Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ชุมชนทางศีลธรรมสำหรับสังคมสมัยใหม่ (พระไพศาล วิสาโล) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 17 ก.ย. 2006, 5:13 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ชุมชนทางศีลธรรมสำหรับสังคมสมัยใหม่
โดย พระไพศาล วิสาโล


ครอบครัว ชุมชน และวัด เป็นสถาบันทางศีลธรรมที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อจิตสำนึกและพฤติกรรมของคนไทยในอดีต แต่สำหรับคนสมัยใหม่ โดยเฉพาะที่อยู่ในเมือง สถาบันเหล่านี้มีอิทธิพลค่อนข้างน้อย หากไม่เป็นเพราะความอ่อนแอของสถาบันเหล่านี้ ก็มักเป็นเพราะสายสัมพันธ์ที่เหินห่างระหว่างคนเมืองกับสถาบันดังกล่าว นอกจากนั้น วิถีชีวิตในเมืองนั้นยังทำให้ผู้คนมีความเป็นปัจเจกมากขึ้น สามารถมีชีวิตอย่างเป็นอิสระ โดยไร้ความผูกพันหรือข้องเกี่ยวกับใครก็ยังได้ ความเป็นอิสระนี้ทำให้สามารถมีพฤติกรรมอย่างเสรีตามใจปรารถนาอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

อย่างไรก็ตาม การมีชีวิตอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมและระบบความสัมพันธ์ที่กำลังถูกครอบงำอย่างหนักด้วยวัฒนธรรมบริโภคนิยมและอำนาจนิยมนั้น ปัจเจกชนย่อมยากที่จะประคองรักษาตนให้อยู่ในกรอบของศีลธรรมได้ แม้จะมีพื้นฐานที่ดีจากการกล่อมเกลาในครอบครัวและโรงเรียนก็ตาม เสรีภาพของปัจเจกชนในสภาพดังกล่าวมักถูกใช้ไปเพื่อคล้อยตามบริโภคนิยมและอำนาจนิยมไม่มากก็น้อย ในสภาพเช่นนี้นอกจากปัจเจกชนจะต้องมีภูมิคุ้มกันทางใจที่เข้มแข็งแล้ว ยังควรมี "ชุมชนทางศีลธรรม" ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันภายใน ควบคู่กับการปกป้องจากแรงกดดันจากภายนอกที่เป็นในทางบริโภคนิยมและอำนาจนิยม

ชุมชนทางศีลธรรมในสังคมเมืองนั้น อาจเป็นชุมชนโดยพื้นที่ ซึ่งหมายถึงการมาอยู่ร่วมกันในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง แต่ชุมชนแบบนี้ คนส่วนใหญ่มักจะทำได้ยาก อีกทั้งยังไม่ชอบที่จะต้องมาใช้ชีวิตร่วมกันตลอดเวลา เพราะต้องการรักษาปัจเจกภาพของตนไว้ในระดับหนึ่ง ชุมชนทางศีลธรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนเมืองจึงได้แก่ ชุมชนโดยกิจกรรม ชุมชนทางศีลธรรมชนิดนี้ รูปแบบหนึ่งที่น่าจะเหมาะก็คือ องค์กรอาสาสมัคร หรือองค์กรประชาสังคม (civic group)

องค์กรประชาสังคม มีหลายลักษณะ อาจเป็นกลุ่มเล็กๆ ที่มีสมาชิกไม่ถึงสิบคน ไปจนถึงองค์กรประเภทเครือข่ายขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกนับพันนับหมื่น อาจเป็นองค์กรที่ผู้คนมาร่วมกิจกรรมกันเป็นครั้งคราว หรือทำงานอย่างเป็นกิจจะลักษณะจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ยิ่งไปกว่านั้นองค์กรประเภทนี้ยังสามารถพัฒนาจนเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงครอบครัว ชุมชน วัด โรงเรียน รวมทั้งสื่อมวลชน ให้กลายเป็นขบวนการหรือชุมชนทางศีลธรรมขนาดใหญ่ที่สามารถมีอิทธิพลต่อสังคมบริโภคนิยมและอำนาจนิยมได้

ตัวอย่างที่น่าสนใจได้แก่เครือข่ายขององค์กรฉือจี้ในไต้หวัน ฉือจี้เป็นมูลนิธิทางด้านมนุษยธรรมที่มีศูนย์ย่อยกระจายทั่วเกาะไต้หวัน มีอาสาสมัครที่ทำงานอย่างแข็งขันกว่า 20,000 คน กิจกรรมของเครือข่ายซึ่งครอบคลุมทั้งด้านสังคมสงเคราะห์ การแพทย์ การศึกษา รวมทั้งการผลิตสื่อ ได้เข้าถึงผู้คนนับล้านๆ ในไต้หวัน อีกทั้งยังขยายสาขาและสำนักงานไปกว่า 30 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย

แกนกลางหรือชั้นในสุดของเครือข่ายนี้คือคณะภิกษุณีจำนวน 60 รูป ซึ่งใช้ชีวิตร่วมกันที่วัดแห่งหนึ่งในไต้หวัน มีบทบาทในทางเป็นแบบอย่างแห่งการดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่ายและการอุทิศชีวิตเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นเยี่ยงพระโพธิสัตว์ ส่วนที่อยู่ถัดออกมา ก็คือสมาชิกของมูลนิธิฉือจี้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ

ระดับแรก ได้แก่ สมาชิกเต็มขั้นที่ผ่านการอบรมและเป็นที่ประจักษ์ถึงความเสียสละและความมุ่งมั่นในการทำสาธารณประโยชน์

ระดับที่สอง ได้แก่ สมาชิกขั้นอบรม ซึ่งต้องทำงานช่วยเหลือสังคมไม่น้อยกว่า 2 ปี จึงจะเลื่อนไปเป็นสมาชิกเต็มขั้นได้

ระดับที่สาม ได้แก่ สมาชิกขั้นฝึกงาน ซึ่งต้องทำงานช่วยเหลือสังคมไม่น้อยกว่า 1 ปี จึงจะเลื่อนไปเป็นสมาชิกขั้นอบรมได้ งานอาสาสมัครที่สมาชิกทำเป็นประจำได้แก่ เยี่ยมบ้านคนป่วยอนาถา เป็นอาสาสมัครในโรงพยาบาลของมูลนิธิ ช่วยเก็บแยกขยะในชุมชน รวมทั้งการสงเคราะห์ผู้ประสบภัยในยามฉุกเฉิน

สมาชิกเหล่านี้ซึ่งมีอยู่ 20,000 คน จะอยู่ประจำตามศูนย์ต่างๆ ของมูลนิธิที่กระจายอยู่ทั่วเกาะไต้หวัน

ถัดจากชั้นของสมาชิกมูลนิธิ ก็คือผู้สนับสนุนมูลนิธิ รวมทั้งผู้บริจาคเงินให้แก่มูลนิธิเป็นประจำ บุคคลเหล่านี้จะสัมพันธ์กับมูลนิธิโดยผ่านสมาชิกมูลนิธิ กล่าวคือสมาชิกหรืออาสาสมัครมูลนิธิจะเป็นผู้ไปรับเงินบริจาคหรือบอกบุญจากผู้สนับสนุนด้วยตนเอง นอกจากจะเป็นการฝึกสมาชิกให้มีความอ่อนน้อมถ่อมตนแล้ว ยังเป็นโอกาสที่จะได้เผยแพร่แนวความคิดและกิจกรรมของมูลนิธิให้ผู้บริจาครับทราบ เป็นการตอกย้ำสำนึกแห่งการเสียสละเพื่อผู้อื่น การไปบอกบุญและรับบริจาคด้วยตนเองถึงบ้าน ยังมีส่วนช่วยให้ครอบครัวของผู้บริจาคกลายเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย ทำให้แนวร่วมขยายไปยังคนทุกเพศทุกวัย

ชั้นนอกสุดของเครือข่ายก็คือประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์จากกิจกรรมด้านต่างๆ ของมูลนิธิ เช่น ผู้ที่ไปรับการเยียวยารักษาจากโรงพยาบาลของมูลนิธิ ผู้ที่ได้รับการศึกษาจากโรงเรียนของมูลนิธิ รวมทั้งผู้ได้รับการช่วยเหลือจากงานสังคมสงเคราะห์ของมูลนิธิ ปัจจุบันมูลนิธิมีโรงพยาบาล 5 แห่ง มีสถาบันการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ประถม มัธยม จนถึงอุดมศึกษา รวมทั้งมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โดยเน้นคุณธรรมควบคู่กับความรู้ นอกจากนั้นมูลนิธิยังมีสถานีโทรทัศน์ของตนเอง ที่ถ่ายทอดรายการเพื่อความรู้และคุณธรรมตลอด 24 ชั่วโมง สถานีโทรทัศน์และสื่ออีกหลายชนิดทำให้เครือข่ายของมูลนิธิขยายไปถึงคนทั่วไปแม้จะไม่ใช่สมาชิกหรือผู้บริจาค

จะเห็นได้ว่าเครือข่ายขององค์กรฉือจี้ สามารถผสานสถาบันต่างๆ ที่มีบทบาททางศีลธรรมในทุกระดับ ให้เข้ามาเป็นพลังทางศีลธรรมของสังคม เริ่มตั้งแต่

1) วัดหรือองค์กรสงฆ์ ซึ่งสามารถปรับตัวจากการเป็นศูนย์กลางของชุมชน (ชนบท) มาเป็นศูนย์กลางของเครือข่าย (ในเมือง)

2) ครอบครัว ซึ่งเชื่อมโยงกับเครือข่ายผ่านสมาชิกมูลนิธิที่ไปขอรับบริจาค และจากสถาบันการศึกษาของมูลนิธิ

3) ชุมชนในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับเครือข่ายผ่านศูนย์อาสาสมัครที่กระจายทั่วประเทศ

4) โรงเรียนและมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นกลไกส่วนหนึ่งของเครือข่ายโดยตรง เช่นเดียวกับ

5) สื่อมวลชน การผสานทั้ง 5 ส่วนเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดพลังทางศีลธรรมในสังคมอย่างไม่ต้องสงสัย แต่พลังดังกล่าวจะลดลงไปมากหากปราศจากกิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์ ซึ่งเป็นหลักการสำคัญประการหนึ่งขององค์กรฉือจี้

ควรย้ำในที่นี้ว่าองค์กรฉือจี้ แม้จะเป็นองค์กรศาสนา แต่ไม่ได้จำกัดบทบาทเพียงแค่การเทศนาสั่งสอนศีลธรรมผ่านวัด โรงเรียน และสื่อมวลชนเท่านั้น หากยังลงไปทำงานช่วยเหลือสังคมด้วยการสงเคราะห์ทางมนุษยธรรม เช่น การช่วยเหลือผู้ป่วยและผู้ประสบภัย รวมทั้งการเก็บและแยกขยะ

ทั้งหมดนี้แม้จะเป็นงาน "ทางโลก" แต่ก็แยกไม่ออกจากงาน "ทางธรรม" เพราะนอกจากจะเกิดจากแรงบันดาลใจในทางศีลธรรม โดยมีภิกษุณีเป็นแบบอย่างแล้ว กิจกรรมดังกล่าวยังเป็น "สื่อ" สอนธรรมให้แก่สังคมวงกว้าง ในเรื่องความเสียสละ เมตตากรุณา และความไม่เห็นแก่ตัว ชนิดที่ประจักษ์ได้ด้วยตาและใจ มิใช่ด้วยหูหรือด้วยความคิดเท่านั้น (โดยเฉพาะโรงพยาบาลของฉือจี้ซึ่งสร้างขึ้นด้วยเงินบริจาคล้วนๆ ได้รับการยกย่องมากในเรื่องการแพทย์ที่เปี่ยมด้วยหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์) ใช่หรือไม่ว่าคุณธรรมเหล่านี้เป็นพลังทางศีลธรรมที่สังคมสมัยใหม่ต้องการเป็นอย่างยิ่ง

สังคมไทยอาจไม่จำเป็นต้องมี (หรือไม่สามารถมี) เครือข่ายแบบฉือจี้ แต่ก็ควรสนับสนุนให้มีองค์กรประชาสังคมให้มากๆ เพื่อเป็นชุมชนศีลธรรมห้อมล้อมปัจเจกชนในเมือง อันจะช่วยให้แต่ละคนมีพลังทางใจที่จะทวนกระแสบริโภคนิยมและอำนาจนิยมอันเชี่ยวกราก อีกทั้งมีปัจจัยแวดล้อมที่ช่วยต้านทานหรือลดความเชี่ยวแรงของกระแสดังกล่าวได้



............................................................

คัดลอกมาจาก ::
หนังสือพิมพ์มติชน รายวัน หน้า 6
คอลัมน์ มองอย่างพุทธ
วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10417
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง