Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สูรอัมพัฏฐอุบาสก (อุบาสก-เอตทัคคะ) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
ผู้ตั้ง ข้อความ
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 03 ต.ค.2006, 9:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

สูรอัมพัฏฐอุบาสก
เอตทัคคะในทางผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหว


สูรอัมพัฏฐอุบาสกผู้ได้รับการแต่งตั้งจากพระบรมศาสดาให้เป็นยอดของอุบาสกทั้งหลายผู้ผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหว ก็โดยเหตุ ๒ ประการ คือโดยเป็นผู้ยิ่งด้วยคุณ เพราะท่านแสดงให้ผู้อื่นเห็นเป็นอย่างชัดเจนในคุณข้อนี้ของท่าน โดยที่แม้เมื่อมารแปลงกายมาเป็นพระพุทธองค์ เพื่อกระทำให้ความศรัทธาที่มีต่อพระผู้มีพระภาคนั้นสั่นคลอนไป แต่ท่านก็มิได้หวั่นไหว ในการกระทำของมารนั้น และไม่เพียงเนื่องจากเหตุข้อนี้เท่านั้น แต่ยังเป็นการแต่งตั้งโดยเหตุที่ท่านได้ตั้งความปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปนี้


๐ ตั้งความปรารถนาไว้ในอดีต

ดังได้สดับมา อุบาสกผู้นี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปุทุมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี กำลังฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสกผู้หนึ่ง ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหว ก็ทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้นบ้าง ครั้นสิ้นชีวิตลง ก็เวียนว่ายอยู่ในภพภูมิเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป


๐ ในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

ในพุทธุปบาทกาลนี้บังเกิดในสกุลเศรษฐี พวกญาติได้ขนานนามว่า ปุรพันธะ [บาลีว่า สูรอัมพัฏฐะ] ต่อมาเขาเจริญวัย ดำรงอยู่ในฆราวาสวิสัย ก็ได้มีความเลื่อมใสและเป็นอุปัฏฐากของเหล่าอัญญเดียรถีย์

สมัยหนึ่ง พระศาสดาอันมีภิกษุสงฆ์แวดล้อมก็ได้เสด็จจาริกไปถึงนครนั้น และประทับอยู่ที่เภสกลาวัน

ครั้งนั้น พระศาสดาทรงตรวจดูโลกเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นเหตุแห่งโสดาปัตติมรรคของเขา จึงเสด็จไปถึงประตูนิเวศน์ในเวลาเที่ยวแสวงหาอาหาร เขาเห็นพระทศพล จึงคิดว่า พระสมณโคดมทรงอุบัติในสกุลใหญ่และเป็นผู้อันมหาชนรู้จักกันอย่างดีในโลก ด้วยเหตุนั้น การไม่ไปสำนักของพระสมณโคดมนั้นไม่สมควร เขาจึงไปสู่สำนักพระศาสดา กราบที่พระยุคลบาท รับบาตรแล้วอาราธนาให้เสด็จเข้าไปเรือน ให้ประทับนั่งบนบัลลังก์มีค่ามากถวายภิกษา เมื่อเสร็จภัตกิจ จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พระศาสดาทรงแสดงธรรมตามอำนาจจริยาของเขา จบเทศนาเขาก็ดำรงอยู่โสดาปัตติผล แม้พระศาสดาทรงฝึกเขาแล้ว ก็เสด็จไปพระเชตวันวิหาร


๐ มารแปลงกายเป็นพระพุทธองค์

ลำดับนั้น มารคิดว่า ชื่อว่าปุรพันธะนี้เป็น สมบัติของเรา แต่พระศาสดาเสด็จไปเรือนเขาวันนี้ ได้ทรงทำให้มรรคปรากฏ เพราะฟังธรรมของพระศาสดาหรือหนอ เพียงที่เราจะรู้ว่า เขาพ้นจากวิสัยของเราหรือยังไม่พ้น จึงเนรมิตรูปละม้ายพระทศพล ทั้งทรงจีวร ทั้งทรงบาตร เสด็จดำเนินโดยอากัปกิริยาของพระพุทธเจ้าทีเดียว ทรงพระลักษณะ ๓๒ ประการ ได้ประทับยืนใกล้ประตูเรือนของปุรพันธอุบาสก

ปุรพันธอุบาสกเมื่อได้ยินว่า พระทศพลเสด็จมาอีกแล้ว ก็คิดว่า ธรรมดาการเสด็จไปชนิดไม่แน่นอนของพระพุทธะทั้งหลายไม่มีเลย เหตุไรหนอจึงเสด็จมา ดังนี้ แล้วจึงรีบเข้าไปสู่สำนักพระพุทธองค์ด้วยสำคัญว่าพระทศพล กราบแล้วยืน ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลว่า

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงทำภัตกิจเสร็จแล้วในเรือนของข้าพระองค์ ทรงอาศัยเหตุอะไรจึงเสด็จมาอีก”

มารกล่าวว่า

“ดูก่อนปุรพันธะ เราเมื่อกล่าวธรรม ไม่ทันพิจารณาแล้วกล่าวคำไปข้อหนึ่ง มีอยู่ แท้จริง เรากล่าวไปว่า ปัญจขันธ์ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา หมดทุกอย่าง แต่ความจริงไม่ใช่ทั้งหมดเห็นปานนั้น ด้วยว่า ขันธ์บางจำพวก ที่เที่ยง มั่นคง ยั่งยืน มีอยู่”

ทีนั้น ปุรพันธอุบาสกคิดว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องหนักอย่างยิ่ง ด้วยธรรมดาว่า พระพุทธะทั้งหลาย ตรัสเป็นคำสองไม่มี จึงคิดใคร่ครวญว่า ขึ้นชื่อว่ามารเป็นข้าศึกของพระทศพล ผู้นี้ต้องเป็นมารแน่ จึงกล่าวว่า

“ท่านเป็นมารหรือ”

ถ้อยคำที่พระอริยสาวกกล่าวได้เป็นประหนึ่งเอาขวานฟันมารนั้น เพราะเหตุนั้น มารจะดำรงอยู่โดยภาวะของตนไม่ได้ จึงกล่าวว่า

“ใช่ละ ปุรพันธะ เราเป็นมาร”

ปุรพันธอุบาสกจึงชี้นิ้วกล่าวว่า

“มารตั้ง ๑๐๐ ตั้ง ๑,๐๐๐ ก็มาทำศรัทธาของเราให้หวั่นไหว ไม่ได้ดอก พระทศพลมหาโคดม เมื่อทรงแสดงธรรมแก่เรา ก็ทรง แสดงธรรมปลุกให้ตื่นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ท่านอย่ายืนใกล้ประตูเรือนของเรานะ”

มารฟังคำของปุรพันธอุบาสกนั้นแล้ว ก็ถอยกรูดไม่อาจพูดจา อันตรธานไปในที่นั้นนั่นเอง


๐ ทรงแต่งตั้งอุบาสกเป็นเอตทัคคะผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหว

เวลาเย็นปุรพันธอุบาสก ก็เข้าไปเฝ้าพระศาสดา กราบทูลกิริยาที่มารทำ แล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มารพยายามทำศรัทธาของข้าพระองค์ให้หวั่นไหว พระศาสดาทรงทำเหตุนั้นนั่นแลให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง จึงทรงสถาปนาปุรพันธอุบาสกไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหว แล



.............................................................

คัดลอกมาจาก ::
http://www.dharma-gateway.com/
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง