Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ธรรมบรรยาย ตอนที่ 4 รู้จำ รู้จัก รู้แจ้ง อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
kit_allwhat
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 ส.ค. 2006
ตอบ: 25

ตอบตอบเมื่อ: 21 ส.ค. 2006, 12:02 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ธรรมบรรยาย ตอนที่ 4 รู้จำ รู้จัก รู้แจ้ง
โดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)


ข้อความเกริ่นนำ

เรื่องจริง มีว่ามีเรื่องมากมายในโลก ที่ยังไม่มีใครเข้าใจ ส่วนเรื่องราวอีกมากมาย ที่หา ‘คนเข้าใจ’ ได้ ไม่กี่คน แต่กลับมากมีคนเข้าใจ เรื่องที่...ไม่มีอะไรมากมาย...ธรรมสุปฏิปันโน เรื่อง รู้จัก รู้จำ รู้แจ้ง นี้ มีอะไรมากมาย สั้นๆ ง่ายๆ แต่ ‘ตรงความหมาย’ หากใช้ปัญญาพิจารณา ด้วยจิตว่าง เป็นกลาง วางปกติจะพบ ‘ความรู้แจ้ง’ อันมากมาย อยู่ท่ามกลาง ‘ความไม่มีอะไร’ นั้น

เรื่อง : รู้จำ รู้จัก รู้แจ้ง

ขอความผาสุก ความเจริญในธรรม จงมีแก่ญาติสัมมาปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ต่อไปนี้ จะได้ปรารภธรรม ตามหลักคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

๑:๓๒ ทำความเข้าใจ-ทำความรู้จักในการประพฤติปฏิบัติธรรม เราต้องทำความเข้าใจ ในวิธีการให้ถูกต้องเมื่อเข้าใจถูกต้องแล้ว จึงต้องเพียรพยายามปฏิบัติตาม

ลำพังเพียงความเข้าใจอย่างเดียว แต่ไม่เพียรประพฤติปฏิบัติก็ประสบความสำเร็จไม่ได้ และหากเรามีความเพียรมาก แต่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง ก็ประสบความสำเร็จไม่ได้เช่นกัน

ฉะนั้นต้องพยายามทำความเข้าใจ ถึงหลักการ-วิธีการประพฤติปฏิบัติให้ดีเสียก่อน ความรู้ความเข้าใจ จากการฟังนั้น เป็นปัญญาระดับหนึ่ง แต่เป็นเพียงสัญญาความจำ เป็นความเข้าใจจากการฟัง จากการจดจำเท่านั้น

จำเป็นต้องนำไปลงมือปฏิบัติให้เกิดความเข้าใจ ที่เรียกว่า “รู้จัก”เมื่อรู้จักมากขึ้น ก็จะรู้แจ้ง

๒:๓๒ รู้จำ รู้จัก ตอนฟังนี้ เรียกว่า รู้แบบจำ จำได้แล้ว ทำความเข้าใจ ในเรื่องที่ฟัง แล้วก็ไปทำความรู้จริงๆ เช่น ฟังมาว่า “รูป-นาม” มีลักษณะอย่างไร “จิต-เจตสิก” มีอะไรบ้าง เรารู้จำจากการฟัง จากการศึกษา เรียนรู้จากตำรับตำรา เราก็เข้าใจตามที่จำไว้ แต่ว่ายังไม่รู้จัก ถ้าเรายังไม่ลงมือปฏิบัติ ก็เท่ากับยังไม่รู้จัก

๓:๓๒ เรียนให้รู้จำ-ทำตามให้รู้จัก-ปฏิบัติให้รู้แจ้งเช่นเดียวกัน เมื่อเราศึกษาเกี่ยวกับบุคคล หรือ สถานที่ซึ่งไม่เคยไปเรียนรู้ทำความเข้าใจไว้ก่อน หากไปตรงนั้น ก็จะมีอย่างนั้น มีสถานที่ มีรูปร่างมีเหตุการณ์ต่างๆ อย่างไร ก็ศึกษาไป แต่ถ้ายังไม่เดินทางไปจริงๆ ก็ยังไม่รู้จัก

เมื่อครั้น เราเดินทางไป ในที่ซึ่งเราศึกษาเรียนรู้ไว้ก่อน ได้ไปสัมผัสกับสถานที่นั้นๆ บุคคลนั้นๆ จึงเรียกว่า ได้เริ่ม “รู้จัก”

“รู้จัก” มากขึ้น ก็จะ “รู้แจ้ง” คือ รู้ว่าสถานที่พื้นเพในถิ่นนั้น มีความเป็นอยู่อย่างไรมีอะไรบ้าง ข้อนี้ฉันใด การปฏิบัติก็ฉันนั้น เราฟังให้เข้าใจว่า สิ่งที่จะเข้าไปรู้ เข้าไปเห็น เข้าไปดู มีอะไรบ้าง เราจดจำไว้ว่า รูปมีอะไรบ้าง-นามมีอะไรบ้าง

เราศึกษาให้เข้าใจว่า รูปแต่ละรูป มีลักษณะอย่างไร เราจำได้ นามแต่ละชนิด เช่น นามที่เป็นจิต มีลักษณะประจำตัวอย่างไร จากนั้น เราก็ไปทำความรู้จัก กับ สิ่งที่มีอยู่จริงๆ ทำความรู้จักเข้ามาที่ กาย-ใจ ทำความรู้จักเข้ามาที่ ชีวิตอัตภาพ นี้

เริ่มศึกษา ทำความรู้จัก กับ สิ่งเหล่านี้ไปเรื่อยๆ ก็จะรู้มากขึ้น เห็นมากขึ้น ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ เมื่อรู้จักมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะรู้แจ้งขึ้นเอง คือ รู้ตามความเป็นจริง ของสิ่งธรรมชาติเหล่านี้ ว่า มีสภาพอย่างไร แล้วนั่นแหละ ก็จะเป็นหนทางแห่งปัญญา เข้าถึงจุดมุ่งหมาย

๔:๓๒ ทำลายกิเลส ด้วยการเจริญกุศลให้สมบูรณ์เต็มที่เป้าหมายของการศึกษา ประพฤติปฏิบัติธรรม ก็เพื่อจะทำลายกิเลส เข้าถึงซึ่งความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลาย

การทำลายกิเลส ไม่ใช่ไปเข่นฆ่า เหมือนกับไปทำลาย วัตถุสิ่งมีชีวิตต่างๆ กิเลสต่างๆ จะลอยออกมา หรือ ถูกประหารได้ ก็ด้วยการเจริญกุศลธรรมต่างๆ ที่มีอยู่ให้สมบูรณ์เต็มที่

เจริญ สติ สมาธิ ปัญญาให้มากขึ้น จนมีกำลังสมบูรณ์ถึงขั้นโลกุตตระ เกิดกุศลขั้นโลกุตตระขึ้น
หรือ เมื่อกุศลธรรมมีความสมบูรณ์พร้อม อกุศลก็จะถูกทำลายไปการที่กิเลสถูกทำลาย ไม่ใช่เอากุศลไปเข่นฆ่าประหัตประหาร

จากการศึกษา จะพบว่า เมื่อโลกุตตระธรรมเกิดขึ้นก็ไม่มีอารมณ์เป็นกิเลสไม่มีอารมณ์เป็นอกุศลธรรม กลับไปมีอารมณ์เป็นพระนิพพาน เพราะเมื่ออกุศลมีความสมบูรณ์พร้อม อกุศลก็จะถูกทำลายลงไป

๕:๓๒ ตั้งข้อสังเกต “ระลึกรู้-เฝ้าดู” โดยไม่ต้องโต้ตอบ ฉะนั้น หน้าที่ของผู้ปฏิบัติ คือ เมื่อฟังแล้ว ให้ทำความรู้จัก กับสภาพความเป็นจริง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ยิ่งเรามีการศึกษา มีโอกาสเรียนรู้มากขึ้น ในสิ่งที่พระพุทธเจ้า ให้ข้อสังเกตไว้แล้ว ก็จะช่วยให้เรารู้จักสังเกตุมากขึ้น

บางสิ่งบางอย่าง ถ้าไม่การชี้แนะไว้บ้าง บางทีเราก็มองข้ามไปหมดไม่ได้เห็น เหมือนที่พระพุทธเจ้ามาให้ข้อสังเกต มาบอกไว้ ว่ามีอะไรบ้าง การลงมือประพฤติปฏิบัติ ก็คือ การไปทำความรู้จักพิสูจน์ความจริงในขณะ “รูป-นาม” เกิดขึ้นก็ “รู้”

การ “รู้” นี้ ไม่ใช่รู้เพื่อไปทำอะไรกับเขา รู้โดยไม่ได้ไปกดข่มไม่ได้ไปทำลายลักษณะ หรือ ไม่ได้ไปตัดรอนอะไร เพียงให้ “ระลึกรู้” เมื่อสิ่งนั้นๆ เกิด จะเป็นกุศลธรรม หรืออกุศลธรรมเกิดขึ้นก็ตาม ก็ระลึกอยู่ไปเรื่อยๆ ใช้ปัญญาพิจารณา ระลึกรู้ตามสภาพอาการที่ปรากฏตามสภาพอาการ ที่แสดงออกมา เหมือนกับการดูเขาแสดงละคร จะมีภาพอะไรปรากฏออกมา ที่เขาแสดงกัน เราก็ทำหน้าที่เป็นเพียง “ผู้ดู” เท่านั้น

“ดู” ให้รู้จักตัวละคร ว่า นี่คือ ตัวโกง ตัวพระเอก นางเอก และแต่ละตัวละคร มีบทบาท หน้าที่อย่างไร ที่แสดงกันอยู่ เฉพาะบริเวณหน้าเวที เท่านั้นไม่ต้องตามไปดูถึงหลังโรงละคร อีกทั้งไม่ต้องเข้าไปจัดแจง ไม่ต้องเข้าไปกำหนดการแสดงใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะแสดงดี ไม่ดีอย่างไร ก็ให้ทำหน้าที่เป็นผู้ดูเฉยๆ

อุปมาเหมือนการปฏิบัติธรรม ขณะเมื่อเจริญสติสัมปชัญญะ ก็ทำหน้าที่ศึกษาตามความจริง เมื่อต้องการรู้ความเป็นจริง ก็ต้องดูเฉยๆเช่น เมื่อกิเลสเกิดขึ้นก็รู้ไม่ว่าจะเป็นกิเลสชนิดไหนเกิดขึ้น ก็ตามดูรู้ไป เกิดขึ้นก็รู้ หายไปก็รู้ มีกุศลธรรมชนิดอื่นเกิดขึ้นมาแทน ก็รู้ อะไรจะเกิดขึ้น อะไรจะหมดไปก็รู้ จะเป็นกุศล เป็นวิบาก เป็นอกุศลอะไรก็แล้วแต่ เมื่อได้เจริญสติเข้ารู้อย่างนี้ ก็จะพบว่า ความเป็นจริงเป็นอย่างไร

๖:๓๒ หากมีปัญญา รู้ทันตามความเป็นจริง ก็เท่ากับได้เจริญกุศลธรรมอาจมีข้อสงสัย การรู้อย่างนี้ คือ รู้ทันตามความเป็นจริงนั้น จะละกิเลสได้อย่างไร ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า หากมีปัญญารู้แจ้งทันตามความเป็นจริง ก็เท่ากับเราได้เจริญกุศลธรรม มีกำลังเต็มที่ขึ้นเรื่อยๆ อกุศลธรรมจะถูกทำลายไปในตัวของมันเองนี่เป็นหลักของการเจริญวิปัสสนา

๗:๓๒ วิปัสสนา คือ การเจริญสติ ระลึกรู้อารมณ์ปรมัตถ์ที่เป็นปัจจุบันการเจริญวิปัสสนานั้น มีหน้าที่เจริญสติ เข้ารู้ “รูป-นาม” ที่กำลังปรากฏไม่มีหน้าที่ไปจัดแจง ให้เขาเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้

การเจริญวิปัสสนานั้น ก็ต้องมีอารมณ์เป็นปรมัตถธรรมที่เป็นปัจจุบันสติจะต้องระลึกรู้ ปรมัตถ์ที่เป็นปัจจุบัน เป็นหลักที่ปฏิบัติตาม ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า วิปัสสนานั้น ต้องมีอารมณ์เป็นปรมัตถ์ คือ รูปนามที่เป็นปัจจุบัน

รูปนาม ที่เป็นปัจจุบัน คือ รูปนามที่กำลังปรากฏ รูปแต่ละรูป และนาม แต่ละนามนี้ มันมีความเป็นปัจจุบันชั่วนิดเดียว แวบเดียวเท่านั้นเองเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป มันนิดเดียว

เราจะพบการเรียนรู้-ศึกษา ว่า ไม่ว่าจะเป็น “รูป” หรือ “นาม”หรือ“จิต” ก็ตาม ล้วนมี “อุปาทะ” คือ เกิดขึ้นมี “ฐิติ” ตั้งอยู่ และ “ภังคะ” คือ ดับไป อย่างรวดเร็วมาก เมื่อดับไปแล้ว ก็มีรูปใหม่-นามใหม่ เกิดสืบมา แล้วดับไปความถี่ของมันเรียกว่า “สันตติ” การเกิดขึ้นสืบต่อก็มาก จนเราเกิดความสำคัญมั่นหมายว่าเป็นอันเดียว เมื่อเห็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ก็ยึดไว้ว่า สิ่งเหล่านี้เป็นของเที่ยงเป็นตัวตนขึ้นมา

ที่เป็นของเที่ยง เป็นตัวตนขึ้นมา ก็เนื่องจากว่า ไม่ได้ไปประจักษ์ความจริงซึ่งในความเป็นจริงนั้น ไม่ใช่ของเที่ยง เกิดมาแล้วดับไป มีเกิดขึ้น มีตั้งอยู่แล้วก็ดับไปในที่สุด ไม่คงทนถาวร เกิดดับ ชั่วเสี้ยวของวินาที อยู่ทุกขณะ

๘:๓๒ เจริญสติสัมปชัญญะ สังเกตรู้ด้วยใจ ถึง “ขณะความขาดช่วงของรูป-นาม”หากเราฝึกเจริญสัมปชัญญะขึ้นเรื่อยๆ จนมีความชำนาญ ก็จะสามารถไปจับถึงความขาดช่วง ขาดตอนของมันได้ สังเกตรู้ด้วยใจว่า รูปแต่ละรูป และ นามแต่ละนามนั้น ไม่ได้ติดกันเป็นพืด ไม่ได้ตั้งอยู่ตลอดไป มันมีความหมดไปเกิดแล้วก็หมดไป ดับไป มันดับของมัน

เมื่อเห็นความเกิดดับของนามแต่ละชนิด ดูรูปอันไหน ดูนามอันไหนทั่วทั้งกายทั้งจิตใจ ล้วนมีแต่ธรรมชาติที่เกิดขึ้น แล้วหมดไป เมื่อมีปัญญาที่รู้จัก รู้แจ้งเกิดขึ้นก็จะรู้ว่าไม่เที่ยง บังคับไม่ได้ เป็นทุกข์

ทุกข์ หมายถึง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ มันก็จะเกิดมา โดยอัตโนมัติของมันปัญญาชนิดนี้ เรียกว่า “ภาวนามยปัญญา” คือ ปัญญาที่รู้ว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงสักแต่ว่าธรรมชาติ ไม่คงที่ เกิดดับ ไม่ใช่เรา ไม่มีตัวตน บุคคล ไม่มีเรา ไม่มีเขา

๙:๓๒ “ภาวนามยปัญญา” ลบความยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวเป็นตนอย่างไรทำไมภาวนามยปัญญา จึงลบความรู้สึกว่า เป็นเรา เป็นเขาได้ที่ลบความรู้สึกเช่นนี้ได้ ก็เพราะ เห็นสภาพที่บังคับไม่ได้ คือ มันเกิดขึ้นแล้วก็ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ทุกรูป ทุกนาม เกิดแล้วต้องหมดไป จะให้อยู่อย่างเดิมนั้นไม่ได้ จะให้เป็นอย่างโน้น อย่างนี้ จะให้เป็นอะไร ไม่ได้ทั้งนั้นมันเห็นสภาพของความบังคับไม่ได้ จึงประจักษ์ว่า ไม่มีตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขามีเพียงสภาพที่เป็นอยู่ คือ ธรรมชาตินั้น มีอยู่จริง สิ่งธรรมชาตินั้นมีอยู่ แต่มีลักษณะที่บังคับไม่ได้ จะยึดว่าเป็นเราก็ไม่ได้ นี่คือ ขั้นตอนของวิธีทางในการปฏิบัติ ซึ่งควรจะเป็นไป

๑๐:๓๒ เจริญสติให้ตรงต่อรูปนาม และได้ปัจจุบันขณะเมื่อรู้เห็นอย่างนี้อยู่ เห็นรู้นามเกิดดับ มีความชำนาญขึ้น ก็จะแก่กล้าขึ้นไปเรื่อยๆ จนจะมีความสมบูรณ์ ถึงขั้นสูงสุดของมัน แล้วจึงจะสามารถทำลาย คือละกิเลสให้ขาดลงไป ตามกำลังของปัญญาในขั้นนั้นๆ ฉะนั้น จะเห็นว่า หน้าที่ของผู้ปฏิบัตินั้น ก็คือ พยายามเจริญสติให้ตรงต่อรูปนามให้ได้เป็นปัจจุบันขณะ

๑๑:๓๒ ทำอย่างไรให้มีสติสัมปชัญญะ อยู่กับ รูปนามที่เป็นปัจจุบันหากเจริญสติไม่อยู่กับปัจจุบัน จะเห็นความเกิดดับไม่ได้ ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า ความเป็นจริงนั้นเกิดดับชั่ว แวบๆ เดียว ถ้าหากสติไม่ดำรงอยู่กับปัจจุบัน ก็จะไม่เห็นรูปนามที่เกิดต่อๆ มา เช่นว่า เมื่อสติระลึกรู้รูปอันที่หนึ่ง แล้วรูปอันที่หนึ่งก็ดับไป แต่จิตก็ยังตามคิดถึงแต่รูป หรือ นามที่ดับไปแล้วนั้น โดยใส่ความหมาย หรือ ใส่สมมุติบัญญัติ ใส่ชื่อลงไปทั้งๆ ที่รูป หรือ นามนั้น ได้หมดสภาพไปแล้ว จึงไม่ได้ระลึกรู้ปัจจุบัน คือ รูปใหม่ นามใหม่ ที่เกิดต่อเนื่อง จิตก็จะตกไปสู่บัญญัติ ไปสู่อดีตอนาคต กลับไปสู่บัญญัติ ไปสู่ความหมาย ไปสู่รูปร่างสัณฐาน ไปสู่ชื่อภาษา

เช่นว่า ระลึกรู้รูปอะไรสักรูปหนึ่ง หรือ นามอะไรสักนามหนึ่ง แล้วก็ไปวิจารณ์กับสิ่งเหล่านั้นอยู่ ไปวิตกวิจารณ์กับสิ่งเหล่านั้น ไปคิดสงสัยว่า นี่มันอะไร มันเป็นอย่างไร มันต้องเป็นนั้นเป็นนี่ ซึ่งก็คือ การที่จิตตกไปสู่บัญญัติจึงไม่ได้ระลึกรู้ ถึงรูปใหม่ นามใหม่ ซึ่งเกิดต่อๆกันมา เมื่อไม่รู้ ก็ไม่เห็นความเกิดดับไม่เห็นว่ามีรูปนามเกิดต่อๆ กัน เกิดแล้วหมดไป ซึ่งจะเห็นความจริงนี้ไม่ได้ หากสติ ไม่ดำรงอยู่กับปัจจุบัน


สาธุ
 

_________________
ดีชั่วรู้หมด......แต่ใจคนเรามันอดไม่ได้
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง