Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ตัณหา (หนังสือ อนาลโยวาท) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2006, 6:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ตัณหา
หลวงปู่ขาว อนาลโย

มันเป็นก้อนใครก้อนมัน มีเจตนาพร้อม จึงว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจประเสริฐสุด ถึงแล้วด้วยใจ จะทำคุณงามความดีทุกสิ่งทุกอย่างก็สำเร็จแล้วด้วยใจ จะทำบาปก็สำเร็จด้วยใจ ผู้ที่มีใจโทษประทุษร้ายอยู่แล้ว มีโลภะ โทสะ โมหะ ประทุษร้ายอยู่แล้ว มนสา เจ ปทุฏฺเฐน ใจอันถูกประทุษร้ายอยู่แล้ว ภาสติ วา กโรติ วา จะพูดก็ดี พูดก็มีคำหยาบช้า มีคำเศร้าหมอง มีบาป ความเดือดร้อน พูดดีก็เป็นทุกข์ จะทำดี โทษก็ข่มคออยู่นั่น มีแต่ตกต่ำอยู่นั่น

ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ ทุกข์ติดตามไปอยู่ จกฺกํว วหโต ปทํ ฯ คนผู้โทษประทุษร้ายเอาแล้ว ใจไม่ดีแล้ว เพราะใจเอาอารมณ์ทั้งหลาย คืออารมณ์ที่ชอบใจ มาหมกเข้าที่ใจ อารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ก็เอามาหมักหมมไว้ที่ใจ ให้มันเผาใจ กลัดกลุ้มอยู่ทั้งกลางวันกลางคืน ยืนก็ไม่เป็นสุข เดินก็ไม่เป็นสุข นั่งก็ไม่สุข นอนก็ไม่สุข อันนี้แหละใจไม่ดี มีโทษประทุษร้ายอยู่แล้ว มีราคะ โทสะ โมหะ ความหลงอยู่แล้ว มันจะให้ความสุขอย่างใดล่ะ เหมือนกันกับโคอันเข็นภาระอันหนักไปอยู่ ทุกข์ตามไปอยู่ ล้อตามมันไปอยู่ แอกถูคอมันไปอยู่ ข่มคอมันไปอยู่จนบาดเจ็บ คอโปน เอามันไปอยู่อย่างนั้น เลยไม่ต้องมีความสุขแล้ว

เราเอามาอบรมเดี๋ยวนี้ คือให้ออกจากเครื่องกังวล เครื่องปรุง เครื่องแต่งทั้งหลาย คือฆราวาสมันประกอบด้วยเครื่องกังวล ออกจากอารมณ์ ออกจากความแต่งความปรุงทั้งหลายทั้งปวง ได้ชั่วครั้งชั่วคราว เพื่อมาวัดในวันพระ มีสี่หนในเดือนหนึ่ง ออกเพื่อเนกขัมมะ ความออก ออกจากสิ่งทั้งปวง ออกจากเครื่องกังวลทั้งหลาย เนกขัมมะต้องออกจากบาป จากความชั่วทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี เมื่ออกมาแล้ว ออกจากของดำของมืด ออกมาที่วิเวกแล้ว มันจึงสงบสงัด มันจึงได้ความวิเวกของใจ สงบใจสบายใจ วันหนึ่ง คืนหนึ่ง อันนี้ชื่อว่าพักแรมของใจ ชั่วครั้งชั่วคราว

อานิสงส์การรักษาอุโบสถท่านพรรณนาไว้ไม่มีที่สิ้นสุด ได้ชื่อว่าออกจากกองไฟ ไฟอะไรล่ะจะมาร้อนกว่าไฟธรรมดา ก็มีกามนั่นแหละ เป็นต้นเหตุ อันนี้ออกมาจากกาม พวกเราออกมาทำความสงบจิตใจชั่วครั้งชั่วคราว ได้ออกมาจากเครื่องกังวล คือได้กายวิเวก กายไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียนหยังด้วยกายวิเวก เมื่อมันได้กายวิเวกแล้ว มันจะเป็นเหตุให้จิตวิเวก จิตสงบสงัดจากอารมณ์ทั้งหลาย สงัดจากกามฉันทะ จากพยาบาท จากถีนะมิทธะ จากอุทัจจะกุกุจจะ ฯ สงัดจากวิจิกิจฉา ความสงสัยลังเล ไม่เชื่อใจ ไม่ตกลงใจ นี่ เมื่อได้กายวิเวก ก็เป็นเหตุให้เกิดจิตวิเวก เมื่อได้จิตวิเวกแล้ว จะเป็นเหตุให้เกิดอุปธิวิเวก อุปธิวิเวกก็คือ ความที่มีจิตแน่วแน่ลงไปถึงอัปปนาสมาธิ อัปนาฌาน แน่นแฟ้น เมื่ออุปธิวิเวกเกิดขึ้นแล้ว มันจะเกิดความรู้ขึ้น คือ ญาณทัสสนะ ญานัง ความรู้ ทัสสนะ ความเห็น ญาณทัสสนะ ความรู้เห็นตามความเป็นจริงของอัตภาพร่างกาย สังขารเป็นอย่างไร

เมื่อได้อุปธิวิเวกแล้ว มันจะเห็นสังขารร่างกายของตนเป็นของแตกของพังของทำลาย แล้วร่างกายของตนนี่เป็นภัย เป็นอสรพิษ เบียดเบียนตนทุกค่ำเช้า ทุกวันทุกคืนทุกปีทุกเดือน เป็นภัยใหญ่ แล้วร่างกายนี้มันเป็นโทษ อันนี้แหละเรียกว่า นำความเห็น ทัสสนัง ครั้นรู้ว่าร่างกายเป็นอย่างนี้แล้ว เราเข้าใจว่าแม่นของเรา แต่มันเป็นอื่น มันไม่ไว้ท่าเราสักหน่อย ไม่อยากให้มันแก่ มันเจ็บ มันก็ไม่ฟัง ถ้าเป็นของเรา มันต้องฟังเรา อันนี้มันบ่ฟัง จึงว่ามันเป็นอนัตตา แล้วเป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เราก็เอามันมากำหนดอย่างนี้แหละ

กำหนดพิจารณาร่างกายของตนให้มันเห็นตามความเป็นจริงไว้ ยถาภูตํ ญาณทัสฺสนํ นั่นแหละ เห็นว่าร่างกายเป็นของแปรปรวน เป็นของแตกดับ เป็นของสลายไป ชื่อว่าเห็นภัย เมื่อเห็นอย่างนี้แล้ว พระพุทธเจ้าว่า มันจะมีความเบื่อหน่าย ความกลัว เห็นมันเป็นอสรพิษ เป็นงูจงอางมาขบกัดอยู่ทุกวันทุกคืน มีแต่เจ็บแต่ปวด บ่มีความสบาย มันเจ็บมันปวดอยู่ ชื่อว่ามันเป็นทุกข์ ผู้มาพิจารณาเห็นร่างกายเป็นอย่างนี้แล้ว สพฺเพสงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปัญฺญาย ปัสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา ผู้มาพิจารณาเห็นร่างกายอย่างนี้ เห็นอัตตภาพของตนเป็นอย่างนี้ ย่อมมีความเบื่อหน่ายร่างกายอันนี้ ย่อมเป็นผู้หมดจด เป็นญาณความรู้อันหมดจดบริสุทธิ์ของผู้นั้น

สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปัญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เมื่อเห็นด้วยปัญญาว่าสังขารร่างกายเป็นทุกข์ ย่อมเบื่อหน่าย อันนี้เป็นความเห็นอันบริสุทธิ์ของผู้นั้น สพฺเพธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปัญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เมื่อผู้มาพิจารณาเห็นอัตภาพธรรมทั้งหลาย คือสกนธ์กายขวองเราทุกรูปทุกนามมันเป็นอื่นแล้ว ไม่เป็นเราแล้ว ย่อมมีความเบื่อหน่ายในธรรมอันนี้ ก้อนธรรมอันนี้ สกนธ์กายอันนี้ เบื่อหน่ายในสังขารธรรม คือความปรุงความแต่งอันนี้ เมื่อเบื่อหน่ายก็คลายกำหนัด คือความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์แน่ นี่แหละมันจึงวางภาระ ขันธ์ ๕ นี้เป็นภาระอันหนักที่ทับคอเราอยู่

คำว่าขันธ์ ๆ เป็นของรวบรวมสิ่งทั้งปวงเข้า เหมือนขันข้าว ขันหมาก ขันอันหยังก็ตาม เอาของมาทับใส่มันหละ อันหยังก็เก็บกวาดใส่เต็มขันนั่นแหละ มันก็หนักนั่นแหละ เป็นทุกข์อันหนักหละ ภาราหเว ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์เน้อ ภารหาโร จ ปุคฺคโล ชีวิตคือขันธ์ ๕ นำไปเป็นทุกข์ ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก ผู้ยึดถือขันธ์ ๕ แล้ว ไม่พิจารณาให้เห็นตามเป็นจริง ไม่เข้าใจว่าตัวตนแล้ว ก็เป็นทุกข์อยู่ในโลกนั่นแหละ ภารา นิกฺเขปนํ สุขํ ผู้ปล่อยวางขันธ์ ๕ นี่แล้ว ไม่ยึดไม่ถือว่าเป็นตัวเป็นตนแล้ว ผู้นี้แหละเรียกว่าเป็นผู้วางภาระอันหนัก นิกฺขิ ปิตฺวา ครุงฺภารํ อนยํ ภารํ อนาทิย ผู้ปล่อยวางแล้ว ไม่ยึดเอาอื่นอีก ขันธ์ห้านี่ไม่ยึดเอาเป็นตัวเป็นตนแล้ว ได้ชื่อว่าเป็นผู้ขุดเสีย ขุดขึ้นเสียคือ ตัณหา ขุดขึ้นทั้งราก

นิจฺฉาโตปรินิพฺพุโต จัดว่าเป็นผู้เที่ยงแล้ว เที่ยวพระนิพพานแล้ว ใกล้พระนิพพานแล้ว เขาถึงปากทางพระนิพพานแล้ว ครั้นเข้าไปหมดตนหมดตัวแล้ว ความรุ้รวมแล้ว มันก็รู้ตัณหาว่าความดิ้นรนมันเผาอยู่ตลอดวันตลอดคืน เรียกว่าความดิ้นรน ตัณหาว่าความใคร่ ความใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจ มันเป็นตัณหา ครั้นดิ้นรนอยากได้แล้ว ก็อยากเป็น ทีนี้มันเป็นตัณหาขึ้น อยากเป็นคืออยากเป็นอินทร์ พรหม เป็นจักรพรรดิ์ เป็นเศรษฐี คหบดี อยากเป็นเพราะตัณหา

มีตัณหา ๓ ความใคร่เรียกว่ากามตัณหา ความดิ้นรนอยากได้เป็นภวตัณหา วิภวตัณหาคือความไม่อยากเป็นไม่อยากมี เหมือนผมหงอก ฟันหัก ร่างกายหดเหี่ยว ตามืดตามัว ความแก่ ไม่อยากเป็น อารมณ์ที่ไม่ชอบก็ไม่อยากพบ ไม่อยากเห็น ไม่อยากเป็น นี่เรียกว่าวิภวตัณหา มีความขัดเคือง ตัณหานี่เป็นเหตุให้จิตใจเกิดทุกข์ เพราะเหตุนั้นพระพุทธเจ้าจึงให้พิจารณาให้เห็นทุกข์เสียก่อน อันใดเป็นทุกข์ อัตภาพร่างกายหมดทั้งก้อนนี้เป็นทุกข์ ทุกข์มาจากความเกิด

ครั้นเกิดมาเป็นก้อน เป็นสกนธ์กายแล้ว ก็เป็นกองทุกข์ เป็นกองไฟ นี่แหละให้พิจารณาให้มันเห็นทุกข์ ทุกข์พระพุทธเจ้าให้กำหนดรู้ ให้เห็นตามความเป็นจริงของสภาวะ ชาติ ความเกิดก็เรียกว่า ตัวธรรมดา ให้รู้เท่าตัวธรรมดาเสีย ตัวธรรมดา มันเกิดอยู่ธรรมดานั่นแหละ มันมีเกิดอยู่เป็นธรรมดาในโลก มันมีอยู่อย่างนี้แหละ ให้รู้เท่าธรรมดาเสีย ธรรมดา มันเป็นที่เรานึก อยู่ดีๆ ละ นึกจะทุกข์ มันก็ทุกข์ ทุกข์มันมาจากไหน ต้องสาวหาเหตุ ทุกข์มันมาจากเหตุ ธรรมทั้งหลายไหลมาแต่เหตุ เหตุคือความอยาก ความดิ้นรน ความใคร่ ความชอบใจ แล้วความอยากเป็นอยากมี ความไม่อยากเป็นไม่อยากมี มันมาจากนี้

ครั้นรู้ว่ามันมาจากนี่ แม้นทุกข์จะเกิดขึ้น มันเกิดขึ้นเพราะความอยากเป็นอยากมี อยากเป็นภพ เป็นชาติอยู่ มันมาจากนี้ แต่ว่าให้ปล่อยวางเสีย ตัณหานี่ปล่อยวางเสีย สำรอกขึ้นเสีย ปลงเสีย อย่าอาลัยในความอยากเป็นอยากมี ความใคร่ ความชอบใจในอารมณ์ก็ดี ความไม่ชอบใจไม่พอใจก็ดี ให้ปล่อยให้วางเสีย ทำเสียจนปล่อยทุกข์ได้ทั้ง ๕ แล้ว เป็นเค้าเป็นมูล ปล่อยวางตัณหาความอยาก ความทะเยอทะยานนี้ได้แล้ว ได้ชื่อว่าปล่อยตัณหาเสียก็ได้ ตณฺหาย อเสสวิราคนิโรโธ จาโค ปฏินสฺสคฺโคมุตฺติ อนาลโย มุตฺติ ว่า หลุดพ้นจากตัณหา อเสสวิราคนิโรโธ ไม่ได้มีความอาลัยอาวรณ์ ความยินดี ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ไม่มีเศษ ไม่มีอะไรมาติดอยู่ในใจ ใจผุดผ่อง ใจเบิกบาน ใจผ่องใส ใจนั่นแหละเรียกว่าพุทโธ ตื่นแล้ว ตื่นแล้วจากตัณหา รู้แล้ว พุทโธ พุทธะ ว่ารู้ รู้หน้าตาของตัณหาแล้ว


หนังสือ อนาลโยวาท หลวงปู่ขาว อนาลโย
ประวัติ ปฏิปทา และคำเทศนา หลวงปู่ขาว อนาลโย
วัดถ้ำกลองเพล จังหวัดหนองบัวลำภู
กัณฑ์ที่ ๑๕ ตัณหา สาธุ สาธุ สาธุ

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=6&t=49961

• ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่ขาว อนาลโย”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=22390

• รวมคำสอน “หลวงปู่ขาว อนาลโย”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=43187

• ประมวลภาพ “หลวงปู่ขาว อนาลโย” วัดถ้ำกลองเพล
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=21449
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง