Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 การคลายอารมณ์ (พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2006, 11:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

การคลายอารมณ์
การฝึกสมาธิเพื่อสุขภาพ
โดย พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ



หลักการ

ธรรมชาติมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม ต้องหายใจเข้าและหายใจออกอยู่ตลอดเวลา เพียงแต่มนุษย์ปุถุชนธรรมดาๆ ไม่เคยสนใจและสังเกตความเป็นไปของลมหายใจเข้าและหายใจออก สำหรับผู้ศึกษาและสนใจปฏิบัติเท่านั้นจึงจะรู้ว่าลมหายใจเข้านำไปสู่ “ความนึก” คือสิ่งที่เป็นอนาคต และลมหายใจออกนำไปสู่ “ความคิด” คือสิ่งที่เป็นอดีต ความนึกและความคิดคือความฟุ้งซ่าน เป็นขยะหรือตะกอนของจิต ฉะนั้นเราต้องหาวิธีกำจัดขยะเหล่านี้เพื่อให้สามารถนำจิตไปใช้งานให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากจิตทำงานหลายหน้าที่ไม่ได้


วิธีปฏิบัติ

ให้ผู้ฝึก ผู้ป่วย นั่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก หรือตามความสะดวก จะนั่งในท่าใดได้ทั้งนั้น (ผู้ป่วยสามารถนอนฝึกได้) ถ้านั่งขัดสมาธิซึ่งเป็นท่าที่ทำให้ร่างกายเกิดความสมดุลมากที่สุด (หรือจะนั่งพับเพียบ) ตัวตั้งตรงมือขวาทับมือซ้ายวางบนตัก หลับตาลงเบาๆ ไม่ต้องบีบกล้ามเนื้อตา ทำตัวเบาๆ ไม่ต้องเกร็ง หรืออาจจะทำความรู้สึกเหมือนกับไม่มีตัวเราอยู่เลยปล่อยวางความรู้สึกนึกคิดที่ตนเองเข้าไปยึดติด ไม่ว่าจะเป็นความกังวล ความทุกข์ ความรัก ความชัง ความเจ็บปวด บาป บุญ คุณ โทษ ความดี ความชั่ว อดีต ปัจจุบัน อนาคต ปล่อยวางทุกสิ่งเหมือนไม่มีตัวตน ปล่อยความรู้สึกที่นึกและคิดทั้งหมดให้ไหลออกไปพร้อมกับการนึกลมหายใจออก เพื่อไปสู่ความว่างของธรรมชาติภายนอกโดยไม่ต้องสนใจลมหายใจเข้าค่อยๆ คลายสิ่งที่ยึดติดออกไปเป็นจังหวะๆ พร้อมกับการนึกลมหายใจออก เหมือนดั่งสายน้ำที่ไหลไปแล้วไม่หวนกลับคืนมาฉันนั้น

ส่วนผู้ที่คลายอารมณ์ไม่เป็น ให้ทำความรู้สึกเหมือนคนใกล้จะหลับ ก่อนที่จะนอนหลับเราต้องปล่อยความรู้สึกยึดติดทั้งหมดให้คลายออกไป ไม่เช่นนั้นจะนอนไม่หลับ ให้คลายอารมณ์ออกเป็นความว่างไปเรื่อยๆ เพื่อไม่ใช้จิตมีอาหาร เพราะอาหารของจิตคือ อารมณ์หรือความฟุ้งซ่าน ถ้ามีอารมณ์มาก ความฟุ้งซ่านจะมีมากเป็นการเพิ่มความทุกข์ให้กับตนเอง

ผู้ที่ติดความคิดมากๆ นึกลมหายใจเข้าแล้วนึกไปที่สมองซึ่งเป็นฐานความคิด ปล่อยความคิดในสมองที่ติดค้างอยู่ให้ไหลออกไปพร้อมกับการนึกลมหายใจออก ทำเป็นจังหวะๆ ไม่สนใจว่าความคิดไหลออกไปได้บ้างแล้วหรือยัง เปรียบเหมือนขณะนี้ตัวเรากำลังตักน้ำในตุ่มทิ้งทีละขันๆ หน้าที่ของเราคือตักน้ำเททิ้ง ไม่ต้องหันกลับไปดูน้ำในตุ่มว่าเหลืออยู่มากน้อยเพียงใด นี่คือการไม่ใส่เจตนา ความต้องการ เพราะถ้าใส่ความเจตนา ความอยาก ความต้องการที่จะทำให้น้ำในตุ่มหมดเร็วๆ เท่ากับเป็นการเพิ่มภาระให้กับจิต ทำให้เรา “ว่าง” ได้ยากยิ่งขึ้น

ในทำนองเดียวกัน ถ้าติดความนึกคือติดอนาคต ซึ่งมีฐานอยู่ที่หัวใจ ให้ผู้ฝึก ผู้ป่วยนึกลมหายใจเข้าแล้วนึกไปที่หัวใจ ปล่อยความนึกทั้งหมดที่มีให้ไหลออกมาเป็นความว่าง พร้อมกับการนึกลมหายใจออก

ถ้าผู้ฝึก ผู้ป่วย มีความเจ็บความปวดในร่างกายมาก ให้ผู้ฝึก ผู้ป่วยนึกลมหายใจเข้าแล้วนึกไปที่ส่วนของร่างกายที่มีความบกพร่องแล้วปล่อยความรู้สึกเจ็บปวดให้ไหลออกไปพร้อมกับการนึกลมหายใจออก ขั้นตอนของการปฏิบัติเหมือนกับการปล่อย “ความคิด” ออกไป

ผู้ฝึกผู้ป่วยบางท่านมีความฟุ้งซ่าน คือความนึก ความคิด ความวิตกกังวล หรือความเจ็บปวดมาก ไม่สามาคลายออกไปเป็นความว่างได้ตามวิธีได้กล่าวมาแล้ว ควรใช้วิธีสุดท้าย คือ “การกลั้นลมหายใจ”

ให้ผู้ฝึก ผู้ป่วย นึกไปยังตำแหน่งต่างๆ ที่ตนเองติดอยู่ เช่น ความคิด (อดีต) ในสมอง ความนึก (อนาคต) ในหัวใจ หรือความทรมานเจ็บปวดของร่างกาย เมื่อนึกไปถึงแล้วให้กลั้นลมหายใจนิ่งอยู่ที่ตำแหน่งนั้นสักระยะหนึ่ง นานพอสมควรเท่าที่ผู้ฝึก ผู้ป่ายสามารถทนได้ จี้ลงไปในสิ่งที่ตนเองคิด นึกให้สิ่งติดค้างคือความคิด ความนึก ความทรมานเจ็บปวดร่างกายที่ตำแหน่งนั้นๆ ไหลออกมาพร้อมกับลมหายใจออกทำเป็นจังหวะๆ สม่ำเสมอ จนกระทั่งอารมณ์เหล่านั้นค่อยๆ คลายหายไป (นึกไปที่ตำแหน่งนั้นๆ และกำหนดคลายไปทีละจุดๆ)

ถ้าผู้ฝึก ผู้ป่วย มีความเจ็บปวด ทรมานร่างกายมากเกินไปให้ทิ้งขั้นตอนของการคลายอารมณ์ไปก่อน ให้เริ่มต้นวิธีการบำบัดรักษาได้เลย เมื่อความเจ็บปวดเริ่มทุเลาลงจึงค่อยมาเริ่มเรียนรู้วิธีการคลายอารมณ์อีกครั้ง เพราะถ้าผู้ฝึกผู้ป่วยรู้วิธีของการคลายอารมณ์ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอารมณ์ จะช่วยให้ผู้ฝึกผู้ป่าย รู้วิธีกำจัดขยะของอารมณ์ไม่ให้มารบกวน คอยดึงความรู้สึก (จิต) ให้ฟุ้งซ่านไปหาเรื่องอื่นๆ ในขณะที่กำลังทำสมาธิบำบัดรักษาตนเอง


คุณประโยชน์

ธรรมชาติของจิตนั้นจะรับอารมณ์ต่างๆ ที่มากระทบเสมอ การคลายอารมณ์จึงเป็นการปล่อยความทุกข์ ความรู้สึกในใจ คลายความคิดที่ติดค้างในสมองออกไปให้หมด เพื่อไม่ให้จิตเสียพลังไปในการยึดติดสิ่งต่างๆ ทำให้จิตอ่อนตัว และสงบเร็วขึ้น การคลายอารมณ์จึงเป็นวิธีการเร่งให้จิตสงบ กลับไปส่ธรรมชาติเดิมของจิตก่อนที่จะใช้จิตไปทำงานต่างๆ ตามความต้องการของเจ้าของ

ผลพลอยได้ที่สำคัญคือ ผู้ที่เป็นโรคนอนไม่หลับจะสามารถหลับได้ง่ายขึ้น และหลับสนิทมากขึ้น โดยก่อนนอนให้นำความรู้สึกมาตั้งไว้ที่จมูก แล้วปล่อยคลายความนึกและความคิดออกไปเรื่อยๆ พร้อมกับการนึกลมหายใจออก เมื่อคลายความนึก ความคิดออกไปหมดแล้วจะสามารถหลับได้ในที่สุด

สำหรับผู้ที่ต้องการให้สมองมีความจำดี เพื่อเพิ่มสมรรถนะของการทำงาน หรือจำบทเรียนได้เร็ว วิธีการคลายอารมณ์เปรียบเสมือนการลบหน่วยความจำที่ไม่ต้องการทิ้งไป


อุปสรรค

บางท่านคลายอารมณ์ไม่ได้ เพราะไม่เข้าใจคำว่า “นึกลมหายใจเข้า”, “นึกลมหายใจออก” และปล่อย คือทำอย่างไรขออธิบาย ดังนี้

ลมหายใจเข้าเพื่อการนำก๊าซออกซิเจนเข้าสู่หัวใจ และลมหายใจออกเพื่อการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ออกจากร่างกายต้องมีลมผ่านเข้า-ออกทางจมูก แต่การ “นึกลมเข้า-ลมออก” คือการนึกเอาหรือสร้างจินตนาการ เมื่อเป็นการ “นึก” ความรู้สึกของการนึกลมเข้าและลมออก จึงไม่จำเป็นต้องมีลมเข้า-ออกทางจมูกจริง เป็นแต่เพียงการปลดปล่อยความรู้สึกบางอย่างออกไปจากร่างกาย ในขณะที่ผู้ฝึก ผู้ป่วยกำลังคลายอารมณ์อยู่ ความรู้สึกหรือจิตในขณะนั้นกำลังจดจ่ออยู่กับการปล่อยความนึก และความคิดรวมทั้งความเจ็บปวดที่ออกไปพร้อมกับการนึกลมหายใจออกเป็นจังหวะๆ สม่ำเสมอ “ปล่อย” คือการนำความรู้สึกที่มีอยู่ในขณะนั้นทิ้งออกไปจากสมองและหัวใจ หรืออวัยวะที่เจ็บปวด

ทั้งหมดนั้นเป็นวิธีการคลายอารมณ์โดยละเอียด ถ้าผู้ฝึก ผู้ป่วย มีความเจ็บปวดมากให้ทิ้งขั้นตอนของการคลายอารมณ์ ควรฝึกสมาธิเพื่อการบำบัดรักษาก่อน เมื่อร่างกายทุเลาความเจ็บปวดลงแล้วจึงค่อยศึกษา “การคลายอารมณ์” ในภายหลัง

ทิศตะวันออกเป็นทิศที่มีประโยชน์เพื่อปลดปล่อยหรือคลายพลังงานทุกชนิดออกไปได้เร็ว จึงแนะนำ ผู้ฝึก ผู้ป่วย ว่าถ้าเลือกได้ขอให้นั่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเสมอ เมื่อต้องการ “ฝึกจิต”


http://www.geocities.com/healthmeditation/healthmeditation/health.html
 

_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง