงแนะนำให้นอบน้อมต่อวุฒบุคคล เข้าหาครูฟังธรรมตามกาล ยินดีในธรรม ตั้งอยู่ในธรรม รู้การวินิจฉัยธรรม ละกิเลสต่างๆ เช่น ความกระซิบรำพัน (พูดเรื่องไม่เป็นประโยชน์) มารยา มานะ แข่งดี เป็นต้น

(22) อุฏฐานสูตร สอนให้ขยัน ลุกขึ้นหมั่นศึกษาเพื่อสันติ มิให้มัวนอนหลับ ประมาท ปล่อยโอกาสให้ล่วงเลยไปเปล่า

(23) ราหุลสูตร สูตรนี้แสดงแก่ราหุลหลังจากเธอได้อุปสมบทแล้วทรงสอบถามว่าราหุลเธอไม่ดูหมิ่นบัณฑิต ยังนอบน้อมต่อผู้ชูแสงสว่าง เพื่อมวลมนุษย์อยู่หรือไม่ พระราหุลกราบทูลว่า ได้ปฏิบัติเช่นนั้นอยู่เสมอ แล้วทรงประทานโอวาทให้เธอละกามคุณ คบกัลยาณมิตร รู้ประมาณในโภชนะ ละตัณหาในปัจจัย 4 สำรวมในพระปาติโมกข์ และอินทรีย์ 5 อย่าง มีสติในกาย เจริญอสุภสัญญา ละมานะ

(24) วังคีสสูตร พระนิโครธกัปปะพระอุปัชฌาย์ของพระวังคีสะนิพพาน พระวังคีสะทูลถามพระพุทธองค์ว่า พระองค์อุปัชฌาย์ของท่านนิพพานหรือไม่ พระพุทธองค์ยืนยันว่านิพพานแล้ว (พระวังคีสะ คงหมายความว่า อุปัชฌาย์ของตนมรณภาพอย่างคนหมดกิเลสสิ้นเชิงหรือไม่ คงไม่หมายถึงตาย หรือไม่ เพราะท่านก็รู้อยู่แล้วว่าอุปัชฌาย์ของท่านตายไปแล้ว)

(25) สัมมาปริพพานียสูตร สูตรว่าด้วยการเป็นปริพาชกที่ดี (ปริพาชกโดยพยัญชนะ หมายถึงผู้เที่ยวไป, ท่องไป) ต่อคำถามว่า ภิกษุทำอย่างไรจึงจะเรียกว่าเป็นผู้ท่องเที่ยวไปโดยชอบ พระพุทธองค์ตรัสว่า ได้แก่ คนที่ละกาม ก้าวล่วงภพ (ความมี ความเป็น) กำจัดการส่อเสียด ความโกรธ และความตระหนี่ เป็นต้น

(26) ธัมมิกสูตร ตรัสแก่ธัมมิกอุบาสก อุบาสกทูลถามว่า บรรพชิตและคฤหัสถ์ทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ พระองค์ตรัสว่า บรรพชิตต้องเสพอิริยาบถอันสมควรแก่บรรพชิต (คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ให้เหมาะสมแก่เพศบรรพชิต) เที่ยวบิณฑบาตในกาล กล่าวธรรมอันประณีต ไม่พึงกล่าววาจาส่อเสียด อันเป็นเหตุให้ชวนทะเลาะ เป็นต้น ส่วนคฤหัสถ์ต้องมีศีล 8 ครบถ้วน


ค. มหาวรรค ที่ 3

(27) ปัพพัชชาสูตร สูตรนี้พระอานนท์เป็นผู้กล่าวเป็นคาถา พรรณนาการเสด็จออกผนวชของพระพุทธเจ้า จนถึงตอนเสด็จผ่านไปยังเมืองราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารทอดพระเนตรเห็นทรงสนพระทัย เสด็จเข้าไปสนทนาด้วย แล้วทูลอาราธนาให้เสวยราชย์ด้วยกัน

(28) ปธานสูตร พระพุทธเจ้าเมื่อยังไม่ได้ตรัสรู้ ทรงบำเพ็ญเพียรใกล้แม่น้ำเนรัญชรา พญามารมาพูดเกลี้ยกล่อมให้เลิกความเพียร พระองค์ตรัสตอบว่า พระองค์ยอมตายดีกว่าจะยอมแพ้แก่กิเลส พญามารเสียใจที่ไม่สามารถเอาชนะพระองค์ได้

(29) สุภาสิตสูตร ว่าด้วยสุภาษิตต้องประกอบด้วยองค์ 4 คือ พูดดี, พูดเป็นธรรม, พูดเป็นที่รัก, พูดจริง

(30) สุนทริกสูตร พราหมณ์สุนทริกะภารทวาชะ ทูลถามว่า พระองค์เป็นชาติอะไร พระองค์ตรัสว่าอย่าถามถึงชาติเลย จงถามถึงความประพฤติเถิด ไฟไม่ว่าเกิดจากไม้ชนิดไหนก็มีเปลวเหมือนกัน คนเกิดในตระกูลต่ำ แต่มีปัญญา มีหิริ กีดกันจิตจากความชั่ว มีวิจารญาณก็เป็นคนดีได้

(31) มาฆสูตร มาฆมานพทูลถามว่า ผู้ต้องการบุญควรบูชายัญอย่างไร พระองค์ตรัสแนะให้ทำบุญแก่ผู้ที่มีคุณสมบัติที่ดีงาม เช่น ละสังโยชน์ได้

(32) สภิยสูตร สภิยมาณพ ไปถามปัญหากับครูทั้ง 6 ไม่พอใจในคำตอบจึงไปทูลถามพระพุทธเจ้าถึงคุณสมบัติของภิกษุว่ามีอะไรบ้าง พระองค์ทรงอธิบายให้ฟัง เช่น ผู้ที่ดับกิเลสได้ด้วยมรรค ข้ามพ้นความสงสัย ละความมีความเป็นได้ อยู่กับพรหมจรรย์ เรียกว่าภิกษุ

(33) เสลสูตร เนื้อความซ้ำกับเสลสูตร ในมัชฌิมนิกาย พระไตรปิฎกเล่มที่ 13

(34) สัลลสูตร สูตรว่าด้วยลูกศรคือความโศก พรรณนาว่าคนเราเกิดมาแล้วต้องตายทุกคน ความเศร้าโศกพิไร รำพัน ไม่มีประโยชน์อะไร ผู้รู้ธรรมดาของชีวิตอย่างนี้แล้ว ถึงถอนลูกศร คือกิเลสเสีย แล้วจะเป็นผู้ไม่เศร้าโศก


(มีต่อ 55)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 12 พ.ย.2006, 7:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(35) วาเสฏฐสูตร สูตรนี้ซ้ำกับวาเสฏฐสูตร มัชฌิมนิกาย พระไตรปิฎก เล่มที่ 13

(36) โกกาลิกสูตร กล่าวถึงพระโกกาลิกศิษย์พระเทวทัต กล่าวร้ายพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ถูกตักเตือนแล้วไม่ยอมเลิกรา ในที่สุดก็ป่วยหนักเป็นโรคพุพอง แผลใหญ่ขึ้นทุกที จนต้องนอนใบตอง ถึงแก่มรณภาพ (ข้อความนี้ซ้ำกับทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระไตรปิฎกเล่มที่ 24)

(37) นาลกสูตร พระนาลกะหลานชายอสิตดาบส ถามเรื่องโมไนยปฏิบัติ (ข้อปฏิบัติเพื่อความเป็นมุนี) พระพุทธเจ้าอธิบายให้ฟัง เป็นต้นว่าต้องเป็นผู้มั่นคงเห็นการด่าและการไหว้เหมือนกัน (คือไม่ยินดียินร้าย) รักษาใจให้สงบ ละกาม ไม่ฆ่าไม่เบียดเบียนสัตว์ เป็นต้น

(38) ทวยตานุปัสสนาสูตร สูตรนี้สอนให้พิจารณาธรรมเป็นคู่ๆ เช่น พิจารณาถึงทุกข์กับเหตุเกิดทุกข์คู่หนึ่ง หรือพิจารณาความดับทุกข์กับทางดับทุกข์คู่หนึ่ง เป็นต้น เท่ากับให้รู้จักพิจารณาโดยแยบคาย มองอะไรก็ให้หัดมองสองด้าน คือ ด้านเหตุ-ด้านผล หรือแง่บวก-แง่ลบ


ฆ. อัฏฐกวรรค ที่ 4

(39) กามสูตร ตรัสถึงโทษของกามและสอนให้งดเว้นกามทั้งหลาย อย่าตกอยู่ในอำนาจของมัน ดังเช่นเรือรั่วปล่อยให้น้ำเข้า ควรตั้งสติให้ดีวิดน้ำ (คือกาม) ออก พยุงเรือ (คือจิตใจของตัวเอง) ให้ลุถึงฝั่ง

(40) คุหัฏฐกสูตร สูตรเปรียบเทียบคนติดอยู่ในถ้ำ โดยใจความสอนให้รู้จักโทษของกาม แล้วเลิกความยึดมั่นถือมั่น มีข้อความไพเราะกินใจหลายตอน

เช่น "ท่านทั้งหลายจงดูเหล่าชนที่ยึดมั่นว่า "ของฉันๆ" กำลังดิ้นรนอยู่เหมือนปลาในแอ่งน้ำน้อยที่แห้งขอด"

(41) สุทธัฏฐกสูตร ว่าด้วยมิให้ถือว่าความเห็นของตนเท่านั้นยอดเยี่ยม เช่น ถ้าเห็นว่าครูของตนเป็นต้นประเสริฐที่สุด ผู้อื่นนอกจากครูของตนเลวหมด เพราะถ้าถืออย่างนี้ไม่พ้นทะเลาะวิวาทกัน

(42) ชราสูตร สูตรนี้ว่าด้วยความแก่ แสดงให้เห็นว่าชีวิตนี้มีน้อยนัก อย่างมากคนเราก็อายุ 100 ปีก็ตาย ถ้าอยู่เกิน 100 ปี ย่อมตายเพราะความแก่โดยแน่แท้ สูตรนี้สอนให้พิจารณาถึงธรรมดาของชีวิต

(45) ติสสเมตเตยยสูตร พระพุทธเจ้าตรัสสอนติสสเมตเตยยมาณพ เรื่องโทษของกาม ควรศึกษาวิเวก

(46) ปสูรสูตร สูตรนี้ตรัสสอนปริพาชกชื่อ ปสูระ ว่าการยึดติดในสัจจะเฉพาะอย่าง (คือ ในความจริงบางแง่บางส่วน) ย่อมโต้เถียงกันไม่สิ้นสุด

(47) มาคัณฑิยสูตร ตรัสสอนมาคัณฑิยพราหมณ์ว่าพระองค์ไม่ไยดีพวกธิดามารที่มายั่วยวนไม่จำต้องพูดถึงธิดาที่สวยงามของเขา (พราหมณ์บอกยกลูกสาวให้พระพุทธเจ้า) ตรัสแสดงความน่าเกลียด ของกาย และสอนให้ละมานะ ทิฐิ

(48) ปุราเภทสูตร ตอบคำถาม คนมีความเห็นอย่างไร มีปกติอย่างไร จึงจะเรียกว่าเป็นผู้สงบ โดยชี้ไปที่การละตัณหา มานะ ทิฐิ เป็นต้น ได้ก่อนสรีระจะแตกดับ (ก่อนตาย) (หมายความว่าผู้สงบที่แท้จริงคือพระอรหันต์)

(49) กลหวิวาสูตร ตรัสสาเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท ว่ามาจากความรัก ความรักมาจากความพอใจ เป็นต้น คนที่มีวาทะว่าขาดสูญ ก็ทะเลาะกับคนที่มีวาทะว่าเที่ยง แต่พระอรหันต์ผู้หลุดพ้นแล้วไม่ทะเลาะกับใคร

(50) จุฬวิยูหสูตร ตรัสสอนว่าการยึดมั่นถือมั่นในหลักทฤษฎีของตนทำให้เกิดการดูถูกความเห็นคนอื่นว่าใช้ไม่ได้ ความจริงแท้ มีอย่างเดียวเท่านั้นที่เห็นกันไปต่างๆ นั้น เพราะคนไม่รู้จริง ผู้ที่รู้จริง ไม่ได้โต้เถียง และไม่ทะเลาะกับใคร

(51) มหาวิยูหสูตร ข้อความคล้ายกับสูตรข้างต้น สอนให้เห็นโทษของการทะเลาะวิวาท และไม่ให้ยึดมั่นในความเห็น

(52) ตุวฏกสูตร ตรัสสอนผู้ที่ละ "ปปัญจสังขา" (ตัณหา มานะ ทิฐิ) ได้ก็นับว่าเป็นผู้สงบแท้จริง (นิพฺพาติ)

(53) อัตตทัณฑสูตร แสดงความสลดสังเวชพระทัยที่ทรงเห็นหมู่สัตว์ดิ้นรนด้วยตัณหา และทิฐิ ดุจปลาในหนองน้ำแห้งขอด ภัยมาถึงตัวแล้วยังไม่รู้สึก มัวแต่ทะเลาะวิวาทกันอย่างไร้แก่นสาร

(54) สารีปุตตสูตร พระสารีบุตรกล่าวโต้ตอบกับพระพุทธเจ้า ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุที่ดี เช่น อดทนต่อสัมผัสของเหลือบยุง เป็นต้น พากเพียรพยายาม แผ่เมตตาไปยังหมู่สัตว์ทั้งหลาย ไม่ลุอำนาจแห่งความโกรธและการดูหมิ่นคนอื่น เป็นต้น


ง. ปารายนวรรค วรรคที่ 5

ว่าด้วยการตอบปัญหาของมาณพ 16 คน ที่ไปทูลถามพระพุทธเจ้ารวมเป็น 16 สูตร คำถามและคำตอบเกี่ยวกับวิธีการทำให้หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งสิ้น


2.6 วิมานวัตถุ ว่าด้วยวิมานของเทวดาในหมวดนี้ไม่เรียกว่า "สูตร" เหมือนหมวดอื่นแต่เรียกว่า "วิมาน" ชื่อของวิมานนั้นเรียกตามรูปร่างวิมานบ้าง ตามชื่อของเจ้าของวิมานบ้าง เรื่องราวส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่พระมหาโมคคัลลานะ ถามเทพบุตรเทพธิดา ถึงอดีตกรรมที่ส่งผลให้มาเกิดในวิมานนั้นๆ ได้รับคำตอบเป็นรายๆ ไป รวมทั้งหมด 85 รายด้วยกัน

สาระของวิมานวัตถุมิได้อยู่ที่ความสวยงามของของวิมานหรือความรุ่งเรืองของเทพบุตรเทพธิดา ที่ปรากฏ แต่อยู่ที่การแสดงผลของกุศลกรรมหรือความดีที่แต่ละคนได้ทำมา เช่น ผลของการรักษาศีล การให้ทาน จุดไต้ตามไฟให้แสงสว่างแก่คนเดินทาง การฟังธรรม การรักษาศีลอุโบสถ เป็นต้น

ที่น่าสังเกตก็คือ แม้เป็นกิจกรรมเล็กน้อย แต่ตั้งใจทำด้วยจิตใจเลื่อมใสบริสุทธิ์ ก็ให้ผลอย่างมหาศาล เช่น เพียงการยกมือไหว้ผู้ทรงศีล หรือการให้ของเล็กน้อยเป็นทานด้วยใจบริสุทธิ์ ก็นำให้ไปเกิดในวิมาน สมดังพุทธวจนะในพระสูตรหนึ่งว่า "แม้คิดเรื่องที่เป็นกุศลเพียงครู่เดียว ก็มีผลมาก ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการลงมือกระทำ"


2.7 เปรตวัตถุ เล่าเรื่องเปรตโดยเน้นประเด็นใหญ่ 2 ประเด็นคือความทุกข์ทรมานต่างๆ และรูปร่างอันน่าเกลียดน่ากลัวของเปรตเหล่านั้น และผลกรรมชั่วที่กระทำไว้แต่ชาติเป็นมนุษย์ มีทั้งหมด 51 เรื่อง จัดเป็นวรรคได้ 5 วรรค

ข้อที่น่าสังเกตคือ คำว่า "เปรต" ในเปตวัตถุนี้มีใช้ 2 ความหมาย คือหมายถึงผู้ล่วงลับไปแล้ว ธรรมดาๆ นำมาเล่าไว้เพื่อเตือนสติว่า คนที่อยู่ข้างหลังควรทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้คนที่ล่วงลับไปแล้ว อีกอย่างหนึ่ง หมายถึง ผู้ที่กระทำกรรมชั่วแล้วตายไปเกิดเป็นเปรตได้รับทุกข์ทรมานต่างๆ


(มีต่อ 56)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 13 พ.ย.2006, 7:47 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

2.8 เถรคาถา เถรีคาถา ว่าด้วยบทกวีบรรยายธรรมบ้าง บรรยายประสบการณ์ต่างๆ ที่ทำให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริง กล่าวบทกวีออกมาด้วยแรงบันดาลใจ มีลักษณะคล้ายพุทธอุทาน เนื้อหาของคาถาบางตอนก็มีซ้ำกับคาถาธรรมบท ความสอดคล้องของโครงสร้างภาษาและสำนวนภาษาคิดว่าไม่น่าจะเป็นภาษิตของพระเถระแต่ละรูปจริงๆ อาจเป็น "กวีนิรนาม" คนใดคนหนึ่งแต่งขึ้น โดยยืมชื่อพระเถระเหล่านั้นมาใช้ก็ได้ (โปรดดูบทความเรื่อง "คาถา-บทเพลงแห่งพระอรหันต์" ของผู้บรรยาย ในหนังสือ "ยุทธจักรดงขมิ้น"


ต่อไปนี้ขอยกบทกวีเฉพาะบางส่วนใน "เถรคาถา" ที่มีความไพเราะกินใจให้ดูพอเป็นตัวอย่าง

1. กายฉันอยู่บ้าน ใจฉันอยู่ป่า

นอนอยู่ ฉันก็ไปได้

ผู้รู้แจ้งชัด ไม่มีอะไรขัดข้อง

2. ฝูงมยุราขนเขียว คองาม

หงอนงาม ร่ำร้องอยู่ในป่า

เริงร่ากลางลมหนาว

ปลุกนักบำเพ็ญฌานผู้หลับไหล

3. ณ พุ่มกอไผ่ ฉันนั่งกินข้าว

เห็นขันธ์ เกิด-ดับ

ฉันจะกลับไพรคีรี เจริญวิเวก

4. ป่าหญ้าแพรก ป่าหญ้าคา

ป่าหญ้ามุงกระต่าย

ป่าอ้อ ป่าเลา

ฉันจะเอาอุระแหวกฝ่าไป

แสวงวิเวก

5. เจ็บไข้เกิดขึ้น สติเกิดขึ้น

เจ็บไข้เกิดขึ้น มิใช่เวลาประมาท

6. มารดารักบุตรสุดที่รัก คนเดียว

พระรักสรรพสัตว์ ทั้งโลก

7. พระไม่สำรวม ละทิ้งสมาธิ

เดินธุดงค์ตามหัวเมือง จะช่วยอะไรได้

หยุดคิดใคร่สัญจรเถิด หันมาบำเพ็ญฌาน

ตัดกิเลสตัณหา

8. โคดีรู้งานลากคันไถไป สบาย

เมื่อฉันได้รับความสุขที่แท้

คืนวันผ่านไป สบาย

9. โคอาชาไนยตัวประเสริฐ ล้มแล้วลุกได้

สาวกของพระพุทธเจ้าเช่นเรา

มีความเห็นถูกชัด จักปฏิบัติเช่นเดียวกัน

10. ธรณีหลังฝนชุ่มฉ่ำ พระพายกระหน่ำพัด

สายฟ้าจรัสแลบกลางเวหา

วิตกข้าสงบสนิท จิตข้ามั่นคง

11. ฝนตก ฟังเพราะดังเพลงสวรรค์

กระท่อมฉัน มุงดีแล้ว มิดชิด สบายดี

ฝนเอย เชิญเจ้าตกลงมาเถิด

12. คนตาดี ย่อมมองเห็นคนตาดีและคนตาบอด

คนตาบอด ย่อมมองไม่เห็นทั้งคนตาบอดและคนตาดี

13. หลับตลอดราตรี คลุกคลีหมู่คนทั้งวัน

คนโง่เขลาเช่นนั้น เมื่อไรจักพ้นทุกข์เล่า

14. ครองเพศบรรพชิตนั้น แสนลำบาก

ฆราวาสวิสัยก็ยาก เช่นเดียวกัน

พระธรรมอันคัมภีรภาพ ยากเข้าใจ

โภคทรัพย์กว่าจะหามาได้ ก็เหน็ดเหนื่อย

มีชีวิตเรื่อยๆ อย่างสันโดษ ก็ยากเย็น

ฉะนี้ น่าจะเห็น น่าจะคิด อนิจจัง

15. กระท่อมน้อยมีห้าประตู

วานรเข้าไปอยู่

เวียนเข้า เวียนออก

เสมอ เสมอ

16. หยุดนะเจ้าลิง เจ้าวิ่งไม่ได้ดังเก่า

ข้าจับเจ้าด้วยปัญญา เจ้าไปไหนไม่ได้ไกล

17. ผู้ทรงความรู้ หมดกิเลส ชนะศัตรู

คนไม่รู้ เบาปัญญา ดูหมิ่นว่า "ไร้ชื่อเสียง"

ส่วนคนมีทรัพย์ ข้าวน้ำนับเอนกอนันต์

ถึงจะชั่วช้ามหันต์ เขาก็สรรเสริญ

18. เกาะขอนน้อย ลอยคอกลางมหาสมุทร

ในที่สุดก็จมน้ำตาย คนที่มีชีวิตอยู่สบาย

อาศัยความเกียจคร้าน ไม่นานก็ล่มจม

19. คนเกี่ยวข้องกับคน คนยินดีกับคน

คนถูกคนเบียดเบียน คนเบียดเบียนคน

จะต้องการอะไรกับคน หรือผลผลิตของคน

จงละทิ้งคนที่เบียดเบียนคนไปเสีย

20. ถ้าตนไม่มั่นคง คนอื่นสรรเสริญ

คำสรรเสริญนั้นเปล่าประโยชน์

ถ้าตนมั่นคงดี คนอื่นนินทา

คำนินทานั้นเปล่าประโยชน์


(มีต่อ 57)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 17 พ.ย.2006, 9:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

21. ฉันเห็นมานักต่อนักแล้ว เหล่าอุบาสกผู้อ้างว่าทรง ธรรมปากก็พร่ำว่า "กามทั้งหลายเป็นอนิจจัง"

แต่ก็ยังกำหนัดยินดีในแก้วมณี บุตร ภรรยา

แน่นอน พวกเขามิรู้ธรรมจริงแท้ ถึงแม้จะกล่าวว่า

กามเป็นอนิจจัง พลังญาณไม่กล้าแข็งพอจะตัดความใคร่

จึงยึดมั่นอยู่ในบุตร ภรรยา และทรัพย์สิน

22. ตาย ฉันก็ไม่คิด ชีวิต ฉันก็ไม่คำนึง

รอกาลเวลามาถึง รู้เท่า รู้ทัน

23. หวังเป็นสมณะที่ดี ดำรงชีวีสันติสุข

ควรเสพเสนาสนะตามมีตามได้

ดุจอสรพิษพอใจในโพลงพฤกษ์

และมุสิกขุดรูลึกอาศัย

24. ติณชาติไม่รู้ร้อนรู้หนาว ใครคิดเอาเป็นเยี่ยงอย่าง กิจที่ควรทำไม่คั่งค้าง เขาไม่เว้นว่างจากความสุข

25. อยู่อย่างพรหมต้องอยู่เอกา อยู่อย่างเทวดาต้องมี สหาย

อยู่อย่างชาวบ้านแสนวุ่นวาย ต้องอยู่มากมาย ตั้งสาม คน

26. ใครไร้ซึ่งคารวะ ในผู้มีอาจาระบริสุทธิ์

เขาห่างไกลจากความดี ดุจปฐพีห่างคัคนานต์

27. กาลควรช้ากลับหุนหัน กาลควรด่วนพลันกลับชัก ช้า

ไม่วางแผนด้วยปัญญา คนโง่ประสบปัญหาชีวิต

28. สัตว์โลกถูกมฤตยูดักฆ่า ถูกชรารุมไล่ต้อน

ยิงด้วยลูกศรคือความทะเยอทะยาน

เผาให้เป็นถ่านด้วยความปรารถนา

29. มฤตยู พยาธิ ชรา ทั้งสาม คือกองไฟลามลุกไหม้

แรงจะต้านก็ไม่มี จะหนีก็ไม่ทัน

30. คนมิได้เป็นโจรเพราะคำคน มิได้เป็นมุนีเพราะคำ คน

รู้ตัวว่าเป็นคนเช่นใด เหล่าเทพไทก็รู้เช่นเดียวกัน

31. มฤคชาติอยู่ในไพรสณฑ์ หลงกลติดบ่วงพราน

มัตสยาในชลธาร หลงกลืนเบ็ด

วานรบนต้นไม้ หลงติดตัง

ปุถุชนผู้มากด้วยตัณหาในดวงจิต

หลงติดในเบญจกามคุณ

32. มัวติดในรส ใจก็งดภิรมย์ฌาน

มุนีควรมักน้อยสันโดษ โปรดสถานสงัด

ไม่คลุกคลีกับพุทธบริษัท ไม่ว่าคฤหัสถ์หรือบรรพชิต

33. ไม่ว่าใครให้เจ็บซ้ำ ไม่ทำให้ใครเคือง

สำรวมเรื่องปาติโมกข์ บริโภคแต่พอดี

34. หนึ่ง มีมิตรผู้ดีงาม หนึ่ง ศึกษาสัมฤทธิ์ผลไพศาล

หนึ่ง เชื่อฟังครูอาจารย์ สามประการนี้เหมาะแก่สมณะ

35. หนทางตรงทางลัด พระพุทธเจ้าตรัสชี้ไว้

จงเดินไปข้างหน้า อย่าหวนกลับ จงเตือนตนด้วยตน

มุ่งสู่ความหลุดพ้น คือพระนิพพาน

36. ถึงคราวสุขก็เฟื่องฟูลอย ถึงคราวทุกข์ก็ถอยจม

คนโง่ย่อมทุกข์ตรมทั้งสองสถาน เพราะไร้ญาณเห็น แจ้งจริง

37. ภิกษุผู้ฟุ้งซ่านมักกลับกลาย คบสหายชั่วช้า

จะถูกกระแสกิเลสตัณหาพัดพา

จมดิ่งห้วงสังสารวัฎ

38. เดิน สง่า ยืน สง่า นั่ง เสงี่ยม นอน สงบ

ทุกอิริยาบถระมัด นี่คือคุณสมบัติของนาเคนทร์

39. บุณฑริก เกิดในชลาลัย กลิ่นหอมรื่นรมย์ใจ ไม่ เปียกน้ำ

พระพุทธเจ้าเกิดในโลก ไม่ติดในโลกีย์

ดุจปทุมรมณีย์ ไม่เปียกน้ำ

40. อายุยืนยาว ความหนุ่มสาวยืนนาน

ทรัพย์ศฤงคารก็ซื้อไม่ได้

ปราชญ์ว่าชีวิตนั้นสั้นนิด

วิปริตผันแปรไม่แน่นอน

41. ไม่ว่ามั่นคงหรือไร้ทรัพย์ศฤงคาร

ไม่ว่าพาลหรือปราชญ์

รับรู้ผ่านประสาทสัมผัสเหมือนกัน

คนโง่รับรู้อย่างโง่ๆ ย่อมทุกข์ถนัด

ผู้ฉลาดรู้เท่าทันสัมผัส ไม่หวั่นไหว

42 กลางป่าใหญ่ ดอกไม้บานสะพรั่ง

สมณะหนึ่ง นั่งนิ่ง สงบ พินิจ

เกิดความคิดหลากหลาย

43. ณ โคนต้นไม้ เงื้อมเงา และคูหา

กลางพนาอันกว้างใหญ่

สมณะท่านใฝ่วิเวก

อยู่อย่างผู้มีเอกอุดมการณ์

44. กิเลสทั้งหลายเมื่อเติบกล้า

สนตะพายเหล่าประชาหมู่มาก

เหมือนปิศาจชั่วร้าย สิงคน

ทำให้โง่ บ้า สนุกสนาน

45. กิน จนพุงกางใหญ่

นอน หงายทอดหุ่ย

ตื่น คุยแต่เรื่องไร้แก่นสาร

พระศาสดาจารย์ทรงตำหนิ

46. ภูผาไศลไม่เขยื้อน มั่นคง

ภิกษุหมดความหลง ย่อมมั่นคงดุจภูผา

47 ผู้ไร้กิเลสกวนใจ ใฝ่แสวงความบริสุทธิ์เป็นนิจ

ความผิดเล็กน้อยเท่าปลายขนทราย

มองเห็นดุจเมฆก้อนใหญ่บนท้องฟ้า

48. ผู้เป็นพหูสูตทรงความรู้ ดูหมิ่นผู้ด้อยปัญญา

เป็นดุจคนตาบอดสนิท ถือตะเกียงส่องทิศทางเดิน

49. การกราบไหว้บูชา คือหล่มพาพระหลงติด

คือ ลูกศรอาบยาพิษถอนได้ยากยิ่ง

50. จิตเอย ชายหรือหญิงตกอยู่ใต้อำนาจของเจ้า

โง่เขลา เสพสุขอันจอมปลอม ยินยอมอยู่ใน

อำนาจมาร วิ่งพล่านจากภพสู่ภพ เขาสยบ

เป็นข้าช่วงใช้ของเจ้า


(มีต่อ 58)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ย.2006, 9:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

2.10 ชาดก รวมเรื่องชาดกที่พระพุทธเจ้าตรัสเฉพาะที่เป็นคาถาเท่านั้น ที่มีนิทานประกอบ พระอรรถกถาจารย์แต่งไว้ เรียกว่า ชาตกัฏฐกถาชาดก แปลตามตัวอักษรว่า "ผู้เกิด" หมายถึง เล่าเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิดในชาติต่างๆ ในอดีตมากมาย โดยแสดงถึงความพยายามในการทำคุณความดีมากบ้างน้อยบ้าง ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งบำเพ็ญได้สมบูรณ์ในชาติสุดท้าย ชาดกกล่าวกันว่ามี 550 เรื่อง (นับจริงๆ แล้วมีเพียง 543 เรื่อง) จัดเป็นนิบาต ตั้งแต่เอกนิบาตจนถึงมหานิบาต

ที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวพุทธก็คือ มหานิบาตชาดก (ชาดกที่ชุมนุมเรื่องใหญ่ หรือที่โบราณเรียกว่าทศชาติ) มีทั้งหมด 10 เรื่องด้วยกันคือ

1. เตมิยชาดก เรื่องพระเตมียกุมาร บำเพ็ญเนกขัมมบารมี (การออกจากกาม)

2. มหาชนกชาดก เรื่องมหาชนก บำเพ็ญวิริยบารมี

3. สุวรรณสามชาดก เรื่องสุวรรณสาม บำเพ็ญเมตตาบารมี

4. เนมิราชชาดก เรื่องเนมิราชกุมาร บำเพ็ญอธิษฐานบารมี

5. มโหสธชาดก เรื่องมโหสธ บำเพ็ญปัญญาบารมี อรรถกถาเขียน "มโหสถ"

6. ภูริทัตตชาดก เรื่องภูริทัตนาคราช บำเพ็ญศีลบารมี

7. จันทกุมารชาดก เรื่องจันทกุมาร บำเพ็ญขันติบารมี

8. นารทชาดก เรื่องพระพรหมนารทะ บำเพ็ญอุเบกขาบารมี

9. วิธุรชาดก เรื่องวิธุรบัณฑิต บำเพ็ญสัจจบารมี

10. เวสสันดรชาดก เรื่องพระเวสสันดร บำเพ็ญทานบารมี

วิธีจำง่าย ให้จำคำย่อดังนี้

เต. (เตมีย์) เน. (เนกขัมมะ)

ช. (มหาชนก) วิ. (วิริยะ

สุ. (สุวรรณสาม) เม. (เมตตา)

เน. (เนมิราช) อ. (อธิษฐาน)

ม. (มโหสธ) ปัญ. (ปัญญา)

ภู. (ภูริทัต) สี. (สีล)

จ. (จันทกุมาร) ขัน. (ขันติ)

นา. (นารทะ) อุ. (อุเบกขา)

วิ. (วิธุร) สัจ. (สัจจะ)

เว. (เวสสันดร) ทา. (ทาน)


2.11 นิเทศ เป็นนิพนธ์ของพระสารีบุตรเถระแบ่งเป็น 2 คือ

1. มหานิเทศ อธิบายความของพระสูตร 16 สูตร ในอัฏฐกวรรค สุตตนิบาต เริ่มตั้งแต่กามสูตรถึงสารีปุตตสูตร

2. จูฬนิเทศ อธิบายความของพระสูตรอีก 16 สูตร ในปารายนวรรค และขัคควิสาณสูตรในอุรควรรค แห่งสุตตนิบาต


2.12 ปฏิสัมภิทาวรรค เป็นภาษิตของพระสารีบุตรเถระ อธิบายข้อธรรมที่ลึกซึ้งต่างๆ อย่างพิสดาร วิธีอธิบาย ถ้ามีพุทธภาษิตว่าด้วยเรื่องนั้น ก็นำมาตั้งแล้วอธิบายความอีกต่อหนึ่ง ถ้าไม่มีพุทธภาษิตอธิบายไว้โดยตรง ท่านก็จะตั้งบทขึ้นเอง แล้วขยายอย่างละเอียด


3.13 อปทาน เป็นคาถาประพันธ์แสดงประวัติในอดีตของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวก ที่สำคัญ เริ่มตั้งแต่พระสารีบุตรเถระ รวมประวัติพระเถระทั้งหมด 550 รูป ต่อจากนั้นก็เล่าประวัติพระเถรีอรหันต์อีก 40 รูป บางรูป (ประมาณ 16 รูป) ไม่ปรากฏในที่อื่น ประวัติไม่เป็นที่รู้จักกัน ยกเว้นในที่นี้


2.14 พุทธวังสะ เป็นคาถาประพันธ์ แสดงเรื่องของพระพุทธเจ้าในอดีต 24 พระองค์ ที่พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันเคยได้เฝ้า และได้รับพยากรณ์ รวมทั้งประวัติของพระองค์เอง รวมเป็นพระพุทธเจ้า 25 พระองค์


2.15 จริยาปิฏก แสดงพุทธจริยาในอดีต รวม 35 เรื่อง ซ้ำกับชาดกข้างต้น (ในข้อ 2.10) โดยแยกแสดงว่าเป็นการบำเพ็ญทานบารมี 10 เรื่อง ศีลบารมี 10 เรื่อง เนกขัมมบารมี 6 เรื่อง เมตตาบารมี 2 เรื่อง อุเบกขาบารมี 1 เรื่อง รวม 15 เรื่อง ตอนท้ายได้ประมวลไว้ว่า เรื่องไหนเป็นบารมี (บารมีหรือการบำเพ็ญความดีขั้นต้น) เรื่องไหนเป็นอุปบารมี (บารมีขั้นรองหรือจวนจะสูงสุด) และเรื่องไหนเป็นเรื่องปรมัตถบารมี (บารมีขั้นสูงสุด)


3.ข้อสังเกตบางประการและจุดที่ควรเน้น

3.1 ขุททกนิกายนี้ นักปราชญ์บางท่านตั้งข้อสังเกตว่าถูกเพิ่มเติมเข้ามาภายหลัง พระสุตตันตปิฎกเดิมแบ่งเป็น 4 นิกายเท่านั้น เหตุผลข้อหนึ่งก็คือ พระไตรปิฎกของฝ่ายสาวกยานอื่นๆ มีเพียง 4 นิกาย ซึ่งเขาเรียกกันว่า "อาคม 4" (ทีรฆาคม มัธยมาคม สังยุกตาคม และเอโกตตราคม) ไม่มีขุททกนิกาย จะมีก็เฉพาะนิกายสรวาสติวาทินเท่านั้นที่มี "กษุทราคม" แต่เนื้อหาก็ไม่เหมือนกับขุททกนิกายของเถรวาท มีบางเรื่องบางข้อเท่านั้นที่ตรงกัน นี่เป็นเพียงข้อสังเกตเท่านั้น เป็นเรื่องที่ผู้รู้จะพึงศึกษาวิเคราะห์ต่อไป


3.2 พึงกำหนดว่า ธรรมบท กับอรรถกถาธรรมบท หรือที่เรียกชื่อเต็มว่า ธัมมปทัฏฐกถานั้นคนละอย่างกัน ชาวไทยมักเรียกว่า "ธรรมบท" เหมือนกัน ทำให้สับสนในแง่วิชาการและการอ้างอิง

มีข้อพึงสังเกต ดังนี้

(1) คาถาธรรมบท เป็นพุทธวจนะ แสดงหลักธรรมอันบริสุทธิ์ ส่วนอรรถกถาธรรมบท แต่งเสริมความ พร้อมทั้งยกนิทานมาประกอบ ทำให้เข้าใจตัวคาถาง่ายขึ้น แต่บางครั้งก็ทำให้ความตัวคาถาเดิมหดหายไป หรือเบี่ยงเบนไปจากจุดมุ่งหมายเดิม ยกตัวอย่างเช่น ในคาถาบทที่ 1 พุทธวจนะตรัสว่า "ใจเป็นผู้นำทุกสิ่งทุกอย่าง ใจเป็นใหญ่ ทุกอย่างสำเร็จด้วยใจ ถ้าคนเรามีใจชั่ว จะทำ จะพูดก็พลอยชั่วไปด้วย เพราะพูดชั่ว ทำชั่วนั้น ทุกข์ย่อมตามสนองเขา เหมือนล้อเกวียนหมุนตามรอยโค" เป็นการแสดงหลักธรรมล้วนๆ แต่อรรถกถาได้แต่งนิทานเรื่องพระจักขุบาลป่วยเป็นโรคตา ตาทั้งสองบอดสนิทในที่สุด พระพุทธเจ้าได้เล่าบุพกรรมของเธอว่า ชาติก่อนจักขุบาลเป็นหมอรักษาตาของสตรีนางหนึ่งหาย แต่สตรีนั้นแกล้งทำเป็นไม่หาย จึงเอายาอีกขนานหยอดจนตาเธอบอด สิ่งที่อรรถกถาเน้นมากคือ แนวความคิดเรื่องสังสารวัฏ กฎแห่งกรรม แง่ข้ามภพข้ามชาติ


(มีต่อ 59)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 24 พ.ย.2006, 6:01 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(2) อรรถกถา ได้สะท้อนภาพเกี่ยวกับพุทธจริยาวัตรชัดเจนกว่าตัวคาถา เมื่ออ่านอรรถกถาธรรมบทจบแล้ว จะเกิดมโนภาพชัดเจนเกี่ยวกับบุคลิกของพระองค์ เห็นพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ พระองค์เป็นศูนย์รวมจิตใจของเหล่าพุทธบริษัท ช่วยชี้แนะแนวทางปฏิบัติและแก้ปัญหาต่างๆ อยู่เสมอ ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธองค์กับพระสงฆ์สาวก เป็นแบบ "พ่อกับลูก" มีความเรียบง่ายเป็นกันเอง พร้อมที่จะเข้าเฝ้าทูลถามความสงสัยต่างๆ ได้ตลอดเวลา

(3) ในอรรถกถาธรรมบท สะท้อนภาพธรรมสภา ซึ่งเรียกว่า "อุปัฏฐานศาลา" แปลกันว่า "หอฉัน" เข้าใจว่าคงใช้เป็นที่ฉันอาหารและสถานที่ฟังธรรมด้วย เวลาเย็นพระจะมาประชุมถกเถียงกันในอุปัฏฐานศาลา มีตั้งแต่เรื่องพื้นฐานไปจนถึงหลักธรรมที่ลึกซึ้ง (แสดงว่าในระยะต้น ที่พระองค์ทรงประกาศศาสนา สาวกทั้งหลายยังเข้าใจหลักธรรมไม่ทั่วถึงกัน) เช่น

- พระอรหันต์ฆ่าสัตว์โดยไม่เจตนา บาปหรือไม่

- พระอรหันต์ยังมีความรู้สึกในกามารมณ์เหมือนปุถุชนหรือไม่

- โจรฆ่ามนุษย์เป็นจำนวนมาก ทำไมบรรลุอรหัตปรินิพพานได้

- ศีล 5 ข้อ ข้อไหนดีกว่ากัน

- ความสุขอย่างไหนที่ดีที่สุด

(4) ความขัดแย้งในหมู่สงฆ์สาวก อรรถกถาธรรมบทบันทึกไว้ค่อนข้างชัดเจน เริ่มตั้งแต่ ความมักใหญ่ใฝ่สูงของพระเทวทัต จนสร้างความแตกแยกขนานใหญ่ในสังฆมณฑล เรื่องนี้นอกจากการแสดงพระปรีชาสามารถในการแก้ปัญหาของพระพุทธองค์แล้ว ยังเน้นพระมหากรุณาต่อผู้ปองร้าย เช่น พระเทวทัตได้ชัดเจนด้วย ความแตกแยกครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่งคือ การทะเลาะวิวาทของพระสงฆ์เมืองโกสัมพี ในเรื่องนี้แสดงให้เห็นบทบาทของ "อุบาสิกา" มีส่วนในการผดุงรักษาพระพุทธศาสนาด้วย

(5) อรรถกถาธรรมบท บันทึกวิธีและเทคนิคการสอนของพระพุทธเจ้า ไว้อย่างน่าศึกษายิ่ง เช่น พระกระสันอยากสึก (ซึ่งมีบ่อยครั้งที่สุด) แต่ละรูป พระพุทธองค์ทรงใช้วิธีการปลอบประโลมให้พวกเธอกลับยินดีในเพศพรหมจรรย์ แตกต่างกันอย่างไร กรณีภิกษุณีถูกข่มขืนตั้งครรภ์ ทรงใช้วิธีแก้ปัญหาอย่างไรจึงจะทำให้ความบริสุทธิ์ของภิกษุณีนั้นเป็นที่ยอมรับโดยไม่มีใครกินแหนงแคลงใจภิกษุหลงรูปสตรี หลงรูปพระพุทธองค์ ทรงใช้วิธีการอย่างไร ตลอดถึงพระภิกษุที่มีภูมิปัญญาต่ำหลงๆ ลืมๆ ทรงทำอย่างไรให้เธอประสบความสำเร็จในการปฏิบัติธรรม วิธีการเหล่านี้หาอ่านและศึกษาได้จากอรรถกถาธรรมบทนี้ กล่าวได้ว่าอรรถกถาธรรมบทเป็นจดหมายเหตุบันทึกประวัติพระพุทธศาสนาไว้เกือบจะทุกแง่ทุกมุมที่ชาวพุทธไม่ควรละเลยอย่างยิ่ง

(6) อุปมาอุปไมย เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นข้อเด่นชัดของธรรมบท โดยเฉพาะในตัวคาถาคำอุปมาอุปไมยสั้น แต่ให้ภาพชัดเจน เข้าใจง่าย เช่น

- ความทุกข์ติดตามคนทำชั่ว เหมือนล้อเกวียนหมุนตามรอยเท้าโค

- ความสุขติดตามคนทำดี เหมือนเงาตามตัว

- คิดร้ายคนบริสุทธิ์ บาปไม่พ้นตัว เหมือนซัดฝุ่นทวนลม ฝุ่นจะกลับเข้าหาตัว

- ชรามรณะไล่ต้อนชีวิตคน เหมือนเด็กเลี้ยงโคต้อนโคไปหากิน

- กิเลสตัณหาไม่ค้างใจพระอรหันต์ เหมือนหยาดน้ำตกจากใบบัว

- บัณฑิตไม่หวั่นไหว เพราะคำนินทาและสรรเสริญ เหมือนภูเขาไม่สะเทือนเพราะแรงลม

- คนมีราคะกิเลส ติดในรูป เสียง กลิ่น รส เหมือนลูกโคยังไม่หย่านม ติดแม่

- ตัณหาที่ถอนไม่ได้หมดงอกงามได้อีก เหมือนต้นไม้ที่ยังไม่ถอนรากทิ้ง

- คนไม่ประมาททิ้งคนประมาทไว้ห่างไกล เหมือนม้าฝีเท้าเร็วทิ้งม้าแกลบ

- ผู้คัดค้านคำสอนของพระอริยเจ้าทำลายตนเอง เหมือนขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ผลกล้วยฆ่าต้นกล้วย

- ราคะ โทสะ โมหะ ทำให้คนเสียคน เหมือนหญ้าที่ทำให้นาเสียหาย

- ความชั่วไม่มีอิทธิพลแก่คนไม่ทำชั่ว เหมือนมือไม่มีแผลจับต้องยาพิษได้

- น้อยคนจะไปสวรรค์ เหมือนนกติดข่ายน้อยตัวจะหลุดรอดไปได้

- สามัญชนตามพระอรหันต์เหมือนนกบินบนฟ้า ตามทันยาก

- ทำชั่วและดีทีละเล็กละน้อยก็มีมาก เหมือนฝนตกทีละหยาดๆ ก็เต็มตุ่มได้

- คนชั่วไม่เด่น เหมือนลูกศรที่ยิงเวลากลางคืน

- คนโง่ไม่รู้รสพระธรรม เหมือนจวักไม่รู้รสแกง

- ใจคนดิ้นรนด้วยอำนาจกิเลส เหมือนปลาถูกโยนขึ้นบกดิ้นรนหาน้ำ

- บัณฑิตฝึกตนได้ เหมือนชาวนาไขน้ำเข้านา ช่างศรดัดลูกศร ช่างไม้ถากไม้

- พระอรหันต์หนักแน่นไม่โกรธใคร เหมือนแผ่นดิน

- พระอริยสาวกเดิมก็มีกิเลส เหมือนดอกบัวสวยงามก็เกิดจากโคลนตม

- ร่างกายแตกดับง่าย เหมือนหม้อดิน เหมือนฟองน้ำ เหมือนพยับแดด

- สมัยหนุ่มสาวไม่ตั้งตัว แก่มาก็นั่งซบเซา เหมือนนกกระเรียนจับเจ่าอยู่ริมสระไร้ปลา


3.3 นิทานเรื่องตาบอดคลำช้าง ให้แง่คิดว่าเวลามองอะไรอย่ามองแง่เดียว มุมเดียว ผู้ที่เห็นอะไรมุมเดียวและยึดมั่นถือมั่นว่าตนรู้เท่านั้นถูกต้อง ย่อมนำไปสู่การดูถูกเหยียดหยามคนอื่น และทะเลาะวิวาทกันกับคนอื่นที่ไม่เห็นด้วยกับตน พระพุทธเจ้าทรงเตือนว่า แม้แต่เรื่องศีล เรื่องวัตร ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าถือศีลวัตรผิดไปจากจุดหมายของวัตร เช่น ยึดว่าปฏิบัติอย่าง (ที่ตนทำ) นี้เท่านั้นถูกต้อง ปฏิบัติอย่างอื่นไม่ถูกต้อง อย่างนี้ไม่ควร เพราะจะกลายเป็น "สีลัพพตปรามาส" ได้


3.4 ในธัมมสูตร พระพุทธเจ้าแสดงสุกกธรรม 2 ข้อคือ หิริ โอตตัปปะ ว่าเป็นคุณธรรม สามารถปกครองโลกได้ทั้งโลก ถ้าโลกขาดคุณธรรม 2 ข้อนี้ มนุษย์กับสัตว์จะไม่แตกต่างกัน "สัตว์โลกก็จะไม่มีป้า น้า ภรรยาของอาจารย์ หรือภรรยาของครู จักสำส่อน ไม่ต่างแพะ แกะ ไก่ สุกร สุนัขจิ้งจอก" เป็นคำพูดที่ให้เห็นภาพชัดเจนดีมาก ความหมายหนึ่งของคำว่า "ศาสนา" คือการปกครอง น่าสังเกตว่ายิ่งปกครองขยายวงกว้างออกไปมากเท่าไร คุณธรรมที่ใช้สำหรับการปกครองก็ยิ่งลดจำนวนลงไปเรื่อยๆ คือ

- ปกครองตนเองให้พึ่งตนเองใช้ นาถกรณธรรม 10 ประการ

- ปกครองประเทศให้อยู่เย็นเป็นสุขได้ ใช้ ราชธรรม 10 ประการ หรือ อปริหานิยธรรม 7 ประการ

- ปกครองโลกทั้งโลกใช้ สุกกธรรม 2 ประการ


3.5 เรื่องนิพพาน อันเป็นจุดหมายปลายทางของชีวิต มีการถือเอาใจความจากพระสูตรคนละแห่งแล้วมาถกเถียงกัน บางท่านกล่าวว่า สอุปาทาทิเสสนิพพาน หมายถึง การดับกิเลสได้เป็นขั้นๆ ยังไม่หมดกิเลสโดยสิ้นเชิง ได้แก่การดับกิเลสของพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ส่วนอนุปาทิเสสนิพพาน หมายถึงการดับกิเลสได้โดยสิ้นเชิง ได้แก่ พระอรหันต์ มิได้หมายถึงการดับกิเลส ที่มีเบญจขันธ์เหลือ และการดับกิเลสที่ไม่มีขันธ์เหลือดังที่สอนกันมาแต่โบราณ ขอให้ศึกษาให้ดีว่า ในพระสูตรได้ให้ "นิยามความหมาย" ไว้ทั้ง 2 นัย (ขอให้ดูธาตุสูตร เล่มที่ 25 ที่ยกมานี้ และเล่มที่ 23 ข้อ 2 หน้า 6)


3.6 นรกสวรรค์ พูดถึงบ่อยมากในพระไตรปิฎก บ่อยเสียจนไม่น่าคิดว่าเป็นเรื่องบังเอิญหรือพูดผ่านๆ เท่านั้น แต่เป็นเรื่องว่าพระพุทธเจ้าตรัสสอนเรื่องนี้จริง ยืนยันเรื่องนี้จริง แต่การพูดถึงนรกสวรรค์ของพระองค์เป็นเรื่องที่น่าวิเคราะห์ในแง่ที่ว่า พระองค์มิได้ให้รายละเอียดชัดเจนสมกับที่พูดถึงบ่อย ข้อความที่ปรากฏซ้ำแล้วซ้ำเล่าในพระสูตรก็คือ

กายสฺส เภทา ปรมฺมรณา สุคตึ สคฺคํ โลกํ อุปปชฺชติ

หลังจากแตกกายทำลายขันธ์แล้ว เขา(ผู้ทำดีแล้ว) ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์

กายสฺสเภทา ปรมฺมรณา อปายํ ทุคฺคตึ วินิปาตํ อุปปชฺชติ

หลังจากแตกกายทำลายขันธ์แล้ว เขา(ผู้ทำชั่ว) ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

นรกสวรรค์อยู่ที่ไหน มีสภาพอย่างไร ไม่พูดถึง จนทำให้คิดว่านรกสวรรค์นี้เป็น "สภาวะทางจิต" มากกว่านรกสวรรค์ที่เป็น "กายภาพ" แต่จะสรุปอย่างนี้โดยตรงก็ไม่ได้ เพราะมีบางสูตรที่กล่าวถึงนรกสวรรค์ พอที่จะให้คิดว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่ทาง "กายภาพ" เช่น

เล่มที่ 24 ข้อ 89 พูดถึงพระโกกาลิก สมุนพระเทวทัต ตายไปตกปทุมนรก เมื่อพระทูลถามว่า อายุของสัตว์ในปทุมนรกนี้ยาวนานเท่าไร ตรัสว่ายาวกว่านรกขุมอื่นๆ 9 ขุม แต่นานเท่าไรสุดจะนับได้ด้วยการคำนวณของมนุษย์ แล้วให้ชื่อนรกไว้ทั้งหมด 10 ขุม

เล่มที่ 14 ข้อ 473-475 ถึงนายนิรยบาลทำโทษสัตว์นรก เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน โดยบอกว่า นรกมี "สี่มุม สี่ประตู แบ่งส่วนเท่ากับ มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ข้างบนครอบด้วยแผ่นเหล็ก พื้นเป็นเหล็กลุกเป็นไฟ กว้าง ยาวร้อยโยชน์"

เล่มที่ 28 ข้อ 92 ระบุชื่อ นรกเพิ่มอีก 8 ขุม เล่มนี้ให้รายละเอียดมากกว่าในที่อื่น คือ ระบุคนทำบาปชนิดไหนจะได้รับโทษทัณฑ์ในนรกชนิดไหน

เล่มที่ 14 ข้อ 512-523 เล่าว่าคนตายจะถูกยมบาลถามว่าเวลาเห็นคนเกิด แก่ เจ็บ ตาย แล้วคิดว่าวันหนึ่งตนก็จะเป็นเช่นนั้น แล้วคิดทำบุญหรือไม่ ถ้าตอบว่าไม่ ก็จะถูกทำโทษต่างๆ ในนรก

จากพระสูตรต่างๆ ที่ยกมาพอจะประมวลได้ว่า นรกสวรรค์น่าจะมีอยู่จริงในแง่ "กายภาพ" แต่ก็ไม่ชี้ชัดว่า มัน "ตั้งอยู่" ณ ที่ใด

ส่วนในแง่นามธรรมหรือสภาวะทางจิตนั้น มีปรากฏในเล่มที่ 10 ข้อ 91 พระพุทธเจ้าทรงชี้ให้พระดูว่า "ถ้าใครยังไม่เคยเห็นเทวดาชั้นดาวดึงส์ก็ให้ดูด้วยลิจฉวีนี่แหละ" เท่ากับบอกว่าการมีชีวิตอยู่อย่างหรูหราฟุ่มเฟือยมีความสุขเต็มที่ เช่นพวกเจ้าลิจฉวี นั้นก็คือสภาวะที่เรียกว่าชาวสวรรค์ หรือผู้เกิดในสวรรค์

ข้อความนี้จะชัดเจนขึ้นโดยไม่ต้องตีความ ในเล่มที่ 18 ข้อ 214 พระพุทธองค์ตรัสว่า พระองค์ทรงเห็นนรกชื่อ "ฉผัสสายตนิกะ" กับสวรรค์ชื่อ "ฉผัสสายตนิกะ" ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของคนเรานี่แหละคือ นรกและสวรรค์ ขณะใดที่เห็นรูป ได้ยินเสียง...อันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ น่าเพลิดเพลินเจริญใจ ก็เรียกว่า "ขึ้นสวรรค์" ขณะใดที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และมโนภาพที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าพอใจ มีแต่ความทุกข์ร้อนใจ ขณะนั้นเรียกว่า "ตกนรก"

สรุป นรกสวรรค์ในพระไตรปิฎก สามารถตีความได้ทั้ง 2 นัย คือ นรกสวรรค์ทาง "กายภาพ" และนรกสวรรค์ที่เป็น "สภาวะทางจิต" โดยนัยนี้จะพูดว่า "สวรรค์ในอก นรกในใจ" ก็ถูก หรือพูดว่า สวรรค์นรกเป็นภพภูมิหนึ่งโดยเฉพาะ ก็ถูกเช่นกัน ถ้ายังไม่เห็นด้วยตนเองก็ไม่ต้องเถียงกัน เมื่อใดประจักษ์ด้วยญาณอันเป็นปัจจัตตังแล้ว ปัญหาจะหมดไปเอง การทะเลาะทุ่มเถียงกันก็จะหมดไปโดยอัตโนมัติ


(มีต่อ 60)
 


แก้ไขล่าสุดโดย สาวิกาน้อย เมื่อ 27 พ.ย.2006, 7:54 am, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง