Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พระโสณาเถรี (ภิกษุณี-เอตทัคคะ) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
ผู้ตั้ง ข้อความ
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 11 ส.ค. 2006, 4:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

พระโสณาเถรี
เอตทัคคะในทางผู้ปรารภความเพียร


พระโสณาเถรีผู้ได้รับการแต่งตั้งจากพระบรมศาสดาให้เป็นยอดของภิกษุณีทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร ก็โดยเหตุ ๒ ประการ คือโดยเป็นผู้ยิ่งด้วยคุณ เพราะท่านแสดงให้ผู้อื่นเห็นเป็นอย่างชัดเจนในคุณข้อนี้ของท่าน และไม่เพียงเนื่องจากเหตุข้อนี้เท่านั้น แต่ยังเป็นการแต่งตั้งโดยเหตุที่ท่านได้ตั้งความปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปนี้


๐ ตั้งความปรารถนาไว้ในอดีต

ได้ยินว่า พระโสณาเถรีนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ถือปฏิสนธิในครอบครัว กรุงหังสวดี ต่อมา กำลังฟังธรรมของพระศาสดา เห็นพระศาสดากำลังทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้ปรารภความเพียร จึงทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้นบ้าง ครั้นสิ้นชีวิตลง ก็เวียนว่ายอยู่ใน ภพภูมิเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป


๐ ในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

ในพุทธุปบาทกาลนี้ถือปฏิสนธิในสกุลเศรษฐีที่มั่งคั่งเจริญ มีทรัพย์มากในพระนครสาวัตถี เมื่อเติบใหญ่ขึ้นก็ได้แต่งงานมีครอบครัว มีบุตรเป็นชายล้วน (ในอรรถกถาบางแห่งกล่าวว่า มีทั้งบุตรและธิดา) รวม ๑๐ คนประวัติของนางต่อจากนี้ไป ที่ปรากฏในพระบาลี และ อรรถกถาต่าง ๆ มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง โดยในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓.๑ โสณาเถริยาปทานกล่าวไว้ว่าบุตรชายทั้ง ๑๐ คนล้วนแต่มีรูปงาม เป็นผู้ร่าเริง ตั้งอยู่ในความสุข ผูกใจของผู้ที่ได้พบเห็นให้นิยมชมชื่น แม้แต่พวกศัตรูก็ชอบใจ เป็นที่รักของนางผู้เป็นมารดายิ่งนัก

ต่อมา สามีของนางพร้อมด้วยบุตร ทั้ง ๑๐ คน ก็พากันไปบวชในพระพุทธศาสนาโดยที่นางไม่เต็มใจ เมื่อนางต้องอยู่ผู้เดียวก็เห็นว่า การอยู่แต่ผู้เดียวโดยไม่มีสามีและบุตรคอยดูแลเป็นการไม่เหมาะสมจึงได้ออกบวชเป็นภิกษุณีในอารามที่สามีบวชเป็นภิกษุอยู่

ส่วนในอรรถกถาโสณีเถรีคาถาเล่าประวัติของนางว่า

เมื่อนางแต่งงานมีสามี ก็มีบุตรธิดา ๑๐ คน ก็ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้มีบุตรมาก ต่อมาสามีก็ออกบวช นางจึงจัดแจงแบ่งทรัพย์สมบัติที่มีอยู่ให้กับบุตรธิดาซึ่งเติบโตเป็นหนุ่มสาวและแต่งงานแล้วทุกคน จนหมดไม่เหลือทรัพย์อะไรๆ ไว้สำหรับตัวเลย

บุตรและภริยาของบุตรเลี้ยงดูนางได้ระยะหนึ่งแสดงอาการดูหมิ่น รังเกียจนางผู้เป็นมารดา นางจึงคิดว่า ไม่มีประโยชน์อะไรที่เราจะอาศัยอยู่กับบุตร จึงได้ออกบวชเป็นภิกษุณี


๐ บำเพ็ญเพียรจนบรรลุพระอรหัต

ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓.๑ โสณาเถริยาปทาน ตัวท่านเองได้กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งท่านได้บำเพ็ญเพียรจนบรรลุพระอรหันต์ไว้สั้นๆ ว่า

ครั้งนั้น พวกภิกษุณีละดิฉันไว้ในสำนักที่อยู่อาศัยแต่ผู้เดียว สั่งดิฉันว่าท่านจงต้มน้ำไว้แล้วก็ไปกัน เวลานั้น ดิฉันตักน้ำมาใส่ในหม้อเล็กตั้งทิ้งไว้แล้วนั่งอยู่ แต่นั้นดิฉันก็เริ่มเพียรทางจิต ได้พิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ยังอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไปแล้ว ได้บรรลุอรหัตผล

ส่วนในอรรถกถาโสณาเถรีคาถาได้บรรยายแปลกออกไปว่า

นางได้อุปสมบทแล้วคิดว่า เราบวชเมื่อแก่ พึงไม่ประมาท เมื่อทำวัตรปฏิบัติแก่ภิกษุณีทั้งหลาย คิดว่า เราจักทำสมณธรรมตลอดคืนยังรุ่ง ก็เอามือข้างหนึ่งจับเสาต้นหนึ่งใต้ปราสาท ไม่ละเสานั้นทำสมณธรรม แม้เมื่อเดิน คิดว่า ศีรษะของเราไม่พึงชนที่ต้นไม้เป็นต้นแห่งใดแห่งหนึ่งในที่มืดแล้วเอามือข้างหนึ่งจับต้นไม้ ไม่ละต้นไม้นั้น ทำสมณธรรม

นับตั้งแต่นั้นมานางก็ได้ปรากฏชื่อเสียง เพราะเป็นผู้ปรารภความเพียร

พระศาสดาทรงเห็นว่านางมีญาณแก่กล้า ประทับในพระคันธกุฎีแผ่พระรัศมีไป แสดงพระองค์ประหนึ่งว่าประทับนั่งต่อหน้า ได้ตรัสพระคาถาว่า

ผู้เห็นธรรมสูงสุด มีชีวิตเป็นอยู่วันเดียว
ยังประเสริฐกว่าผู้ไม่เห็นธรรมสูงสุด มีชีวิตเป็นอยู่ตั้งร้อยปี


จบพระคาถา นางก็บรรลุพระอรหัต


อรรถกถาอังคุตตรนิกาย เอกนิบาต (อรรถกถาเล่มที่ ๓๓)

เมื่อนางออกบวชแล้ว ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายลงทัณฑกรรมนางว่า ภิกษุณีรูปนี้ไม่รู้ข้อวัตร ทำกิจที่ไม่สมควร เหล่าบุตรธิดาพบนางต้องทัณฑกรรมก็พากันพูดเยาะเย้ยในที่พบเห็นว่า หญิงผู้นี้ไม่รู้แม้เพียงสิกขาจนทุกวันนี้

นางได้ยินคำพูดของบุตรธิดาเหล่านั้น ก็เกิดความสลดใจ คิดว่า เราควรทำการชำระคติของตน จึงท่องบ่นอาการ ๓๒ ทั้งในที่ๆ นั่ง ทั้งในที่ๆ ยืน แต่ก่อนปรากฏชื่อว่า พระโสณาเถรี ผู้มีบุตรมาก ฉันใด ภายหลังก็ปรากฏชื่อว่า พระโสณาเถรี ผู้ปรารภความเพียรมาก ฉันนั้น

ภายหลังวันหนึ่ง เหล่าภิกษุณีไปวิหารบอกว่า แม่โสณา ต้มน้ำถวายภิกษุณีสงฆ์นะ แม่นางก็เดินจงกรมที่โรงไฟก่อนน้ำเดือด ท่องบ่นอาการ ๓๒ เจริญวิปัสสนา พระศาสดาประทับนั่งในพระคันธกุฎี ตรัสพระคาถาพร้อมกับเปล่งโอภาส ดังนี้ว่า

ผู้เห็นธรรมสูงสุดมีชีวิตเป็นอยู่วันเดียว ประเสริฐกว่า
ผู้ไม่เห็นธรรมสูงสุด มีชีวิต เป็นอยู่ถึง ๑๐๐ ปี


จบพระคาถา นางก็บรรลุพระอรหัต



(มีต่อ)
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 03 ต.ค.2006, 10:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๐ พระเถรีแสดงฤทธิ์เพื่อให้
นางภิกษุณีอื่นทราบว่าบรรลุพระอรหัตแล้ว


ครั้นเมื่อพระเถรีบรรลุพระอรหัตแล้วก็คิดว่า เมื่อเราบรรลุพระอรหัตแล้ว ถ้าผู้ที่ไม่ทราบมา ไม่ใคร่ครวญก่อน มาพูดอะไรๆ ดูหมิ่นเรา ก็จะพึงประสบบาปเป็นอันมาก เพราะเหตุนั้น เราควรทำเหตุที่เขาจะสามารถรู้กัน ได้ นางจึงยกกาน้ำขึ้นตั้งบนเตาไฟโดยไม่ใส่ไฟไว้ภายใต้

เหล่าภิกษุณีเมื่อกลับมาเห็นน้ำตั้งอยู่บนเตาแต่ไม่เห็นไฟ ก็กล่าวว่า พวกเราบอกให้หญิงแก่คนนี้ต้มน้ำ ถวายภิกษุณีสงฆ์ในวันนี้ แต่นางก็ยังไม่ใส่ไฟในเตา พระเถรีจึงกล่าวว่า แม่เจ้า พวกท่านต้องการอาบน้ำร้อน ที่ร้อนด้วยไฟหรือ โปรดเอาน้ำจากภาชนะนั้นไปอาบเถิด

ภิกษุณีเหล่านั้นจึงเอามือไปจุ่มลงในน้ำก็รู้ว่าร้อน จึงนำหม้อน้ำหม้อหนึ่งมาบรรจุน้ำ ที่บรรจุแล้ว ๆ ก็เต็มน้ำ ภิกษุณีทั้งหมดนั้นก็รู้ว่า นางตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว ภิกษุณีที่อ่อนกว่าก็หมอบกราบลงด้วยเบญจางคประดิษฐ์ขอขมาพระเถรีว่า แม่เจ้า พวกเราไม่พิจารณาก่อน แล้วกล่าวเสียดสีแม่เจ้า ขอแม่เจ้าโปรดอดโทษแก่พวกเราด้วยเถิด

ฝ่ายเหล่าพระเถรีที่แก่กว่า ก็นั่งกระหย่ง ขอขมาว่า โปรดอดโทษด้วยเถิดแม่เจ้า

จำเดิมแต่นั้น คุณของพระเถรี ก็ปรากฏไปว่า พระเถรีแม้บวชเวลาแก่เฒ่าก็ดำรงอยู่ในผลอันเลิศในเวลา ไม่นาน เพราะเป็นผู้ปรารภความเพียร


๐ ทรงแต่งตั้งเป็นเอตทัคคะผู้ปรารภความเพียร

ภายหลัง พระศาสดาประทับนั่ง ณ พระเชตวันวิหาร เมื่อทรงสถาปนาพวก ภิกษุณีไว้ในตำแหน่งต่างๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาพระโสณาเถรีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะผู้เลิศกว่า ภิกษุณีทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร



.............................................................

คัดลอกมาจาก ::
http://www.dharma-gateway.com/
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่หัวข้อนี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไข หรือตอบได้
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง