Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พระเจ้าสิบชาติ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 07 ต.ค.2006, 1:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระเจ้าสิบชาติ


มหานิบาตชาดก
จาก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒



คัดลอกจาก...
http://www.sawanbanna.com/old_thai/dhamma.htm

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 07 ต.ค.2006, 4:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

1. พระเตมีย์ใบ้


ในครั้งก่อนนานมาแล้ว พระเจ้ากาสิกราชครองสมบัติในเมืองพาราณสี แต่พระองค์มีราชโอรสและธิดาไม่ ด้วยกลัวว่าจะไม่มีผู้สืบสกุล จึงให้นางจันทเทวีและนางสนมทำพิธีขอพระโอรส พระอัครมเหสีก็ทรงทำตาม จึงได้ทรงครรภ์เมื่อครบกำหนดแล้วก็ทรงประสูติออกมาเป็นราชกุมาร พระเจ้ากาสิกราชทรงดีพระทัยเป็นอันมา
จัดให้การสมโภชและพระราชทานนางนมให้แก่พระราชกุมารและขนานนามว่า เตมีย์กุมารเพราะในวันประสูตินั้นฝนได้ตกทั่วทั้งพระนครและเป็นเหตุให้พระทัยของพระองค์และราษฏร์ได้รับความแช่มชื่น เรื่องความกลัวว่าราชวงค์จะสูญสียก็เป็นอันหมดไปพระเจ้ากาสิกราชทรงโปรดปรานพระราชกุมารมาก บางครั้งถึงกับอุ้มออกไปทรงว่าราชการด้วย....
วันหนึ่งขณะที่พระราชบิดาอุ้มออกไปทรงว่าราชการอยู่นั้น อำมาตย์ได้นำโจรมาให้ ทรงวินิฉัย 4 คนด้วยกัน พระราชาทรงสั่งให้ลงอาญาโจรเหล่านั้น..คนที่ 1 ให้เฆี่ยนด้วยหนามหวาย และอีกคนให้เอาหอกแทงทรมานให้เจ็บปวดแสนสาหัสคน 1 ให้เอาหลาวเสียบไว้ที้งเป็น..คน 1 ให้คุมขังไว้

พระราชกุมารได้ทรงเห็นเช่นนั้น ก็ระลึกความหลังครั้งไปอยู่นรก ก็คิดว่าพระราชบิดาของเราทำดังนี้น่ากลัวเหลือเกิน ตายไปตกนรกแน่นอน เราเองถ้าใหญ่ขึ้นมาก็ต้องครอบครองแผ่นดิน ก็ต้องทำอย่างพระราชบิดาแน่นอน ทำอย่างไรจึงจะพ้นไปจากการต้องเป็นพระเจ้าแผ่นดินได้ เทพธิดาผู้เคยเป็นมารดาของพระราชกุมารในครั้งก่อนสิงอยู่ที่เศวตฉัตร..ได้แนะนำพระราชกุมารให้ปฏิปัติ 3 ประการคือ

1. จงเป็นคนง่อย
2. จงเป็นคนหูหนวก
3. จงเป็นใบ้ แล้วจะพ้นสิ่งเหล่านี้

นับตั้งแต่นั้นมา เตมีย์ก็เริ่มปฏิบัติไม่พูดไม่จาอะไรทั้งนั้นใครมาพูดก็ทำเป็นไม่ใด้ยิน เอาอุ้มไปวางไว้ที่ไหนก็นั้งอยู่อย่างนั้น ไม่ขยับเขยื้อนไปในที่ใด พระราชบิดาทรงสงสัยว่าแต่ก่อนพระราชกุมารก็เหมือนเด็กทั่วไปรื่นเริงโลดเต้น..
เจรจาเสียงแจ้วอยู่ตลอดเวลาทำไมกลับมาเงียบขรึมไม่พุดไม่จา ใครจะพูดอะไรก็ไม่ได้ยิน คงจะเกิดโรคภัยชนิดใดขึ้นแน่ จึงให้หมอตรวจ ก็มิได้พบว่าพระราชกุมารเป็นอะไร

คงเป็นปกติทุกอย่าง ก็ทรงให้ทดลองหลายอย่างหลายประการ เป็นตันว่าให้อยู่ในที่สกปรก พระเตมีย์อดทนอยู่ได้ แม้จะหิวก็ไม่ทรงกันแสงแม้จะกลัวก็ไม่แสดงอาการอย่างไร เพราะเห็นว่าภัยในนรกร้ายแรงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน..จึงคงเฉย ๆ ทำเอาพระราชบิดาสิ้นปัญญา
พวกอำมาตย์รับอาสาว่าจะทดลองดูก่อน ก็ทรงอนุญาติให้..ครั้งแรกเมื่อให้พระเตมีย์นั่งอยู่ในเรือนแล้วแกล้งจุดไฟเพื่อจะให้พระเตมีย์กลัว..แต่หาได้ทำให้พระเตมีย์หวาดกลัวไม่คงเป็นปกติอยู่

ทดลองอย่างนี้ตั้งปี ก็ไม่พบความผิดปกติอย่างไร ต่อไปก็ทดลองด้วยช้างตกมัน โดยนำพระราชกุมารไปประทับนั่งที่พระลาน..ให้มีเด็กห้อมล้อมหมู่มาก..แล้วให้ปล่อยช้างที่ฝึกแล้วเชือกหนึ่ง วิ่งตรงเข้าไปจะเหยียบพระราชกุมาร เด็กที่ห้อมล้อมอยู่หวาดกลัวร้องไห้พากันวิ่งหนีกระจัดกระจายไป แต่พระเตมีย์ก็คงทำเป็นไม่รู้ชี้เช่นเดิม

ทดลองอย่างนี้สิ้นเวลาตั้งปีก็ไม่สำเร็จประโยชน์อะไรขึ้นมา พระกุมารเคยเงียบไม่กระดุกกระดิกอย่างไรก็คงอย่างนั้นแม้ช้างจะจับพระกายขึ้นเพื่อจะฟาดก็ไม่ตกใจกลัวเพราะมุ่งหวังอย่างเดียวจะให้พ้นจากการเป็นพระเจ้าแผ่นดินให้ ต่อไปก็ทดลองด้วยงู ให้พระเตมีย์นั่งอยู่ แล้วให้ปล่อยงูมารัด ธรรมดาเด็กย่อมจะกลัวงู อย่าว่าแต่เด็กเลยผู้ใหญ่ก็เถอะ...แต่ก็ไม่ทำให้พระเตมีย์หวาดกลัวไปได้ คงนั่งเฉยทำเหมือนรูปปั้นเสีย เล่นเอาอำมาตย์เจ้าปัญญาสั่นหัว

ทดลองอย่างนี้อีกเป็นปีก็ไม่อาจจะจับพิรุธพระกุมารได้ ต่อไปให้ทดลองด้วยการให้พระเตมีย์นี่งอยู่ แล้วให้คนถือดาบวี่งมาจะทำอันตราย แต่พระกุมารทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ หูไม่ได้ยิน ปากก็ไม่มีเสียง กายไม่กระดิกกระเดี้ย ทดลองอย่างนี้อีกเป็นปีก็จับอะไรพระกุมารไม่ได้.. ต่อไปก็ทดลองเสียง โดยให้พระเตมีย์นั่งอยู่พระองค์เดียว แล้วจู่ ๆ เสียงอึกทึกครึกโครมก็ดังขึ้นมาแต่พระเตมีย์คงทำไม่ได้ยินเช่นเคย การทดลองของอำมาตย์เป็นระยะทั้งสิ้น 7 ปี หลายปีที่ทำมาก็ไม่สามารถทำให้พระเตมีย์พูดออกมาได้ตั้งแต่ 9 ขวบ จนกระทั่ง 16 ขวบ พระเตมีย์ก็คงทำเช่นนั้น

เมื่อวัยแรกรุ่นย่อมจะชอบใจในกามารมณ์ จึงจัดให้ให้สาวน้อย ๆ มาเล้าโลมประการใด ๆ กอดรัดบ้าง ลูบโน่นบ้างลูบนี่บ้าง จนกระทั่งเปิดโน่นให้ดูบ้าง เปิดนี่ให้ดูบ้าง จะทำอย่างไรพระเตมีย์ก็คงทำเฉยไม่รู้ไม่ชี้ทองไม่รู้ร้อนตลอดกาล....

ใครจะพูดอย่างไร จะทำอย่างไรพระเตมีย์ไม่ได้ยินทั้งนั้น ไม่ยอมเคลื่อนไหวไม่ร้องไห้เหมือนเด็ก ๆ ไม่อ้าปากส่งเสียงอะไรออกมา ผลที่สุดทั้งพระราชบิดาและอำมาตย์ลงความเห็นว่าพระกุมารคงเป็นคนกาลกิณีเสียแล้ว..ขืนให้อยู่ต่อไปคงจะเกิดอันตรายขึ้นแก่พระองค์แก่สมบัติและแก่พระอัครมเหสี ควรจะออกไปทิ้งเสียที่ป่าช้าผีดิบนอกเมือง พระราชาก็เห็นด้วย จึงดำริจะให้เอาไปทิ้งเสีย แต่พระเทวีอัครมเหสีมาเฝ้ากราบทูลว่า
"ขอเดชะ..พระองค์ได้พระราชทานพรไว้แก่ข้าพระองค์บัดนี้หม่อมฉันจะทูลขอพรที่ได้ให้ไว้นั้น..."
"พระเทวีเธอขออะไรก็ตรัสไปถ้าไม่หลือวิสัยแล้วจะให้"
"ข้าพระองค์ขอราชสมบัติให้พระเตมีย์"
"อะไรกันพระเทวีก็เจ้าเตมีย์เป็นคนใบ้ แล้วก็หูหนวกเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ จะเป็นพระเจ้าแผ่นดินได้อย่างไร"
"ก็พระเตมีย์เป็นอย่างนั้น หม่อมฉันจึงขอพระราชสมบัติ"
"ไม่ได้พระเทวีเลือกอย่างอื่นเถิด"
"หม่อมฉันขอเลือกให้พระเตมีย์ครองแผ่นดินแม้ไม่มากเพียง 7 ปีก็พอ"
"ไม่ได้พระเทวีจะเป็นความเดือดร้อนแก่คนอื่นมากมายนัก ลูกเราไม่มีความสามารถถ้าดีอยู่อย่าว่าแต่ 7 ปีเลย ตั้งใจอยู่แล้วว่าจะให้สมบัติตลอดไป"
"ขอสัก 1 ปีก็แล้วกัน"
"ไม่ได้พระเทวี"
"ถ้าอย่างนั้นขอ 7 วัน หม่อมฉันขอให้พระเตมีย์ได้เป็นสักหน่อยเถิด"
พระเจ้ากาสิกราชก็ยอมตกลง จึงได้ให้ตกแต่งร่างกายของพระเตมีย์ในเครื่องกษัตริย์ แล้วให้เสด็จเลียบพระนครประกาศให้ประชาชนพลเมืองทั่วไปทราบว่า บัดนี้พระเตมีย์ได้เป็นกษัตริย์แม้ใคร ๆ จะทำอย่างไรพระเตมีย์ยังคงเฉย ร่างกายไม่เคลื่อนไหวเป็นเหมือนหุ่น เขาวางไว้ตรงไหนก็อยู่ตรงนั้น ไม่พูดไม่จาอะไรทั้งสิ้น ใครจะทำอะไรก็ไม่ได้อยู่ในความสนใจของพระกุมารทั้งสิ้น พอครบ 7 วัน

พระนางจันทเทวีก็ทรงพระกันแสงเพราะครบกำหนดที่สัญญาไว้กับพระราชาแล้ว พระราชาจึงมอบพระเตมีย์กุมารให้กับนายสุนันทสารถีเอาใส่รถไปฝังเสียที่ป่าช้าดิบภายนอกเมือง นายสุนันทก็เอาพระเตมีย์ใส่ท้ายรถขับออกจากตัวเมืองไปยังป่าช้าผีดิบ แต่หารู้ไม่ว่าทางที่จะไปนั้นม้นไม่ใช่ป่าช้าผีดิบแต่เป็นป่าอีกหนึ่งต่างหาก..
ความผิดพลาดของนายสารถี นับตั้งแต่เริ่มเทียมรถม้าแล้วคือ แทนที่จะเอารถสำหรับใส่ศพ กลับเอารถมงคลมาเทียมแทนและเมื่อรับพระเตมีย์แล้วก็คิดว่าจะขับไปป่าช้าผีดิบซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกจึงเป็นอันว่านายสารถีผิดพลาดตลอดมา.. แต่การผิดพลาดนี้เป็นผลดีของพระเตมีย์

เมื่อถึงป่านอกเมือง ซึ่งนายสุนันทคิดว่าเป็นป่าช้าผีดิบ เขาก็หยุดรถหยิบจอบเสียมลงไปเพื่อจะขุดหลุมฝังพระกุมารเสีย หูของเขายังแว่วพระดำรัสของพระราชาที่ว่า
"ลูกข้าคนนี้ เป็นกาลกิณีเองจงเอาไปป่าช้าแล้วขุดหลุมสี่เหลียมให้ลึก แล้วเอาจอบทุบหัวมันเสียก่อนแล้วค่อยฝังมันทีหลัง ช่วยมันหน่อยนะอย่าให้ฝังมันต้องถูกฝังทั้งเป็นเลย

ในขณะที่นายสารถีกำลังขุดหลุมอยู่ไมไกลจากรถนี้นเอง พระเตมีย์ก็คิดว่าร่างกายของเราไมได้เคลื่อนไหวมาตั้ง 16 ปี จะเป็นอย่างไรบ้างก็ไม่รู้ ก็ทรงกายลุกขึ้นลงมาจากรถทดลองเดินไปมาอยู่ข้างรถ
"ไม่เป็นอะไร มือเท้าไม่ได้เป็นง่อยเปลี้ยเสียแต่อย่างใด แต่กำลังเล่าจะเป็นไฉน"

คิดแล้วก็จับเอางอนรถยกขึ้น..เป็นความมหัศจรรย์...พระเตมีย์ยกรถขึ้นกวัดแกว่งได้เหมือนยกเอารถตุ๊กตาเบาแสนเบาแล้วกลับวางอย่างเดิม แลเห็นนายสารถีก้มหน้าก้มตาขุดหลุมอยู่โดยไม่ทราบว่าพระองค์ได้ทำอย่างไรบ้าง จึงเดินเข้าไปยืนอยู่ใกล้ก็ไม่รู้แต่ก็ตกใจเมื่อได้ยินเสียง
"สารถีท่านขุดหลุมสี่เหลียมทำไมกัน"

เขาเหลียวหน้ามามองแต่ก็จำไม่ได้ว่าเป็นพระกุมารที่ตนนำมาคิดเสียว่าเป็นคนเดินทางผ่านมาเห็นตนกำลังขุดหลุมอยู่ก็แวะเจ้ามาสอบถามดู
"ขุดหลุมฝังคน" เขาตอบสั้น
"ฝังใครกันล่ะ?"

"ฝังลูกพระเจ้าแผ่นดิน"
"ฝังทำไมกันล่ะ?"
"เรื่องมันยืดยาวท่านอยากจะรู้ไปทำไม"
"ก็อยากจะรู้บ้างว่าคน ๆ นั้นเป็นลูกพระเจ้าแผ่นดินจะมาถูกฝังเพราะโทษอะไร" นายสารถีก็ชี้แจงว่า
"ไม่มีโทษอะไรหรอก แต่พระราชกุมารเป็นคนกาลกิณีขืนปล่อยไว้นานไปความอุบาทว์ ทั้งหลายก็จะเกิดแก่ราชสมบัติ พระเตมีย์จึงแสร้งตรัสถามต่อไปว่า
"คนกาลกิณีน่ะเป็นอย่างไร"
"ก็เป็นคนไม่ดีน่ะสิ" นายสารถีเริ่มฉุน
"ไม่ดีอย่างไร"
"เอ..ท่านนี่ควรจะไปเป็นศาลตุลาการ..แทนที่จะเป็นคนเดินทางเพราะแก่ชักเสียจริง"

พระกุมารก็ไม่ขุ่นเคือง คงมีพระดำรัสเรียบ ๆ ถามต่อไป
"ข้าพเจ้าอยากรู้จริง ๆ ก็เลยรบกวนท่านหน่อย"
"เอ๊า...อย่างนั้นคอยฟัง..คือว่าพระโอรสของเจ้านายข้าพเจ้าคนนี้ เกิดมามีลักษณะสวยงามน่าเอ็นดูอยู่หรอก แต่เสียอย่างเดียวภายหลังมาเกิดไม่พูดไม่จาแขนขาไม่ยกไม่ก้าว เสียเฉย ๆ ยังงั้นเเหละใครจะพูดอะไร หูก็แถมหนวกเสียด้วยเลยเป็นอันว่าเหมือนตุ๊กตาตัวโต ๆ ที่เขาตั้งไว้"
"แล้วอะไรอีกล่ะ"
"ก็ไม่ยังไงหรอกพระเจ้าแผ่นดินรอมาถึง 16 ปี ก็ไม่เห็นดีขึ้น เลยตัดสินให้ข้าพเจ้าเอามาฝังเสียหลุมที่ขุดนี่แหละที่จะฝังพระราชกุมาร ท่านเข้าใจหรือยัง"
"ท่านรู้ไหมว่าเราเป็นใคร" จึงมองอย่างพินิจพิจารณา แต่เขาก็จำไม่ได้เพราะผู้ที่เขาเห็นอยู่ตรงหน้าบัดนี้ไม่ใช่พระกุมารผู้เป็นง่อยเปลี้ยเสียแข้งขาเสียแล้ว แม้ว่าหน้าตาจะคล้ายคลึงกับพระกุมารแต่เขาก็ไม่แน่ใจนักจึงทำอ้ำอึ้งอยู่

เมื่อเห็นสารถีมองดูด้วยความสงสัยจึงประกาศตนว่า
"สารถี..เราคือเตมีย์กุมารที่ท่านจะนำมาฝัง ท่านลองพิจารณาดูเถิดว่าเป็นคนกาลกิณีหรือเปล่า..ดูสิเราเป็นง่อยหรือเปล่า"
นายสารถีได้แต่มองอย่างสงสัย แล้วเอ่ยขึ้นรำพึงกับตัวว่า
"เอ พระกุมารก็ไม่น่าเป็นไปได้ จะว่าไม่ใช่ก็กระไรอยู่"

"เราคือเตมีย์กุมาร โอรสของพระเจ้ากาสิกราชที่ท่านอาศัยเลี้ยงชีพด้วยการเป็นราชบริพารอยู่บัดนี้ อย่าสงสัยเลยท่านขุดหลุมฝังเราน่ะเป็นเรื่องไม่เป็นธรรมเลย"
"ทำไมไม่เป็นธรรม?"
"ท่านมองดูสิว่าเราเป็นคนกาลกิณีหรือเปล่า ท่านได้รับคำสั่งให้ฝังคนกาลกิณีต่างหาก"
"จริงสินะ" สารถีคิดแต่เขาก็อ้ำอึ้งอยู่ไม่รู้จะกล่าวออกว่ากระไรอีก ที่เขาจะนำไปฝังนั้นเอง เขาจึงก้มกราบที่เท้าของพระเตมีย์
"โอ้..ข้าพระบาทเป็นคนโง่เขลา ทั้งนายของตนเองก็จำไม่ได้ เหมือนปาฏิหาริย์ บันดาลให้เกิดไม่น่าเชื่อ"
"ทำไมไม่เชื่อ"
"เพราะพระองค์ไม่เคลื่อนไหวร่างกายตั้งสิบกว่าปีอวัยวะควรจะใช้ไม่ได้ ควรจะเหี่ยวแห้งไป แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่นับว่าเป็นความประหลาดมากทีเดียว"
"เมื่อท่านเห็นเราเป็นอย่างนี้แล้ว ท่านยังจะคิดฝังเราอีกหรือเปล่า"
"ไม่พะย่ะค่ะ ข้าพระบาทเลิกคิดจะทำร้ายพระองค์แล้ว ข้าพระพระองค์เข้าไปเฝ้าพระราชบิดามารดาเพื่อจะได้ครองราชสมบัติต่อไป"
"เราไม่คิดจะกลับไปสู่สถานเช่นนั้นอีก เพราะที่นั้นเป็นเหตุให้กระทำความชั่ว ซึ่งต่อไปจะทำให้บังเกิดในนรกอย่างไม่รู้จะผุดจะเกิดเมื่อไหร่ ?"

แต่นายสารถีก็ยังแสดงความดีใจ
"ถ้าข้าพระองค์นำพระองค์กลับเข้าไปได้ใคร ๆ ก็ต้องแสดงความยินดีกับพระองค์ และข้าพระองค์ก็จะได้เงินทองทรัพย์สมบัติผ้าผ่อนและแพรพรรณต่าง ๆ จากคนเหล่านี้ เป็นต้นว่า
พระราชบิดามารดาของพระองค์ก็ทรงยินดี ข้าพระองค์อาจจะได้ยศศักดิ์ บริวารและ อะไรต่าง ๆ ตามความปรารถนาเพราะ ใคร ๆ แสดงความสามารถที่จะให้พระองค์ไม่กลายเป็นคนง่อยเปลี้ยเสียขาเป็นคนหูหนวกเป็นใบ้มาตั้งสิบกว่าปีก็ไม่สำเร็จ แต่ข้าพระองค์กลับทำได้ เป็นความดีใจที่เหนือความดีใจทั้งหมดที่เคยมี ข้าพระองค์กำลังจะรับความสุข ไม่ต้องลำบากเช่นเดี๋ยวนี้"

"ท่านอย่าเพิ่งดีใจไปก่อนเราจะว่าให้ฟังเราเป็นคนไม่มีญาติขาดมิตร เป็นคนกำพร้า เป็นคนกาลกิณีจนเขาต้องให้ท่านเอาเราไปฝังเสียยังป่าช้าผีดิบ..ท่านนำเรากลับไปก็ไม่ดีท่านนั้นเเหละอาจจะกลายเป็นคนกาลกิณีไปก็ได้เพระใคร ๆ เขาก็เข้าใจอย่างนั้นแล้วท่านจะฝืนความนึกคิดคนอื่นได้อย่างไร เราสละแล้วด้วยประการทั้งปวง บ้านเรือนแว่นแคว้นเราไม่มี เราจะบำเพ็ญพรตรักษาศีลอยู่ในป่านี้โดยไม่กลับไปอีกแล้ว"

"พระองค์น่าจะตรัสกับพระราชบิดามารดาเสียก่อน"
"ไม่ล่ะ เราความเพียรเพื่อจะออกจากเมืองเป็นจำนวนถึง 10 กว่าปี ความตั้งใจของเราจะสำเร็จแล้ว เราจะไม่เข้าไปสู่สถานที่ทำกรรมอีกล่ะ ถ้าเราเป็นพระเจ้าแผ่นดินอาจจะอยู่ไปได้หลายสิบปี แต่เราจะต้องทำกรรมแล้วไปตกอยู่ในนรกตั้งหมื่นปี ท่านลองคิดดูว่าพระเจ้าแผ่นดินจะต้องสั่งให้เขาเฆี่ยนตี..ฆ่าคนนี้..ทำทรมานคนโน้น..ริบทรัพย์คนนั้น..ริบทรัพย์คนโน้น..วันละเท่าไร ปีละเท่าไร แล้วผลของการกระทำความชั่วนั้นจะไม่ย้อนกลับมาให้ผลเราบ้างหรือ

นายสารถีอดที่จะค้านไม่ได้
"พระเจ้าแผ่นดินจะทรงทำอย่างนั้น..ว่าโดยทางโลกยินยอมว่าเป็นความถูกต้อง เขาให้อำนาจที่จะกระทำ แต่ท่านต้องไม่ลืมนะว่าจะทำอย่างไรก็ไม่ผิดจากทางโลก..แต่ทางธรรมไม่เคยยกเว้นให้ใคร ทางธรรมมีอยู่ว่าทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว ผลของการทำดีนำไปสู่สวรรค์ ผลของการทำชั่วนำไปสู่นรก"

นายสารถีจึงกราบทูลว่า
"ข้าพระองค์เป็นคนเขลา ยังคิดเป็นความสุขสบายแต่เมื่อพระองค์ดำรัสก็เห็นได้จริงคงอย่างนั้น ทุกคนต้องรักขีวิตร่างกายของตนทั้งนั้น เมื่อใดใครมาทำอันตรายก็เป็นธรรมดาต้องไม่ชอบ เมื่อพระองค์เห็นว่าโลกยุ่งมากนักจะบวช ข้าพระองค์ก็จะบวชเหมือนกัน" พระกุมารดำริว่า

"หากให้นายสารถีบวชเสีย ม้ารถก็เสียหาย และพระราชบิดามารดาคงได้รับความโทมนัสที่จะเอาฝังเสีย ถ้าให้ท่านกลับคืนไปเมืองก็จะทำให้พระองค์เสด็จมาดูเรา ได้รับความโสมนัส และบางทีพระราชบิดาจะกลับใจประพฤติชอบขึ้นมาบ้าง" จึงตรัสว่า
"เธอกลับไปส่งข่าวแก่พระราชบิดามารดาก่อนเถิดแล้วค่อยมาบวชทีหลัง เพราะบวชด้วยความเป็นหนี้ไม่ดีเลย"

นายสารถียินดีจะกลับไปทูลพระเจ้าแผ่นดิน แต่เกรงว่าเมื่อตนไปกราบทูลพระเจ้าแผ่นดินแล้ว เมื่อเสด็จมาดูไม่พบพระกุมารก็เลยกลายเป็นว่าตนโกหก อาจจะถูกลงพระอาญาได้ จึงทูลขอพระกุมารไว้อย่าได้เสด็จไปที่อื่น ซึ่งพระกุมารก็รับคำนายสารถีถึงได้กลับไป
พระนางจันทรเทวี นับตั้งแต่นายสารถีเอาพระราชกุมารไปแล้วพระองค์ก็คอยเฝ้ามองอยู่ว่าเมื่อไรนายสารถีจะกลับมา จะได้ทราบเรื่องพระโอรสที่รักบ้าง
เมื่อเห็นนายสารถีกลับมาคนเดียวก็แน่พระทัยว่าพระราชโอรสของพระองค์สิ้นพระชนม์เสียแล้ว น้ำพระเนตรก็ไหลอาบพระปรางด้วยความโทมนัส ตรัสถามนายสารถีว่า
"พ่อสารถี ที่เอาโอรสของเราไปฝังนั้น พ่อได้รับคำสั่งเสียจากโอรสของเราอย่างไรบ้าง และโอรสของเราได้ทำอย่างไร"
"ขอเดชะพระแม่เจ้า ข้าพระบาทจะเล่าเหตุการณ์ที่เกิดกับพระราชกุมารให้ฟังตั้งแต่ต้นจนปลาย"

แล้วเขาก็เล่าตั้งเเต่นำเอาพระโอรสอออกไปขุดหลุมจะฝังพระโอรสก็กลับกลายหายจากง่อยเปลี้ยเสียขา เจรจาได้ทรงพลกำลังยกรถที่ขี่ออกไปกวัดแกว่ง จนกระทั่งตนได้ทราบความจริงว่าทำไมพระกุมารจึงได้ทำอย่างนั้น แล้วเขาก็ลงท้ายว่า
"ขอเดชะ บัดนี้พระองค์ทรงผนวชอยู่ในราวเบื้องป่าบูรพาทิศเมืองนี้พระเจ้าข้า"

เท่านั้นเองพระนางก็ลิงโลดพระทัยตรัสออกมาว่า
"โอ..พ่อเตมีย์ของแม่ไม่ตายดอกหรือ เออ? ดีใจ ดีใจจริงๆ" สองพระกรก็ทาบพระอุระ ข่มความตื้นตันไว้ในพระทัย ถึงพระกาสิกราชก็ดีพระทัยเช่นกัน

การที่พระองค์ให้เอาพระเตมีตย์ไปฝังเสียนั้น ใช่ว่าพระองค์จะชิงชังหรือรังเกลียดก็หามิได้ แท้ที่จริงเพราะพระองค์กลัวอันตรายจะเกิดกับพระราชวงศ์ ตลอดจนพระมเหสีที่รักต่างหาก และนายสารถีก็ได้กราบทูลว่า
"พระราชกุมารทรงพระสรีระโฉมงามสง่าเหลือเกินมีสุรเสียงไพเราะตรัสออกมาน่าฟัง เหตุที่เป็นดังนั้นเพราะพระกุมารตรัสเล่าให้ฟังว่า

ทรงระลึกชาติได้ได้ว่าครั้งชาติก่อนพระองค์เคยเป็นพระเจ้าแผ่นดินได้ทำกรรมมีการจับกุมขังเฆี่ยนฆ่านักโทษมี ประการ ต่าง ๆ ครั้นพระองค์สวรรณคตแล้วได้ไปบังเกิดในนรกเป็นเวลานาน
เหมือนคนที่ถูกงูกัด มองเห็นสิ่งอะไรคล้ายกับงูก็ย่อมจะกลัวไปหมด ฉะนั้นข้าพระองค์เองยังอยากจะบวชอยู่ในป่านั้นด้วย แต่พระกุมารไม่ยอมให้ข้าพระองค์บวช บอกให้ข้าพระองค์กลับมาทูลเรื่องราวให้พระองค์ทั้งสองทราบเสียก่อน แล้วจึงค่อยไปบวชภายหลัง ข้าพระองค์จึงได้รีบกลับมากลาบทูลให้ทราบ หากพระองค์อยากจะเสด็จไปสถานที่นั้น ข้าพระองค์จักนำไปเอง”

พระเจ้ากาสิกราชมีพระดำรัสให้เตรียมพโยธาเพื่อจะเสด็จไปเฝ้าพระเตมีย์กุมาร ซึ่งบวชบำเพ็ญพรตอยู่ในป่าด้านปราจีนทิศของเมือง แต่การเข้าไปนี้พระราชาเป็นผู้เสด็จเข้าไปก่อนเพื่อสอบถามทุกข์สุขซึ่งกันและกัน พระเทวีจึงเสด็จเข้าไป เมื่อเห็นพระโอรสเสด็จประทับนั่งอยู่ ด้วยความปลื้มปีติพระนางตรงเข้าไปกอดพระบาทของพระโอรส ทรงกันแสงสะอึกสะอึ่นแล้วถอยออกมา
“พ่อเตมีย์บริโภคแต่ใบไม้พลไม้ในป่า ทำไมจึงมีร่างกายสดใส"

พระราชาจึงถามพระเตมีย์ว่า เตมีย์กุมารจึงทูลตอบว่า
“ขอเดชะการที่เป็นเช่นนี้เพราะเหตุว่า สละความห่วงใยไม่ให้มาเกาะเกี่ยวจิตใจ อะไรที่ล่วงมาแล้วก็ไม่คิดเศร้าโศก ไม่คิดอยากได้สิ่งที่ยังมาไม่ถึง พยายามรักษาจิตใจในสิ่งที่เป็นปัจจุปันเท่านั้น จึงทำให้ผิวพรรณของหม่อมฉันไม่เศร้าหมอง”
“เมื่อพ่อไม่เป็นกาลกิณีแล้ว พ่อก็ควรจะกลับไปครองราชสมบัติเพื่อประโยชย์แก่ชนหมู่มากเถิด บัดนี้ก็เอาเบญจราชกกุธภัณฑ์มาด้วยแล้ว และเมื่อกลับไปถึงบ้านเมืองแล้วจะได้ ไปสู่ขอลูกกษัตริย์อื่นให้มาเป็นอัครมเหสี พระกูลวงศ์ของเราก็ไม่เสียไป”

เตมีย์กลับกล่าวตัดบทว่า
การบวชควรจะบวชเมื่อยังหนุ่มเพราะสังขารร่างกายของเราตกอยู่ในคติของธรรมดา เกิดแล้วก็เจ็บตายไปตามสภาพรู้ไม่ได้ว่าเราจะตายเมื่อใด

พระราชบิดาก็คงเห็น บางคนลูกตายก่อนพ่อแม่ น้องตายก่อนพี่ เหล่านี้แล้ว จะมัวประมาทอยู่ได้อย่างไร โลกถูกครอบงำอยู่ด้วยมฤตยู พระองค์ลองคิดดูช่างหูกเขาจะทอผ้าสักผืนหนึ่ง ทอไปทอไปข้างหน้า ก็น้อยเข้าฉันใด ชีวิตของคนเราก็เช่นนั้นพระองค์อย่ามัวประมาทอยู่เลย”

พระราชาได้สดับแล้วก็คิดจะบวชบ้าง แต่ก็คิดจะลองใจเตมีย์กุมารดูอีก ก็ตรัสชวนในราชสมบัติและยกเอากามคุณต่าง ๆ มาล่อ แต่พระเตมีย์ก็คงยืนยันเช่นนั้นพร้อมกับอธิบายถึงผลภัยของราชสมบัติมีประการต่าง ๆ ตนพระราชาตกลงพระทัยจะผนวช

จึงให้เอากลองไปตีป่าวประกาศว่าใครอยากบวชในพระราชสำนักพระเตมีย์ก็จงบวชเถิด และมิใช่แต่เท่านั้น ยังจารึกแผ่นทองคำไปติดไว้ที่เสาท้องพระโรงว่า ใครต้องการทรัพย์สมบัติใด ๆ ในคลังหลวงจงมาเอาไปเถิด

พร้อมกันนั้นก็ให้เปิดพระคลังทั้งสิบสองพระคลังเพื่อจะให้คนที่ปราถนาจะได้ขนเอา ประชาชนราษฎรพากันแตกตื่นไปบวชในพระราชสำนักพระเตมีย์ บ้านเรือนก็เปิดที้งไว้โดยไม่สนใจ ที่บริเวณสามโยชน์ เต็มไปด้วยดาบสและดาสินี บรรดารถและช้างม้าที่พระราชานำมาแต่เมืองก็ปล่อยให้ผุพัง ช้างม้าก็กลายเป็นม้าป่าช้างป่าเกลื่อนไปในป่านั้น

พระราชาที่อยู่ใกล้เคียงได้ทราบว่า กรุงพาราณสีไม่มีผู้คุ้มครองรักษา ก็ยกพหลโยธาหมายจะยึดครองเอาไว้ในอำนาจ
เมื่อมาถึงได้เห็นประกาศที่พระกาสิกราชติดไว้ ก็ทำ ให้เกิดสงสัยว่า ทำไมคนเหล่านี้จึงทิ้งสมบัติทั้งปวงเสีย ออกไปบวชอยู่ในป่าได้ บ้านเรือนราฎรก็ทิ้งไว้ ประตูเมืองก็หาคนปิดมิได้ แต่ทรัพย์สมบัติยังคงอยู่ทุกอย่าง เลยยกพหลโยธาตามออกในป่า พบพระราชาและพลเมืองบวชเป็นฤษีบำเพ็ญพรตอยู่ในป่านั้น

และเมื่อได้สดับธรรมะที่พระเตมีย์ให้โอวาทเข้าอีก เลยทำให้คิดจะหลีกเร้นออกหาความสุข พากันสละช้างม้าตลอดจนเครื่องอาวุธ บวชอยู่ในสำนักพระเตมีย์ ในบริเวณป่าดาษดา ไปด้วยรถที่ผุพังทรุดโทรม สัตว์ป่าวิ่งกันไปในป่าเกลื่อนไปหมดล้วนแต่เชื่อง ๆ รวมอยู่ใกล้ ๆ กับบรรดาฤษีเหล่านั้นก็บำเพ็ญฌานสมาบัติ ตายไปได้บังเกิดในเทวโลก
คติเรื่องนี้ที่ควรจะได้ คือการตั้งใจแน่วแน่
อยากจะได้สิ่งอันใดสมดังความตั้งใจอันนั้น
ก็พยายามจนสำเร็จและได้เห็นความ อดทน
อดกลั้นของพระเตมีย์ ซึ่งต้องทำ เป็นคนง่อย
คนใบ้ คนหูหนวกสารพัดเป็นเวลาตั้ง 10 กว่าปี
หากเราจะตั้งใจแล้วพยายามทำก็จะต้องสำเร็จจนได้
ในวันหนึ่ง เรื่องพระเตมีย์ก็จบลงด้วยความสำเร็จทุกประการฉะนี้


ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้
 


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 07 ต.ค.2006, 4:38 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 07 ต.ค.2006, 4:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

2. พระมหาชนก


ในอดีตที่ล่วงมาแล้ว มีพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งนามว่า มหาชนก เสวยราชสมบัติในเมืองมิถิลา ท้าวเธอมีโอรสสองพระองค์ องค์หนึ่งนามว่า อริฎฐชนก อีกองค์หนึ่งมีนามว่าโปลชนก พระองค์ได้ทรงตั้งอริฎฐชนกในตำเเหน่ง อุปราช และโปลชนกในตำเเหน่ง เสนาบดี ต่อมาเมื่อท้าวเธอสวรรคตแล้ว อุปราชก็ได้ขึ้นครองแผ่นดินเสวยราชสมบัติแทน และได้แต่งตั้งเจ้าโปลชนกผู้เป็นน้องให้เป็นอุปราช ในขณะเมื่อเจ้าอริฎฐชนกเป็นอุราชอยู่นั้นก็รู้สึกว่าเป็นคนยุติธรรมดีอยู่ แต่เมื่อเป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้วหูเบา ฟังแต่ถ้อยคำคนประจบสอพลอ เพราะตามธรรมดาคนประจบสอพลอนั้น จะต้องหาเรื่องฟ้องคนนั้นคนนี้อยู่เสมอ เพราะคนไม่ทำงานแต่ก็อยากได้ความชอบ และการได้ความชอบโดยไม่ต้องทำงานวิธีง่ายที่สุดคือเหยียบย่ำผู้อื่นให้ตกแล้วตนจะได้แทนตำแหน่งนั้น
ตามธรรมดาของโลกย่อมจะมีเช่นนี้ตลอดกาล ผู้ทรงอำนาจกับความหูเบามักจะเป็นของคู่กัน ถ้าใครได้อ่านพงศาวดารจีน หรือแม้แต่ประวัติศาตร์ของไทย จะเห็นความหูเบามักจะทำไห้บ้านเมืองต้องพินาศ เรื่องนี้ก็เช่นเดียวกัน
เจ้าอุปราชโปลชนกถูกกล่าวหาจากผู้ใกล้ชิดของพระเจ้ากรุงมิถิลาว่าจะทำการกบฎ เพราะเจ้าอุปราชทรงอำนาจในทางการเมืองมาก ครั้งแรกก็ยัง ไม่ยอมเชื่อ ครั้งที่สองก็ชักลังเล พอครั้งมี่สามก็ทรงเชื่อเอาเลย ลืมคิดว่าผู้เป็นน้องของพระองค์ที่คลานตามกันออกมาแท้ ๆ ลักษณะเช่นนี้เข้าหลักที่ว่า


“อันเสาหินแปดศอกตอกเป็นหลักไปมาผลักบ่อยเข้าเสายังไหว”

แม้ความรักระหว่างพี่กับน้องก็ตัดได้ ถึงกับสั่งให้จับพระมหาอุปราชไปคุมขังไว้ยังที่แห่งหนึ่ง โดยหาความผิดมิได้มีคนควบคุมอยู่อย่างแข็งแรง เจ้าอุปราชถูกควบคุมโดยหาความผิดมิได้ ก็คิดจะหลบหนีออกไป จึงตั้งสัตย์อธิษฐานว่า
“ขอเดชะพระเสื้อเมืองทรงเมืองที่ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายตัวข้าพเจ้ามิได้คิดทรยศต่อที่ชายเลย แต่กลับถูกจับคุมขังทำโทษหาความผิดมิได้ ถ้าใจของข้าพเจ้าซื่อสัตย์ต่อพี่ชายจริงแล้ว ขอให้โซ่ตรวนขื่อคาตลอดจนประตูคุก จงเปิดให้ประจักษ์เถิด”
พอสิ้นคำอธิษฐานเท่านั้นด้วยความสัตย์สุจริตของมหาอุปราช บรรรดาเครื่องจองจำทั้งหลายก็หลุดออกจากกายของพระองค์ประตูเรือนจำก็เปิด มหาอุปราชก็เลยหนีออกจากที่นั้นไปซุ่มซ่อนอยู่ตามชายแดน

พวกพลเมืองได้ทราบข่าวอุปราชหนีออกมา และเห็นว่าพระเจ้าแผ่นดินเชื่อถือแต่คำสอพลอถึงกับกำจัดน้องในไส้จึงพากันเห็นใจเจ้าอุปราช ๆ ก็ไพล่พลมากขึ้น ตอนนี้พระเจ้าแผ่นดินไม่กล้าส่งคนออกติดตามแล้ว เพราะกลัวจะเกิดศึกกลางเมืองขึ้น เพราะทราบดีว่าถ้าส่งคนออกไปจับเจ้าอุปราชก็คงจะต้องสู้จึงเลยทำเป็นใจดีไม่ติดตาม

เจ้าอุปราชรวบรวมไพล่พลได้พอสมควรแล้วก็คิดว่า
“ครั้งก่อนเราซื่อสัตย์ต่อพี่ชาย แต่ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฎถูกจับคุมขัง จนต้องทำสัตยาอธิษธานจึงหลุดพ้นออกมาได้ ต่อไปนี้เราจะต้องทำความชั่วตอบแทนพี่ชายบ้างล่ะ”
เมื่อตัดสินใจเช่นนี้แล้ว เจ้าโปลชนกก็รวบรวมไพล่พลเสบียงอาหาร พร้อมแล้วก็ยกกองทัพเข้ามายังมิถิลานคร บรรดาหัวเมืองรายทางรู้ว่าเป็นกอง ทัพของพระเจ้าโปลชนก ก็ไม่สู้กลับเข้าด้วยเสียอีก เจ้าโปลชนกก็เลยได้คนมากขึ้นอีก ทัพก็ยกมาได้โดยเร็วเพราะหาคนต้านทานมิได้ ตราบจนกระทั่งถึงชานพระนคร จึงมีสาส์นส่งเข้าท้ารบว่า
“พระเจ้าพี่ ครั้งก่อนหม่อมฉันไม่เคยจะคิดประทุษร้ายพระเจ้าพี่เลย แต่หม่อมฉันก็ต้องถูกจองจำทำโทษที่พระเจ้าพี่เชื่อแต่คำสอพลอ บัดนี้หม่อมฉันจะประทุษร้ายพระเจ้าพี่บ้างล่ะ ถ้าจะไม่ให้เกิดสงคราม ขอให้พระเจ้าพี่มอบราชสมบัติให้หม่อมฉันเสียโดยดี ถ้าไม่ให้ก็จงเร่งเตรียมตัวออกมาชนช้างกับหม่อมฉันในวันรุ่งขึ้น

พระเจ้าอริฎฐชนก พอมาถึงตอนนี้ก็ต้องตกกระไดพลอยโจน จึงคิดจะยกพลออกไปต่อสู้กัน แต่ในขณะนี้นพระอัครมเหสีทรงพระครรภ์อยู่ พระเจ้าอริฎฐชนกจึงตรัสเรียกมาสั่งว่า

“น้องหญิง ขึ้นชื่อว่าสงครามแล้วไม่ดีเลย เพราะมีแต่ความพินาศเท่านั้น ประดุจสาดน้ำรด กันก็ย่อมจะเปียกปอนไปด้วยกันทั้งสองฝ่าย
อีกประการหนึ่งเป็นเรื่องที่คาดหมายลงไปแล้วแน่นอนว่าจะชนะฝ่ายเดียวนั้นก็ไม่ได้ พี่จะยกพลออกไปสู้กับเจ้าโปลชนก หากพี่เป็นอะไรไป เจ้าจงพยายามรักษาครรภ์ให้จงดีเจ้าจงคิดถึงลูกของเราให้มาก”
แล้วก็ยกพลออกไป และก็เป็นตามลางสังหรณ์ที่พระเจ้าอริฎฐชนกคาดว่าจะแพ้ก็แพ้จริง ๆ เพราะเมื่อได้ชนช้างกับเจ้าโปลชนกก็พลาดพลั้งเสียที ถูกเจ้าโปลชนกฟันสิ้นพระชนม์กับคอช้าง ไพล่พลก็แตกกระจัดกระจายพ่ายหนีอย่างไม่เป็นกระบวน
พระเทวีได้ทราบข่าวว่าพระสวามีสิ้นพระชนม์ และประชาชนพลเมืองแตกตื่นอุ้มลูกจูงหลานหนีข้าศึก พระนางก็เก็บของมีค่าใส่ลงใน กระเช้า เอาผ้าเก่า ๆ ปิดแล้วแอาข้าวสารใส่ข้างบน แล้วแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าเก่า ๆ ร้องไห้ฟูมฟายหลบหนีปะปนไปกับประชาชนพลเมือง โดยไม่รู้ว่าใครเป็นใคร
“จะหนีไปทางใดจึงจะรอดพ้นจากข้าศึก” พระนางคิดอยู่แต่ในใจ แล้วระลึกขึ้นได้ว่า
“เมืองกาลจัมปาอยู่ทางทิศเหนือกับมิถิลา ถ้าหากหลบหนีไปเมืองนี้ได้ก็ปลอดภัย” จึงพยายามดั้นด้นไปจนออกประตูด้านเหนือของเมืองได้
ด้วยบุญญาธิการของทารกในครรภ์ บันดาลให้ร้อนไปถึงพระอินทร์ เข้าลักษณะที่ว่า “ทิพย์อาสน์เคยอ่อนแต่ก่อนมา กระด้างดังศิลาประหลาดใจ จะมีเหตุมั่นแม่นในแดนดิน" อมรินทร์เร่งคิดสงสัย จึงสอดส่องทิพย์เนตรดูเหตุภัย ก็ได้ทราบว่าพระโพธิสัตว์ซึ่งอยู่ในครรภ์ของพระนางจะได้รับทุกข์ พระนางจะไปเมืองกาลจัมปาแต่ก็ไม่รู้จักหนทาง เดี๋ยวนี้ไปนั่งถามทางผู้คนที่ผ่านไปมาอยู่ ณ ศาลาพักคนเดินทางจำจะต้องอนุเคราะห์ ถ้าไม่อนุเคราะห์หัวเราจะต้องแตกเป็นเจ็ดเสี่ยง เออ.? คิดดูก็น่าหนักใจแทนพระอินทร์เสียจริง ไม่ว่าคนมีบุญจะตกทุกข์ได้ยากอย่างไร เป็นต้องเดือดร้อนไปกับเขาด้วยเสมอ เวลาเขาเสวยสุขสิไม่ เคยคิดถึงพระอินทร์เลย จึงเนรมิตตนเป็นคนชรา ขับเกวียนผ่านมาทางนั้น พระนางพอเหลือบแลเห็นก็ออกปากถามทันที
“ตาจ๋า หลานอยากจะรู้ว่าเมืองกาลจัมปาอยู่ทางไหน”
“แม่หนูจะไปไหนล่ะ”
“ฉันจะไปเมืองกาลจัมปา”
“ญาติฉันมีอยู่ทางเมืองนั้น สามีออกไปรบข้าศึกก็ตายเสีย ฉันก็เลยจะพึ่งพาอาศัยญาติอยู่”
“ถ้าอย่างนั้นดีทีเดียว ตาก็จะไปเมืองกาลจัมปาเหมือนกันแม่หนูมาขึ้นเกวียนเถิด” เหมือนเทวดามาโปรด และแท้ที่จริงก็เทวดามาโปรดจริง ๆ
เมื่อขึ้นเกวียนเพราะความเหนื่อยและเพลียในการที่ระหกระเหิน พระนางก็เอนกายลงพักผ่อนและก็เลยหลับไป นางตื่นขึ้นในตอนเย็น ก็พบว่านางได้ถึงเมืองแห่งหนึ่ง จึงถามตาคนขับเกวียนว่า
ตาจ๋า เมืองที่เห็นอยู่ข้างหน้านั้นเขาเรียกว่าเมืองอะไร” “เมืองกาลจัมปาที่แม่หนูต้องการจะมานั้นเเหละ” “โอ.? ตา เขาว่าเมืองกาลจัมปาไกลตั้ง 60 โยชน์ทำไมถึงเร็วนัก” “แม่หนูไม่รู้ดอก ตาเป็นคนเดินทางผ่านไปมาเสมอ ย่อมจะรู้จักทางอ้อม นี่ตามาทางลัดจึงเร็วนัก” เทวดาว่าเข้านั้น
บ้านอยู่ทางเหนือ จะต้องรีบไป ให้พระนางลงเสียตรงนี้ พระนางจึงลงจากเกวียนไปพักอยู่ที่ศาลาหน้าเมือง คิดไม่ตกว่าจะไปทางไหนดี เพราะเมืองนี้นางไม่รู้จักใครเลย
ในขณะนั้นอาจารย์ผู้ใหญ่ผู้หนึ่งพาลูกศิษย์เดินทาง ผ่านมาทางนั้น เห็นนางนั่งอยู่ในศาลาหน้าตาน่าเอ็นดูเกิดความสงสารเข้าสอบถามได้ความว่า นางหนีภัยมาจากข้าศึกมา ญาติพี่น้องก็ไม่มี
นางดูลักษณะ เห็นว่าเป็นคนดีก็ยอมไปด้วย และได้แสดงตนให้บรรดาศิษย์และคนอื่นทราบว่านางเป็นน้องของอาจารย์ผู้นั้น และได้ไปอาศัยอยู่กับอาจารย์ฐานะน้อง จวบจนกระทั่งนาง ได้คลอดบุตรว่า มหาชนก
มหาชนกเมื่อเติบใหญ่ขึ้นมาไปกับเด็กทั้งปวง ถูกรังแกก็ต่อสู้ เด็กเหล่านั้นสู้ไม่ได้ วิ่งไปบอกพ่อแม่ว่าถูกเด็กลูกไม่มีพ่อทำร้ายเอา เมื่อเด็กพูดกันบ่อย ๆ มหาชนกก็เกิดสงสัย วันหนึ่งสบโอกาสจึงถามมารดาว่า
“แม่จ๋า ใครเป็นพ่อฉัน” “ก็ท่านอาจารย์นั้นเเหละเป็นบิดาของเจ้า” ครั้งแรกพระมหาชนกก็เชื่อ แต่เมื่อได้ยินพวกเด็ก ๆ ยังพูดอยู่เช่นนั้นก็เกิดสงสัย ดีร้ายมารดาเห็นจะไม่บอกกับเราจริง ๆ แม้ครั้งที่สองมหาชนกถามมารดาก็ตอบเช่นเดียวกับครั้งแรก มหาชนกจึงคิดหาอุบายจะให้มารดาบอกให้ได้ แม่จ๋า ขอให้บอกความจริงกับฉันเถิดว่า ใครเป็นพ่อของฉัน” “ก็ท่านอาจารย์ยังไงเล่าเป็นพ่อของเจ้า” “ทำไมแม่ให้ฉันเรียกว่าลุงเล่า” “เพราะอาจารย์อยากให้เรียกเช่นนั้น”
มหาชนกก็ยื่นคำขาดว่า “ถ้าแม่ไม่บอกความจริงให้ฉันทราบ ฉันจะกัดนมแม่ให้ขาดเลย” ไม่ใช่แต่พูดเปล่า ๆ มหาชนกเอาฟันดัดหัวนมมารดาจริง ๆ ด้วย แต่ไม่แรงนัก “โอ้ย ?แม่เจ็บ” มารดาอุทานออกมา “เมื่อเจ็บแม่ต้องบอกความจริงให้ฉันรู้” “เอาล่ะ แม่จะบอกให้รู้ แต่ที่ยังไม่บอกเจ้าก็เพราะเจ้ายังเล็กนักไม่สามารถทำอะไรได้ เจ้าเป็นลูก

กษัตริย์เมืองมิถิลานครบิดาของเจ้าชื่ออริฐชนก ถูกเจ้าอุปราชโปลชนกแย่งสมบัติ พ่อเจ้าตายในที่รบ มารดากำลังท้องอยู่ก็หลบหนีเซซัดมาอาศัยอยู่กับท่านอาจารย์ ณ ที่นี้"

และนับตั้งแต่นั้นมาเจ้ามหาชนกแม้จะถูกพวกเด็ก ๆ ว่าลูกไม่มีพ่อก็ไม่มีความโกรธเคือง และพยายามเล่าเรียนวิชาการทุกประเภท เพื่อต้องการจะกลับไปเอาราชสมบัติคืนให้จงได้ จวบจนกระทั่งอายุได้ 16 ปี เจ้ามหาชนกก็เรียนศิลปศาสตร์ 18 ประการจบหมด ผิวพรรณของเจ้ามหาชนกผ่องใสเปรียบเหมือนทองคำความคิดที่จะเอาสมบัติของพ่อคืนก็มากขึ้น วันหนึ่งจึงเข้าไปถามมารดาว่า “แม่จ๋า แม่จากเมืองมาแต่ตัวหรือว่าได้สมบัติของพ่อมาบ้าง” “เจ้าถามทำไม” “เพราะว่าลูกต้องการจะเอาไปทำทุน แก้แค้นเอาสมบัติของพ่อกลับคืนมา” “แม่เอาแก้วมาด้วย 3 ดวง เป็นแก้ววิเชียน 1 ดวง มณีดวง 1 แก้วมุกดาดวง 1 แก้วทั้ง 3 นี้ มีราคามาก หากจะมาขายก็ได้เป็นเงินเป็นจำนวนมาก พอที่จะทำทุนสำหรับเอาราชสมบัติของพ่อเจ้ากลับคืนมาได้” “ลูกต้องเอาเพียงครึ่งเดียว เพี่อจะทำทุนไปค้าขายยังสุวรรณภูมิ จะได้รวบรวมเงินทองและผู้คนเพื่อชิงเอาราชสมบัติของพระบิดากลับคืนมาให้ได้” “เจ้าอย่าไปค้าขายเลย เอาแก้วสามดวงนี้แหละขายซ่องสมผู้คนเถิด เจ้าไปไกลแม่เป็นห่วง”
เจ้ามหาชนกก็ไม่ยินยอม มารดาจึงเอาเงินทองมาให้ เจ้ามหาชนกก็ซื้อสินค้าบรรทุกสำเภาเตรียมจะไปค้าขาย ณ สุวรรณภูมิกับพวกพ่อค้ามากหน้าหลายตาด้วยกัน เมื่อจัดแจงเรียบร้อยแล้ว มหาชนกก็มาลามารดาเพื่อจะเดินทาง
“เจ้าจงเดินทางโดยสวัสดิภาพ คิดอะไรให้สมปรารถนา” มารดาเจ้ามหาชนกให้พรแถมท้ายว่า “เจ้าจงอย่าจองเวรเลยสมบัติมันเสียไปแล้ว ก็แล้วไปเถิด เรามีอยู่มีกินก็พอสมควรแล้ว” แต่เจ้ามหาชนกก็บอกว่าอยากจะเดินทางท่องเที่ยวเป็นการเปิดหูเปิดตา และจะไปเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
ในขณะที่เจ้ามหาชนกลงเรือเพื่อเดินทางไปค้าขายยังสุวรรณภูมินั้น ก็พอกับเจ้าโปลชนกกำลังประชวรหนักอยู่ในเมืองมิถิลานคร หลังจากที่ออกเดินทางเห็นแต่น้ำกับฟ้าแล้วประมาณได้สัก 7 วัน เรือก็ประสบเข้ากับมรสุมอย่างหนัก ผลสุดท้ายเรือบรรทุกสินค้า และผู้โดยสารก็อัปปางลงท่ามกลางเสียงร้องไห้คร่ำครวญของผู้กลัวตาย แต่เจ้ามหาชนกมิได้คร่ำครวญร่ำไรอย่างคนอื่นเขา กับ 15 วา นับว่าเป็นระยะไกลมาก
ขณะที่เรือของเจ้ามหาชนกอับปางนั้น ก็พอดีกับเจ้าโปลชนกซึ่งครองราชสมบัติอยู่ ณ กรุงมิถิลา เสด็จสวรรคตเพราะโรคาพาธ .. เจ้ามหาชนกมิได้ท้อถอย พยายามว่ายน้ำกระเสือกกระสนเพื่อจะให้รอดจากความตาย กล่าวว่านานถึง 7 วัน และในวันที่ 7 กำหนด


ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 07 ต.ค.2006, 4:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

3. พระสุวรรณสาม


สุวรรณสาม แม้เขาจะถูกทำร้ายอย่างแสนสาหัส
แต่เขาก็ยังแผ่เมตาจิตไปยังพวกที่ทำร้าย
โดยหาความโกรธเคืองไม่ได้นี่คือปฎิปทาของสุวรรณสามต่อไป
ต่อมาไม่ช้าภรรยาของนายบ้านทั้งสองนั้นเกิดท้องขึ้นพร้อมๆกัน นายบ้านทั้งสองพากันดีอกดีใจมาก เพราะว่าตัวกำลังจะได้เห็นผลของคำสัญญาที่ตกลงกันไว้ เมื่อภรรยาท้องพอสมควรแก่เวลาแล้ว ก็คลอดบุตรออกมา ภรรยาของอีกบ้านหนึ่งคลอดออกมาเป็นหญิง ส่วนอีกบ้านคลอดออกมาเป็นชาย เขาพากันดีใจมากที่หมู่บ้านทั้งสองจะกลายมาเป็นหมู่บ้าน เดียวกัน แม้จะมีแม่น้ำมาแยกก็ตาม แต่เพราะทั้งสองบ้านนี้รวมเป็นบ้านเดียวกันได้ ฝ่ายหญิงให้ชื่อว่า "ปาริกา" ส่วนฝ่ายชายชื่อว่า " ทุรุก " แต่ทั้งสองฝ่ายหญิงและฝ่ายชายที่เกิดมานี้ ออกจะผิดเพศพ่อกับแม่ไปมากเพราะว่าหมู่บ้านนี้เขาทำการหากินด้วยการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต คือเข้าป่าล่าเนื้อเบื่อปลาต่าง เอามาเลี้ยงชีวิต แต่เด็กทั้งสองที่เกิดภายหลัง หามีจิตใจเป็นเช่นนั้นไม่ กลับมีจิตใจประกอบด้วยเมตตากรุณา แม้เห็นใครทำร้ายชีวิตสัตว์ เขาทั้งสองจะพากันเศร้าสลดว่า เออ?.. คนเหล่านี้ทำกรรมทำชั่ว เมื่อตายไปแล้วก็จะตกนรกตั้งกัลป ไม่มีใครช่วยได้
เมื่อทั้งสองคนนี้ได้เติบโตบรรลุนิติภาวะสมควรแก่การแต่งงานได้แล้ว ครอบครัวทั้งสองฝ่ายก็ได้จัดแจงให้คนทั้งสองได้แต่งงานกัน เมื่อแต่งงานแล้วคนทั้งสองหาได้มีความสนิทเสน่หาในฐานะสามีภรรยากันไม่ เพราะเขาไม่เคยคิดในเรื่องสิ่งเหล่านี้ คิดแต่ว่าเราจะทำอย่างไรจึงจะพ้นไปจากทุกข์หล่านี้ได้ แม้บิดามารดาจะให้เขาทั้งสองร่ำเรียนวิชาการที่จะสืบสกุล คือให้เป็นพรานต่อไป เขาก็ปฎิเสธ
คือบิดาเคยพูดว่า “เจ้าหนู เจ้านะควรที่จะต้องเรียนวิชายิงธนู เพื่อที่จะเป็นอาชีพเลี้ยงตัวของเจ้า เพราะว่าในเรื่องของการยิงสัตว์ แล้วไม่มีใครเกินมือพ่อ หากพ่อ ออกไปคราวใด เจ้าก็คงจะเคยเห็นว่าจะต้องได้เนื้อสัตว์ มาเสมอ ๆ เจ้าควรจะต้องฝึกยิงไว้”
แต่ทุรุกกุมารกลับตอบเสียว่า “คุณพ่อครับ การทำลายสัตว์ ชีวิตเอามาเลี้ยงชีวิตเรา กระผมทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นอย่าให้กระผมได้เรียนวิชาเอาไปฆ่าสัตว์ เลยครับ
“หน่อยเจ้าหนู เจ้ามันอวดดี จะไม่เหมาะเสียสักหน่อยล่ะกระมัง เจ้าน่ะอยู่ในบ้านพรานแล้วเจ้าจะหากินทางไหน เจ้าไม่มีที่จะไปหากินทางนี้เจ้าจะต้องอดตาย เพราะเมื่อเจ้าได้แต่งงานแต่งการเช่นนี้แล้ว เจ้าจะตั้งหลักฐานได้อย่างไร ในเมื่อเจ้าหาทรัพย์ ไม่ได้เลยสักอย่างเดียว"
“คุณพ่อครับ กระผมตั้งใจว่าจะสร้างตัวด้วยลำแข้งของกระผมเอง ด้วยการที่ไม่ต้องไปเบียดเบียนชีวิตของผู้อื่นเอามาเป็นชีวิตของตัวเอง"
“ไอ้หนู ออกจะอวดดีเกินไปสักหน่อยล่ะกระมังเจ้าควรคิดให้ดีนะว่าพ่อเป็นนายพราน แล้วนี้เป็นหมู่บ้านพราน เมื่อเจ้าทำสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ เจ้าจะอยู่ยังไง คิดดูให้ดี"
“พ่อครับ ผมน่ะไม่เคยรังเกียจหมู่บ้านพราน เพราะว่าในใหมู่บ้านนี้น่ะถ้าไม่ใช่ญาติกันก็เป็นมิตรสหายกัน เพราะฉะนั้นกระผมมิได้มีความรังเกียจเลย แต่จิตใจของกระผมน่ะ มันไม่อยากจะทำกรรมเหล่านั้นครับ"
“เมื่อเจ้าไม่ทำ พ่อเห็นว่าเจ้าควรที่จะออกไปจากบ้านนี้เพื่อเเสวงหาทางตั้งตัวของเจ้าต่อไปทางอื่นดีกว่า"
“ขอรับคุณพ่อ เมื่อคุณพ่อให้สติผมเช่นนี้ กระผมก็กราบลา และนับแต่นี้เป็นต้นไป กระผมจะขอบวชครับ"
“เอา ตกลง"

เมื่อได้รับคำอนุญาติจากพ่อแม่แล้วทั้งสองคนก็เดินทางออกไปสู่ป่าเพื่อบำเพ็ญพรต่อไป
วันนั้นพระอินทร์ก็เผอินเกิดร้อนใจ ก็เล็งแลทิพย์เนตรลงมาตรวจดูว่าจะมีเห็นอะไรบ้าง ก็เห็นท่านทั้งสองออกเดินทางมาบำเพ็ญพรต สมควรจะต้องช่วยเหลือ ถ้าไม่ช่วยเหลือท่านทั้งสองจะลำบาก จึงสั่งให้พระวิษณุกรรมไปเนรมิตบรรณศาลา เพื่อท่านทั้งสองได้อาศัย

เมื่อพระวิศณุกรรมเนรมิตศาลาเสร็จ แล้วก็เขียนหนังสือบอกไว้ว่า หากผู้ใดมีความประสงค์ที่จะบำเพ็ญภาวนาก็ขอให้ศาลานี้ให้เกิดประโยชน์เถิด
เมื่อท่านทั้งสองได้เห็นบรรณศาลาเช่นนั้นก็ดีใจ เละเมื่อเข้าไปเห็นหนังสือที่เขียนไว้ จึงยึดเอาศาลานี้เป็นที่บำเพ็ญพรตของคนทั้งสอง แต่เรื่องของคนทั้งสองคนยังไม่หมด พระอินทร์ได้สอดส่องทิพย์เนตร


ก็เห็นว่าต่อไปท่านทั้งสองนี้เนื่องด้วยกรรมเก่าของท่านทั้งสองนี้ถึงกับเสียตา และเมื่อเป็นเช่นนั้นการหาอาหารก็จะลำบาก ควรจะต้องหาใครไว้สักคนหนึ่งเพื่อเอาไว้ช่วยเหลือ จึงใปหาพระดาบส พร้อมกับพูดว่า
“ท่านขอรับ ท่านมาอยู่ในป่าสองคนผัวเมีย ไม่มีคนปฎิบัติหากเป็นอะไรไปแล้วจะได้รับความลำบากมาก”
“โอ?.. ไม่เป็นไรหรอก เราอยู่ในป่าก็อยู่อย่างสบายแม้เราจะเป็นอะไรไป เราก็คิดสละแล้ว เพราะเราทั้งสามีภรรยานี้ ได้สละชีวิตแล้วเพื่อบำเพ็ญพรต”
“แต่ท่านครับ ต่อไปท่านจะต่องเสียตา และเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วท่านตะหาอาหารที่ไหนได้”
“ตามใจมันเถอะ ถ้ามันหาอาหารไม่ได้มันก็ตายเท่านั้นเอง”
“แต่ว่าทำอย่างไรก็ตาม เราก็ไม่ยุ่งเกี่ยวกับกามเหล่านี้ล่ะ”
“เอ? ถ้าอย่างนั้นจะทำอย่างไรดีเล่าครับ ท่านน่ะจะต้องเสียตา แล้วใครจะปฎิบัติรักษาท่านได้ และเมื่อท่านสิ้นชีวิตเสียแล้ว การบำเพ็ญเพียรภาวนาเพื่อจะบรรลุผลสำเร็จถึงวันข้างหน้าท่านจะทำอย่างไรเล่าครับ เอาล่ะ ผมมีหนทางอย่างหนึ่ง แต่ท่านจะเชื่อหรือไม่ก็ตามใจท่านเถอะครับ.....คืออย่างงี้ ถึงเวลาภรรยาของท่านจะมีระดู กระผมน่ะอยากให้ท่านเอามือลูบท้องภรรยาท่านสามทีเท่านั้น ท่านก็จะมีลูกไว้ใช้สอย ท่านพอจะทำได้หรือไม่ครับ”
“เออ เท่านี้เหรอ ถ้าเพียงเท่านี้ก็พอจะทำได้หรอก แต่ว่าเรื่องอื่นไม่เอานะ”
เมื่อพูดจาตกลงกันอย่างนี้ เมื่อนางปาริกามีระดูก็ได้บอกกับทุรุกดาบสทราบ ทุรุกจึงได้เอามือลูบท้องของภรรยาสามที และนับแต่นั้นมานางปาริกาก็ตั้งครรภ์

เมื่อครบกำหนดก็คลอดออกมาเป็นเด็กผู้ชาย มีรูปพรรณสวยงาม ผิวเนื้อประดุจทอง เขาเลยตั้งชื่อว่า สุวรรณสาม เจ้าสุวรรณสามนี้น่ะ ตั้งแต่เกิดมาก็มีเมตตาจิตเพราะว่าบิดามารดาเป็นคนดีอยู่แล้ว ก็สอนให้สุวรรณสามนี้ประพฤติดีตลอดมา และก็สอนให้รู้จักทางทำมาหากิน คือทางที่มีผลไม้ท่านก็จะพาสุวรรณสามนี้ให้ไปรู้จักไว้บ้างว่าทางนี้น่ะมีผลไม้ทางโน้นไม่มี ว่าทางนี้จะไปไหน และจะกลับอาศรมได้เวลาใด ก็พยายามแนะนำสั่งสอนตลอดเวลา เจ้าสุวรรณสามก็โตขึ้น

; จนกระทั่งวันหนึ่งซึ่งเป็นเวลาที่ท่านจะประสบอุบัติเหตุตามที่พระอินทร์ได้เคยว่าให้ฟังตั้งแต่ก่อน วันนั้นพอออกไปหาผลไม้เผอิญเกิดลมฝน อ้ายลมนี่น่ะมันเกิดขึ้นมามักจะมืดมัว ไอ้ ป่าไม้มันก็มืด ท่านทั้งสองก็เลยไปหลบเข้าไปอาศัยอยู่ที่พุ้มไม้แห่งหนึ่งที่พุ่มไม้แห่งนั้นน่ะ เผอิญมันมีงูเห่าอยู่ตัวหนึ่งอยู่ที่นั่น พอเห็นมีคนเข้าไปจะว่าหวงโน่นหวงนี่ก็ใช่ที่ จะเพราะว่าถึงคราวของท่านมากกว่า จึงบังเอิญให้เจ้างูเห่านี่พ้นพิษงูออกมา เมื่อท่านทั้งสองเข้าในที่นั้น พิษนั้นก็เข้าตาของท่านทั้งสอง ท่านทั้งสองก็ตามืดมัว จนกระทั่งมองไม่เห็นอะไรเลยผลที่สุดไปไหนไม่ได้เลย อาหารก็หาไม่ได้

เจ้าสุวรรณสามนั้นคอยอยู่บรรณศาลา ถึงเวลาก็ไม่เห็นพ่อและแม่กลับมา ก็สงสัยในใจอยู่แล้ว จนกระทั่งเวลาเย็นเห็นว่าผิดเวลามากแล้ว ก็เลยออกตาม ออกตามนี้คือที่หมายความว่า ทางใดที่เคยไปหาผลหมากรากไม้เจ้าสุวรรณสามก็ตามไปทางนั้น ก็พอดีไปพบท่านทั้งสองยังนั่งอยู่ใต้ร่มไม้นั้น เมื่อสอบถามได้ความว่าถูกพิษร้ายจนกระทั่งเสียตา เจ้าสุวรรณสามก็หัวเราะขอบใจ
“ไอ้หนู”
“เจ้าหัวเราะทำไม ?”
“ก็หัวเราะพ่อกับแม่ที่ถูกพิษจนกระทั่งตาบอดน่ะสิ”
“เอ๊ะ? เจ้านี่ พ่อแม่ได้รับความทุกข์เจ้ากลับชอบใจรึ”
“ครับชอบใจ”
“อ้าว? ทำไมเป็นอย่างนั้นไปล่ะ เจ้าคิดจะเป็นคนเนรคุณล่ะสิ”
“เปล่าครับ ไม่ใช่อย่างนั้น ที่ผมดีใจน่ะ ผมจะได้เลี้ยง พ่อแม่ตามกำลังของผมโดยพ่อกับแม่ปฎิเสธไม่ได้ คราวก่อนผมจะออกไปหาเอง พ่อกับแม่ก็บอกว่าอย่าออกไปเลย ยังมีกำลังหาได้ก็จะหาไปก่อน และเดี๋ยวนี้พ่อกับแม่ก็เป็นคนพิการเสียแล้ว ไม่สามารถที่จะไปไหนได้ เพราะฉะนั้นเป็นหน้าที่ของผมที่จะต้องหาเลี้ยงพ่อแม่ นี่เหละครับเป็นเรื่องที่ผมดีใจที่สุด แล้วยังงี้จะไม่ให้ผมหัวเราะได้อย่างไรครับ”
“เออ เมื่อเป็นอย่างนี้จริง ๆ พ่อต้องโมทนาด้วย เอาล่ะเดี๋ยวนี้มันก็เย็นแล้ว พ่อตาไม่เห็นอะไรแล้ว เจ้าก็ช่วยพาพ่อกับแม่กลับไปอาศรมของเราเถอะ” เจ้าสุวรรณสามก็พาท่านทั้งสองกลับอาศรม

และนับแต่นั้นเป็นต้นมา เจ้าสุวรรณสามก็ปฎิบัติท่านทั้งสองเป็นอันดี คือสถานที่เดินจงกลมหรือไปถ่ายทุกข์หรือว่าจะไปถ่ายเบา หรือว่าจะไปอาบน้ำอาบท่าก็ดี เจ้าสุวรรณสามก็พยายามหาเชือกเครือเถาต่าง ๆ มาผูกพอเป็นเครื่องหมายให้ท่านทั้งสองเดินเกาะไปตามราวเหล่านี้ ทำสิ่งเหล่านั้นได้โดยตัวเอง ซึ่งเป็นความสะดวกซึ่งท่านทั้งสองก็ทำได้อย่างสบาย


เจ้าสุวรรณสามก็ออกไปหาผลหมากรากไม้ พร้อมทั้งตักน้ำตักท่ามาไว้เพื่อให้ท่านทั้งสองได้ใช้ เจ้าสุวรรณสามได้ปฎิบัติบิดามารดามาโดยอาการเช่นนี้เป็นปกติ บิดามารดาก็รับความสุขขึ้นกว่าแต่ก่อน..
ในเมืองพาราราณสีมีพระราชาองค์หนึ่ง ครอบครองราชสมบัติ ท้าวเธอทรงพระนามว่ากบิลยักษ์ พระองค์ทรงเป็นนักกีฬาชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ชอบเข้าป่าล่าสัตว์อยู่เป็นนิตย์ เมื่อท้าวเธอชอบเช่นนี้ก็ออกไปล่าสัตว์ แต่ดูก็แปลกประหลาดสักหน่อย เพราะพระเจ้ากบิลยักษ์ไปเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ไม่เอาใครไปด้วยเลย เมื่อออกไปถึงบริเวณสถานที่ซึ่งสุวรรณสามเคยมาตักน้ำเห็นรอยเท้าสัตว์เกลื่อนไปหมด ก็ทรงดำริว่า
“ตรงนี้เข้าทีมีรอยเท้าสัตว์ลงมากินน้ำมากมาย คงจะได้ยิงสัตว์แน่ล่ะ”
แล้วท้าวเธอก็เสด็จเข้าไปซุ่มเพื่อยิงสัตว์ เมื่อคอยดูอยู่ได้สักครู่ ก็พอดีกับสุวรรณสามออกมาตักน้ำ มีหมู่เนื้อและกวางแวดล้อมกันมาเป็นหมู่ มาถึงฝั่งน้ำก็ลงไปตักเอาขึ้นมาท้าวกบิลยักษ์ทรงดำริว่า
“ผู้นี้จะเป็นเทวดาหรือใครแน่หนอ ดูรูปร่างงดงามเสียเหลือเกิน ถ้าเราปรากฎตัวเข้าไปให้เห็นก็คงจะหนีไปเสีย ทำอย่างไรจึงจะรู้ความเล่า” แล้วพระองค์ก็คิดขึ้นได้ว่า
"อย่าเลยเราต้องเอาศรยิงให้ล้มลงก็จะหนีไปไหนไม่ได้"
พอคิดได้เช่นนั้น พระองค์ก็โก่งศรเขม้นมุ่งยิงเจ้าสุวรรณสามทันที ลูกศรเหมือนมีวิญญาณ วิ่งไปเสียบร่างของเจ้าสุวรรณสามเข้า บรรดาสัตว์ก็พากันแตกตื่นหนีไป
สุวรรณสามพอรู้ว่าถูกศร ก็ปลดหม้อน้ำลงจากล่า ทรุดตัวลงนั่ง ปากก็ร้องถามออกไปว่า
“ท่านผู้ใดซึ่งเป็นคนยิง ได้โปรดออกมาเจรจากันสักหน่อยว่าจะต้องการอะไรจึงมายิงข้าพเจ้า ช้างเขาจะยิงก็เพื่องาเสือเล่าก็เพียงเพื่อหนัง ส่วนข้าพเจ้าไม่ทราบว่าท่านจะต้องการอะไร จึงมายิงข้าพเจ้า ขอโปรดออกมาเถิด”
พระยากบิลยักษ์ชักเอ๊ะใจ
“เอ๊ะ? แปลก ชายคนนี้ถูกเรายิง ยังไม่โกรธเรายิง ยังไม่แสดงอาการโกรธเคืองเลยสักนิดเดียว ยังแถมเรียกเราออกไปเสียด้วยว่าต้องการอะไร”
พระองค์ก็ออกไปยังที่สุวรรณสามนอนอยู่ พร้อมกับกล่าวว่า
“พ่อหนุ่ม เราเป็นคนยิงเจ้าเอง แต่เพราะความพลาดพลั้งไปเท่านั้น เพราะเราตั้งใจจะยิงเนื้อที่กำลังมา ก็พอดีเจ้ามาทำให้เหล่านั้นแตกตื่นหนีไปหมด”
สุวรรณสามพูดขึ้นว่า
“ท่านอย่าได้กล่าวเช่นนั้นเลย ท่านเป็นใคร เนื้อในป่าไม่เคยกลัวข้าพเจ้าเลย เพราะข้าพเจ้าเป็นเพื่อนของเขา ไปไหนเคยไปด้วยกัน มาตักน้ำเขาก็จะมาด้วย มากินน้ำกินท่าแล้วกลับไปด้วยกัน ท่านประสงค์อะไรก็ขอให้โปรดบอกเถิด”
พระยากบิลยักษ์ทรงละอายพระทัย แต่ฝืนถามว่า
“พ่อหนุ่ม เจ้าเป็นใครอยู่ในป่านี้ เป็นรุกขเทพ หรือเจ้าป่าเจ้าเขาประการใด ส่วนตัวเราเป็นพระเจ้าแผ่นดินอยู่ในกรุงพาราณสี ออกมาล่าสัตว์ "
สุวรรณสามคิดว่า
“หากเราจะหลอกลวงท้าวเธอว่าเป็นอารักขไพรสนฑ์หรือเทวดา พระองค์ก็ทรงเชื่อ แต่จะทีประโยชน์อะไรกับการโกหกเช่นนั้น เราพูดความจริงดีกว่า” จึงได้ตอบท้าวเธอ
“ข้าแต่สมมติเทพ ขอให้พระองค์ทรงมีพระชนมายุยืนยาวเถิด หม่อมฉันเป็นบุตรฤาษีอยู่ในป่านี้ และที่มาตักน้ำนี้ก็เพื่อจะเอาไปให้บิดามารดาได้อาบกิน”
พระเจ้ากบิลยักษ์ยิ่งคิดสลดพระทัย เพราะแทนที่เจ้าลูกฤาษีจะโกรธเคืองพระองค์ กลับให้ศีลให้พรเสียอีก อนิจจาเราทำกรรมหนักเหลือเกิน แต่ก็ยังไม่แน่ใจจึงถามอีกว่า
“พ่อหนุ่มที่เรายิงเจ้านี่ เจ้าไม่โกรธเคืองเราเลยหรือ"
“ข้าพระองค์ไม่โกรธเคืองพระองค์ และไม่เคยคิดจะโกรธเคืองพระองค์ เพราะคิดเสียว่าเป็นกรรมเก่าของข้าพระองค์เอง สงสารแต่พ่อแม่เท่านั้น เพราะท่านทั้งสองตาเสีย ไม่สามารถจะหาเลี้ยงชีพได้”
“พ่อแม่เจ้าเสียตาทั้งสองคนรึ”
“เป็นอย่างนั้นพระเจ้าค่ะ จึงตกเป็นหน้าที่ของพระข้าองค์จะต้องหาเลี้ยงชีพด้วยตนเองได้ แต่เมื่อข้าพระองค์ต้องมาประสบภัยเสียเช่นนี้ท่านทั้งสองก็มีแต่จะรอความตายเท่านั้น”

พระราชายิ่งคิดก็ยิ่งร้อนพระทัย เพราะความวู่วามของเราวูบเดียวเท่านั้นจะล้างชีวิตคนไม่ผิดเสียอีกตั้งหลายคนเราจะทำอย่างไรดี ได้แต่คิดอยู่ในพระทัย ในที่สุดก็ตกลงใจแน่วแน่ว่าจะพยายามไถ่บาปให้น้อยลงบ้าง จึงกล่าวกับสุวรรณสามว่า
“พ่อหนุ่ม เราได้ผิดไปแล้วที่ยิงเจ้า ยังแถมจะให้บิดามารดาเจ้าถึงแก่ความตายเสียอีกด้วย เจ้าบอกทางไปบรรณศาลาของเจ้าให้เราทราบ เราจะเลี้ยงบิดามารดาของเจ้าเอง”
“เป็นพระคุณล้นเกล้า ข้าพระองค์คิดถึงแต่บิดามารดาเท่านั้น เมื่อพระองค์จะเลี้ยงท่านทั้งสองแทนข้าพระองค์ ก็นับได้ว่าข้าพระองค์หมดห่วงได้จริง ขอพระองค์จงทรงพระเกษมสำราญไร้โรคาพยาธิเถิด”
แล้วเขาก็ได้บอกทางไปยังบรรณศาลาของเขาให้พระเจ้ากบิลยักษ์ได้ทราบ พร้อมกับลมหายใจได้แผ่วเบา สิ้นเสียงก็สิ้นสั่ง สุวรรณสามตายเสียแล้ว พระเจ้ากบิลยักษ์จับเนื้อต้องตัวดู ก็เห็นว่ามือเท้าของเจ้าหนุ่มซึ่งนอนเพราะพิษศรของพระองค์เย็นขึ้นมาทุกขณะแล้ว เห็นว่าตายแน่ก็ตัดสินพระทัยหยิบหม้อน้ำขึ้นแบก สะพายศรไว้กับไหล่ดุ่มเดินไปอาศรมของฤาษีทั้งสอง
พอไปถึงอาศรมเห็นสองดาบสนั่งอยู่หน้าอาศรมคอยการกลับมาของเจ้าสุวรรณสามอยู่ ได้ยินเสียงใช่เท้าก็ทราบว่าไม่ใช่เจ้าสุวรรณสาม เพราะฝีเท้าหนักไม่เหมือนลูกชายของตัวเลย จึงเรียกไปว่า
“พ่อสาม พ่อพาใครมาด้วย”
พระเจ้ากบิลยักษ์พอได้ยิน ก็ทราบว่าเป็นบิดามารดาของสุวรรณสาม จึงเดินเข้าไปใกล้ วางหม้อน้ำลงพร้อมกล่าวว่า
“ท่านผู้เจริญ ...ข้าพเจ้าเป็นพระราชาอยู่ในพระนครพาราณสี มาเที่ยวยิงสัตว์ในป่านี้”
“ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญเถิด ขอเชิญพระองค์ เสวยน้ำท่าผลาหารที่เจ้าสามบุตรของหม่อมฉันจัดแจงไว้ใกล้ ๆ นี้เถิด”

เมื่อสนทนากันพอสมควรแล้ว พระเจ้ากบิลยักษ์ก็บอกให้ทราบว่า เจ้าสุวรรณสามได้ตายไปแล้ว เพราะความเข้าใจผิดของพระองค์เอง ดาบสทั้งสองก็เศร้าโศก และขอให้พาไปที่ศพของเจ้าสุวรรณสาม ซึ่งพระเจ้ากบิลยักษ์ก็ยินยอมพาไป เมื่อไปถึงสถานที่ศพเจ้าสุวรรณสามนอนอยู่ ดาบสทั้งสองก็เข้าไปยังศพของเจ้าสุวรรณสามลูบคลำ เผอิญมารดาไปคลำถูกอกรู้สึกว่ายังอุ่นอยู่ จึงตั้งสัตย์ขอให้เข้าสุวรรณสามได้คืนชีพ แม้นางเทพธิดาผู้เคยเป็นมารดาเจ้าสาม ในชาติก่อนซึ่งก็มาด้วยได้อธิษฐานพร้อมบิดาของเจ้าสาม ก็พลอยอธิษฐานด้วย
ด้วยแรงอธิฐาน ก็ได้บันดาลให้เจ้าสุวรรณสามกลับฟื้นคืนสติขึ้นมาได้ ได้ถามไถ่กันทราบความตลอด จนฟื้นขึ้นมา และเมื่ออาการเป็นไปเช่นนี้ ทั้งหมดก็ได้พากันกลับไปนังสถานที่อยู่ของตน โดยพระเจ้ากบิลยักษ์เ มื่อไปถึงสถานที่แล้วก็คิดได้ถึงการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต และเห็นว่าสุวรรณสามและดาบสเหล่านี้อยู่ด้วยความสุข จึงได้ลากลับยังสถานที่ของตน

คติที่เราจะได้จากเรื่องนี้ ก็อยู่ที่ความเมตตากรุณา ซึ่งก็จะเป็นคุณช่วยให้เรารอดจากภัยอันตราย และไม่มีเวรไม่มีภัยด้วยประการต่าง ๆ ทางศาสนาจึงกล่าวว่าเป็นกัลยาธรรม คือเป็นธรรมอันงามที่จะเป็นเครื่องป้องกันมิให้ผู้อื่นทำร้ายได้ ก็เป็นอันว่าจบเรื่องสุวรรณสามเพียงเท่านี้.....


ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้
 


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 07 ต.ค.2006, 4:39 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 07 ต.ค.2006, 4:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

4. พระเนมิราช


พระเนมิราชเรื่องของพระเจ้าเนมิราชนี้ เป็นเรื่องที่อธิษฐานใจในการที่จะดำรงวงศ์ตระกูลของตนให้เป็นมา คือพระเจ้ากรุงมิถิลา ซึ่งเป็นวงศ์ของพระเจ้าเนมิราชนี้ ในบรรดาวงศ์เหล่านี้องค์ใดก็ตามที่ได้ครองราชสมบัติแล้ว พอปรากฎว่าเส้นพระเกศาหงอก โดยภูษามาลาเวลาที่จำเริญพระเกศา หรือว่าตบแต่งพระเกศาเมื่อเห็นเกศาหงอกก็ถอนมาให้ดู

พระเจ้าแผ่นดินเมื่อเห็นพระเกศาหงอกก็จะเวนราชสมบัติให้แก่พระราชโอรส แล้วตัวเองก็จะออกบรรพชาบำเพ็ญพรตอยู่ในป่าตราบจนสิ้นชีวิต เป็นอย่างนี้เรื่อยๆ มาจนกระทั้งจะถึงกษัตริย์องค์สุดท้าย

ท่านกล่าวว่าขณะนั้นเนมิราชยังเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์ได้พิจารณาเห็นว่าตนจะต้องสิ้นอายุ และในวงค์นี้ก็กำลังเสื่อมทรุดเพราะว่าไม่มีคนที่จะลงมาบำเพ็ญ โดยอย่างชนิดที่ว่าพอแก่แล้วต้องออกไปบำเพ็ญพรตภาวนา วงค์นี้กำลังเสื่อมทรุดลงไปแล้ว จึงติดว่าอย่าเลย เราจะต้องลงมาเพื่อจะได้สืบวงค์เหล่านี้อีกต่อไป จึงได้จุติลงมาเข้าสู่พระครรภ์ของพระมเหสีพระเจ้ากรุงมิถิลา เมื่อครบกำหนดทศมาส เจ้าเนมิราชก็ประสูติออกจากครรภ์พระมารดา บรรดาโหราทั้งหลายต่างก็พยากรณ์ต้องกันว่า พระราชกุมารพระองค์นี้จะต้องเป็นไปตามวงค์ที่เคยทำมา เพราะฉนั้นเข้าลักษณะ ที่ว่ากงเกวียนกำเกวียนย่อมต้องเวียนไปตามกัน จึงให้นามว่า พระเนมิราช

เรื่องของพระเจ้าเนมิราชนี้ เป็นเรื่องที่อธิษฐานใจในการที่จะดำรงวงศ์ตระกูลของตนให้เป็นมา คือพระเจ้ากรุงมิถิลา ซึ่งเป็นวงศ์ของพระเจ้าเนมิราชนี้ ในบรรดาวงศ์เหล่านี้องค์ใดก็ตามที่ได้ครองราชสมบัติแล้ว พอปรากฎว่าเส้นพระเกศาหงอก โดยภูษามาลาเวลาที่จำเริญพระเกศา หรือว่าตบแต่งพระเกศาเมื่อเห็นเกศาหงอกก็ถอนมาให้ดู

พระเจ้าแผ่นดินเมื่อเห็นพระเกศาหงอกก็จะเวนราชสมบัติให้แก่พระราชโอรส แล้วตัวเองก็จะออกบรรพชาบำเพ็ญพรตอยู่ในป่าตราบจนสิ้นชีวิต เป็นอย่างนี้เรื่อยๆ มาจนกระทั้งจะถึงกษัตริย์องค์สุดท้าย

ท่านกล่าวว่าขณะนั้นเนมิราชยังเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์ได้พิจารณาเห็นว่าตนจะต้องสิ้นอายุ และในวงค์นี้ก็กำลังเสื่อมทรุดเพราะว่าไม่มีคนที่จะลงมาบำเพ็ญ โดยอย่างชนิดที่ว่าพอแก่แล้วต้องออกไปบำเพ็ญพรตภาวนา วงค์นี้กำลังเสื่อมทรุดลงไปแล้ว จึงติดว่าอย่าเลย เราจะต้องลงมาเพื่อจะได้สืบวงค์เหล่านี้อีกต่อไป จึงได้จุติลงมาเข้าสู่พระครรภ์ของพระมเหสีพระเจ้ากรุงมิถิลา เมื่อครบกำหนดทศมาส เจ้าเนมิราชก็ประสูติออกจากครรภ์พระมารดา บรรดาโหราทั้งหลายต่างก็พยากรณ์ต้องกันว่า พระราชกุมารพระองค์นี้จะต้องเป็นไปตามวงค์ที่เคยทำมา เพราะฉนั้นเข้าลักษณะ ที่ว่ากงเกวียนกำเกวียนย่อมต้องเวียนไปตามกัน จึงให้นามว่า เนมิราช

แล้วเจ้าเนมิราชนั้น เมื่อเจริญวัยขึ้นพอสมควรแล้ว พระบิดานั้นก็เส้นพระเกศาหงอกก็เลยเวนราชสมบัติให้เจ้าเนมิราชครอบครอง เจ้าเนมิราชปกติเป็นผู้ที่อยู่ในศีลธรรม จำเริญภาวนาอยู่เป็นนิตย์ จึงได้รับสั่งให้ตั้งศาลขึ้นถึงห้าแห่งคือที่ประตูพระนครที่แห่ง และที่กลางเมืองอีกแห่ง ให้ทานแก่บรรดาผู้ที่ยากจนและขัดสนทั้งหลาย ตัวเองก็พยายามสั่งสอนประชาชนพลเมืองให้ประพฤติตนอยู่ในความดี ให้ยินดีแต่ในสิ่งอันอาจได้โดยชอบธรรม

มิใช่เป็นแต่ในเรื่องนิทาน แม้ในเรื่องความจริงของเรากษัตริย์สมัยสุโขทัยท่านยังปฎิบัติเช่นนี้เมือนกัน คือพ่อขุนรามคำแหง มีพระแท่นมนังศิลาอาสน์ตั้งอยู่ในดงตาล วันฟังธรรมคือวันธรรมสวนะ ท่านก็นิมนต์พระสงฆ์มาเทศนาสั่งสอนประชาชนพลเมือง และในวันปกติท่านออกว่าราชการ และสั่งสอนให้ข้าราชการ ตลอดจนประชาชนพลเมืองตนตั่งอยู่ในศีลในธรรม

มิใช่เป็นแต่ในเรื่องนิทาน แม้ในเรื่องความจริงของเรากษัตริย์สมัยสุโขทัยท่านยังปฎิบัติเช่นนี้เมือนกัน คือพ่อขุนรามคำแหง มีพระแท่นมนังศิลาอาสน์ตั้งอยู่ในดงตาล วันฟังธรรมคือวันธรรมสวนะ ท่านก็นิมนต์พระสงฆ์มาเทศนาสั่งสอนประชาชนพลเมือง และในวันปกติท่านออกว่าราชการ และสั่งสอนให้ข้าราชการ ตลอดจนประชาชนพลเมืองตนตั่งอยู่ในศีลในธรรม

นี่ก็เช่นเดียวกัน เพราะฉนั้นบรรดาพวกที่ได้รับการสั่งสอนเหล่านี้ ตายไปก็ได้ไปบังเกิดในเทวโลกมากมาย พวกเทวดาเหล่านั้นก็พากันคิดว่า เออ ? พวกเราน่ะขึ้นมาเกิดบนนี้ได้เพราะอะไร ก็ทราบได้ด่วยการสั่งสอนของเจ้าเนมิราช ก็อยากเห็นพระองค์ จึงพากันไปกราบทูลพระอินทร์ว่า พวกข้าพระองค์นี่อยากเห็นเจ้าเนมิราชสักหน่อย

พระอินทร์เมื่อได้ทราบเช่นนั้น ก็ให้ตุลีเทพบุตรลงไปเชิญพระเจ้าเนมิราชขึ้นมาบนสวรรค์ พระมาคุลีก็รีบลงไปพร้อมทั้งนำเวชยันต์รถทรงของท้าวสักกะ คือพระอินทร์ลงไปด้วย และเมื่อลงไปแล้วจึงเชื้อเชิญให้พระเจ้าเนมิราชขึ้นมา พระเจ้าเนมิราชก็คิดว่า เราได้สั่งสอนให้คนอื่นประพฤติดี ประพฤติชอบแต่คิดว่าสวรรค์เป็นอย่างไรเราก็ไม่เคยเห็น เพราะฉนั้นสมควรจะไปดู จึงได้ลาบรรดาข้าราชการทั้งหลาย พร้อมทั้งบรรดาพระญาติพระวงค์ แล้วขึ้นเวชยันต์ราชรถมากับพระมาตุลี เมื่อถึงระหว่างทาง พระมาตุลีประสงค์จะแสดงตัวว่าตนนี่เป็นสารถีพิเศษ ที่สามารถจะนำไปที่ใดก็ได้ จึงบอกว่า

“ก่อนที่พระองค์จะไปสวรรค์นี้ อยากจะชมนรกบ้างไหม”
“อ๋อ ? มันก็ดีนะสิ แต่มันจะไกล มันจะใกล้ขนาดไหนล่ะ”
“ก็ไม่ไกลไม่ใกล้เท่าไหร่หรอกพระเจ้าค่ะ”
“แล้วก็เวลาที่ท่านจะไปถึงสวรรค์มันไม่ช้าเกินไปรึ”
“ไม่ช้าเกินไปหรอกพระเจ้าค่ะ เมื่อพระองค์อยากจะดูล่ะก็ ข้าพเจ้า
" ก็อยากที่จะพาไปดูเหมือนกัน”
“ถ้าเช่นนั้นข้าพเจ้าก็อยากจะดู”

เมื่อตกลงเช่นนั้น พระมาลาตุลีก็ขับเวชยันต์ราชรถตรงไปที่นรกให้พระเนมิราชได้แลเห็นนรก ว่าที่นรกน่ะศาสนาไหน ๆ ก็มีด้วยกันทั้งนั้น เวันแต่จะมีผิดแผกแตกต่างกันออกไปบ้างตามแต่ความคิดเห็นของนักปราชญ์ในศาสนานั้นๆ

เมืองนรกเป็นเมืองที่ไม่น่าจะได้รับการทัศนาจรอย่างที่พระมาตุลีเทพสารถีนำพระเจ้าเนมิราชลงไป เพราะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยการลงโทษหลายอย่างหลายประการ

ผู้อ่านบางคนคงจะเคยเห็นจิตรกรรมฝาผนัง คือภาพวิจิตรที่ท่านเขียนไว้ตามผนังโบสถ์บ้าง วิหารและศาลาการเปรียญบ้าง อันแสดงถึงการลงโทษมนุษย์ผู้ทำผิดต่างๆ หญิงบางคนผ้าผ่อนล่อนจ้อน ทำยังกับนางระบำเปลือยแต่เขามิได้เต้นระบำให้ดู กลับไปปีนป่ายต้นงิ้ว แถมมีเจ้าหนุ่มคู่ขาปีนตามขึ้นไปเสียด้วย ทำไมเขาต้องปีน

ก็เพราะว่าลูกน้องยมบาลทั้ง 2 - 3 คนมีหอกไล่แทงทั้งเจ้าหนุ่มเจ้าสาว ซึ้งก็ต้องปีนป่ายขึ้นไปเพื่อให้พ้นจากคมหอกมิใช่แต่เท่านั้น หมารูปร่างโตหน้าตาหน้ากลัวเขี้ยวโง้งโลดไล่อยู่ตามต้นงิ้วนั้นเป็นพัลวัน จะไม่รีบปีนยังไงเล่า ต้นงิ้วมีหนามใครก็รู้ ปกติใครอยากจะขึ้น แต่เมื่อจำเป็นจ้องหนีความตายก็ต้องขึ้น เมื่อขึ้นไปแล้ว เขาพ้นจากคมหอกและหมาที่ดุร้ายก็จริง แต่ข้างบนยังมีศึกหนักอีกคือ แร้งกา ซึ้งมีปากเป็นเหล็กคอยโฉบเฉี่ยว ซึ่งเมื่อมันเฉี่ยวได้ก็เอาไปกินกลางอากาศ เหลือแต่กระดูกก็ทิ้งลงมา ก็ปีนขึ้นมาวิ่งหนีหมาและคมหอกมาขึ้นต้นงิ้วอีก
ในหนังสือพระมาลัยท่านว่า

หนามงิ้วคมยิ่งกรด โดยโสฬสสิบหกองคุลี
มักเมียท่านมันว่าดี หนามงิ้วยอกทั้วตัว
หญิงใดใจมักมาก มันเล่นราดด้วยกามกล
ไปขึ้นงิ้วชัดเดี๋ยวดล ในไม้งิ้วกว่าพันปี

ฟังดูสิว่ามันจะหน้าดูไหม หนามคมกว่ากรดเสียอีกไม่ใช่สั้นๆ ยาวตั้ง 16 นิ้วนั้นเเหละ นึกถึงสภาพอย่างนี้บางทีการเล่นชู้สู่ชายคงจะเบาบางลงไปบ้าง
“ภูเขาเหล็กพระเจ้าค่ะ”
“เขาทำกรรมอะไรเล่า”
“พวกนี้เจ้าถ้อยหมอความ ตัดสินผิดๆ ถูกๆ ตามใจชอบของตน ที่แพ้แก้ให้ชนะแต่ไม่มีสินบนก็ต้องให้แพ้ไปเลย เลยมารับกรรมอยู่อย่างนี้” พวกคอรับชั่น เมื่อตายลงมาขุมนี้ ถูกเขาเอาเหล็กทุบหัวบี้แบน แล้วก็ลุกขึ้นวิ่งหนี ภูเขาเหล็กเป็นไฟก็กลิ้งบดให้ตายแล้วกลับฟื้นขึ้นมาใหม่เป็นอย่างนี้ไม่มีจบสิ้น “และอะไรข้างหน้าน่ะ มันคนหรืออะไร สูงโย่งเย่งดังกับต้นตาล แต่มองดูเห็นปากไม่เห็นมี อีกมือสองข้างใหญ่โตมโหฬารพิลึก”

“นี่มันตัวอะไรท่านมาตุลี”
“เปรตพระเจ้าค่ะ”
“เอ ? พวกนี้ไม่มีผ้านุ่งหรืออย่างไร”
“ไม่มีพระเจ้าค่ะ พวกนี้เสวยกรรมต้องอดหิวโหยเพราะรูปากเท่ารูเข็มเท่านั้น จะดูด จะกินอะไรก็ไม่ได้”
“ทำไม เขาจึงเป็นเช่นนั้นล่ะ”
“พวกนี้ ปากเก่งพระเจ้าค่ะ ด่าพ่อด่าแม่ปู่ย่าตายายพี่ป้าน้าอา ตลอดจนพระสงฆ์องค์เจ้าพวกนี้ก็ไม่เว้น ไม่ชอบใจฉันล่ะได้เห็นดีกัน ครูบาอาจารย์ก็ไม่เลือก ฉันไม่สน ไม่ชอบใจด่าเลย เปรตพวกนี้น่าสงสารกินอะไรก็ไม่ได้ ได้แต่ลิ้มเลียเลือดหนองของตัวเองเท่านั้น ส่วนมือที่โต เพราะว่าทำร้ายร่างกายต่อผู้ทีคุณ ตบ ต่อย ตี ทารุณ ฯลฯ

ในขณะนั้นเองท้าวสักกะ คืออินทรเทวราช เห็นว่าพรพะมาตุลีไปนาน จึงได้สอดส่องทิพย์เนตรลงไปดู ก็เห็นว่าพระมาตุลีพาพระเนมิราชลงไปชมนรกอยู่ กว่าจะหมดเยือนนรก อายุของพระเนมิราชเห็นจะสิ้นเสียก่อนล่ะกระมัง เมื่อคิดได้เช่นนี้ จึงให้มหาชวนะเทพบุตรลงไปตาม มหาชวนะเทพบุตรไปบอกว่า “ท่านมาตุลี เดี๋ยวนี้ท้าวสักกะกำลังรอท่านอยู่”

พระมาตุลีเมื่อได้ฟังมหาชวนะเทพบุตร ก็แสดงอาการให้พระเนมิราชได้เห็นนรกทั้งหมดโดยพร้อมกันในคราวเดียวพร้อมทั้งบอกถึงกรรมของสัตว์เหล่านั้น แล้วก็พาพระเนมิราชขึ้นมายังสวรรค์

และเมื่อถึงแล้ว พระอินทร์พร้อมทั้งเทพยดาทั้งหลายก็พากันมาสักการบูชา แต่ว่าในขณะที่จะมาาถึงนี่ผ่านวิมานต่าง ๆ กัน จึง เห็นอากัปกิริยาต่างกัน และลักษณะสัณฐานของสิ่งเหล่านั้นก็ต่างกัน

พระเนมิราชสงสัยก็สอบถามพรพะมาตุลีๆ ก็ชี้แจงให้ฟังทุกประการ

เมื่อมาถึงได้รับการสักการบูชา เทวดาพร้อมทั้งพระอินทร์ก็เชื้อเชิญให้อยู่เสวยสมบัติบนสวรรค์ แต่ความ ประสงค์จะทำเช่นนั้น ตัวเองมีแต่ความเศร้าสลดใจที่ได้เห็นกรรมของมนุษย์ทั้งหลายที่ประพฤติชั่วต้องไปตกนรกเสวยกรรมต่างๆ และยินดีที่ได้เห็นมนุษย์ที่ประกอบกรรมดีได้รับผลชอบขึ้นมาเสวยสุขในวิมานเมืองแมน จึงดำริจะสั่งสอนให้สัตว์ทั่งหลายประพฤติชอบมากขึ้นเพื่อจะไปเกิดในสวรรค์

จึงได้ลาพระอินทร์เทพลงมายังเมืองมนุษย์ และมโนปณิฐานของพระองค์ตราบเท่าสิ้นอายุ

คติที่เราได้จากเรื่องนี้คือ เรื่องการตั้งใจมั่นมุ่งหวังอย่างไร ตั้งใจแล้วต้องให้สำเร็จผล อย่าทอดทิ้งเสียกลางคัน แม้พระพุทธเจ้าของเราตั้งอธิษฐานในใจว่าไม่สำเร็จจะไม่ลุกขึ้น และพระองค์ก็สำเร็จจริง ๆ ผลดีจึงเกิดแก่พวกเราจนกระทั่งบัดนี้ เพราะมิฉนั้นแล้วพระพุทธศาสนาของเราจะเกิดมีขึ้นไม่ได้เลย และมีอีกอย่างที่ไม่ควรลืมก็คือ ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้รับผลชั่วอย่างแน่นอน.


ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้
 


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 07 ต.ค.2006, 4:40 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 07 ต.ค.2006, 4:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

5. พระมโหสถ


พระมโหสถบัณฑิต ปัญญามีอยู่กับใคร ผู้นั้นย่อมจะเอาตัวรอดได้ในทุกกรณี และเป็นเครื่องส่งเสริมตัวเองให้เด่นกลายเป็นอัจฉริยะไป แต่ถ้าเอาไปใช้ในทางชั่ว ปัญญานั้นจะกลายเป็นดาบที่เชือดเฉือนตัวเองไป เพราะฉะนั้นปํญญาจึงมีลักษณะเป็นดาบสองคมที่จะให้ได้ดีก็ได้ ถ้าจะให้ชั่วก็ใช้ในทางชั่ว นี่เเหละคือคติของปัญญา โปรดอ่านเรื่องปัญญาสืบต่อไป

ในกาลที่ล่วงมาแล้วนมนาน พระเจ้าวิเทหะได้เสวยราชสมบัติในเมืองมิถิลา ท้าวเธอมีบัณฑิตประจำสำนักถึง 4 คน มีนามว่า เสนกะ ปุกกุสะ กามินทะ และเทวินทะ

วันหนึ่งพระเจ้าวิเทหะทรงพระสุบินว่า ในที่มุมละของพระลาน มีกองไฟลุกขึ้นรุ่งโรจน์โชตนาการอยู่มุมละกองและตรงกลางพระลานมีกองไฟเล็กนิดเดียวค่อย ๆ โตขึ้น ๆ จนใหญ่กว่ากองไฟทั้งสี่นั้น และสว่างจ้าไปหมดทั้งบริเวณสามารถจะมองเห็นแม้แต่สิ่งเล็ก ๆ ได้ ประชาชนพากันเอาดอกไม้ธูปเทียนมาบูชากองไฟนั้น และเที่ยวเดินไปมาอยู่ระหว่างกองไฟนั้น โดยไม่รู้สึกว่าจะร้อนเลย ส่วนพระองค์นั้นในพระสุบินว่ากลัวเสียเหลือเกิน จนกระทั่งตกพระทัยตื่น เมื่อทรงลุกจากแท่นบรรทมก็ยังทรงนึกอยู่
“น่ากลัว จะมีเรื่องอะไรเกิดขึ้นกับเราและราชอาณาจักรเป็นประการใดบ้าง”
จนกระทั่งถึงเวลาเสด็จออกขุนนาง ทรงประพาราชกิจเรียบร้อยแล้ว จึงตรัสกับบัณฑิตประจำราชสำนักทั้ง 4 คนว่า
“ท่านอาจารย์ เมื่อคืนข้าพเจ้าได้ฝันไม่ค่อยดีเลย” “พระองค์พระสุบินอย่างไรพระเจ้าค่ะ” ท่านนักปราชญ์ทั้ง 4 คน ถามขึ้นพร้อมกัน
“ข้าพเจ้าฝันว่า มีกองเพลิงอยู่ 4 กอง ในมุมพระลานมุมละกอง มีกองไฟเล็กนิดเดียวอยู่ตรงกลาง และกองไฟนั้นใหญ่ขึ้น ๆ ส่งแสงสว่างไปทั่วจักรวาล พวกประชาชนพลเมืองพากันวิ่งอยู่ในกองไฟนั้นโดยไม่รู้สึกร้อนเลย ข้าพเจ้าเองกลัวจนเหงื่อแตกไปหมด ท่านอาจารย์ลองพิจารณาดูทีหรือว่าจะเป็นอย่างไร จะมีอันตรายกับตัวเราหรืออาณาจักรบ้างหรือไม่”


อาจารย์ทั้ง 4 นั่งคิดอยู่ครู่แล้วหันหน้าเข้าปรึกษากันชั่ว ครู่เสนกะก็หันมากราบทูลจอมวิเทหะรัฐว่า
“ขอเดชะ พระอาญามิพ้นเกล้า สุบินเป็นนิมิตที่ดีจะไม่มีภัยอันตรายใด ๆ เลย ทั้งพระองค์และพระอาณาจักรพระเจ้าค่ะ”
“ถ้าเช่นนั้นมันหมายถึงอะไรกันล่ะ ท่านอาจารย์” ทรงชักต่อ
“พระสุบินของพระองค์ขอกเหตุสังหรณ์ที่ดีว่า ต่อไปจะมีคนดีเกิดขึ้นในราชอาณาจักรของพระองค์ ข้อที่พระองค์ทรงสุบินว่ามีกองไฟ 4 กองนั้น ได้แก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้ง 4 คนนี้เอง และที่ว่ากองไฟเล็กเกิดขึ้นท่ามกลางนั้น คือจะมีบัณฑิตเกิดขึ้นในแว่นแคว้นของพระองค์ และบัณฑิตนั้นจะมีปัญญาแก้ไขความเดือนร้อนแก่ประชากรทุกถ้วนหน้า จะมีวาสนาบารมีสติปัญญารุ่งโรจน์กว่าพวกข้าพระพุทธเจ้าอีกเหลือล้นพ้นประมาณพระเจ้าค่ะ”

“เออ....ถ้ายังนั้น เวลานี้บัณฑิตนั้นอยู่ที่ใดเล่า”
“ขอเดชะ อาญาไม่พ้นเกล้า ขณะนี้ถ้าบัณฑิตนั้นไม่ออกจากครรภ์ก็ต้องจุติเข้าสู่ครรภ์มารดาแน่นอน พระเจ้าค่ะ”

“เอาล่ะท่านอาจารรย์ ข้าพระเจ้าจะให้เขาสืบดูว่าบัณฑิตผู้นั้นเกิดหรือยัง ถ้าเมื่อเกิดแล้ว จะใด้นำตัวเข้ามาบำรุงเลี้ยงไว้ในพระราชวัง”

ปฐมวัย กาลล่วงผ่านไป 10 เดือน มโหสถบัณฑิตคลอดจากครรภ์มารดา ในบ้านทางทิศตะวันออกของเมืองมิถิลา ในเวลาคลอดมือถือแท่งยาออกมาแท่งหนึ่ง เศรษฐีผู้เป็นบิดาปวดศรีษะมาถึง 7 ปี ใช้ยานี้รักษาก็หายเป็นปลิดทิ้งไปเลย

ประชาชนทราบข่าวก็พากันมาขอยาวิเศษเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บก็หายเป็นปลิดทิ้ง ไม่เหมือนน้ำในสระโกสินารายณ์ เพราะมียารักษาประชาชนนี่เอง เวลาตั้งชื่อจึงได้ขนานนามว่า มโหสถ เศรษฐีผู้เป็นบิดาได้ให้สืบถามว่ามีเด็กที่เกิดในวันเดียวกับมโหสถมีบ้างไหม ก็ได้ตั้งพันหมู่บ้านนั้น เศษฐีศิริวัฒกะผู้บิดาก็ให้อุปถัมภ์เลี้ยงดูกุมารเหล่านั้นเป็นอันดีเพื่อเอาไว้เป็นเพื่อนเล่นของเจ้ามโหสถ จัดหานางนมให้กุมารทั้งพันเหล่านั้น นับตั้งแต่นั้นมา เจ้ามโหสถก็ได้เพื่อนเล่นที่รุ่นราวคราวเดียวกันถึงพันคน เวลาก็ล่วงมาถึง 7 ปี

สร้างศาลา
เมื่อเจ้ามโหสถมีอายุได้ 7 ปี ได้พาเพื่อนออกเล่นอยู่ในลานที่เล่นของเด็ก ๆ ได้เกิดเห็นความไม่สะดวกนานาประการ ขณะกำลังเล่นกันอยู่เกิดฝนตก เด็ก ๆ ก็พากันวิ่งหนีฝนไปเข้าร่มไม้ชายคา เด็กนับพันก็ชนกันหกล้มลุกแข้งขาถลอกปอกเปิก หัวโน หน้าตาฟกช้ำดำเขียว แต่สำหรับเจ้ามโหสถอาศัยที่กำลังดีกว่าเด็กเหล่านั้น ก็วิ่งเข้าหลบฝนได้เสมอ โดยไม่ต้องไปชนกับใครถึงต้องบาดเจ็บ
ถ้าสร้างศาลาเป็นที่พักสำหรับพวกเด็กเหล่านี้เห็นจะดีเป็นแน่ จึงประกาศให้เด็กเหล่านั้นทุก ๆ คนนำทรัพย์มาให้เขาคนละ 4 บาท เขาจะจ้างช่างมาทำศาลาสำหรับเป็นที่พักในสนามเล่น ครั้นพวกเด็กนำเงินมาให้แล้ว ได้เงินทั้งหมด 4.000 บาทเศษ ก็ไปจัดช่างมาเพื่อจะให้สร้าง

นายช่างรับสร้างแล้วก็เริ่มปรับพื้นให้เรียบ แล้วจึงขึงเชือกเพื่อจะกะผัง เจ้ามโหสถเองต้องเป็นคนบัญชาการงานเพราะไม่พอใจช่าง และยังแถมกำชับนายช่างให้ทำเป็นห้องใน ห้อง ห้องสำหรับคลอดลูกของคนยากคนจน 1 ห้อง สำหรับสมณพราหมณ์มาพัก 1 ห้อง สำหรับคนเดินทางที่ผ่านไปมา 1 ห้อง สำหรับพ่อค้าซึ่งมีที่สำหรับเก็บสินค้า 1 ห้อง และให้มีที่ทารกพันคนจะพักเวลาร้อนจัดหรือฝนตก นายช่างก็ทำตามความประสงค์ เมื่อศาลาสำเร็จก็ให้ช่างเขียน ๆ จิตรกรรมในศาลาอย่างงดงาม มิใช่แต่จะสร้างศาลาเท่านั้น เพราะบริเวณที่เล่นยังอยู่อีกกว้างขวาง เห็นว่าคนเดินทางเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ามากระหายหิวเพราะความร้อน จึงขุดสระปลูกปทุมชาติต่างชนิดในสระนั้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นเจ้ามโหสถเป็นผู้บัญชาการทั้งสิ้น

คำโบราณที่ว่า “คบเด็กสร้างบ้าน คบหัวล้านสร้างเมือง” อันเป็นเครื่องแสดงว่าไม่ดี เพราะเด็ก ๆ ก็จะเอาแต่เล่น ทำอะไรไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ส่วนคนหัวล้านเล่ามักจะใจไม่ค่อยใหญ่ ส่วนมากมักจะพอกับผมบนหัวของตัวเอง เพราะฉะนั้นจะทำการใหญ่ต้องหนักแน่นอย่าเอาแต่อารมณ์ มิฉะนั้นบ้านก็ต้องค้าง เมืองก็จะคงหาสำเร็จไม่ได้

แต่เจ้ามโหสถกลับทำลายคำโบราณนี้ไปได้อย่างง่ายดาย เพราะเขาบัญชางานเองจนสำเร็จทุกอย่างทุกประการ นับแต่นั้นมาเด็ก ๆ ก็ไม่ต้องหกล้มหกลุกเพราะวิ่งหนีฝนและผู้คนที่ผ่านไปมาก็ได้อาศัยที่ศาลาของเจ้ามโหสถ ได้อาศัยอาบกินน้ำใสในสระก็เลยสรรเสริญเจ้ามโหสถ พร้อมกับให้ศิลให้พร

“ลูกท่านเศรษฐีดีจริง ให้ความสุขแก่คนทั้งปวง ขอให้มีความสุขความเจริญเถิด” และมิใช่แต่เท่านั้น เจ้ามโหสถอายุเพียง 7 ขวบ แต่ก็สามารถวินิจฉัยข้อต่าง ๆ ได้โดยไม่ผิดพลาดให้เสียความยุติธรรม ศาลาหลังนั้นก็กลายเป็นศาลของประชาชนไปโดยปริยาย มีเจ้ามโหสถเป็นผู้พิพากษา กิตติศัพท์อันนี้ก็เลื่องลือในไปที่ต่าง ๆ


เมื่อล่วง 7 ปีไป พระเจ้าวิเทหะทรงคิดได้ถึงสุบินนิมิตของพระองค์ และคำพยากรณ์ของนักปราชญ์ประจำราชสำนักทั้ง 4 ท่าน ก็ได้ทรงส่งคนออกไปตรวจดูทั้ง 4 ทิศ ว่าจะมีผู้ใดมีลักษณะที่จะเป็นบัณฑิตตามนิมิตของพระองค์ได้ อำมาตย์ 4 คน ถูกใช้ให้ไปตรวจดูทั้ง 4 ทิศ ของเมืองต่างคนก็แยกย้ายกันไปคนละทิศ คนหนึ่งไปทิศเหนือ คนหนึ่งทิศตะวันออก คนหนึ่งไปทิศตะวันตก และอีกคนหนึ่งไปทิศใต้
คนไปทางอื่นนอกจากทิศตะวันออก ไม่พบอะไรที่เป็น เครื่องส่อให้เห็นว่าจะมีนักปราชญ์เกิดขึ้นเลย ส่วนคนที่อื่นนอกจากทิศตะวันออก เมื่อเข้าไปถึงหมู่บ้านของศิริวัฒกะเศรษฐีผู้เป็นบิดาของเจ้ามโหสถ ได้เห็นศาลาและสระที่เจ้ามโหสถทำไว้ ตลอดจนได้ฟังกิตติศัพท์ของเจ้ามโหสถ ก็นำสิ่งที่ตนได้เห็นและฟังไปกราบทูลพระเจ้าวิเทหราช ซึ่งพระองค์ก็เห็นว่าคงเป็นนักปราชญ์แน่แล้ว แต่เมื่อตรัสถามเสนกะก็กลับได้รับคำตอบว่า

“ขอเดชะ อย่าเพิ่งด่วนลงพระทัยก่อน เพราะการสร้างศาลาเท่านั้นจะจัดว่าเป็นนักปราชญ์ไม่ได้”

ทั้งนี้เพราะมิใช่อะไร เพราะเสนกะเกรงว่าลาภยศที่ตนได้นั้นลดน้อยลงไป หรืออาจจะต่อไม่ได้เลยเพราะปราชญ์คนใหม่เข้ามาแทนที่ตน “ขอเดชะ ให้พระองค์ทรงพิจารณาต่อไปอีกหน่อย เพราะช้า ๆได้พร้าสองเล่มงามพระเจ้าค่ะ”

เรื่องก็เป็นอันหมดลง พระเจ้าวิเทหะยังไม่ทรงรับเจ้ามโหสถมา แต่ก็ได้ส่งคนออกไปสังเกตการณ์ใกล้ชิด..

เรื่องเนี้อ

วันหนึ่งเจ้ามโหสถกำลังเล่นอยู่ในสนามกับเด็ก ๆ ด้วยกัน เผอิญเหยี่ยวตัวหนึ่งโฉบชิ้นเนื้อที่เขาวางไว้ที่เขียงแล้วบินผ่านมา ด้วยความคะนองเด็ก ๆ ก็อยากได้เนื้อนั้น แม้ว่าจะทำอะไไม่ได้ ก็พากันโห่ร้องวิ่งตามเหยี่ยวหกล้มหกลุกไปตาม ๆ กันได้แผลแต่ไม่ได้เนื้อ ได้แต่ความฟกช้ำดำดำเขียว หัวโน แขนเคล็ดไปตาม ๆ กัน เจ้ามโหสถจึงได้ไล่เหยี่ยวไปด้วยกำลังเร็ว และตวาดเสียงดัง เหยี่ยวตกใจก็เลยปล่อยชิ้นเนื้อลงมา เด็ก ๆ พากันชอบใจ ราชบุรุษก็เอาความเป็นไป ไปกราบทูลพระเจ้าวิเทหราช ได้ถูกเสนกะคัดค้านอย่างเดิมอีก จึงได้ให้ราชบุรุษสะกดรอยคอยดูเหตุการณ์ต่อไป

เรื่องวัว
ชายชาวนานำโคไปเลี้ยงในทุ่งนา ปล่อยให้โคกินหญ้าตามสบาย ตัวเองหลบเข้ามานอนอยู่ใต้ต้นไม้ เผอิญหลับไป ชายคนหนึ่งเดินมาพบโคไม่ไม่มีเจ้าของกำลังกินหญ้าอยู่ก็จูงโคออกเดินไป ชายชาวนาลุกขึ้นมาไม่เห็นโคก็ออกเดินตามพบโจรนั้นกำลังจูงโคไปอยู่ จึงเข้ายื้อแย่งและว่าเป็นของตน แต่โจรไม่ยินยอมให้ อ้างว่าเป็นของตนเช่นกัน ต่างคนก็ยื้อแย่งและทุ่มเถียงกันไปมาไม่เป็นที่ตกลงกัน เลยต้องพากันหามโหสถ ณ ศาลาเด็กเล่น เพื่อให้ตัดสิน
มโหสถจึงถามชายทั้งสองถึงความเป็นมาของโค ชายเจ้าของกล่าวว่า “นาย....โคผมซื่อมาจากบ้านโน้น มีคนรู้เห็นเป็นพยายนำไปไว้ที่บ้านแล้วนำไปเลี้ยงที่ทุ่งนา เผอิญหลับไป ชายคนนี้จึงมาลักไป”

ชายคนนั้นกล่าวว่า “นายอย่าไปเชื่อเขา ไม่เป็นความจริงเช่นนั้น เพราะว่าไม่โคตัวนี้เป็นลูกคอกในบ้านของข้าพเจ้าเอง ข้าพเจ้ากำลังจะนำมันไปให้ต่างบ้านของข้าพเจ้า คนนั้นโกหกหน้านายเสียแล้วล่ะ”

“ท่านทั้งสองที่มาให้เราตัดสินนั้น ท่านจะยอมอยู่ในถ้อยคำของเราล่ะหรือ” เมื่อทั้งสองได้ให้ถ่อยคำว่าจะอยู่ในถ้อยคำแล้ว จึงไห้คนทั้งสองออกไป แล้วเรียกเข้ามาถามทีละคน ครั้งแรกเรียกชายเจ้าของโคเข้ามาถามก่อนว่า
“โคของท่านอ้วนพี ท่านเลี้ยงด้วยอะไรจึงได้อ้วนพีอย่างนี้”
“โอ ? นาย ข้าพเจ้าเป็นคนจนจะไปมีอะไรให้โคกินนอกจากหญ้า ตอนเช้าข้าพเจ้าจะนำโคออกมาเลี้ยงให้กินหญ้าเท่านั้น”

มโหสถก็ให้ชายเจ้าของออกไป แล้วเรียกคนลักโคมาถาม
“โคตัวนี้มีลักษณะดี อ้วนงามดีเหลือเกิน ท่านคงจะให้อะไรมันกินล่ะสิ จึงได้อ้วนดีอย่างนี้”
“โอ้? นาย ข้าพเจ้าให้โคตัวนี้กินงา กินแป้งและนมสดบ้าง หญ้าบ้าง หลายอย่างด้วยกัน”

เท่านั้นเจ้ามโหสถก็ให้ชายผู้นั้นออกไป แล้วให้คนไปนำใบประยงค์มาผสมกันน้ำ กรอกปากโค โคก็สำรอกหญ้าออกมา เจ้ามโหสถจึงชี้ให้ประชาชนที่มาฟังดูและว่า
“พวกท่านจงดูว่าโคสำรอกอะไรออกมา”
“มีแต่หญ้าทั้งนั้น” ประชาชนตอบ มโหสถจึงหันไปถามคนที่ลักโคว่า
“ท่านจะยอมรับหรือไม่ ถ้ามิฉนั้นจะต้องส่งเจ้าหน้าที่จัดการไปตามความผิด”
" ท่านขอรับ กระผมรับผิด อย่าส่งตัวผมให้เจ้าหน้าที่เลยครับ ผมเดินทางผ่านมาเจ้าของนอนหลับอยู่ จึงจูงเอาโคตัวนี้มาเสีย ผมขอคืนให้อย่าเอาโทษกระผมเลย” มโหสถ จึงสั่งสอนให้ประพฤติอยู่ในศีลธรรม และปล่อยตัวไป พร้อมกับคืนโคให้เจ้าของไปด้วย

ราชบุรุษได้ติดตามดูพฤติการณ์ตั้งแต่ต้นจนสุดท้าย และได้นำเอาความนั้นไปกราบทูลจอมคนแห่งเทวิรัฐ
“ควรจะรับเจ้ามโหสถมาได้หรือยัง” ทรงตรัสถามเสนกะ
“อย่าเพิ่งก่อนพระเจ้าค่ะ เพราะแสดงปัญญาเพียงเท่านั้นยังไม่พอจะเป็นบัณฑิตได้ ดูไปก่อนอีกสักหน่อย คำโบราณ ช้าเป็นการนานเป็นคุณพระเจ้าค่ะ”

เมื่อถูกคัดค้านท้าวเธอก็ได้แต่นิ่งอึ้ง และได้สั่งให้ราชบุรุษกลับไปดูเหตุการณ์ต่อไปอีก..

เรื่องเครื่องประดับ
หญิงยากจนคนหนึ่งเดินทางมาไกล เหนื่อยเข้าพอมาถึงสระน้ำก็จัดแจงถอดสร้อยคอที่ทำด้วยด้ายถักสีต่าง ๆ ไว้บนผ้าแล้วตัวเองก็ลงไปในสระเพื่อจะลูบตัวและล้างตา
หญิงรุ่นคนหนึ่งแลเห็นเคื่องประดับนั้นก็เกิดความโลภอยากได้สร้อยคอคอถักสายนั้น จึงเดินเข้าไปหยิบดู และถามหญิงเจ้าของว่า
“นี่แน่ะเธอ สร้อยคอของเธอสวยจัง ฉันอยากจะทำบ้าง ราคาสักเท่าไหร่นะ”
“ไม่มีค่าดอกค่ะ เพราะมันเป็นด้ายถักสีต่าง ๆ เท่านั้นเหมาะสำหรับคนยากจนเท่านั้นค่ะ”
"แต่ฉันว่ามันสวยดีน่ะ ฉันอยากจะชมสักหน่อย” แล้วเอาสร้อยนั้น สวมคอตนเองแล้วถามว่า
“ดูสิคะ สวยไหมคะ”
“ก็ดีเหมือนกันเหละคะ”
“เออ..? สวยจริง ๆ แหละนะ” ว่าแล้วก็เดินหนีไปเสียเฉย ๆ พร้อมทั้งเอาสร้อยนั้นติดคอไปเสียด้วย หญิงผู้เป็นเจ้าของตกใจอ้าปากค้าง พอได้สติก็ร้องออกมาว่า
“คุณคะ สร้อยคอดิฉันคุณยังไม่ได้คืนมานะคะ”
“สร้อยคออะไรของแก นี่มีแต่ของฉันเท่านั้น ที่สวมอยู่ในคอของฉันนี่เเหละ”
“ไม่ยอม ไม่ยอม คุณโกงดิฉันต่อหน้าต่อตาอย่างนี้ไม่ได้”
“ไม่ได้จะทำยังไง เชิญขี่ม้า ๓ ศอก ๔ ศอก ไปบอกกับใครก็ได้ มันของฉันแท้ ๆ หล่อนจะมาตู่เอาน่ะไม่สำเร็จดอก”
ว่าแล้วก็วิ่งหนีไป หญิงผู้เป็นเจ้าของ ขึ้นจากสระวิ่งตามไป พร้อมกับร้อง “เอาของฉันมา เอาของฉันมา ฉันไม่ให้”
“คนขี้ตู่ หน้าด้าน ของตัวก็อยู่ที่ตัวสิ นี่ของฉันต่างหากฉันไปล่ะ อย่ามาหน่วงเหนี่ยวไว้นะ”

พร้อมกับเดินหนีไป แต่หญิงคนจนไม่ยอมให้ไปก็ดึงไว้ ประชาชนชาวเขาเผ่ามุงก็ล้อมกันเข้ามาสอบถามเรื่อง เมื่อรู้แล้วก็ไม่สามมารถจะจัดการอะไรได้ เพราะต่างไม่มีพยานด้วยกัน
“ไปหามโหสถให้เขาตัดสินให้เถอะ” เมื่อตกลงกันแล้ว ก็พากันยกขบวนให้ทั้งโจทก์จำเลยเหล่าเผ่ามุงเผ่ามองทั้งหลายไปยังศาลาที่เจ้ามโหสถกำลังเล่นอยู่
“พ่อมโหสถมีความมาให้ตัดสินอีกแล้ว”
“เรื่องอะไรกันล่ะ”
“เรื่องมันเกี่ยวกับเครื่องประดับ ซึ่งต่างคนก็ช่วงชิงกรรมสิทธิ์กัน
“บอกให้โจทก์และจำเลยเข้ามาซิ”

เมื่อโจทก์และจำเลยเข้ามาแล้ว มโหสถจึงถามว่า
“ท่านทั้งสองจะยอมทำตามคำตัดสินของเราแน่ล่ะหรือ”
“ข้าพเจ้าทั้งสองจะปฎิบัติตามความตัดสินของท่าน”
“ถ้าเช่นนั้นโจทก์ให้การไปก่อน”

หญิงผู้เป็นโจทก์จึงเล่าความตั้งแต่ตนเดินทางมาจนกระทั่งถอดสร้อยคอด้ายถักวางไว้บนผ้า แล้วลงไปลูบตัวล้างหน้าล้างตาฝนสระ หญิงจำเลยเดินมาขอดู ตนจึงให้ดู แต่หญิงนั้นไม่ดูเปล่า ๆ กลับเอาสวมใส่คอแล้วเดินหนีไปหน้าตาเฉยเสียอีกด้วย ตนจึงขึ้นจากสระวิ่งไล่ตามมาเพื่อจะเอาของ ๆ ตนคืน แต่หญิงจำเลยไม่ให้ อ้างว่าเป็นของตน ไม่ตกลงกันจึงพากันมาหามโหสถนี่แหละ

เมื่อมโหสถฟังโจทก์แล้วก็ถามจำเลยบ้าง หญิงนั้นก็ให้การว่า ตนมีธุระเดินทางผ่านมาทางสระซึ่งหญิงคนนั้นในสระ และไม่ทราบว่าอย่างไรผลุนผลันหญิงคนนั้นก็วิ่งขึ้นมาจะเอาสร้อยคอถักซึ่งนางสวมใส่อยู่ อ้างว่าเป็นของเขา ดิฉันจึงไม่ยอมให้ก็เกิดโต้เถียงกันจนคนแนะนำให้มาหามโหสถ

มโหสถพิจารณาแล้วก็ทราบได้ทันที คนผู้จำเลยฉ้อโกงของเขาจริง ๆ เพราะตามธรรมดาใครจะวิ่งเข้ามาตู่ของ ๆ คนอื่นได้ง่าย ๆ โดยไม่มีเหตุผลอะไร แต่เพื่อจะให้ปรากฎแก่มหาชนทั่วไป มโหสถจึงสั่งให้คนนำเอาอ่างใส่น้ำเข้ามาอ่างหนึ่งพร้อมกับให้นางจำเลยถอดสร้อยคอนั้นแล้วแช่ลงไปในอ่าง พร้อมกับถามนางว่า

"เครื่องประดับของเธออบด้วยเครื่องหอมอะไร” นางผู้เป็นจำเลยอึกอัก เพราะไม่รู้จะตอบอย่างไร แต่แล้วก็แก้ผ้าเอาหน้ารอดไปทีหนึ่ง โดยตอบว่า
“ของข้าพเจ้าอบด้วยกำยาน” มโหสถจึงหันไปถามผู้เป็นโจทก์บ้าง
“เครื่องประดับของท่านอบด้วยเครื่องหอมอะไร” ผู้เป็นโจทก์จึงตอบว่า

“ท่านผู้เป็นที่พึ่งของคนยาก ดิฉันเป็นคนจน ไม่สามารถจะหาของหอมอะไรได้ ก็ได้แต่เก็บเอาดอกพยอมมาอบเครื่องประดับนี้”

เมื่อได้ทราบคำของทั้งสองฝ่ายแล้ว มโหสถก็ให้เอาเครื่องประดับขึ้น แล้วเรียกคนที่ชำนาญในการดมกลิ่นเข้าไปพิสูจน์ดูว่าในน้ำที่แช่เครื่องประดับนั้นมีกลิ่นอะไร ผู้ชำนาญเข้าไปดมแล้วก็หันมาบอกกับมโหสถว่า
“ท่านผู้เจริญในน้ำมีแต่กลิ่นดอกพยอมเท่านั้น” มโหสถจึงเรียกนางผู้เป็นจำเลยเข้ามาถามว่า
“เรื่องนี้ท่านจะว่าอย่างไร ถ้าเรื่องนี้ไปถึงเจ้าหน้าที่ ท่านจะต้องลำบาก เพราะเหตุทั้งหลายบอกให้ทราบว่าท่านมิได้เป็นเจ้าของเครื่องประดับสายนั้น ท่านจะยอมคืนให้เขาหรือไม่”

ด้วยดวงหน้าซีดเผือดเพราะความอาย และเสียงสั่นด้วยความกลัวผิด นางผู้เป็นจำเลยยอมรับ คืนและขอโทษอย่าเอาความผิดอีกเลย มโหสถจึงคืนสร้อยนั้นให้นางผู้เป็นเจ้าของไป พร้อมกับสั่งสอนให้นางผู้เป็นจำเลยตั้งอยู่ในศีลธรรมแล้วให้แยกทางกันกลับไป

ใครบ้างจะคิดว่าเรื่องยาก ซึ่งหาพยานหลักฐานอะไรมิได้ แต่มโหสถคิดหาหนทางพิสูจน์ตังเองมาตลอด ใครโง่ ใครฉลาด ใครคด ใครโกง ใครซื่อสัตย์ เหตุการณ์และเวลาเท่านั้นเป็นเครื่องพิสูจน์ได้
“ท่านอาจารย์ มโหสถได้แสดงปัญญาตัดสินความนี้ได้อย่างลึกซึ้ง สมควรนำมาเลี้ยงดูได้หรือยัง”

เพราะไม่อยากให้ใครดีเกินหน้าตน เสนกะจึงกลาบทูลว่า “ขอเดชะ เรื่องเล็กน้อยเท่านี้ใคร ๆ ก็ตัดสินได้ อย่าเพื่งเอามาเป็นเครื่องวัดความเป็นบัณฑิตด้วยสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เลยดูไปอีกก่อนดีกว่า เวลาเท่านั้นเป็นเครื่องพิสูจน์ที่ดีกว่านี้”

ข้อพิพาทเรื่องลูก
หญิงเดินทางคนหนึ่งอุ้มลูกผ่านมาทางสระที่มโหสถขุดไว้ด้วยความร้อนและเหน็ดเหนื่อยในการเดินทางจึงวางลูกไว้ขอบสระ แล้วตนเองก็ลงไปลูบแข้งลูบขาลูบหน้าลูบตา ดื่มน้ำระงับความกระหาย
นางยักษิณีตนหนึ่งเดินทางผ่านมาเห็นเด็กอ่อนนั่งอยู่คิดอยากกิน
“เนื้อคงจะหวานมัน กระดูกกระเดี้ยวคงกรอบดีเป็นแน่” เมื่อคิดได้ดังนั้นก็เดินไปใกล้เด็ก เห็นแม่กำลังลูบตัวอยู่ในสระ จึงพูดว่า
“พ่อหนูนี่น่ะน่าเกลียดน่าชังจังคะ ลูกของเธอหรือ”
“ค่ะ ลูกของฉันเอง”
“ฉันขออุ้มแกหน่อยนะ”
“เชิญเถอะคะ แกไม่ค่อยจะแปลกหน้าคนนักหรอก”

นางยักษิณีได้โอกาส ก็เลยอุ้มเด็กนั้นขึ้นมาเห่กล่อมแล้วสักครู่ก็ออกเดินทางไป โดยไม่วางเด็กไว้ด้วย
“คุณคะ คุณเอาลูกดิฉันไปไหน” แต่นางยักษิณีกลับตะหันมาตะคอกว่า
“อะไร ลูกของแก ลูกของฉันต่างหาก” แม่เด็กก็วิ่งตามไปยื้อยุดฉุดไว้ ทั้งสองก็เถียงกันเสียงเอ็ดตะโร ไม่เป็นที่ตกลงกันได้

ประชาชนเห็นก็ล้อมกลุ่มเข้ามาเช่นเคยตามประเพณีของเผ่ามุงเผ่ามองทั้งหลาย
“อะไรกันล่ะ แม่คุณ” เสียงผู้ชายคนหนึ่งถามขึ้น
“ลูกของฉันเจ้าค่ะ แม่คนนั้นมาขออุ้มแล้วจะลักพาลูกดิฉันไป ดิฉันก็วิ่งติดตามมานี่แหละ” เสียงแม่เด็กตอบ
“ไม่จริงค่ะ ลูกของฉันอุ้มผ่านมาข้างสระ แม่นี้ก็วิ่งขึ้นมาจากสระ อ้างว่าเป็นลูกของเขา ดิฉันจะให้ได้ยังไงคะ ในเมื่อเด้กคนนี้เป็นลูกของฉันจริงๆ " เห็นจะต้องให้มโหสถตัดสินเสียแล้ว

แล้วก็พากันห้อมล้อมหญิงสองคนไปหามโหสถยังศาลาที่เล่นของเด็ก
“มีเรื่องมาอีกแล้วพ่อมโหสถ”
“เรื่องอะไรอีกล่ะ”
“นี่ไม่ใช่สิ่งของอย่างแต่ก่อนเสียแล้ว กลายเป็นเด็กมีชีวิต "
“ไม่มีใครรู้จักผู้หญิงสองคนนี่บ้างเลยหรือ”
“ไม่มีใครรู้จักเลย เพราะเป็นคนที่อื่นเดินทางผ่านมาเท่านั้น”
“ได้สอบถามกันบ้างใหมว่า เป็นคนอยู่เมืองไหน ตำบลอะไร”
“ได้ถามแล้ว เขาบอกว่าอยู่เมืองไกล และตำบลก็ไกลทั้งสองคน”
“การสืบสวนทวนพยานถึงในที่อยู่ ก็ย่อมจะทำได้เพราะหญิงเหล่านี้ จะต้องมีญาติพี่น้องอยู่บ้าง แต่มันก็เป็นเวลานาน เพื่อจะรู้ได้ง่าย ๆ และสงวนเวลาตัดสิน ข้าพเจ้าก็จะจัดการให้” ตกลงใจในการที่จะให้เป็นผู้ตัดสินข้อพิพาท ซึ่งหญิงทั้งสองก็ตกลง

มโหสถพิจารณาหญิงทั้งสองคน เห็นอีกคนหนึ่งแต่งตัวแม้จะเรียบร้อย แต่กิริยาอาการดูกระด้าง ๆแข็ง ๆ ไม่เหมือนหญิงชาวบ้านธรรมดา ส่วนอีกคนหนึ่งนั้นแต่งตัวค่อนข้างกะเร้อกะรังอย่างแบบชาวชนบททั่ว ๆ ไป ก็ทราบได้ทันทีว่าอะไรเป็นอะไร

จึงได้ถามหญิงทั้งสองว่า เด็กคนนี้เป็นลูกของตนแน่หรือทั้งสองคนยืนยัน หญิงบ้านนอกยังแถมสะอื่นเสียด้วย มโหสถจึงหันไปถามประชาชนว่า
“เมื่อเขายืนยันว่าเป็นลูกของเขา เราจะทำอย่างไรดีล่ะเรื่อจะสืบสวนไปถึงต้นตอน่ะมันไกล แล้วไม่มีเวลาจะไปสอบ”
“ถ้าไม่มีพยาน ก็มักจะตัดสินสิ้นความเที่ยงธรรมไป จะกลายเป็นโยนความผิดให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งไป คววรจะสอบสวนทวนพยานให้ได้ความจริง”
“ข้าพเจ้ามีวิธีง่าย ๆ ที่ตัดสินให้ได้ความยุติธรรม”
“ตกลง ให้พ่อมโหสถจัดการไปเลย”

มโหสถจึงให้คนขีเส้นลงพื่นดิน แล้วให้อีกคนหนึ่งไปรับเด็กมาจากนางยักษิณี ซึ่งนางก็ยอมให้แต่โดยดี พอได้มาแล้วก็เอามาวางที่เส้นให้กลางตัวทับเส้นตรงบันเอว แล้วบอกหญิงทั้งสองคนว่า
“ท่านมาจับเด็ก อีกคนจับทางเท้า อีกคนจับทางศรีษะ แล้วต่างคนต่างดึง ใครมีกำลังดึงเอาเด็กไปได้ คนนั้นเป็นแม่ของเด็ก”

มหาชนได้ยินด็สงสัยในใจว่ามโหสถจะเล่นท่าไหน แต่เพราะเชื่อปัญญาว่าคงจะมีลูกไม้อะไรอยู่ จึงได้แต่นิ่งดู
“เอ้า อย่าช้าสิ จับเท้าคนหนึ่ง จับศรีษะคนหนึ่งดึงจนกว่าจะชนะ มันเหมือนชักคะเย้อนั้นเเหละอย่ามัวช้าสิ” มโหสถเร่งทั้งสอง

แม่ของเด็กมองมโหสถอย่างปลงอนิจจัง พิโธ่เอ๋ยทำอย่างนี้ลูกก็ตายสิ แต่ให้จับก็จับ เลยแข็งใจเอื้อมมือไปจับเท้าลูกตนเพียงแผ่วๆ
“คอยฟังสัญญาณนะ” มโหสถว่า
“พอเรานับถึงสามท่านทั้งสองก็ลงมือดึงกันเชียวนะ” แล้วก็นับ “หนึ่ง - สอง - สาม”

พอสิ้นคำว่าสาม หญิงทั้งสองก็ดึงเด็กพร้อมกัน เด็กได้รับความเจ็บปวดก็เลยร้องขึ้น แม่ของเด็กเห็นเช่นนั้นก็ปล่อยเด็กแล้วยืนร้องไห้ มโหสถหัวเรอะอย่างชอบอกชอบใจ
“ ชนะแล้วใช่ใหมเล่า” แล้วหันไปถามประชาชนที่พากันมาฟังตัดสินคดีว่า
“พวกท่านเห็นว่าจิตใจของแม่คนอื่นน่ะ จิตใจใครจะอ่อนกว่ากัน”
“ของแม่อ่อนกว่า”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านมองดูหญิงสองคนนี่ซิว่าคนไหนจิตใจอ่อน”
“คนที่ยืนร้องไห้นั้นสิ”
“ไม่ใช้กล่ะมัง อาจจะร้องเพราะแพ้ก็ได้”
“ไม่ใช่เพราะแพ้แน่นอน เพราะพอเด็กร้องนางก็รีบปล่อยเด็กทีนที ถ้านางไม่ปล่อยเด็กก็จะเจ็บมากขึ้น จึงเห็นว่าที่นางร้องไห้ไม่ใช่ร้องเพราะแพ้ แต่ร้องเพราะสงสารเด็กต่างหาก” แล้วมโหสถก็หันไปถามอีกว่า
“แล้วพวกท่านเห็นว่าใครควรเป็นแม่ของเด็ก” มหาชนก็ตอบพร้อมกัน
“นางคนที่ร้องไห้เป็นแม่ของเด็กแน่นอน” มโหสถจึงพูดต่อไปว่า
“เรื่องนี้ฉันไม่ตัดสิน เพราะมหาชนเขาตัดสินแล้ว แกเป็นขโมยเด็ก จะแก้ตัวอย่างไร”
“ฉันไม่แก้ตัวอย่างไร เด็กที่ฉันแย่งได้เป็นลูกของฉัน”
“อย่าให้ถึงเจ้าที่บ้านเมืองเลย เธอจะลำบากคืนเด็กให้แม่เขาเถอะ เธอจะเอาไปทำไมกัน”

เมื่อมโหสถคาดคั้นหนักเข้า และเห็นว่ามหาชนมองดูนางอย่างกับจะกินเลือดกินเนื้อ จึงสารภาพความจริง พร้อมกับคืนเด็กให้แม่ไป มโหสถจึงสั่งสอนให้นางเลิกความชั่ว ๆ ให้ประพฤติตังแต่ในทางสุจริต ซึ่งนางยักษิณีก็รับคำเป็นอันดี เรื่องนี้เป็นอันตกลงกันได้ด้วยดี ประชาชนที่ห้อมล้อมเด็กก็ชมปัญญาของมโหสถ ใครบ้างจะคิดว่าเรื่องยาก ๆ ปราศจากพะยิงพยาน พ่อมโหสถก็ตัดสินเป็นเรื่องง่าย ๆ ไปได้

พวกราชบุรษก็ส่งพฤติการอันนี้ไปให้พระเจ้าวิเทหราชทรงทราบ พระเจ้าวิเทหราชก็ตรัสถามเสนกะอีก เสนกะก็ยังยืนกรานไม่ยอมรับมโหสถเข้ามา เรื่องเล็กพระเจ้าค่ะ ใคร ๆ ก็ตัดสินได้ ถ้านางยักษิณีไม่ยอม มโหสถก็ไมรู้จะตัดสินอย่างไร แต่เพราะนางยอมเสัยเรื่องมันก็เลยง่ายนิดเดียว จะรับเข้ามาฐานะบัณฑิตเพราะเรื่องเท่านี้ ดูไม่ค่อยสมกับฐานะนักพระเจ้าค่ะ ควรดูไปก่อนดีกว่า” พระเจ้าวิเทหราชก็ต้องจนพระทัยอีกวาระหนึ่ง เพราะเฒ่าหัวงูเสนกะผู้เรืองปัญญาแห่งราชสำนัก

เรื่องชิงเมีย
เรื่องนี้มีอยู่ว่านายเตี้ยชื่อคโฬกาฬ เพราะตัวแกดำ มีเมียชื่อทีฆตาลา ไปทำมาหากินต่างถิ่นถึง 7 ปี ไม่ค่อยมาเยื่ยมพ่อแม่เลย วันหนึ่งนายเตี้ยเกิดความคิดถึงพ่อแม่ขึ้นมา จึงสั่งนางผู้เป็นเมียว่า “แม่ทีฆตาลา ทอดขนมสักหน่อยเถอะน่ะ” “พ่อเตี้ยจะเอาขนมไปทำอะไร” “เอาไปฝากพ่อแม่สักหน่อย เพราะถ้าจะชื้อเงินทองของเราก็ไม่ค่อยจะมี” “พ่อแม่เป็นอะไรไปล่ะ ใครมาส่งข่าวรึ” “ไม่มีใครส่งข่าวดอก ไม่ได้ไปเยี่ยมแกนานแล้ว ตั้ง 7 - 8 ปี เลยคิดถึง คิดว่าควรจะมีอะไรติดไปเยี่ยมแกสักหน่อย” “เงินทองของเราก็ไม่มี อย่าเพิ่งไปเลย รอไว้เมื่อเราเก็บเงินทองได้มากกว่านี้ค่อยไปดีกว่า อีกอย่างการเดินทางไกลเหลือเกิน เอาไว้ให้ฉันสบายดีแล้วค่อยคิดกันใหม่”
นายเตี้ยก็เลยไม่ได้ไป ก้มหน้าก้มตาทำมาหาเลี้ยงชีพต่อไป เมื่อมีความคิดถึงพ่อแม่มากขึ้น นายเตี้ยก็สั่งนางทีฆตาลาอีก แต่ถูกคัดค้านเช่นคราวแรก ก็เป็นอันว่าการเดินทางต้องระงับอีก ตราบจนกระทั่งครั้งที่สาม นายเตี้ยจึงได้โอกาสที่จะเดินทางไปเยี่ยม เพราะนางทีฆตาลาไม่คัดค้าน ยอมทอดขนมเพื่อเป็นของติดไม้ติดมือไปฝากบิดามารดาด้วย คนทั้งสองจัดเตรียมของที่จะนำติดตัวไปเรียบร้อย ก็ออกเดินทางไป จนกระทั่งมาถึงแม่น้ำสายหนึ่ง ซึ่งมีน้ำไหลเชี่ยวแต่ตื้นเขินพอเดินข้ามไปมาได้ มองหาเรือแพจะข้ามก็ไม่มี คนที่จะเดินทางผ่านมาพบจะถามความเป็นไปของแม่น้ำสายนี้ก็มองหาไม่พบ สองผัวเมียก็เลยนั่งพักอยู่ที่ริมต้นไม้ชายฝั่งแม่น้ำนั้นเอง

ในขณะนั้นเอง นายเตี้ยก็มองเห็นชายคนหนึ่งเดินตรงมาที่แม่น้ำ ก็นึกดีใจ เพราะจะได้ถามข่าวว่ามีทางข้ามแม่น้ำนี้ได้อย่างไร ชายคนนั้นชื่อว่านายหลังยาว เพราะตัวสูงและคงจะชอบนอนมากกว่าทำงาน เขาเลยตั้งชื่อแกว่าอย่างนั้น เดินตรงมาที่ร่มไม้นั้น เมื่อเขาเดินมาถึง นายเตี้ยของเราก็เอ่ยปราศรัยพร้อมกับถามว่า “พี่ชายคงอยู่ไม่ไกลจากที่นี้กระมัง” “เราอยู่ไม่ไกลหรอก”

“พี่ชายคงรู้จักว่าทางข้ามแม่น้ำสายนี้อยู่ทางใด หรือที่ใหนเขาจะมีเรือแพข้ามบ้าง” พอได้ยินคำถาม นายหลังยาวก็รู้ว่านายเตี้ยนี่ไม่เคยผ่านมาทางนี้เลย เพราะทางตรงนี้เองเป็นทางเดินข้ามของพวกเดินทาง และเห็นว่านางทีฆตาลาเมียนายเตี้ยหน้าตาจุ๋มจิ๋มน่ารัก น่าเอ็นดู มองดูแววตาก็รู้สึกชอบ ๆ ตัวอยู่บ้าง ก็คิดอยากจะได้นางไปเชยชม

“โอ้โฮน้องชาย แม่น้ำสายนี้น่ะลือชื่อเลย มองดูน้ำไหลยังกะเทลงจากกระบอก เรื่องนั้นไม่เท่าไหร่ สำคัญแต่ไอ้เข้น่ะสิ ชุมพอ ๆ กับปลาทีเดียวแหละ ปีหนึ่ง ๆ คนตายเพราะไอ้เข้ในแม่น้ำเป็นจำนวนหลายคนทีเดียวล่ะ”

“แหม มันดุยังงั้นเชียวหรือทางบ้านเมืองเขาจัดการอย่างไรบ้างล่ะ” “เขาก็ส่งคนมาคอยดักมันบ้าง หาหมอมาฆ่ามันบ้าง แต่มันก็ไม่รู้จักหมดสักทีพ่อน้องชาย สองคนนี้จะไปไหนกันเล่า” “ฉันจะไปบ้าน ที่ข้ามแม่น้ำสายนี้แล้วจะต้องเดินทางอีก 2 - 3 วัน จึงจะถึง” “บ้านพ่อน้องชายไกลเหลือเกิน วันนี้ข้ามแม่น้ำไปแล้วไปพักบ้านพี่ชายก่อนก็แล้วกัน บ้านพี่ชายพอข้ามแม่น้ำพ้นจากละเมาะไม้บ้างหน้านั้นก็ถึง” “ทำอย่างไรจะข้ามได้ล่ะ” “มีทางพอจะช่วยได้” “พี่ชายมีเรือแพพอจะช่วยหรือ” “ไม่ต้องเรือแพหรอกน้องชาย ดูเราสิสูงกว่าน้องชายตั้งเยอะเยะ และเรารู้จักทางเดินข้ามด้วย” “แล้วไอ้เข้ไม่เล่นงานพี่หรือ”

“ก็บอกน้องชายแล้วว่าพี่น่ะเป็นคนแถบนี้เอง ฉะนั้นพี่ลงไปมันก็ไม่ผิดกลิ่น ตามธรรมดาสัตว์ร้ายจำพวกนี้น่ะมันจำกลิ่นแม่น ถ้าแปลกปลอมผิดสี ผิดกลิ่น พอลงน้ำล่ะก็ลอยกันขึ้นมาเป็นแหนเชียวล่ะ” พอพูดถึงไอ้เข้ทีไรนายเตี้ยของเราขนลุกทุกที เขากลัวจริง ๆ เล่นกับอะไรไม่เล่น จะไปเล่นกับเจ้าแม่น้ำ ไม่เอาล่ะไม่เห็นตัวมันเสียด้วยน่ะสิ
“แล้วฉันสองคนทำไงจะข้ามได้ล่ะ”
“พี่ก็ช่วยน่ะสิ”
" ช่วยยังไงล่ะ”
“คือว่าพี่น่ะทั้งสูงทั้งใหญ่ น้องชายกับแม่สาวคนคนนี้ตัวเล็ก พี่จะแบกไปไหวก็ช่วยก็จะช่วยแบกข้ามแม่น้ำให้ พอเห็นน้องชายทำไมเกิดชอบขึ้นมาก็ไม่รู้ เอาล่ะ คืนนี้ไปพักกับพี่ดีกว่า”
“แหม ..ขอบคุณพี่ชายมากทีเดียว ถ้าไม่พบพี่เห็นจะต้องค้างคืนที่ริมแม่น้ำนี้เอง รอจนกว่าจะมีแพผ่านมาพอจะโดยสารเขาข้ามฟากได้” “เออ.. แต่ว่าน้องชายจะข้ามได้ทีละคนเท่านี้นนะ ใครจะไปก่อนดีล่ะ “เอาเมียฉันไปก่อนดีกว่า แล้วพี่ค่อยกลับมารับฉันอีกทีฉันขอบคุณจนบอกไม่ถูกเลย” “เรื่องบุญคุณอย่าพูดถึงเลย เอาเมียน้องไปก่อนก็ได้เมียของน้องนี่ชื่ออะไรนะ” “ ชื่อทีฆตาลา”
“งั้นแม่ทีฆตาลามาขี่คอฉัน” แม่เมียนายเตี้ยก็กระมิดกระเมี้ยน อายก็อาย ยิ้มไปก็ยิ้มมา ค่อย ๆ รวบผ้าแล้วขอโทษขอโพยแล้วขึ้นขี้คอนายหลังยาว “หวานกูล่ะ” นายหลังยาวคิด “มือแม่ทีฆตาลายังว่างให้ถือของไปเสียด้วยสิ” นายเตี้ยตายใจก็รีบส่งห่อของให้เมียรักของตนไป นายหลังยาวก็ค่อย ๆ เดินลงไป มือก็จับขาแม่ทีฆตาลาลูบคลำที่น่องบ้าง พร้อมกับพูดว่า
“แหม ... เนื้อน้องนิ้มนิ่ม แล้วก็ขาวเสียด้วย” แม่ทีฆตาลาก็ยังเฉย ก็เลยบีบแรง ๆ จนแม่ทีฆตาลาร้อง
“เจ็บพี่” นายหลังยาวหัวเราะชอบใจ และค่อย ๆ เดินยอบตัวทำเป็นว่าน้ำลึก ๆ ลงไปจากขาถึงเอวแล้วก็ต่ำลงไปจนถึงครึ่งตัว พร้อมกับพูดกับนางทีฆตาลา “แม่นางนี้เนื้ออุ่นจริงน่ะ” นางตัดพ้อเบา ๆ ว่า “พี่นี่พูดอะไรก็ไม่รู้ ผัวน้องยืนอยู่ริมน้ำโน่นนะ” “ผัวน้องก็ส่วนผัวน้อง ถ้าพี่ชอบล่ะก็ ว่าแต่น้องเถอะ” “ไม่ได้หรอก ผัวน้องมี” “ถ้างั้นปล่อยกลางน้ำนี้แหละนะ ไอ้เข้มันจะได้อิ่มเสียที” แล้วก็ทำท่าจะปล่อยนางออกจากคอ

“พี่จ๋า อย่าปล่อยน้องเลย น้องกลัว คุณพี่จะเอาอะไรน้องยอมทุกอย่าง” เท่านั้นเอง เรื่องก็ตกลง เขาค่อย ๆ เดินจนน้ำท่วมถึงคอ แล้วค่อย ๆ ยืดกายให้นายเตี้ยเห็นว่าค่อยสู่ลาดตลิ่งแล้ว จนกระทั้งถึงฝั่ง เขาแบกแม่ทีฆตาลาไปที่ร่มไม้แล้วรับนางลงจากคอ พร้อมกับกอดนางไว้กับอก “อย่าค่ะ ผัวฉันมองเห็น”

“เห็นก็ช่างมัน มันข้ามมาไม่ได้หรอก” และต่อหน้าต่อตานายเตี้ย เขาก็จัดการฝากรักกับเมียของนายเตี้ย โดยที่ฝ่ายหญิงมิไม่ขัดขืน เมื่อเสร็จจากการรัก ๆ ใคร่ ๆ กันแล้ว เขาก็ตะโกนบอกนายเตี้ย ซึ่งยืนอยู่อีกริมฝั่งหนึ่ง

“อ้ายเตี้ยโว้ย พี่ไปล่ะนะ เมียเอ็งนะข้าก็เอาไปด้วย” แล้วทั้งสองก็ออกเดินทาง โดยไม่เหลียวมามองนายเตี้ยอีกเลย เจ้าเตี้ยคิดเดือดดาลในใจ จะข้ามน้ำก็กลัวตาย วิ่งลงไปแล้วก็ถอยกลับขึ้นมาใหม่ โกรธขึ้นมาก็วิ่งลงไปอีก แต่พอกลัวตายก็กลับขึ้นมาอีก แต่แล้วในที่สุดก็คิดว่า

“เมื่อไม่ได้เมียคืนมาจะตายเพราะสายน้ำก็ให้มันตายไปเสียดีกว่า” ก็เลยตัดสินใจลงไป แต่เออ.. อภินิหารอะไรอย่างนั้น ทั้ง ๆ ที่ตัวเองเตี้ย แต่ไม่ยักกะจมน้ำ เพราะว่าน้ำมันตื้น นายเตี้ยเมื่อเห็นว่าตนไม่จมน้ำตายแน่แล้ว ก็รีบวิ่งติดตามจนกระทั่งถึงฝั่งได้ ไม่ฟังเสียงล่ะ เขาก้มหน้าก้มตาวิ่งตามเมียเขาไปทันที แม้นายทีฆปิฎฐิและนางทีฆตาลาจะสูงกว่าเขา เต่เพราะตายใจว่าเจ้าเตี้ยจะข้ามน้ำมาไม่ได้ เลยทำให้เขาทั้งสองเดินทอดน่องชมนกชมไม้อย่างสบายใจ

ในที่สุดความสามารถของนายเตี้ยก็สำเร็จผล โดยวิ่งทันคนทั้งสอง เมื่อเขาไปถึงตะคอกถาม “เฮ้ย ..พี่ชาย เอาเมียเรามาทำไมน่ะ” นายทีฆบิฎฐิซึ่งถือว่าตนเป็นผู้ได้เปรียบกว่า พูดอย่างคนที่ถือไพ่เหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ก็ทำเป็นหันมาถามว่า “อะไรกันเจ้าเตี้ย” “พี่ชายเอาเมียเรามาน่ะสิ” “เอ้า เมียใครที่ใหน” “ก็เดินกับพี่ชายนี่ไงล่ะ” “ฮ้า ...เจ้าเตี้ยเอาอะไรมาพูด นี่มันเมียฉันนะ อย่าโมเมยังงี้เลยนะ พับผ่าสิ ไม่ค่อยดีเสียแล้ว” “โมเมยังไง ก็เมียผมแท้ ๆ พี่ชายช่วยพาข้ามน้ำแล้วก็เลยพามาเสียด้วย” “พูดให้ดี ๆ นะเจ้าเตี้ยหมาตื่น พูดไม่ดีจะมีสีที่ปาก” นายทีฆปิฎฐิวาดลวดลายอันธพาลออกมาทันที

“ก็จะให้พูดยังไง ในเมื่อความจริงมันเป็นความจริงเป็นอย่างนั้น เมียฉันแท้ ๆ พี่ชายว่าเป็นเมียของพี่มันยังไงอยู่นะ” “แกถามผู้หญิงเขาดูซิว่าเขาเป็นเมียใคร” นายเตี้ยก็เลยหันไปถามแม่ทีฆตาลา เมียยอดรักผู้มีใจเหมือนน้ำไหลนั้นแหละ พลางถามออกมาอย่างคนบรมโง่ทั้งหลายจะถามออกมาได้ว่า” “น้องจ๋า น้องเป็นเมียพี่เตี้ยใช่ไหม” “ต๊ายตาย คนบ้า เอาอะไรมาว่า ฉันเป็นเมียแกเมื่อไหร่อะไรทึกทักเอาง่าย ๆ ยังงี้เอง” แล้วหันไปหานายทีฆปิฎฐิ พลางพูดว่า

“พี่ขา คนบ้าอะไรที่ไหนก็ไม่รู้ มาตู่ว่าน้องเป็นเมีย อย่ามาพูดให้เสียเวลาเลยรีบไปกันเถอะ เดี๋ยวจะค่ำกลางทางเสีย” แต่นายเตี้ยไม่ยอมให้ไป เขาลงมือยี้อยุดห่อผ้าจากมือเมีย พร้อมกับอ้อนวอนนางไปด้วย

“เมียจ๋า อย่าตัดความรักของพี่เลย พี่รักเมียมากจริง ๆ อย่าเห็นคนอื่นดีกว่าพี่เลย” แต่แล้วก็ถูกนายทีฆปิฎฐิขัดขวาง โดยผลักไสไล่ส่งเขาแล้วพากันเดินหนีไป แต่นายเตี้ยผู้ถือสุภาษิตตื้อเท่านั้นที่ครองโลก แม้จะต้องเจ็บจากการตุ้บตั๊บของนายทีฆปิฎฐิบ้างก็ยังคงเดินตามเรื่อยไป จนชาวบ้านเดินสวนทางมาหลายคน เขาเห็นกิริยาอาการดังนั้นก็แวะเข้ามาถาม นายเตี้ยก็อ้อนวอนให้เขาช่วยเอาเมียคืนมา ซึ่งเขาเหล่านั้นฟังความแล้วไม่สามารถจะตัดสินได้ จึงพากันบอกว่า “ไปหามโหสถให้ตัดสินดีกว่า”

“ฉันจะรีบไปบ้านฉัน” นายทีฆปิฎฐิว่า “เดี๋ยวจะเสียเวลา” แต่เจ้าเตี้ยของเราไม่ยอม และเมื่อเห็นว่านายทีฆปิฎฐิไม่มีทางจะวาดลวดลายอันธพาลได้อีกแล้วก็ยื่นคำขาด “พี่ชาย ยังจะพาเมียฉันไปไม่ได้ ต้องไปหาพ่อมโหสถให้ตัดสินก่อน ถ้าเขาตัดสินให้พี่ชายล่ะก็จะเอาไปทางไหนก็เชิญเลย” ในเมื่อมีชาวบ้านสนับสนุน นายทีฆปิฎฐิเลยตกกระไดพลอยโจน

“ก็ดีเหมือนกันนะน้อง จะไม่โมเมว่าเป็นเมียคนนั้นคนนี้อีก” และทั้งโจทก์ จำเลย และพยานอาสาเหล่านั้นก็พากัน เดินทางไปหามโหสถ ท่านว่ามโหสถจะตัดสินความว่าอย่างไร จะเปิดพิจรณาลับหรือแจ้งอย่างไร โปรดคอยกันต่อไป

เมื่อคนทั้งหมดเดินทางไปถึงมโหสถ แล้วไต่ถามรู้เรื่องราวกันแล้ว มโหสถก็กำชับในการที่จะให้โจทก์และจำเลยอยู่ในคำของตนแล้วจึงเริ่มพิจรณา โดยแยกคนทั้งสามออกจากกันให้ไปอยู่เสียห่างไกลกัน แล้วมโหสถก็เรียกนายเตี้ยคโฬกาฬเข้ามาก่อน “เจ้าชื่ออะไร” มโหสถถาม “ ข้าพเจ้าชื่อคโฬกาฬ” “อยู่บ้านไหน เมืองไหน” นายเตี้ยก็ตอบไปตามความจริง “เมียของเจ้าได้กันเอง หรือตบแต่ง มีผู้รู้เห็นเป็นพยาน” “ของข้าพเจ้าตบแต่งกันที่บ้านที่อยู่ มีผู้รู้เห็นเป็นพยานมากมาย”

“เมียของเจ้าชื่ออะไร เป็นลูกเต้าเหล่าใคร” นายเตี้ยก็ตอบไปตามความจริง มโหสถจึงให้ออกไปแล้วเรียกนายทีฆปิฎฐิเข้ามา ถามเช่นเดียวกับถามนายเตี้ย ทำเอานายทีฆปิฎฐิเหงื่อแตก ตอบอย่างขอไปที เพราะไม่ได้เตรียมซักซ้อมกันมาก่อน และไม่ได้ถามนางทีฆตาลาเสียด้วยว่าเป็นลูกเจ้าเหล่าใคร เลยตัดเอาบทเอาดื้อ ๆ ว่า “ข้าพเจ้าได้กันเอง ไม่ทราบเป็นลูกเต้าเหล่าใคร ชอบพอกันก็ได้กัน ไม่มีพยานที่ไหนเลย”

มโหสถก็บอกให้นายทีฆปิฎฐิออกไป แล้วเรียกนางทีฆตาลามาถาม "สามีของเธอชื่ออะไร” "ชื่อทีฆปิฎฐิ” “เป็นลูกเต้าเหล่าใคร” "ไม่ทราบ” “ทำไมจึงไม่ทราบล่ะ” “เพราะเขาไม่บอกให้รู้”

“เรากับเขาน่ะเป็นผัวเมียกันตั้งแต่เมื่อไหร่ ใครรู้เห็นเป็นพยาน” เท่านั้นเองนางทีฆตาลาก็เหงื่อแตก จำใจต้องรับกับมโหสถตรง ๆ ว่าตนเป็นเมียเจ้าเตี้ย แต่ถูกนายทีฆปิฎฐิล่อลวงจะปล่อยให้จมน้ำตาย เลยต้องยอมเป็นเมียเขาด้วยความจำใจ มโหสถจึงหันไปถามประชาชน บรรดาเหล่ามุงมงทั้งหลายว่า

“เรื่องนี้ยังให้ข้าพจ้าตัดสินด้วยหรือ ท่านทั้งหลายก็คงจะทราบแล้วว่าใครเป็นผิดคนถูก ใครเป็นผัวเป็นเมีย” ประชาชนพากันพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า

“เพราะท่านทำให้มองเห็นความเช่นนั้น ท่านต้องตัดสินความเรื่องนี้ให้เด็ดขาดลงไป” มโหสถก็ให้คืนเมียให้แก่นายเตี้ย พร้อมกับนายทีฆปิฎฐิก็คงจะไม่คางเหลือง ไม่ถึงหยอดน้ำข้าวต้ม แต่นายทีฆปิฎฐิก็คงจำได้อย่างไม่ลืม เพราะจำไม่ได้ว่ามือหรือเท้าใครบ้างที่มารวมอยู่ที่ตนคนเดียว

ราชบุรุษที่คอยสังเกตความเคลื่อนไหว ก็ได้รายงานให้พระเจ้าวิเทหราชทรงทราบ “ควรนำเข้ามาได้หรือยังท่านอาจารย์” ทรงตรัสถามเสนกะ “เรื่องขี้ปะติ๋วพรรค์นี้ใคร ๆ ก็ตัดสินได้ ถ้าจะถือว่าเรื่องเท่านี้เป็นบัณฑิตล่ะก็ จะมากไปหน่อยพระเจ้าข้า รอไปก่อนพระเจ้าข้า” “เอ้า รอก็รอ” ตรัสอย่างไม่ค่อยพอพระทัย
เรื่องรถ

ชายคนหนึ่งขับรถม้าผ่านมาทางเทหะรัฐ ที่เรียกว่ารถก็ม้าก็เพราะมันเทียมด้วยม้า หรือเรียกง่าย ๆ ก็เพราะม้ามันลากไปจึงไปได้ เขาใช้ม้าลากเจ้ารถเก่า ๆ คันนั้นของเขามาตามทาง ซึ่งเต็มไปด้วยฝุ่นและกรวดทราย บางแห่งก็เรียบบางแห่งรถก็โคลงเคลงไปตามรูปของถนนในสมัยครั้งกระโน้น
เขาขับผ่านมาทางศาลาของเจ้ามโหสถ ก็มีอันเกิดเรื่องขึ้น เขาเกิดกระหายน้ำ พอเห็นสระก็หยุดรถโดดลงไปที่สระเพื่อจะดื่มน้ำ พระอินทร์หรือสักกเทวราชเทพผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ แต่กลับแพ้ยักษ์เล็ก ๆ ที่มีชื่อเสียงเรียงนามอันใด คือรณพักตรลูกทศกัณฐ์ ตอนนั้นยังไม่เก่งกล้าเท่าไหร่นัก ถึงกับโดดหนีจากรถทรง ทิ้งจักรอันทรงศักดาให้กับเจ้ารณพักตรยักษ์ตัวนั้น ซึ่งมันก็รีบตะครุบเอาจักรไปเป็นเครื่องบำเหน็จมือเลย เสด็จพ่อทศกัณฐ์เลยตั้งชื่อให้เสียใหม่ว่า อินทรชิต ซึ่งเเปลว่าชนะพระอินทร์
เมื่อพูดถึงเรื่องนี้ ทำให้เรานึกไปถึงพ่อขุนรามคำแหงมหาราชของไทย ซึ่งก็ได้พระนามโดยลักษณะอย่างเดียวกันนี้ พ่อขุนรามคำแหงซึ่งเป็นมหาราชของไทยพระองค์หนึ่งผู้สร้างแบบอักษรไทยขึ้นใช้ เดิมมีพระนามมาว่าอย่างไรก็ไม่ทราบเหมือนกัน เพระหลักฐานไม่ปรากฎชัด อาจจะได้นามว่ารามก็ได้ เพราะคำว่ารามนั้นแปลได้ว่าน้อย เช่นในคำว่า วิหารใหญ่วิหารอาราม หรือคำว่าผู้ใหญ่ราม ดังนั้นเป็นต้น เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าศรรีอินทราทิตย์ ซึ่งเป็นผู้ปลดแอกของชาวไปจากขอมในเวลานั้น กับนางเสือง พระรามคำแหงเป็นองค์เล็กก็คงเรียกกันในภาษาชาวบ้านว่า เจ้าเล็ก
เมื่ออายุได้ 19 ปี ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด ยกทัพมารบ กับพ่อขุนศรีอิทราทิตย์ ซึ่งก็ได้ยกทัพออกไปประจันหน้ากันในสมรภูมิ ซึ่งเจ้าเล็กก็ขี่ช้างเชือกหนึ่งตามออกไปดูด้วย
ขุนสามชนได้ขับช้างตะลุยเข้ามา ไพร่พลของพ่อขุนศรีอิทรทิตย์ แตกพ่ายกระจัดกระจาย คือแตกหนีไม่เป็นกระบวนและก่อนที่พ่อขุนศรีอิทราทิตย์จะขับช้างเข้าไปเผอิญกับขุนสามชน พระรามหรือเจ้าเล็กยืนช้างอยู่เบื้องหลังพ่อ ก็ขับช้างพรวดเข้าไปผจญกับขุนสามชน ยุทธหัตถีพระหว่างเจ้าหนุ่มน้อยกับขุนสามชนก็เกิดขึ้น
ช้างขุนสามชนตัวชื่อชนะเมืองทองเสียเชิงก็เลยต้องพ่ายแก่ช้างของพระรามคำแหง โดยเหตุที่ชนะขุนสามชนนั้นแหละ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เลยเรียกว่า รามคำแหง ซึ่งถ้าเป็นสมัยปัจจุบันก็ว่า “เจ้าเล็กเก่ง” จึงได้นามว่า “รามคำแหง” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
พระอินทร์ซึ่งแพ้รณพักตร์นั้น ประสงค์จะแสดงภูมิปัญญาของเจ้ามโหสถให้ปรากฎ เมื่อเห็นชายเจ้าของรถลงไปกินน้ำในสระก็ขึ้บนรถ เตือนม้าให้ออกเดิน ชายเจ้าของรถได้ยินเสียงม้าเดินก็หันมาดู ชะช้าเอากันต่อหน้าต่อตาเชียวนะ แถมกลางวันแสก ๆ เสียด้วย เขารีบวิ่งขึ้นมาจากสระ พร้อมกันตะโกน
“ขโมย ขโมย” คนที่ผ่านไปมาก็ถามเขาว่า
“ขโมยอะไรกัน” เมื่อเจ้าของรถวิ่งตามไปถึง ก็ยึดบังเหียนม้าให้หยุดอยู่พร้อมกับถามว่า
“เจ้าจะขโมยรถของเราไปไหน” พระอินทร์ทำหน้าตาตื่น พร้อมกับถามว่า
“ท่านว่าอะไรนะ”
“ท่านจะขโมยรถของข้าพเจ้าไปไหน” ชายเจ้าของรถทวนคำ
“อะไร ท่านว่าใครขโมย นี่รถของข้าพเจ้า ๆ ยังขับมาท่านก็วิ่งมายึดรถพร้อมกับกล่าวหาว่าข้าพเจ้าเป็นขโมย ระวังท่านจะถูกหาว่าหมิ่นประมาท”
ชายเจ้าของรถพยายามอ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา แต่พระอินทร์ผู้เป็นขโมยสมัครเล่นก็หายินยอมไม่ แม้แต่ประชาชนที่ มุง ๆ มอง ๆ ทั้งหลายก็ตัดสินใจไม่ได้ว่าของใคร เพราะทั้งเจ้าของรถและพระอินทร์ไม่มีใครรู้จักเลย เรื่องมันก็ต้องถึงมโหสถเด็กเจ้าปัญญา
“เรื่องนี้ต้องให้มโหสถตัดสิน” ประชาชนคนหนึ่งที่ยืนฟังเหตุการณ์กล่าวขึ้น ทั้งสองฝ่ายก็ยอมตกลงที่จะให้มโหสถเป็นผู้ตัดสิน แล้วต่างก็พากันห้อมล้อมโจทก์และจำเลยไปสู่สำนักของมโหสถ
เมื่อไปถึงเขาก็เข้าไปบอกแก่มโหสถถึงความเป็นมาของเรื่อง มโหสถออกมาดูก็รู้ทันทีว่าใครเป็นเจ้าของรถแพระอินทร์เพราะสภาพของพระอินทร์แตกต่างจากคนธรรมดา อย่างน้อยก็ประกอบด้วยธรรม มีการเลี้ยงดูบิดามารดา ตลอดจนกระทั่งระงับความโกรธ จึงผิดแปลกจากบุคคลทั่ว ๆ ไป แต่เพื่อจะให้ปรากฎแก่ประชาชนทั่ว ๆ ไปจึงทำเป็นไม่รู้เสีย และสอบถามโจทก์จำเลย ซึ่งต่างก็อ้างว่าเป็นรถของตน ถ้าเป็นท่านล่ะจะตัดสินใจได้อย่างไร ลองดูภูมิมโหสภต่อก็แล้วกัน
“ท่านทั้งสองมีพยานบ้างไหม?”
“ไม่มี”
“เพราะอะไร?”
“เพราะข้าพเจ้าไม่ใช่คนใกล้เคียงที่นี่ ข้าพเจ้ามาจากเมืองไกล”
“ท่านยอมให้ข้าพเจ้าตัดสินแน่ล่ะหรือ” “แน่ พวกข้าพเจ้ายอม”
“เอ้า ถ้าเช่นนั้นท่านทั้งสองจับท้ายรถคนละข้าง แล้วตีม้าให้วิ่ง ถ้าคนไหนวิ่งตามรถไปได้คนนั้นจะชนะ”
แล้วให้คนทั้งสองจับท้ายรถ ข้างซ้ายคนหนึ่ง ข้างขวาคนหนึ่ง แล้วเตือนให้ม้าวิ่ง ม้าก็เริ่มออกวิ่งช้า ๆ คนทั้งสองก็ยังคงจับท้ายรถวิ่งตามรถไปได้ ต่อเมื่อม้าวิ่งเร็วขึ้น ๆ ชายเจ้าของรถทนวิ่งไปไม่ไหวอ้าปากหายใจหอบด้วยความเหนื่อย ต้องปล่อยรถยืนละห้อยละเหี่ยด้วยความเสียดายที่ต้องให้รถแก่ผู่อื่น ม้าจะวิ่งได้เร็วสักเท่าไร่ พระอินทร์ก็วิ่งตามได้ทันเสมอคนทั้งปวงเฮโลกันใหญ่ ถ้ามีแข่งกีฬาทางวิ่งพระอินทร์คงกินดิบแน่ ๆ
เพราะวิ่งทันม้าเทียมรถ มโหสถจึงให้คนไปเรียกกลับมา พระอินทร์ก็วิ่งติดรถกลับมา ส่วนชายเจ้าของรถคงได้แต่เดินโซเซมาด้วยความเหนื่อยหอบแทบจะอ้าปากพูดไม่ไหว เมื่อคนทั้งสองมาถึง มโหสถจึงชี้ท้าวสักกะพลางถามว่า
“ท่านมาทำอะไร?”
“ข้าพเจ้าเป็นคนเดินทาง”
“อย่าทำไก๋หน่อยเลยน่ะ บอกข้าพเจ้าตรง ๆ ดีกว่าว่าท่านมาทำอะไร รถคันนี้มีประโยชน์อะไรกับท่าน”
“ท่านว่าเราเป็นใคร ?”
“ท่านเป็นพวกเทพ”
“ทำไมท่านจึงรู้ ?”
“ท่านสังเกตหรือเปล่า ว่าท่านน่ะวิ่งไปตั้งครึ่งค่อนโยชน์เชียวนะ ดูแม้แต่ม้าที่เทียมรถเถิดเหงื่อออกเป็นมันระยับไปทั้งตัว แต่ท่านปกติทุกอย่าง เหงื่อแม้แต่สักหยดก็ไม่มี และนัยน์ตาของท่านน่าไม่กระพริบเลย เพราะฉนั้นข้าพเจ้าแน่ใจว่าท่านเป็นพวกเทพแน่ ๆ”
“เมื่อท่านมีข้อสังเกตอย่างนั้น ข้าพเจ้าก็ยอมรับว่าข้าพเจ้าเป็นพวกเทพ แต่ใหญ่กว่าเทพเพราะข้าพเจ้าเป็นท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่ในชั้นดาวดึงส์”
“ท่านมาทำอะไร”
“เพื่อจะแสดงปัญญาของท่านให้ปรากฎ เพราะเรื่องนี้ใคร ๆ ไม่สามารถจะวินิจฉัยได้ นอกจากท่านผู้เดียว ขอให้ท่านมีความสุขความเจริญเถิด ข้าพเจ้าไปล่ะ” แล้วเทพมเหศักดิ์ก็จากที่นั้นไปยังเทวโลก รถคันนั้นมโหสถก็มอบให้เจ้าของรถไป
พวกราชบุรุษได้ส่งข้อความเหล่านี้ไปกราบทูลพระเจ้าวิเทหราช
“ควรจะรับเข้ามาได้หรือยังท่านอาจารย์” พระเจ้าวิเทหราชทรงตรัสถามนักปราชญ์ทั้ง 4 ท่าน
“จวนแล้วพระเจ้าค่ะ เด็กคนนี้ดูมีปัญญามากจริง ๆ แต่จะด่วนรับเข้ามาจะไม่สมศักดิ์ศรีของนักปราชญ์สักหน่อยรอดูไปก่อนพระเจ้าค่ะ อย่าให้พลาดได้เลยพระเจ้าค่ะ”
“ เอ.. แต่มโหสถทำอะไรไม่ผิดพลาด ผิดกว่าพวกที่ดีแต่พูด แต่ไม่จัดการอะไรเลย พูด พูด อีกหน่อยเห็นจะต้องเลี้ยงแพะเสียบ้างกระมัง” ทรงตรัสเป็นเชิงบ่นกับพระองค์เองดัง ๆ แล้วก็หันไปตรัสถามเสนกะว่า
“หรืออย่างไรท่านอาจารย์ ควรเลี้ยงแพะเสียทีดีกระมัง”
“เลี้ยงไว้ทำอะไรหรือพระเจ้าค่ะ” เสนกะชักสงสัย
“เลี้ยงไว้แก่รำคาญ บางทีขี้ของมันอาจจะเป็นยาบ้างกระมัง” แล้วรับสั่งต่อไปอีกว่า
“รอไปอีกก็ดีเหมือนกัน”

รื่องกระโหลกศรีษะ

หลังจากเรื่องนั้นผ่านไปไม่นาน พระเจ้าวิเทหราชก็คิดจะทดลองเจ้ามโหสถดูอีกว่า จะเป็นคนฉลาดทรงความรู้จริงหรือไม่ จึงให้ส่งกะโหลกศรีษะไปให้ชาวบ้านทางตะวันออก พร้อมกับบังคับว่า “ถ้าาวบ้านบอกว่ากระโหลกศรีษะอันไหนเป็นหญิงเป็นและเป็นชายไม่ได้ จะต้องถูกปรับพันกหาปณะ" ซึ่งจะเทียบในสมัยนี้ก็เท่ากับ 4.000 บาท ซึ่งก็นับว่าไม่น้อยเหมือนกัน
พอท่านเศรษฐีได้รับคำสั่งก็เรียกประชุมผู้เฒ่าผู่แก่ทันทีลองสอบถามกันดูว่ามีใครทราบบ้าง แต่ก็หาคนทราบไม่ได้ เรื่องก็ถึงมโหสถอีกนั่นแหละ เพียงแต่มองเห็นคราวแรกเท่านั้น มโหสถก็กล่าวว่า “พุทโธ่ ? นึกว่าจะเป็นปัญหายากเย็นแสนเข็ญเพียงไรที่แท้ก็ปัญหาเด็ก ๆ นั่นเอง” “ถ้าอย่างนั้นก็เป็นหน้าที่ของพ่อที่จะแก้ปัญหานั้” ท่านเศรษฐีกล่าว เหมือนกับว่ามโหสถได้เคยศึกษากายวิภาคมาหรืออย่างไรเขาหยิบกะโหลกขึ้นมากะโหลกหนึ่งพร้อมกับชี้แจง” “กะโหลกนี้เป็นศรีษะของผู้ชาย” “เพราะอะไร” “เพราะรอยประสานชองกะโหลกที่เป็นทาง ๆ หรือที่เรียกว่าแสกตรง จึงรู้ได้ว่าเป็นกะโหลกของชาย” “ส่วนผู้หญิงล่ะ” “ก็ดูโดยตรงกันข้ามน่ะสิ คือแสกในกะโหลกศรีษะของหญิงคดไม่ตรงเหมือนอย่างชาย เพราะฉนั้นท่านบิดาบอกไปได้เลยว่า กะโหลกที่มีแสกตรงเป็นกะโหลกชาย และกะโหลกที่มีแสกคดเป็นกะโหลกหญิง”
เมื่อพระเจ้าวิเทหราชทรงสอบถามว่า เป็นความคิดของใครก็ได้รับทราบว่าเป็นของมโหสถ ก็มีพระทัยเต็มตื้นไปด้วยความปราโมทย์ แต่ยังมิได้รับเข้ามมาในพระราชสำนักเพราะท่านเสนกะยังจะต้องทดลองอีกต่อไป
เรื่องของงู

คราวนี้พระเจ้าวิเทหราชส่งงูไปให้ชาวบ้านแจ้งมาว่าเป็นงูตัวผู้หรือตัวเมีย ถ้าไม่ได้ก็ต้องปรับเป็นเงินตั้ง 4.000 บาท ชาวบ้านก็ต้องหมดปัญญาตามเดิม เรื่องมันก็ต้องถึงมโหสถ
มโหสถก็ได้แก้ปัญหานี้โดยแสดงว่า ลักษณะของงูตัวผู้หางและหัวใหญ่ นัยน์ตาใหญ่ ลวดลายที่ลำตัวติดต่อกัน ส่วนลักษณะของตัวเมียนั้นมีว่าหางงูตัวเมียเรียวและหัวก็เรียว นัยน์ตาเล็ก ลวดลายตามตัวไม่ค่อยจะติดกัน และชี้ให้ชาวบ้านเห็นว่างูที่ส่งมานั้นตัวไหนเป็นตัวผู้ และตัวไหนเป็นตัวเมีย
ชาวบ้านก็นำเอาปัญญานี้ไปแก้ให้พระเจ้าวิเทหราชฟัง เมื่อพระเจ้าวิเทหราชทราบว่าเจ้ามโหสถเป็นคนแก้ยิ่งโสมนัสแต่ยังไม่สามารถจะรับเข้ามาพระราชสำนักได้ เพราะนักปราชญ์ที่ดีแต่พูดคือเสนกะ ยังไม่ยอมให้รับเข้ามา เพราะกลัวอะไรต่ออะไรหลายอย่าง และในที่สุดที่กลัวที่สุดก็เห็นจะกลัวมโหสถจะดีกว่านั้นเอง พระเจ้าวิเทหราช แม้จะไม่พอพระทัยนักก็จำยอมและทำการทดลองต่อไป
เรื่องของไก่
พระเจ้าวิเทหราชทรงส่งคำไปว่า ให้ชาวบ้านแถบตะวันออกของเมืองส่งวัวตัวผู้ที่มีกายขาวทั้งตัว มีเขาที่เท้า มีโหนกที่ศรีษะ ร้องเพียง 3 เวลา ถ้าส่งมาได้ 4.000 บาท ต้องเสียตามเคย
เรื่องนี้เป็นเรื่องอึกทึกครึกโครมกันในที่ประชุมของชาวบ้านกันมาก บางคนถึงกับว่า “ออกจะไม่ยุติธรรมสักหน่อย ที่พวกชาวบ้านเราถูกกะเกณฑ์ให้ทำอย่างโน้นอย่างนี้ ถ้าไม่ได้ก็ถูกปรับไหม ถ้าเราไม่มีเจ้ามโหสถอยู่แล้ว ป่านนี้เราคงเหลือแต่กางแกงในแล้วก็ได้ อีกคนก็ค้านว่า
“คนไม่ใช่อย่างนั้นหรอกน่า เพราะพ่อมโหสถมาอยู่ที่บ้านนี้น่ะสิจึงทำให้เรามีภาระอย่างนี้ และเจ้ามโหสถก็แก้ได้ทุกครั้งเสียด้วย ถ้าไม่มีอย่าว่าแต่กางแกงในเลยน่ะ ไม่เหลือเลย จะเหลือก้แต่ตัวในชุดวันเกิดเท่านั้น เราน่ะมันช้างเท้าหลังเขาสั่งอะไรก็ทำไปก็แล้วกัน"
“ลองไปถามไปถามเจ้ามโหสถก่อนเห็นจะดีเป็นแน่” “เออดี” ทุกคนรีบรับคำ เมื่อเศรษฐีไปถามมโหสถ ๆ ก็พูดว่า “วัวเวออะไรพ่อท่าน ไม่ใช่วัวหรอก” “ถ้างั้นเป็นอะไรล่ะ”
“พ่อก็ พระเจ้าแผ่นดินท่านให้พวกบ้านเราส่งไก่ขาวให้พระองค์ เพราะอะไรพ่อท่านลองคิดดูก็ได้ว่าวัวตัวไหนล่ะจะมีเขาที่เท้า ถ้ามันมีจริงเห็นจะเป็นวัวที่เขาเอาไปออกงานวัดเป็นแน่” “แล้วทำไมเจ้าจึงว่าเป็นไก่ล่ะ"
“ก็คือว่า ไก่น่ะชื่อว่ามีเขาที่เท้า เพราะมีเดือยที่เท้าทั้งสอง มีโหนกที่ศรีษะ ก็คือหงอนไก่นั้นเอง ร้องไม่ล่วง ๓ เวลา พ่อท่านลองคิดดูไก่ที่ดีจะขยันเป็นยามเป็นเวลาเท่านั้น และไก่ก็ขันเพียง ๓ เวลาเท่านั้น ฉันคิดว่าพระเจ้าแผ่นดินไม่ได้ประสงค์วัวหรอก แต่ประสงค์ไก่ขาวต่างหาก” “เออ.. เข้าใจอย่างนี้พ่อก็โล่งใจ”
ท่านเศรษฐีจึงได้ส่งไก่ขาวไปถวายพระเจ้าแผ่นดินทำให้ชาวบ้านไม่ต้องเสียค่าปรับไปได้อีกครั้งหนึ่ง
พระเจ้าวิเทหราชก็ตรัสถามชาวบ้านที่นำไป ถามว่าใครเป็นคนตอบปัญหานี้ ก็ได้รับคำตอบว่าเป็นความคิดของมโหสถซึ่งพระองค์ตรัสถามก็ได้รับคำคัดค้านจากเสนกะจอมปราชญ์ผู่ยิ่งใหญ่ตามเคย พระองค์ก็ต้องคล้อยตาม
“รอดูไปก่อนพระเจ้าค่ะ ช้าเป็นนานก็เป็นกิจพระเจ้าค่ะ เราจะได้คนดีก็เพราะเขามีความอดทนพระเจ้าค่ะ”

เรื่องแก้วมณี

หลังจากที่ได้สั่งให้ส่งโคที่มีรูปร่างวิปริตผิดพิกลมาราชสำนัก ตราบจนกระทั่งมโหสถได้ส่งไก่ขาวมาให้แล้ว พระเจ้าวิเทหราชก็คิดจะส่งอะไรไปทดลองปัญญามโหสถอีก ในราชสำนักมีแก้วมณีอยู่ดวงหนึ่งข้างในคดถึง ๘ แห่ง และเชือกที่ร้อยแก้วมณีนั้นนานเข้าก็เก่าและขาดออกไป เลยใช้อะไรไม่ได้ต้องเก็บไว้เฉย ๆ “เออ.. จะเข้าที ส่งไปลองปัญญาเจ้ามโหสถดูที ถ้าแก้ได้ก็จะได้ประโยชน์ด้วย”
เมื่อทรงดำริเช่นนั้นแล้ว พระเจ้าวิเทหราชก็จัดแจงส่งแก้วมณีดวงนั้นไปยังเศรษฐีผู้เป็นบิดาของเจ้ามโหสถ พร้อมกับคำสั่งว่า “ถ้าชาวบ้านตะวันออกร้อยแก้วมณีนี้ไม่ได้ จะต้องถูกปรับ 4.000 บาท และจะถูกลงโทษอย่างอื่นด้วย” คำสั่งนี้ไปถึงปาจีนวยมัชณคาม ชาวบ้านก็บ่นกันพึม
“รายการซวยมาอีกแล้ว นี่ถ้าบ้านเราไม่มีมโหสถ พวกเรามิต้องขายตัว แล้วเอาไปให้เป็นค่าปรับของพระเจ้าแผ่นดินแล้วหรือ” "เราจะต้องกังวลอะไรล่ะ พอมีปัญหามาเจ้ามโหสถก็แก้ไปส่ง เราไม่เห็นจะต้องเดือดร้อนอะไร ยังแถมได้ชื่อเสียงด้วยว่า ชาวบ้านเราแก้ปัญหาเหล่านี้ได้”
“จริงของเกลอแฮะ เจ้ามโหสถเกิดมาสร้างประโยชน์ให้บ้านเรา และชาวบ้านทั้งหมดมีชื่อเสียงเลื่องลือไปตลอดวิเทหรัฐ” เมื่อแก้วมณีได้ถูกส่งมาแล้ว ผู้เฒ่าผู้แก่ประจำหมู่บ้านพิจารณาดูแล้วก็สั่นหัว
“ใครจะไปร้อยได้ แก้วอะไรมีคดตั้งเยอะแยะ จะเอาด้ายอะไรร้อยเข้าไปได้ ยังมีด้ายเก่าขาดอยู่ข้างในอีก แล้วใครจะเอาออกได้ เรื่องนี้สงสัยว่าเจ้ามโหสถจะทำได้หรือไม่ พวกเราน่ะเห็นทีจะไม่มีปัญญาทำล่ะ” “คราวนี้เห็นทีจะต้องเสียเงินค่าปรับให้แก่พระเจ้าแผ่นดินเสียกระมัง”
“ไปเรียกเจ้ามโหสถมาถามดูดีกว่า พวกเราน่ะมันแก่จนปัญญาก็เก่าตามไปด้วย ไม่ได้ความสักอย่าง” เศรษฐีก็ให้คนไปตามเจ้ามโหสถมาจากสนามเด็กเล่นพร้อมกับส่งแก้วมณีให้ดูแล้วถามว่า “พ่อก็เอาด้ายเก่าออก แล้วร้อยด้ายใหม่เข้าไปใหม่” “พวกพ่อเฒ่าว่ายังไงบ้างล่ะ ?” เจ้ามโหสถถาม “อย่าถามคนแก่เลยพ่อคุณ ปัญญามันเหี่ยวตามสังขารร่างกายไปนานแล้ว”
“พ่อพิจารณาให้ดี จะได้ประดับสติปัญญาคนแก่บ้าง” มโหสถพลิกแก้วไป ๆ มา ๆ พร้อมกับกล่าวว่า “ท่านพ่อให้ใครไปเอาน้ำผึ้งมาสักหน่อย” “จะเอามาแช่หรือดองแก้วหรือ ? คนแก่คนหนึ่งถาม “เอามาก็แล้วกัน แล้วพ่อลุงจงคอยดูว่าหลานน่ะจะเอาด้ายเก่าออกได้หรือไม่”
เมื่อคนเอาน้ำผึ้งมาให้แล้ว เจ้ามโหสถก็หยดลงไปในรูแก้วมณี น้ำผึ้งค่อย ๆ ไหลเข้าไปตามคดจนเปียกชุ่มด้ายที่อยู่ข้างใน แล้วเจ้ามโหสถก็เอาไปวางที่ปากรูมด พักเดียวเท่านั้นเจ้ามดทั้งหลายก็กรูเกรียวกันเข้ามากินน้ำผึ้งพร้อมกับฉุดลากเอาด้ายออกมาด้วย ผู้เฒ่าผู้แก่ที่ได้เห็น ถึงกับจุ๊ปาก
“ชะ ๆ ปัญญาเจ้าเด็กน้อยนี่มันดีจริง... เป็นเราก็ส่ง 4.000 บาท ไปแทนแน่ ๆ “ “เป็นไงพ่อลุงทั้งหลายเห็นแล้วหรือยัง พอจะทำได้ไหม” “พ่อทำให้เห็นเป็นตัวอย่างแล้ว คนแก่ทำได้ ว่าแต่ด้ายใหม่เถอะ จะร้อยเข้าไปได้อย่างไร”
มโหสถจึงเอาด้ายใหม่มาทาทางปลายด้ายด้วยน้ำผึ้งแล้วใส่เข้าไปในรู ซึ่งก็เข้าไปได้เพียงนิดเดียวก็คดแล้วให้เอาน้ำผึ้งใส่เข้าไปอีกทาง แล้วเอาไปวางที่ปากรูมดล่อให้มดออกมากินน้ำผึ้ง มดก็ไปกินน้ำผึ้ง พร้อมกับไปลากเอาด้ายนั้นออกมาอีกทางหนึ่งได้
เจ้ามโหสถจึงบอกกับท่านเศรษฐีว่าสำเร็จแล้ว และให้คนนำไปถวายพระเจ้าวิเทหราช เมื่อพระเจ้าวิเทหราชได้ทอดพระเนตรเห็น แทบไม่เชื่อว่าชาวบ้านจะทำได้ เพราะช่างหลวงทั้งปวงก็จนปัญญา ไม่สามารถจะร้อยได้ จนต้องทิ้งไว้เฉย ๆ โดยไม่มีประโยชน์ ที่ส่งไปก็เพื่อทดลองปัญญาเจ้ามโหสถเท่านั้น แต่ผลที่ได้เอกอุยิ่งนัก
จึงสอบถามชาวบ้านทำอย่างไรกันจึงร้อยได้ ชาวบ้านได้กราบทูลให้ทรงทราบทุกประการ ทรงทราบว่าเป็นปัญญาของเจ้ามโหสถ ก็เต็มตื้นไปด้วยความปราโมทย์ยิ่งนัก อยากจะรับเข้ามาในราชสำนัก แต่ขัดด้วยท่านอาจารย์ทั้ง ๔ ยังไม่ยินยอม เกรงจะเกิดเป็นเรื่องอันตรายแก่เจ้ามโหสถ จึงคิดจะต้องให้นักปราชญ์ทั้ง ๔ ยินยอมให้จงได้ พระองค์จึงตรัสกับอาจารย์ทั้ง ๔ อย่างยิ้ม ๆ ว่า
“เป็นอย่างไรท่านอาจารย์ ควรจะรอต่อไปอีกไหม” “ควรรอต่อไปพระเจ้าค่ะ”

เรื่องวัวออกลูก

เมื่อทรงรออยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง พระองค์ก็จัดให้เอาวัวตัวที่มีรูปร่างอ้วนท้วน เอาอาหารและน้ำกรอกปากโคเข้าไปจนพุงกางคล้าย ๆ กับแม่วัวมีท้อง และให้อาบน้ำให้ชำระกายทาขมิ้นเป็นอย่างดี แล้วส่งไปให้ชาวบ้านทิศตะวันออกตามเคย
“ถ้าชาวบ้านทำให้วัวตัวนี้ออกลูกไม่ได้ จะต้องถูกปรับเป็นเงิน 4.000 บาท ชาวบ้านพอได้เห็นก็หัวเราะด้วยความขบขัน
“โลกจะแตก” บางคนว่า
“ก็มันเป็นวัวตัวผู้จะให้มันออกลูกได้ยังไงกันนะ ถ้าขืนออกเป็นอันว่าหมาต้องมีขา เต่าต้องมีหนวดแน่ ๆ” บางคนก็ว่า
“พิจารณาดูให้ดีนะเกลอ อาจจะมีอะไรแฝงอยู่ก็ได้ ถ้ามิเช่นนั้นพระเจ้าแผ่นดินท่านไม่ส่งมาให้พวกเราจัดการหรอก”
“อกอีแป้นจะพัง” หญิงบางคนว่า
“บางทีเรื่องนี้อาจจะมีคนไม่ค่อยเต็มเต็งอยู่ในวังก็ได้นะ อาจจะแนะนำบ้า ๆ บอ ๆ ก็ได้”
“อย่าไปคิดอย่างนั้นสิ การที่ทำสิ่งเหลือวิสัยนั้นพระเจ้าอยู่หัวท่านไม่ทำแน่ คงจะมีอะไรบางอย่างที่พวกเราไม่รู้ แต่มโหสถของพวกเรารู้ก็เป็นได้ เรื่องนี้ต้องให้มโหสถจัดการจึงจะแน่”
ท่านเศรษฐีจึงให้คนไปตามมโหสถมา แล้งจึงชี้แจงคำสั่งให้ฟัง มโหสถพิจารณาวัวแล้วก็หัวเราะ แล้วว่า
“เรื่องนี้เป็นธุระที่ข้าพเจ้าจะจัดการให้เรียบร้อย แต่ต้องการคนกล้าสักหน่อย พ่อท่านลองหาตัวคนดูทีหรือว่าจะมีใครกล้าหาญพอจะตอบโต้กับพระเจ้าแผ่นดินได้” ท่านเศรษฐีก็ได้จัดหาคนตามที่ต้องการ แล้วก็นำเข้ามา ให้มโหสถ
“ท่านกล้าหาญพอจะโต้ตอบกับพระราชา โดยไม่ประหม่าครั่นคร้ามได้หรือไม่”
“ได้พ่อมโหสถ ข้าพอทำได้” มโหสถจึงแนะนำว่า
“ท่านไม่ต้องกลัวหรือประหม่าอะไรทั้งหมด ท่านต้องนึกเสมอว่าท่านเป็นตัวแทนของชาวบ้านเรา เป็นตัวแทนข้าพเจ้าซึ่งต้องรักษาชื่อเสียงให้ดีด้วย แล้วปล่อยผมให้รุงรัง เดินร้องไห้คร่ำครวญเรื่อยไป ใครถามอย่าตอบ จะตอบก็เฉพาะพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น” แล้วก็ส่งไป
ชายผู้นั้นพร้อมกับพรรคพวก 3 – 4 คน พอเป็นเพื่อนเดินทาง ก็ทำตามคำแนะนำของเจ้ามโหสถ แม้อำมาตย์ข้าราชบริพารถามอย่างไรเขาก็ไม่ตอบ คงร้องไห้คร่ำครวญเรื่อยไป จนกระทั่งถึงพระเจ้าแผ่นดิน
“ขอได้โปรดเป็นที่พึ่งด้วยเถิดพระเจ้าค่ะ” ชายผู้นั้นกราบทูลขึ้น “เรื่องอะไรวะ ใครข่มแหงให้เดือดร้อน หรือมีอะไรก็บอกมา เราจะจัดการให้” “มิได้พระเจ้าค่ะ ไม่มีใครทำให้เดือดร้อนหรอกพระเจ้าค่ะ แต่เรื่องเดือดร้อนเกิดขึ้นภายในเรือนของกระหม่อมฉันเองพระเจ้าค่ะ” “มีอะไรล่ะ”
“คือว่าท่านบิดาของกระหม่อมฉันเจ็บท้องมาได้ 7 วันแล้วพระเจ้าค่ะ แต่ลูกไม่ออกมา หมอหมดปัญญาพระเจ้าค่ะ กระหม่อมฉันจึงต้องมาขอพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม ช่วยให้ท่านบิดาของกระหม่อมฉันได้คลอดโดยสวัสดิภาพหน่อยเถิดพระเจ้าค่ะ”
พระเจ้าวิเทหราชทรงพระสรวลลั่นไปทั่วพระโรงพร้อมทั้งหมู่อำมาตย์ราชบริพารซึ่งอดกลั้นไว้ไม่ได้ ก็พลอยหัวเราะออกไปด้วย “ฮ่ะ ฮ่ะ เจ้านี่มีสติดีอยู่หรือเปล่าวะ ดูท่าทางจะต้องส่งไปให้หมอเขาพิจารณาเสียแล้ว” แล้วก็ทรงสรวลต่อไปอีก “ได้พระเจ้าค่ะ กระหม่อมฉันปกติดีทุกอย่าง แต่ได้โปรดเถิดพระเจ้าค่ะ บิดากระหม่อมทนทุกข์มาได้หลายวันแล้ว” “ก็ผู้ชายมันจะออกลูกได้ยังไงวะ ขืนออกโลกมันก็จะแตกเท่านั้นเอง” แล้วก็ทรงพระสรวลต่อไปอีก
“ได้โปรดพระเจ้าค่ะ ถ้าท่านบิดาของกระหม่อมฉันเป็นผู้ชายออกลูกไม่ได้ แล้วโคตัวที่พระองค์ส่งไปบังคับให้ชาวบ้านทิศตะวันออกให้ออกลูกให้ได้ ถ้าไม่ได้ก็จะปรับนั้น จะออกได้อย่างไรพระเจ้าค่ะ” เงียบเสียงทรงพระสรวลทันที พร้อมกันตรัสถามว่า “ว่าไงนะ ว่าใหม่อีกที” ชายผู้นั้นก็ย้ำคำเดิม “เจ้ามาจากบ้านมโหสถรึ” “สำคัญ สำคัญ ข้าลืมไปว่าได้ส่งปัญหาข้อหนึ่งไปให้มโหสถคิด กลับถูกมันซ้อนปัญหาเข้าให้” “เจ้าได้ความคิดนี่มาจากใคร” “จากมโหสถพระเจ้าค่ะ”
“เอาล่ะ เจ้ากลับไปได้แล้ว ส่งวัวคืนมา แล้วบอกท่านเศรษฐีว่าข้าพอใจแล้ว” พร้อมกับพระราชทานรางวัลให้ชายคนนั้นพร้อมกับพรรคพวก แล้วก็ส่งกลับไป เสร็จแล้วทรงหันไปถามนักปราชญ์ทั้งสี่ซึ่งหมอบเฝ้าอยู่ไม่ห่าง แต่ไม่ถามกลับตรัสเสียเองว่า
“รอไปก่อน ทดลองดูอีกก่อน” พวกอำมาตย์ข้าราชบริพารยิ้ม ๆ ไปตาม ๆ กัน แต่นักปราชญ์ทั้งสี่ทำหน้าพิกล
เรื่องหุงข้าว

พระเจ้าวิเทหราชทรงทดลองมโหสถทั้งความรู้และเชาว์ไหวพริบหลายประการมาแล้ว มโหสถก็แก้ได้สมกับคำว่าปราชญ์ทีเดียว ถึงเช่นนั้นนักปราชญ์ประจำราชสำนักทั้ง 4 ท่าน ก็ยังยืนยันคำอยู่ว่า ขอให้ทดลองดูไปก่อน หม้อจะดีต้องค่อย ๆ ตีกล่อมเกลาไปทีละน้อย จึงได้หม้อดี แต่จะอ้างเหตุผลอย่างไรก็ตาม แม้จะไม่พอพระทัยพระเจ้าวิเทหราชก็ตาม ก็ทรงยินยอม คือรอ และส่งปัญหาไปให้แก้ คราวนี้ก็เช่นกัน ทรงส่งราชบุรุษไปกำชับชาวบ้านหาจีนวยมัชณคาม จงหุงข้าวเปรี้ยวประกอบด้วยองค์ 8 ประการมาคือ
1 ไม่หุงด้วยข้าวสาร
2 ไม่หุงด้วยน้ำ
3 ไม่หุงข้าวด้วยหม้อข้าว
4 ไม่หุงด้วยเตาหุงข้าว
5 ไม่หุงด้วยไฟ
6 ไม่หุงด้วยฟืน
7 ไม่ให้หญิงหรือชายยกมา
8 ไม่ให้นำมาในทาง
ถ้าไม่ได้ 4.000 บาท จ่ายมาเสียดี ๆ ชาวบ้านพอได้รับคำสั่ง เออ ? อกอีปุกจะแตก มีอะไรประหลาดพิศดารมาเรื่อย ทุกคนส่ายหัว พวกเราไม่มีปัญญาจะตอบปัญหานี้ได้ ส่งเรื่องไปให้พ่อมโหสถกันเถอะ พ่อมโหสถคนเดียวเท่านั้นที่จะคิดปัญหานี้ได้
“จริงอย่างเกลอว่า เพราะคนอื่นคิดไม่ได้ “ ปัญหานี้ก็ถูกส่งไปให้เจ้ามโหสถแก้ และมโหสถ เจ้ามโหสถพิจารณาปัญหาแล้วก็ยิ้ม ๆ
“เรื่องเล็ก” เขาว่า
“พ่อว่าเป็นเรื่องเล็ก ถ้าทำไม่ได้ชาวบ้านจะถูกปรับตั้ง 4.000 บาท จะเอาที่ไหนไปให้ท่านเล่า”
“ไม่เป็นไร ถ้าแก้ไม่ได้ก็เอาที่ท่านพ่อ เพราะท่านเป็นเศรษฐีและเป็นหัวหน้าหมู่บ้านนี้”
“พ่ออย่าพูดเป็นเล่นไปเลย” ท่านเศรษฐีว่า
“จะแก้อย่างไรก็จัดการเข้าเถอะ”
“แหม มีข้อบังคับถึง 8 ข้อ แต่ถึงอย่างนั้นผมก็จะแก้ให้ได้
1 ท่านไม่ให้หุงข้างสาร เราก็ต้องจัดการหุงด้วยข้าวป่นหรือปลายข้าว เพราะไม่ชื่อข้าวสาร
2 ไม่ให้หุงด้วยน้ำ ข้อนี้ลำบากหน่อย ต้องให้คนไปรวมน้ำค้างมาให้พอจึงจะหุงได้ เพราะน้ำค้างไม่ใช่น้ำตามปกติ
3 ไม่ให้หุงด้วยหม้อข้าวเราก็หุงด้วยภาชนะอื่น เช่น กะทะก็ได้
4 ไม่ให้หุงด้วยเตา เราก็ตอกหลักเอาก้อนหินวางเป็นสามเส้าก็ใช้ได้
5 ไม่ให้หุงด้วยไฟ เราก็จัดแจงเอาแว่นส่องจากดวงอาทิตย์ลงมาจุดไฟ หรือมิฉะนั้นเราก็จัดการสีเอาไฟมาใช้ก็เป็นอันเสร็จ
6 ไม่ให้หุงด้วยฟืน เราก็หุงด้วยถ่าน หรือมิฉะนั้นก็เอาใบไม้ก็ได้เช่นกัน
7 ไม่ให้ชายหรือหญิงยกมา ข้อนี้ไม่ยาก เอากระเทยยกไปก็สิ้นเรื่อง
8 ไม่ให้นำมาในทาง ที่ใดเป็นทางคนเดินเราก็ไม่เดิน เดินเสียนอกทาง ก็เป็นอันแก้ได้ครบทั้ง 8 ข้อ ท่านพ่อว่าสำเร็จไหม"
“ความคิดของพ่อวิเศษจริง เป็นอันว่าชาวบ้านไม่ต้องจ่ายทรัพย์เป็นค่าปรับให่แก่พระเจ้าแผ่นดิน” ท่านเศรษฐีได้ทำตามความคิดมโหสถเช่นนั้น แล้วให้กระเทยนำข้าวเปรี้ยวที่หุงสุกแล้ว ใส่ในภาชนะผูกด้วยตีตราแล้วนำไปถวายพระเจ้าแผ่นดิน
เมื่อพระเจ้าวิเทหราชได้เห็น และได้ทราบว่าสิ่งทั้งปวงนี้สำเร็จด้วยความคิดของมโหสถก็ทรงโสมนัสเป็นยิ่งนัก ทรงหันไปทางนักปราชญ์ทั้ง 4 ซึ่งต่างก็ก้มหน้าไม่ยอมสบพระเนตรด้วยทรงตรัสขึ้นมาลอย ๆ
“รอไปก่อน ทดลองดูอีกก่อน” นักปราชญ์ทั้ง 4 ท่าน ถือว่าไม่ใช้พระราชดำรัสถามก็เลยถือความดุษณีภาพเป็นสมบัติเสียเลย

เรื่องชิงช้าห้อยด้วยเชือกทราย

เมื่อทดลองด้วยความจริงแล้ว คราวนี้ต้องการจะทดลองไหวพริบดูบ้าง มโหสถจะคงแก่เรียนประกอบด้วยเชาว์ไหวพริบสมบูรณ์หรือไม่ จึงดำรัสสั่งให้ราชบุรุษไปแจ้งแก่ท่านเศรษฐีบิดามโหสถว่า
“ภายในพระราชสำนักมีชิงช้าห้อยด้วยเชือกทรายอยู่เชือกชิงช้าหนึ่ง เดี๋ยวนี้เชือกทรายนั้นขาดลงไป จงฟั่นเชือกส่งมาให้โดยด่วน จะห้อยชิงช้านั้น ถ้าไม่ได้ 4.000 บาท จะต้องเสียค่าปรับ” พอปัญหานี้ไปถึงท่านเศรษฐี
“เอาอีกแล้ว ปัญหานี้บ้าบอคอแตกทั้งนั้น เราเองรึก็แก้ไม่ได้สักที คนเฒ่าคนแก่ปัญญาเหี่ยวแห้งหัวโตไปด้วยกันทั้งนั้นต้องพึ่งเจ้ามโหสถลูกเล็กเสียเรื่อย ยิ่งคิดก็ยิ่งน่าละอาย เสียแรงเป็นวัยวุฒิ แก่แต่ตัวเท่านั้นเอง” เศรษฐีรำพึงออกมาดัง ๆ
“แต่เป็นเรื่องช่วยไม่ได้ เพราะไม่มีใครเลยที่จะฟั่นทรายให้เป็นเชือกขึ้นมาได้
“ เออ กลุ้มจริง ๆ ปัญหาแต่ละข้อหนักสมองพิลึก ลองดูเจ้ามโหสถก่อน ดูว่ามันจะฟั่นได้ไหม” แล้วท่านเศรษฐีก็ให้คนไปตามมโหสถมาจากสนามที่เล่นของเด็ก พอมาถึงก็บอกปัญหาให้ฟังพร้อมกับเสริมว่า
“ตั้งแต่พ่อเกิดมาก็เพิ่งจะเคยได้ยินนี่เหละว่าเขาเอาทรายมาฟั่นเป็นเชือกก็ได้ อย่าว่าแต่เชือกทรายเลย เพียงแต่ได้ยินก็ไม่เคย เจ้านะคิดอย่างไร”
"ฉันเองก็เหมือนกัน เพิ่งเคยได้ยินนี่เหละ”
“งั้นก็แย่ล่ะมัง เห็นทีจะต้องเสียเงิน 4.000 เสียแล้ว”
“เอ้า เจ้าจะคิดก็คิดเสีย จะเอายังไงก็เอา” มโหสถพิจราณาดูก็แล้วก็กล่าวว่า
“พ่อ เรื่องนี้เห็นจะต้องหนามบ่งหนามเสียแล้ว”
“บ่งก็บ่งสิ ทำอย่างไรก็ทำไปเลย”
“พ่อ ข่วยหาคนที่กล้าหาญไม่ประหม่าให้ฉันสัก 2- 3 คนเถอะ” ท่านเศรษฐีก็จัดหาให้ มโหสถจึงชี้แจงให้คนเหล่านี้ได้ทราบวิธีการกราบทูลต่อพระเจ้าแผ่นดิน และกิริยาอาการที่ประพฤติทั้งปวงแล้วส่งไป
พวกชาวบ้านเดินทางไปยังพระราชวังของพระเจ้าวิเทหราช ขออนุญาตจากเจ้าพนักงานเข้าไปเฝ้า พอได้รับอนุญาตแล้วเขาเหล่านั้นก็พากันเข้าไปยังท้องพระโรง ซึ่งพระเจ้าวิเทหราชกำลังเสด็จออกราชการอยู่ พอเข้าไปถึงชาวบ้านกราบถวายบังคม พระเจ้าวิเทหราชจึงตรัสถามว่า
“พวกเจ้ามาจากบ้านปาจีนวยมัชคามหรือ”
“พระเจ้าค่ะ พวกข้าพระบาทมาจากหมู่บ้านปาจัวยมัชคาม”
“เชือกที่สั่งให้ฟั่นได้มาหรือยัง?”
“พวกข้าพระองค์กำลังจะมาทูลถามพระองค์พระเจ้าค่ะ”
“ถามเรื่องอะไรล่ะ?”
“คือเชือกทรายพระเจ้าค่ะ ที่ทรงสั่งไปนั้นไม่บอกกำหนดว่าจะให้ฟั่นกี่เกลียว ตามธรรมชาติเชือกป่านที่เขาใช้ผูกว่าวนั้น บางคนชอบใช้สองเกลียวแต่ใหญ่หน่อย บางคนก็ใช้สี่เกลียวแต่เส้นให้เล็กหน่อย เส้นหนึ่งอาจจะฟั่น 2- 3- 4 เกลียวก็ได้ และอีกอย่างหนึ่งขนาดเล็กใหญ่แค่ไหนพระองค์ก็มิได้ตรัสบอกไปด้วย พวกข้าพระองค์จึงขอรับทราบ และอยากจะขอตัวอย่างไป เพื่อที่จะฟั่นใหม่พระเจ้าค่ะ”
“อุวะ ? ข้าจะไปมีตัวอย่างให้พวกเจ้าได้อย่างไร ที่ในวังของข้ายังไม่เคยมีเชือกทรายสักเส้นเดียว”
“ทรงพระกรุณาโปรด ถ้าเช่นนั้นข้าพระบาทก็ไม่สามารถจะฟั่นได้ เพราะไม่มีตัวอย่างพระเจ้าค่ะ”
“ใครส่งพวกเจ้ามาขอตัวอย่างล่ะ?”
“พ่อมโหสถเป็นคนจัดการพระเจ้าค่ะ”
“เออ พวกเจ้าไปบอกมโหสถเถอะว่าข้าพอใจแล้ว” แล้วก็พระราชทานรางวัลให้คนเหล่านั้นตาม
สมควรแล้วก็ส่งกลับไป แล้วหันไปทางนักปราชญ์เอกอุทั้ง 4 ซึ่งหมอบเฝ้าอยู่ตรงพระพักตร์ ยิ้มแล้วตรัสว่า
“รอไปก่อน ทดลองดูก่อน” ทั้ง 4 ไม่รู้จะทำอย่างไร นอกจากออกปากรับว่า
“พระเจ้าค่ะ”
เรื่องเป็นอันว่าพระเจ้าวิเทหราชต้องรอต่อไป เพราะความอิจฉาริษยาที่ฝังแฝงอยู่ในดวงใจของนักปราชญ์ที่ด้อยศีลธรรมเหล่านั้น

เรื่องสระ

เมื่อเรื่องเชือกผ่านไปแล้วไม่นานนัก ราชบุรุษที่ทรงส่งไปสังเกตการณ์ ณ หมู่บ้านของมโหสถไม่เห็นส่งข่าวคราวมาพระเจ้าวิเทหราช จึงส่งปริศนาไปเพื่อทดลองเจ้ามโหสถอีกข้างหนึ่งว่า
“พระเจ้าแผ่นดินประสงค์จะเล่นน้ำในสระที่มีบัว 5 ชนิดขึ้นอยู่เต็มไป ให้ประกอบด้วยดอกนานาชนิด ให้ชาวบ้านปาจีนวยมัชณคาม ส่งสระดังกล่าวนี้ไปยังพระราชวังภายใน 7 วัน ถ้าไม่ส่งจะต้องถูกปรับ 4.000 บาท” ท่านเศรษฐีได้รับคำสั่ง อดที่จะพึมพรำออกมาไม่ได้
“ปัญหามีมาเสียเรื่อย เต่ละอย่างชวนให้ปวดเศียรเวียนหัวทั้งนั้น ถ้าไม่มีมโหสถเห็นจะต้องอพยพบ้านหนีไปอยู่เมืองอื่นทีเดียว” แล้วก็ใช้ให้ไปตามมโหสถมาดังเคย เมื่อมโหสถมาถึงก็บอกความทั้งปวงให้ฟัง
“พ่อหาคนที่คล่องแคล่วรูปร่างกำยำล่ำสัน และกล้าหาญในการที่จะตอบโต้ข้อความให้ฉันสัก 5 – 6 คน” ท่านเศรษฐีออกไปจัดแจงมาให้ พอคนเหล่านั้นเข้ามาถึงมโหสถก็เรียกมาชี้แจงว่า
“เมื่อท่านไปถึงพระราชวังแล้ว จงพยายามโต้ตอบกับพระเจ้าแผ่นดินให้ดี และพูดจนเห็นว่าพระองค์ยอมแล้วท่านจงกลับมา แต่ก่อนท่านจะไปท่านจงพากันเล่นน้ำเสียให้โชกโชนจนตาแดงผมเผ้าเปียกปอนแล้วถือเชือกเส้นใหญ่ไปด้วย”
คนเหล่านั้นก็พากันปฎิบัติตามคำชี้แจง มองดูสภาพของคนเหล่านั้นที่พากันเดินทางไปพระราชวังของพระเจ้าวิเทหราชเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มโชกไปด้วยน้ำ ผมเผ้าเปียกปอน แถมยังถือเชือกเส้นใหญ่ไว้ในมือด้วยแล้ว คล้ายกับคนวิกลจริต ใครจะสอบถามอย่างไรคนเหล่านั้นก็นิ่งไม่ยอมตอบ แม้นายประตูจะถามก็บอกเพียงว่า
“มาจากหมู่บ้านปาจีนวยมัชคามเหมือนเป็นคำสั่งว่าถ้าชาวบ้านนี้มาก็ให้ปล่อยเข้ามาเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินได้เลย ไม่ต้องหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้ นายประตูจึงยอมให้ผ่านได้พร้อมกับกล่าวทีเล่นทีจริงว่า
“ได้รางวัลแล้วอย่าลืมกันเสียล่ะ”
“เอาเถอะน่ะ ถ้าได้รับหวายแล้วจะมาแบ่งให้” นายประตูสงสัย
“ว่ายังไงนะ” ผู้เป็นหัวหน้าชาวบ้านตอบยิ้ม ๆ
“ถ้าได้รับหวายแล้วจะเอามาแบ่งให้บ้าง”
“ทำไมถึงจะได้รับหวยล่ะ และหวายน่ะจะเอาไปทำอะไรได้ เห็นแต่เขาเอาไปเย็บจากบ้าง ทำราวตากผ้าบ้าง”
“ไม่ใช่เช่นนั้น ที่พูดนี่เป็นเรื่องหวายตะค้าที่สำหรับเฆี่ยนนักโทษน่ะ”
“แล้วจะเอาไปทำไมล่ะ”
“ก็เอาไว้เฆี่ยนหลังจ่ะสิ”
“อาจจะอย่างนั้น เพราะพวกข้าพเจ้าพูดทูลไม่ต้องพระประสงค์ อาจจะถูกเฆี่ยนก็ได้ ถ้าได้จริงก็จะให้ท่านได้รับส่วนแบ่งด้วย ถ้าพวกข้าพเจ้าได้คนละ 30 ก็จะแบ่งให้ท่านคนละ 15 ดีไหม?” นายประตูทำคอย่น
“พ่อคุณ ส่วนแบ่งนี้ของดเถอะไม่เอาแล้วไม่อยากได้ อยู่ดี ๆ จะหาหวายมาลงหลังเสียแล้ว ไปเถอะรีบ ๆ ไปเถอะ ไม่ต้องเอามาแบ่งนะ ไม่อยากได้" พวกชาวบ้านก็พากันมาเฝ้าพระเจ้าวิเทหราช ณ ที่พระโรงวินิจฉัย
“ พวกเจ้ามาจากบ้านปาจีนวยมัชคามหรือ ?”
“พระเจ้าค่ะพวกข้าพระองค์มาจากบ้านปาจันวยมัชคาม”
“เจ้ามโหสถยังอยู่ดีหรือ?”
“พระเจ้าค่ะ มโหสถตลอดตนบิดามารดาสบายดีพระเจ้าค่ะ”
“แล้วพวกเจ้าที่เปียกมะล่อกมะแล่งมานี่ล่ะ เพราะอะไร?”
“เป็นเพราะคำสั่งของพระองค์พระเจ้าค่ะ”
“ข้าไม่ได้สั่งให้พวกเจ้าเปียกเลยนี่นา”
“มิได้พระเจ้าค่ะ คือคำสั่งที่พระองค์ตรัสบังคับให้ชาวบ้านปาจีนวยมัชคามส่งสระมาไห้นั่นแหละ ที่ทำให้พวกข้าพระองค์ตกอยู่ในสภาพเปียกปอนเข่นนี้”
“นึกว่าตูบ้าคนเดียว มโหสถก้บ้าไปกับตูเหมือนกัน แล้งทำไมไม่ส่งมาละ ขัดข้องอะไรรึ หรือจะเอาเงินทองมาเสียค่าปรับ”
“มิได้พระเจ้าค่ะ พวกข้าพระองค์มาขอความกรุณาพระเจ้าค่ะ”
“พวกเจ้าจะมาขอผัดผ่อนเรื่องเงิน ใช่หรือไม่ ?”
“มิได้พระเจ้าต่ะ พวกข้าพระองค์มิได้มาขอผัดผ่อน แต่ว่าต้องขอพระราชทานอภัยก่อนพระเจ้าค่ะ”
“เอ้า มีอะไรว่ามา ข้าให้”
“คือว่า พวกเกล้ากระหม่อมฉันเปียกปอนมาทั้งนี้ก็เพราะสระที่พระองค์ต้องประสงค์นั้นแหละพระเจ้าค่ะ ทำพิษ”
“มันทำพิษอย่างไร ลองว่าไปดูทีสิ ?”
“คือว่า”
“วะ แก่คือว่าเสียจริง” ทรงตรัสอย่างชักจะทรงพระพิโรธ
“พวกเกล้ากระหม่อมได้รับคำสั่งจากท่านเศรษฐีให้นำสระใหญ่ที่เต็มไปด้วยบัวนานาชนิดจากหมู่บ้านมายังพระราชวังของพระองค์ พวกข้าพระองค์ก็เอาเชือกเส้นใหญ่ ๆ ผูกมัดเป็นอันดีแล้วก็เกิดเรื่องพระเจ้าค่ะ” “เกิดเรื่องอะไรล่ะ ?”
“เกิดเพราะสระใหญ่นั้นเคยอยู่แต่ในดงพงพี ไม่เคยเห็นพระราชวัง พอเห็นประตูเมืองก็เลยตกใจสลัดเชือกหนีไปเสีย พวกข้าพระองค์จะช่วยกันโบยตีอย่างไรก็ไม่กลับพระเจ้าค่ะ”
“เอ๊ะ เรื่องสนุกดีว่ะ แล้วเจ้าจะให้ข้าช่วยอย่างไร สระมันถึงจะยอมมาล่ะ”
“ข้อนี้ล่ะที่พวกข้าพระองค์ต้องมาขอความกรุณาจากพระองค์”
“จะขออะไรก็บอกมาสิ มัวอมพะนำอยู่ได้”
“คือจะขอให้พระองค์เอาสระน้ำที่มีอยู่ในเมืองออกไปพบกับสระใหญ่สักหน่อยก็คงจะเข้าเรื่องกันได้” ทรงพระสรวลลั่นท้องพระโรง แลัวตรัสออกมาอย่างขบขันว่า
“ถ้าจะต้องสร้างโรงพยาบาลโรคจิตเพิ่มขึ้นอีกเพราะเรื่องเอาสระไปต่อสระ หนอย..ยังแถมคุยกันรู้เรื่องเสียด้วยว่าไงท่านอำมาตย์ อากาศก็ไม่ค่อยร้อนนี่ไหงเป็นงั้นไป”
“ไม่ทราบเกล้าเหมือนกันพระเจ้าค่ะ” ทรงหันไปทางชาวบ้าน
“ใครบอกกับพวกแกล่ะว่าให้เอาสระในพระราชวังไปต่อสระข้างนอกมา อย่าว่าแต่มนุษย์จะทำเลย เทวดาก็ยังทำไม่ได้”
“ได้ทรงพระกรุณาโปรด มโหสถเป็นคนบอกกับพวกข้าพระบาท”
“คนบอกน่ะมันบ้า”
“ขอเดชะ พระองค์รับสั่งให้ชลอสระเข้ามาในพระราชวัง ถ้าไม่ได้จะปรับชาวบ้านพระเจ้าค่ะ”
“เออ เอ๊ะงั้นข้าก็บ้าเหมือนกันล่ะสิ” แล้วตรัสกำชับพวกชาวบ้านว่า
“จริงสินะ ข้าก็บ้า พวกแกก็บอพอกันทั้งนั้น ไม่มีใครชะลอสระมาได้หรอก เจ้ามโหสถเข้าใจได้ดีแล้ว ข้าก็ลืมไปเหมือนกัน” แล้วพระราชทานรางวัลให้กับชาวบ้านเหล่านั้นตามสมควรแล้วส่งกลับไป เมื่อชาวบ้านกลับไปเรียบร้อยแล้ว ทรงหันไปทางนักปราชญ์ทั้ง 4
“ว่าไง ท่านอาจารย์คงทดลองดูต่อไปอีกสักหน่อยกระมัง”
“ขอเดชะพระอาญาไม่พ้นเกล้า ควรเป็นเช่นนั้นพระเจ้าค่ะ”
“เอ้า รอก็รอ” ทรงตรัสอย่างฝืน ๆ
เรื่องสวน

เมื่อมีพายุใหญ่พัดผ่านวิเทหราชมาในวันหนึ่ง ทำให้บ้านเรือนราษฎร ตลอดจนต้นหมากรากไม้ตามไร่ตามสวนหักโค่นเกลื่อนกลาดไปหมด ราษฎรปราศจากที่อยู่เดือดร้อนไปตาม ๆ กัน พระเจ้าวิเทหราชต้องเสด็จออกทรงบรรเทาทุกข์วาตภัยโดยด่วน และก็ได้พบว่าพระราชอุทยานของพระองค์ได้รับความเสียหายอย่างหนัก คงเป็ยอุทยานอยู่เพียงแต่ชื่อเท่านั้น หลังจากที่ได้บรรเทาทุกข์ให้ราชฎรเรียบร้อย แล้วพระองค์ก็ส่งปริศนาไปยังมโหสถอีกข้อหนึ่ง
“เพราะอุทยานของเราหักโค่นหมดสภาพเป็นอุทยานให้ชาวปาจีนวยมัชคามส่งอุทยานใหม่มาให้เราภายใน 7 วัน ถ้าไม่ได้จะต้องปรับไหม 4.000 บาทเช่นเคย” พวกชาวบ้านซึ่งรอดจากวาตภัยเพราะลมผ่านไปเสียทางอื่น พอเจอปัญหานี้เข้าบางคนถึงกับสะอึก
“เอาอีกแล้ว ขี้ไม่ออกเยี่ยวไม่ออกก็ตกเป็นภาระของชาวบ้านปราจีนวยมัคาม ทีบ้านอื่นไม่เห็นจะถูกบังคับเช่นบ้านเรา ดู ๆ ออกจะไม่ยุติธรรมเสียเลย”
ปัญหาก็ไปถึงมโหสถเช่นเคย เขาได้จัดการอย่างเคย โดยขอพระเจ้าวิเทหราชส่งยานพาหนะไปเพื่อบรรทุกอุทยานเข้ามา ซึ่งพระเจ้าวิเทหราชก็ต้องยอมอีกวาระหนึ่ง และในครั้งนี้เองที่ทรงตัดสินพระทัยว่าจะรับเจ้ามโหสถเข้ามาในพระราชวัง แม้อาจารย์ทั้ง 4 จะคัดค้านอยางไรก็ไม่ฟังเสียง สั่งให้ส่งม้าเสด็จไปรับเจ้ามโหสถ แต่พอเสด็จขึ้นหลังม้าเผอิญให้ม้านั้นมีอันเป็นไปกีบเท้าม้าเกิดแตกขึ้นมา ม้าเดินไม่ได้โดยปกติ เลยเป็นโอกาสของเสนกะปราชญ์จอมโกงไป
“ข้าพระองค์บอกแล้วว่าให้รอก่อน พระองค์ก็ไม่ทรงเชื่อ นี่ดีแต่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย ถ้าเสด็จออกไปข้างนอกแล้วอาจจะมีอะไรเกิดขึ้นก็ได้ ทรงรอไปก่อนเถิดพระเจ้าค่ะ” ซึ่งด้วยความจำเป็นพระเจ้าวิเทหราชก็ต้องทรงยอมอีกวาระหนึ่ง

เรื่องม้าอาชาไนย

เมื่อพระเจ้าวิเทหราชตกลงพระทัยจะรับมโหสถเข้าไปอยู่ในราชสำนักแล้ว เสนกะเห็นว่าขืนคัดค้านต่อไปตัวเองอาจจะเป็นที่ไม่พอพระทัยขององค์กษัตริย์มากขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้นการที่อยู่ในราชสำนักดูจะไม่ค่อยปลอดภัยนัก ซึ่งหลังจากนั้นอีก ๒-๓ วัน เสนกะจึงกราบทูลว่า
“ชอเดชะ พระอาญาไม่พ้นเกล้าฯ หากว่าจะทรงรับเจ้ามโหสถเข้ามาอยู่บนราชสำนักจริง ๆ แล้ว ไม่ต้องเสด็จออกไปด้วยตนเองดอก เพียงแต่ตั้งปัญหาไปเรื่องก็สำเร็จพระเจ้าค่ะ”
“จะตั้งปัญหาอย่างไรล่ะท่านอาจารย์”
“ควรตั้งปัญหาเรื่องม้าอาชาไนยพระเจ้าค่ะ”
“ท่านอาจารย์ลองว่าไปดูทีรึ ?”
“ควรตั้งว่า เมื่อวันก่อนพระองค์เสด็จออกมาด้วยม้าเพื่อจะมารับ
เจ้ามโหสถ เผอิญวันนั้นเท้าม้าเจ็บให้เจ้ามโหสถส่งม้าตัวประเสริฐมาแทน และเมื่อมาให้บิดามาด้วย”
"แล้วมโหสถจะมาหรือ”
“มาพระเจ้าค่ะ พอมโหสถได้ฟังปัญหาก็รู้ทันทีว่าพระองค์ต้องการพบ ก็ให้บิดามาก่อนแล้งตนก็จะตามมาภายหลัง” พระเจ้าวิเทหราชทรงเห็นชอบด้วย และได้ส่งปัญหาไปดังกล่าว ท่านเศรษฐีพอได้รับปัญหา ก็สั่งให้คัดเลือกม้าทันที
“เฮ้ย ? เจ้าพวกเด็ก ๆ ลองไปตามดูบ้านต่าง ๆ ดูทีรึว่าใครมีม้าดีบ้าง เกณฑ์มาให้หมดจะใด้เลือกส่งไปถวายพระเจ้าแผ่นดิน แทนที่จะเสียเงินค่าปรับ” แต่เมื่อเจ้ามโหสถได้รู้ปัญหานี้เข้า กลับพูดกับท่านเศรษฐีว่า
“คุณพ่อ อย่าต้องยุ่งเรื่องจัดการม้าลาอะไรเลย พระเจ้าแผ่นดินทรงพระประสงค์จะพบคุณพ่อและฉัน”
“แล้วเราจะทำอย่างไรกันล่ะ”
“เรื่องนี้ข้าพเจ้าจะจัดการเอง”
“เอ้า ? เจ้าบอกมาจะให้พ่อทำอย่างไรบ้าง”
“พ่อพร้อมด้วยบริวารพันหนึ่ง จงเดินทางล่วงหน้าไปเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินก่อน แต่ว่าเมื่อไปอย่าไปมือเปล่า ต้องหาของติดมือไปถวายด้วย เพราะคำโบราณเขากล่างไว้ว่าไปหาเจ้านาย ๑ หาอุปัชฌาย์ ๑ หาบิดามารดา หญิงที่ตนรัก ๑ ต้องหาของติดมือไปด้วย ถ้าพระเจ้าอยู่จะทรงตรัส หรือให้ท่านพ่อนั่งที่ใดก็จงปฎิบัติตามสมควร แต่เมื่อข้าพเจ้าไปเฝ้าภายหลัง หากพระเจ้าแผ่นดินตรัสให้ข้าพเจ้าหาที่นั่งเอาเอง ข้าพเจ้าจะมองตาท่านพ่อจงมานั่ง ณ ที่นี่ เท่านี้เองปัญหาต่าง ๆ ก็เสร็จสิ้นกันเสียที”
เมื่อได้ตกลงกับศิริวัฒกะผู้เป็นบิดาแล้ว มโหสถก็ส่งท่านพ่อเศรษฐีและบริวารเดินทางไปก่อน แล้วตนเองพร้อมด้วยเด็กที่เป็นบริวารพันคนก็เดินทางตามไปภายหลัง ไปพบลาเข้าตัวหนึ่งก็ให้พวกเด็กจับเอาเสื่อห่อให้มิดชิดแบกไปด้วย
ครั้นเข้าไปถึงพระราชวัง ได้รับอณุญาตให้เข้าเฝ้าได้แล้วก็พร้อมด้วยเด็กผู้เป็นบริวารเข้าไปเฝ้า พอพระเจ้าวิเทหราชตรัสให้นั่งก็แลดูท่านเศรษฐี ๆ ก็เชื้อเชิญให้มโหสถนั่ง ณ ที่ซึ่งตนนั่งอยู่ก่อน ส่วนตนก็ลุกไปนั่งอีกที่หนึ่ง มโหสถก็นั่งที่นั้น
ขณะนั้นบัณฑิตทั้ง ๔ เฝ้าอยู่ที่นั้นด้วย ต่างพากันหัวเรอะเยาะเย้ยมโหสถ
“อ้อ คนมีปัญญาเขาทำกันอย่างนี้นะ ที่ของพ่อ แต่ลูกกลับมานั่ง เป็นบัณฑิตแท้ทีเดียวล่ะ”
พวกที่มาประชุมอยู่ที่นั้นทั้งหมดแม้จะไม่พูด แต่ก็มีสีหน้าเย้ยหยันมโหสถทุกคน แม้พระเจ้าวิเทหราชเองก็พระพักตร์ก็เปลี่ยนไปทันทีที่เห็นมโหสถไปนั่งที่ ๆ ท่านเศรษฐีนั่งอยู่ก่อน และท่านเศรษฐีต้องเลื่อนมานั่งต่ำกว่า มโหสถมองดูพฤติการณ์ทั้งนั้นด้วยกิริยาปกติ เพราะรู้ดีอยู่แล้วว่าจะประสบเช่นนั้น จึงได้ทูลถามพระเจ้าวิเทหราช
“ขอเดชะพระอาญาไม่พ้นเกล้า พระองค์ทรงเสียพระทัยหรือ?”
“เออ ข้าเสียใจ ข้าใด้ฟังเกียรติคุณของเจ้าน่าเลื่อมใสชื่อเสียงก็ดี สติปัญญาก็สามารถ แต่พอมาเห็นพฤติการณ์ของเจ้าที่ให้บิดาของเจ้าเองลุกจากที่ และเจ้านั่งแทนเสียเองข้าก็เสียใจ”
“พระองค์สำคัญพระทัยว่า บิดาประเสริฐกว่าบุตรในทุกสถานหรือ ?”
“เออ ข้าเข้าใจอย่างนั้น”
“พระองค์ทรงส่งข่าวไปถึงหม่อมฉันว่า ขอให้ส่งม้าอาชาไนยที่ประเสริฐกว่าม้าสามัญมาให้ พร้อมทั้งเอาพ่อมาด้วย”
ทูลได้เท่านั้นแล้วก็พยักหน้าให้บริวารนำลาที่หุ่มห่อมาเป็นอันดีเข้ามาหาหน้าที่นั่ง ให้มันนอนแทบปลายพระบาทของพระเจ้าวิเทหราชซึ่งกำลังสนพระทัยเต็มที่ว่านี่มันตัวอะไรกัน” บริวารมโหสถเปิดขึ้นก็ปรากฎว่ามันเป็นลาตัวหนึ่ง
“พระองค์โปรดตีราคาลาตัวนี้เถิดพระเจ้าค่ะ ว่าเป็นราคาสักเท่าไหร่ ?”
“อย่างมากก็ไม่เกิน 20 บาท” ทรงรับสั่ง
“ถ้าเป็นม้าอาชาไนย จะมีราคาสักเท่าไหร่พระเจ้าค่ะ”
“หาค่าไม่ได้น่ะสิเจ้า”
“พระองค์เหตุไฉนจึงตรัสเช่นนั้น เมื่อกี้พระองค์ทรงตรัสว่า บิดาประเสริฐกว่าบุตรในทุกสถานมิใช่หรือ”
“ก็ใช่น่ะสิ”
“ถ้าเช่นนั้นพระองค์โปรดรับลาตัวนี้ไว้เถิด ข้าพระองค์ขอถวาย และมิแต่เท่านั้น ขอพระองค์ได้โปรดรับท่านบิดาของกระหม่อมฉันไว้แทนกระหม่อมฉันด้วยเถิด”
“ทำไมเป็นงั้นล่ะ”
“เพราะเมื่อบิดาประเสริฐกว่าบุตรจึงควรจะรับบุตรไว้ ดังนี้จึงจะควรพระเจ้าค่ะ”
“ว่าอย่างไรท่านปราชญ์” ทรงหันไปถามนักปราชญ์ทั้ง ๔
“จริงอย่างมโหสถว่าพระเจ้าค่ะ”
พระวิเทหราชทรงโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง แล้วทรงตรัสเรียกศิริวัฒกะเศรษฐีเข้าไปเฝ้าใกล้ ๆ ทรงหยิบพระคณทีทองหลั่งน้ำลงไปในมือของท่านเศรษฐี มอบให้ปกครองบ้านปาจีนวยมัชณคาม และตรัสสั่งประชาชนทั้งหลายในบ้านนั้นอุปถัมภ์บำรุงท่านเศรษฐี ได้ฝากของไปพระราชทานสุมนาเทวี ผู้มารดาของมโหสถด้วย และทรงรับสั่งว่า
“ท่านเศรษฐี ฉันยินดีมากที่ได้ปัญญาของเจ้ามโหสถ ฉันจะรับเจ้ามโหสถไว้เป็นบุตรบำรุงเลี้ยงรักษาต่อไป”
“ขอเดชะพระอาญาไม่พ้นเกล้า เจ้ามโหสถยังเล็กเกินไปพระเจ้าค่ะ ปากยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนมเลย”
“เราพอจะเลี้ยงได้อยู่ ท่านรีบกลับบ้านเสียเถิด” ท่านเศรษฐีก็จำต้องกลับ แต่ก่อนจะกลับได้สวมกอดเจ้ามโหสถ แล้วให้ข้อเตือนใจว่า
“พ่อมโหสถ เรื่องอะไรทั้งหลายพ่อก็ทราบดีแล้ว ทำอะไรอย่าได้ประมาทเป็นอันขาด”
ตรงนี้ขอนำเอาคำกล่อนบทหนึ่งของท่าน น.ม.ส. มาเป็นคำเตือนของท่านเศรษฐี คำกลอนนั้นมีดังนี้
“ใครจะว่าอย่างไรก็ตามเถิด
แต่อย่าเกิดไว้ใจในสิ่งห้า
หนึ่งอย่าไว้ใจทะเลทุกเวลา
สองสัตว์เขี้ยวงาอย่าวางใจ
สามผู้ถืออาวุธสุดจักร้าย
สี่ผู้หญิงทั้งหลายอย่ากรายใกล้
ห้ามหากษัตรย์ทรงฉัตรไชย
ถ้าแม้นใครประมาทอาจตายเอย”
มโหสถก็ปลอบให้บิดาเบาใจ ว่าตนเองจะไม่ประมาทแล้วท่านเศรษฐีก็ลากลับไป พระเจ้าวิเทหราชจึงถามเจ้ามโหสถว่า
“พ่อมโหสถ เจ้าจักเป็นข้าหลวงเรือนในหรือเรือนนอก”
“ขอเดชะ บริวารของข้าพระองค์มีมากหน้าหลายตา ขอพระกรุณาเป็นข้าหลวงเรือนนอกพระเจ้าค่ะ"
พระเจ้าวิเทหราช จึงตรัสสั่งให้จัดสถานที่อยู่ให้มโหสถพร้อมบริวาร และนับแต่นั้นมามโหสถก็ต้องมีหน้าที่ไปเฝ้าพระเจ้าวิเทหราชเป็นประจำ
ในราชสำนัก แก้วมณีในรังกา

ในด้านทิศใต้ไม่ไกลจากประตูเมืองนัก มีสระใหญ่อยู่สระหนึ่ง ใกล้ ๆ สระนั้นก็มีต้นตาลขึ้นอยู่ด้วย มีสิ่งประหลาดเกิดขึ้นภายในสระ ยามแสงอาทิตย์ส่องจะปรากฎมีรัศมีพร่างพรายภายในสระ ประชาชนพากันพิศวงไม่รู้ว่าอะไรแน่ แต่ก็คิดว่าเป็นของดีแน่ บางคนถึงกับลงไปงมในสระ แต่ไม่ปรากฎว่าได้อะไรขึ้นมา พอหมดแสงอาทิตย์ รัศมีอันเลื่อมพรายนั้นก็หายไป
จึงได้เกิดเป็นข่าวเล่าลือกันไปถึงว่าน้ำในสระเป็นของวิเศษกินแก้โรคภัยไข้เจ็บได้ทุกชนิด ใครมีเคราะห์หามยามร้ายอย่างไร เอาน้ำในสระไปรดจะหาย หรือบรรเทาเบาบางไป ประชาชนบางคนหัวคิดดี ก็นำเอาภาชนะสำหรับใส่น้ำเป็นต้นว่า ขวดหรือกระป๋องมาไว้จำหน่ายจ่ายแจกแก่พวกที่ต้องการนำน้ำในสระไปฝากพรรคพวกเพื่อนฝูง ที่นั้นเลยกลายเป็นชุมนุมชน กลิ่นธูปควันเทียนก็ตลบอบอวลไปทั่วทั้งบริเวณ
ข่าวประหลาดพิสดารนี้ ก็ทราบไปถึงพระเจ้าวิเทหราชจึงเสด็จไปทอดพระเนตรเพื่อพิสูจน์ความจริง พร้อมมกับนักปราชญ์ทั้งหลายด้วย เมื่อเสด็จไปถึงสระ ก็ทอดพระเนตรแสงเลื่อมพลายอันเกิดจากแก้ว ก็ให้พิศวงในพระทัย แต่ยังไม่ทราบว่าแสงนั้นเกิดจากอะไรแน่นอนจึงหันไปถามนักปราชญ์ ๔ พลางตรัสว่า
“ท่านอาจารย์พอสังเกตเห็นว่าแสงนี้เกิดจากอะไร?”
“ขอเดชะ” เสนกะกลาบทูล “ข้าพระพุทธเจ้าคาดว่าคงจะเป็นแสงเกิดจากแก้ววิเศษพระเจ้าค่ะ”
“ท่านพอจะนำมาได้หรือไม่?”
“ขอเดชะ ข้าพระองค์อาจนำมาได้” “ถ้าเช่นนั้น ท่านอาจารย์ไปนำมาดูทีหรือว่าแก้วนั้นจะวิเศษขนาดไหน ?”
เสนกะได้รับอนุมัติจากพระเจ้าวิเทหราช แล้วก็สั่งให้ทหารวิดน้ำให้แห้ง เพื่อจะนำแก้วมณีจากก้นสระมาถวายพระราชา แต่เมื่อวิดน้ำจนแห้งก็แล้วก็หาแก้วมณีไม่พบ เมื่อมีน้ำแสงแก้วก็ปรากฎอีก
" ข้าพระองค์หมดปัญญาจะนำมาถวายแล้วพระเจ้าค่ะ”
“แล้วท่านนักปราชญ์ทั้ง ๓ ล่ะ พอจะจัดมาถวายได้หรือไม่”
“เมื่อท่านเสนกะยังจัดมาถวายไม่ได้ พวกข้าพระองค์ก็ไม่สามารถจัดหาถวายได้พระเจ้าค่ะ”
เมื่อนักปราชญ์ทั้ง ๔ หมดปัญญาแล้ว ก็ทรงหันไปตรัสถามมโหสถว่า
“พ่อมโหสถ พ่อจะจัดหามาได้หรือไม่?”
“ข้าพระ
 


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 07 ต.ค.2006, 4:43 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 07 ต.ค.2006, 4:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

6. พระภูริทัต


พระภูริทัต ภูริทัต หรือ “ภู” ในคำย่อเป็นเรื่องของความอดทนซึ่งความลำบากตรากตรำด้วยประการทั้งปวง หากใครอดทนไว้ได้ ก็อาจสำเร็จผลที่ปรารถนาทั้งในปัจจุบันและภายหน้า หากเห็นว่าจะมีประโยชน์ จากการสดับเรื่องของการประพฤติปฎิบัติต่อไป ขอได้โปรดอ่านเรื่องต่อไปนี้
สมัยพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่เมืองพาราณสีพระองค์มีพระโอรสพระองค์หนึ่งและทรงตั้งไว้ในตำเเหน่งอุปราช ภายหลังกลัวว่าอุปราชจะแย่งสมบัติ จึงระบุสั่งให้ออกท่องเที่ยวตามที่ต่าง ๆ พร้อมกับสั่งว่า
“ ถ้าพ่อสิ้นเมื่อไหร่ เจ้าจงกลับมาครองราชสมบัติ” ถ้าเป็นสมัยนี้ก็ส่งไปเป็นทูต เพื่อความเหมาะสม หรือมิฉะนั้นก็ให้เดินทางไปเรื่อยเปื่อยใปในที่ต่างประเทศเพื่อผูกสัมพันธไมตรีจนกว่าจะมีตำแหน่งให้ใหม่

พระราชโอรสก็ค่อนข้างมักน้อยอยู่ จึงได้ออกท่องเที่ยวไปตามป่าเขาตามใจปรารถนา ตราบจนกระทั่งพบบรรณศาลาแห่งหนึ่ง อยู่ระหว่างภูเขาและติดกับริมฝั่งแม่น้ำยมนา จึงคิดจะพักผ่อนสงบสติอารมณ์อยู่ที่นั้น และเห็นว่าเป็นสภาพที่ดี มีความวิเวกปราศจากคนผ่านไปมา จึงตกลงใจพักอยู่ ณ บรรณซาลานั้น นางนาคตนหนึ่งปราศจากสามี เห็นคนอื่นเขามีคู่เคล้าเคลียทนอยู่ไม่ได้ ขืนอยู่เมืองบาดาลได้ตายกันไปบ้าง ไม่อยากเห็นเขารักกัน พราะเราไม่มีคนรักจึงหนีขึ้นมาท่องเที่ยงเสียในเมืองมนุษย์

ถ้ามนุษย์เรามีความคิดเหมือนอย่านางนาคแล้ว เหตุฉกรรจ์ทั้งหลายคงจะไม่มี บางคนเห็นคนอื่นรักกันไม่เหมาะไม่สมด้วยประการทั้งปวง ทีตนเองบ้างยังไงก็ได้ เรื่องของฉันคนอื่นไม่เกี่ยว

เมื่อนางนาคจำเลงกายเป็นมนุษย์มาเที่ยวเดินตามริมฝั่งน้ำก็มาพบเข้ากับพระราชกุมาร ทั้งสองพอใจซึ่งกันและกันก็ได้เสียกัน และถามทราบความเป็นไปของกันและกันแล้วก็ได้อยู่ร่วมกันมา จนกระทั่งนางตั้งครรภ์ได้คลอดโอรสหนึ่งให้ชื่อว่า เจ้าสาครพรหมทัต และต่อมาภายหลังก็ได้คลอดพระธิดาอีกองค์หนึ่งให้ชื่อว่าสมุทรชา

เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสด็จสวรรคต พวกขุนนางข้าราชการปรึกษากันเรื่องจะเสี่ยงราชรถ เพราะเหตุที่ไม่ทราบว่าพระราชโอรสของพระเจ้าพรหมทัตอยู่ที่ไหน แต่มีพรานไพรคนหนึ่งเคยเดินทางท่องเที่ยวไปพบพระราชโอรสกับมเหสีนางนาค และได้พักอยู่หลายวัน ได้บอกกับอำมาตย์ราชบริพารเหล่านั้นให้ทราบว่า พระราชโอรสของพระเจ้าพรหมทัตยังมีพระชนม์อยู่ ตนรู้จักสถานที่นั้นด้วย และอาสาพาอำมาตย์ราชบริพารเหล่านั้นไปยังอาศรมของพระราชกุมารกับนางนาค

เมื่อพระราชกุมารได้ทราบว่าพระราชบิดาสวรรคตแล้วและรับเชิญให้ขึ้นครองราชสมบัติ จึงตรัสชวนพระมเหสีให้เข้าไปอยู่ในเมืองด้วยกันแต่นางนาคกล่าวว่า
“หม่อมฉันเป็นนาคอยากที่จะอยู่กับคนได้ เพระโกรธขึงขึ้นมาก็จะพ่นพิษทำลายคนเหล่านั้นเสีย ขอพระองค์จงเสด็จไปเถิด พร้อมกับพาพระราชโอรสธิดาของหม่อมฉันไปด้วย”
พระกุมารจะกล่าวชวนด้วยประการใดนางก็ไม่ยินยอมจึงเสด็จกลับพร้อมกับโอรสธิดา ซึ่งต้องขุดไม้เป็นรูปเรือใส่น้ำให้เต็ม ให้ทั้งสองเล่นมาตลอดทาง จนกระทั่งถึงเมืองพาราณสีแล้ว ให้ขุดสระให้โอรสธิดาเล่นมิฉะนั้นโอรสธิดาจะต้องตาย เพราะวิสัยนาคจะขาดน้ำเสียมิได้

เรื่องมันก็น่าจะหมดลงเพียงเท่านี้ ถ้าไม่มีเต่าเจ้าเล่ห์แสนกลเข้ามาด้วย เรื่องมันมีอยู่ว่า
ในสระที่สำหรับเล่นน้ำของราชโอรสธิดานั้น วันหนึ่งมีเต่าตัวหนึ่งมาจากไหนและทิศทางใดไม่มีผู้ใดเห็น ลงไปสู่ในสระน้ำ พอพระราชโอรสธิดาลงเล่นก็โผล่หัวขึ้นมามองดู เด็กทั้งสองเห็นเข้าก็ไม่ทราบว่าอะไร ก็ร้องขึ้นด้วยความตกใจ พวกพี่เลี้ยงก็เข้าไปถาม ได้ความว่ามีสัตว์ร้ายชนิดหนึ่งโผล่ขึ้นมามองดูก็เลยตกใจร้องขึ้น พี่เลี้ยงจึงให้เอาแหและอวนมาลากก็ติดเจ้าเต่าเจ้าเล่ห์ตัวนั้นขึ้นมา ต่างก็ร้องบอกกัน
" อ้ายนี่เองที่ทำให้พระราชโอรสธิดาตกพระทัย ต้องใส่ครกโขลกให้ละเอียดอย่างแป้งจึงจะสะใจมัน” บางคนก็ว่า
“ไม่ดีหรอก สู้อย่างของฉันไม่ได้ เอาไม้เล็ก ๆ พาดบนกะทะที่ตั้งไฟจนน้ำเดือด ให้เจ้าเต่าไต่ข้ามกะทะไป ถ้ารอดไปได้ก็ยกชีวิตให้มัน ถ้ามันตกน้ำร้อน...หวานล่ะ ยำเต่า” แต่มีอีกคนหนึ่งค้านขึ้นว่า
“ไม่ได้ เจ้าเต่านี่ต้องทำให้เจ็บ เอามันไปทิ้งน้ำวนที่ทำลายเรือแพนาวามากต่อมาก ให้กระดองมันพังไปหมดทั้งร่างเลย” เจ้าเต่าเห็นทางรอดเลยทำเป็นกลัว พูดออกไปว่า
“ท่านขอรับ จะทำยังไงก็ทำเข้าเถอะครับ ใส่ครกโขรกทีเดียวก็ตาย เอาไฟสุมกระดองถึงตายช้าหน่อยก็ต้องตาย เพราะกระดองไหม้ ไต่ข้ามกะทะน้ำร้อนตกปุ๋มเดียวตาย แต่อย่าเอาผมไปถ่วงน้ำเลยครับ มันเวียนหัว จะตายก็ขอให้ตายสบายสักหน่อยเหอะ”
“ไม่ได้ ๆ เอ็งต้องถูกถ่วงน้ำวน ไอ้นี่ต้องเอาให้เข็ด” แล้วเจ้าเต่าก็ถูกถ่วงลงน้ำวน
“ฮ่ะ ๆ เจ้าเต่าเก่งไหมล่ะ ?” เมื่อถูกถ่วงน้ำ แพแตกถึงโคลนเจ้าเต่าก็เดินดุ่มไปใด้น้ำอย่างสบายใจ นึกว่าคงได้กลับที่อยู่ของตนเอง แต่ที่ไหนได้ล่ะนาคเล็ก ๆ หลายตัว ซึ่งกำลังซนอยู่ทั้งนั้นได้มาเที่ยว พอเห็นเต่าเดินงุ่มง่ามอยู่ก็จับโยนเล่น โยนกันไปโยนกันมา เจ้าเต่าถึงกับนึกทอดอาลัย นึกว่าจะพ้นภัย กลับมาเจอพวกนาคแสนซนเข้าอีก ทำไงดีล่ะ ดีไม่ดีตายง่ายเสียด้วยสิ ปัญญามีอยู่กับตัวกลัวอะไรน่ะ แล้วมันก็เอ่ยถามขึ้นว่า
“ท่านผู้เจริญ พวกท่านรู้จักสำนักของจอมบาดาลบ้างไหม?”
“แล้วจะถามไปทำไม ?”
“เพราะมีเรื่องจะกราบทูลให้ทรงทราบ”
“บอกให้พวกเรารู้บ้างไม่ได้หรือ?”
“จะพูดเฉพาะพระองค์เท่านั้น” แล้วเจ้าเต่าก็ได้ถูกพาเข้าเฝ้าจอมนาค คือ ท้าวทศรถ จอมนาคได้เห็นเจ้าเต่าจึงสอบถามได้ความว่า ตัวมันชื่อเจตจูล เป็นฑูตของพระเจ้าพรหมมทัต ซึ่งจะถวายธิดาผู่ทรงโฉมจของตนแก่จอมบาดาล ท้าวทศรถหัวเราะอย่างขบขัน
“ฮ่ะ ฮ่ะ นี่น่ะหรือราชฑูต ใครเขาจะใช้เต่าเป็นราชฑูต”
“ขอเดชะ มิได้มีแต่ข้าพองค์เท่านั้น ราชฑูตมีมากมายแต่เพราะสำนักของพระองค์อยู่ในน้ำ จึงต้องใช้ข้าพระองค์ซึ่งชำนิชำนาญทางน้ำ”
“เอ้า ว่าไป พระราชาของท่านสั่งมาว่าอย่างไร ?”
“เหตุเพราะว่าเจ้าของกระหม่อมฉัน ใครจะผูกพันธมิตรกับพระองค์ เพราะในชมภูทวีปทั้งสิ้นเจ้าของกระหม่อมฉันก็ได้ผูกเป็นมิตรสหายกันหมดแล้ว จึงได้ตรัสบังคับให้ข้าพระองค์มาติดต่อกับพระองค์”

“แล้วจะทำอย่างไรล่ะ ?”
“พระองค์ส่งฑูตไปพร้อมกับข้าพระองค์ เพื่อนัดวันและจะได้ตระเตรียมสิ่งของ” ท้าวทศรถก็เชื่อ จึงส่งเสนานาค ๔ นาย ไปพร้อมกับขุนเจตจูลนั้น
พอเดินทางไปใกล้จะถึงเมือง เจ้าเต่าก็หาโอกาสจะหนีจึงบอกเสนานาคทั้ง ๔ ว่า
“เราจะต้องเข้าไปในวัง พระราชกุมารีต่างจะขอรากวัวกับเรา เพราะฉะนั้นเราจะต้องหาให้เธอ” แล้งก็ลงไปในสระแอบซ่อนตัวเสีย พวกนาคเหล่านั้นคอยอยู่เป็นนานไม่เห็นมีมา ก็คิดว่าเต่าคงไปสู่สำนักของพระเจ้าพรหมทัต เมื่อไปถึงทูลถวายพร และว่าเป็นฑูตของเท้าทศรถจอมบาดาล มาเพื่อจะตกลงขอพระธิดาของพระเจ้าพรหมทัตไปเป็นเอกอัครมเหสี พระเจ้าพรหมทัตเอะใจ มันอะไรกันแน่ จอมนาคราชมาขอลูกสาว บ๊ะ ? มันเป็นไปได้อย่างไร จึงรับสั่งว่า
“ท่านราชฑูต เจ้านายของท่านเป็นนาคไม่ใช่มนุษย์และลูกฉันเป็นมนุษย์ จะสมสู่กันยังไงได้ ดูไม่เหมาะสมกันเลยนะ”
“นาคไม่มีเกียรติหรืออย่างไร?”
“ไม่ใช่ แต่ว่าเป็นนาคเป็นประเภทสัตว์เดรัจฉาน ไม่ใช่มนุษย์และลูกเราเป็นมนุษย์จะอยู่กันได้อย่างไร?”
“พระองค์ทราบหรือไม่ว่า ที่พวกข้าพระองค์มานี้เพราะขุนเจตจูลของพระองค์ไปทูลเจ้านายของข้าพระองค์ ว่าพระองค์จะถวายพระราชธิดาสมุทรชา เจ้านายของข้าพระองค์จึงได้ส่งพวกข้าพระองค์มาเพื่อที่จะจัดการต่าง ๆ “
“เราไม่ได้ส่งใครไป ธิดาของเราเป็นมนุษย์ ไม่สมควรจะสมสู่กับสัตว์เดรัจฉาน ไปบอกเจ้านายของพวกท่านให้ทราบด้วย พวกเราเป็นกษัตริย์”
“ก็หมายความว่าพระองค์หลอกลวง ไม่ให้พระธิดาใช่ไหม ? ไม่น่าจะเข้าใจผิด”
" ถ้าไม่เกรงใจว่าท้าวทศรถสั่งมาให้เจรจาแต่โดยดี มิฉนั้นคงจะน่ะดู"

แล้วฑูตทั้ง ๔ ก็กลับมากลาบทูลกับพระเจ้าจอมบาดาล ซึ่งแม้จะโกรธก็ยังระงับไว้ เพียงสั่งว่า
“นาคทั้งแผ่นดินมีฤทธานุภาพ จงไปเมืองพาราณสีในราตรีนี้ แต่อย่าให้ใครตาย” เพียงเท่านั้นรุ่งขึ้นเข้าเสียงอึกทึกครึกโครมก็ได้เกิดขึ้นทุกแห่งหน เพราะเหตุว่าประชาชนพลเมืองทั้งหลายได้พบงูเล็กบ้างงูใหญ่บ้างตามเรือนในบ้าน เกือบจะพูดได้ว่าเมื่อแลไปทางไหน ก็เจอแต่งูทั้งนั้น บางคนทำท่าขยับจะฆ่าฟัน แต่งูเล็กงูใหญ่เหล่านั้นกลับขู่คำรามฟ่อ ๆ เป็นการป้องกันตัว ขืนตีจะถูกงูกัด ก็เลยทอดอาลัยและงูเหล่านั้นก็ไม่ทำอะไรใครเสียด้วย ในพระราชวังของพระเจ้าพรหมมทัตเองเล่าเกิดอะไรขึ้นตื่นเช้าเสียงสนมกำนันร้องกันวี๊ดว้าย เพราะมองไปทางไหนมีแต่งูทั้งนั้น บนหัวนอน บนหน้าต่าง บนประตู ตลอดจนบนโต๊ะเครื่องแป้งก็ยังอุตสาห์มีงูไปนอนอยู่

แม้พระเจ้าพรหมทัตเอง นับแต่ลืมตาขึ้นมาก็พบกับราชทูตทั้ง ๔ นาย อันมีสภาพเป็นพญานาคขดไว้รวบปราสาท แผ่พังพานอยู่แทบจะเหนือศรีษะ ถึงกับตะลึง ตายจริงนี่มันอะไรกัน เสียงประชาชนแตกตื่นกันมาหน้าพระลาน เสียงร้องทูลขรมถมเถไปหมด จนไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร มองไปทั่วพระนครมีแต่งูทั้งนั้น พอท้าวพรหมทัตเสด็จออก ประชาชนก็ทูลขอให้ถวายราชธิดาแก่ท้าวทศรถเสีย มิฉนั้นประชาชนพลเมืองจะพากันเดือดร้อนถึงชีพ เพราะศักดานุภาพของจอมบาดาล

เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นเช่นนี้ ท้าวพรหมทัตก็จำยอมต้องออกพระโอษฐ์ ยอมถวายพระนางสมุทรชาแก่ท้าวทศรถ พวกนาคทั้งหมดก็อันตรธานหายไปจากที่นั้น ไปปรากฎตั้งเป็นกองคอยอยู่ ณ ที่ไม่ไกลเมืองนัก พอท้าว พราหมทัตส่งพระราชธิดาไปถวายเจ้านายแล้วก็พากันกลับไปยังบาดาล อภิเษกพระนางสมุทรชาไว้ในตำแหน่งอัครใเหสี ท้าวทศรถกลัวพระนางสมุทรชาจะตกใจกลัว จึงบังคับสั่งบรรดานาคทั้งหมดว่า
“ใครแสดงรูปนาคให้ปรากฎแก่พระนาง ผู้นั้นจะต้องตาย” นับแต่นั้นพระนางก็ร่วมสโมสรอยู่กับท้าวทศรถจนมีโอรสถึง ๔ พระองค์ องค์ที่ ๑ ชื่อสุทัศนะ องค์ที่ ๒ ชื่อทัต องค์ที่ ๓ ชื่อสุโภคะ องค์ที่ ๔ ชื่ออริฎฐะ ก็ยังไม่เคยรู้เลยว่าที่นี่เป็นเมืองบาดาล เพราะบรรดานาคทั้งหลายต่างแปลงกายเป็นคนเมื่ออยู่ในสายพระเนตรของพระนาง

ในเรื่องนี้เจ้าทัตซึ่งเป็นองค์ที่ ๒ เป็นตัวเอกของเรื่องนี้เพราะมีปัญญามาก จึงได้นามภายหลังว่า ภูริทัต
เพราะพระนางสมุทรชาไม่เคยรู้ว่าเมืองนี้เป็นเมืองนาคนั้นเอง จึงมีพี่เลี้ยงของเจ้าอริฎฐะ ซึ่งเป็นโอรสองค์สุดท้ายของท้าวทศรถเสี้ยมสอนเจ้าอริฎฐะ ว่ามารดาเป็นมนุษย์ ไม่ใช่นาค อริฎฐะอยากทราบความจริง เวลากินนมเลยแสดงอาการข้างล่างเป็นนาค พระนางตกพระทัยผลักเจ้าอริฎฐะตกลงไป เล็บพระนางเผอิญทิ่มตาของเจ้าอริฎฐะถึงกับแตกไปข้างหนึ่ง ท้าวทศรถทราบเรื่องจะประหารเจ้าอริฎฐะเสีย แต่พระนางทูลขอไว้ และนับแต่นั้นพระนางก็ทราบว่าเมืองนั้นเป็นเมืองนาค

ท้าวทศรถต้องไปเฝ้าท้าววิรูปักข์ ซึ่งเป็นมหาราชกำหนด ๑๕ วันครั้งหนึ่ง เจ้าทัตก็ไปพร้อมกับบิดาด้วย และได้แก้ปัญหาในที่ประชุม ได้รับสรรเสริญว่าเป็นคนมีปัญญา นับแต่นั้นมาจึงได้นามว่าภูริทัต ภูริทัตได้เห็นสมบัติของท้าวมหาราช และสมบัติพระอินทร์ และสมบัติของบิดาตนแล้ว เห็นว่าสู้ของพระอินทร์ไม่ได้ อยากจะได้ แต่ตนเป็นสัตว์เดรัจฉานทำอย่างไรก็คงไม่ได้จึงคิดรักษาอุโบสถศีลเพี่อเสวงเลิศในภายหน้า
เมื่อลงมาจากเฝ้าเท้ามหาราชแล้ว ก็ดำริจำรักษาอุโบสถในแดนมนุษย์ แต่ถูกพระมารดาาห้ามปรามก็เลยไปรักษาอุโบสถอยู่ในพระราชฐาน แต่อยู่ไป ๆ ก็คิดเห็นว่าไม่เป็นปกติได้ เพราะสนมกำนันในยังเฝ้าแหนอยู่มิได้ขาด เลยไม่บอกให้ใคร ๆ รุ่งขึ้นไปรักษาอุโบสถอยู่ที่จอมปลวกริมฝั่งน้ำยมนา ตั้งความปรารถนาสละชีวิตร่างกายของตนให้แก่ผู้ต้องการ

ยังมีพรานป่า ๒ คนพ่อลูก พ่อชื่อเนสาท ลูกชื่อโสมทัตทั้งสองคนเข้าป่าล่าเนื้อไปขายเป็นประจำ วันหนึ่งเข้าป่าไปแต่หาเนื้อวันยังค่ำก็ไม่พบเนื้อเลย จนกระทั้งเย็นมาถึงใกล้ฝั่งแม่น้ำยมนา ก็พอดีพบเนื้อตัวหนึ่งมากินน้ำ จึงยิงธนูไปถูกเนื้อ แต่เผอิญเนื้อไม่ตายหนีไปได้ จึงติดตามรอยเลือดไปก็พอดีพลบค่ำ จึงจำเป็นเข้าไปอาศัยซุ้มไม้แห่งหนึ่งใกล้กับเจ้าภูริทัตจำศีลเป็นที่พักผ่อนหลับนอน และในคืนนั้นเองพราน ๒ พ่อลูก ก็ได้ยินเสียงดนตรีขับกล่อม จึงย่องไปมองดูก็พบเจ้าภูริทัตซึ่งมีนางนาคสาว ๆ ขับกล่อมบรรเลงอยู่ จึงเข้าไปใกล้ พวกนาคเหล่านั้นก็เลยหนีไปหมดเหลือแต่ภูริทัตผู้เดียว พรานทั้งสองจึงเข้าไปสอบถามว่าเป็นอะไร มาทำอะไรอยู่ที่นี่ ภูริทัตจึงบอกความจริงว่าเป็นพญานาคมารักษาศีลอยู่ที่นี่ แล้วกลัวว่าพราะเป็นหมองูมาทำอันตราย จึงเชิญไปเสวยสุชอยู่ในนาคพิภพด้วย
แต่เพราะคนทั้งสองมีวาสนาน้อย ไม่อาจจะเสวยสุขอยู่ในบาดาลได้ จึงขอกลับขึ้นไปบนโลกมนุษย์อีก เจ้าภูริทัตก็อำนวยตามทุกประการ และได้มอบสมบัติให้เป็นอันมากอีกด้วย เมื่อคนทั้งสองขึ้นไปแล้ว สมบัติที่ให้มาก็อันตธานหายไปสิ้น ทั้งสองคนก็คงตกเป็นพรานพร้อมด้วยเครื่องแต่งกายอย่างเดิมอีก และนับแต่นั้นก็เข้าป่าล่าเนื้อขายเช่นเดิม

คราวครั้งนั้นมีครุฑตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ในวิมานฉิมพลีแถบใกล้มหาสมุทร บินลงมาจับนาคได้ตัวหนึ่งแล้วพาบินไปนาคนั้นกลัวตายก็เอาหางตวัดต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งอันเป็นที่จงกลมของฤาษีตนหนึ่งหนึ่งติดไปด้วย ครุฑพาไปจนถึงที่เคยกินก็กินนาคเสีย ต้นไทรก็เลยตกลงไปยังพื้นข้างล่างดังสนั่น ครุฑจึงคิดว่าเราจะบาปหรือไม่ จึงแปลงกายเป็นหนุ่มน้อยเข้าไปหาฤาษี ถามว่าจะเป็นบาปหรือไม่ พระฤาษีว่าไม่บาป เพราะไม่มีเจตนา ก็ดีใจแล้วถวายแก้วให้ฤาษีไว้ดวงหนึ่ง พร้อมกับมนต์ชื่ออาลัมพายและยาทิพย์ซึ่งงูจะต้องกลัว และอยู่ในอำนาจ พระฤาษีแม้จะไม่อยากได้ก็ต้องรับไว้ เพราะครุฑยัดเยียดให้รับ
สมัยนั้นมีพราหมณ์ผู้หนึ่งตกยากเป็นหนี้สินมากจนไม่มีจะใช้เขา จึงคิดจะซุกซ่อนตัวตายเสียในป่า จึงเดินทางเข้าไปป่าจนกระทั่งถึงอาศรมของฤาษีนั้น เห็นว่าไกลจากบ้านเมืองผู้คน จึงแวะเข้าไปอาศัยอยู่ และกระทำปฎิบัติฤาษีนั้นตามสมควร

ฤาษีจึงได้บอกมนต์และยาทิพย์ให้แก่เขา แม้เขาจะไม่อยากได้ก็ต้องรับเพราะเกรงใจฤาษี เมื่อเรียนมนต์อาลัมพายได้แล้วจึงลาฤาษีออกเดินทาง และเผอิญผ่านริมน้ำยมนาซึ่งภูริทัตจำศีลอยู่
คืนวันนั้นนางนาคพากันมาขับกล่อมให้ภูริทัตเพลิดเพลิน เมื่อสว่างแล้วจึงพากันไปเล่นอยู่ที่หาดทราย เอาแก้ววิเศษวางไว้ระหว่างทาง ขณะกำลังเล่นอยู่นั้นพราหมณ์ก็เดินท่องมนต์ผ่านมานางนาคเหล่านั้น ก็ตกใจคิดว่าพญาครุฑมา จึงพากันทิ้งแก้วเสียแล้วหลบหนีไปยังบาดาล พราหมณ์เห็นแก้วมณีวางอยู่ จึงหยิบมาถือแล้วเดินเรื่อยไปจนกระทั่งมาพบพรานพ่อลูกซึ่งเคยไปอยู่เมืองบาดาลมาแล้ว พอลูกพรานเห็นแก้วก็จำได้ว่าเป็นของที่ภูริทัตให้มาแต่ตนทำตกถึงพื้น แก้วดวงนี้เลยอันตรธานหายไป จึงบอกบิดาทราบ และพากันเข้าไปขอแก้ว พราหมณ์ไม่ให้ และได้สอบถามเรื่องแก้วได้ความดังเรื่องข้างต้น เพื่อจะได้ทดลองมนต์ พรานก็พาไปจนถึงที่ภูริทัตจำศีลอยู่ที่จอมปลวก แล้งชี้บอกและขอรับแก้ว พราหมณ์จึงยื่นให้กับพราน แต่เขารับไว้ไม่แน่นแก้วตกลงถึงพื้นเลยหายลงไปเสีย เขาก็เลยอดทั้งแก้ว และได้เนรคุณต่อผู้มีพระคุณของตนอีกด้วย
พอพรานพาพราหมณ์เข้าไปถึง ภูริทัตเห็นแล้วก็จำได้ว่าเคยนำไปไว้เมืองบาดาล และขอกลับมาอยู่มนุษย์โลกจะบรรพชาอุปสมบท แต่ก็หาทำไม่ กลับพาหมองูมาทำทำอันตรายแก่ตน และตนจะทำอันตรายหมองูตนก็จะขาดศีล จึงคิดตกลงยอมสละชีวิตตามแต่เขาจะทำ พราหมณ์กินยางู แล้วร่ายมนต์เข้าไปจับภูริทัตดึงลงจากจอมปลวก แล้วจับลากกรอกยาทำให้หมดกำลังไป และทารุณอีกต่าง ๆ จนมีเลือดไหลออกทั้งปากและจมูก แล้วเขาก็ตัดเถาวัลย์มาสานกระโปรงใส่ภูริทัต เพื่อจะไปแสวงหาเงินตามที่ต่าง ๆ มาสถานที่ชุมชนคน ก็จัดแจงป่าวประกาศให้ผู้คนมาดู แล้วบังคับภูริทัตให้แผ่พังพาน ๓ ชั้น ๗ ชั้น ทำให้ใหญ่ให้เล็กตามความประสงค์เก็บเงินจากผู้ดู สภาพอย่างนี้ทำให้นึกไปถึง แขกเล่นงู เขาใช้ให้งูแผ่แม่เบี้ยฉกจวักด้วยเสียงดนตรีเท่านั้นแต่พราหมณ์เก่งกว่า ไม่ต้องใช้ดนตรี ใช้แต่คำสั่งเท่านั้น พญานาคที่มีฤทธ์เช่นภูริทัตยังต้องอยู่ในอำนาจ เล่นแล้วเอาเขียดใส่เพื่อจะให้กิน ภูริทัตก็ไม่กิน หากินโดยวิธีนี้จนร่ำรวยมีเงินมีทองมาก

ทางเมืองนาคเมื่อพวกนางนาคขึ้นมาไม่พบพระภูริทัตก็นำความไปบอก และนางสมุทรชาก็บังเกิดสุบินว่ามีคนมาตัดแขนเบื้องขวาของพระนางหนีออกไป กับประกอบได้ข่าวว่าเจ้าภูริทัตหายไป เจ้าสุทัศน์ผู้พี่ภูริทัต ก็รับอาสาออกติดตามพร้อม ๆ กับน้อง ๆ คือเจ้าสุโภคะและเจ้าอริฎฐะ และเห็นว่าน้อง ๆ เป็นคนโทโสร้าย หากว่าจะไปพบภูริทัตบนเมืองมนุษย์จะเกิดเดือดร้อนภายหลัง เมื่อไม่พอใจขึ้นมาก็จะพ่นพิษเผาผลาญตามนิคมชนบทพินาศหมด จึงส่งเจ้าสุโภคะไปยังป่าหิมพานต์ ให้เจ้าสุทัศน์อริฎฐะไปยังเทวโลก ช่วยกันค้นคว้าหาเจ้าภูริทัต ส่วนเจ้าสุทัศน์เองไปสู่เมืองมนุษย์พร้อมกับนาคผู้น้องอีกตนหนึ่งชื่อว่าอัจจะมุขี
การเล่นงูของพราหมณ์ได้แพร่สะพัดไปจนทราบถึงพระเจ้าสาครพรหมทัต ซึ่งเป็นพระเจ้าลุงของเจ้าภูริทัต ผู้ครองราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสีทรงพระประสงค์จะใคร่ทอดพระเนตร จึงรับสั่งให้พาเข้าไปแสดงให้ดู แต่พราหมณ์ก็ขอให้เป็นวันพรุ่งนี้

เมื่อถึงเวลาพราหมณ์ก็ให้คนหากระโปรงแก้วซึ่งใส่เจ้าภูริทัตเข้าไปในวังตรงไปยังหน้าพระลาน แต่พระเจ้าสาครพรหมทัตยังมิได้เสด็จออก มีประชาชนพลเมืองพร้อมอำมาตย์ราชบริพารมากันเป็นอันมาก มีพระดำรัสออกมาให้หมออาลัมเล่นไปก่อนเถิด สักครู่จึงเสด็จออกมา อาลัมพายจึงยกเอากระโปรงแก้วมาเปิดออก แล้วเรียกเจ้าภูริทัตออกมา เจ้าภูริทัตออกมาพอพ้นกระโปรงก็ชะเง้อดูรอบ ๆ การดูรอบ ๆ ของนาคนั้นด้วยสองประการคือเพื่อดูพญาครุฑ ถ้าเห็นก็จะได้หนีทันไม่เป็นอันตราย ๑ และถ้าเห็นญาติของตนเกิดละอายไม่อาจจะแสดงได้ ๑ เมื่อเจ้าภูริทัตชะเง้อมองรอบ ๆ ก็พบเจ้าสุทัศน์ซึ่งแปรงเพศเป็นฤาษีติดตามมา โดยสอบถามประชาชนพลเมืองเรื่อยมา จนทราบความว่ามีหมองูจะนำเอางูใหญ่มาเล่นให้ดู จึงมายืนดูด้วย เจ้าภูริทัตก็เลื้อยช้า ๆ ตรงเข้าไป
ประชาชนพลเมืองเห็นงูใหญ่เลื้อยตรงเข้ามาก็ตกใจพากันแตกหนีเป็นช่องไป เจ้าภูริทัตเลื้อยมาตรงหน้าเจ้าสุทัศน์ก็ซบศรีษะลงไปบนเท้าของฤาษี ร้องไห้สักครู่แล้วเลื้อยกลับเข้ากระโปรงไม่ยอมแสดง อาลัมพายเห็นงูของตนเลื้อยไปซบศรีษะบนเท้าฤาษีก็คิดว่าจะกัดเข้าแล้ว จึงตรงไปเพื่อจะปลอบฤาษีโดยบอกว่า
“ท่านผู้เจริญ งูพิษร้ายของข้าพเจ้าตัวนี้คงไปกัดท่านเข้าแล้ว ไม่เป็นไร ข้าพเจ้าจะรักษาให้เพราะข้าพเจ้าเป็นหมองู”
“ฮ่ะ? ฮ่ะ? พระดาบสหัวเราะ “ท่านว่ายังไงนะ งูตัวนั้นน่ะรึมีพิษ”
“มีจริงนะท่าน เพียงแต่ท่านถูกพิษเพียงเล็กน้อยท่านก็จะถึงแก่ความตายทันที”
“ท่านโกหกหลอกลวงประชาชน อาตมาดูแล้วว่างูตัวนี้ไม่มีพิษเลย ยังบอกว่ามีพิษ เรานี่แหละหมองูผู้วิเศษล่ะ”
“พระดาบส ท่านอย่าอวดดีไป งูของเรามีพิษร้ายมากถ้าไม่เชื่อพนันกันสัก ๕.๐๐๐ ไหมล่ะ” พระฤาษีก็รับคำท้าและบอกว่า
“เดี๋ยวก่อน เราจะเข้าไปหาเงินมาวางก่อน” แล้วเจ้าสุทัศน์ก้เข้าไปในพระราชวัง ขอเฝ้าพระพระเจ้าสาครพรหมทัต เมื่อเข้าเฝ้าแล้วก็กลาบทูลขอเงิน ๕.๐๐๐ ซึ่งก็ทำให้พระพระเจ้าสาครพรหมทัตสงสัย ก็สอบถามจนได้ความว่าจะเอาไปพนันกับหมองู พระองค์ก็ยินยอมให้ และเสด็จออกมาพร้อมกับเจ้าสุทัศน์ด้วย อาลัมพายพอเห็นก็ตกใจว่าพระฤาษีเป็นคนของพระเจ้าแผ่นดิน เกรงจะมีภัยจึงพูดกับดาบสว่า
“ท่านผู้เจริญ เรื่องพนันอย่าถือเป็นเรื่องจริงเรื่องจังเลย เมื่อกี้ข้าพเจ้าโกรธที่ท่านดูถูกข้าพเจ้าหาว่าหลอกลวง เอางูไม่มีพิษมาเล่น”
"จริงอย่างนั้นท่านหมองู งูตัวนั้นไม่มีพิษ แม้แต่งูเหลือมงูเขียวก็ดูมีจะมีพิษมากกว่า เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงว่าท่านหลอกลวงประขาชนหากินไปวันหนึ่ง ๆ”
“พิโธ่? พระดาบส ข้าพเจ้าพูดจริง ๆ ว่างูตัวนี้มีพิษร้าย”
“ข้าพเจ้าจะสู้กับท่านด้วยเขียดน้อยเท่านั้น”
“ท่านผู่เจริญ ท่านออกจะดูหมิ่นข้าพเจ้ามาก ท่านควรจะรู้ข้าพเจ้าเป็นหมองู ซึ่งในแผ่นดินไม่มีใครเทียมเลย”
“โกหก ท่านลองดูเขียดของข้าพเจ้าก่อนเถิด” แล้วเจ้าสุทัศย์ก็เรียกนางอัจจะมุขี ซึ่งแปลงกายเป็นเขียดน้อยอาศัยอยู่บนชฎา โดยแบมือร้องเรียก นางอัจจะมุขีก็โดดลงบนฝ่ามือ แล้วคายพิษไว้บนมือเจ้าสุทัศน์หน่อยหนึ่ง แล้วโดดขึ้นไปอาศัยอยู่บนชฎาอีก พระฤาษีจำเป็นก็ประกาศด้วยเสียงอันดังว่า
“เมืองพาราณสีจะพินาศเสียแล้ว” พระเจ้าสาครพรหมทัตตกพระทัยมาก จึงรับสั่งถามว่า
"เพราะเหตุใดจึงได้ว่าเช่นนั้น”
“เพราะว่าพิษที่ข้าพเจ้าถืออยู่นี้ร้ายแรงเหลือที่จะกล่าว” อาลัมพายก็ได้แต่ยิ้ม ๆ พิษเขียด เออ? ช่างพูดออกมาได้ว่าร้ายแรง แต่ก็ฟังต่อไป
“พระคุณเจ้าก็ทิ้งลงในแผ่นดินสิ”
“ขอเดชะ หากอาตมาภาพจะทิ้งพิษนี้บนแผ่นดินแล้วไซร้ ภายในเมืองนี้ข้าวกล้าก็จะวิบัติ รุขชาติทั้งหลายจะตายหมด”
“ถ้าเช่นนั้นจงสาดขึ้นไปบนอากาศ”
“ถึงเช่นนั้นจะทำให้ฝนแล้งไปถึง ๗ ปี” อาลัมพายชยับปากจะต่อคำสักหน่อย แต่เพราะอยู่หน้าพระที่นั่ง จึงได้แต่นิ่งฟัง
“แล้วทำอย่างไรจึงจะไม่มีความวิบัติ”
“พระองค์จงตรัสให้ขุดหลุมลึกสัก ๓ หลุม หลุมที่ ๑ ใส่ยาสมุนไพรทุกชนิดลงไปให้เต็ม หลุมที่ ๒ ใส่มูลโคลงไปให้เต็ม หลุมที่ ๓ ใส่ยาทิพย์ให้เต็ม"

พระราชาตรัสสั่งให้ทำดังนั้น เจ้าสุทัศน์จึงเอาพิษนาคนั้นใส่ในหลุ่มที่ ๑ ก็เป็นไฟเผาไหม้ยาทั้งปวงนั้นจนกระทั่งหมดแล้วลามไปหลุมที่ ๒ ไหม้มูลโคหมด แล้วลามไปไหม้หลุมที่ ๓ ที่ใส่ยาทิพย์แล้วจึงดับ อาลัมพายซึ่งไม่ยอมเชื่อได้ยืนใกล้หลุมที่ ๓ จึงถูกไอไฟลน ร้อนถึงถลอกปอกเปิกกลายเป็นขี้เรื้อนด่างเป็นดวง ๆ โดดออกไปห่าง พลางร้องว่าเราปล่อยนาคล่ะ
ภูริทัตพอได้ยินอาลัมพายบอกว่าปล่อย ก็ออกจากกระโปรง แล้วกายร่างเป็นมนุษย์เข้าไปเฝ้าพระเจ้าสาครพรหมทัตพร้อมกับเจ้าสุทัศน์และนางอัจจะมุคี ซึ่งก็กลายร่างเป็นคนเข้าไปเฝ้าด้วยกัน

เมื่อเข้าไป เจ้าสุทัศน์จึงถามพระเจ้าสาครพราหมทัตว่าทราบหรือไม่ว่าพวกเราเป็นใคร ซึ่งพระเจ้าสาครพรหมทัตก็บอกว่าไม่รู้ จึงบอกว่าพวกตนเป็นหลาน อันเกิดจากท้าวทศรถกับพระนางสมุทรชา ซึ่งเป็นน้องสาวของพระเจ้าสาครพรหมทัตเอง พร้อมกับลากลับไป และว่าจะพาพระมารดามาเยี่ยมภายหลังแล้วก็แทรกแผ่นดินกลับบาดาลไป ทางบาดาลยินดีกันใหญ่ที่เห็นเจ้าภูริทัตกลับมา เมื่อพระนางสมุทรชาได้ทราบเรื่องจากเจ้าสุทัศน์ แล้วก็คิดจะไปเยี่ยมพี่ชาย เจ้าสุโภคะซึ่งติดตามไปทางหิมพานต์ไม่พบอะไร ก็มุ่งหน้ากลับมา เผอิญได้ยินพรานป่าผู้กำลังอาบน้ำล้างบาปที่ได้ประทุษร้ายเจ้าภูริทัต จึงเอาตัวมาให้ภูริทัตตัดสิน ซึ่งภูริทัตก็ปล่อยไป เมื่อพระนางสมุทรชาไปเยี่ยมพระเจ้าสาครพรหมทัตแล้วก็กลับมายังเมืองนาค นับแต่นั้นเจ้าภูริทัตก็อยู่สุขสบายตราบจนสิ้นอายุ

ในเรื่องนี้เราจะได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันบ้าง ก็คือว่าเราได้ขันติ คือความอดทน ตอนที่นายอาลัมพายมาทำร้ายจับเอาไปทรมานทรกรรมจนแทบทนไม่ได้ หากเป็นนาคอื่นก็อาจจะพ่นพิษเอาอาลัมพายตายไปก็ได้ และเห็นโทษของการเนรคุณ ซึ่งนายพรานสองพ่อลูกได้ทำให้เจ้าภูริทัตถูกจับ เพราะอยากได้แก้วเท่านั้นเอง เรื่องนี้ก็ถึงที่สุดเพียงเท่านี้ ฯ


ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้
 


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 07 ต.ค.2006, 4:44 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 07 ต.ค.2006, 4:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

7. พระจันทรกุมาร


เรื่องมีอยู่ว่าสมัยเมื่อพระเจ้าเอกราชครองราชสมบัติอยู่ในบุปผาดีนคร ท้าวเธอมีมเหสีพระนามว่าโคตมี และมีราชโอรสนามว่า จันทกุมาร มีปุโรหิตชื่อ กัณฑหาลพราหมณ์

กัณฑหาลพราหมณ์เป็นคนโลภ เมื่อมียศโดยพระเจ้าเอกราชมอบอำนาจให้พิพากษาอรรถคดีต่างๆ ก็ชอบกินสินบน เข้าแบบที่มูลบทบรรพกิจสอนเด็กไว้ว่า
“ใครเอาข้าวปลามาให้สุภาก็ว่าดี
ที่แพ้แก้ชนะไม่ถือประเพณี
ขี้ฉ่อก็ได้ดี ไล่ด่าตีมีอาญา”
นี้เป็นแบบเดียวกัน มีเรื่องความอะไรมา ถ้าไม่อยากชนะ เงิน-เงิน-เงิน เท่านั้นเป็นพระเจ้า ภายในร่างกายของกัณฑหาลพราหมณ์ดูจะเต็มไปด้วยเงิน เลือดคงจะกลายเป็นสีน้ำเงินไปด้วย

การกินการโกงเป็นของมีมาแล้วแต่ดึกดำบรรพ์ แม้เมื่อกัณฑหาลพราหมณ์เข้ามาเสวยอำนาจ เป็นเรื่องเลื่องลือกระฉ่อนไปหมดในสมัยนั้น ไม่มีใครสามารถจะจัดการได้ หากใครร้องเรียนจะต้องถูกลงโทษฐานะบ่อนทำลายสถาบันอันศักดิ์สิทธิ์เสียด้วย เลยพวกปากหอยปากปูทั้งหลายต้องนิ่งเงียบปล่อยให้ลือตามใจชอบ

วันหนึ่งตอนจะเกิดเรื่อง กัณฑหาลพราหมณ์ตัดสินคดี อย่างที่เคยมาแล้ว คือให้คนที่เอาสินบนมาถวายชนะไป ผู้ที่แพ้ก็ได้แต่ก้มหน้าเดินออกจากศาลไปนั่งร้องไห้อยู่ข้างทาง

พอดีพระมหาอุปราชจันทกุมารเสด็จผ่านมาเห็นเข้า สงสัยจึงเรียกไปตรัสถาม ชายผู้นั้นก็เล่าความให้ฟังตั้งแต่ต้นจนสุดท้ายถูกบังคับให้แพ้จนตลอดเรื่อง พระจันทกุมารฟังดูแล้วรู้สึกว่าเป็นการอยุติธรรมมากเกินไป จึงเสด็จไปยังศาลพร้อมกับเรียกเรื่องนั้นออกมาดู ซึ่งกัณฑหาลพราหมณ์ก็หยิบมาให้อย่างเสียมิได้พระจันทกุมารก็เรียกโจทก์จำเลยมาสอบสวนทวนพยานกันเสียใหม่ แม้ตาพราหมณ์แกจะไม่ชอบก็ต้องนิ่ง เพราะอำนาจอุปราชเค้นคอแกอยู่ เลยได้แต่นั่งทำตาปริบ ๆ ฟังเรื่องไป

เมื่อไต่สวนแน่นอนแล้ว เจ้าจันทกุมารก็ตัดสินให้ฝ่ายถูกชนะ ฝ่ายผิดเป็นฝ่ายแพ้ กลับตรงกันข้ามกับคำตัดสินที่ตัดมาแล้ว

ประชาชนพลเมืองที่ถูกกัณฑหาลพราหมณ์กดไว้ในอำนาจก็ดีใจ คิดว่าได้พ้นจากภัยมืดอันกดคอตนอยู่แล้ว ก็พากันดีใจให้สรรเสริญพระจันทกุมารเป็นการใหญ่ เสียงคนไชโยโห่ร้องดังก้องไปทั่วเมือง ศาลเกิดความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นแล้ว พระเอกราชทรงสดับเสัยงโห่ร้องก็สงสัยสอบถามดู ได้ความว่าเจ้าจันทกุมารมหาอุปราชตัดสินความยุติธรรมให้ราฎรพอใจ จึงไชโยโห่ร้องให้ศีลให้พรพระจันทกุมาร

พอรุ่งขึ้นก็รับสั่งให้มหาอุปราชว่าการตัดสินคดีของประชาชนพลเมืองแทนกัณฑหาลพราหมณ์สืบไป

ถ้าเป็นจิวยี่ก็รากเลือดลงแดงตายไปแล้วเพราะความแค้นใจ แต่นี้เป็นกัณฑหาลพราหมณ์แกนิ่งเฉยโดยไม่โต้ตอบอะไรทั้งสิ้น และส่งเสริมด้วยว่าเหมาะสมอย่างยิ่ง แกเองแก่แล้วอยากจะพักผ่อนเสียบ้าง แต่ยังเห็นแก่แผ่นดินอยู่ จึงถ่อสังขารร่างกายมาทำงาน เมื่อพระจันทกุมารทำได้แกก็พอใจ แต่ในใจของแกสิ แกคิดอย่างไร

“เจ้านี่อวดดี เองทุบหม้อข้าวตู ดีล่ะ?
ไม่มีโอกาสบ้างก็แล้วไป ถ้าได้โอกาสเมื่อไหร่หัวไม่ขาดก็ดูอีตาพราหมณ์บ้าง”

นับแต่นั้นมา พราหมณ์ก็อดลาภสักการะที่จะพึงได้จากการทุจริตเช่นเดิม ทำให้แกเคียดแค้นแทบจะรากเลือด แต่ก็จำต้องนิ่งรอโอกาสต่อไป ประชาชนพลเมืองก็ได้รับความยุติธรรมกันอย่างเสมอหน้าเสมอตา

วันหนึ่งพระเอกราชเสด็จบรรทม และเผอิญทรงสุบินว่าได้ขึ้นไปเที่ยวบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้ทอดพระเนตรเห็นสมบัติของพระอินทร์ อันล้วนเป็นทิพย์ทั้งนั้น นางฟ้านางสวรรค์ล้วนแต่งาม ๆ พอเห็นก็ใครจะได้ ในขณะที่กำลังเที่ยวชมอยู่นั้นเองก็บังเอิญตกพระทัยตื่น รู้สึกเสียดายมากอยากจะฝันนต่อ เสียดายเหลือเกิน แต่จะทำยังไง ๆ มันก็ไม่ฝัน กลับพระเขนยก็แล้ว ข่มตาให้หลับก็แล้วทั้งแพไม่ได้ฝันต่ออีกเลย

สมบัติพระอินทร์ติดอกติดใจพระเจ้าเอกราชเป็นยิ่ง รุ่งเช้ารีบออกท้องพระโรงแต่เช้า พอเห็นกัณฑหาลพราหมณ์ปุโรหิตคนโปรด ผู้ที่เคยฉ่อชนโกงกินสมบูรณ์พูลสุขไปด้วยความเดือดร้อนชองประชาชนพลเมือง หน้าตาของแกแดงก่ำไปด้วยโลหิต ก็ตรัสเล่าสุบินให้ฟังและยังแถมท้ายว่า
“ทำไมถึงจะได้สมบัติเหล่านั้นบ้าง”

ตาพราหมณ์ผู้เป็นพราหมณ์แต่ร่างกาย เข้าทำนองความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด เพราะกังวลอยู่ด้วยโทสะและราคะพอได้ฟังพระเจ้าอยู่หัวเล่าพระสุบิน และได้ยินดำรัสเช่นนั้น ใจก็คิด

“หวานตูล่ะที่นี้ จันทรกุมารเคยเล่นงานตูอย่างเจ็บแสบนัก ทุบหม้อข้าวของตู ทีนี้จะได้เห็นดีกันล่ะ เองต้องตาย ตายอย่างหมูหมาไม่มีใครใครแยแส” แกจึงทูลว่า

“ขอเดชะ พระสุบินของพระองค์เป็นลางสังหรณ์ว่าพระองค์จะได้สมบัติเหล่านั้น แต่ทำไมจึงจะได้ ก็ได้เป็นเหตุให้พระองค์มาตรัสถามกระหม่อมฉัน ต้องบูชายัญพระเจ้าค่ะจึงจะได้”
“บูชายัญเขาทำกันอย่างไรล่ะ?”
“ไม่ยากพระเจ้าค่ะ แต่ก็ดูยาก”
“เอ๊ะ ? ว่ายังไงไม่ยาก แต่ดูยาก"
“คือว่า การกระทำบูชายัญที่จะมีผลมากได้สมบัติทิพย์ ต้องเสียสละของที่รักออกบูชายัญพระเจ้าค่ะ”
“ของที่รัก” พระเจ้าเอกราชรำพึง
“อะไรนะ ?”
“ก็พระมเหสี บุตร ธิดา ช้างแก้ว ม้าแก้ว สิพระเจ้าค่ะ”
“ถ้าอย่างนั้นเห็นจะพอได้”

กัณฑหาลพราหมณ์จึงทูลให้ทราบว่า จะต้องใช้เลือดในลำคอพระมเหสี บุตร ธิดา ช้างม้า และเศรษฐีประจำพระนครมาทำการบูชายัญจึงจะเห็นผล

พระเจ้าเอกราชผู้งมงาย หวังสมบัติทิพย์ก็เชื่อถือถ้อยคำของตาพราหมณ์เจ้าเล่ห์ โดยสั่งให้ตาพราหมณ์จัดการเรื่องการบูชายัญโดยด่วน

ข่าวได้แพร่สะพัดไปทุกมุมเมืองบุปผวดีว่าพระเจ้าเอกราชจะฆ่ามเหสี โอรส ธิดา ช้างแก้ว ม้าแก้ว แล้วเศรษฐีประจำเมืองอีก ๔ คน บูชายัญ เพื่อหวังจะได้สมบัติอย่างพระอินทร์

แม้พระจันทรกุมารจะเข้าทัดทานอย่างไรก็ไร้ผล พระองค์มิได้ทรงเชื่อเลย ทรงมุ่งหวังแต่สมบัติที่ตาพราหมณ์ป้อยอเท่านั้น กัณฑหาลพราหมณ์ไปจัดการให้คนขุดหลุมเพื่อการบูชายัญภายนอกเมือง เมื่อจวนจะสำเร็จ พระเจ้าเอกราชเกิดใจอ่อน ทนการอ้อนวอนของพระโอรสธิดามิได้ จะเลิกการบูชายัญตาพราหมณ์ได้ทราบก็รีบเล่นมา
“ข้าพระองค์ได้บอกแล้วว่างานนี้ยากมาก เมื่อจัดทำขึ้นแล้วจะเลิกเสียกลางคัน พระองค์จะมิได้สมบัติดังกล่าว และแถมจะถูกครหานินทราว่าเป็นกษัตย์ตรัสแล้วไม่อยู่กับร่องกับรอยเสียด้วย"

พอได้ยินเท่านั้นพระทัยเดือดปุด ๆ

“ทำสิวะ ทำไมจะไม่ทำ ใครว่า ตัดหัว”

อำนาจบาทใหญ่พลุ่งออกทันที อนิจจา ทศพิธราชธรรมสำหรับพระเจ้าเอกราชผู้งมงายหามีไม่ กลับสั่งให้จับตัวมเหสี ๔ องค์ โอรส ๔ องค์ ธิดา ๔ ช้าง ๔ ม้า ๔ เศรษฐีอีก ๔ ไปคุมไว้รอบูชายัญ พระเจ้าหลวงผู้ชนกของพระเจ้าเอกราชได้ทราบเรื่องก็ห้ามปรามมิให้ทำ แต่พระเจ้าเอกราชเชื่อฟังก็หาไม่ สมบัติทิพย์ใครจะไม่อยากได้ ต้องฆ่าพวกนี้เพื่อสมบัติทิพย์ แม้พระจันทรกุมารจะทูลว่า

“ขอเดชะพระราชบิดา หากการบูชายัญด้วยของรักเป็นเหตุให้ได้สมบัติแล้วไซร้ ทำไมกัณฑหาลพราหมณ์จึงไม่เอาบุตรธิดาของตนเองบูชายัญเพื่อจะได้สมบัติทิพย์บ้างเล่า นี่ก็เป็นเหตุให้เห็นได้ว่าเป็นความไม่จริง

ตาพราหมณ์แกโกรธเคืองกระหม่อมฉันที่ทำให้แกกดขี่ข่มแหงประชาชนพลเมือง รีดเอาทรัพย์สินเงินทองเหล่านั้นไม่ได้ จึงอยากจะฆ่าหม่อมฉันเสีย หากจะให้สมใจตาพราหมณ์ ได้โปรดฆ่าข้าพระองค์แต่เพียงผู้เดียวเถิด อย่าให้ใครลำบากยากแค้นด้วยข้าพระองค์เลย” ถึงเช่นนี้พระองค์ก็หาฟังไม่
“เขาจะทำพิธีแก้กรรมมาแก้ตัวว่าเขาเกลียดแกทำไม แกมันยุ่งไม่เข้าท่า เห็นคนอี่นเข้าทำดีเข้าหน่อยก็พลอยผยองไป แกจะทำให้พิธีข้าเสีย ไม่ได้ ต้องบูชายัญให้หมด”

แม้ใครจะอ้อนวอนอย่างไร...พอใจอ่อนสั่งปล่อยตาพราหมณ์ก็มาทัดทานไว้ต้องสั่งจับใหม่ โดยอาการเช่นนี้ถึงหลายครั้งหลายครา สุดท้ายตาพราหมณ์เห็นว่ายิ่งรอช้าไปพระจันทรกุมารอาจไม่ตายก็ได้ เพราะพระทัยของพระเจ้าเอการชไม่สู้จะแน่นอนนัก จึงได้เร่งรีบให้ขุดหลุมและจัดบริเวณพิธีให้เสร็จ โดยเร็ว เพื่อจะประหารเสียเร็ว ๆ

เมื่อบริเวณพิธีและหลุมเสร็จเรียบร้อยแล้ว พราหมณ์ก็สั่งให้คนนำสัตว์ที่จับไว้นั้นออกนอกประตูพระนครไปพร้อมกับปิดประตูห้ามคนคนในออกคนนอกเข้า เพราะกลัวประชาชนจะติดตามทำลายพิธี เพราะคนอย่างมหาอุปราชและเศรษฐีก็ย่อมมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมากมาย เดี๋ยวเกิดจะมีคนดีขึ้นมาบ้าง

พอถึงโรงพิธีคนแรกที่ต้องสังเวยคือจันทกุมาร ตาพราหมณ์ก็นำไปนั่งข้างปากหลุม เตรียมถาดที่จะรองเลือดไว้เรียบร้อย ตนเองก็ตระเตรียมดาบไว้ พระจันทกุมารตอนนี้วางใจเป็นอุเบกขาแล้วแต่เวรกรรม แต่พระจันทาเทวีผู้ชายาของมหาอุปราช ซึ่งตามอ้อนวอนพระราชบิดาขอยกให้โทษพระจันทรกุมาร และเอาตัวของพระนางเองบูชายัญแทนก็ไม่สำเร็จ จึงตั้งสัจจาธิษฐานคือตั้งความสัตย์ว่า

“ขอฝูงเทพเทวาทั้งหลายจงเป็นพยานด้วยความสัตย์ของข้า กัณฑหาลพราหมณ์เป็นคนมิชอบต่อราชแผ่นดิน ไม่มีศีลธรรม แกล้งจะทำลายล้างผู้อื่น ด้วยความสัตย์ ขอให้กัณฑหาลพราหมณ์จงพินาศไป และขอให้พระจันทรกุมารสวามีแห่งข้าจงได้รอดชีวิตด้วยเถิด”

ด้วยสัจจาธิษฐานของนาง ทำให้อาสนะพระอินทร์แข็งนั่งไม่สบาย คงเป็นอย่างเรื่องของสังข์ทองที่ว่า
“ทิพย์อาสน์เคยอ่อนแต่ก่อนมา กระด้างดังศิลาประหลาดใจ
จะมีเหตุมั่นแม่นในแผ่นดิน อมรินทร์เร่งคิดสงสัย
จึงสอดส่องทิพย์เนตรเหตุภัย ก็แจ้งใจในรจนา”


แต่เห็นจะต้องแก้เป็นจันทรกุมาร แม้นมิช่วยจะม้วยมอด ด้วยไม่รอดจากประหาร ต้องเหาะลอยระเห็จล่องฟ้ามาช่วยทันที มีมือถือค้อนเหล็กเป็นไฟ พอเหาะมาถึงบริเวณพิธีก็ร้องตวาดก้องว่า

“ไอ้พระยาอธรรม์ เคยมีเยี่ยงอย่างจากไหนที่สั่งสอนว่า ฆ่าคนจะได้สมบัติทิพย์และจะได้ไปสวรรค์ ทศพิฑราชธรรมสำหรับกษัตริย์ละเลิกแล้วหรืออย่างไร ถ้าขืนทำพิธีบูชายัญให้ได้ เราจะตีเศียรท่านให้ย่อยยับไปเป็นจุณ”
และไม่เพียงแต่พูด แถมฟาดราชวัติฉัตรธงในบริเวณพิธีพังล้มระเนระนาดไปเสียด้วย
ในขณะนั้นเองประชาชนก็ฮือกันเข้าไปจับตัวกัณฑหาลพรามหณ์เจ้าพิธีซึ่งกำลังยืนตะลึงอยู่ ลากออกมมาข้างนอก แล้วทีนี้ไม่รู้ว่ามือใคร บาทาใคร ตึ๊บตั๊บ หนึบหนับ พักเดียวเงียบกริบ ไม่มีเสียงร้องเล็ดลอดร่างแหลกเหลวแทบดูไม่ได้ ประชาทัณฑ์กันจนหายแค้น คนชั่วเช่นนี้ตายไปเสียได้ก็ทำให้แผ่นดินสูงขึ้นได้เป็นภูเขาเลากา

เมื่อพราหมณ์ตายแล้ว ความโกรธแค้นของประชาชนยังไม่หยุดเพียงนั้น ยังบุกถึงเจ้าหน้าที่ซึ่งคอยอารักขาพระเจ้าเอกราชอยู่ เพื่อจะนำตัวมาลงทัณฑ์เสียอีกคน
จันทรกุมารต้องโดดเข้าไปกั้นกลางประชาชน กอดพระชนกเอาไว้ไม่ให้ใครทำร้าย
“เราไม่ต้องการคนโหดร้ายทารุณ ฆ่ากระทั่งลูกเมียเพื่ออยากได้สมบัติทิพย์ ออกไป ออกไป” เสียงประชาชนโห่ร้องขับไล่ และได้เเสดงให้พระองค์ทรงทราบว่า แม้จะไว้ชีวิตพระองค์ก็จริง แต่ไม่อาจจะให้อยู่ในเมืองได้ และได้ปลดออกจากราชสมบัติ ทำโทษขับไล่ไปอยู่บ้านจัณฑาล ซึ่งในสมัยนั้นเทียบได้กับหมู่บ้นคนขอทานในสมัยนี้ หรือไม่ก็คล้ายเคียงกัน แล้วอภิเษกเจ้าจันทรกุมารให้ครองราชสมบัติในบุปผวดีนคร

เมื่อพระเจ้าจันทรกุมารเสด็จประพาสอุทยาน ก็เสด็จไปเยี่ยมพระบิดาเสมอ ได้รับพรจากพระเจ้าเอกราชให้สมบูรณ์พูนสุขชนมายุยืนนาน ก็เสวยราชสมบัติอยู่ในทศพิธราชธรรมบ้านเมืองก็เป็นสูขสบายปราศจากศัตรูหมู่ร้ายจะมารบกวนตราบจนกรกะทั่งสิ้นพระชนม์ เรื่องนี้ก็จบเพียงเท่านี้

เราได้อะไรจากเรื่องนี้บ้าง ความโลภทำให้คนดีกลายเป็นคนชั่ว ความอาฆาตพยาบาททำให้เป็นคนเลว ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว ได้แก่พราหมณ์ ซึ่งจะฆ่าพระจันทรกุมาร แต่ตัวเองกลับต้องตาย ความมัวเมาในอำนาจและอยากได้สิ่งพึงประสงค์เช่นสมบัติทิพย์ ทำให้หน้ามืดตามัวไม่เห็นความผิดถูก อย่างพระเจ้าเอกราช อนิจจาความชั่วไม่ช่วยให้คนดีได้


ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้
 


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 07 ต.ค.2006, 4:45 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 07 ต.ค.2006, 4:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

8. พระพรหมนารท


เรื่องพระพรหมมนารท หรือตามชาวบ้านเรียกกันว่า
พรหมนารท จัดเป็นชาติที่ ๘ ในจำนวนสิบชาติ และในชาตินี้
ได้สั่งสอนให้พระเจ้าแผ่นดินดำรงตนอยู่ในสัมมาทิฐิ คือความถูกต้อง
เรื่องมีอยู่ว่า พระเจ้าอังคติราช เสวยราชสมบัติในมิถิลานคร ในแคว้นวิเทหรัฐ ท้าวเธอมีราชธิดาองค์หนึ่งพระนามว่า รุจา และก็มีเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น แม้ท้าวเธอจะมีสนมกำนันจำนวนเป็นร้อยเป้นพัน พระองค์เสวยราชสมบัติด้วยทศพิธราชธรรม พระราธิดาเล่าก็ประกอบไปด้วยลักษณะสวยงาม และมั่นคงอยู่ในศีลธรรมทุกกึ่งเดือนนางจะต้องจำแนกแจกทานเป็นนิจไป อำมาตย์ผู้ใหญ่ของพระราชามีอยู่ ๓ คนด้วยกัน คนหนึ่งชื่อ วิชัย คนหนึ่งชื่อ สุนามะ คนหนึ่งชื่อ อลาตะ

เมื่อถึงคราวเทศกาลเพ็ญเดือน ๑๒ ในในปีหนึ่ง อันเป็นฤดูกาลที่น่าเพลิดเพลินเจริญใจ พระจันทร์เต็มดวงลอยในท้องฟ้าน้ำเปี่ยมตลิ่งใสซึ่งลงไป พันธุ์ผักน้ำ สายบัวก็ชูช่อดอกดอกสะพรั่งไปทั้งสองฟากน้ำ แลดูเป็นเครื่องเจริญตายามเมื่อแลดูพระเจ้าอังคติราชก็ให้มีการเฉลิมฉลองฤดูกาล มีมโหรสพเอิกเกริกทั่งพระนคร

ส่วนพระเจ้าอังคติราช พระองค์เสด็จประพาสในพระนครแล้วกลางคืนก็เสด็จออก อำมาตย์ ตรัสถามว่า

"วันนี้เป็นวันดี เราควรจะทำอย่างไรดี ?” อลาตะอำมาตย์จึงทูลว่า

“หม่อมฉันเห็นว่าในฤดูกาลอันเป็นที่น่ารื่นรมย์นี้ควรจะได้จัดทัพออกเที่ยวตระเวนตีบ้านเล็กเมืองน้อยไว้ในพระราชอำนาจ” ทรงหันไปยิ้ม พร้อมตรัสว่า

“ก็ดีอยู่ แต่เรายังไม่นึกอยากจะทำ แล้วต่อไปใครเห็นควรจะทำอย่างไรดี” สุนาอำมาตย์จึงกลาบทูลว่า

“ท่านอลาตาเป็นฝ่ายทหารเลือดนักรบ ก็คิดแต่จะรบเพราะกีฬาอะไรจะสนุกเท่ากีฬารบไม่มี นี่เป็นความคิดของผู้เป็นนักรบ แต่กระหม่อมฉันเห็นว่าเป็นเรื่องเดือดร้อนทั้งฝ่ายเราผู้ยกไป และฝ่ายเขาซึ่งต้องรับทัพของเรา พระหม่อมฉันเห็นว่าถ้าพระองค์จะตกแต่งมัชบานในราชอุทยาน จัดงานราตตรีสโมสรสันนิบาต มีมโหรีขับกล่อม มีสนมกำนันฟ้อนรำขับร้องเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาล และปลุกปลอบพระทัยของพระองค์ ซึ่งต้องวุ่นกับราชกิจมาตลอดวัน ก็เห็นจะดีพระเจ้าค่ะ”

“ก็ดีอยู่ แต่ยังไม่ชอบใจเรา ใครจะว่ายังไงอีกล่ะ?” วิชัยอำมาตย์เห็นว่าพระทัยของพระเจ้าอังคติราชไม่มีการทะเยอทะยาน ความโลภก็ไม่มี และมิใคร่ในกามคุณ ควรเราจะชักชวนในทางสงบจึงจะดี จึงกราบทูลว่า
"ขอเดชะ กระหม่อมฉันเห็นว่าในราตรีกาลอันแสนจะเบิกบานนี้ หากเสด็จไปสู่สำนักของปราชญ์สนทนาปราศรัยสดับธรรมก็จะดีพระเจ้าค่ะ” พระเจ้าอังคติราชพอพระทัยทันที

“เออดี ท่านวิชัย แต่เราจะไปสำนักใครดีล่ะถึงจะดี”

“ขอเดชะ กระหม่อมฉันรู้จักท่านคุณาชีวก ผู้ไม่มีกิเลสและไม่อยากได้ใคร่ดีอะไรทั้งนั้น แม้เสื้อผ้าก็ไม่ต้องการ หากสนทนาอาจจะได้อะไรดี ๆ พระเจ้าค่ะ”

พระเจ้าอังคติราชจึงสั่งให้จัดพลเสด็จไปยังสำนักของชีวกซึ่งเป็นชีเปลือย เมื่อถึงเข้าไปถวายนมัสการถามทุกข์สุขซึ่งกันและกันแล้ว พอมีโอกาสก็ตรัสขึ้นว่า “พระมหากษัตริย์ ควรประพฤติปฎิบัติอย่างไรในประชาชนพลเมือง เสนา ข้าราชบริพาน พระชนกชนนี อัครมเหสีและโอรสธิดา ยามตายไปแล้วจึงไปสู่สุคติ และคนที่ตายไปตกนรกเพราะทำอะไร” คุณษชีวกไม่รู้ว่าจะทูลตอบอย่างไรดี แต่ก็ทูลลัทธิตนขึ้นว่า
“มหาบพิตร สุจริต ทุจริต จะได้มีผลอะไรก็หามิได้ บุญก็ไม่มี บาปก็ไม่มี มหาบพิตรให้ทาน มหาบพิตรก็เสียของไปเปล่าโดยไม่ได้อะไรตอบแทนเลย รักษาศีลเล่ามหาบพิครได้อะไร หิวข้าวแสบท้องเปล่าประโยชน์ สวรรค์นรกมีที่ไหนกันบิดามาดาไม่มี เพราะธรรมชาติ ๗ อย่างมาประชุมกันเท่านั้น ธรรมชาติ ๗ อย่างคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ สุข ทุกข์ ชีวิต การจะได้ดีได้ชั่วก็ได้ดีได้ชั่วเอง ไม่มีใครบันดาลให้ เมื่อทั้ง ๗ แยกกัน สุขทุกข์ก็ลอยไปในอากาศ ไม่มีใครทำลายชีวิตนั้นได้ สรุปความว่าไม่มีอะไรทั้งนั้น ล้วนแต่เป็นธาตุประชุมรวมตัวกันและแยกสลายออกจากกันเท่านั้น อีกประการหนึ่ง คนที่จะต้องวนเวียนอยู่นั้นก็เพียง ๘๔ กัลป์เท่านั้น”

ขณะนั้นเอง อลาตะเสนาบดีผู้ระลึกชาติได้ก็กล่าวรับสมอ้างคุณาชีวกว่า จริงอย่างท่านอาจารย์ว่า "ข้าพเจ้าเองเมื่อชาติก่อนเป็นคนฆ่าโค ชื่อปิงคละ ข้าพเจ้าฆ่าโคเสียไม่รู้ว่ากี่ร้อยกี่พันตัวตายจากชาตินั้นมาเกิดในตระกูลเสนาบดี ได้เสวยสุขจนกระทั่งบัดนี้ ถ้านรกมีจริงข้าพเจ้าคงไปเกิดไปเกิดในนรกแล้ว ไม่ได้มาเกิดเป็นเสนาบดีดังนี้ ผลบาปต้องไม่มีแน่ ๆ ข้าพเจ้าจึงเกิดมาดังนี้”

ความจริงนั้น อลาตะเสนาบดีเกิดในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า ได้บูชาพระเจดีย์ด้วยพวงอังกาบพวงหนึ่ง ตายจากชาตินั้นแล้วได้ท่องเที่ยวไป ๆ มา จนเกิดเป็นปิงคละ และด้วยอานิสงส์ได้บูชาพระเจดีย์ จึงได้ไปเกิดเป็นเสนาบดี แต่เพราะแกระลึกชาติได้เพียงชาติเดียว จึงเห็นว่าคนฆ่าสัตว์มากมายแต่กลับได้เสวยความสุข จึงทำให้เข้าใจผิดไปว่าแกทำปาบแต่กลับได้ดี อันผิดวิสัยความจริงว่า
อันปวงกรรมทำไว้ในปางหลัง เป็นพืชยังปางนี้ให้มีผล
หว่านพืชดีมีผลแก่ตนเอง หว่านพืชชั่วกลั้วผลที่ค่นแค้น
อันความจริงข้อนี้มีมาแล้ว ไม่คลาดแคล้วเป็นอื่นทุกหมื่นแสน
หว่านพืชชั่วผลดีมีมาแทน ถึงแม้นแมนแม่นไม่เปลี่ยนได้เลย
หากจะพูดอย่างง่าย ๆ ก็ว่า ทำกรรมอย่างไรก็ให้ผลอย่างนั้น ทำกรรมดีย่อมได้ผลดี ทำกรรมชั่วย่อมได้ผลชั่ว เทวดาก็เปลี่ยนจากชั่วให้เป็นดีก็ไม่ได้

เวลานั้น มีบุรุษยากจนคนหนึ่งชื่อ วิชกะ นั่งฟังอยู่ด้วยเขารับได้ฟังคำของอลาตะเสนาบดีแล้วอดใจอยู่ไม่ได้ ถึงกับน้ำตาไหลออกมานองหน้า พระเจ้าอังคติราชเห็นเข้าก็ให้ประหลาดพระทัยจึงตรัสถามว่า

“เจ้าวิชกะ เจ้าร้องไห้ทำไม ?”

“ขอเดชะ เพราะข้าพระพุทธเจ้าระลึกชาติได้ว่าเมื่อชาติก่อนข้าพระพุทธเจ้าเป็นเศรษฐี มีจิตใจบุญ จำแนกแจกทานทานแก่สมณชีพราหมณ์และยาจกวณิพกตลอดมา แต่เมื่อตายแล้วแทนที่จะไปสวรรค์ กลับต้องมาเกิดในตระกูลจัณฑาลอันได้รับรับความลำบากยากเข็ญอยู่ในบัดนี้ เพราะฉะนั้นที่ท่านอลาตะกล่าวว่าบุญไม่มีผล บาปไม่มีผลเป็นความจริงแน่นนอน ถ้ามิฉะนั้นแล้วกระหม่อมฉันจะตกระกำลำบากไม่ได้”

แต่ความจริงแล้วเรื่องมันเป็นอย่างนี้ คือชาติที่เขาระลึกได้นั้น เขาเกิดเป็นคนเลี้ยงโค และได้ติดตามโคไปบังเอิญพบพระหลงทางองค์หนึ่ง ท่านก็เข้ามาถามหนทาง เพราะเขากำลังขุ่นใจเรื่องตามโค จึงเลยไม่ตอบท่าน ท่านเข้าใจว่าเขาไม่ได้ยินเลยถามอีก เขาก็ตวาดไปว่า

“พระขี้ข้าอะไรเซ้าซี้น่ารำคาญ”

เพราะกรรมนี้เองจึงทำให้เขาเกิดในตระกูลจัณฑาล แต่เพราะเขาระลึกชาติไปไม่ถึงจึงเห็นเพียงชาติที่เข้าเป็นเศรษฐีเท่านั้น พระเจ้าอังคติราชได้ทรงฟังถ้อยคำของวิชกะ ก็เห็นไป

ตามคำอลาตะและคุณาชีวก เพราะมีพยานรับรอง ทำให้ข้อความนั้นน่าเชื่อถืออีกมาก ถึงกับตรัสกับวิชกะว่า
“ท่านอย่าเสียใจไปเลย เราเองก็ถือผิดมาเช่นท่านเมือนกัน เราเคยทำความดีโดยปกครองประชาชนด้วยทศพิธราชธรรม แต่ผลไม่เห็นบังเกิดดีอย่างไร ตั้งแต่นี้เราจะหาความสุขส่วนตัว และแม้พระคุณเจ้าคุณาชีวกข้าพเจ้าก็จะไม่มา เพราะไม่มีประโยชน์อะไร”

เมื่อตรัสดังนั้นแล้วก็เสด็จกลับพระราชวังทันที และนับแต่นั้นมาก็ปล่อยพระองค์ตกอยู่ในความสุขสนุกสนานเพลิดเพลินกับสุรานารีดนตรีอบายมุขไปตามเรื่อง กิจราชการน้อยใหญ่มอบให้เป็นธุระของอำมาตย์ผู้ใหญ่ทั้ง ๓ คือ วิชัย สุนามะ และอลาตะโดยเด็ดขาด ศาลาโรงทานที่เคยได้ตั้งไว้ ก็ตรัสให้เลิกทั้งหมด เพราะไม่มีผลจะทำไปทำไม ผลบุญทานก็ไม่มี หาความสุขดีกว่า สุรา นารี เออมันช่างแสนสุขสำราญเสียจริง ๆ

ถึงวัน ๑๕ ค่ำเป็นวันพระ พระราชธิดารุจาเคยขึ้นเฝ้าพระราชบิดาและเคยรับเงินทองพระราชทานไปเพื่อแจกจ่ายแก่สมณชีพราหมณ์และผู้ยากจนค่นแค้น เมื่อขึ้นไปเฝ้าตอนจะกลับก็ได้รับเงินพระราชทานมา ๑.๐๐๐ ตามที่เคยให้จิตใจที่เคยสละให้ทานไม่มีเลย

ความประพฤติของพระเจ้าอังคติราชคือ มิจฉาทิฐิ ก็แพร่สะพัดไปทุกมุมเมือง ราษฎรชาวเมืองทั้งปวงก็รู้ทั่วกันว่า พระราชาของตนไม่ตั้งตนในทศพิธราชธรรม เพราะได้รับคำสั่งสอนจากคุณาชีวก เพราะพระราชธิดามิได้ใกล้ชิดพระองค์ จึงไม่ค่อยจะรู้เรืองของพระบิดานัก ตราบจนนางสนมกำนัลมาเล่าให้ฟังถึงกับอัดอั้นตันพระทัย

“ทำไมหนอพระบิดาจะสั่งสนทนากับใคร ๆ จึงไม่เลือกคน จึงได้รับสั่งสอนอันตรงกันข้ามเช่นนี้ ข้อความที่ควรจะถามนั้นน่าจะถามสมณะมากกว่า เราเองก็ระลึกชาติได้ถึง ๑๔ ชาติ ทำอย่างไรจึงจะแก้พระบิดาจากทิฐิผิดอันนี้ได้”

เมื่อกำหนดเข้าเฝ้า ก็พร้อมด้วยหญิงบริวารแต่งกายหลายหลากชนิดพากันขึ้นไปเฝ้า พระเจ้าอังคติราชก็โสมนัสตรัสสนทนากับพระราชธิดาเป็นอันดี พร้อมทั้งถามถึงความทุกข์สุขที่ได้รับ ซึ่งพระราชธิดาก็ทูลตอบให้ชื่นชอบพระทัยเป็นอันดีจึงถึงเวลาเสด็จลากลับ ซึ่งพระองค์เคยพระราชทานทรัพย์เพื่อเอาไปจำเเนกแจกทาน แต่คราวนี้ทรงเฉยเสีย พระราชธิดาจึงต้องทูลขอทรัพย์จำนวน ๑.๐๐๐ เพื่อไปทรงแจกจ่าย กลับได้ยินพระราชบิดาตรัสว่า
“รุจา ตั้งแต่เราให้ทานมาก็นานแล้ว ไม่เห็นจะได้อะไรขึ้นมา นอกเสียจากทรัพย์จะหมดเปลืองไปเท่านั้น อดกินอดนอนจนกระทั่งทรมานจิตใจไม่ให้ได้รับความเทิงเริงรมย์ เราจะลำบากกันทำไม คราวก่อนพ่อไม่รู้จึงให้เจ้าทำ เดี๋ยวนี้พ่อรู้แล้วสิ่งเหล่านี้ไม่มีประโยชน์ เลิกทำเสียเถอะ หาความสุขไปเรื่อย ๆ ดีกว่า เจ้าจะเอาเงินทองไปใช้จ่ายบำรุงความสุขแล้ว พ่อไม่ขัดข้องเลย

ถ้าเอาไปจำแนกแจกทานแล้วพ่อว่าหาประโยชน์มิได้ เท่ากับเจ้าช่วยให้พวกนั้นขี้เกียจขึ้นไปเสียอีก เวลานี้สันดานมันก็ขี้เกียจอยู่แล้ว เจ้าอย่าไปส่งเสริมให้มันขี้เกียจเพิ่มขึ้นอีกเลย คุณาชีวกน่ะแกเป็นเจ้าลัทธิที่เห็นว่าบุญบาปไม่มีอะไรที่จะส่งผลทั้งนั้น แกจึงไม่ต้องการอะไรแม้แต่ผ้านุ่งแกยังไม่เอาเลย ไม่ใช่แต่แกคนเดียว แม้แต่อลาตะเสนาบดีก็เห็นเช่นนั้น ตลอดจนวิชกะเขาระลึกชาติได้ เขาก็ว่ายังงั้นเหมือนกัน”

พระราชธิดาได้ฟังก็เศร้าพระทัย เออ ? พระราชบิดาเราช่างเป็นไปมากเหลือเกิน มาเชื่อคนที่ระลึกชาติได้เพียงชาติสองชาติ ก็วางตนเป็นคนประพฤติผิดไป เราเองระลึกชาติได้ถึง ๑๔ ชาติ จะต้องให้พระบิดากลับความประพฤติให้ได้

เมื่อพูดถึงการระลึกชาติ ทำให้นึกถึงเรื่องที่เกิดมาไม่นานเท่าไหร่ เด็กชายผู้หนึ่งระลึกชาติได้ว่าตนเคยเป็นงูเหลือมใหญ่ ถูกฆ่าตายจึงได้มาเกิดเป็นคน อ้างสถานที่ต่าง ๆ อย่างน่าเชื่อถือ

พระราชธิดารุจาคิดตกลงใจในการจะแก้ทิฐิของพระราชบิดา จึงได้ทูลพระราชบิดาคัดค้านพระราชดำรัสขึ้นว่า

“ข้าแต่พระบิดา เรื่องที่ควรถามสมณะสิไปถามอาชีวกก็ได้อย่างนี้แหละ เข้าลักษณะคบคนพาล ๆ พาไปหาผิด คบบัณฑิต ๆ พาหาผลแน่ทีเดียว ตัวคุณาชีวกเองปฎิบัติตนไม่น่าเชื่อถือ ถือเปลื่อยแต่ก็ยังกินอาหาร ไหนว่าบุญไม่มีบาปไม่มีแกจะบำเพ็ญบ้า ๆ เช่นนั้นเพื่ออะไรกัน ยังอยากให้คนอื่นเคารพบูชา จึงเห็นได้ชัดว่าเป็นคนบ้ามากกว่าคนดี แกถือออกบวชทำไม คำพูดกับการปฎิยัติมันผิดกันราวฟ้ากับดิน

พระบิดาก็มาเชื่อไอ้คนเช่นนี้ได้ พระบิดาโปรดละทิฐิผิดนั้นเสียเถิด อลาตะและวิชกะนั้นระลึกชาติได้เพียงชาติเดียวเท่านั้น กระหม่อมฉันระลึกได้ถึง ๑๔ ชาติ แลเห็นการที่ตนปฎิบัติได้เพียงนิดเดียวเท่านั้น ก่อนที่หม่อมฉันจะลงมาบังเกิดเป็นบุตรีของพระองค์

กระหม่อมฉันได้บังเกิดเป็นอักครมเหสีแห่งชวนะเทพบุตร เพียงแต่ชวนะเทพบุตรไปเอาดอกไม้มาเพื่อประดับร่างกายกระหม่อมฉัน กระหม่อมฉันก็จุติมาเกิดในเมืองมนุษย์เสียแล้ว ชั่วพริบตาเดียวจริง ๆ เมื่อข้าพระองค์จุติจากชาตินี้แล้วจะได้ละเพศเทพธิดากลายเป็นเทพบุตรีมีศักดานุภาพมาก ขอพระองค์อย่าได้เชื่อคนหลอกลวงทั้งหลายเลย โปรดปฎิบัติพระองค์ตามทศพิธราชธรรมตามเคยเถิด”


พระเจ้าอังคติราชได้ทรงสดับ ก็ชื่นชมยินดีในพระดำรัสของพระธิดา แต่ก็ยังคงปฎิบัติเช่นเคย มั่วสุมอยู่กับสนมกำนัลอย่างไร ก็ยังคงปฎิบัติเช่นนั้นไม่ทรงละเลิก และก็ไม่ต่อว่าพระธิดาอีกด้วย พระราชธิดาเห็นว่าตนเองพูดเท่าไหรก็ไม่มีน้ำหนัก จึงตั้งสัจจาธิษฐานว่า “ถ้าว่าคุณของพระบิดายังมีอยู่ ก็ให้สมณพราหมณ์ผู้ทรงคุณธรรมมาช่วยกำจัดทิฐิผิดของพระบิดาข้าพเจ้าด้วยคำสัตย์นี้ด้วยเถิด”
การตั้งสัตย์นี้ทีตัวอย่างมากทาย อย่างในวรรณคดี เรื่องสังข์ทอง ตอนนางรจนาเสี่ยงพวงมาลัยให้เจ้าเงาะก็ตั้งสัตย์
ถ้าบุญญาธิการเคยสมสอง
ขอให้พวงมาลัยนี้ไปต้อง
เจ้าเงาะรูปทองจงประจักษ์
เสี่ยงแล้วโฉมยงนงลักษณ์
ผินพักตร์ทิ้งพวงมาลัยไป เจ้าเงาะก็ได้พวงมาลัย เพราะเคยเป็นคู่กันมาแต่ชาติปางก่อนในพระราชพงศาวดารไทย เรามีการเสี่ยงเทียนอธิษฐานในแผ่นดินพระเฑียรราชา และการเสี่ยงสัตย์นี้มีมากมายหลายแห่งนัก รวมความกล่าวกันว่าการตั้งสัตย์ให้สำเร็จประโยชน์ได้พระพุทธเจ้าของเราตอนเป็นลูกนกคุ่มที่ไฟเกิดขึ้นในที่พ่อแม่ไม่ได้อยู่ด้วย ก็เลยตั้งสัตย์ไฟก็ดับไปไม่ไหม้ เลยใช้เป็นมนต์กันไฟจนกระทั่งบัดนี้

เมื่อพระราชธิดาตั้งสัตย์ดังนั้น ก็ร้อนขึ้นไปบนสรวงสวรรค์ แต่คราวนี้ไม่ใช่พระอินทร์ แต่เป็นมหาพราหม พระนารทมหาพรหมได้ทราบสัจจาธิษฐานของพระราชธิดารุจาจึงดำริว่า

“ถ้านอกเราแล้วใคร ๆ ก็ไม่สามารถจะแก้ไขให้พระเจ้าอังคติราชสละทิฐินั้นได้ จำเราจะต้องลงไปแก้ไขช่วยพระราชธิดารุจา เพื่อความสุขของประชาชนพลเมือง”

จึงได้จัดแจงแปลงเพศเป็นมาณพหนุ่มน้อยห่มผ้าที่ทำด้วยทอง แล้วหาบทองเท่าลูกฟักท่าลอยอยู่ ณ ท่ามกลางอากาศเฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอังคติราช พอได้เห็นคนเหาะได้พระเจ้าอังคติราชก็หวั่นไหว

“เอ ? เราท่าจะแย่ สมบัติเห็นจะเปลี่ยนผู้ปกครองเสียแล้วกระมัง” แต่พระราชธิดากลับปลื้มพระทัย

“การอธิษฐานของเราเห็นจะได้ผลดี ผู้ที่มาคงจะมีมหิทธิฤทธิ์มาก คงสามารถขจัดทิฐิของพระราชบิดาได้” พระเจ้าอังคติราชไม่สามารถจะประทับอยู่บนราชบัลลังก์ได้ เพราะทรงเกรงกลัวมาก ต้องเสด็จลงมาอยู่กับพื้นดิน พลางดำรัสถามว่า

“ท่านผู้มหิทธิฤทธิ์ ท่านมาจากไหน และต้องการอะไร” นารทมหาพราหมจึงตอบว่า

“อังคติราช ข้าพเจ้ามีนามว่านารท คนรู้จักโดยโคตรว่ากัสสปโคตร และข้าพเจ้ามาจากสวรรค์ ท้าวเธอก็ดำริขึ้นว่า

“ไหนอาชีวกว่าปรโลกไม่มี แล้วท่านนารทมาจากโลกอื่น แต่จะต้องไว้ถามขณะอื่น ขณะนี้ต้องถามเรื่องทำไมจึงเหาะมาได้” ตึงตรัสถามว่า

“ท่านพระนารท ท่านมีร่างกายและเครื่องนุ่งห่มงดงามและมีฤทธิ์เหาะเหินเดินอากาศ เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนี้ได้”

“ข้าแต่พระเจ้าอังคติราช การที่ข้าพเจ้ามีร่างกายและเครื่องนุ่งห่มอันงดงาม ประกอบด้วยฤทธิ์เหาะไปในอากาศ ก็เพราะข้าพเจ้าได้ทำคุณงามความดีไว้ เป็นต้นว่า ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในลูกเมียเขา ไม่กล่าวโป้ปดมดเท็จ และไม่ดื่มสุราเมรัยอันเป็นเหตุให้เสียอารมณ์ จึงได้สมบัติและมากฤทธิ์เช่นนี้” แม้พระนารทจะบอกความจริง แต่พระเจ้าอังคติราชก็หาเชื่อไม่ กลับแย้งว่า
“ข้าแต่พระนารท ได้ยินเขาว่าสวรรค์มี นรกมี เทวบุตรมี เทวธิดามี โลกนี้มี โลกหน้ามี จะจริงหรือประการใด”
“ที่ท่านถามมานั้นทั้งหมดมีจริงทั้งนั้น” พระเจ้าอังคติราชกลับตรัสต่อไปว่า
“เมื่อท่านว่าโลกหน้ามี ถ้าเช่นนั้นข้าพเจ้าขอยืมเงินท่านสัก ๑.๐๐๐ ถึงชาติหน้าจึงชดใช้ให้”
“ไม่ได้”
“เพราะอะไร?”
“ก็เพราะเหตุว่าท่านเป็นคนไม่มีศีลธรรม ประพฤติแต่ความชั่ว ชาติหน้าท่านอาจจะไปเกิดในอบาย ในนรกน่ะ ข้าพเจ้าไม่อยากจะลงไปทวงเงินจากท่าน เพราะร้อนเหลือประมาณ และท่านก็ไม่สามารถจะออกจากนรกเพื่อมาคืนเงินข้าพเจ้าได้ และเมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านเห็นสมควรไหมว่าข้าพเจ้าควรจะให้ท่านยืมเงิน แต่ถ้าท่านเป็นคนปฎิบัติตนอยู่ในศีลธรรมประพฤติปฎิบัติแต่ในทางที่ดี อย่าว่าแต่ ๑.๐๐๐ เดียวเลย ๒.๐๐๐ - ๓.๐๐๐ ข้าพเจ้าก็ให้ได้” เล่นเอาพระเจ้าอังคติราชเงียบงันพูดไม่ออก ได้แต่กรอกหน้า แล้วนิ่งเฉย มหานารทพรหมจึงกล่าวต่อไปอีกว่า
“ถ้าพระองค์ยังคงขืนปฎิบัติตนอยู่เช่นนี้แล้ว เป็นแน่ที่พระองค์ต้องไปอยู่ไปสู่นรก อันมีเครื่องทรมานหลายอย่างหลายประการ มีกาปากเหล็กโตกว่าตัวเกวียน เที่ยวจิกกินสัตว์นรก มีหมาขนาดวัวตัวใหญ่คอยไล่กัด มียมบาลคอยเอาหอกไล่ทิ่มแทงบางพวกก็ต้องขึ้นต้นงิ้วอันมีหนามคมเป็นกรด ดังในพระมาลัยกล่าวไว้ว่า
“หนามงิ้วคมยิ่งกรด โดยโสฬส ๑๖ องคุลี
มักเมียท่านว่ามันดี หนามงิ้วยอกทั่วทั้งตัว”
บางพวกก็ถูกภูเขาไฟกลิ้งมาทั้ง ๔ ทิศ บดให้ละเอียดแล้วก็กลับฟื้นขึ้นมาอีก ภูเขาก็กลิ้งมาทับอีก แบนแล้วก็แบนอีกจนกว่าจะหมดกรรม บางพวกก็ถูกยมบาลเอาคีมลุกเป็น ไฟลากลิ้นเอาออกมา แล้วเอาน้ำทองแดงที่ละลายเทลงไปในคอ ไหม้ตับไตไส้พุงขาด แล้วกลับฟื้นขึ้นมาผจญกรรมต่อไปอีก จนกว่าจะหมดกรรม บางพวกก็ถูกสุนักกัดทึ้งทั้งร่างกายแล้วก็กลับฟื้นขึ้นมาอีก
บางพวกก็ถูกยมบาลจับโยนลงไปในกระทะทองแดง ที่มีน้ำทองแดงเหลวคว้างอยู่ไหม้หมดร่างกายแล้วกลับฟื้นขึ้นมาอีก บางพวกก็มือโตเท่าใบตาล จะเดินไปทางไหนมาทางไหนก็แสนจะยากเย็น บางพวกก็มีปากเท่ารูเข็ม จะบริโภคน้ำและอาหารก็มิได้ ล้วนแต่แสนสยดสยอง ถ้าพระองค์ไปประสพไม่ละเลิกมิจฉาทิฐิ พระองค์จะต้องประสบกับสิ่งเหล่านี้อย่างแน่นอน บางทีอาจจะถูกเอาเบ็ดเกี่ยวลิ้นห้อยโตงแตงขาดตกลงมาเกี่ยวห้อยแล้วก็กลับฟื้นขึ้นใหม่ ดู ๆ ก็น่าสนุกนะ”

เมื่อนารทพรหมพรรณนานรกให้ พระเจ้าอังคติราชสดับนั้น พระองค์ก็เกิดกลัวภัยในขุมนรก จึงตรัสกับพระนารทว่า “ข้าแต่ท่านนารท ข้าพเจ้าไม่อยากที่จะลงไปในนรกทำอย่างไรเล่าจึงจะพ้นได้” ตอนนี้ความกลัวเข้าจับจิตใจเสียแล้ว เลยทำให้เชื่อว่าโลกนี้มีโลกหน้ามี ผลดีผลชั่วมี บิดามารดามี
พระมหานารทพรหมจึงสอนให้ตั้งตนอยู่ในศีล ๕ ประการ ดำเนินราโชบายตามทศพิธราชธรรม และนับแต่นั้นมาประชาชนพลเมืองทั้งหลายก็อยู่เย็นเป็นสุข เพราะพระเจ้าแผ่นดินแผ่เมตตาไปให้พสกนิกร ตราบจนกระทั่งสิ้นพระชนมายุ เรื่องพระนารทก็เป็นอันจบลงด้วยการสั่งสอนพระเจ้าอังคติราชให้ละมิจฉาทิฐิดำรงตนอยู่ในสัมมาทิฐิ
ท่านเล่าอ่านจบแล้วได้อะไรบ้างในเรื่องนี้
สื่งที่ควรกำหนดคืออย่าถือว่าทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว
เพราะผลดีผลชั่วย่อมมีอยู่ สัตว์โลกทั้งหมดย่อมเป็นไปตามกรรม
ที่ทำไว้ไม่มีใครฝืนไปได้ อยากจะได้ดีจงทำดี ถัาอยากได้ชั่ว เอาเลย สิ่งชั่วร้าย
ทั้งหลาย ก็ประพฤติเข้าไป ไม่มีใครห้าม แล้วท่านจะพบผลชั่ว การคบหาสมาคม
กับคนเลวแล้วด้วย ก็จะทำให้เป็นคนเลวไปด้วย คบคนเช่นไรก็จะเป็นคนเข่นนั้น
เรื่องนี้ก็จบแต่เพียงเท่านี้ ขอให้ทุกคนจงโชคดี จงเลือกทำแต่ผลดีกันเถิด


ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้
 


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 07 ต.ค.2006, 4:46 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 07 ต.ค.2006, 4:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

๙. พระวิธูรบัณฑิต


เบื้องต้นได้แสดงผลของการเล่นพนัน อันให้ผลไม่ดีแก่พระเจ้าธนญชัยโกรพ โดยที่แท้แล้วการพนันไม่ให้ผลแก่ใครเลย ล้วนแต่มีข้อเสียหายทั้งนั้น ในชาดกเรื่องต่างๆ ก็แสดงโทษของการพนันไว้มากมายหลายอย่าง แม้ในมหากาพย์มหาภารตยุทธ อันเป็นประวัติศาสตร์ของทุ่งกุรุเกษตร ก็ได้แสดงผลของการพนันไว้อย่างหาที่อื่นเทียบไม่ได้ รวมความแล้ว การพนันไม่ให้ผลดีแก่ใครเลย มีแต่ผลเสียมากกว่า ดังในเรื่องต่อไปนี้

พระเจ้าธนญชัยโกรพ ได้ครองราชสมบัติอยู่ในอินทปัตถ์นคร แคว้นกุรุราฐ วิธูรบัณฑิต เป็นอำมาตย์ที่ใกล้ชิดสนิทสนม และเป็นผู้สั่งสอนอรรถธรรมด้วย คำโบราณที่กล่าวไว้ว่า “ปากเป็นเอก เลขป็นโท หนังสือเป็นตรี ชั่วดีเป็นตรานั้น” เป็นจะไม่ผิดนัก เพราะวิทูรบัณฑิตผู้นี้มีปากเป็นเอกจริงๆ ในการสั่งสอนให้คนละชั่ว ประพฤติความดี เวลาที่เขาพูดชาวพระนครจะฟังด้วยความสงบและพอใจ

ก่อนจะเล่าเรื่องวิธูรต่อไป ขอย้อนไปถึงความเดิมเสียก่อนว่า มีฤาษี ๔ องค์ เดิมเป็นชาวบ้านธรรมดานี่แหละ แต่เพราะเบื่อบ้านเลยออกบวชเป็นฤาษี สำเร็จโลกียฌาน เหาะเหินเดินอากาศได้เสียด้วย ฤาษีทั้ง ๔ นี่เคยเป็นสหายกันมาตั้งแต่ยังไม่ได้ออกบวช ถึงบวชแล้วก็ยังเป็นสหายกันอยู่ ออกไปบำเพ็ญฌานอยู่ในป่าหิมพานต์ พอใกล้จะถึงหน้าฝน ฤาษีเหล่านั้นก็พากันเข้ามาจำพรรษา คือหลบฝนนั้นแหละในเมือง และก็บังเอิญเหลือเกินในเมืองนั้นมีคนร่ำรวย ๔ คนเป็นเพื่อนกัน เห็นฤาษีเหล่านั้นก็เกิดความเลื่อมใส ให้คนนิมนต์ไปพักยังสถานของตนคนละองค์ แล้งบำรุงด้วยข้าวน้ำเครื่องนุ่งห่มตามสมควร ดาบสทั้ง ๔ นั้น กลางวันก็ไปพักยังสถานที่ต่างๆ ตอนเย็นจึงกลับมารับนิมนต์ไว้

องค์หนึ่งกลางวันไปพักในดาวดึงส์เทวโลก
องค์หนึ่งกลางวันไปพักในเมืองบาดาล
องค์หนึ่งกลางวันในพิภพพญาครุฑ
องค์หนึ่งกลางวันไปพักในราชอุทยานของพระเจ้าธนญชัยโกรพ


เมื่อกลับมาแล้วก็พรรณาสมบัติของพระอินทร์ พญานาค พญาครุฑ และสมบัติของพระเจ้าธนญชัยโกรพ ให้คนรวยเหล่านั้นฟัง พวกเขาเหล่านั้นฟังแล้วก็เกิดอยากได้ ทำบุญแล้วก็ปรารถนาให้ได้สมบัตินั้นๆ ครั้นสิ้นชีพก็ได้ไปบังเกิดในสถานที่เหล่านั้น

คนหนึ่งได้ไปบังเกิดเป็นพระอินทร์ ในดาวดึงส์
คนหนึ่งได้ไปบังเกิดเป็นพญานาคอยู่ ณ นาคพิภพ
คนหนึ่งได้ไปบังเกิดเป็นพญาครุฑอยู่ ณ วิมานฉิมพลี
คนหนึ่งได้ไปบังเกิดเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าธนญชัยโกรพ มีนามว่า โกรพกุมาร


เมื่อโกรพกุมาร ได้ครองราชสมบัติก็ปฏิบัติตนอยู่ในโอวาทของวิทูรบัณฑิต แต่ทั้งๆ ท้าวเธอทรงศีลและปฏิบัติตามทศพิธราชธรรม ก็ยังปรากฏว่าพระองค์ชอบเล่นสกามากทีเดียว การทอดสกาของพระเจ้าโกรพ ไม่มีผู้ใดจะชนะได้เลย เพราะนางเทพธิดาตนหนึ่งได้พิทักษ์รักษาท้าวเธอ คอยกลับลูกสกาที่ทอดให้ได้แต้มดี โดยคนอื่นไม่รู้ไม่เห็นเลย

เมื่อถึงวันอุโบสถ ท้าวเธอก็สละราชสมบัติ ออกไปรักษาอุโบสถอยู่ในพระราชอุทยาน ถึงพระอินทร์ พญานาค และพญาครุฑ ก็มารักษาพระอุโบสถอยู่ด้วยกัน แต่ยังมิได้พบกัน เพราะต่างคนต่างก็นั่งอยู่ที่แห่งหนึ่ง ตอนเย็นออกจากที่นั่งเจริญสมาบัติจึงได้พบกัน พอพบกันด้วยวาสนาคบค้าชอบพอกันมาแต่ชาติปางก่อน จึงเป็นเหตุให้ชอบพอกัน ต่างก็สนทนาปราศรัยกัน จึงมีปัญหาเกิดขึ้นในระหว่างท้าวเธอทั้ง ๔ ว่า เราต่างคนก็ต่างละเคหะสถานออกมาถืออุโบสถอย่างนี้ ศีลของใครจะประเสริฐกว่ากัน

พระพญาวรุณนาคราชกล่าวขึ้นก่อนว่า “ของข้าพเจ้าสิประเสริฐกว่าของใคร”

“เพราะอะไรล่ะ ?”

“ข้าพเจ้าอดทน โทโส ได้ เพราะธรรมดานาคย่อมเป็นศัตรูทำลายล้างผลาญ เพราะฉะนั้นเมื่อข้าพเจ้าเป็นแทนที่จะโทโส ข้าพเจ้ากลับข่ม ความโกรธ เสียได้ จึงเห็นว่าศีลของข้าพเจ้านั้นแหละประเสริฐกว่าท่านทั้งสาม”

พญาครุฑจึงว่า “ศีลของข้าพเจ้าสิจึงจะประเสริฐกว่าของท่านทั้งหลาย”

“เพราะอะไรล่ะ ?”

“เพราะข้าพเจ้าอดกลั้น ความอยาก ไว้ได้ ตามธรรมดาแล้วนาคเป็นอาหารอันโอชาของข้าพเจ้า ถ้าพบทีไรหมายความว่านาคต้องจะต้องไปอยู่ในท้องข้าพเจ้า แต่เพราะข้าพเจ้ารักษาศีลจึงเป็นเหตุให้อดกลั้นต่อความอดอยาก ไม่ละเมิดองค์ศีล นี่แหละจึงเห็นว่าศีลของข้าพเจ้าดีกว่าศีลของท่านทั้งหลาย”

สมเด็จท้าวอมรินทร์ก็ตรัสขึ้นมาบ้างว่า “ข้าพเจ้าว่าศีลของข้าพเจ้าสิประเสริฐกว่าท่านทั้งหลาย”

“เพราะอะไร ?”

“เพราะข้าพเจ้าสละทรัพย์สมบัติทิพย์ อันประกอบด้วย กามคุณ อันได้แก่ ความสนุกสนานเพลิดเพลินเสียได้ ลงมารักษาอุโบสถ จึงเห็นได้ว่าศีลของข้าพเจ้าสิประเสริฐกว่าคนอื่น”

พระเจ้าโกรพก็ตรัสบ้าง “แต่ข้าพเจ้าว่าศีลของข้าพเจ้าประเสริฐกว่าของพวกท่าน”

“เพราะอะไร ?”

“ก็เพราะข้าพเจ้าได้ตรองเห็นโทษของ กามคุณ จึงได้สละออกมารักษาอุโบสถศีล ฉะนั้นข้าพเจ้ามารักษารักษาอุโบสถด้วยการพิจารณาเห็นคุณและโทษแล้ว จึงเห็นว่าศีลของข้าพเจ้าดีกว่าของคนอื่น”

ต่างคนก็ต่างสรรเสริญศีลของกันและกัน แต่ก็ยังไม่ยอมให้ใครดีกว่า

ขณะนั้นนั้นเอง ท้าวเธออมรินทราธิราชจึงตรัสถามพระเจ้าโกรพขึ้นว่า

“พระราชสมภารในแว่นแคว้นนี้ไปมีผู้เป็นนักปราชญ์บ้างหรือ”

“มีสิท่าน”

“ใครล่ะ ?”

“วิธูรบัณฑิตของข้าพเจ้าเอง”

“ถ้าอย่างนั้น พวกเราไปบ้านเจ้าวิทูรให้เขาตัดสินดีกว่า”

เมื่อเห็นพร้อมกันอย่างนั้น พระเจ้าโกรพก็พาพระอินทร์ พญานาค พญาครุฑ ไปยังสำนักเจ้าวิทูร เชื้อเชิญให้เจ้าวิทูรตัดสิน โดยตบแต่งที่นั่งให้ดีแล้วเชิญวิธูรขึ้นนั่ง พลางพระโกรพก็ตรัสเล่าเรื่องทั้งหมด ต่างรักษาอุโบสถ แต่ยังตกลงกันไม่ได้ว่าศีลของใครดีกว่ากันแน่ วิธูรบัณฑิตก็ให้ท้าวเธอทั้ง ๔ เล่าให้ฟัง เมื่อได้สดับฟังแล้วก็เห็นว่าคุณธรรมทั้ง ๔ นั้นเสมอกัน มิได้มีใครสูงต่ำกว่ากัน จึงตรัสว่า

“ขอเดชะ ศีลของพระองค์ทั้ง ๔ เสมอกัน มิได้สูงกว่ากัน”

ท้าวเธอทั้ง ๔ ได้สดับก็เกิดโสมนัสปีติยินดี

ท้าวอมรินทร์บูชาด้วย ผ้าวิเศษทุกุลพัสตร์ มีเนื้อละเอียดเหงื่อไคลไม่สามารถจะจับได้ พร้อมกับตรัสว่า “ผ้าทิพย์ผืนนี้ข้าพเจ้าขอบูชาธรรม”

พญาครุฑก็บูชาด้วย ดอกไม้ทอง
นาคก็บูชาด้วย แก้วคล้องอยู่ที่พระศอ
พระเจ้าโกรพทรงบูชาด้วย โคนมถึงพันตัว


แล้วต่างองค์ต่างก็กลับยังสถานที่อยู่ของตน พญานาคพอกลับลงไปถึงบาดาล วิมาลามเหสีเห็นแก้วที่ห้อยพระศอพญานาคหายไปก็ถามขึ้น พญานาคก็ตอบว่า ได้บูชาธรรมที่วิธูรบัณฑิตแสดงไปเสียแล้ว

วิมาลามเหสีก็อยากจะสดับธรรมบ้าง แต่เห็นว่าตนจะขึ้นไปฟังธรรมก็ไม่ได้ จะเอาวิธูรลงมาเทศน์ให้ฟังก็คงไม่มีทาง เพราะท้าววรุณนาคราชคงไม่อาจจะทำได้ เพราะเคารพเจ้าวิทูรมาก ทำอย่างไรจึงจะได้ฟังธรรม เห็นจะต้องใช้กลอุบาย ดังนั้นนางจึงทำเป็นป่วยไม่สบายไป เมื่อท้าววรุณนาคราชมาถาม ก็แกล้งทำเป็นอิดเอื้อนและแกล้งทำเป็นเฉยเสีย แล้วตอบว่า

“ขอเดชะ กระหม่อมฉันป่วยไข้ครั้งนี้ ถ้าไม่เห็นหัวใจเจ้าวิธูรมาแล้ว เห็นจะไม่มีชีวิตต่อไป แต่ว่าต้องได้มาโดยชอบธรรม คือเจ้าตัวยินดีจะให้ด้วย”

ท้าววรุณก็หนักใจจึงปรารภกับพระนางว่า

“น้อง เรื่องนี้เห็นจะยาก เพราะเจ้าวิธูรนั้นพระเจ้าแผ่นดินรักษากวดขันนัก เพียงแต่จะได้เห็นก็ยังยากอยู่ แล้วใครเลยจะสามารถไปเอาตัวเจ้าวิทูรมาได้ เห็นจะไม่สำเร็จเสียแล้ว”

เมื่อเห็นว่านางยังมีอาการเช่นเดิม ท้าวเธอก็กลัดกลุ้มกินไม่ได้นอนไม่หลับ ร่างกายซูบผอมผิดปกติไป อิรันทตีผู้เป็นราชธิดาเห็นจึงสอบถามได้ความว่า มารดาอยากได้หัวใจเจ้าวิธูร จึงทูลว่า

“ขอเดชะ หากพระราชบิดาไม่มีความสามารถแล้ว กระหม่อมฉันจะขอรับอาสาที่จะนำหัวใจเจ้าวิทูรมาให้พระมารดาให้ได้” พร้อมกับทูลลาไป ท้าววรุณนาคราชก็อวยพรให้ได้การให้ไปได้รับความสำเร็จกลับมา

อิรันทตีเมื่อออกจากวังแล้ว ก็แทรกน้ำขึ้นมายังเมืองมนุษย์โลก และเหาะไปยังเขากาลคีลี อันสูงถึง ๖๐ โยชน์ ครั้นถึงแล้วก็ตกแต่งชะง้อนหินแห่งหนึ่งด้วยดอกไม้หลายหลาก และตนเองประดับประดาเครื่องแต่งตัวอย่างงดงาม ยืนฟ้อนรำขับร้องอยู่ยังสถานที่นั้น

ข้อความขับร้องนั้นก็พรรณนาถึงความงามของนาง และความปรารถนาที่นางจะได้ดวงใจของเจ้าวิทูร มิว่าผู้ใดทำให้สำเร็จความประสงค์ของนางได้ นางจะมอบตัวให้เป็นคู่ครองของผู้นั้น

ในขณะนั้นเองยักษ์เสนาบดีของท้าวกุเวร หรือเรียกอย่างหนึ่งว่า ท้าวเวสสุวัณ อันมีนามว่า ปูณณกะ เผอิญขี่ม้าเหาะผ่านมาทางนั้น พอได้ยินเสียงนางก็รู้สึกเพราะจับจิตจับใจเหลือเกิน จึงเข้าไปสอบถาม เมื่อทราบความแล้วก็กล่าวว่า

“แม่อิรันทตี นี่เป็นเรื่องเล็กเหลือเกิน ข้าพเจ้าอาสาจะนำหัวใจเจ้าวิธูรมาให้แม่ให้ได้ และเมื่อนั้นก็จะขอตัวเจ้าเป็นคู่ครอง”

“ถ้าท่านทำได้อย่างปากว่า ข้าพเจ้าก็ยินดี” ปูณณกะยักษ์ขับม้าเข้ามาใกล้นาง พลางกล่าวชวนเชิญนางขึ้นหลังม้าเพื่อจะพานางไป แต่นางท้วงว่า

“หากท่านปฏิบัติงานสำเร็จ ได้ดวงใจเจ้าวิทูรมาให้มารดาแล้ว ข้าพเจ้ายินดีเป็นคู่ครองของท่าน แต่เวลานี้ต้องขอตัวก่อน”

“ถ้าอย่างนั้นอีก ๒ - ๓ วัน เราจะนำหัวใจเจ้าวิธูร มา”

“ขอให้ท่านจงโชคดีเถิด”

แล้วปุณณกะยักษ์ก็ขับม้ากลับไปยังสถานที่ของตน ปุณณกะยักษ์จะขาดเฝ้ามิได้ จึงคิดหาอุบายหลีกเลี่ยงไม่ต้องเฝ้าท้าวเวสสุวัณ พอดีวันนี้มีคดีระหว่าง ๒ ยักษ์เกิดขึ้น เรื่องถึงท้าวเวสสุวัณตัดสิน ปุณณกะยักษ์รู้ดีว่าถ้าไปลาเพื่อจะออกไปเอาหัวใจเจ้าวิทูร ก็จะไม่ได้รับอนุญาต

จึงไปแอบที่หลังของยักษ์ที่ชนะหมอบกราบอยู่ พอท้าวเวสสุวัณตรัสกับผู้ชนะว่า ไปได้ เป็นคำอนุญาติแล้วขึ้นมา คิดว่าจะไปจับตัวเจ้าวิธูร แล้วก็กลับมาคิดได้ว่าเจ้าวิทูรมีข้าทาสบริวารมากมาย เห็นจะไม่ได้ และเห็นกลอุบายอย่างหนึ่ง เพราะเขาทราบมาว่า พระเจ้าโกรพทรงติดสกางอมแงม ถ้าใครไปเล่นก็มีหวังจะแพ้ เพราะพระองค์ทอดแต้มลูกสกาได้อย่างกับมือผีพลิก

ก็จะอะไรเสียอีก มือผีพลิกจริงๆ ปุณณกะยักษ์เห็นชนะพระเจ้าโกรพได้ง่ายๆ ดังนั้นจึงเอาแก้วมณีชื่อมโนหรได้แล้ว ก็ควบม้าตรงไปยังอินทปัตย์

ครั้นมาถึงก็ตรงเข้าไปเฝ้า ท้าวเธอก็ตรัสถามเป็นเชิงสนทนา ปุณณกะยักษ์ก็ได้ตอบตามสมควรพร้อมกับกล่าวว่า

“ขอเดชะ ข้าพระองค์ได้ทราบข่าวว่าพระองค์เชี่ยวชาญทางสกานัก ข้าพระองค์จึงได้ดั้นด้นมา เพื่อจะดูแต้มสกาของพระองค์สักหน่อย”

พระเจ้าโกรพทรงพระสรวลด้วยความพระทัย พร้อมกับตรัสว่า

“เชื่ออะไรใครว่าเราเก่ง เราเดินได้เพียงเล็กน้อย เล่นแก้รำคาญล่ะมากกว่า”

“ข้าพระองค์อยากเห็นจริงๆ”

“ได้ แต่ท่านมีอะไรมาวางเป็นเดิมพันล่ะ”

ปุณณกะยักษ์ขยายเอาแก้วมโนหร ออกมา แสงสว่างก็รุ่งเรืองพราวพรายไปทั่วทั้งบริเวณ พร้อมกับทูลว่า

“ของเล็กน้อยเช่นนี้ พอจะเดิมพันได้หรือยัง”

“ได้ พอดีเสียอีกน่ะสิ”

“ม้าของท่านดีอย่างไร ?”

“ม้าของข้าพเจ้ามีความเร็วหาที่เปรียบมิได้ เพราะว่าความเร็วของมันก็เร็วกว่าลม ควรจะบอกว่าเร็วกว่าลมกลดพระเจ้าค่ะ” ถ้าเป็นสมัยนี้ล่ะก็ คงจะเร็วยิ่งกว่าจรวด หรือไอพ่นทุกชนิดรวมกันอีก

พระเจ้าโกสพจึงตรัสให้ทดลองให้ดู พระนครนั้นวัดวงกลมได้ ๑๒ โยชน์ ปุณณกะยักษ์จึงเอาผ้าแดงคาดเอวแล้วก็ขึ้นม้า พลางร้องทูลว่า

“ขอพระองค์ทอดพระเนตรความเร็ว” แล้วก็ขับควบออกไปบนกำแพงพระนคร สักครู่ก็แลไม่เห็นตัวม้าและคนขี่ เห็นแต่สีแดงพาดเป็นแผ่นเดียวกันตลอดรอบพระนคร เมื่อขับขี่พอสมควรแล้วก็ลงจากหลังม้า บอกให้ม้าโดดลงในสระ ม้าก็วิ่งลงไป แม้น้ำก็ไม่กระเพื่อม วิ่งไปแล้วก็ขึ้นมา บอกให้วิ่งแสดงตัวเบา ม้าก็โดดลงโผบนใบบัวนิ่ง อยู่บนใบบัวก็ไม่จมน้ำ

พระเจ้าโกรพจึงตรัสกับปุณณกะยักษ์

“ความเร็วและความวิเศษของม้าเราได้เห็นแล้ว ทีนี้ความดีของแก้วล่ะ”

“ขอเชิญพระองค์ทอดพระเนตร ทรงนึกว่าดูอะไรก็โปรดนึก แล้วจะทอดพระเนตรเห็นจริง”

แล้วก็แลดูไปก็เห็นจริงตามมาณพว่า แม้ในนรก สวรรค์ก็เห็นได้ดังใจนึก เมื่อพระเจ้าโกรพทอดพระเนตร

“วิเศษจริงๆ”

“ข้าพระองค์เอาแก้วกับเอาม้าตัวนี้เป็นเดิมพันของการพนันสกา” แล้วทูลต่อไปว่า

“แล้วพระองค์เอาอะไรเป็นเดิมพัน”

“มาณพ ถ้าเราแพ้แก่ท่านเราจะยกราชสมบัติและแผ่นดินทั้งปวงที่เราครองให้แก่ท่าน ยกเว้นเรา เศวตฉัตร และอัครมเหสีเท่านั้น”

“ถ้าอย่างนั้นก็เป็นอันตกลง ขอพระองค์ได้โปรดจัดสถานที่ๆ จะเล่นเถิด”

พระโกรพก็สั่งให้จัดที่ เมื่อประจำที่ พระเจ้าธนญชัยโกรพก็ตรัสให้ปุณณกะยักษ์ ให้ท้าวเธอทอดก่อน เพราะท้าวเธอถือแต้มลูกบาศสูงกว่า ท้าวเธอก็เริ่มขับมนต์สรรเสริญมารดาและขอให้นางผู้เป็นมารดร ซึ่งเป็นอารักขเทพมาช่วยพลิกลูกสกาให้มีแต้มดีชนะแก่ปุณณกะยักษ์ แล้วก็ทอดไป ด้วยอภินิหารของปุณณกะยักษ์ บังคับให้ออกแต้มไม่ดีแต่ยังไม่ตกถึงพื้น พระเจ้าธนญชัยโกรพทรงมองเห็นลางแพ้ ก็รีบรับลูกบาศก่อนจะตกถึงพื้น แล้วทอดลูกใหม่ ลูกบาศก็แต้มอย่างเดิมอีก

พระองค์ก็รับไว้อีก เป็นอย่างนี้ถึง ๓ ครั้ง ปุณณกะยักษ์ชักเอะใจ เออ กษัตริย์องค์นี้ช่างว่องไวหนักหนา เราบังคับลูกบาศเพื่อจะให้แพ้ แต่ท้าวเธอก็รับไว้เสียก่อนตกพื้นถึง ๓ ครั้ง คงจะมีอะไรเกิดขึ้นเป็นแน่ จึงเล็งแลเห็นนางเทพธิดามาคอยช่วงรับลูกบาศ จึงถลึงตาเป็นเชิงโกรธ

นางเทพธิดานั้นเห็นปุณณกะยักษ์ถลึงตาใส่ก็กลัว เพราะอานุภาพของปุณณกะยักษ์นั้นไม่ใช่น้อย เป็นถึงยักษ์เสนาบดี มีมหิทธานุภาพมากมายนัก จึงหลบหนีออกไปจากสถานที่แห่งนั้นอย่างอกสั่นขวัญแขวนทีเดียว ไปถึงขอบจักรวาลแล้วก็ยืนหอบหายใจ ใจเต้นเป็นตีกลองอยู่นั้นเหละ เออ น่ากลัวจริงๆ

เมื่อปุณณกะกำจัดให้เทพธิดาหนีไปได้แล้ว เมื่อท้าวเธอทอดลูกบาศออกไป แม้จะมองเห็นว่าเมื่อตกถึงพื้นจะต้องแพ้เพราะแต้มไม่ดี ท้าวเธอก็ไม่สามารถจะรับลูกบาศไว้ได้ ต้องปล่อยให้ตกพื้น ผลก็คือแต้มแพ้

ถ้าพูดอย่างนักเลงลูกเต๋า ในฐานะที่พระเจ้าธนญชัยโกรพทอดก่อนก็เป็นเจ้ามือ และแทนที่จะเป้า คือมีแต้มเดียวกันทั้ง ๓ หรือ ๔ - ๕ - ๖ ซึ่งเรียกว่าโง่วลัก อันเป็นแต้มที่ต้องกินลูกค้าทั้งหมด กลับเป็น ๑ - ๒ - ๓ ซึ่งเรียกว่าหัก อันเป็นแต้มที่จ่ายรอบวง

นี่ก็เช่นเดียวกัน พอทอดก็ตกเป็นแต้มที่ต้องจ่าย โดยอีกฝ่ายไม่ต้องทอดเลย เป็นอันว่าท้าวเธอแพ้โดยที่จะต้องจ่ายราชสมบัติพร้อมทั้งประเทศให้แก่ฝ่านชนะ คือปุณณกะยักษ์

เมื่อเป็นเช่นนั้นฝ่ายผู้ชนะคือปุณณกะยักษ์ก็เรียกร้องค่าเดิมพัน

“ทรัพย์สินเงินทองและช้างม้าวัวควาย ตลอดจนข้าทาสทั้งหลายข้าพเจ้าไม่ต้องการ ยินดียกให้พระองค์ทั้งหมด แต่ข้าพระองค์จะขอเพียงเจ้าวิทูรคนเดียวเท่านั้น”

“เห็นจะต้องขัดข้องเสียแล้วกระมัง”

“เพราะอะไร ?”

“เพราะวิทูรบัณฑิตมิใช่สมบัติของข้าพเจ้าๆ ไม่อาจจะให้ได้ นอกจากนี้ท่านปรารถนาอะไรเอาไปเถอะ”

“ไม่ได้ ข้าพระองค์ปรารถนาเพียงเจ้าวิธูรเท่านั้น”

“เราก็บอกท่านแล้วว่า วิธูรบัณฑิตผู้อาจารย์ของเรานั้น ไม่ใช่สมบัติของเราที่จะยกให้ใครได้”

“พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า สมบัติในแผ่นดินเว้นจากพระองค์และพระมเหสี และเศวตฉัตรแล้ว พระองค์จะยอมยกให้ทุกอย่าง”

“จริงอย่างนั้น แต่ท่านวิทูรนั้นเหมือนตัวเรา และหัวใจของเราๆ จึงยอมให้ไม่ใด้”

“ถ้าอย่างนั้นกระหม่อมฉันเห็นว่า ต้องให้วิธูรบัณฑิตเป็นผู้ตัดสินว่าควรจะเป็นประการใด”

เรื่องก็เป็นอันตกลงว่า ต้องให้วิธูรบัณฑิตเป็นผู้ตัดสินว่าควรเป็นประการใด จึงรับสั่งให้ไปตามเจ้าวิทูรมา เมื่อเจ้าวิธูรมาแล้ว จึงตรัสเล่าความให้ฟัง และปุณณกะยักษ์ได้กล่าวเสริมว่า

“เจ้าบัณฑิต เราได้ยินข่าวลือว่าเจ้าเป็นบัณฑิตทรงตรงไว้ซึ่งธรรมสุจริต เพราะฉะนั้นเจ้าบอกเราได้หรือไม่ว่า เจ้านั้นเสมอพระมหากษัตริย์หรือเป็นเพียงข้าทาสของพระองค์เท่านั้น”

วิธูรบัณฑิตได้ยินเช่นนั้นก็ดำริว่า

“หากว่าเราจะกล่าวว่าเป็นญาติของพระเจ้าแผ่นดิน มาณพนี้จะเชื่อหรือ หากจะพูดว่าเป็นผู้ยิ่งกว่าพระเจ้าแผ่นดินก็จะได้ แต่ความจริงเราเป็นผู้ได้รับการเลี้ยงดูจากพระเจ้าแผ่นดิน เพราะฉะนั้นพระองค์เป็นเจ้านายเรา เราเป็นทาสของพระองค์ ถึงเราจะเป็นอย่างไรเราก็จะไม่พูดปดมดเท็ดเป็นอันขาด”

จึงบอกว่า

“มาณพ ข้าพเจ้าจึงเป็นทาสของพระราชา หาใช่จะเสมอกับพระเจ้าแผ่นดินไม่”

ปุณณกะยักษ์ตบมือดังสนั่น พลางพูดว่า

“วันนี้เราชนะพระราชาถึง ๒ ครั้ง ครั้งเเรกด้วยการทอดบาสสกาพนัน ครั้งที่สองด้วยการตัดสินของเจ้าวิทูร ดังนี้จะเห็นได้ว่าพระเจ้าแผ่นดินทำไมจึงจะหน่วงเหนี่ยวไม่ยอมให้เจ้าวิธูรไปกับเรา”

พระเจ้าธนญชัยโกรพทรงกริ้วเจ้าวิธูรอยู่แล้ว ที่เห็นว่ามาณพดีกว่าพระองค์ จึงได้พูดจาเอนเอียงไปทางมาณพ จึงตรัสกับปุณณกะยักษ์ว่า

“เมื่อเจ้าปราชญ์เขาปฎิญาณตนว่าเป็นทาสเรา เราก็ยินดีจะมอบให้กับท่านตามประสงค์ แล้วแต่ท่านจะจัดการเอาเถิด แต่ว่าเมื่อเจ้าปราชญ์ไปแล้ว เมื่อใดเราจะได้ฟังเทศนาอันไพเราะอีกเล่า ขอเจ้าปราชญ์จงแสดงธรรมสั่งสอนคนที่ครองเรือนเป็นครั้งสุดท้ายเถิด”

เจ้าวิธูรก็รับคำ พระองค์จึงให้จัดที่นั่งแสดงธรรมอันควร แล้วก็เจ้าวิทูรนั่งบนที่นั่ง ให้โอวาทแก่พระองค์

ครั้นจบแล้ว ปุณณกะยักษ์ก็ชักชวนให้เจ้าวิธูรออกเดินทางไปด้วยกัน แต่วิธูรขอทุเลาก่อน ๔ วัน เพื่อไปจัดการอะไรให้เรียบร้อยเสียก่อน ปุณณกะยักษ์ก็ยินยอม

ในระยะ ๓ วันนั้น วิทูรจัดสถานที่ให้ปุณณกะยักษ์อาศัยพักผ่อนเป็นอันดี ยามราตรีก็มีดนตรีมาขับกล่อมประโคม ถึงเวลาโภชนาอาหารก็บำรุงบำเรอเป็นอย่างดี แล้ววิทูรก็ลาภารยา และบุตรและสะใภ้ ตลอดจนข้าทาสบริวานทั้งหลายเพื่อออกเดินทางไปกับมาณพ และก็ให้โอวาทแก่คนเหล่านั้น เพื่อปฏิบัติชอบกับพระเจ้าแผ่นดิน

เมื่อครบ ๓ วันแล้ว ก็ไปถวายบังคมลาพระเจ้าโกรพ ตลอดจนมหาชนชาวพระนคร แล้วก็ออกเดินทางไปกับปุถณณกะยักษ์ ปุณณกะยักษ์ปรารถนาจะได้หัวใจเจ้าวิธูรอย่างเดียวเท่านั้น จึงบอกกับวิทูรว่า

“เจ้าไม่มีทางจะได้กลับมายังเมืองมนุษย์อีกแล้ว เพราะฉะนั้นเจ้าจงจับหางม้าของเราไว้ให้มั่นอย่าได้ตกใจกลัว เราจะรีบขับม้าไป”

ปุณณกะยักษ์คิดจะขี่ม้าไปในภูเขาและป่าไม้ เพื่อจะให้ร่างของพระวิธูรกระแทกกับภูเขาหรือต้นไม้จะได้ตายไป ตนจะได้เอาหัวใจไปถวายพญาวรุณนาคราช แต่จะขับม้าแทรกไปในที่แห่งใดก็ตาม ที่เหล่านั้นก็แหวกเป็นช่องไปไม่กระทบกายของพระวิธูรเลย เพราะอำนาจศีลสัตย์ที่พระวิธูรได้รักษานั้นเอง

เมื่อเห็นว่าภูเขาและต้นไม้ไม่กระทบร่างกายเจ้าวิทูรแน่แล้ว ก็คิดจะฆ่าด้วยลมกรด เพราะธรรมดาลมนี้พัดผ่านถูกใครเข้าแล้ว ผู้นั้นจะต้องกระจัดกระจายไปด้วยอำนาจลม แต่นี่ลมก็แยกออกเป็น ๒ ภาค ไม่ถูกกายของพระวิธูรอีก แม้จะขับม้าไปกลับมตั้ง ๒ - ๓ เที่ยว ก็ไม่สามารถจะให้พระวิทูรตายได้ เหลียวหลังกลับมาดู ก็เห็นเจ้าวิทูรหน้าตาผ่องใส เกาะหางม้ามั่นคงอยู่ เห็นว่าพระวิทูรไม่ตายด้วยลมกรดแล้ว ก็ชักม้ามายังภูเขาให้เจ้าวิทูรนั่งบนยอดเขา คิดแต่จะให้ตายให้ได้ มิฉะนั้นความรักของเราก็ไม่สำเร็จ แต่จะฆ่าด้วยมือตัวเองก็มิได้

เมื่อเห็นพระวิธูรนั่งเรียบร้อยดีแล้ว ตัวเองก็เนรมิตเป็นยักษ์ใหญ่ปานภูเขาหิมพานต์ ร้องตวาดเสียงดังฟ้าลั่น ตาแดงดุจแสงพระอาทิตย์ ผลักเจ้าวิธูรให้นอนหงาย แล้วจับใส่เข้าปากทำเหมือนจะเคี้ยวเสียให้ตาย แต่เจ้าวิธูรก็มิได้กลัว เพราะปลงตกเสียแล้ว ตามแต่เขาจะทำประการใดก็ช่าง เพราะฉะนั้นถึงจะมีอะไรเกิดขึ้น พระวิธูรก็ไม่กลัว จะทำอย่างไรก็เฉยเหมือนไม่มีชีวิตจิตใจ

ปุณณกะยักษ์จะแปลงกายอย่างไร เพื่อให้ตกใจกลัวก็ไม่สำเร็จ เลยบันดาลด้วยฤทธิ์เป็นลมมีกำลังแรงเ พื่อจะพัดเจ้าวิธูรให้ตกจากยอดเขาถึงแก่ความตาย แต่ก็ไม่สามารถจะพัดให้เจ้าวิธูรให้ตกไปได้ จึงแทรกกายไปในภูเขาโผล่มาขึ้นมาคว้าเจ้าวิทูรได้ ก็ขว้างไปด้วยกำลังไกลถึง ๑๕ โยชน์ เจ้าวิทูรก็ไม่ตายอีก ก็คิดจะฟาดกับภูเขาให้ถึงแก่ความตาย

เป็นอันว่าความคิดของปุณณกะยักษ์ ที่คิดจะให้เจ้าวิธูรตายเองนั้นไม่สำเร็จ จึงคิดจะฆ่าด้วยมือของตัวเองล่ะ

พระวิทูรคิดว่า เออ...มาณพนั้นช่างกระไรโหดเหี้ยมเหลือประมาณ ดูว่ามีความต้องการจะฆ่าเราเสียจริงๆ จำเราจะต้องถามดูให้รู้เหตุ จึงถามว่า

“มาณพ ท่านนี้มีนามใด เป็นพวกพ้องของยักษ์ตนใด จึงมีใจโหดเหี้ยมเหลือประมาณ”

“เราชื่อปุณณกะยักษ์ เป็นหลานและอำมาตย์ของท้าวเวสสุวัณ”

“ทำไมท่านจึงพยายามฆ่าเรา”

“เพราะเราอยากได้นางอินทตี ธิดาของพญาวรุณนาคราช”

“นางอยากฆ่าเราให้ตายนักรึ ท่านถึงได้พยายามเป็นนักหนาที่จะฆ่าเรา”

“นางก็ไม่ได้บอกว่าให้เราฆ่าท่าน แต่นางว่าถ้าใครรับอาสาไปนำเอาหัวใจเจ้าวิทูรบัณฑิตมาถวายพระวิมาลาชนนีของนางได้ นางยินดีจะมอบกายและใจให้กับผู้นั้น เราพยายามที่จะทำให้ท่านตาย เพื่อจะนำเอาหัวใจของทานไปถวายพระวิมาลาชนนีของอินทตี”

พอได้ยินเท่านั้น เจ้าวิธูรก็คาดคะแนความได้ตลอดว่า เพราะนางวิมาลาต้องการจะได้สดับธรรมจากเรา จึงได้บอกกันพญาวรุณนาคราช ซึ่งก็นึกไม่ถึงว่านางอยากจะฟังธรรม กลับคิดว่านางอยากได้หัวใจเรา ธรรมดานักปราชญ์คำสั่งสอนนั้นแหละเป็นหัวใจล่ะ เราต้องทรมานปุณณกะยักษ์ให้เสื่อมความร้ายกาจเสียก่อน จะสั่งสอนภายหลัง เมื่อคิดได้ดังนี้จึงกล่าวว่า

“ท่านปุณณกะยักษ์ ท่านวางเราเสียก่อนเถิด แล้วค่อยฆ่าทีหลัง”

ปุณณกะยักษ์คิดว่า เจ้าปราชญ์คงจะยังมิได้ให้โอวาทเป็นครั้งสุดท้าย จึงวางเพื่อจะฟังโอวาทครั้งสุดท้าย พร้อมกับกล่าวว่า

“ท่านจงกล่าวโอวาทครั้งสุดท้ายเสียเถิด ข้าพเจ้าจะได้รีบไป”

“เรามีร่างกายที่หมักหมมสกปรก ไม่ควรจะกล่าวธรรม”

ปุณณกะยักษ์กก็รีบไปเอาน้ำหอมมาจากโสรถ สรงองค์พระวิธูร และให้เสวยโภชนาอันอร่อย ครั้นเสวยแล้ว ปุณณกะยักษ์ก็จัดแจงที่แสดงโอวาทอันสมควร พระวิธูรก็แสดงสาธุนรธรรมให้ฟัง สาธุนรธรรมหมายความว่า ธรรมที่ทำให้คนดี ๔ ประการ

ข้อ ๑ ให้เดินตามบุคคลผู้เดินก่อน
ข้อ ๒ อย่าเผามือที่ชุ่ม
ข้อ ๓ อย่าประทุษร้ายมิตร
ข้อ ๔ อย่าลุอำนาจแก่บุคคลผู้ประกอบด้วยกาม


ปุณณกะยักษ์ฟังแล้วไม่เข้าใจ จึงสอบถาม พระวิธูรจึงแสดงชี้แจงข้อความว่า

ข้อ ๑ ที่ว่าให้เดินตามบุคคลผู้ก่อนนั้น คือผู้ใดมีคุณแก่ตน ก็พยายามตอบแทนผู้นั้น

ข้อ ๒ ที่ว่าอย่าเผามือชุ่มนั้น คือตนได้อาศัยในเรือนท่านผู้ใดด้วยกัน ไม่ประทุษร้ายท่านนั้น

ข้อ ๓ ที่ว่าอย่าประทุษร้ายมิตรนั้น คือท่านผู้ใดมีคุณแก่ตน พึงคิดตอบแทนให้จนได้ ไม่คิดมุ่งร้ายเลย

ข้อ ๔ ที่ว่าอย่าลุอำนาจแก่ผู้ประกอบด้วยกามนั้น คืออย่าลุ่มหลงสตรี ทำความชั่ว


ท่านฟังแล้วจงตั้งอยู่ในธรรมทั้ง ๔ ข้อนี้เถิด

ปุณณกะยักษ์ฟังแล้วก็สลดใจ เพราะตนประพฤติผิดมาหมดทั้ง ๔ ข้อตั้งแต่ต้น เริ่มต้นได้รับการต้อนรับเลี้ยงดูจากเจ้าวิธูร และตนก็ได้ประพฤติผิดเรื่อยมาจนกระทั่งคิดฆ่าด้วยฝีมือตนเอง ยิ่งคิดไปก็ยิ่งละอายตนเอง เราเป็นถึงเสนาบดี และหลานของท้าวเวสสุวัณผู้โลกบาล มาหลงงมงายกับคิดฆ่าผู้อื่น ผิดวิสัยชายเสียจริง ถ้าเราไม่ได้ฟังโอวาทของเจ้าวิธูรก็คงจะทำชั่วมากขึ้นอีก เขาตัดสินใจเลย ได้เสียหรือมิได้ช่างมัน แต่เราจะไม่ยอมเสียเกียรติของผู้ชายอีกล่ะ เราจะไม่ยอมทำชั่วเพราะผู้หญิงอีก

ถ้าคนสมัยนี้คิดได้อย่างเจ้าปุณณกะยักษ์ บ้านเมืองเราก็จะมีแต่ความสงบร่มเย็น นี่เอาแต่

“อยู่มาหมู่เข้าเฝ้า ก็หาเยาวนารี
ที่หน้าตาดีๆ ทำมโหรีที่เคหา
ค่ำเช้าเฝ้าสีซอ เข้าแต่หอล่อกามา”


มันก็เลยไม่ดีไปกว่าเจ้าปุณณกะยักษ์ เมื่อคิดได้เช่นนั้น เขาจึงกล่าวกับเจ้าวิธูรว่า

“เจ้าปราชญ์ เจ้าเทศนาได้ไพเราะมาก เราเลื่อมใสเจ้าเหลือประมาณ ชีวิตของเจ้าเราคืนให้ และยินดีจะไปส่งเจ้ายังสำนักด้วย”

“ท่านอย่าเพิ่งพาเรากลับไปส่งเลย เพราะพญาวรุณนาคราชและนางวิมาลายังต้องการตัวเราอยู่ ควรพาเราลงไปบาดาลเสียก่อน แล้วค่อยพาเรากลับ”

“ถ้าท่านประสงค์อย่างนั้นก็ได้ เมื่อลงไปในบาดาลแล้วหากอันตรายเกิดกับท่าน ต้องข้ามศพปุณณกะยักษ์ไปเสียก่อน”

เมื่อได้ตกลงกันแล้ว ก็ให้เจ้าวิธูรขึ้นขี่ม้าตัวเดียวกัน แต่นั่งข้างหลัง เพื่อมิให้พญานาคราชแลเห็นเจ้าวิธูร พญาวรุณนาคราช เมื่อแลเห็นปุณณกะยักษ์พาพระวิธูรมาเฝ้า ก็ตรัสว่า

“พ่อปุณณกะ ได้หัวใจเจ้าวิธูรมาแล้วหรือ”

แต่ปุณณกะยักษ์กลับตอบอย่างไม่ตรงคำถามเลยว่า

“เจ้าปราชญ์วิธูร ข้าพเจ้าได้ตัวมาแล้วโดยชอบธรรม ขอเชิญทอดพระเนตรและสดับโอวาทของเจ้าวิธูรเถิด”

“เจ้าปราชญ์ เจ้าลงมานาคพิภพน่ะ ไม่ถวายบังคมเรา เจ้าไม่กลัวเราหรือไง”

“ขอเดชะ พระองค์อย่าได้ตรัสดังนั้น เดี๋ยวนี้กระหม่อมฉันเป็นนักโทษของผู้อื่นอยู่ จะถวายบังคมพระองค์ได้อย่างไร และอีกประการหนึ่งนักโทษประหารชีวิตนั้น จะต้องการไหว้ใครเพื่อประโยชน์อะไร ตัวหม่อมฉันนี้ ปุณณกะจะให้ฆ่าเอาหัวใจแล้ว จะถวายบังคมพระองค์ทำไม”

“เออ จริงสินะ จริงของเจ้าปราชญ์ข้ายอมรับ”

“สมบัติของพระองค์ในบาดาล ดูสมบูรณ์พูนสุขเหลือขนาด เพราะพระองค์สร้างสมขึ้นมาหรืออย่างไร”

“ไม่ใช่ดอกเจ้าปราชญ์ สมบัติเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นด้วยบุญทั้งนั้น เราและเมียเราแต่ก่อนเคยเกิดเป็นคนอยู่ในเมืองกาลจัมปา เรามีศรัทธาได้ให้ทานแก่คนยาจก สมณชีพราหมณ์เรื่อยมา เราจุติจากนั้นแล้วก็ได้มาเสวยราชสมบัติในนาคพิภพนี้”

“เมื่อท่านให้ทานได้ผลเช่นนี้ ทำไมท่านไม่ให้ทานต่อไปอีกเล่า”

“ก็เพราะในเมืองนาคของเรา ยาจกวณพก และสมณชีพราหมณ์มิได้มี อย่างไรดีจึงจะให้ทานได้ล่ะ”

“แม้มิให้ในวัตถุ แต่พระองค์ตั้งจิตเมตตาแก่นาคราชทั้งหลาย ใกล้ไกลหาประมาณมิได้ พยายามแผ่เมตตาให้เขาเหล่านั้น พระองค์ก็จะได้ชื่อว่าให้ทานอย่างหนึ่งเหมือนกัน”

ได้ฟังธรรมอันแสนสบายแล้ว พระองค์ก็ส่งเจ้าวิธูรเข้าไปเทศนาสั่งสอนนางวิมาลามเหสี พระนางวิมาลาได้สดับธรรมสมความตั้งใจ ก็เกิดปีติยินดี ให้เจ้าปุณณกะยักษ์พาไปส่งยังพระเจ้าโกรพ พร้อมกับพระราชทานนางอิรันทตี ให้เจ้าปุณณกะยักษ์พานางไปด้วย ปุณณกะยักษ์ก็พานางอิรันทตีกับพระวิธูร ขึ้นมายังเมืองมนุษย์โลก โดยให้นั่งมาข้างหน้า ตนนั่งกลาง และนางอิรันทตีนั่งหลัง พาเหาะมาโดยทางอากาศ พอมาถึง ก็กำบังกายตนเองและนางอิรันทตีมิให้ใครเห็น ส่งเจ้าวิธูรลงหน้าโรงศาลา แล้วก็พานางอิรันทรตีไปยังเทวโลก

พระเจ้าโกรพได้ทอดพระเนตรเห็นพระวิทูรกลับมาได้ ก็ดีพระทัย ถามรู้ความตลอดแล้ว ก็เกิดปรีดาปราโมทย์เป็นอย่างยิ่ง จึงรับสั่งให้มีการฉลองเจ้าวิทูรเป็นเวลานานถึง ๑ เดือน และนับแต่นั้นมาบ้านเมืองก็อยู่สุขสบายตลอดมา พระราชาก็เลิกการพนันได้เด็ดขาด

เรื่องนี้ก็เป็นอันจบลงเพียงเท่านี้ แต่เราได้อะไรจากเรื่องนี้ ปัญญาของเจ้าวิธูร ในการสั่งสอนอรรถธรรมทำให้ตนรอดพ้นจากความตาย ได้รับความเลื่อมใสนับถือจากทุกคนทุกหมู่ทุกเหล่า ความเมตตาในดวงจิตของเจ้าวิธูร ทำให้มีหน้าตาผ่องใส ปราศจากความกริ้วโกรธ เป็นเหตุให้ผู้อื่นเมตตาตนด้วย การพนันเป็นเหตุแห่งหายนะ คือความเสื่อมในทุกๆ ทาง ผู้หญิงเป็นบ่อเกิดแห่งความชั่วได้ทั้งมวล ถ้าไม่มีศีลธรรมประจำใจ เพียงเท่านี้ก็พอจะเป็นเครื่องบำรุงปัญญาของท่านได้



>>>>> จบ >>>>>


ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้
 


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 07 ต.ค.2006, 4:47 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 07 ต.ค.2006, 4:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

๑๐. พระเวสสันดร


เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ ๑๐ สุดท้ายของพระเจ้าสิบชาติ

เป็นเรื่องที่มีผู้รู้จักกันมาก เพราะตั้งแต่โบราณกาลมาทีเดียว ที่การเทศน์ที่เรียกกันว่า มหาชาติ ๑๓ กัณฑ์ ซึ่งแต่งเป็นร่ายยาวด้วยท่วงทำนองอันเพราะพริ้ง และแต่ละกัณฑ์ทำนองไม่เหมือนกันเลย ซึ่งนักเทศมหาชาติ ทั้งหลายจะรู้จักกันดี มิใช่แต่เท่านั้น สมัยพระบรมโกศากษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยา ก็ได้แต่งมหาคำหลวง อันประกอบไปด้วยร่ายและโคลงเป็นทำนองสำหรับสวดให้ผู้ที่มาจำอุโบสถศีลฟัง ในโรงเรียนก็ใช้มหาชาติเป็นหนังสือเรียน ทั้งกลอนเทศน์และคำหลวง แต่ก็เฉพาะบางกัณฑ์เท่านั้น

ผู้ที่นิยมนับถือ เรื่องเวสสันดรกันมากนี้ เพราะมีเรื่องจากหนังสือฎีกามาลัยกล่าวไว้ว่า หากผู้ใดได้ฟังมหาชาติทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ในวันเดียวและบูชาธูปเทียนดอกไม้ ๑,๐๐๐ เท่าจำนวนคาถานั้นแล้ว จะได้พบศาสนาพระศรีอาริย์ และศาสนาพระศรีอารีย์นั้นพรรณนาไว้อย่างวิเศษ เป็นต้นว่าผู้หญิงงดงามเสมอกันหมด จนกระทั่งลงจากเรือนแล้วจำกันไม่ได้ แม่น้ำลำคลองจะมีน้ำไหลขึ้นมาข้างหนึ่ง และไหลลงข้างหนึ่ง จึงทำให้เปี่ยมฝั่งอยู่เสมอ แผ่นดินก็ไม่เป็นหลุมเป็นบ่อเรียบเป็นหน้ากลอง และอะไรอีกมากมาย เลยทำให้คนอยากพบศาสนาพระศรีอารีย์กันมาก

พากเราๆ ถ้าอยากจะพบบ้างก็ไม่ยาก ฟังนิทานพระเจ้าสิบชาติให้จบในวันเดียว ตั้งใจให้ดีเหมือนในเรื่องนิทานแล้วก็จะได้พบศาสนาพระศรีอาริย์ฯ ทีนี้จะเริ่มเล่าเรื่องของเวสสันดรล่ะนะ

ในสมัยก่อนมีกษัตริย์พระองค์หนึ่ง พระนามว่า สีพีราช เสวยราชสมบัติในกรุงสีพีราชบุรี มีพระโอรสพระองค์หนึ่งนามว่า สญชัย และให้ครองราชสมบัติเมื่อมีอายุสมควรแล้วได้อภิเษกกับ พระนางผุสดี ราชธิดากษัตริย์มัททราช

เรื่องของพระนางผุสดีนั้นก็เรื่องออกจะยืดยาว โดยกล่าวว่าเมื่อพระวิปัสสีพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกแล้ว พระเจ้าพันธุมราชเสวยราชสมบัติอยู่ในพันธุมดีนคร มีเมืองขึ้นส่งดอกไม้ทอง และแก่นจันทร์มาถวายเป็นเครื่องบรรณการ พระองค์ก็ทรงพระราชทานดอกไม้ทองให้แก่ราชธิดาผู้น้อง ส่วนแก่นจันทร์แดงให้แก่ราชธิดาผู้พี่

ราชธิดาทั้งสองนั้นเลื่อมใสในพุทธศาสนา ผู้น้องก็เอาดอกไม้ทองให้ช่างทำเป็นเครื่องประดับอก ซึ่งสมัยนี้ก็อาจจะทำเป็นจี้ห้อยคอก็เป็นได้ แล้วนำไปถวายพระวิปัสสีพุทธเจ้า พร้อมกับตั้งปรารถนาไว้ “เกิดชาติหน้าฉันใด เมื่อข้าเกิดในชาติใดขอให้ดอกไม้ทองนี้จงบังเกิดแก่ข้าพเจ้าทุกชาติ”

ส่วนราชธิดาผู้พี่นั้น ให้เขาบดจันทร์แดงเป็นผง แล้วนำไปถวายพระวิปัสสีพุทธเจ้า พร้อมกับตั้งความปรารถนาว่า “หากข้าพเจ้าเกิดในชาติใดๆ ขอให้ได้เป็นมารดาของพระพุทธเจ้าเถิด”

ทั้งสองได้จุติจากชาตินั้น ผู้น้องได้ไปเกิดเป็นราชธิดาของพระเจ้ากิงกิสราช มีเครื่องประดับอกเกิดพร้อมกับปฎิสนธิ เมื่อเจริญวัยได้ฟังเทศน์ของพระกัสสปพุทธเจ้าก็สำเร็จอรหันต์นิพพานในสมัยกาลนั้น ส่วนนางราชธิดาผู้พี่ ก็ได้มาเกิดเป็นราชธิดาของพระเจ้ากิงกิสราชเหมือนกัน แต่ต่างมารดา จุติจากชาตินั้นแล้วก็ไปบังเกิดในดาวส์ดึงสวรรค์ เป็นมเหสีของท้าวอมรินทราธิราช ทรงพระนามว่า ผุสดี

อยู่มาจนกระทั่ง วันหนึ่งท้าวอมรินทราราชได้เห็นว่าพระนางจะจุติลงไปแล้ว จึงพานางลงไปยังสวนนันทวัน เพื่อให้รื่นเริงไม่ระลึกถึงอะไร พอได้โอกาสก็ตรัสว่า “เจ้าจงไปเกิดในเมืองมนุษย์โลกแล้ว เราจะให้พรเจ้า ๑๐ ประการ”

“ทำไมกระหม่อมฉันจะต้องลงไปเกิดในมนุษย์โลก”

“เพราะว่าเจ้าสิ้นบุญของน้องที่จะอยู่ที่นี่แล้ว จงรับเอาพร ๑๐ ประการเถิด”

เมื่อนางได้สดับก็คิดสลดใจ และได้ขอพรแก่ท้าวสหัสนัยดังนี้

๑. ขอให้ไปเกิดในปราสาทเมืองมัทราช

๒. ขอให้ตาข้าพเจ้าดำขลับดุจเนื้อทราย

๓. ขอให้ขนคิ้วข้าพเจ้าเขียวขำ เปรียบดุจสร้อยคอนกยูง

๔ .ขอให้ได้นามว่า ผุสดีเหมือนเดิม

๕. ขอให้มีโอรสที่ยิ่งใหญ่กว่าเจ้าพระยาทั้งหลายในสากลชมภูทวีป

๖. เมื่อทรงครรถ์อย่าให้ครรภ์ข้านูนเหมือนหญิงสามัญให้คงปกติราบเรียบเหมือนก่อน

๗. ถันของข้าพระองค์ยามเมื่อมีโอรสอย่าได้หย่อนยานและดำผิดไปจากเดิม

๘ ขอให้เกศาข้าพเจ้าดำขลับไม่รู้จักหงอก

๙. ขอให้ผิวกายข้าพระเจ้าบริสุทธิ์สอาด ธุลีหรือผงละอองไม่สามารถจะติดผิวกายอันละเอียดอ่อนนุ้มได้

๑๐. ขอให้ข้าได้ช่วยชีวิตผู้ที่ต้องราชอาญาได้


รวมเป็นพร ๑๐ ประการ ที่พระนางทูลขอท้าวอมรินทร์ซึ่งท้าวเธอก็ปราสาทให้ดังประสงค์ พระนางก็จุติลงมาเกิดในปราสาทกษัตริย์มัททราช เมื่อประสูติออกมาแล้วพรทั้งปวงก็ปรากฎแก่นางเช่นกัน แต่ยังมีบางข้อซึ่งพระนางยังไม่บรรลุนิติภาวะ ไม่สามารถจะมีพระสวามีได้ ครั้นพระชนม์ได้ ๑๖ ปี ก็เป็นมเหสีของพระเจ้าสญชัยกรุงสีพีราช สมเด็จท้าวอมรินทร์รู้ว่าพระนางผุสดีอภิเษกแล้ว ก็คิดว่าพรทั้ง ๑๐ ยังไม่สมบรูณ์แก่พระนาง จำจะต้องสงเคราะห์ เพื่อให้ได้พรครบบริบูรณ์ จำจะต้องอารักษ์ทั้งหลายพากันไปทูลเชิญอาราธนาพระโพธิสุตว์จากดุสิตลงสู่พระครรภ์ของพระนาง

เมื่อพระนางทรงครรภ์ถ้วนทศมาสใกล้คลอด เกิดอยากจะเสด็จประพาสพระนคร จึงได้ทูลลาพระภัสดา ซึ่งท้าวสญชัยก็ตามพระทัยให้ เสด็จพระพาสโดยขบวน ตราบจนพระทั่งถึงตรอกพ่อค้า ก็เกิดปวดพระอุทรจะประสูติ พนักงานก็จัดที่ถวายพระนางก็ประสูติพระราชโอรส ณ ที่นั้น พระโอรสก็เลยได้พระนามว่า เวสสันดร ซึ่งแปลว่าระหว่างพ่อค้า ในระหว่างที่ประสูติแล้ว พอพระกุมารลืมพระเนตรก็ถามพระมารดาถึงทรัพย์ที่จะทำทาน อันผิดแปลกจากประชาชนสามัญ ซึ่งกว่าจะพูดได้ก็ตั้ง ๓ เดือน ๖ เดือน หรือหนึ่งปีขึ้นไป พระราชมารดาก็พระราชทานทรัพย์ออกให้ทาน


กล่าวถึงนางพญาช้างฉัททันต์ อันท่องเที่ยวไปในอากาศได้ นำลูกช้างเผือกบริสุทธิ์มาไว้ในโรงช้างต้น และต่อไปช้างนั้นก็ได้นามว่า ปัจจัยนาเคนทร์ ช้างเกิดสำหรับบุญของพระเวสสันดร พระชนม์ได้ ๔ – ๕ พรรษา ก็ได้เปลื้องเครื่องประดับ พระราชทานแก่พี่เลี้ยงนางนมหมดด้วยกันถึง ๗ ครั้ง

เมื่อมีพระชนมายุได้ ๑๖ ก็ได้เสวยราชสมบัติ และสู่ขอพระมัสทรีตระกูลมาตุลราชวงศ์ มาอภิเษกให้เป็นมเหสีของท้าวเธอ พระองค์ยินดีในการให้ทาน ได้ตั้งโรงทานถึง ๖ แห่งในพระนคร คือที่ประตูเมืองทั้ง ๔ และกลางเมือง และอีกแห่งหนึ่งก็คือที่ประตูพระราชวัง พระองค์เสด็จออกทอดพระเนตรการให้ทานอยู่เป็นเนืองนิจ ตราบจนกระทั่งพระนางมัทรีประสูติโอรส บรรดาพระญาติได้รับข่ายทอง และถวายพระนามว่าชาลี และต่อมาก็ได้ประสูติพระราชธิดา บรรดาพระญาติก็รับด้วยหนังหมี จึงได้นามสมญาว่ากัญหา

ในวาระนั้นเมืองกาลิงครัฐเกิดข้าวหมากแพง เพราะฝนแล้งไม่ตกต้องตามฤดูกาล ประชาชนก็พากันไปชุมนุมหน้าพระลานร้องทุกข์แก่พระเจ้ากาลิงคราช พระเจ้ากาลิงคราชพิจารณาดูพระองค์ว่าผิดศีลทศพิธราชธรรมประการใดก็ไม่เห็น จึงรักษาอุโบสถศีลสิ้นเวลาถึง ๗ วัน ฝนก็ไม่ตก ความความเดือดร้อนก็เพื่มพูนแก่ประชาชนพลเมืองยิ่งขึ้น เสียงร่ำร้องให้ช่วยก็แซ็งแซ่ไปทั้งพระนคร

พระเจ้ากาลิงคราชหมดปัญญาที่จะทำให้ฝนตกได้ เพราะแม้ราฎรประชาชนพลเมืองจะพากันแห่นางแมว และเซ่นสรวงเทพาอารักษ์ขอให้ฝนตก ฝนก็ไม่ตกไปได้ ความร้อนก็แผ่ขยายไปทั่วประเทศ ต้นไม้ใบหญ้าแทบจะกรอบเกรียมไปด้วยความร้อน พระองค์จึงทรงปรึกษากับบรรดาอำมาตย์ราชปุโรหิตว่าจะทำอย่างไรดี จึงจะให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลได้ เพราะทำอะไรมากมายหลายอย่างแล้งฝนก็ไม่ตก อำมาตย์คนหนึ่งคิดขึ้นมาได้จึงกราบทูลขึ้นว่า

“ขอเดชะ เมืองสีพีเป็นเมืองสมบูรณ์ไปด้วยข้าวปลาธัญญาหารทั้งปวง เพราะพระเวสสันดรกษัตริย์สีพีเสด็จขึ้นคอคชสารปัจจัยนาเคนทร์ เสด็จไปทั่วพระนคร ช้างตัวนี้วิเศษจริงๆ พระเจ้าค่ะ ไปที่ไหนฝนฟ้าก็ตกที่นั้น”

“ถ้าอย่างนั้นก็ดีน่ะสิ ทำอย่างไรจึงจะขอยืมมาใช้ได้ล่ะ”

อำมาตย์อีกผู้หนึ่งจึงทูลว่า “ขอเดชะ ถ้าเป็นพระเวสสันดรเห็นจะไม่ยากนัก เพราะองค์ทรงยินดีในการให้บริจาคทาน หากส่งพราหมณาจารย์ฉลาดในเชิงพูดไปทูลขอก็เห็นจะสำเร็จดังประสงค์”

“ถ้าอย่างนั้นก็ดี ประชาชนพลเมืองทั้งหลายจะได้หายเดือดร้อน เราเองก็จะสบายใจ เพราะพลเมืองของเราก็จะร่มเย็นสุข ท่านปุโรหิตผู้ใหญ่จงจัดพราหมณ์ไปพร้อมกันรวม ๘ คนด้วยกัน ไปทูลขอมาให้ได้”

“เมื่อรับคำสั่งมหาพราหมณ์ผู้เป็นปุโรหิตก็คัดเลือกผู้ที่จะไปได้พร้อมแล้วก็ออกเดินทางไปยังกรุงสีพี เพื่อจะทูลขอช้างเผือกปัจจัยนาเคนทร์ ถึงกรุงสีพีเป็นเวลาที่พระเวสสันดรออกมาให้ทานก็ได้ติดตามไป

จนได้โอกาสเหมาะก็ได้ทูลขอช้างปัจจัยนาเคนทร์ซึ่งพระองค์ก็บริจาคให้โดยดี พราหมณ์ทั้ง ๘ ก็ขับขี่ช้างเพื่อนำกลับไปยังกาลิงครัฐ ผ่านประชาชนพลเมืองเป็นพราหมณ์ขี่ช้างเผือกยอดพาหนะของพระเวสสันดรก็ตระโกนด่าว่าด้วยถ่อยคำที่หยาบคายว่า ไม่รู้จักสำนึกกระลาหัวไปขึ้นขี่พาหนะทรงของในหลวง และยังแถมว่าเป็นผู้ร้ายลักช้างเสียด้วย หากพราหมณ์เหล่านั้นก็กล่าวเยอะเย้ยว่าพวกชาวเมืองไม่รู้อะไร ช้างนี้พระเวสสันดรพระราชทานให้ต่างหาก มิฉะนั้นแล้วพวกตนจะไปเอามาได้อย่างไร แล้วก็ขับช้างบ่ายหน้าไปกาลิงครัฐ

เมื่อช้างไปถึงแล้วฟ้าฝนก็ได้ตกลงมาห่าใหญ่ เป็นอันว่าความแห้งแล้งอดอยากทั้งหลายก็หายไป เมืองกาลิงครัฐความร้อนก็ค่อยบรรเทาเบาบางลง ความชุ่มชื่นก็ปรากฎขึ้น หญ้าก็เริ่มแตกระบัด ต้นไม้ผลิดอกออกช่อแตกใบเขียวชอุ่ม มองไปทางไหนก็มีแต่สีเขียวพรืดไปหมดทั้งประเทศ เพราะอภินิหารของปัจจัยนาเคนทร์ ช้างคู่บุญของพระเวสสันดร

ชาวบ้านชาวเมืองสีพีเห็นพราหมณ์ขับขี่ช้างมงคลประจำเมืองออกไปเสียเช่นนั้นก็พากันโกรธเคือง พากันเดินขบวน ว่าที่จริงครั้งก่อนก็แก่เดินขบวนเหมือนกัน แต่ไม่มีป้ายประณามหรือคำขวัญต่างๆ หรือประท้วงอดอาหารอย่างสมัยนี้ พากันเดินไปชุมนุมกันที่หน้าพระลานเรียกร้องให้พระเจ้ากรุงสญชัยออกมาพบ

“พวกเราจะพินาศ พวกเราจะพากันเดือดร้อน เพราะเจ้าเวสสันดรให้ช้างเผือกคู่บ้านคู่เมืองไปเสียแล้ว อีกหน่อยก็คงจะยกบ้านยกเมืองให้คนอื่นเสียอีก ใครเขาจะขจัดความเดือดร้อนได้ พระเจ้าสญชัยจะจัดการอย่างไร ถ้ามิฉะนั้นประชาชนก็จะจัดกันการเสียเอง” เสียงประชาชนโห่ร้องกึกก้อง เรียกร้องจะลงโทษเจ้าเวสสันดร

พระเจ้ากรุงสญชัยเห็นจะไม่ได้การ จึงเสด็จออกไปยังพระลานพร้อมกับตรัสว่า

“ประชาชนทั้งหลาย ฉันขอบใจพวกเธอที่มีอะไรก็รีบมาบอกกล่าวกัน เรื่องทั้งหลายฉันจะจัดการให้” ตรัสยังมิทันขาดคำ พวกประชาชนพากันโห่ร้องกับมีเสียงตะโกนออกมา

“มิใช่จะจัดการ ต้องจัดการเดี๋ยวนี้”

“จะให้เราจับเจ้าเวสสันดรมาประหารหรืออย่างไร” เสียงเงียบไปชั่วขณะ แล้วมีเสียงตอบกลับออกมาว่า”

“มิใช่ประหาร เราต้องการให้ขับไล่ออกเสียจากนอกเมือง เพราะขืนให้อยู่ต่อไปพวกเราจะเดือดร้อน เดี๋ยวใครๆ รู้ก็จะพากันมาขอ แล้วถ้าเกิดมีคนมาขอบ้านเมืองขอแผ่นดินเจ้าเวสสันดรก็คงจะยกให้เขาไป แล้วพวกเราจะอยู่อย่างไร”

“เอาล่ะ เมื่อพวกเจ้าต้องการเช่นนั้น เราก็จะจัดการเนรเทศให้” แล้วประชาชนก็พากันกลับไปยังบ้านเรือนของตน

เป็นยังไงบ้าง ประชามิติร้ายแรงแค่ไหน ถ้าป็นสมัยนี้บางทีคนพูดนั้นเหละ อาจจะถูกเนรเทศแทนเจ้าเวสสันดรก็อาจเป็นได้ใครจะรู้ ดีไม่ดีอาจจะโดนอุ้มเงียบหายสาบสูญก็ได้

เมื่อประชาชนกลับไปแล้ว ท้าวสญชัยก็ดำรัสสั่งให้ไปบอกเจ้าเวสสันดรว่า ประชาชนต้องการให้ขับไล่ออกไปเสียจากเมืองเพราะเหตุผลให้ช้างคู่เมืองไป เพราะฉะนั้นวันพรุ่งนี้ต้องออกจากเมืองไป


นายนักการไปทูลให้ทราบแล้ว พระเวสสันดรมิได้ตกพระทัยเลย กลับตรัสว่า “อย่าว่าแต่ช้างซึ่งเป็นของนอกกายเลย แม้ชีวิตร่างกายของเราถ้าใครต้องการเราก็จะให้ แต่ก่อนเราจะไปจากเมืองนี้ขอให้ทานจนจุใจสักหน่อย สัก ๒ วันเท่านั้นแล้วเราก็จะไป”

เมื่อความที่จะเนรเทศพระเวสสันดรเสียจากเมืองรู้ไปถึงข้างใน สาวสนมกรมในพากันร้องไห้เสียงอื้ออึง ส่วนพระมัทรีได้รับทราบข่าวภัดดาซึ่งมาบอกก็ขอตามเสด็จไปด้วย ถึงกับยื่นคำขาดว่า

“จะบุกป่าฝ่าดงไปแห่งใด ข้าพระบาทจะตามเสด็จไปไม่ขออยู่ จะเอาขีวิตและกายนี้สู่สนองพระคุณจนกว่าจะสิ้นบุญข้ามัทรี แม้พระองค์มิพรงอนุญาตให้ตามไป ข้ามัทรีจะก่อกองไฟให้รุ่งโรจน์โดดเข้า ตายดีกว่าจะอยู่เป็นม่ายให้อายคน” พระเวสสันดรก็เลยต้องยอมให้นางติดตามไปด้วย และพระนางมัทรีได้พรรนาวงกตคีรีประเทศ ป่าหิมมพานต์เหมือนหนึ่งพระนางได้เคยพานพบมาได้อย่างอัศจรรย์ ทั้งพฤกษชาติและสัตว์นานาชนิดอย่างเพลิดเพลินเจริญใจ ใครฟังแล้วแทบจะคิดว่าเป็นเมืองแดนมนุษย์ ถ้าจะเทียบก็คงจะสนุกสนานมโหฬารปานสวนสามพราน หรือทิมแลน ซึ่งเห็นสถานที่ให้ความสุขทั้งกายและใจ

พระนางผุสดีเล่าได้ทราบข่าวก็รีบไปหาเจ้าเวสสันดรและมัทรีปลอบประโลมใจ แล้วเลยไปเฝ้าพระสญชัยขอให้ไม่ต้องเนรเทศ แต่ท้าวเธอก็ไม่ยินยอม แม้จะทูลวิงวอนสักเท่าไหร่ ท้าวเธอก็มิได้ทรงอำนวยตาม พระนางก็ต้องโศกากลับมาหาพระเวสันดรและพระนางมัทรี เล่าความที่ได้กราบทูลให้ฟังทุกประการ ซึ่งพระองค์ก็ได้แต่สลดใจ เมื่อพนักงานได้จัดสัตตสตกมหาทาน คือให้ทานสิ่งละ ๗๐๐ เรียบร้อยแล้ว ทั้งสองพระองค์ก็เสด็จออกเดินทางไปเขาวงกต ท้าวสญชัยตรัสขอให้พระโอรสและพระธิดา คือชาลีและกัณหาอยู่ในเมืองเพราะกลัวลำบาก แต่พระนางมัทรีกับทูลโต้ว่า

“นับประสาแต่พระโอรสยังถูกชาวเมืองขับ หากเป็นพระเจ้าหลานก็น่ากลัวจะต้องถึงประหาร เพราะฉะนั้นเจ้าทั้งสองอย่าอยู่ในบ้านในเมืองเลย ถึงตกระกำลำบากด้วยประการใดหม่อมฉันก็จะทนทรมานไป ไม่ทิ้งสองพระหน่อเลย” เป็นทั้งคำพ้อและถามต่อว่า ทำเอาท้าวสญชัยพูดไม่ออกได้แต่กลอกหน้า ก็เลยเป็นอันว่า ต้องยอมให้พระนางมัทรีและชาลีกัณหาติดตามไปด้วย

เมื่อพระเวสสันดรพระราชทานสัตตสตกมหาทานเรียบร้อยแล้ว ก็ได้เสด็จออกจากเมือง ทั้ง ๔ พระองค์ก็ทรงรถมีม้าเทียมออกเดินทางไปยังเขาวงกต มีพราหมณ์พวกหนึ่งติดตามไปขอม้าที่เทียมราชรถ ท้าวเธอก็พระราชทานให้ดังประสงค์ เมื่อรถไม่มีม้าก็ไม่สามารถจะเดินทางต่อไปได้ ต้องร้อนถึงเทพเจ้าแปลงกายเป็นละมั่งสีเหลืองทองมาเทียมราชรถออกเดินทางต่อไป ยังไม่หมดเพียงเท่านั้น พราหณ์พวกหนึ่งได้ยินข่าวว่าพระเวสันดรให้ทานก็เดินทางมารับทาน แต่ไม่ทันเลยรีบเดินทางติดตามไป พอทันก็ทูลขอราชรถ ซึ่งท้าวเธอก็พระราชทานให้เทพเจ้าซึ่งแปรงกายเป็นละมั่งก็อันตรธานหายไปจากสถานที่แห่งนั้น ทีนี้หมดทั้งรถทั้งม้าแล้ว แต่ท้าวเธอก็มิได้วิตก เสด็จ ลงเดินไปบนแผ่นดิน ตามหนทางที่พลเมืองทั่งไปเดินพบใครสวนมาก็ถามถึงเขาวงกต ซึ่งเขาเหล่านั้นก็บอกว่ายังไกลและชี้ทางไปข้างหลัง

ทั้ง ๔ พระองค์ก็เสด็จดำเนินไป จนกระทั่งพระโอรสพระธิดาเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจะไปไม่ไหว ก็ช่วยกันอุ้มพระโอรสราชธิดาออกเดินทางต่อไป คือพระเวสสันดรอุ้มพระชาลี ซึ่งค่อนข้างจะโตและมีร่างกายหนักกว่า ส่วนพระนางมัทรีก็อุ้มเจ้ากัณหาซึ่งบอบบางและมีน้ำหนักเบากว่า การออกเดินทางของทั้ง ๔ องค์ ก็เป็นไปด้วยประการเช่นกล่าวนี้

จนกระทั่งถึงนครเจตราฐาจึงไปพักที่ศาลาแห่งหนึ่ง กษัตริย์ในเจตราฐาทราบความก็ออกมาต้อนรับสนทนาปาศรัย จึงได้ทราบว่าพระเวสสันดรถูกเนรเทศ เพราะช้างคู่บ้านคู่เมืองเป็นทานไป จึงได้ขอให้อยู่ครองราชสมบัติในเจตราฐานคร แต่ท้าวเธอกลับค้านว่า

“เพราะว่าเราถูกชาวเมืองสีพีเขารังเกียจ ถึงกับให้ขับไล่ เมื่อพวกท่านมารับเราไว้ ชาวเมืองก็จะเดือดร้อน อาจเกิดเป็นสงครามขึ้นก็อาจเป็นได้ เหตุเพราะชาวชาวสีพีก็พลอยจะโกรธเคืองมายังพวกท่านทั้งหลายด้วย และอนึ่ง เราก็อยากจะบำเพ็ญเพียร สงบจิตใจสักพักหนึ่งก่อน” เมื่อตรัสเช่นนี้แล้ว กษัตริย์เจตราฐาก็ต้องยินยอมจึงบอกหนทาง และได้ตั้งเจตยุตรให้เป็นนายด่านคอยตรวจคนที่ผ่านเข้าไปยังวงกต เพื่อป้องกันมิให้คนเหล่าอื่นเข้าไปรบกวนท้าวเธอได้

รุ่งขึ้นทั้ง ๔ องค์ ก็ได้เสด็จด้วยพระบาทต่อไปตามที่เขาชี้บอก ก็บรรลุถึงเขาวงกต เเละได้บวชเป็นฤาษีอยู่ที่นั้นหมดด้วยกัน

ในเวลานั้นในแคว้นกาลิงคราช มีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อ ชูชก ประกอบด้วยโทษของบุรุษ ๑๘ ประการ ดำเนินชีวิตในทางขอทานอยู่เป็นประจำ แกขอทานมาก็รวบรวมไว้ได้ถึง ๑๐๐ กสาปณ์ ถ้าจะคิดเป็นตัวเงินก็ ๔๐๐ บาทนั้นเอง

“เอ๊ะ นี้เราก้มีเงินเยอะแยะ จะเอาไว้กับตัวน่ากลัวจะถูกโปล้นบีบคอเราตายเข้าสักวันเป็นแน่แท้ สมัยนี้การฉกชิงวิ่งราวและจี้โปล้นก็มีกันออกดาดดื่นเกลื่อนเมืองไปหมด

เมื่อคิดได้เช่นนั้น ตาชูชกก็ออกเดินทางไปยังบ้านของสหายผู้หนึ่ง ครั้นถึงแล้วก็อวดมั่งอวดมี พร้อมกับหยิบเงินร้อยกสาปณ์ออกมา

“นี่เป็นเงินของเราจริงๆ นะ ไม่ใช่เงินของใครอื่น ตั้งร้อยแน่ะเกลอ ครั้นจะเก็บไว้กับตัวหรือก็กลัวไอ้คนที่รู้เค้าเข้ามันจะมาดักจี้ตีชิงวิ่งราวเอาเราแย่แน่ไปด้วย เพราะเราไม่มีใช่หนุ่มเหมือนแต่ก่อนถ้าเหมือนเมื่อก่อนล่ะก็สหายเอ๋ย นี้ไม่ใช่คุยนะ เราก็หนึ่งในกลิงค์เหมือนกัน เรื่องตีฟันแทงแล้วต้องยกให้เรา พอเอ่ยชื่อชูชกใครๆ ก็สั่นหน้าเพราะเขาไม่รู้จัก จริงๆ นะ” พูดไปก็หัวเราะไป สหายทั้งผัวเมียก็พลอยไปด้วย ผู้ผัวจึงถามว่า

“แล้วเกลอเอาเงินออกมาน่ะ จะทำอย่างไร ?”

“อ้าว แล้วกัน ก็ฉันบอกแล้วว่าเงินมันเป็นจำนวนมากมายก่ายกองอย่างนี้ จะเอาไว้กับตัวก็กลัวจะเกิดภัย จึงคิดจะเอามาฝากสหายไว้”

“ได้ จะเป็นไรมี ว่าแต่สหายจะมาเอากลับคืนเมื่อไหร่ล่ะ”

“ยังก่อน เราต้องเดินทางไปอีกร้อยเอ็ดเจ็ดพระนครรวบรวมเงินได้พอเมื่อไหร่ ก็จะกลับมาขอคืน ว่าแต่สหายอย่าแล่นสกปรก ยักย้ายถ่ายเทเอาเอาเงินของเราไปใช้เสียหมดล่ะ คงได้เล่นงานกันทีเดียว”

“เออน่ะ ไม่เชื่อกันหรือไง จะมาเมื่อไหร่ก็มาเอาเถอะ เราน่ะอยู่เสมอ การยักย้ายถ่ายเทของสหาย ก็รู้อยู่แล้วว่าเราเป็นคนอย่างไร ขอบใจนะที่ยังเชื่อเราอยู่” ตาชูชกเมื่อตะแกฝากเงินเรียบร้อยแล้วก็ออกเดินทางขอทานมันเรื่อยไป ไปจนไกลเกิดคิดถึงบ้าน

“กลับเสียทีเห็นจะดีเป็นแน่” เมื่อตาแกคิดเช่นนั้นแล้วก็เดินทางกลับ

ในขณะที่ชูชกกำลังเดินทางขอทานอยู่นั้น ครอบครัวที่รับฝากเงินของตาชูชกไว้ก็เกิดหยิบเงินไปใช้ทีละเล็กละน้อยจนในที่สุดเงิน ๑๐๐ กสาปณ์ก็หมด โดยที่เห็นว่าตาเฒ่าาชูชกแกไปนาน คงจะไปล้มหายตายจากไปเป็นแน่ แต่ความคิดเหล่านี้ใช้ไม่ได้ เพราะชูชกแกกลับมา ไม่กลับเปล่าเสียด้วย แถมไปทวงเงินที่ฝากไว้เสียด้วย พอเดินทางมาถึงเมือง ตาชูชกใจจดจ่ออยู่กับเงินที่ฝากไว้จึงรีบเร่งรีบไปยังบ้านที่รับฝากไว้เพื่อจะขอเงินคืน เห็นบ้านปิดสนิท จึงตะโกนเรียก พอสองผัวเมียรู้ว่าชูชกมาทวงเงินของมันแล้ว

“ตายละหว่า ไอ้ชูชกมันมาเอาเงินคืนแล้ว”

ยายเมียก็เสริมขึ้นมาว่า “แล้วเราจะทำยังไงดีล่ะตา จะเอาที่ไหนให้ล่ะก็เราได้ใช้ไปกันหมดแล้ว”

“ทำใจดีๆ ไว้ก็แล้วกัน พี่จะจัดการเอง” ผู้ผัวว่า

“ถ้ายังงั้นตาก็รับหน้าไปก็แล้วกัน” ยายเมียว่าแล้วก็หลบหน้าไปเสีย เมื่อรู้ว่าเป็นชูชกแน่แล้ว จึงออกมาเปิดประตูแล้วเชื้อเชิญให้ขึ้นไปบนเรือน

“เงินของตูรีบเอามาไวๆ”

“อย่าเพิ่งยุ่งอะไรเลยน่ะ กำลังเหนื่อย นั่งพักผ่อนเสียก่อนเถิด” ยังนั่งไม่ลงหรอกเพื่อน เงิน ของเรารีบเอามาเสียก่อนแล้วค่อยนั่ง”

“มาถึงบ้านแล้วกลัวอะไรนะ เงินทองมันก็อยู่ แต่ดูเพื่อนออกจะรีบร้อนเกินไปสักหน่อยนะ”

“ไม่รีบร้อนได้ยังไงล่ะ เรื่องเงินเรื่องทองเป็นของสำคัญ ใครทำมือห่างเท้าห่างเป็นได้ลำบากกันน่ะสิ”

“แต่ว่าเพื่อนจะไม่นั่งลงก่อนรึ”

“ถ้าไม่มีเงินยังนั่งไม่ได้”

“เงิน อ้า..อ้า..”

“ทำไม เงินอ้า..ทำไม ?”

“ไม่ทำไมหรอก แต่มันหมดแล้วน่ะสิ”

“หมด ?” ตาชูชกร้องออกมาอย่างหมดหวัง

“ตายแล้ว ตายจริงๆ”

“ไม่ตายน่ะ ยังพอพูดกันได้”

“พูดอะไร เงินๆ ของตูรีบเอามาเสียเถอะ อย่าให้ต้องผิดใจกันเลยนะ”

“ค่อยพูดๆ พูดค่อยๆ จากันก็ได้นี่นะ เราเป็นคนอื่นที่ไหนคนรักชอบพอกันทั้งนั้น เรื่องเงินของท่านไม่สูญแน่ เรามีหนทางที่จะใช้ให้ได้” ชูชกค่อยหย่อนกายลงนั่งพลางกล่าวว่า

“ว่ากันให้ดีหน่อยนะเกลอ ม่ายงั้นเป็นเรื่องใหญ่ไปถึงเจ้าหน้าที่เข้ามาเกี่ยวข้องนะเกลอ เสียหายกันไปหมดเลย”

“ใจเย็น หน่อย เอาล่ะ เราเองก็รับว่าได้เอาเงินของท่านไปใช้จ่ายคิดว่าจะหามาใช้ให้ทัน แต่มันผิดคาดหมายไปเสีย เงินก็เลยขัดข้องไปหน่อย”

“ไม่เพียงแต่พูดเท่านั้น เขาหันไปเรียกลูกสาว

“อมิตดาเอ๊ย เอาน้ำท่าออกมาให้อาหน่อยซิ” เสียงขาน จ๋า ดัง เล่นเอาชูชกสะดุ้ง แล้วเจ้าของเสียงก็โผล่ออกมา ในมือมีภาชนะใส่น้ำมาด้วย

“อุแม่เอ๋ย” ชูชกคิด

“ลูกสาวเกลอเราคนนี้มันสวยจริงๆ”


เออ เกลอกินน้ำกินท่าเสียก่อนสิแล้วค่อยๆ มาพูดมาจากัน” พอถึงตอนนี้ ชูชกชักเสียงไม่ค่อยแข็งนัก และเมื่อได้ยินเพื่อนเกลอปรับทุกข์ปรับร้อน และแถมท้ายว่า

“หากไม่รังเกียจแล้ว เราอยากจะยกลูกสาวคนนี้ให้ท่านไปใช้สอยเป็นการขัดดอกไปก่อน เกลอจะว่าอย่างไร”

“หาเกลอว่าไงนะ ? ชูชกรีบถามช้ำ”

“หา เกลอว่ายังไง ถ้าไม่รังเกียจแล้ว เราจะยกแม่อมิตดาให้แก่ท่านเป็นการขัดดอกไปก่อน”

“เฮอะ ? เฮอะ ? เหอ” ตาชูชกส่งเสียงหัวเรอะลั่น

“เออ พูดยังงี้ค่อยน่าฟังหน่อย เอ สหายนี้ยุติธรรมพอใช้ เงินทองน่ะมันของหายาก เมื่อเอาของเขาไปใช้แล้วก็หาทางทดแทนเขาเสียมันก็สิ้นเรื่อง อย่าพูดเรื่องรังเกียจเลย แม่หนูนี่ก็ไม่ใช่ลูกคนอื่น เป็นลูกของเพื่อนแท้ๆ”

“ก็เป็นอันว่าเกลอตกลงนะ”

เรื่องนี้เป็นอันตกลงกันได้อย่างดีเสียด้วย พ่อแม่ที่คิดเอาแต่เรื่องเงินๆ ทองๆ ของคนอื่น ก็ตกยกลูกสาวให้ตาเฒ่าขอทานไป

ส่วนอมิตดาสาวเจ้านั้น เพราะอยู่ในโอวาทของบิดามารดา เมื่อทั้งสองยินยอมยกให้แก่ตาเฒ่าชูชกสาวเจ้าก็ไปแต่โดยดี เพราะคิดเสียว่าเป็นการทดแทนพระคุณท่านทั้งสอง ตาชูชกก็พาอมิตดาสาวน้อยไปเป็นคู่เรียงเคียงหมอนยังบ้านเดิมของแก

เรื่องมันก็น่าจะจบลงด้วยดี ถ้าไม่มีบรรดานารีที่เห็นคนอื่นดีกว่าตนไม่ได้เข้ามาพัวพัน เรื่องมันมีอยู่ว่า

อมิตดาเจ้าคิดเสียว่าเป็นทาสของตาเฒ่า มิได้คิดอย่างอื่น จะใช้สอยอย่างไรก็ปฎิบัติตามทุกประการ การใช้คำพูดคำจาก็ไพเราะน่าฟัง ค่ะ ขา จ๊ะ จ๋า ไม่มึงวาพาโวยเช่นกับเมียบางคน การงานทั้งหลายสาวเจ้าก็เฝ้าปฎิบัติทำโดยไม่รังเกียจเลยแม้แต่น้อย

การกระทำของสาวเจ้ากับตาชูชกอยู่ในสายตาของคนในระแวกนั้น

“แหม เมียตาเฒ่าชูชกนี้สวยจริงๆ”

“ไม่ใช่แต่สวยอย่างเดียว กิริยามารยาทก็นิ่มนวนแช่มช้อย จะลุกจะนั่งจะเดินเหินแล้วมันดูดีไปหมด”

อีกคนสนับสนุน

“ระวังอย่าพูดให้ตาเฒ่าชูชกแกได้ยินเชียวนา เดี๋ยวแกเอาไม่เท้ามาแพ่นกบาลเอาให้หรอก”

“พูดจริงๆ นี่นา”

“ก็ใครว่าไม่จริงล่ะ”

“ก็ถึงว่าสิ เดี๋ยวก็จะหาว่าไปเกี้ยวพาราสีเมียแกนะสิ”

“เกี้ยวหรือไม่เกี้ยวไมรู้ล่ะ”

“แต่เมียของพวกเราสิเต็มที พูดจาก็มีแต่มึงอย่างนั้น กูอย่างนี้ จะหาไพเราะสักคำก็ไม่มี ถ้าจะพูดด่าล่ะก็แม่ถนัดนักแล”

“เมียกันก็ด่าเป็นไฟใส่คะแนนไม่ทันเลยล่ะ”

“ยังสู้ของกันไม่ได้ เวลาแม่ด่าแล้วล่ะก็เกลอเอ๋ย โครตเง่าเหล่ากอมีแค่ไหนแม่ขุดมาด่าหมด วาจาก็สำรากอย่างกับสุนัขหวงก้าง”

“ของกันสิวิเศษกว่า เห็นกันเป็นลูกชายของหล่อนไปเสียสิบ ทั้งโขกทั้งสับ เห็นแม่อมิตดาแล้ว แหม มันตรงกันข้ามยังกับฟ้ากับดิน หรือนรกกับสวรรค์นั้นเชียวล่ะเกลอเอ๋ย”

อีกคนหนึ่งเอ่ยขึ้นมาบ้างว่า

“บรรดาเมียใครทั้งหมดเห็นว่าจะสู้ของกันไม่ได้ หล่อนเก่งทุกอย่าง นินทาเอย มารยาทก็ไม่เรียบร้อย แนะนะโครมคราม พูดจาก็ไม่น่าฟัง พูดคำด่าคำจนติดปากไปเลย ไพ่ก็เล่นเก่ง ถั่วโปแม่เอาทุกอย่าง การบ้านการเรือนเลี้ยงลูกเลี้ยงเต้าปล่อยให้กันคนเดียว แม่คุณเอ๋ย ของกันเก่งจริงๆ”

สหายหลายคนต่างร้องอือไปตามๆ กัน แต่อีกคนเอ่ยขึ้นว่า

“ของพวกเราน่ะมันพอๆ กันทั้งนั้น กานบ้านการเรือนก็ไม่เอาอะไรเสียเลย ดีแต่นินทาคนนั้นคนนี้แล้วก็เข้าบ่อน ลงได้เข้าบ่อนแล้วล่ะก็เป็นอันว่าใจเย็นเสียเถอะว่าผัวต้องเข้าครัวเอง แม้แต่มุ้งและที่หลับที่นอนก็ต้องปูให้แม่นอน ดูเมียตาเฒ่าชูชกสิ สาวสวยสิบห้าหยกๆ สิบหกหย่อนๆ แต่หล่อนปฏิบัติพัดวีตาเฒ่าอย่างดี การบ้านการเรือนหล่อนก็ไม่ต้องให้ตักเตือน”

“แกดูนั้นสิ หล่อนเอาหม้อน้ำไปตักน้ำอีกแล้ว”

ทุกคนลงความเห็นต้องจัดการสังคนาทางบ้านเสียทีให้เป็นดีแน่ๆ เมื่อตกลงกันแล้วต่างคนก็กลับไปบ้าน บ้านหนึ่งพอโผล่ขึ้นบ้าน แม่เมียกำลังนั่งเล่นไพ่อยู่กัยเพื่อน ก็แหวขึ้นมา

“แกหายหัวไปไหนมา เมื่อกี้เรียกหาจะใช้ซื้ออะไรมากินสักหน่อย ดีแต่หลบมุม”

พอพูดได้เท่านั้นพ่อผัวซึ่งฮึดมาจากที่ประชุมอยู่แล้วก็ตรงรี่เข้ามา พร้อมกับกล่าวว่า

“ไม่หายหัวไปไหนหรอก แต่อยากจะดัดนิสัยคนสักหน่อย”

“อ๋อ ดัดหรือ เดี๋ยวแม่...” ยังไม่ทันขาดคำตาผัวก็เตะพลั่กเข้าให้ เล่นเอาแม่เมียรักลงไปเค้เก้ วงไพ่แตกกระจาย เสียงร้องวี้ดว้ายอย่างไม่เป็นส่ำ ยายเมียพยายามลุกขึ้นจะสู้ แต่เจ้าผัวไม่ยอมให้ลุก ทั้งเตะ ทั้งเข่า ทนไม่ไหวแม่เมียต้องอย่าศึก

“พอแล้วพ่อคุณ ฉันกลัวแล้ว”

“กลัวแล้วหรือ เอาอีก” แล้วก็ใส่เข่าพลั่กๆ เข้าให้อีก

“จ้ะ ฉันเจ็บแลัว กลัวแล้วจริงๆ”

“กิจการบ้านเรือนไม่เอาเรื่อง ดีแต่เข้าบ่อนแล้วก็นินทาชาวบ้าน”

“เลิกแล้วจ้ะ ฉันเลิกแล้วจริงๆ จ้า โอ้ย...” พ่อผัวก็รำมะนาต่อไป พร้อมกับสั่งสอน

“ตัวอย่างดีๆ อย่างแม่อมิตดาเมียตาชูชก ทำไมแกไม่เอาเยี่ยงอย่าง”

“จ้า...จ้า...ฉันจะเอาเยี่ยงอย่างจ้า” ตาผัวก็หยด เมียก็ได้แต่ร้องให้ฮือๆ

อีกบ้านหนึ่ง บ่อนแตกจากบ้านนี้แล้วก็วิ่งกลับมาบ้านตน พอมาถึง ฝ่ายตาผัวไม่ฟังเสียงพอได้เห็นหน้า หน้าแข้งลอยมาที่สีข้างเอียงเป็นนกปีกหัก

“ต๊าย...ไอ้บ้าเตะกู มึงต้องตาย”

“เออ เตะสิวะ วันนี้ข้าจะเอาเองให้ตาย”

“มึงเป็นบ้าอะไรขึ้นมาวะ ?”

“บ้าเรอะ” แล้วเสียงพลั่กๆ ติดๆ กัน

“อุ๊ย จะตายแล้ว ไอ้บ้า ไอ้บ้ามันตีฉันจะตายแล้ว เพื่อนบ้านช่วยฉันที”

“เรียกใครให้ช่วยอีคนชั่ว การบ้านการเรือนไม่เอา ต้องสั่งสอนกันบ้างเสียบ้าง” แล้วเสียงตบตีก็ดังต่อไป จนกระทั่งมีเสียงว่ายอมแล้วกลัวแล้วนั้นแหละ เสียงจึงสงบ


ทุกๆ บ้านในระแวกนั้นทีแต่เสียงฮึดๆ ฮือๆ ของเมีย ซึ่งถูกบรรดาสามีลงทัณฑ์เข้าให้อย่างสมรัก และต่างก็ได้รับคำสั่งสอนให้เอาอย่างอมิตดาทั้งนั้น

เมื่อสั่งสอนจนหอมปากหอมคอแล้ว เรื่องก็สงบเงียบจริงๆ เสียงดุด่าอย่างทุกๆ วันไม่ปรากฏอีกเลย พรรคผัวธิปไตรก็จัดการพรรคภริยาธิปไตรลงอย่างราบคาบอย่างไม่มีเงื่อนไขใดๆ

รุ่งขึ้น หลังจากฝ่ายผัวออกเดินทางไปปฏิบัติการงานแล้ว แม่ภารยาคนดีก็มาชุมนุมกัน คนหนึ่งกล่าวขึ้นว่า

“เมื่อวานนี้หลังจากบ่อนแตกแล้ว ฉันก็กลับไปบ้าน ไปเห็นพ่อเจ้าประคุณผัวยืนรอคอยอยู่ เรานึกว่าจะแหวใส่ให้สักหน่อยแก้กลุ้มที่บ้านที่บ่อนแตกไป พ่อไม่ยอมให้พูด ตรงรี่เข้ามาซัดตุ้บเข้าให้ที่สีข้าง เล่นเอาหน้าอกหน้าใจแทบพังแน่ะ ปากก็ร้องว่า ดีแต่เข้าบ่อน การบ้านการเรือนก็ไม่เอา ไม่ดูเยี่ยงอย่างแม่อมิตดาเขาเลย ไอ้เราจะสู้ก็สู้ไม่ไหว พ่อแล่นทั้งถีบทั้งเตะ จนน่วมไปทั้งตัว”

อีกคนก็เอ่ยเสริมว่า

“ของฉันก็เหมือนกันแหละย่ะ พ่อทั้งเตะทั้งถีบไม่ให้เราตั้งตัวได้เลย พอเงื้อมมือว่าจะตบ ที่ไหนได้พ่อถีบเสียแอ่น จนต้องบอกว่ายอมนั้นแหละจึงหยุด ยังแถมสั่งสอนให้เอาเยี่ยงอย่างอีอมิตดาเมียไอ้แก่ขอทานชูชกเสียด้วยสิ”

“ของฉันก็พอๆ กัน พอเจอหน้าก็กรากเข้าใส่ยังกับมวยคู่อาฆาต เราไม่ทันจะตั้งตัวสักหน่อยพ่อก็ซัดเปรี้ยงๆ ยังกับฟ้าผ่า เห็นดาวกลางวันแสกๆ ไปหมด เราจะสู้ก็ไม่ไหวต้องยอมให้ซ้อม ถามว่าเรื่องอะไรก็ไม่บอก แถมหมัดเอย ศอกเอย จนเราถามไม่ออก ลงไปนอนหมอบนั่นแหละ พร้อมกับเอ่ยให้เอาเยี่ยงเมียไอ้ขอทาน อพิโธ่เอ๋ย...ก็เมียขอทานเราเป็นเมียมันเสียเมื่อไหร่ จะได้ทำอย่างนั้น”

“พวกเรานี่น่าเห็นใจนะ แต่ก่อน แต่ไรผัวของเราไม่เคยจะฮึดสู้ แม้ถูกเฆี่ยนตีอย่างลูกก็ยังยอมให้เฆี่ยนตีเลย ให้นอนนอกมุ้งก็ยอม แถมอ้อนวอนท่าโน้นท่านี้จนกว่าเราจะใจอ่อนแต่เดี๋ยวนี้สิไม่ได้ ถนัดแต่ศอกถัดมวย เท้าอย่างไรพ่อไม่เลือก เหตุที่เห็นเช่นนี้เพราะที่สามใช่ไหม”

“แล้วพวกเราควรจะทำอย่างไรดีล่ะ”

“เรื่องไม่เห็นจะยากเลย ก็พ่อเจ้าประคุณที่ลุกขึ้นมาตบตีพวกเราแล้วยังไม่พอแถมสั่งสอนว่าให้เอาเยี่ยงอย่างเมียไอ้แก่ขอทาน อีนางนั้นแหละตัวการสำคัญที่ทำให้ผัวของพวกเราลุกขึ้นมาเล่นงานเราล่ะ”

“เออ จริงสินะ เมียไอ้แก่นั่นแหละตัวสำคัญ ตั้งแต่มันเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านเรานี้ เหมือนความไม่ดีทั้งหลายจะไหลตามมันมาด้วย แต่แล้วไม่ยักจะอยู่กับมัน ผ่ามาอยู่กับพวกเราเสียฉิบ”

“แล้วเราจะทำอย่างไรถึงจะปลอดภัยจากมือเท้าของสามีของพวกเราล่ะ”

“ถ้าเมียตาแก่ขอทานยังอยู่ พวกเราก็จะไม่มีวันที่จะปลอดภัยเป็นแน่ บางทีอาจจะได้กินอย่างอื่นทั้งเช้าทั้งเย็นแทนข้าวก็ได้”

“ถ้าเช่นนั้นพวกเราไปจัดการให้มันอยู่ไม่ได้”

“ตบเลยดีใหม ?”

“ไม่พอ ต้องกระทืบด้วย”

“เอ๋ะ ไม่ได้ๆ บ้านเมืองมีขื่อมีแป พวกเราใช้กฎหมายเถื่อนไม่ได้”

“งั้นทำไงดีล่ะ”

“พวกเราต้องช่วยกัน เจอมันที่ไหนก็เสียดสีด่าว่ากระแนะกระแหนมันไปเรื่อยๆ สักวันมันก็อายจนต้องหลบหนีไปเอง”

“เออ อย่างนี้ค่อยยังชั่ว เป็นอันว่าที่ประชุมตกลงเอาตามนี้นะ”

เมื่อที่ประชุมของภรรยาพราหมณ์ทั้งหลายตกลงกันแล้ว พอถึงเวลาไปตักน้ำทุกๆ คนต่างพากันไปคอยที่ท่าน้ำ คอยที่จะพบกับผู้ที่ทำให้ตนต้องทนเจ็บช้ำ เพราะน้ำมือสามีของตัวเอง เข้าแบบโบราณแท้ที่ว่า “รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง” ตัวเองไม่ดีสิโทษเขาผู้นั้นผู้นี้ อนิจจา...อย่างนี้มีมาแล้วชั่วกัปป์ชั่วกัลป์

พอได้เวลาตักน้ำ อมิตดาสาวน้อยผู้น่าสงสารก็ยกหม้อน้ำขึ้นแบกตรงมาหมายจะอาบน้ำชำระร่างกายและตักน้ำไปใช้สอยในกิจอื่น

“เมียอ้ายขอทานมาแล้ว” เสียงเขาบอกกระซิบต่อๆ กัน และจิ๊จ๊ะเสียงฮาป่าก็เริ่มขึ้น จากนั้นเสียงใครต่อใคร...ใส่คะแนนไม่ทันจากแม่พวกนั้น

“รูปร่างก็สะสวย ไม่น่ามาอยู่กับไอ้คนขอทานเลย หรือว่าแกไปเก็บมาจากสำนักไหนกระมัง”

“โอ้ย รูปนี้ร้อยทั้งร้อย เป็นนางกลางเมืองแน่ๆ ทีเดียว”

“อยากเป็นคุณนาย ที่แท้ก็เดนเขาเลือกแล้ว จึงตกมาถึงตาแกขอทาน”

“หนุ่มๆ ไม่มีหรือยังไงแม่เอ๋ย หน้าด้านมาอยู่กับอ้ายแก่คราวพ่อได้”

“แม่ดูอ้ายสารรูปขอทานหรือเปล่า อุตสาห์ยอมให้มันก่ายเกย แต่ฉันยังงี้ อดขยะแขยงมิได้เลย”

“ตาแก่มันมีอะไรดีกระมัง แม่ยังเป็นสาวจึงยอม”

“ไม่มีพ่อหรืออย่างไร จึงเอาอ้ายคนชนิดนี้”

เรื่องการด่าก็เป็นที่รู้กันแล้วว่าผู้หญิงน่ะเวลาจะด่าไม่รู้ว่าสรรหามาจากไหน ปทานุกรมเล่มใหญ่ๆ น่ะอย่าไปเปิดหาเลยไม่พบหรอก ที่แจ้งที่ลับที่ไหนๆ แม่ก็เอามาไขหมด อมิอตดาถูกด่าเข้าเช่นนั้น ชะงักไม่กล้าลงไปตักน้ำ มองไปทางไหนก็ล้วนแต่ยื่นหน้ายื่นปากเป็นชักใยไปตามๆ กัน บางคนแถมขยับไม้ขยับมือจะเล่นงานเอาเสียด้วย

“ตบเอาฟันไปทำลูกเต๋าดีไหมพวกเรา”

“เอาซี่โครงไปเหน็บฝาเรือนบ้านฉันดีกว่า”

อมิตดาเจอเข้าอย่างนี้เข้าได้แต่น้ำตาไหลนองหน้า

“เป่าปี่แล้วพวกเรา แม่สาวน้อยเขาเก่งอย่างนี้ แล้วอ้ายเฒ่าจะไม่หลงได้ยังไง”

“เอ้า พวกเราช่วยกันเชิดหน่อย” ปากก็ทำเสียงล้อเลียนต่างๆ นาๆ หันหลังกลับบ้านน้ำตาของอมิตดาสาวน้อยอาบหน้าสะอึกสะอื้นขึ้นเรือนได้ก็ปิดประตูเงียบ จนเสียงแม่ค้าปากตลาดเหล่านั้นเงียบไปแล้ว ก็ได้แต่นั่งนึกถึงตัวเองว่าทำอะไรผิดไป

พอดีในขณะนั้นชูชกก็กลับมาจากการปฏิบัติภารกิจประจำวัน คือการขอทาน พอเห็นสาวน้อยเมียรักสะอึกสะอื้นอยู่ก็เข้าไปถาม

“หนูเป็นอะไร ร้องไห้ทำไม ใครทำอะไรบอกมา อ้ายเฒ่าคนนี้จะไปจัดการให้”

ถามทีไรสาวน้อยก็ได้แต่นิ่ง ตาผัวเฒ่าก็เฝ้าอ้อนวอนถามไถ่ จนสาวน้อยยอมบอกความ

“ต่อไปฉันจะไม่ออกไปตักน้ำอีกแล้วล่ะ เพราะแม่พวกชาวบ้านพากันมารุมด่าฉันที่ท่าน้ำ แม้น้ำฉันก็จะไม่ลงไปอาบ ฉันจะอาบมันที่บนเรือนนี่แหละ”

“ไม่เป็นไรแม่หนู พี่เฒ่าจะจัดการให้เสร็จ อย่าไปฟังยาย


ปากปลาร้าเหล่านั้น จะทำให้แม่หนูหม่นหมองเศร้าใจเสียเปล่าๆ พี่เฒ่าจะทำให้ทั้งตักน้ำ ปูที่หลับ ปัดที่นอนแม่หนูนั่งๆ นอนๆ อยู่เฉยๆ พี่เฒ่าจะทำให้แม่หนูทุกอย่าง”

“ไม่เอา ตระกูลฉันไม่เคยใช้ผัว”

“อ้าว แล้วจะให้พี่เฒ่าทำอย่างไร”

“ไม่รู้ล่ะ แกต้องไปหาคนใช้มาให้ฉัน ม่ายยังงั้นฉันจะกลับบ้าน”

“เบาๆ แม่อย่าเพิ่งพูดว่าจะกลับบ้าน จะทำให้พี่เฒ่าเป็นลมตายเสียก่อน”

จะพูดอย่างไรก็ตาม อมิตดาสาวเจ้าก็ไม่ยอมโอนอ่อนผ่อนตาม แม้จะอ้างว่าไม่มีเงินที่จะไปซื้อทาสและทาสีมาใช้สอย แต่อมิตดาก็กลับบอกว่า

“จะต้องไปเสียเงินทองอะไรกันเล่า พระเวสสันดรออกไปจำศีลอยู่ที่เขาวงกต พระราชโอรสและธิดาก็ออกไปด้วย ก็ไปขอโอรสธิดานั้นแหละมาใช้สอยสิ เรื่องมันก็ง่ายจะตายไป”

“โอ้ย ตายแล้วแม่ เขาวงกตน่ะมันไม่ใช่ใกล้ๆ เดินกันเป็นเดือนทีเดียว ถ้าพี่เฒ่าไปก็คงไม่มีหวังจะได้กลับมา คงจะตายเสียกลางทางเป็นแน่ทีเดียว”

“ฉันไม่รู้ด้วย ถ้าหาคนใช้มาให้ฉันไม่ได้ก็ต่างคนต่างอยู่เถอะ อย่าอยู่ร่วมกันเลย ฉันลำบากใจเหลือเกิน”

“เอาก็เอา จะตายหรือเป็นก็ช่าง เพราะเห็นแก่ความรักต่อแม่อมิตดา พี่เฒ่าจะพยายามเดินทางไปจนกว่าจะได้กลับมา”

เมื่อตกลงว่าจะไปแล้ว ชูชกก็จัดแจงเรือนชานเตรียมเสบียงอาหารทุกชนิด ออกเดินทางมุ่งหน้าไปยังเขาวงกต ดูเอาเถอะ เรื่องการมุ้งกับการเมืองมักจะแยกกันไม่ออกอย่างนี้แหละ ถูกด่าข้างนอกก็มาไล่เบี้ยเอากับตาแก่ และเรื่องมันก็สำเร็จด้วย

ตาเฒ่าจอมขอก็ดั้นด้นเดินมุ่งหน้าไปยังเขาวงกต พบใครก็ถามถึงเขาวงกต แทนที่จะได้รับคำตอบ กลับได้ทั้งคำพูดให้เจ็บใจและแถมศอกเข่าก้อนดินเป็นของแถมพอหอมปากหอมคอ แต่แกก็ไม่ยอมย่อท้อ ถูกทุบตีก็หลบหลีกพอพ้นไปเฉพาะหน้า อ้ายพราหมณ์ขอทาน เพราะพวกมึงขอไม่เลือก จึงทำให้เจ้านายกูต้องถูกเนรเทศ ไปๆ ให้พ้น เดี๋ยวพ่อ...” ว่าแล้วก็มีอะไรลอยปลิวมาจนตาพราหมณ์เฒ่าต้องรีบแจวต่อไปข้างหน้า ตราบจนกระทั่งเข้าเขตป่าที่เจตบุตรรักษาการอยู่

นึกว่าจะหมดอุปสรรคหรือยังก่อนหรอก เพราะพอย่างเข้าไปยังไม่ทันไร เสียงหมูหมาก็เห่าหอนมาแต่ไกล ตาแก่ก็เป็นคนช่างหัวดี หลบก่อนดีกว่า แต่จะหลบหน้าไปทางไหนดีเล่า ขึ้นไปบนต้นไม้สิ แล้วแกก็ตะเกียกตะกายขึ้นไป ยังไม่ทันจะถึงคบเลย เสียง โฮ้งๆ ดังใกล้ๆ ตาเฒ่าเหลียวไปดู โอ้โฮ หมาขนาดใหญ่ตั้ง ๔ - ๕ ตัว โดดขึ้นจะกัดแก เล่นเอามือเท้าอ่อนแทบจะพลัดตกลงไปให้ได้ แต่ต้องพยายามม่ายงั้นเป็นตายแน่ๆ แต่ก็ไม่วายเจอบางตัวงับเอาผ้าหลุดลุ่ย

โล่งใจเมื่อขึ้นไปถึงคบที่หมาโดดไม่ถึง แกหันหลังลงมาตวาดไล่มัน แต่มันก็ไม่ยอมไปแถมยังนอนเฝ้าต้นไม้นั้นเสียด้วย บางตัวเดินวนๆ เวียนๆ ตะกียกตะกายจะปีนขึ้นไปเล่นงานแกให้ได้ บางตัวก็ส่งเสียงเห่าขรม ตายจริง ทำไงถึงจะเดินทางไปได้ล่ะ อดไม่ได้ถึงกับรำพึงออกนามพระเวสสันดรออกมาดังๆ ถ้าพบพระองค์เป็นรอดแน่ๆ

เสียงคนย่างเหยียบมาตามทาง พอโผล่มา โอโอ้อ้ายเจ้าของหมาพวกนั้นล่ะสิ หน้าตาขมึงทึงท่าทางดุร้าย มือกุมธนู เพ่งจ้องมองมาที่แก พร้อมกับยกธนูขึ้นเล็งตรงมายังแก

“ช้าๆ พ่อเอ๋ย ช้าก่อน”

“อ้ายตาเฒ่าทำไมมาที่นี้ ออกตามเจ้านายจะเบียดเบียนอีกหรือ ไม่ได้ ไอ้พวกนี้ต้องให้หมากินก่อน”

“อย่าทำใจเร็วใจร้อนไปหน่อยเลยพ่อหลานชาย หลานน่ะยังไม่รู้อะไร ตานี่แหละเป็นราชทูตจะไปเฝ้าพระเวสสันดรล่ะ”

“ฮ้าๆ ขี้ทูตน่ะสิ”

“อย่าพูดอย่างนั้นหลานชาย ตาเป็นปุโรหิตเชียวนะ”

“มีอะไรเป็นเครื่องหมายราชทูตบ้างล่ะ” อ๋อ มีสิ แล้วแกก็ล้วงลงไปในย่ามอันเต็มไปด้วยเสบียงกรัง คว้าเอากระปุกใส่น้ำพริกออกมาชูขึ้น พลางร้องบอกว่า

“อ้ายหลานชาย นี่เป็นกลักพระราชสาส์นซึ่งจะต้องถวายต่อพระองค์” พอเห็นเจตบุตรลดหน้าไม้ลง แกก็เริ่มวัธยายต่อไป

“เดี๋ยวนี้น่ะในเมืองเขาหายโกรธพระองค์แล้ว จึงได้ส่งตามาให้ไปทูลเชิญ เมื่อตกลงกันแล้วจะได้แต่งขบวนเกียรติยศออกมารับ”

“งั้นลงมาคุยกันก่อนดีกว่าตา”

เจตบุตรบอก แล้วจัดแจงผูกหมาให้เรียบร้อยแล้วก็รับตาชูชกซึ่งจัดเจนโลกกว่า หลอกเสียจนหลงเชื่อว่าเป็นทูตจะมาเชิญเสด็จพระเวสสันดรกลับไปครองราชสมบัติดังเดิม จึงได้จัดเสบียงกรังมอบให้ตาชูชก พร้อมกับนำทางผ่านไปในป่าอันเป็นบริเวณที่ตนรักษาอยู่ เมื่อถึงแดนป่าใหญ่ก็ชี้ทางให้ตาชูชก ผ่านเข้าไปในป่า และได้พบฤาษีผู้บำเพ็ญฌาณอยู่ แล้วถามทางจากท่านก็เดินไปอย่างถูกทาง แล้วอำลาตาชูชกกลับยังสำนักของตน ตาชูชกแกออกเดินทางไปตามที่เจตบุตรชี้ให้ทราบ

จนกระทั่งพบกับอจุตฤาษี ซึ่งก็ถูกตาเฒ่าหลอกให้หลงเชื่อ อจุตฤาษีก็นำไปชี้ทางให้

“โน้น ที่เห็นเป็นทิวแถวอยู่นั้นแหละ เขาคุนธมาทน์ ต่อจากนั้นจะมีทางเดินอย่างสะดวกสบายไปสู่เขาวงกต ซึ่งพระเวสสันดรบำเพ็ญพรตอยู่ ไม่ต้องกลัวหลง เพราะมีเส้นทางเดียวเท่านั้น” แล้วอจุตฤาษีก็กลับสำนัก ตาแกก็เดินมุ่งไปทางที่อจุตฤาษีชี้ให้ ตราบจนผ่านเข้าเขตเขาวงกตเป็นเวลาจวนพลบ ตาแกจึงคิดว่า

“ถ้าเราไปขอสองพระกุมารในตอนนี้ ซึ่งพระนางมัทรีกลับจากป่าเรื่องก็จะไม่สำเร็จแน่ เพราะธรรมดาสตรีน่ะเลือดในอกยากที่จะยกให้ใครไปได้ ต้องรอพรุ่งนี้พอมัทรีเข้าป่าไปเสียก่อนจึงเข้าไปขอจะดีกว่า” เมื่อแกคิดเช่นนี้แล้วก็หาที่พักอาศัยหลับนอน

และในคืนที่ตาเฒ่าแกมานอนใกล้ๆ บริเวรอาศรมนั้นเอง เวลาดึกสงัดพระนางมัทรีก็เกิดฝันประหลาดพิศดารแสนน่ากลัวสยดสยองยิ่งนัก ในฝันนั้นมีบุรุษผู้หนึ่งรูปร่างกำยำล่ำสัน ทัดดอกไม้แดงทั้งสองหู ถือดาบอันคมกริบวิ่งวู่วามเข้ามาที่พระนาง จิกพระเกศาพร้อมกับเอาดาบผ่าพระอุระของพระนาง หยิบเอาหัวใจของพระนางไป แม้พระนางจะร่ำร้องสักเพียงไร บุรุษผู้นั้นก็ไม่สงสารเวทนา ได้หัวใจแล้วก็ปล่อยพระนางให้เป็นอิสระแล้วก็หันไป

พระนางได้แต่ร้องๆ จนตกใจตื่นเหงื่อชุ่มโชกไปทั่วพระวรกาย ใจยังเต้นไม่รู้หาย ไม่รู้ว่าเป็นอะไร คิดอะไรไม่ออก ต้องไปถามพระฤาษีเจ้าดูจะรู้เห็น พระนางมัทรีก็ค่อยๆ เดินไปยังอาศรมของพระเวสสันดร เคาะประตูพระอาศรม ในขณะนั้นพระเวสสันดรก็ตื่นบรรทมแล้วเช่นกันเมื่อได้ยินเสียงเคาะก็ร้องถามออกมาว่า

“ใครนั่นน่ะ ?”

“หม่อมฉันเอง”

“มัทรีเรอะ”

“เจ้าข้า กระหม่อมฉัน”

“เอ๋ะ ก็เราเคยสัญญากันไว้ยังไงล่ะ ว่ากลางค่ำกลางคืนเราจะไม่ไปหากัน เจ้าลืมสัญญาแล้วหรือไร”

“มิได้พระเจ้าข้า ที่กระหม่อมฉันมาเพราะมีเรื่องร้อน”

“เรื่องอะไรล่ะ นั่งอยู่แต่ข้างนอกเถอะ แล้วเล่ามาดูหรือ”

“คือว่าหม่อมฉันฝันไป”

“ฝันว่าอย่างไร”

“ฝันว่ามีบุรุษกำยำล่ำสัน ทัดดอกไม้แดงทั้งสองหู ถือเอาดาบอันคมกล้า วิ่งมาแหวะหทัยหม่อมฉัน แล้วควักเอาดวงใจหนีไป กระหม่อมฉันจึงต้องมาขอให้พระฤาษีเจ้าช่วยทำนายทายทักด้วย ว่าเป็นอย่างไร ใจของหม่อมฉันยังเต้นไม่หายเลย”

พระเวสสันดรได้สดับฟังพระสุบินที่พระนางมัทรีเล่าก็ทราบได้ทันทีว่าพรุ่งนี้จะมียาจกมาขอพระลูกเจ้าทั้งสอง แต่จะบอกไปตามตรงก็กลัวมัทรีจะไม่ไปป่า จะเป็นอันตรายแก่พระโพธิญาณที่พระองค์ประสงค์ จึงเบี่ยงบ่ายเสียว่า

“ไม่มีอะไรดอกพระนาง ธาตุวิปริตจึงทำให้ฝันร้าย เธอ เคยอยู่แต่ในที่อันมีแต่ความสุข มาอยู่ในอาศรมอันกระด้าง อาหารก็มีแต่เผือกกับมันผลไม้ ธาตุเธอจึงวิปริตไป อย่าตกใจอะไรเลย”

พระมัทรีไม่ยากจะเชื่อแต่ก็ต้องเชื่อ เพราะผู้ทำนายได้ในที่นี้ก็ไม่มีใครนอกจากพระเวสสันดรเท่านั้น จึงทูลลากลับไปยังอาศรมบทของพระนาง

เวลารุ่งเช้าพระนางไม่อยากออกไปป่าเลย ให้ห่วงพระราชโอรสและธิดาทั้งสอง แต่ก็ไม่สามารถจะอยู่ได้ เพราะผลไม้เผือกมันทั้งหลายก็ดูจะเหลือเพียงเล็กน้อย จึงตระเตรียมเสียมและไม้ขอไม้คาน และกระเช้าเสร็จเรียบร้อยก็จูงมือสองพระกุมารเข้าไปฝากพระเวสสันดรไว้

ถึงอย่างนั้นพระนางก็กลับไปกลับมาตั้งหลายหน ดูจะเป็นลางสังหรณ์หรืออย่างไรแน่ ก่อนจะไปก็เฝ้าฝากแล้วฝากอีก เพราะพระนางยังนึกถึงนิมิตร้ายอันนั้นไม่หาย

หลังจากพระนางออกไปแล้ว พระเวสสันดรทราบดีว่าวันนี้จะมียาจกมาถึงสำนัก จึงตรัสให้พระชาลีและกัณหาไปคอยดูต้นทางที่จะมีใครไปมา

ตาเฒ่าชูชกเล่า พอตื่นล้างหน้าล้างตาคะเนว่าพระมัทรีคงจะออกไปแล้ว ตาแกก็เดินดุ่มตรงรี่เข้ามายังอาศรมบท ซึ่งขณะนั้นเองพระเวสสันดรก็ทอดพระเนตรเห็น จึงบอกให้เจ้าชาลีต้อนรับ แต่ก็ถูกตาชูชกตะเพิดกลับเพราะเข้าลักษณะตวาดป่าให้ว่าเสือกลัวไว้ก่อน

เมื่อเข้ามาถึงก็ทักทายปราศรัยกันเรียบร้อยแล้ว ตาแกก็เริ่มอารัมภบท ชักแม่น้ำทั้ง ๕ มาปรารภว่าเป็นดินแดนแห่งความสุขของประชาชน และเป็นต้นแห่งเกษตรกรรม และไม่รู้จักจะเหือดแห้งในการทำทาน เสมือนแม่น้ำทั้ง ๕ อำนวยความสุขแก่พลเมืองฉะนั้น และที่แกมานี่ก็เพื่อจะขอพระชาลีกัณหาไปเป็นทาสี ซึ่งพระเวสสันดรก็อำนวยให้ด้วยใจโสมนัสอย่างยิ่ง

แต่ในขณะนั้นเอง พอพระชาลีและกัณหารู้ว่าพระบิดายกตนให้แก่พราหมณ์ผู้ร้ายกาจ บังเกิด ความกลัว ก็หลบลี้หนีเข้าไปซ่อนตัวอยู่ในสระบัว เอาใบบัวบัวศรีษะไว้ ตาชูชกพอขอได้แล้วก็เหลียวไปดูไม่เห็นสองพระกุมาร ก็เริ่มบริภาษพระเวสสันดรเป็นการใหญ่

“ทำเป็นคนใจดี พอขอปุ๊บก็ยกให้ปั๊บ แต่พอจะเอาเข้าจริงสิขายหน้า เด็กสองคนก็ร้ายเหลือพอพยักหน้าหมับก็โดดผลับ หายไปเลย เขาว่าพระเวสสันดรใจดี เห็นจะไม่จริงเสียกระมัง”


พระเวสันดรก็มิได้โกรธเคือง ทรงพิจารณาเห็นว่าสองกุมารคงจะกลัวจึงไปหลบซ่อนกายอยู่ภายนอก จึงพูดปลอบใจชูชกแล้วออกติดตามสองกุมาร เพื่อนำมามอบให้ตาชูชก เสด็จออกไปเที่ยวค้นหา ตราบจนกระทั่งถึงสระบัวเห็นรอยเท้าขึ้นแต่ไม่เห็นรอยเท้าลง ก็รู้แน่ว่าสองกุมารอยู่ในสระ

จึงตรัสเรียกชาลี เตือนให้รู้ว่าเป็นลูกกษัตริย์และจะช่วยให้พระราชบิดาได้บำเพ็ญบารมีเพื่อโพธิญาณ โดยเปรียบ พระชาลีเหมือนเรือ ซึ่งจะขี่ข้ามห้วงน้ำให้สำเร็จประโยชน์

พระชาลีได้คิดก็เปิดใบบัว แล้วขึ้นมากราบกับพระบาท ทรงถามถึงกัณหา ซึ่งพระชาลีก็บอกเป็นนัยๆ พระเวสสันดรก็ตรัสเรียกโดยในเดียวกับชาลี พระกัณหาก็ได้ขึ้นมากราบพระบาททรงนำสองกุมารไปมอบให้ตาชูชก

ตาแก่ชูกเมื่อได้รับพระราชทานสองพระกุมารจากพระเวสสันดรแล้วก็คิดว่า...“เออ...สองกุมารเด็กน้อยนี้เป็นลูกเจ้าลูกนายจำเป็นเราต้องข่มขวัญให้สองพระกุมารนี้กลัวเสียก่อนมิฉนั้นแล้วแทนที่เราจะเป็นนายกับเป็นอันว่าเราต้องไปคอยรับใช้สองพระกุมารเสีย...” คิดได้ดั่งนี้แล้วจึงได้เอาเถาวัลย์มาผูกข้อหัตถ์ของสองพระกุมารที่น่าสงสารแล้วขู่ตระคอกต่อพระพักต์ของพระเวชสันดร

.....มาถึงตรงนี้บางท่านได้รจนาไว้ว่า พระเวสสันดรถึงกับชักพระขรรค์ออกจะปริดชีพเจ้าพราหมณ์เฒ่า “เราอุตสาห์เลี้ยงดูกล่อมเกลี้ยสองลูกน้อยแต่น้อยมามิเคยได้ตบตีให้ระคายเคืองแม้แต่น้อย และสองพระกุมารก็มิได้เดื้อดึงขัดขื่นพูดว่านอนสอนง่าย”

แต่แล้วด้วยอำนาจของกุศลกรรมความดีที่พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญเพื่อสัมพุทธโพธิญาณก็มาดลใจให้พระเวสสันดรกลับคิดขึ้นมาได้ว่าพระองค์ได้ทรงมอบพระลูกน้อยทั้งสองแด่พราหมณ์เฒ่าไปแล้วพระเวสสันดรจึงได้เข้าหลบเข้าไปข้างในบรรณศาลา.. และก็ทรงระลึกถึงมหาทานในครั้งนี้...คือทรงมุ่งหวังจะเป็นพระพุทธเจ้าที่จำเป็นจะต้องเสียสละซึ่งแห่งทานนี้...พระเวสสันดรก็ระงับเสียซึ่งโทสะนี้ได้ ฝ่ายตาแกชูชกก็รีบพาจากไปเพราะกลัวจะพบพระมัทรี

พระมัทรีที่อยู่ในป่า วันนี้ดูวิปริตผิดไปทุกอย่างทุกประการ เดี๋ยวเสียมหลุดมือ เดี๋ยวกระเช้าหล่น เดี๋ยวไม้ขอไม้คานพลัด อะไรต่อมิอะไรดูมันวุ่นวายไปหมด ที่ๆ เคยมีผลไม้เผือกมันก็บังเอิญไม่มี ซึ่งพระนางก็ต้องบุกไกลออกไปกว่าที่เคย ได้มาบ้างพอสมควรแล้วก็รีบกลับอาศรม เพราะห่วงสองกุมาร แต่พอมาถึงกลางทางซึ่งเป็น ทางแคบเดินได้เฉพาะตัว ก็พบสัตว์ ๓ ตัวคือ ราชสีห์ เสือเหลือง และเสือโคร่ง นอนขวางทางอยู่ นางไม่สามารถจะไปได้

ก็วางสิ่งของยกมือวอนไหว้ขอทาง แต่ทั้งสามสัตว์ซึ่งเทวดาแปลงกายมาเพื่อสกัดทางไม่ให้พระมัทรีไปทันสองพระกุมาร ก็แกล้งนอนขวางหนทางอยู่เฉยๆ จนกระทั่งเวลาจวนพลบ ตาชูชกและสองกุมารพ้นประตูป่าไปแล้ว ทั้งสามสัตว์ก็หลีกทางหายไป พระมัทรีก็ดุ่มเดินกลับบรรณศาลา อะไรมันผิดดูแปลกตาไปเสียหมดทุกอย่าง ทุกๆ วันทั้งสองเคยมาดักหน้าดักหลัง

“แม่ขา แม่ได้อะไรมา” กัณหาจะฉะอ้อนถาม ส่วนพ่อชาลีก็จะรับเสียมบ้าง ไม้ขอบ้าง ไปตามต้องการ

แต่มาวันนี้ช่างเงียบเสียจริงๆ คงเล่นเพลินอยู่ที่พระบิดาก็เป็นได้ พระนางก็รีบด่วนเดินเข้าไปยังบรรณศาลาของพระเวสสันดร ก็ไม่เห็นพระสองลูกรักก็ใจหายวาบ ตายจริงนี่อะไรกัน สอบถามพระเวสสันดรก็ไม่ตรัสด้วย ยิ่งทำให้กลุ้มมากขึ้น พระนางออกตามหาสองพระกุมารสักเท่าใดก็ไม่มีเสียงขาน จึงกลับมายังบรรณศาลา จะถามสักเท่าใดพระเวสสันดรก็นิ่งเฉย แต่พอพูดขึ้นมาก็ยิ่งทำให้กลุ้ม

“ทุกๆ วันเคยกลับแต่วัน วันนี้คงชมดงชมป่าเพลินไปนะ จึงกลับเอามืดค่ำ ในป่าไม่ใช่มีแต่สัตว์ วิชาธรณ์คนธรรพ์ตลอดจนพรานป่าก็มีมากมาย เห็นจะสมใจเจ้าแล้วสินะ”

โอ...ช่างน่าสงสารพระนางมัทรีเสียนี่กระไรกลับจากป่าเพื่อหาผลไม้ก็ให้แสนจะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าแล้วยังต้องมาถูกพระเวสสันดรตัดพ้อให้ซอกช้ำระกำใจอีก ทำไมพระเวสสันดรจึงตัดพ้อเช่นนี้หนอ...อะไรเป็นเหตุมันเป็นกรรมอะไรของพระนางมัทรีเล่า ? ไปอ่านบุพกรรมของพระนางมัทรีได้ในเรื่องเจ้าหญิงนกกระจาบ

พระนางถึงกับสอึก แต่ความทุกข์เรื่องลูกทั้งสองมีมากกว่า ก็คร้านจะต่อปากต่อคำ ก็วนเวียนค้นหาไปเรื่อยไป พร้อมกับร้องไห้สะอึกสะอื้น ทุกข์อะไรเล่าจะมีล้นไปกว่าทุกข์ของแม่ที่ลูกหาย ไม่ทราบว่าตายหรือเป็น หาแล้วหาอีก ร้องไห้ตะโกนไป เรียกไปเสียงแหบเสียงแห้ง จนกระทั่งจวนสว่างพระนางก็หมดกำลัง พอกับมาถึงหน้าพระอาศรมก็สลบหมดสติแน่นิ่งไป

พระเวสสันดรแสนจะตกใจ เพราะเกรงว่านางจะตายเสีย จึงตรงเข้าไปจับต้องตัวนางก็เห็นว่าร่างยังอบอุ่นอยู่ ก็สงสารเห็นความทุกข์ของนาง ลืมตัวว่าเป็นฤาษีก็ยกเศียรนางขึ้นพาดตัก แล้วนวดแฟ้นเท่าที่จะทำได้ เป็นครู่ใหญ่ พระนางก็รู้สึกตัว

พระเวสสันดรก็บอกเรื่อง ให้ลูกเป็นทานไปแล้ว เพราะเห็นว่านางเหนื่อยมาแต่ป่าจึงยังไม่บอก และขอให้นางอนุโมทนา ซึ่งพระนางก็ได้อนุโมทนาบุตรทานด้วยความยินดี

ทีนี้ก็ถึงเรื่องจะกล่าวบทไปถึงท้าวสหัสนัยไตรตรึงสาทิพย์อาสน์เคยอ่อนแต่ก่อนมา กลับกระด้างดังศิลาก็ให้ประหลาดใจ จะมีเหตุมั่นแม้นในแผ่นดิน อมรินทร์เร่งคิดสงสัย จึงสอดส่องทิพย์เนตรดูเหตุภัย ก็แจ้งใจ...พระเวสสันดร ถ้าไม่ไปช่วยเห็นทีจะแย่เสียกระมัง

เพราะถ้าใครรู้แกวแบบมาขอพระมัทรีไปเสีย พระองค์จะเหลือเพียงองค์เดียว การบำเพ็ญพรตภาวนาก็คงไม่สะดวกไปได้ ต้องลงไปช่วยเห็นจะดีเป็นแน่ พระอินทร์ซึ่งมาชื่อเยอะแยะก็แต่งองค์ทรงเครื่องเหาะลงไป พอลงมาถึงโลกมนุษย์ก็แปลงตัว เป็นพราหมณ์แก่เดินกระย่องกระแย่งเข้าไปหาพระเวสสันดร ซึ่งนั่งอยู่หน้าพระอาศรมมีพระมัทรีเฝ้าสนทนาอยู่ด้วย พอเข้าไปถึงก็ขอพระมัทรี โดยอ้างเหตุผลอย่างที่พูดกันว่า

“ลุงนะแก่แล้ว ขอลุงเถอะ” ซึ่งพระเวสสันดรก็อำนวยให้ทันอกทันใจเลยทีเดียว พร้อมกับจูงมือพระมัทรีมามอบให้เดี๋ยวนั้น พราหมณ์เห็นได้ดังประสงค์ แลดูหน้าพระเวสสันดรและพระมัทรีก็เห็นยิ้มแย้ม เต็มอกเต็มใจในการบริจาค จึงได้ทูลว่า

“ข้าแต่พระเวสสันดร ข้าพเจ้ามิใช้พราหมณ์ขอทาน”

“ท่านเป็นอะไรล่ะ”

“ข้าพเจ้าเป็นพระอินทร์ ผู้เป็นใหญ่ในดาวดึงส์สวรรค์”

“ท่านลงมาทำไมล่ะ”

“เพื่อให้พระบารมีของพระองค์บริบูรณ์เนื่องด้วยการบริจาคภรรยาร่วมใจ”

และได้ตรัสต่อไปอีกว่า “พระมัทรีนี้พระองค์ได้ให้ข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าขอฝากไว้ก่อน พระองค์จะให้ใครอีกไม่ได้”

“ทำไมไม่เอาไปล่ะ”

“ฝากปฏิบัติพระองค์ก่อน และที่ข้าพเจ้าลงมานี้พระองค์ประสงค์อะไรโปรดบอก ข้าพเจ้าจะประสิทธิ์ให้ดังปรารถนา”

พระเวสสันดรซึ่งมาบำเพ็ญพรตอยู่ป่า ก็คิดจะกลับบ้านเมืองอยู่แล้ว จึงได้ขอพรพระอินทร์ ๘ ประการ คือ

๑. ขอให้พระบิดาหายโกรธเคือง มารับไปครองสมบัติดังเก่า

๒. หากจะมีการฆ่าขอให้มีปัญญาที่จะปลดปล่อยไป

๓. ขอให้ข้ามีเมตตากรุณาแก่ช่วยคนทุกทั่วหน้า และประชาชนเหล่านั้นได้อาศัยข้าอยู่เป็นสำราญ

๔. ขอให้ข้ามีน้ำใจอยู่ในภรรยาแต่ผู้เดียว ไม่เกาะเกี่ยวด้วยหญิงอื่น

๕. ขอให้ข้าได้มีโอกาสสืบสันติวงศ์ และปรากฏชื่อเสียงเลื่องลือแก่คนทั่วไป

๖. เมื่อข้าได้เสวยราชย์แล้ว พอรุ่งเช้าให้มีอาหารพอที่ข้าจะให้ทานได้โดยสะดวก

๗. เมื่อข้าได้ให้ทานมากน้อยเท่าใดๆ ก็ตาม ของสิ่งนั้นอย่าได้รู้จักหมดสิ้นไปเลย

๘. เมื่อแตกกายสลายชีพขอข้าได้ไปสู่สวรรค์


รวมเป็นพร ๘ ประการ ซึ่งท้าวมัฆวานก็ประสิทธิ์ให้ดังใจปรารถนา แล้วท้าวอมรินทร์ก็เลื่อนลอยคืนสู่ยังนิเวสสถานของพระองค์ สองกษัตริย์ก็โสมนัสในพระทัย และตั้งใจอยู่ว่าเมื่อใดจะได้พบสองกุมารที่ท้าวเธอได้ให้ทานไป และเมื่อใดพระพรทั้ง ๘ นี้ จะอำนวยผลให้ตามท้าวหัสนัยประสิทธิ์

ฝ่ายว่าเฒ่าชราตาชูชกแกได้สองกุมารแล้ว ก็พาทั้งสองกุมารเดินทางมา ตาแกเอาเถาวัลย์ผูกข้อมือ ๒ กุมารแล้วจูงเรื่อยมา บางครั้งก็เดินสะดุดตอไม้ เถาวัลย์หลุดจากมือ สองกุมารก็วิ่งตื๋อกลับอาศรม แกตามมาทันก็โบยตีเรื่อยไป ฟาดพระชาลี ตีพระกัณหา เสียงร้องเอ็ดอึงไปด้วยกัน

ครั้นตกค่ำแกกลัวภัยจากสัตว์ร้าย ตนเองก็ปีนป่ายต้นไม้ขึ้นไปผูกเปลนอนข้างบน ข้างล่างแกก็ล่ามสองกุมารไว้โคนต้นไม้ จะประสบอันตรายอะไรก็ช่าง ธุระไม่ใช่ นี่แหละจิตใจของผู้ที่อยากแต่จะได้ ฉันเป็นดีคนอื่นยังไงก็ช่าง ทาสทาสีตายเสียได้ก็ดีไม่ต้องเสียค่าข้าว ว่าไปนั้น สัตว์ป่าร้องโหยหวนชวนขนลุกและอากาศก็หนาวเหน็บสองพระกุมารกอดกันกลมเป็นที่สงสารยิ่งนัก

เอาเป็นว่าตาชูชกแกเห็นแก่ตัวเองโดยประการดังนี้ เหล่าเทพยดานางฟ้าที่ปรกปรักรักษาในเขตป่านั้นก็ให้สงสารสองพระกุมาร เมื่อเห็นว่าตาเฒ่าชูชกหลับสนิทก็ออกมาแปลงกายเป็นพระเวสสันดรและพระนางมัทรีปลอบขวัญและแห่กล่อมขับกล่อมร่ายรำพร้อมอาหารมาให้สองกุมารเพลิดเพลินเจริญใจคลายความความหวาดกลัวไปได้บ้าง พอรุ่งเช้าเทพยดานางฟ้าเหล่านั้นก็หายไป

รุ่งขึ้นเดินทางต่อไป จนกระทั่งถึงทางแยกอีกทางหนึ่งไปกลิงครัฐ ส่วนอีกทางหนึ่งนั้นไปพิชัยเชตุอุดรแกจำได้คลับคล้ายคลับคลาเพราะผ่านมาเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ผลที่สุดก็เลยเสี่ยงทายผิดถูกไม่เป็นไม่เป็นไรน่ะมีปากน่ะมีปากมีตีนจะกลัวอะไรกับหลงทาง

แกก็เลยหลงจริงๆ พาสองกุมารเดินเรื่อยตราบจนกระทั่งถึงกรุงพิชัยเชตุอุดร

ในคืนนั้นเอง ลางสังหรณ์ก็ปรากฏกับท้าวสญชัยผู้เป็นอัยกา ในที่บรรทมหลับก็เผอิญฝันเห็นว่ามีผู้เอาดอกบัว ๒ ดอกมาถวาย ก็ตกพระทัยตื่น จึงตรัสเรียกโหรมาทำนายโหรก็ทำนายว่าจะได้ลาภจะพบญาติวงศ์ที่สนิท ชิดเชื้อกลับคืนมา ได้เวลาออกว่าราชการท้าวเธอก็เสด็จออกว่าราชการมองไปที่หน้าพระลาน ก็ปรากฏร่างของชายชราจูงสองกุมารผ่านมา ท้าวเธอทอดพระเนตรเห็นก็สงสัย จึงตรัสสั่งอำมาตย์

“เฮ้ย อำมาตย์ ไปดูทีหรือว่าใครจูงใครผ่านไปนั้น ?” อำมาตย์ก็รับพระบัญชาก็ออกไปถามตาพราหมณ์ดู ก็ได้ความจากพราหมณ์เฒ่าว่า ขอสองกุมารจากพระเวสสันดร มาจะกลับไปบ้านเมือง

พระเจ้ากรุงสญชัยทราบเรื่อง ก็ขอไถ่สองกุมารตามที่พระเวสสันดรได้กำหนดไว้ ให้ชูชกเป็นมหาเศรษฐีขึ้นทันทีมีปราสาทข้าทาสบริวารทั้งหลายอย่างภาคภูมิ เป็นเศรษฐีทางลัดโดยที่พระเจ้ากรุงสญชัยไถ่ค่าตัวกัณหาชาลี ตาเฒ่าชูชกก็เลยกลายเป็นมหาเศรษฐีโดยฉับพลัน ด้วยที่แกไม่เคยพบไม่เคยเห็นแก้วแหวนเงินทองมากมายก่ายกอง เหล่านางรำนางกำนัลแต่ละนางก็ล้วนแต่สวยสดงดงาม

แม่อมิตดาว่างามแล้วก็ยังต้องชิดซ้าย พูดจาก็อ่อนหวานเอาอกเอาใจยามกินก็คอยป้อนให้ถึงปาก พี่จ๊ะ พี่จ๋าน้องป้อน อันนี้อร่อยอันนั้นก็น่าทาน มีดนตรีขับกล่อมตลอดเวลา จนพี่แกลืมแม่อมิตดาเมียรักเสียสนิท และด้วยตาเฒ่าชูชกแกไม่เคยกินของอร่อยที่วิเศษอย่างนี้มาก่อน แกก็เลยกินๆ จนเกินกระเพาะที่จะรับได้ จนท้องแตกตาย


พระเจ้ากรุงสญชัยก็เลยทำศพให้ แล้วป่าวร้องให้ญาติของแกมารับทรัพย์สมบัติไป แต่ก็ไม่มีใคร เพราะแกไม่ใช่คนในแคว้นนั้น เป็นคนมาจากที่อื่น ถ้าเป็นสมัยนี้จะน่าคิดทีเดียว ขนาดคนรุ่นมหาเศรษฐีอย่างชูชก ไม่มีญาติมีหรือ คงจะมีคนมาอ้างเป็นญาติข้างพ่อบ้าง ข้างแม่บ้าง ตั้งร้อยตั้งพันแจกกันไม่หวาดไม่ไหวเป็นแน่ แต่นี่ดีที่เป็นสมัยก่อน เลยไม่มีคนมารับสมอ้าง ทรัพย์ทั้งหลายก็เลยเข้าท้องพระคลังอย่างเดิม ตาชูชกก็ได้ตายไปแล้วหมดเรื่องปิดฉากเสียที ยังเหลือแต่พระชาลีกัณหา ซึ่งพระเจ้าปู่ได้ไถ่ออกมาจากการเป็นทาสทาสี ตอนนั้นพระเจ้ากรุงสญชัยคิดถึงพระเวสสันดรมากแล้ว คิดดูง่ายๆ สมัยพระเวสสันดรยังอยู่ราชการงานเมืองทั้งหลายพระเวสสันดรรับภาระไปทั้งนั้น

เดี๋ยวนี้สิพระองค์ต้องโดดเข้ามาทั้งร้องทั้งรำเองเสร็จ เหนื่อยทั้งกายทั้งใจ พอเห็นสองพระกุมารก็ดีพระทัย ข้อโกรธเคืองทั้งหลายก็หมดไปหมด เมื่อไถ่สองกุมารเสร็จเรียบร้อย ก็ให้จัดการรับมิ่งสู่ขวัญ มีการสมโภชเฉลิมฉลองต้อนรับสองกุมารเป็นการใหญ่

ซึ่งเรื่องทั้งหลายก็เป็นไปอย่างงามเกียรติของกษัตริย์ที่จัดทุกประการ แล้วสั่งให้เตรียมพล โยธาออกไปรับพระเวสสันดรคืนพระนคร โดยจัดให้พระชาลีเป็นทัพหน้ายกไปก่อน

พระเวสสันดรได้ยินเสียงไพร่พลช้างม้าอื้ออึง ก็ตกพระทัย แต่พระนางมัทรีทูลเตือนให้สตินึกถึงพรที่ขอพระอินทร์ไว้ ก็ค่อยพินิจดูก็รู้ชัดว่าเป็นไพร่พลของพระบิดาของพระองค์ เมื่อตั้งสติก็คอยต้อนรับอยู่ที่หน้าบรรณศาลา

พอกษัตริย์ทั้ง ๖ ไปพบกันพร้อมหน้า คือพระเจ้ากรุงสญชัย พระนางผุสดี พระชาลี กัณหา พระเวสสันดร และพระนางมัทรีก็โศกโศกา เพราะพลัดพรากกันมานานหลายเดือน ได้รับความลำบากต่างๆ ถึงกับสลบลงทั้ง ๖ กษัตริย์ ไพร่พลก็พากันร่ำร้องไห้ไปหมดทั้งกองทัพ ถึงกับสลบสไสลไปหมดด้วยกัน

พระอินทร์เห็นว่าจะไม่เป็นการแน่ ต้องช่วยอีกแล้ว ในเรื่องพระอินทร์บันดาลให้ห่าฝนโบกขรพรรษตกลงมา ฝนนี้ก็แปลกประหลาดเหลือ เพราะใครอยากไม่ให้เปียกก็ไม่เปียก เขาว่าเหมือนน้ำตกบนใบบอนหรือบัว แล้วก็ตกลงพื้นดินไป ต่อเมื่อใครอยากให้เปียกจึงจะเปียก และแถมมีสีแดงเสียด้วยสิ

กษัตริย์ทั้ง ๖ และไพร่พล ได้รับความชุ่มชื่นก็ฟื้นจากสลบ พระเจ้ากรุงสญชัยก็เชิญให้พระโอรสลาผนวชเข้าไปครองราชสมบัติดังเก่า พระนางผุสดีก็ให้พระมัทรีลาเพศดาบทสินี (ฤๅษีผู้หญิง) กลับไปอยู่เวียงวังตามเคย

สุดท้ายของเรื่องก็คือ พระเวสสันดรลาเพศดาบถคืนเข้าเสวยราชสมบัติให้ทานต่อไปตามเคย ชาวกลิงคราชซึ่งขอช้างปัจัยนาเคนทร์ไป จนพระเวสสันดรถูกเนรเทศ หลังจากแว่นแคว้นเข้าสู่สภาพปกติสุข ฟ้าฝนตกต้องตามฤดูกาลแล้ว ก็นำช้างกลับมาถวายคืนไว้ตามเดิม

บุพพกรรม

บุพพกรรมของพระเวสสันดร ทรงหวาดกลัวเสียงไพร่พลช้างม้าที่พระเจ้ากรุงสญชัยยกทัพมารับกลับยังกรุงพระนคร ก็เป็นเพราะว่าครั้งหนึ่งพระเวสสันดรเสวยพระชาติเป็นมหากษัตริย์ พระองค์ทรงยกกองทัพออกจากพระนครเป็นกองทัพที่ใหญ่โตมโหราญและได้มีพระภิกษุองค์หนึ่งเดินผ่านมาพระมหาษัตริย์ทรงเกรงว่าพระภิกษุองค์นั้นจะได้รับอันตรายจึงให้อำมาตย์ไปนิมนต์พระภิกษุหลบไปก่อน...พระภิกษุองค์นั้นตกใจกลัวก็หลบไป...ด้วยผลกรรมอันนี้มาในชาติพระเวสสันดรพระองค์ก็เลยตกใจกลัวเสียงกองทัพด้วยประการฉะนี้

บุพกรรมของพระนางมัทรี ที่ถูกพระเวสสันดรทรงตัดพ้อให้เจ็บช้ำพระหฤทัยนั้นก็เพราะในพระชาตินั้นทรงเป็นเกิดนกกระจาบแล้วได้ต่อว่าต่อขานแก่สามีซึ่งเป็นพ่อนกติดอยู่ในดอกบัวไม่สามารถที่จะกลับมาได้จึงเป็นเหตุให้ลูกน้อยต้องตายไปในกองไฟป่าทั้งหมด

บุพพกรรมของพระกัณหา ชาลี ในอดีตชาตินั้นเกิดเป็นกุมารแลกุมารีของชาวนา บิดามารดาใช้ให้กุลบุตรทั้ง ๒ ดูแลควายมิให้เข้ากัดกินข้าวกล้าในนาข้าว ควายแก่นั้น ดื้อ ด้าน ทาน ขืน ก้าวลงสู่ท้องนาเพื่อกัดกินข้าวกล้า กุลบุตรทั้ง ๒ จึงเฆี่ยนตีควายนั้นให้เข็ดหลาบ ด้วยบุพพกรรมนั้นแล ควายนั้นกำเนิดเกิดเป็นตาพราหมณ์ชูชกในชาตินี้ กุลบุตรทั้ง ๒ เกิดเป็นพระกัณหาชาลีร่วมภพชาติ ด้วยบุพกรรมอันนั้นส่งผลให้สองพระกุมารต้องมาถูกชูชกผูกมัดมือเฆียนตีดังกล่าว

บุพพกรรมของตาชูชก ที่ได้ภรรยาสาวสวยวัยรุ่นนั้นเป็นเพราะในชาติหนึ่งได้บูชาพระด้วยดอกไม้สดแรกแย้มมาในชาตินี้จงมีภรรยาสาววัยรุ่นดังกล่าว

บุพพกรรมของนางอมิตดา ที่มีสามีแก่เพราะในชาติหนึ่งนางได้บูชาพระด้วยดอกไม้เหี่ยวแห้ง ส่วนดอกไม้สดนางก็นำมาประดับตัวเอง จนกระทั้งนางได้นึกขึ้นว่าไม่ดีงามนางจึงได้กลับใจบูชาพระด้วยดอกไม้สดตูมสวย และต่อจากนั้นตาชูชกจากไปไม่นาน นางก็มีชายหนุ่มรูปงามมาเกี่ยวพาราสี นางจึงได้หลบหนีไปอยู่ด้วยกัน จึงเป็นอันว่าตอนหลังนางก็มีสามีหนุ่ม ไม่ใช่ตาเฒ่าแก่เช่นตาชูก ดังนี้แล


เพิ่มเติม

พระเวสสันดร = มาเป็นพระพุทธเจ้า

พระนางมัทรี = มาเป็นพระนางพิมพายโสธรา พระชายาของเจ้าชายสิทธัตถะ (พระพุทธเจ้า) ออกบวชบรรลุอรหันตผล ได้เป็นเอตทัคคะทางด้านระลึกชาติ

พระชาลี = มาเป็นพระราหุล ได้บวชตั้งแต่ ๗ ขวบ จนสำเร็จบรรลุอรหัตต์ และปรินิพพานเมื่ออายุ ๓๒ ปี

พระกัณหา = มาเป็นพระอุบลวรรณา ออกบวชได้เป็นอัครสาวิกาฝ่ายซ้าย เป็นเอตทัคคะด้านอิทธิฤทธิ์

อัจจฤๅษี = มาเป็นพระสารีบุตร พระสาวกฝ่ายขวา เป็นเอตทัคคะผู้มีปัญญามาก

ช้างปัจจัยนาค = มาเป็นพระโมคคัลลาน พระสาวกฝ่ายซ้าย เป็นเอตทัคคะผู้มีฤทิธ์มาก

ชูชก = มาเป็นพระเทวทัต

นางอมิตตดา = มาเป็นนางจิญจมานวิกา

พรานเจตบุตร = มาเป็นนายฉันนะ

พระเจ้าสญชัย = มาเป็นพระเจ้าสุทโธทนะ (พุทธบิดา)

พระนางผุสดี = มาเป็นพระนางสิริมหามายา (พุทธมารดา)

เทวดาที่มาช่วยดูแลพระกุมารในตอนกลางคืน

ตนหนึ่งมา = เป็นพระอนุรุธ

และอีกตน = มาเป็นพระมหากัจจายนะ

พระอินทร์ = มาเป็นพระมหากัสสปะ




>>>>> จบ >>>>>


ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง