Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ศีล...เป็นเกราะป้องกันภัยอย่างอัศจรรย์ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
aaa
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 ส.ค. 2006, 5:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ศีลเป็นเกราะป้องกันภัยอย่างอัศจรรย์

.......จะเป็นการดีสักเพียงใด หากจะมีหลักประกันที่ให้ความมั่นใจกับเราได้ว่า เราจะเป็นผู้มีอายุยืนยาวอยู่จนถึงวัยชราโดยไม่มีโรคภัยใดๆ มาบั่นทอนทำลายชีวิตเราไปก่อนวัยอันควร เพราะในความเป็นจริง เราต่างก็มีชีวิตอยู่อย่างหวาดหวั่น โดยไม่มีวันรู้เลยว่า โรคภัยและความตายจะมาเยือนในยามใด

แต่มีครอบครัวหนึ่งกลับมั่นใจว่า สมาชิกทุกคนจะมีอายุยืนยาว และมีชีวิตที่สุขสบาย นั่นก็เพราะทุกคนในครอบครัวนี้ ต่างก็รู้ดีว่าจะสามารถสร้างหลักประกันความปลอดภัยให้กับชีวิตได้อย่างไร


มหาธัมมปาลชาดก

........ในอดีตกาล เมื่อครั้งที่พระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี ยังมีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อว่า ธรรมปาละเป็นผู้ปกครองบ้านธรรมปาลคาม พราหมณ์ผู้นี้เป็นผู้รักษาศีล ๕ และประพฤติกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นอย่างดี ท่านมีบุตรคนหนึ่ง ซึ่งตั้งชื่อว่า ธรรมปาลกุมาร เช่นกัน

เมื่อธรรมปาลกุมารเติบโตขึ้น ได้ไปศึกษาเล่าเรียนในสำนักของอาจารย์ผู้มีชื่อเสียง แห่งเมืองตักกสิลา และได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าของชายหนุ่มจำนวน ๕๐๐ คน ซึ่งเป็นศิษย์ในสำนักนั้น

ต่อมาบุตรคนโตของอาจารย์ได้เสียชีวิตลง ท่ามกลางความโศกเศร้าเสียใจของทุกคน เหล่าศิษย์ทั้งหลายต่างพากันร้องไห้ คงมีแต่ธรรมปาลกุมารเพียงผู้เดียวเท่านั้นที่มิได้ร้องไห้ เนื่องจากเขารู้สึกประหลาดใจในการตายของผู้เป็นบุตรของอาจารย์ยิ่งนัก จึงถามชายหนุ่มทั้งหลายนั้นว่า

" เพื่อนเอ๋ย พวกท่านกล่าวว่าเสียดายที่ลูกของอาจารย์มาตายเสียตั้งแต่ยังหนุ่ม เขาตายได้อย่างไร ในเมื่อคนหนุ่มสาวยังไม่ควรตายมิใช่หรือ "

ชายหนุ่มทั้งหลาย " ธรรมปาละ ท่านไม่รู้จักความตายหรอกหรือ "

ธรรมปาลกุมาร " เรารู้ว่าคนจะตายเมื่อแก่ชรา แต่คนหนุ่มสาวนั้นยังไม่ควรตาย "

ชายหนุ่มทั้งหลาย " ก็สังขารนั้นไม่เที่ยงนะ ธรรมปาละ "

ธรรมปาลกุมาร " ใช่ สังขารนั้นไม่เที่ยง แต่ก็ไม่ควรจะตายตั้งแต่ในวัยหนุ่มสาว ควรจะตายเมื่อแก่ชราแล้ว ถึงจะถูก "

ชายหนุ่มทั้งหลาย " ธรรมปาละ ที่บ้านของท่านไม่เคยมีใครตายในวัยหนุ่มสาวบ้างเลยหรือ "

ธรรมปาลกุมาร " ไม่เคยมี มีแต่ตายเมื่อแก่ชราแล้วทั้งนั้น "

ชายหนุ่มทั้งหลาย " ตระกูลของท่านเป็นเช่นนี้ตลอดมาเลยหรือ "

ธรรมปาลกุมาร " ถูกแล้ว ตระกูลของเราเป็นเช่นนี้ตลอดมา "

ชายหนุ่มทั้งหลายได้ฟังถ้อยคำของธรรมปาลกุมารแล้ว พากันไปเล่าให้อาจารย์ฟัง อาจารย์จึงเรียกธรรมปาลกุมารมาพบ แล้วถามว่า " ธรรมปาละ จริงหรือที่ตระกูลของเธอไม่เคยมีใครตายในวัยหนุ่มสาวเลย "

ธรรมปาลกุมารตอบว่า " จริงขอรับ "

อาจารย์ได้ฟังดังนั้นจึงคิดว่า " ช่างเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อ เราจะไปถามบิดาของกุมารนี้ดู ถ้าพบว่าเป็นความจริง เราจะได้ประพฤติธรรมตามแบบพวกเขา " เมื่อจัดการพิธีศพบุตรของตนเสร็จสิ้นแล้ว อาจารย์จึงเรียกธรรมปาลกุมารมาพบและสั่งว่า

" ธรรมปาละ เรามีกิจธุระบางอย่างที่ต่างเมือง เธอจงคอยแนะนำให้ความรู้แก่ศิษย์ในสำนักนี้
จนกว่าเราจะกลับมา "

จากนั้น ผู้เป็นอาจารย์ได้จัดการเอากระดูกแพะตัวหนึ่งมาทำความสะอาด แล้วเอาใส่กระสอบไว้ ให้คนรับใช้เป็นผู้ถือแล้วพากันเดินทางออกจากเมืองตักกสิลา จนมาถึงบ้านของพราหมณ์ธรรมปาละ

พวกทาสของพราหมณ์เห็นอาจารย์ของธรรมปาลกุมารมายืนอยู่ที่ประตู ก็พากันมารับร่ม รับรองเท้าจากมือของอาจารย์ และรับกระสอบจากมือของคนรับใช้ อาจารย์ได้กล่าวว่า " พวกท่านจงไปบอกบิดาของธรรมปาลกุมารว่า อาจารย์ของธรรมปาลกุมารมาขอพบ "

พราหมณ์ผู้เป็นบิดาของธรรมปาลกุมารจึงรีบมาเชื้อเชิญต้อนรับ นำอาจารย์ขึ้นเรือนคอยปรนนิบัติ
จัดอาหารให้รับประทาน และนั่งสนทนาอยู่ด้วย

ครู่หนึ่ง อาจารย์ได้แสร้งกล่าวกับพราหมณ์ว่า " ท่านพราหมณ์ ธรรมปาลกุมารบุตรของท่านนั้น เป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดสามารถเรียนจบไตรเพทและศิลปะ ๑๘ ประการ แต่น่าเสียดายที่โรคร้ายได้ทำให้ธรรมปาลกุมารนั้นตายเสียแล้ว ท่านพราหมณ์ สังขารทั้งปวงนั้นไม่เที่ยง ท่านอย่าได้เศร้าโศกไปเลยนะ "

พราหมณ์ได้ฟังดังนั้น กลับตบมือ และหัวเราะดังลั่น อาจารย์จึงถามด้วยความประหลาดใจว่า " ท่านพราหมณ์ ท่านหัวเราะทำไม "

พราหมณ์ตอบว่า " บุตรของเรายังไม่ตายหรอก ที่ตายนั้นเป็นคนอื่น "

อาจารย์กล่าวว่า " ท่านพราหมณ์ ท่านจงเชื่อเถิด นี่คือกระดูกบุตรของท่าน " พร้อมกับนำกระดูกออกมาให้พราหมณ์ดู แต่พราหมณ์กลับพูดอย่างมั่นใจว่า

" นี่ไม่ใช่กระดูกบุตรของเรา บุตรของเรายังไม่ตายหรอก เพราะตระกูลของเรา ๗ ชั่วโคตร มาแล้ว ไม่เคยมีใครตายในวัยหนุ่มสาวเลย ท่านนั้นพูดปด "

ขณะนั้น คนทั้งหลายต่างตบมือ หัวเราะกันยกใหญ่ อาจารย์เห็นความอัศจรรย์นั้น รู้สึกยินดียิ่งนัก จึงถามว่า

" ท่านพราหมณ์ การที่ตระกูลของท่านไม่เคยมีใครตายในวัยหนุ่มสาวเลยนั้น ต้องมีสาเหตุ
อย่างแน่นอน ท่านยึดถือปฎิบัติธรรมข้อใดหรือ ที่ส่งผลให้คนในตระกูลมีอายุยืนยาว ขอท่าน
โปรดบอกข้าพเจ้าเถิด "

พราหมณ์ได้ฟังดังนั้น ก็บรรยายถึงอานุภาพแห่งคุณความดี ที่เป็นเหตุให้คนในตระกูลมีอายุ
ยืนยาว โดยกล่าวว่า

" เพราะพวกเราประพฤติธรรม ละเว้นความชั่ว
พวกเราไม่คบคนพาล คบแต่บัณฑิต
พวกเรามีจิตยินดีในการให้ทานและการรักษาศีล
พวกเราไม่นอกใจภรรยา และภรรยาก็ไม่นอกใจเรา
พวกเราไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ดื่มน้ำเมา ไม่กล่าวคำเท็จ
บุตรที่เกิดในภรรยาผู้มีศีลดี ย่อมมีปัญญา ฉลาด รอบรู้
พวกเราทุกคน ทั้งบิดา มารดา บุตร ภรรยา พี่น้องชาย
หญิง ทาส ทาสี คนอาศัย คนรับใช้ ทั้งหมดล้วน
ประพฤติธรรม มุ่งประโยชน์ในโลกหน้า
ด้วยเหตุนี้คนหนุ่มสาวของพวกเรา จึงไม่ตาย

กระดูกที่ท่านนำมานี้ เป็นกระดูกของผู้อื่น มิใช่กระดูกบุตรของเราแน่ เพราะธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมย่อมนำความสุขมาให้ ธรรมปาลกุมารบุตรของเรา ได้รักษาธรรมเป็นอย่างดี บุตรของเราจึงยังมีความสุขอยู่แน่นอน "

.......อาจารย์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า " การมาของข้าพเจ้าในครั้งนี้ นับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่ง ขอให้ท่านยกโทษให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด บุตรของท่านนั้นมีความสุขสบายดี กระดูกนี้เป็นกระดูกแพะ
ที่ข้าพเจ้านำมา เพื่อจะทดสอบว่าถ้อยคำบุตรของท่านนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ และบัดนี้ข้าพเจ้าได้
พบความจริงแล้ว จึงใคร่ขอให้ท่านได้โปรดมอบข้อธรรมที่ท่านประพฤติปฏิบัติเป็นอย่างดีนี้ให้แก่
ข้าพเจ้า เพื่อจะนำไปปฎิบัติ

เมื่อพราหมณ์อนุญาตแล้ว อาจารย์ของธรรมปาลกุมารได้จารึกข้อธรรมเหล่านั้นลงในสมุด แล้ว
กลับสู่เมืองตักกสิลา

ฝ่ายธรรมปาลกุมารนั้น เมื่อสำเร็จการศึกษา ก็กลับมาหาบิดามารดา พร้อมด้วยบริวารติดตามมา
มากมาย


ศีล ย่อมรักษา ผู้รักษาศีล

ธรรมปาลกุมาร ผู้มีการรักษาศีลอย่างสม่ำเสมอ เขาย่อมไม่เบียดเบียนใคร และปราศจากเวรภัยใดๆ มาเบียดเบียนนี่คือชีวิตที่เป็นสุข ภายใต้ความคุ้มครองแห่งศีล อันเป็นการปกป้องรักษาอย่างแน่นหนา และแข็งแกร่งเกินกว่าที่ทุกข์ภัยอันตราย หรือโรคร้ายใดๆ จะมารุกราน ทุกคนจึงมั่นใจได้ว่า ธรรมปาลกุมารจะมีอายุยืนนาน และมีความสุขสบายดี

สมาชิกแห่งบ้านธรรมปาลคาม ดำเนินชีวิตอย่างมั่นใจเช่นนี้ เพราะค้นพบแล้วว่า การรักษาศีลเป็นการสร้างหลักประกันความปลอดภัยให้กับชีวิตได้อย่างแท้จริง


..............................................................

จากหนังสือ
ศีล....เป็นที่ตั้งแห่งความดีงาม
พระมหาสุวิทย์ วิชฺเชสโก ป.ธ. ๙
ที่มา :: คุณ foox จากพันทิพดอดคอม
 
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403

ตอบตอบเมื่อ: 12 ส.ค. 2006, 8:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาธรรมครับ........สาธุ สาธุ สาธุ สาธุ ยิ้ม
 

_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง