Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พระเจ้าพิมพิสาร (อุบาสก) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
ผู้ตั้ง ข้อความ
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 03 ต.ค.2006, 10:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

พระเจ้าพิมพิสาร


พระเจ้าพิมพิสาร เป็นพระราชาแห่งแคว้นมคธ ซึ่งเป็นแคว้นที่ใหญ่และมีอำนาจมากที่สุดแคว้นหนึ่งในสมัยพุทธกาล มีเมืองหลวงชื่อ กรุงราชคฤห์ พระองค์ได้ปกครองแคว้นมคธต่อจากพระบิดา เมื่อพระชนมายุ ๑๕ ปี และครองราชสมบัติอยู่เป็นเวลา ๕๒ ปี พระเจ้าพิมพิสารมีอัครมเหสีพระนามว่า เวเทหิ ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้ามหาโกศล แห่งแคว้นโกศล มีพระราชโอรสซึ่งประสูติจากพระนางเวเทหิ ๑ พระองค์ มีนามว่า อชาตศัตรู

พระองค์เลื่อมใสในเจ้าลัทธิหลายองค์ในสมัยนั้น แม้กระทั้งชฎิลสามพี่น้อง คือ อุรุเวละกัสสปะ นทีกัสสปะ คยากัสสปะ หลังจากได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระบรมศาสดา ที่สวนตาลหนุ่ม นอกเมืองราชคฤห์แล้ว พระองค์บรรลุพระโสดาบัน จึงกลายเป็นพุทธมามกะที่เข้มแข็ง ประกอบกับแคว้นมคธเป็นรัฐมหาอำนาจในยุคนั้น จึงทำให้พระพุทธศาสนาเผยแผ่ไปอย่างรวดเร็ว

เมื่อยังทรงเป็นราชกุมาร ทรงตั้งความปรารถนาไว้ ๕ ประการ คือ

๑. ขอให้ได้อภิเษกในราชสมบัติ
๒. ขอให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามาสู่แว่นแคว้น
๓. ขอให้ได้เข้าไปนั่งใกล้พระอรหันต์นั้น
๔. ขอให้พระอรหันต์นั้นทรงแสดงธรรม
๕. ขอให้ได้รู้ธรรมของพระอรหันต์นั้น


๐ ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าพิมพิสารกับพระพุทธเจ้า

เพื่อความสะดวกในการกำหนด อาจแบ่งระยะของความสัมพันธ์ออกเป็น ๒ ตอน คือ


๑. ความสัมพันธ์ก่อนกาลตรัสรู้

พระเจ้าพิมพิสาร ทรงมีความสัมพันธ์กับพระพุทธเจ้ามาตั้งแต่ต้น กล่าวกันว่าพระองค์เป็นอทิฏฐสหาย (สหายที่ไม่เคยเห็นหน้ากัน) กับเจ้าชายสิทธัตถะ สมัยที่ยังทรงเป็นพระกุมาร ด้วยพระเจ้าสุทโธทนะทรงมีความสนิทสนมกับพระบิดาของพระเจ้าพิมพิสาร

พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงพบพระพุทธเจ้าครั้งแรก ในสมัยที่พระมหาบุรุษเสด็จออกบรรพชา เสด็จมาพักที่เชิงเขาปัณฑวะ ตำบลอุรอเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ในสมัยนั้นพระเจ้าพิมพิสารทรงเป็นมหาอุปราชยังมิได้ราชาภิเษก พระองค์ทรงพอพระทัยในบุคคลิกลักษณะของพระมหาบุรุษมาก จึงทูลเชิญให้ครองราชสมบัติครึ่งหนึ่งแห่งแคว้นมคธ แต่พระมหาบุรุษทรงปฏิเสธ และตรัสบอกถึงความตั้งพระทัยของพระองค์ที่จะออกผนวชเพื่อแสวงหาอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระเจ้าพิมพิสารทรงแสดงความยินดีด้วย และทูลขอต่อพระมหาบุรุษว่า เมื่อได้ตรัสรู้แล้วขอให้เสด็จกลับมาโปรดพระองค์ด้วย


๒. ความสัมพันธ์หลังกาลตรัสรู้

เมื่อพระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี และเสด็จจำพรรษา ณ ที่นั่น เมื่อออกพรรษาแล้วทรงส่งสาวกไปประกาศศาสนา พระองค์เองเสด็จไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ทรงสั่งสอนพระอุรุเวลกัสสปะพร้อมน้องชายทั้ง ๒ และบริวาร ๑,๐๐๐ คนให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ แล้วทรงดำริจะเสด็จไปโปรดพระเจ้าพิมพิสารตามที่ทูลขอไว้

พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวกที่เคยเป็นชฏิล ๑,๐๐๓ รูป เสด็จเข้าสู่กรุงราชคฤห์ (เนื่องจากกรุงราชคฤห์เป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นแห่งแรก) โดยทรงประทับอยู่ ณ สวนตาลหนุ่ม (ลัฏฐิวัน) พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบ เสด็จไปเฝ้าพร้อมด้วยข้าราชบริพารและประชาชนเป็นอันมาก ประชาชนสงสัยว่าระหว่างพระพุทธเจ้ากับอุรุเวลกัสสปะ ใครเป็นอาจารย์ใครเป็นศิษย์กันแน่ พระพุทธเจ้าทรงสั่งให้พระอุรอเวลกัสสปะแก้ข้อสงสัยของประชาชน ท่านจึงประกาศว่าพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา ท่านเองเป็นศิษย์ พร้อมทั้งกราบพระบาทของพระพุทธเจ้า ประชาชนจึงเชื่อและพร้อมที่ฟังพระธรรมเทศนา

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสารและประชาชนทั้งปวง เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระเจ้าพิมพิสารทรงบรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน ประกาศพระองค์เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา ทรงดำริถึงที่ประทับอันเหมาะสมสำหรับพระพุทธเจ้าและพระสาวก จึงทรงถวายพระราชอุทยานเวฬุวันหรือป่าไผ่แด่พระพุทธเจ้า และพระพุทธองค์ทรงรับไว้ จึงเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา

พระเจ้าพิมพิสารทรงถวายทานเป็นอันมาก แต่ไม่ได้อุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว บรรดาญาติที่เป็นเปรตจึงปรากฏแก่พระเจ้าพิมพิสาร จึงทำให้ทรงตกพระทัยกลัว และทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้ถวายทานแล้วอุทิศส่วนกุศลให้แก่เปรตเหล่านั้น พระเจ้าพิมพิสารก็ทรงปฏิบัติตาม การทำบุญแล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้วเกิดขึ้นครั้งแรกในตอนนั้น

พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบัน จึงทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ พระธนิยะ ซึ่งเป็นช่างก่อสร้างมาก่อนบวช ได้กล่าวเท็จกับคนรักษาไม้หลวงว่า พระเจ้าพิมพิสารทรงอนุญาตแล้ว นำไม้หลวงไปสร้างกุฏิ พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบก็ไม่เอาโทษเพราะเห็นว่าเป็นพระภิกษุ แต่เรื่องนี้เป็นต้นเหตุให้พระพุทธเจ้าบัญญัติพระวินัย ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ ว่าด้วยการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้

นอกจากนี้ พระเจ้าพิมพิสารยังได้ทรงอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาด้วยประการต่างๆ เป็นอันมาก เช่น ได้พระราชทานหมอชีวกโกมารภัจจ์ ซึ่งเป็นแพทย์ประจำราชสำนัก ให้เป็นหมอประจำองค์พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ เป็นต้น

พระเจ้าพิมพิสารมีพระราชโอรสผู้หลงผิดพระองค์หนึ่งคือ พระเจ้าอชาตศัตรู ซึ่งประสูติจากพระนางเวเทหิ และเป็นรัชทายาท ก่อนประสูติ ขณะทรงพระครรภ์ นางเวเทหิทรงมีอาการแพ้พระครรภ์ทรงพระกระหายอยากเสวยพระโลหิตจากพระพาหาข้างขวาของพระสวามี พระเจ้าพิมพิสารจึงกรีดเอาพระโลหิตของพระองค์ให้พระนางเวเทหิทรงเสวย โหราจารย์ได้ทำนายว่า พระโอรสของพระองค์จะปิตุฆาต คือ ปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสาร

พระเจ้าพิมพิสารทรงรักใคร่พระราชโอรสมาก แม้จะได้ทรงสดับคำทำนายที่ร้ายแรงเช่นนั้น และแม้พระนางเวเทหิจะได้ทรงพยายามทำลายพระครรภ์เพื่อป้องกันภัยแก่พระองค์ แต่เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบ ก็ทรงห้ามเสียและโปรดให้ดูแลรักษาพระครรภ์เป็นอย่างดี เมื่อพระราชโอรสประสูติแล้ว ได้ทรงขนานพระนามว่า อชตศัตรู (ผู้เกิดมาไม่เป็นศัตรู)

เมื่ออชาตศัตรูเจริญวัยขึ้น ได้เลื่อมใสในพระเทวทัต จึงถูกพระเทวทัตชักชวนให้ทำปิตุฆาต โดยพระเจ้าอชาตศัตรูมีพระบัญชาให้ขังพระราชบิดาของพระองค์ ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าพบนอกจากพระนางเวเทหิ และต่อมาก็ทรงห้ามเข้าพบเด็ดขาด ทั้งนี้เพื่อปิดกั้นหนทางมิให้พระนางเวเทหิมีโอกาสซุกซ่อนอาหารเข้าไปถวายพระสวามี และจะได้เร่งให้พระเจ้าพิมพิสารสวรรคตไปตามแผนการ แต่พระเจ้าพิมพิสารทรงเป็นอริยบุคคล สามารถเสวยสุขมีความอิ่มพระทัยได้ด้วยการเสด็จจงกรม จึงทรงพระชนม์อยู่ต่อไปได้อีก ในขั้นสุดท้ายพระเจ้าอชาตศัตรูจึงให้กรีดพระบาทของพระเจ้าพิมพิสารเสียทั้งสองข้าง เพื่อไม่ให้เสด็จจงกรมได้อีกต่อไป เป็นเหตุให้พระองค์สวรรคต

ในขณะเดียวกับที่พระเจ้าพิมพิสารสวรรคตนั่นเอง พระโอรสของพระเจ้าอชาตศัตรูก็ประสูติ พระเจ้าอชาตศัตรูทรงมีความรักใคร่เสน่หาในพระโอรสมาก จึงทรงสำนึกขึ้นได้ว่าพระเจ้าพิมพิสารคงจะทรงรักใคร่พระองค์เช่นนั้นเหมือนกัน ครั้นสำนึกได้ก็ตรัสรับสั่งให้ปล่อยพระราชบิดา แต่ปรากฏว่าพระราชบิดาได้สวรรคตเสียก่อนแล้ว ทำให้พระเจ้าอชาตศัตรูเสียพระทัยเป็นอันมาก และได้จัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระราชบิดาอย่างสมพระเกียรติ และทรงเลิกคบกับพระเทวทัต หันมาทำบุญในพระพุทธศาสนา เช่นเป็นองค์อุปถัมภ์ในการทำสังคายนาครั้งที่ ๑ เป็นต้น แต่ก็ล้างบาปที่ทำปิตุฆาต (ฆ่าบิดา) ซึ่งเป็นอนันตริยกรรม (กรรมหนักหาที่สุดมิได้) หาได้ไม่



.............................................................

คัดลอกมาจาก ::
http://clubchay.tripod.com/buddha/buddha12.html
http://www.geocities.com/sakyaputto/pimpisarn.htm
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง