Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2006, 9:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ประวัติและปฏิปทา
พระธรรมวราลังการ
(หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ)


วัดศรีสุทธาวาส (วัดเลยหลง)
ต.กุดป่อง อ.เมือง จ.เลย



๏ ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

“พระธรรมวราลังการ” หรือ หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ มีนามเดิมว่า ศรีจันทร์ จันทิหล้า เกิดเมื่อวันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2447 ตรงกับวันขึ้น 13 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง ณ บ้านฟากเลย ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย บิดาของท่านชื่อ อมาตย์ เพี้ยฤทธิ์ (ลี จันทิหล้า) มารดาของท่านชื่อ นางตุ๊ จันทิหล้า ท่านหลวงปู่ศรีจันทร์เป็นบุตรคนที่ 12 ของตระกูลจันทิหล้า ซึ่งเป็นครอบครัวที่อุดมสมบูรณ์มาก มีฐานะความเป็นอยู่ดี มีญาติพี่น้องมิตรสหายมากมาย เพราะบิดาของท่านหลวงปู่เป็นเพี้ย ซึ่งเป็นชื่อตำแหน่งของข้าราชการในภาคอีสาน

นับได้ว่าหลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ เป็นบุตรของข้าราชการไทยในยุคหนึ่งนั่นเอง และท่านได้ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติในฐานะที่ท่านเป็นคนไทยคนหนึ่งอย่างสมเกียรติ

หลวงปู่ศรีจันทร์ สมัยเป็นเด็กเล็กๆ อยู่ ท่านได้รับความรักความอบอุ่นจากบิดาและมารดาตลอดจนญาติพี่น้องทั้งหลาย พออายุได้เกณฑ์เข้าโรงเรียน บิดาของท่านได้นำไปฝากเพื่อศึกษาเล่าเรียน ณ โรงเรียนประจำอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

ในชีวิตปฐมวัย ท่านสามารถศึกษาเล่าเรียนได้ในเกณฑ์ดีพอใช้ กิริยามารยาทของท่านนั้นตามปกติแล้ว เป็นเด็กที่เชื่อฟังบิดามารดาและญาติพี่น้องเสมอ เมื่อมาได้อยู่โรงเรียน จึงเป็นที่รักใคร่จากครูบาอาจารย์มาก ท่านเป็นคนเงียบ พูดน้อย มีสติปัญญาดีมาแต่เด็ก จิตใจของท่านนั้นมีความเมตตาปรานี อ่อนโยน เยือกเย็น มีความสงสารสัตว์ไม่ชอบการเบียดเบียน ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ ท่านมีความเข้าใจว่า ทุกชีวิตที่เกิดมา ย่อมมีความรักตัวกลัวตาย กลัวเจ็บ กลัวไข้ด้วยกันหมดทั้งสิ้น

ดังนั้น การเบียดเบียนกันจึงเป็นเหตุให้ผู้ถูกเบียดเบียนเกิดทุกขเวทนา มีเวรกรรมต่อกันหาที่สิ้นสุดลงไม่ได้ ส่วนผู้เบียดเบียนผู้อื่น ก็ไม่มีความสุข เกิดทุกข์ มีบาปกรรม อีกทั้งยังส่งผลให้ได้รับทุกขเวทนาเช่นกัน ฉะนั้นความคิดเช่นนี้ ท่านจึงพึงระวังไม่ให้เกิดบาปกรรม และระวังมาตั้งแต่สมัยเด็กจนกระทั่งได้เข้าพิธีบรรพชาอุปสมบท

การศึกษาของท่านสามารถเรียนจบชั้นประถมบริบูรณ์ (ชั้น ป.3) ในสมัยนั้น

Image
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)

Image
พระมหารัชชมังคลาจารย์ (เทศ นิทฺเทสโก)


๏ ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

ในกาลต่อมา หลวงปู่ศรีจันทร์ได้รับความคิดเห็นจากบิดามารดาของท่าน ให้ศึกษาเพิ่มเติมวิชาความรู้ยิ่งขึ้น เพื่อจะได้นำความรู้นั้นๆ มาประกอบกิจชีวิตอันดีงาม การศึกษาในสมัยนั้นยังไม่กว้างขวางอย่างเช่นปัจจุบัน ถ้าบุคคลใดมีความประสงค์ที่จะก้าวหน้าต่อไป ก็จำเป็นอยู่ที่จะต้องศึกษาในแหล่งนักปราชญ์ราชบัณฑิต ซึ่งก็เป็นวัดวาอารามนั่นเองที่เป็นแหล่งให้การศึกษาอบรมแก่กุลบุตรผู้หวังความเจริญรุ่งเรือง

ในปี พ.ศ. 2461 ท่านได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดศรีชมชื่น ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2461 โดยได้รับความเมตตาจากพระครูหวาด เป็นพระอุปัชฌาย์ ขณะนั้นท่านมีอายุได้ 15 ปีเต็ม เนื่องจากได้บวชเป็นสามเณรแล้ว ท่านมีจิตใจรักในทางศึกษามากอยู่แล้ว ท่านจึงเข้าศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรม

การศึกษาพระวินัยนั้น ท่านมีความสนใจมากในการศึกษาด้านการปกครองหมู่คณะ ท่านจึงได้ออกเดินทางมาอยู่จำพรรษาที่กรุงเทพฯ และได้พำนักที่วัดสัมพันธวงศ์

ภายหลังท่านได้รับความเมตตาอันสูงสุดให้ได้แปรญัตติเป็นสามเณรฝ่ายธรรมยุต เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2462 โดยได้รับพระเมตตาจาก พระเดชพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และ พระมหารัชชมังคลาจารย์ (เทศ นิทฺเทสโก) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

หลวงปู่ศรีจันทร์ (ในสมัยเป็นสามเณร) ท่านได้มานะพยายามเป็นยิ่งยวด ศึกษาธรรมวินัยอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะท่านได้รับความเอ็นดูจากพระอุปัชฌาย์จารย์และครูบาอาจารย์ผู้ฝึกสอนจนมีความรู้ความเข้าใจขึ้นอีกมากมาย และยังเป็นที่ไว้วางใจจากครูบาอาจารย์เป็นพิเศษ

สมัยที่เป็นสามเณรศรีจันทร์ จันทิหล้า นั้น ท่านได้เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ อยู่ในหมู่ของนักบวชนั้นท่านเป็นบุคคลที่รักความสงบ มีความเมตตาปรานี กิริยาวาจาเรียบร้อย รู้จักบาป-บุญ-คุณ-โทษ รู้จักเคารพนอบน้อมผู้ใหญ่กว่า และยังเป็นบุคคลที่เกิดมาในสกุล “เพี้ย” คนหนึ่งจริยาขันธนิสัยจึงได้รับการอบรมมาจากบิดามารดาและญาติพี่น้องของท่านมาก่อน จึงเป็นเหตุให้ท่านเรียบร้อยนอบน้อม กายวาจาที่แสดงออกมาเป็นที่พึงจิตพึงใจแก่ผู้พบเห็นและผู้ที่อยู่ใกล้ชิด

เมื่อได้บรรพชาเข้ามาในบวรพระพุทธศาสนา และได้มาอยู่จำพรรษาใกล้ชิดกับครูบาอาจารย์ที่เป็นมหาราชบัณฑิตและท่านนักปราชญ์ทั้งหลายในกรุงเทพฯ ตลอดจนถึงความเจริญก้าวหน้ามีเหตุมีผลได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทางประกาศสอนสั่งไว้แล้ว ท่านยังได้มาอยู่ใกล้ชิดรับใชัพระอุปัชฌาย์ คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) และยังมีพระเดชพระคุณเจ้าอีกหลายพระองค์ ที่ประกอบด้วยสติปัญญาอันแหลมคมรอบรู้ในพระธรรมวินัย

Image
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)


ท่านจึงได้นอบน้อมจดจำมาเป็นเยี่ยงอย่างใส่จิตใส่เกล้าของท่านมาตลอด ความที่หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ หรือวณฺณาโภภิกขุ ขณะศึกษาเล่าเรียนอยู่ ณ สำนักวัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ ในสมัยนั้น ท่านได้พยายามศึกษาวิชาครูผู้จะดำเนินตามครูบาอาจารย์ไว้ ดังบทความที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) นิพนธ์ไว้ ณ วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ ดังนี้

ครู “อันธรรมดาว่าผู้เป็นครู เมื่อจะทำการสอนควรบำเพ็ญพรหมวิหารธรรมให้มีก่อนแล้วจึงจะสอนภายหลัง” พรหมวิหาร 4 อย่างก็คือ

1. เมตตา คุณข้อนี้ได้แก่ ตั้งใจส่งความรักใคร่ไปให้แก่ผู้อื่น ถอนความเกลียดชังแก่ผู้อื่น
2. กรุณา คุณข้อนี้ได้แก่ ตั้งใจช่วยขจัดทุกข์ไปจากผู้อื่น
3. มุทิตา คุณข้อนี้ได้แก่ ตั้งใจยินดีต่อผู้อื่น ในเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดิบได้ดี ถอนความริษยาลาภผลจากผู้อื่น
4. อุเบกขา คุณข้อนี้ได้แก่ ตั้งใจวางเฉยในเหตุการณ์ทั้งมวล แต่มิใช่เฉยอย่างปราศจากสติ คือ เฉยในเมื่อได้วิจารณ์เห็นว่าหมดอำนาจเมตตา กรุณา และมุทิตาที่ได้แผ่ไปแล้ว จึงวางเฉย

คุณทั้ง 4 ประการนี้ เมื่อผู้เป็นครูบำเพ็ญให้เกิดมี ย่อมเป็นที่ตั้งแห่งความรักเคารพนับถือของผู้ฟัง และเป็นผู้ฉลาดในเชิงปราชญ์ ท่านมีความสังเกตจากครูบาอาจารย์ หมั่นศึกษาหาความรู้ใส่จิตใจของท่านไว้เป็นอันมากและวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระเบียบวินัย แผนศึกษาอบรม การปกครองหมู่คณะ ความรู้เหล่านี้หลวงปู่ศรีจันทร์ ได้มาปรับปรุงหมู่คณะที่ท่านรับผิดชอบนำความสงบสุขเจริญรุ่งเรือง ในที่สุดขณะที่ท่านเป็นสามเณรท่านสามารถสอบนักธรรมชั้นตรีและนักธรรมโทที่สนามหลวงได้ซึ่งเป็นปี พ.ศ. 2466


(มีต่อ 1)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2006, 9:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระมหารัชชมังคลาจารย์ (เทศ นิทฺเทสโก)


ต่อมาท่านได้อุปสมบทต่อโดยได้รับความเมตตาธรรมเป็นครั้งที่สองจากสมเด็จพระอุปัชฌาย์อาจารย์ของท่าน โดยได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และพระมหารัชชมังคลาจารย์ (เทศ นิทฺเทสโก) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2467

ภายหลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ เจริญข้อวัตรพระธรรมวินัย ตามแบบฉบับท่านผู้รู้ทั้งหลาย อันเป็นเกียรติประวัติแก่ท่านในกาลต่อมาแล้ว หลวงปู่ศรีจันทร์ ท่านได้มีความพยายามที่จะศึกษาหาความรู้แก่ตนเองได้มากขึ้น ในพรรษาปี พ.ศ. 2467 หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ ท่านได้พยายามศึกษาพระธรรมวินัยอย่างยิ่งยวดไม่ปล่อยเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ท่านได้ใช้เวลาส่วนมากทุ่มเทให้แก่การศึกษา ท่านพยายามสนองพระเดชพระคุณของพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ที่พระเดชพระคุณเมตตาพึงหวังในตัวของท่านไว้ ความพยายามที่เกิดจากกำลังใจที่ครูบาอาจารย์คอยส่งเสริมท่านนี้ เป็นผลสำเร็จอย่างง่ายดายในปีเดียวกันคือ หลวงปู่ศรีจันทร์ สามารถสอบนักธรรมชั้นเอกในสนามหลวงได้เมื่อ พ.ศ. 2467 นั่นเอง

หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ สมัยอยู่จำพรรษาที่วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ แม้ว่าท่านจะมีการศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรม แต่ส่วนลึกของจิตใจท่านในยามนั้น หลวงปู่มีความสนใจประพฤติปฏิบัติสมาธิภาวนาธรรมมาก และท่านได้เริ่มต้นปฏิบัติทางด้านพระกรรมฐานที่วัดสัมพันธวงศ์อีกด้วย สามารถกระทำควบคู่กันไปอย่างได้ผล และมีความชำนาญในสมาธิภาวนามาก

ท่านได้ถือข้อวัตรไว้อย่างเคร่งครัด เช่น ฉันในบาตร ฉันหนเดียว รักษาความสันโดษ ไม่ชอบคลุกคลีกับหมู่คณะ ถ้าแม้ยามใดว่างจากภารกิจอื่นแล้ว ท่านจะเข้าที่บำเพ็ญเพียรภาวนาทันที ดังนั้นก่อนที่จะหันเข้าไปอบรมอยู่กับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต นั้น หลวงปู่ศรีจันทร์พอมีความเข้าใจในการปฏิบัติมาบ้างแล้วในช่วงแรกๆ อย่างไรก็ตามหลวงปู่ศรีจันทร์ได้ศึกษามาเป็นตัวหนังสือในข้อธุดงควัตร ขณะที่ศึกษาปริยัติธรรม แต่ท่านถือหลักที่ว่ามีความเชื่อธรรมคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า หลวงปู่ศรีจันทร์ จึงพิสูจน์และมีความรู้จริงดังการที่ได้พิสูจน์มาแล้วนั้น หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ สมัยเป็นพระมหาได้เทียบด้วยสติปัญญาแล้วว่า “เป็นสถานที่ที่ควรตั้งมหาวิทยาลัย และเป็นวิชาที่ควรบรรจุเข้าในหลักสูตรมหาวิทยาลัยทางโลก”

ธุดงควัตร 13 กับ ขันธวัตร 14 ในทางพระพุทธศาสนา ก็สามารถเป็นได้ทั้งสถานที่ตั้งมหาวิทยาลัย และหลักวิชาแห่งมหาวิทยาลัยสงฆ์ โดยแยกออกจากธุดงค์บางข้อที่ควรเป็นสถานที่มหาวิทยาลัยแห่งการบำเพ็ญภาวนาศึกษาตามควร คือข้อถือการอยู่ป่าเป็นวัตร อยู่รุกขมูลใต้ร่มไม้เป็นวัตร อยู่ป่าช้าเป็นวัตร การเยี่ยมป่าช้าเป็นวัตร สถานที่ควรอนุโลมเข้าในที่เหล่านี้ก็ควรอนุโลมได้ เช่น ถ้ำเงื้อมผา เรือนว่างที่ปราศจากคนอยู่อาศัย เป็นต้น แต่หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ ท่านถือว่าท่านเป็นพระสงฆ์ ท่านจึงตั้งมั่นในการประพฤติ จึงจำเป็นอยู่ที่จะต้องสงเคราะห์เข้าในหลักธรรมของพระพุทธเจ้า เช่น การถือผ้าบังสกุลเป็นวัตร การถือเฉพาะผ้าสามผืนเป็นวัตร การบิณฑบาตเป็นวัตร การฉันในบาตรเป็นวัตร การฉันหนเดียวในวันหนึ่งๆ เป็นวัตร การห้ามภัตต์ที่ตามมาทีหลังเป็นวัตร การไม่พักนอนเป็นคืนๆ ไปเป็นวัตร กรรมฐาน 40 ห้อง ซึ่งเป็นหลักวิชาการทางภาคปฏิบัติ ก็สงเคราะห์เข้าด้วยกับธุดงค์ภาควิชาการ

สรุปแล้ว พระพุทธศาสนาเป็นความสมบูรณ์ด้วยวิชาในแขนงต่างๆ เป็นมหาวิทยาลัยศาสนาแต่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เริ่มประกาศธรรมสอนโลกหลวงปู่ศรีจันทร์ จึงเข้าใจในหลักนี้ และมีความสนใจเป็นพิเศษ ส่วนการศึกษาทางโลกนั้นท่านก็สามารถเรียนรู้ได้คือ

1. ท่านเป็นนักปกครอง
2. ท่านเป็นนักพัฒนา
3. ท่านเป็นนักปฏิบัติธรรม

ความจริงทั้งหลายเหล่านี้เป็นที่ประจักษ์แก่ท่านพระเดชพระคุณ ครูบาอาจารย์ทั้งหลายตลอดจนศิษยานุศิษย์ที่เคารพนับถือมาเป็นอย่างดียิ่ง

Image
หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต


หลวงปู่ศรีจันทร์ ในฐานะที่ท่านดำรงสมณเพศอย่างสันโดษ ท่านออกบิณฑบาตทุกวัน ฉันเอกาวันละมื้อเดียว ไม่เคยแปรเปลี่ยนความตั้งใจเดิมตลอดเวลาอันยาวนานความในใจในเรื่องพระกรรมฐานนี้ทำให้ท่านได้บุกบั่นไปนมัสการ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และได้ฝากตนเป็นศิษย์ในสายพระกรรมฐานรูปหนึ่ง ท่านได้รับอุบายธรรมจากหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ในแนวทางปฏิบัติทางจิตโดยอาศัยการเจริญสมณธรรมในป่าดงพงไพร เพราะเราชาวพุทธทุกคนมีความกล้าที่จะยืนยันได้ว่า ความรู้ความสามารถที่ได้รับมอบอย่างเต็มภาคภูมินั้นเป็นหลักสูตรในป่าดง

พระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าทรงอำนวยการสร้าง และการสอนด้วยพระองค์เอง และพระองค์ทรงรับสั่งพระสาวกทั้งหลายให้สั่งสอนแทนในสมัยนั้น ย่อมหมายถึงหลักวิชาที่ล้ำเลิศในโลกไม่มีวิชาใดเสมอเหมือนในไตรภพนี้ มนุษย์ เทวดา อินทร์พรหม ยมยักษ์ ต่างก็มีความเคารพนับถือยกย่องพระพุทธเจ้าว่า เป็นครูเอกในสามภพ ดังในบทพระพุทธคุณว่า สตถา เทวมนุสฺสานํ เป็นครูผู้สอนเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย อันวิชชา “วิมุตติ” ทั้งหลายดังกล่าวมา จึงเป็นที่ยกย่องเทิดทูนสถาบันป่าเหล่านี้มาประจำศาสนาของพระพุทธองค์

เวลาใดที่กุลบุตรเข้ามาบวชเป็นพระ ก็ทรงสอนกรรมฐาน 5 และอนุศาสน์ มีการอยู่ร่มไม้เป็นต้น ให้วางเข็มทิศทางเดินของปฏิปทาข้อปฏิบัติอันเป็นเครื่องมือฟาดฟันบุกเบิกดงหนาป่าทึบ คือ กิเลสชนิดต่างๆ ภายในจิตใจที่มาปิดกั้นกันจิตไม่ให้มอง

เห็นทางเดินเพื่อมรรคผลนิพพาน ทำให้เตียนโล่งไปด้วยธรรมวุธที่ประทานให้ ดังนั้นเวลาบวชเป็นสามเณร พระอุปัชฌาย์จึงสอนกรรมฐานห้า ให้เป็นเครื่องมือต่อสู้กับมารร้ายต่างๆ ให้พินาศขาดสูญไปจากจิตใจ พระอุปัชฌาย์จารย์เป็นผู้รู้ผู้จำแนกเจริญรอยตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่พระพุทธองค์เพียงไม่ทราบสอนอนุศาสน์เกี่ยวกับการอยู่ป่าเท่านั้นทั้งนี้อาจทรงเห็นว่า สามเณรยังเล็กอยู่จึงยังไม่ส่งเข้าแนวรบอันเป็นชัยสมรภูมิสำคัญพระสาวกอรหันต์จำนวนมากในสมัยพุทธกาล แทบพูดได้ว่าร้อยทั้งร้อยที่สำเร็จธรรมจากป่าดังกล่าวมาแล้ว

หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ ภายหลังจากได้รับอุบายธรรมปฏิบัติจากหลวงปู่มั่นแล้ว ท่านก็มิได้นิ่งนอนใจ หลวงปู่ศรีจันทร์ รีบออกขวนขวายหาทางปฏิบัติธรรมใสป่าดงพงไพรต่อไป หลวงปู่ได้เคยออกเดินธุดงค์ โดยไปอาศัยตามป่าภูเขาเงื้อมผาบุกไปตามป่าดงดิบต่างๆ หลายหนหลายแห่งเพื่อบำเพ็ญเพียรภาวนาธรรม หลวงปู่ศรีจันทร์ ได้ถือกำลังใจดำเนินตนไปด้วยความสะดวกราบรื่นไม่ขลุกขลักขึ้นชื่อว่า กิเลสแล้วไม่ว่าชนิดชนิดใดมากน้อยเพียงใด มันต้องแสดงตัวเป็นข้าศึกของเราตลอดเวลามันจะสำแดงฤทธิ์เดชของมันให้เห็นอยู่เสมอ

ดังนั้น การออกเดินธุดงค์เพื่อขัดเกลามันออกจากจิตใจนี้ หลวงปู่ศรีจันทร์มีความมานะอดทนเป็นอย่างยิ่ง ท่านเป็นพระนักต่อสู้ เป็นพระนักปฏิบัติธรรม จึงถือว่ากิเลสเป็นข้าศึกแก่ตัวของท่านเอง และเป็นกองทุกข์ที่จะเกิดขึ้นแก่มนุษย์ทุกคน ท่านจึงย่อมไม่นิ่งนอนใจที่จะเลี้ยงกิเลสไว้ ท่านกลับเห็นเสียว่า “ถ้าได้ทำลายเสียให้สิ้นซากลงไปในขณะนี้ ก็จะเป็นที่พอใจอย่างยิ่ง ประเสริฐกว่าจะเลี้ยงไว้ทำพิษแก่ตนเองในภายหลัง หรือในวันอื่นต่อไป”

สำหรับหลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่มีภารกิจอันต่อเนื่องมากมายทั้งทางด้านการปกครอง และทางด้านอารมณ์ชี้แนะแนวทางอันเป็นทางเอกในบวรพระพุทธศาสนา

อีกด้านหนึ่งคือ ทางด้านพัฒนา ซึ่งประกอบด้วยหลักสองประการ
1. ทางด้านจิตใจ
2. ทางด้านวัตถุ

ทางด้านจิตใจนั้น ท่านเปิดอบรมภาคปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเลิกละกิเลส ตัณหา อุปทาน มุ่งตรงต่อคำสอนขององค์พระผู้มีพระภาคเจ้าคือแนวทางวิมุตติหลุดพ้นนั่นเอง ทางด้านวัตถุนั้น หลวงปู่ศรีจันทร์ได้เป็นผู้ริเริ่มนำพาคณะศรัทธาญาติโยมให้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างถาวรวัตถุเป็นเครื่องต่อเนื่องให้เจริญรุ่งเรืองเป็นศรีสง่าแก่วงการพระพุทธศาสนานั่นเอง

Image
คณะศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต (จากซ้ายไปขวา)
๑. พระธรรมวราลังการ (หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ) ๒. หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
๓. หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ๔. หลวงปู่หลุย จันทสาโร ๕. หลวงปู่ซามา อาจุตฺโต



(มีต่อ 2)
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 25 ธ.ค.2007, 5:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ


๏ ธรรมโอวาท

สมัยนี้เป็นสมัยที่โลกวุ่นวาย อันเนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจบ้าง จากปัญหาภัยต่างๆ มีโจรภัยบ้าง อุทกภัยบ้าง อัคคีภัยบ้าง และเกิดอุปัทวเหตุต่างๆ มีรถชนกันบ้าง และจี้-ปล้น-ข่มขืน-เรียกค่าไถ่กันบ้าง ทำให้เกิดความหวาดเสียว สะดุ้งกลัว หาความสงบสุขร่มเย็นได้ยากมาก จึงมีบางท่าน บางหมู่ บางเหล่า บางกลุ่ม อยากจะแสวงหาธรรมะสำหรับปฏิบัติ เพื่อทำให้จิตใจสงบสุข เยือกเย็น ไม่ต้องเดือดร้อนวุ่นวายไปตามกระแสโลก

ผู้มีสันติ คือ ความสงบย่อมมีใจเยือกเย็น เป็นสุข มีความสุภาพ อ่อนโยน นิ่มนวล มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส น่ารัก ไม่อิจฉาริษยา ไม่อาฆาตพยาบาทใคร เปี่ยมไปด้วยพรหมวิหารธรรม เมื่อมีปัญหาอุปสรรคหรืออันตรายเกิดขึ้นย่อมมีจิตใจเข้มแข็ง ใช้สันติของตนโดยธรรม เอาชนะปัญหาอุปสรรคหรืออันตรายเหล่านั้นให้ผ่านพ้นไปโดยสวัสดี ถ้าเป็นผู้ปกครองเขาก็สามารถทำหมู่คณะของตนให้ปลอดภัยในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ

เรื่องสมาธิ

สมาธิ ภิกฺขเว ภาเวถ สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงยังสมาธิให้เกิด ชนผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้วย่อมรู้ความจริง เพราะเหตุไร พระศาสดาจึงทรงชักนำในอันบำเพ็ญสมาธิ เพราะใจที่ได้อบรมดีแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อันใหญ่ คนเราจะทำจะพูดดีหรือเสียก็เพราะใจ ลำพังกายเหมือนรูปหุ่น ใจเหมือนคนชัก รูปหุ่นจะกระดิกพลิกแพลงไปเท่าไร ก็ส่อใจของคนชักฉันใด อาการ กายวาจาจะเป็นไปอย่างไร ก็ส่ออาการของใจฉันนั้น

อีกอย่างหนึ่ง กายเหมือนเรือ ใจเหมือนนายเรือ ถ้านายเรือไม่ได้รับฝึกหัดชำนิชำนาญหรือประมาทไป ก็จะพาเอาเรือไปเป็นอันตรายเสีย ต่อเป็นผู้ได้ศึกษาและมีสติ จึงจะสามารถพาไปถึงท่าฉันใด ใจก็ฉันนั้น ที่ชั่วและปล่อยให้ละเลิงก็จะชักจูงให้ประพฤติชั่วทางกาย ทางวาจา มีประการต่างๆ ล้วนแต่เป็นส่วนเสียหาย ถ้าได้รับการอบรมในทางดีจึงจะชักจูงในทางดี ท่านกล่าวว่า ใจที่ไม่ได้อบรม อาจทำคนให้ฉิบหายยิ่งกว่าโจร หรือคนมีเวรจะทำให้เสียอีก ใจที่ได้รับการอบรมอาจทำได้ดียิ่งกว่าบิดามารดาและญาติผู้รักใคร่จะพึงทำให้ได้ เพราะเหตุนั้น พระบรมศาสดาผู้ทรงพระกรุณาใหญ่แสวงหาประโยชน์แก่ประชาชน จึงได้ทรงชักนำในอันบำเพ็ญสมาธิ

สมาธินั้น พึงรู้อย่างนี้ ใจนี้อบรมดีแล้วย่อมเห็นอรรถเห็นธรรมแจ้งชัด ทำอะไรย่อมจะสำเร็จ แต่ใจนี้ โดยปกตินี้อารมณ์ไม่ดีเข้าขัดขวางไม่ให้แน่แน่วลงได้ ซึ่งเรียกว่านิวรณ์ คือธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี นิวรณ์ท่านแจกเป็น 5

ความกำหนดด้วยอำนาจกิเลสกาม เรียกกามฉันทะ 1 ความงุ่นง่านด้วยกำลังโทสะอย่างสูงถึงให้จองล้างจองผลาญผู้อื่น เรียกชื่อตามอาการถึงที่สุดว่า พยาบาท, ความท้อแท้หรือคร้านและความง่วงงุน รวมเรียกว่า ถีนมิทธะ เพราะเหตุหดหู่แห่งจิตเหมือนกัน นี้จัดเป็นนิวรณ์อีก 1

ความฟุ้งซ่านหรือคิดพล่านและความจืดจางเร็ว รวมเรียกว่า อุทธัจจะกุกกุจจะ เพราะเหตุกำเริบไม่อยู่ที่แห่งจิตเหมือนกัน นี้จัดเป็นนิวรณ์อีก 1, ความลังเลไม่แน่ลงได้เรียก วิจิกิจฉา 1

สมัยใดนิวรณ์ 5 อย่างนี้ แต่อย่างใดอย่างหนึ่งครอบงำจิตบุคคลย่อมไม่คิดเห็นอรรถเห็นธรรม เมื่อเป็นเช่นนี้ย่อมไม่อาจประกอบกิจให้สำเร็จ ประโยชน์ตนประโยชน์ท่านการทำจิตให้ปลอดจากนิวรณ์เหล่านี้ รักษาให้แน่วแน่ชื่อว่าสมาธิ

สมาธินี้ เป็นกำลังสำคัญ ในอันจะให้คิดเห็นอรรถธรรมและเหตุผลอันสุขุมลึกลับ พระศาสดาจึงตรัสไว้ในพระบาลีว่า สมหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ ผู้มีใจตั้งมั่นแล้วย่อมรู้ตามเป็นจริง ใจดวงเดียวนึกพร่าไปในอารมณ์ต่างๆ ย่อมคิดติดแลไม่เห็นทาง ต่อนึกดิ่งลงไปในอารมณ์เดียวเป็นสมาธิ จึงจะคิดเป็นปรุโปร่ง ดุจน้ำบ่าไปหลายทาง จะใช้กำลังพัดเครื่องจักรไม่ได้แรง เหมือนน้ำไหลบ่าลงทางเดียว ฉะนั้นสมาธิก็คือ รวมความคิดของใจให้ดิ่งลงไปในทางเดียว จึงเป็นกำลังอันใหญ่ให้แทงตลอดอรรถธรรม และเหตุผลอันสุขุม

Image
หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ


การเข้าสมาธิมีประโยชน์ 2 อย่างคือ

1. ทำให้กระแสจิตแรงกล้า มีแสงสว่างจ้ากว่าธรรมดา แสงสว่างนี้ เรียกว่าปัญญา ประโยชน์ของสมาธิในลักษณะนี้เราจะพูดสั้นๆ ว่า สมาธิทำให้เกิดปัญญาก็ได้ พระบาลียืนยันก็มีว่า สมาธิปริภาวิโต ปญฺญามหปฺผโล โหติ มหานิสํโส สมาธิทำให้ปัญญาใช้ได้ผลมาก

2. ทำให้กิเลสหมดไป หมายความว่า จิตคนเราตามปกติย่อมเต็มไปด้วยกิเลส ความรัก ความชัง ความหลง พอกพูนด้วยอารมณ์ทั้งดีทั้งร้าย จนกระทั่งได้ชื่อว่า ปุถุชนคนหนา ที่นี้จิตที่ถูกควบคุมเข้าสู่วงจำกัดทีละชั้นๆ นั้น จะทำได้ต่อเมื่อสละอารมณ์อันรุงรังออกจากจิตให้มากที่สุดจึงจะเข้าสมาธิชั้นในๆ ได้ เปรียบเหมือนว่า มีประตูอยู่ทั้งหมด 8 ชั้น ชั้นนอกกว้างแล้วก็แคบเข้าตามลำดับ คนๆ หนึ่งหาบของมารุงรังจะเข้าประตูนั้น ต้องทิ้งหาบอย่างน้อยก็ข้างหนึ่งจึงจะเข้าได้ พอไปถึงประตูที่ 2 ถ้ายังหิ้วของอยู่ก็เข้าไม่ได้ต้องทิ้งหิ้ง พอจะเข้าประตูที่ 3 ต้องทิ้งห่อ จนกระทั่งเหลือแต่ตัวจึงจะเข้าประตูสุดท้ายได้

ฉันใดก็ฉันนั้น จิตจะต้องปล่อยอารมณ์เลวร้ายเรื่อยไป จึงจะเข้าฌานโดยลำดับ ไปจนถึงฌานที่ 8 ได้ ท่านผู้ได้รูปฌานก็ดี อรูปฌานก็ดี ก็ยังเป็นส่วนโลกียะอยู่ จุติจากอัตตภาพนั้นแล้วย่อมไปเกิดในพรหมโลก ตามกำลังญาณของตน ส่วนผู้ปฏิบัติด้วยการชำระกาย วาจา และใจ ของตนให้บริสุทธิ์ สะอาด ผ่องใส จากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง มีราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ก็จะได้บรรลุมรรคผลสมประสงค์ทุกประการ

รวมความว่า สมาธิมีประโยชน์ 2 อย่างคือ
1. ทำให้ดวงปัญญาแก่กล้า แล
2. ทำให้บรรลุนิพพาน

Image
เจดีย์พิพิธภัณฑ์พระธรรมวราลังการ (หลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ)
ณ วัดศรีสุทธาวาส (วัดเลยหลง) ต.กุดป่อง อ.เมือง จ.เลย



๏ ปัจฉิมบท

ครั้งยังดำรงธาตุขันธ์อยู่ หลวงปู่ศรีจันทร์ มักรอต้อนรับให้คำชี้แนะแก่นักปฏิบัติธรรม ที่เดินทางมาเพื่อค้นคว้าหาทางพ้นทุกข์ตามกำลังสติปัญญาที่ท่านพึงแนะนำได้อยู่เป็นนิจ ท่านยินดีเป็นอันมากที่บรรดาพุทธบริษัทให้ความสนใจเป็นพิเศษในเรื่องวิปัสสนากรรมฐาน

หลวงปู่มักกล่าวสอนอยู่เสมอว่า

“การปฏิบัติพระกรรมฐานนี้ มีทางออกที่ดี เพราะสามารถยกระดับจิตความคิดทางใจให้พ้นออกจากกองทุกข์ ที่เต็มไปด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน อย่างสิ้นเชิง”

หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ ท่านสมแล้วที่เป็นเนื้อนาบุญของพวกเรา ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า



.............................................................

คัดลอกมาจาก ::
หนังสือแก้วมณีอีสาน
http://www.manager.co.th/Dhamma/
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
น้องนน
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 10 พ.ค. 2007
ตอบ: 47

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.พ.2008, 9:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 08 พ.ย.2009, 5:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กระทู้ในบอร์ดใหม่

ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ”

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=19457
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง