Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พระสัมมาสัมพุทธเจ้า (มานพ นักการเรียน) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ย. 2006, 10:11 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

วารสารสิรินธรปริทรรศน์
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า : หลักการและการวิเคราะห์
มานพ นักการเรียน
อาจารย์ประจำ, ป.ธ.๖, ศน.ม. (พุทธศาสนาและปรัชญา)



หัวข้อ

บทนำ
พระโพธิสัตว์ : ผู้ที่มุ่งเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
คุณธรรมและคุณสมบัติของผู้ที่มุ่งเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จำนวนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้หญิงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ย. 2006, 3:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ บทนำ

ในวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพุทธะหรือพระพุทธเจ้าที่ได้รับความสนใจใคร่ศึกษาและปฏิบัติตามจากชาวพุทธมากที่สุด มีความรู้ คุณธรรมและความสามารถทางด้านต่างๆ เช่น การเผยแผ่ธรรม เป็นต้น เหนือกว่าพุทธะประเภทอื่นๆตามรูปศัพท์แล้ว คำว่า “พุทธะ” หรือ “พระพุทธเจ้า” หมายถึง ท่านผู้ตรัสรู้แล้ว แต่เรามักใช้ในความหมายแคบ โดยมุ่งเฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น แต่แท้จริงยังรวมถึงพุทธะหรือพระพุทธเจ้าอีก ๒ ประเภทด้วย

พุทธะหรือพระพุทธเจ้า มี ๓ ประเภท คือ

๑. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือท่านผู้ตรัสรู้เองและสอนผู้อื่นให้รู้ตาม

๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า คือ ท่านผู้ตรัสรู้เฉพาะตนเอง สอนผู้อื่นได้เหมือนกันแต่ไม่อาจทำให้ผู้นั้นบรรลุตามได้ ถึงจะบรรลุได้ ก็ต้องอาศัยความถึงพร้อมของผู้นั้นเป็นหลัก อุบัติขึ้นในช่วงพุทธันดร ซึ่งช่วงนี้ไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้น

๓. พระอนุพุทธเจ้า เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระสาวกพุทธเจ้า คือ ท่านผู้ตรัสรู้ตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า



>>>>> มีต่อ
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ย. 2006, 4:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระโพธิสัตว์ : ผู้ที่มุ่งเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ใครก็ตามจะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะต้องผ่านขั้นตอนของการเป็นพระโพธิสัตว์เสียก่อน ในพระพุทธศาสนาเถรวาท พระโพธิสัตว์ หมายถึง ผู้ปรารถนาให้ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า “โพธิสตฺตฺว” ตรงกับคำภาษาบาลีว่า “โพธิสตฺต” แปลว่า “ผู้ข้องอยู่ในพระโพธิญาณ” ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า a Buddha- to- be , Enlightenment-being

พระพุทธโฆสะ พระอรรถกถาจารย์ชาวอินเดีย ได้แบ่งพระโพธิสัตว์เป็น ๒ ประเภท คือ

๑. พระนิยตโพธิสัตว์ คือพระโพธิสัตว์ผู้จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่นอน โดยได้รับการพยากรณ์ว่าจะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ในชาติที่ได้รับการพยากรณ์ จะต้องมีคุณสมบัติและคุณธรรมพิเศษที่เรียกว่า ธรรมสโมธาน ครบทั้ง ๘ ประการ

๒. พระอนิยตโพธิสัตว์ คือพระโพธิสัตว์ผู้ยังไม่แน่ว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่ เพราะยังไม่ได้รับการพยากรณ์ว่าจะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง เนื่องจากมีธรรมสโมธานไม่ครบ

นอกจากนั้น พระนิยตโพธิสัตว์ ยังแบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ

๑. พระโพธิสัตว์ประเภทปัญญาธิกะ (ยิ่งด้วยปัญญา) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พระโพธิสัตว์ประเภทอุคฆฏิตัญญู คือ พระโพธิสัตว์ผู้มีปัญญาเป็นองค์ธรรมนำในการเริ่มบำเพ็ญบารมี ท่านจะบำเพ็ญบารมีอยู่ ๔ อสงไขย กับอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัป

๒. พระโพธิสัตว์ประเภทสัทธาธิกะ (ยิ่งด้วยศรัทธา) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระโพธิสัตว์ประเภทวิปจิตัญญู คือ พระโพธิสัตว์ผู้มีศรัทธาเป็นองค์นำในการเริ่มบำเพ็ญบารมี ท่านจะบำเพ็ญบารมีอยู่ ๘ อสงไขย กับอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัป

๓. พระโพธิสัตว์ประเภทวิริยาธิกะ (ยิ่งด้วยวิริยะ) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พระโพธิสัตว์ประเภทเนยยะ คือพระโพธิสัตว์ผู้มีวิริยะเป็นองค์ธรรมนำในการเริ่มบำเพ็ญบารมี ท่านจะบำเพ็ญบารมีอยู่ ๑๖ อสงไขย กับอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัป

ปรมัตถโชติกา [สุตฺต.อ. ๑/๔๖-๔๗] อรรถกถาของสุตตนิบาต ชี้แจงว่า พระนิยตโพธิสัตว์ หลังจากชาติที่ตั้งปณิธานเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ไม่ประกอบด้วยฐานะที่ไม่สมควร (อภัพฐานะ) ๑๘ ประการ คือ

๑. ไม่เป็นคนบอดแต่กำเนิด
๒. ไม่เป็นคนหนวกแต่กำเนิด
๓. ไม่เป็นคนบ้า
๔. ไม่เป็นคนใบ้
๕. ไม่เป็นคนแคระ
๖. ไม่เกิดในชนชาติมิลักขะ
๗. ไม่เกิดในท้องของนางทาสี
๘. ไม่เป็นคนที่มีความเห็นผิดที่แน่วแน่
๙. ไม่เป็นคนกลับเพศ
๑๐. ไม่ทำอนันตริยกรรม ๕ อย่าง
๑๑. ไม่เป็นคนโรคเรื้อน
๑๒. อัตภาพสุดท้ายไม่เวียนมาในกำเนิดเดรัจฉาน
๑๓. ไม่มีอัตภาพใหญ่กว่าช้าง
๑๔. ไม่เกิดในขุปปิปาสิกเปรตและนิชฌามตัณหิกเปรต
๑๕. ไม่เกิดในจำพวกกาลัญชิกาสูรทั้งหลาย
๑๖. ไม่เกิดในอเวจีนรก
๑๗. ไม่เกิดในโลกันตริกนรก
๑๘. ไม่เป็นมารในสวรรค์ชั้นกามาวจร ไม่เกิดในอสัญญีภพ ในรูปาวจรภูมิ ไม่เกิดในอันติมภพไม่ก้าวไปสู่จักรวาลอื่น



>>>>> มีต่อ
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ย. 2006, 4:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ คุณธรรมและคุณสมบัติของผู้ที่มุ่งเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

จากการศึกษาคัมภีร์พระพุทธศาสนา สามารถประมวลได้ว่า ผู้ที่มุ่งเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (คือขณะเป็นพระโพธิสัตว์) จะต้องประกอบด้วยคุณธรรมและคุณสมบัติ ดังนี้

๑. บารมี คือคุณความดีที่ควรบำเพ็ญมี ๑๐ อย่าง คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกจากกาม คือบวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา และอุเบกขา

๒. โพธิปักขิยธรรม คือธรรมที่เป็นฝักฝ่ายหรือเกื้อกูลแก่การตรัสรู้ มี ๗ หมวด แต่เมื่อแยกเป็นหัวข้อย่อยแล้วรวมได้ ๓๗ หัวข้อ ประกอบด้วยสติปัฏฐาน ๔, สัมมัปปธาน ๔, อิทธิบาท ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗ และมรรคมีองค์ ๘

ทั้งบารมี ๑๐ และโพธิปักขิยธรรม ๓๗ รวมเรียกว่า พุทธการกธรรม คือธรรมที่กระทำให้เป็นพุทธะ

๓. ธรรมสโมธาน คือการรวมกันขององค์ธรรม ๘ ประการ ในชาติที่จะได้รับการพยากรณ์เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือชาติแรกแห่งพระนิยตโพธิสัตว์ จะต้องมีธรรมสโมธานครบทั้ง ๘ ประการ [สุตฺต.อ. ๑/๔๕] คือ

(๑) มนุสฺสตฺตํ คือเป็นมนุษย์เท่านั้น

(๒) ลิงฺคสมฺปตฺติ คือถึงพร้อมด้วยเพศ มุ่งเฉพาะเพศชายเท่านั้น

(๓) เหตุ คือมีเหตุให้บรรลุพระอรหันต์ได้ แต่ไม่ยินดีเพียงแค่นี้

(๔) สตฺถารทสฺสนํ คือเห็นพระศาสดาองค์ใดองค์หนึ่งซึ่งยังมีพระชนม์อยู่

(๕) ปพฺพชฺชา คือบวชเป็นบรรพชิต

(๖) คุณสมฺปตฺติ คือมีคุณธรรม อันได้แก่ อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘

(๗) อธิกาโร คือมีการกระทำอันยิ่งถึงขั้นสละชีวิตของตนเอง เพื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง

(๘) ฉนฺทตา คือมีความปรารถนาแรงกล้า แม้จะเผชิญต่ออุปสรรคนานัปประการ ก็ไม่ท้อถอย

๔. พุทธภูมิ คือพื้นจิตใจแห่งพุทธะ ๔ ประการ [สุตฺต.อ.๑/๔๗] ในชาติดังกล่าว ต้องประกอบด้วยพุทธภูมิ ๔ ประการ ประกอบด้วย อุตสาหะคือความเพียร, อุมมังคะคือปัญญา, อวัฏฐานะคืออธิษฐาน (ความมั่นคงเด็ดเดี่ยว แน่วแน่ในทางดำเนินและจุดมุ่งหมายของตน) และหิตจริยาคือการเจริญเมตตา

๕. อัธยาศัย (นิสัยใจคอ) ๖ ประการ [สุตฺต.อ. ๑/๔๗] ในชาตินั้น ต้องประกอบด้วยอัธยาศัย ๖ ประการ ได้แก่ อัธยาศัยเพื่อเนกขัมมะ, อัธยาศัยเพื่อปวิเวก, อัธยาศัยเพื่อความไม่โลภ, อัธยาศัยเพื่อความไม่โกรธ, อัธยาศัยเพื่อความไม่หลง และอัธยาศัยเพื่อความสลัดออก



>>>>> มีต่อ
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ย. 2006, 4:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ จำนวนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

คัมภีร์พุทธวงศ์ [ขุ.พุทฺธ. ๓๓/๔๖๖-๕๗๖] แห่งขุททกนิกาย เสนอพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ ๒๕ พระองค์ โดยนับแต่พระองค์แรกที่พระโคตมะได้ทรงพบ และทรงได้รับการพยากรณ์ว่าจะได้สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (รวมทั้งพระโคตมะเองด้วย) คือ

๑. พระทีปังกร
๒. พระโกนาคมนะ
๓. พระมังคละ
๔. พระสุมนะ
๕. พระเรวตะ
๖. พระโสภิตะ
๗. พระอโนมทัสสี
๘. พระปทุมะ
๙. พระนารทะ
๑๐. พระปทุมุตตระ
๑๑. พระสุเมธะ
๑๒. พระสุชาตะ
๑๓. พระปิยะทัสสี
๑๔. พระอัตถทัสสี
๑๕. พระธัมมทัสสี
๑๖. พระสิทธัตถะ
๑๗. พระติสสะ
๑๘. พระปุสสะ
๑๙. พระวิปัสสี
๒๐. พระสิขี
๒๑. พระเวสสภู
๒๒. พระกกุสันธะ
๒๓. พระโกนาคมนะ
๒๔. พระกัสสปะ
๒๕. พระโคตมะ

อาฏานาฏิยปริตร เสนอรายชื่อของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ ๒๘ พระองค์ โดยเพิ่มจากคัมภีร์พุทธวงศ์อีก ๓ พระองค์ก่อนพระทีปังกร คือพระตัณหังกร พระเมธังกร และพระสรณังกร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ใกล้กาลปัจจุบันที่สุดและคัมภีร์กล่าวถึงบ่อยๆ คือ พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ และพระโคตมะ

บทสวดมนต์สมฺพุทฺเธ กล่าวถึงจำนวนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รวมแล้ว ๓,๕๘๔,๑๙๒ พระองค์

ส่วนอาฏานาฏิยปริตร ระบุจำนวนของพระสัมมาพุทธเจ้าไว้หลายร้อยโกฏิ (เอเตจญฺเญ จ สมฺพุทฺธา อเนกสตโกฏิโย)

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต ขณะนี้เป็นพระโพธิสัตว์ ต่อจากพระโคตมะ มี ๑๐ พระองค์ [โสตตฺถกี (โสตัตถกีมหานิทาน), หน้า ๙๖] คือ

๑. พระเมตไตย (คือพระเมตไตรย)
๒. พระรามผู้สูงสุด
๓. พระเจ้าปเสนทิโกศล
๔. พระอภิภู
๕. เทวดาชื่อทีฆโสณี
๖. จังกีพราหมณ์
๗. สุภพราหมณ์
๘. โตเทยยพราหมณ์
๙. ช้างนาฬาคิรี
๑๐. ช้างปาลิเลยยกะ

รายชื่อของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตทั้งหมด ยกเว้นพระเมตไตรยไม่ปรากฏเด่นชัดในฝ่ายเถรวาท แม้แต่คำว่า พระเมตไตรยหรือพระเมตไตย ก็พบเพียงไม่กี่แห่งในตำราภาษาบาลี อาทิเช่นในพระไตรปิฎก คือจักกวัตติสูตร สีหนาทสูตร และพุทธวงศ์ และในอรรถกถา อาทิเช่น สุมังคลวิลาสินี มธุรัตถวิลาสินี สารัตถปกาสินี อัฏฐสาลินี ผู้รู้ทางศาสนาเสนอแนะว่า ทั้งจำนวนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และรายชื่อของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตน่าจะเป็นคติความเชื่อหรือแนวความคิดของฝ่ายมหายาน แล้วพระภิกษุสายเถรวาทนำมาเสนออีกต่อหนึ่ง

ในทัศนะส่วนตัวแล้ว ผู้เขียนไม่ได้ติดใจพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่ามีอยู่จำนวนเท่าไร หรือว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตมีพระนามว่าอะไรบ้าง แต่ขอเสนอเป็นหลักการว่า ผู้ใดก็ตามปฏิบัติตามเงื่อนไขของการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือบำเพ็ญพุทธการกธรรม และในชาติที่จะได้รับการพยากรณ์ ประกอบด้วยธรรมสโมธาน ๘ ประการ พุทธภูมิ ๔ ประการ และอัธยาศัย ๖ ประการ ผู้นั้นสามารถเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้

ดังนั้น จึงอาจจะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นร้อย เป็นล้าน หรือเป็นโกฏิพระองค์ ไม่จำเป็นต้องยืมแนวคิดมาจากฝ่ายมหายานแต่อย่างใด ทั้ง ๒ นิกายสามารถมีทัศนะตรงลงรอยกันได้



>>>>> มีต่อ
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ย. 2006, 4:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ ผู้หญิงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้

สถานภาพทางเพศเป็นผู้หญิง ไม่เอื้ออำนวยต่อการเป็นพระนิยตโพธิสัตว์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า รวมทั้งพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วย เราต้องยอมรับถึงความเชื่อทางศาสนาของสังคมในอดีตที่มีแนวคิดถือผู้ชายเป็นใหญ่ ทำให้ผู้หญิงพลอยสูญเสียตำแหน่งอันสำคัญเช่นนั้น แม้ว่าจะมีศักยภาพเพียงพอต่อตำแหน่งนั้นก็ตาม

คัมภีร์โสตัตถกีมหานิทาน [โสตตฺถกี, หน้า ๒๔-๒๘] ซึ่งเป็นคัมภีร์เกี่ยวกับประวัติพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสนอว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะ ขณะเป็นพระอนิยตโพธิสัตว์เวียนว่ายตายเกิดหลายร้อยอัตภาพ บังเกิดในราชตระกูลเป็นน้องสาวต่างมารดาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปุราณทีปังกร พระนางได้ถวายน้ำมันอันสกัดมาจากเมล็ดพันธุ์ผักกาด แล้วตั้งปณิธานเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต พระปุราณทีปังกรปรารภถึงปณิธานของน้องสาว แล้วตรัสพอสรุปได้ว่า บุคคลที่ธรรมสโมธานคือการรวมกันขององค์ธรรมไม่ครบ ๘ ประการ โดยเฉพาะความถึงพร้อมของเพศเป็นผู้หญิง จึงไม่สามารถจะรับการพยากรณ์ได้

ในอังคุตตรนิกาย เอกนิบาต [องฺ.เอก.๒๐/๒๗๙] แสดงว่า ผู้หญิงไม่สามารถที่จะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเจ้าจักรพรรดิ ท้าวสักกะ มาร พระพรหมได้ โดยระบุว่า ข้อที่ผู้หญิงจะพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ แต่ข้อที่ผู้ชายจะพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นฐานะที่จะมีได้

ผู้เขียนมีทัศนะส่วนตัวว่า เมื่อความเชื่อของสังคมเปลี่ยนไป โดยคำนึงถึงความเท่าเทียมกันของทั้ง ๒ เพศ ปัจจุบันเราต้องยอมรับกระแสสตรีนิยมที่เรียกร้องความเท่าเทียมกันทางเพศที่มีมากขึ้น เริ่มมีพลังในสังคมและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางแนวคิดและโลกทัศน์แบบใหม่ ทางศาสนาควรหันมาสนใจกระแสดังกล่าวบ้าง การดำรงตำแหน่งทางศาสนา ไม่จำเป็นต้องพูดถึงเพศ แต่ต้องพิจารณาถึงความรู้ทางศาสนา คุณธรรมและความสามารถต่างหาก และนอกจากนั้นเมื่อสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่แฝงไว้ด้วยความน่ากลัวต่อผู้หญิง ถูกปรับและควบคุมให้เหมาะแก่การเป็นสถานที่สำหรับประพฤติปฏิบัติธรรม จึงไม่ใช่เรื่องยากเลยที่ผู้หญิงจะเป็นพระนิยตโพธิสัตว์ พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

บทสรุปพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในฐานะเป็นศาสดา เป็นตำแหน่งสูงสุดของพระพุทธศาสนา ซึ่งทุกคนมีสิทธิ์ก้าวไปถึงจุดนั้นได้ ถ้าทำตามหลักการที่พระพุทธศาสนาได้วางไว้หรือบัญญัติไว้ครบถ้วนทุกประการ ถือได้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐ ที่ได้ฝึกฝนพระองค์อย่างดีแล้ว แม้แต่เทพเจ้าก็น้อมนมัสการ ไม่ใช่มีแต่มนุษย์เท่านั้นบางคนอาจจะมีความสงสัยว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันคือพระโคตมะ เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในทางประวัติศาสตร์หรือไม่ ขอยืนยันว่าพระองค์เป็นบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริงในทางประวัติศาสตร์ และไม่ได้เป็นบุคคลที่ลึกลับ เราสามารถพิสูจน์ความมีอยู่ของพระองค์ได้จากหลักฐานต่างๆ โดยเฉพาะจากพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นบันทึกเกี่ยวกับคำสั่งสอนตลอด ๔๕ พรรษาของพระองค์ก็เพียงพอแล้ว ซึ่งคัมภีร์ดังกล่าวได้มีการบันทึกไว้เป็นตัวอักษรเมื่อ ๕๐๐ ปี หลังจากที่พระโคตมะทรงดับขันธปรินิพพาน



>>>>> จบ >>>>>


คัดลอกมาจาก
http://www.dharma-gateway.com/
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แมวขาวมณี
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2006
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ย.2006, 6:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาสา....ธุ

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
พฤษภกาสร อีกกุญชร อันปลดปลง
โททนต์ เสน่งคง สำคัญหมาย ในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้น ทั้งอินทรีย์
สถิตย์ทั่ว แต่ชั่วดี ประดับไว้ ในโลกา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
ชัยพร พอกพูล
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 24 พ.ค. 2006
ตอบ: 73
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 16 พ.ย.2006, 12:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ....
สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
Yodsapat
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 22 มี.ค. 2008
ตอบ: 7

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2008, 5:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง