Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ความเป็นมาของพระไตรปิฎก (เสฐียรพงษ์ วรรณปก) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2006, 12:33 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

2. เนื้อหาสาระ

(1) สคาถวรรค

2.1 เทวตาสังยุตต์ ประมวลเรื่องเทวดา เทวดาที่ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ส่วนมากจะไปด้วยเหตุ 2 ประการ คือไปทูลถามปัญหาข้อข้องใจเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ อีกอย่างหนึ่งตนคิดคำสุภาษิตหรือคติธรรมอะไรได้ ก็ไปกล่าวต่อพระพักตร์ทำนองขอความเห็นจากพระพุทธเจ้า ถ้าพระองค์เห็นว่าเหมาะสมแล้ว ก็จะตรัสรับรอง ถ้าทรงเห็นว่ายังไม่สมบูรณ์ก็จะตรัสที่ถูกต้องให้ฟัง เทวตาสังยุตต์นี้แบ่งเป็นสูตรสั้นๆ รวม 30 สูตร เป็นคาถาหรือบทกวีทั้งคำถามคำตอบ มีร้อยแก้วปนบ้าง ส่วนมากไพเราะทั้งคำและความ จะขอยกมาเป็นตัวอย่างบางสูตร

(1) เทวดา-

กาลเวลาล่วงไป ราตรีผ่านไป อจฺเจนฺติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย
วัยก็ผ่านไปตามลำดับ วโยคุณา อนฺปุพฺพํ ชหนฺติ
เมื่อกลัวตาย เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขมาโน
พึงทำบุญที่จะนำสุขมาให้ ปุญฺญานิ กยิราถ สุขาวหานิ

พระพุทธเจ้า-

(เหมือนข้างต้น)

พึงละโลกามิส มุ่งสันติ (นิพพาน) โลกามิสํ ปชเห ปชเห สนฺติเปกฺโข

(2) เทวดา-

ตัดเท่าไร ละเท่าไร กติ ฉินฺเท กติ ชเห
เจริญเท่าไร กติ จุตฺตริ ภาวเย
ข้ามเท่าไร กติ สงฺคาติโค ภิกฺขุ
จึงเรียก "ข้ามน้ำ" โอฆติณฺโณติ วุจฺจติ

พระพุทธเจ้า-

ตัดออกห้า ละห้า ปญฺจ ฉินฺเท ปญฺจ ชเห
เจริญอีกห้า ปญฺจ จุตฺตริ ภาวเย
ข้ามห้า ปญฺจ สงฺคาติโค ภิกฺขุ
เรียกว่า "ข้ามน้ำ" โอฆติณฺโณติ วุจฺจติ

(3) เทวดา-

อยู่ลำเนาไพร อรญฺเญ วิหรนฺตานํ
สงบ ประพฤติพรหมจรรย์ สนฺตานํ พฺรหฺมจารินํ
ฉันมื้อเดียว เอกภตฺตํ ภุญชมานานํ
ทำไมผิวพรรณผ่องใสนัก เกน วณฺโณ ปสีทติ

พระพุทธเจ้า-

ไม่หวนถึงอดีต อตีตํ นานุโสจนฺติ
ไม่คิดพะวงอนาคต นปฺปชปนฺตินาคตํ
มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ปจฺจุปปนฺเนน ยาเปนฺติ
ผิวพรรณจึงผ่องใส เตน วณฺโณ ปสีทติ

(4) เทวดา-

คนมีบุตรเพลิดเพลินเพราะบุตร นนฺทติ ปุตฺเตหิ ปุตฺติมา
มีโคเพลินเพราะโค โคมิโก โคหิ ตเถว นนฺทติ
มีสมบัติเพลิดเพลินเพราะสมบัติ อุปธีหิ นรสฺส นนฺทนา
ไร้สมบัติ หามีความเพลิดเพลินไม่ น หิ โส นนฺทติ โย นิรูปธี

พระพุทธเจ้า-

คนมีบุตร เศร้าโศกเพราะบุตร โสจติ ปุตฺเตหิ ปุตฺติมา
มีโค เศร้าโศกเพราะโค โคมิโก โคหิ โสจติ
มีสมบัติ เศร้าโศกเพราะสมบัติ อุปธีหิ นรสฺส นนฺทนา
ไร้สมบัตินั่นแหละไม่เศร้าโศก น หิ โส โสจติ โย นิรูปธี

(5) เทวดาถามว่า "กระท่อมท่านไม่มีหรือ รังท่านไม่มีหรือ ผู้สืบต่อท่านไม่มีหรือ พันธะท่านไม่มีหรือ" พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ไม่มี ในความหมายของฉัน มารดาคือกระท่อม ภริยาคือรัง บุตรคือผู้สืบทอด ตัณหาคือพันธะ สิ่งเหล่านี้เราละได้หมดแล้ว" เทวดาชมเชยว่า "ดีจริง ท่านไม่มีกระท่อม ไม่มีรัง ไม่มีผู้สืบทอด ไม่มีพันธะ"

(6) พระพุทธเจ้า-

จงเอาเยี่ยงเต่า หดหัวในกระดอง กุมฺโมว องฺคานิ สเก กปาเล
ภิกษุระงับความตรึกตรองกุศล สโมทหํ ภิกฺขุ มโนวิตกฺเก
ไม่ทะยานอยาก ไม่เบียดเบียนใคร อนิสฺสิโต อญฺญมเหฐยนฺโต
ไม่ว่าร้ายใคร สงบเย็นจริง ปรินิพฺพุโต นูปวเทยฺย กญจิ

(7) เทวดา-

ยุ่งทั้งภายใน ยุ่งทั้งภายนอก อนฺโตชฏา พหิชฏา
หมู่สัตว์ถูกตัวยุ่งพันนุงนัง ชฏาย ชฏิตา ปชา
ท่านโคตมะ เราขอถาม ตํ ตํ โคตม ปุจฺฉามิ
ใครจะสางเรื่องยุ่งนี้ได้ โก อิมํ วิชฏเย ชฏํ

พระพุทธเจ้า-

คนมีปัญญา มั่นในศีล สีเล ปติฏฺฐาย ปโร สปญฺโญ
เจริญสมาธิ และปัญญา จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ
ฉลาด ขยัน เห็นภัย อาตาปี นปโก ภิกฺขุ
ย่อมสางเรื่องยุ่งนี้ได้ โส อิมํ วิชฏเย ชฏํ

(8) เทวดา 6 ตน แต่งโศลกสุภาษิตตนละบท พากันมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ต่างก็กล่าวโศลกของตนแข่งขันกัน ว่าพระพุทธเจ้าจะตรัสชมเชยโศลกของใครไพเราะกว่า

เทวดาตนแรกกล่าวว่า
"ควรสมาคม สนิทสนมสัตบุรุษ เพราะจะทำให้มีแต่ความเจริญไม่มีความเสื่อม"
ตนที่สองกล่าวเหมือนกันแต่ลงท้ายว่า "คนคบสัตบุรุษย่อมได้ปัญญา"
ตนที่สามกล่าวว่า "คนคบสัตบุรุษย่อมรุ่งเรืองในหมู่ญาติ"
ตนที่สี่กล่าวว่า "คนคบสัตบุรุษ ย่อมไปสู่สุคติ"
ตนที่ห้ากล่าวว่า "คนคบสัตบุรุษย่อมไม่เศร้าโศก"
ตนที่หกกล่าวว่า "คนคบสัตบุรุษ ย่อมดำรงตนอยู่สุขสบาย"


(มีต่อ 21)
 


แก้ไขล่าสุดโดย สาวิกาน้อย เมื่อ 24 ก.ค.2006, 7:34 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2006, 12:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธเจ้าทรงรับรองว่า คำกล่าวของเทวดาแต่ละตนเป็นสุภาษิต (คือกล่าวชอบ) แต่ยังไม่สมบูรณ์ พระองค์จึงตรัสแก้ให้วา "คนคบสัตบุรุษแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง"

(9) เทวดา-

ทำได้ แล้วค่อยพูด ยญฺหิ กยิรา ตญฺหิ วเท
ทำไม่ได้ อย่าพูด ยํ น กยิรา น ตํ วเท
คนทำไม่ได้ ดีแต่พูด อกโรนฺตํ ภาสมานานํ
คนฉลาดเขาดูออก ปริชานนฺติ ปณฺฑิตา

(10) พระพุทธเจ้า-

ผู้ให้ข้าว ชื่อว่าให้กำลัง อนฺนโท พลโท โหติ
ผู้ให้เสื้อผ้า ชื่อว่าให้ผิวพรรณ วตฺถโท โหติ วณฺณโท
ผู้ให้ยาน ชื่อว่าให้ความสุข ยานโท สุขโท โหติ
ผู้ให้ประทีป ชื่อว่าให้จักษุ ทีปโท โหติ จกฺขุโท
ผู้ให้ที่อาศัย ชื่อว่าให้ทุกอย่าง โส จ สพฺพทโท โหติ โย ททาติ อุปสฺสยํ
ผู้สอนธรรม ชื่อว่าให้อมตะ อมตนฺทโท จ โส โหติ โย ธมฺมานุสาสติ

(11) พระพุทธเจ้า-

ทางนั้นตรง ทิศทางนั้นไม่มีภัย
รถวิ่งไปไร้เสียง มีธรรมเป็นล้อ
หิริ เป็นตัวถัง สติ เป็นกันชน
สัมมาทิฐิ เป็นสารถี
บุรุษหรือสตรี มีรถชนิดนี้
ย่อมไปสู่จุดหมายคือนิพพาน

(12) พระพุทธเจ้า-

บุตรเป็นพื้นฐานของมนุษย์ ปุตฺตา วตฺถุ มนุสฺสานํ
ภริยาเป็นยอดสหาย ภริยา ปรมา สขา
หมู่สัตว์ในแผ่นดิน วุฏฐึ ภูตา อุปชีวนฺติ
อาศัยฝนเลี้ยงชีพ เย ปาณา ปฐวึ สิตา

(13) พระพุทธเจ้า-

ธงเป็นเครื่องหมายของรถ ธโช รฏฺฐสฺส ปญฺญาณํ
ควันเป็นเครื่องหมายของไฟ ธูโม ปญฺญาณมคฺคิโน
พระราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น ราชา รฏฺฐสฺส ปญฺญาณํ
ภัสดาเป็นสง่าแห่งสตรี ภตฺตา ปญฺญาณมิตฺถิยา

(14) พระพุทธเจ้า-

มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา ปราชญ์กล่าวว่าประเสริฐสุด ปญฺญาชีวีชีวิตมาหุ เสฏฐํ

(15) พระพุทธเจ้า-

รูปร่างของสัตว์ทั้งหลายย่อมเสื่อมไป รูปํ ชีรติ มจฺจานํ
ชื่อและโคตรหาเสื่อมสิ้นไปไม่ นามโคตฺตํ น ชีรติ
ความโลภเป็นอันตรายต่อความดี โลโภ ธมฺมานํ ปริปนฺโถ
วัย สิ้นไปตามวันคืน วโย รตฺตินฺทิวกฺขโย
สตรีเป็นมลทินแห่งพรหมจรรย์ อิตฺถี มลํ พฺรหฺมจริยสฺส
ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต
สติเป็นเครื่องตื่นในโลก สติ โลกสฺมิ ชาคโร

2.2 เทวปุตตสังยุตต์ ประมวลเรื่องเทวบุตร เข้าใจว่า "เทวดา" เป็นเทพธิดา (เพศหญิง) ส่วนเทวบุตรคือเทวดาเพศชาย ส่วนนี้มีโครงสร้างคล้ายกับเทวตาสังยุตต์ จะต่างแต่เนื้อหาสาระเท่านั้น (แต่ก็มีหลายบท ซ้ำกับเทวตาสังยุตต์ หลายบทซ้ำกับคาถาธรรมบท) ขอยกตัวอย่างดังนี้

(1) พระพุทธเจ้า-

ฆ่าความโกรธแล้วอยู่เป็นสุข โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ
ฆ่าความโกรธแล้วไม่เศร้าโศก โกธํ ฆตฺวา น โสจติ
ความโกรธมีรากเป็นพิษ โกธสฺส วิสมูลสฺส
มียอดหอมหวาน มธุรคฺคสฺส วตฺรภู
ใครฆ่าได้ พระอริยเจ้าสรรเสริญ วธํ อริยา ปสํสนฺติ
เพราะฆ่าความโกรธแล้วไม่เศร้าโศก ตญฺหิ ฆตฺวา น โสจติ

(2) พระพุทธเจ้า-

ในโลกนี้มีแสงสว่างอยู่เพียงสี่ จตฺตาโร โลเก ปชฺโชตา
แสงที่ห้าไม่มี ปญฺจเมตฺถ น วิชฺชติ
พระอาทิตย์สว่างกลางวัน ทิวา ตปติ อาทิจฺโจ
พระจันทร์สว่างกลางคืน รตฺติมาภาติ จนฺทิมา
ส่วนไฟทั้งกลางวันและกลางคืน อถ อคฺคิ ทิวา รตฺตึ
ก็สว่างไสวได้ ตตฺถ ตตฺถ ปกาสติ
พระพุทธเจ้านับเป็นยอด "แสงสว่าง" สมฺพุทฺโธ ตปตํ เสฏฺโฐ
ไม่มีแสงสว่างอะไรรุ่งโรจน์ไปกว่านี้ เอสา อาภา อนุตฺตรา

(3) พระพุทธเจ้า-

อยู่ในที่คับแคบยากไร้ สมฺพาเธปิ ติฏฺฐนฺติ
แต่ตั้งใจมุ่งนิพพาน ธมฺมํ นิพฺพานปตฺติยา
นับว่ามีกมลมาลย์มั่นคง เย สตึ ปจฺจลตฺถํสุ สมฺมา เต สุสมาหิตา

(4) จันทิมสูตรและสุริยสูตร ในเทวปุตตสังยุตต์ มีสูตรแปลกอยู่ 2 สูตร คือ จันทิมสูตร และสุริยสูตร กล่าวถึงจันทิมเทวบุตร (พระจันทร์) และสุริยเทวบุตร (พระอาทิตย์) ถูกราหูจับได้ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า กล่าวขึ้นว่า "ข้าขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้หลุดพ้นแล้วจากสิ่งทั้งปวง ข้าพระพุทธเจ้าอยู่ในฐานะคับขันขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้าด้วย" พระพุทธเจ้าตรัสบอกอสุรินทราหูว่า "จันทิมเทวบุตรและสุริยเทวบุตรได้ถึงเราตถาคตเป็นที่พึ่งแล้ว ท่านจงปล่อยพวกเขาไปเถิด"

อสุรินทราหูปล่อยเหยื่อแล้วกระหืดกระหอบไปเฝ้าเวปจิตติจอมอสูร เมื่อถูกถามจึงรายงานให้จอมอสูรทราบว่า กลัวพระพุทธเจ้าจึงรีบปล่อยพระจันทร์และพระอาทิตย์หนีมา

มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า พระสูตรนี้แปลกปลอมเข้ามา (ดังมีอีกหลายสูตรที่เข้าใจว่าเป็นเช่นนั้น) มีเค้าว่าถูกสอดแทรกเข้ามาในยุคที่นำเอาพระสูตรไปสวดเป็นปริตรป้องกันภยันตรายต่างๆ ซึ่งเป็นยุคหลังพุทธกาลมา (ดูข้อสังเกตข้างท้าย)


(มีต่อ 22)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2006, 12:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(1) อานันทสูตร เมื่ออุปสมบทใหม่ๆ เพราะความเป็นกวีมีอารมณ์อ่อนไหวพระวังคีสะจึงถูกราคะกิเลสรบกวนบ่อยครั้ง วันหนึ่งขณะตามพระอานนท์ไปบิณฑบาต นึกถึงอารมณ์อันสุนทรีย์ขึ้นมาถูกราคะครอบงำใจ จึงกล่าวบทกวีขอคำแนะนำจากพระอานนท์ว่า

ผมถูกราคะแผดเผา กามราเคน ฑยฺหามิ
จิตใจของผมเร่าร้อน จิตฺตํ เม ปริฑยฺหติ
โปรดบอกวิธีด้วยเถิด สาธุ นิพฺพานปนํ พฺรูหิ
กรุณาเถอะ ท่านโคตมะ อนุกมฺปาย โคตม

พระอานนท์บอกวิธีแก้ คือไม่ให้หมายกำหนดว่าสวยงาม ให้พิจารณาตามหลักไตรลักษณ์เจริญอสุภะ และกายคตาสติเสมอ และราคะก็สงบ

(2) สุภาสิตสูตร พระพุทธเจ้าตรัสสอนพระ ซึ่งมีพระวังคีสะอยู่ด้วย ว่า วาจาที่เป็นสุภาษิตจะต้องมีองค์ประกอบ 4 อย่าง เรียงตามลำดับความสำคัญคือ

พูดดีไม่พูดชั่ว
พูดเป็นธรรม
พูดคำเป็นที่รัก
พูดเป็นคำสัตย์จริง

ทรงสรุปว่า การพูดดีไม่พูดชั่วนั้น ปราชญ์ทั้งหลายสรรเสริญว่าสูงสุด

พระวังคีสะเห็นด้วยกับพุทธดำรัส จึงประพันธ์คาถาด้วยปฏิภาณเป็นการสรุปความตามที่พระองค์ตรัส ท้ายบทกวีได้บอกว่า ที่ว่าพูดดีไม่พูดชั่วนั้น หมายถึง พระดำรัสของพระพุทธเจ้าเท่านั้น เพราะพระองค์พูดสอนให้คนบรรลุนิพพานได้

พระพุทธเจ้าตรัสวาจาใด ยํ พุทฺโธ ภาสตี วาจํ
อันเกษม เพื่อลุถึงนิพพาน เขมํ นิพฺพานปตฺติยา
เพื่อทำทุกข์ให้สิ้น ทุกฺขสฺสนฺตกิริยาย
วาจานั้นประเสริฐสุด สาเว วาจานมุตฺตมา

2.9 วนสังยุตต์ ประมวลเรื่องเกี่ยวกับป่า เป็นคำแนะนำแก่พระที่อยู่ป่าไม่ตั้งใจบำเพ็ญกิจของสมณะ เช่น เห็นแก่นอนบ้าง ปล่อยให้อกุศลวิตกครอบงำจิตบ้าง ผู้แนะนำส่วนมากเป็นเทวดาที่สิงอยู่ในป่า ถ้อยคำเตือนของเทวดาน่าสนใจมาก บางครั้งก็ว่าเจ็บๆ แสบๆ "แบบผู้ดี" ยิ่งคิดยิ่งแสบมีทั้งหมด 14 สูตร ขอนำมาเป็นตัวอย่างบางสูตร

(1) วิเวกสูตร พระรูปหนึ่งอยู่ป่ารัฐโกศล ปล่อยให้อกุศลวิตกครอบงำใจ เทวดาจึงมาเตือนว่า

ท่านใฝ่วิเวกเข้ามาอยู่ในป่า วิเวกกาโมสิ วนํ ปวิฏฺโฐ
แต่ใจไปอยู่เสียภายนอก อถ เต มโน นิจฺฉรติ พหิทฺธา

ทำไมไม่ละความพอใจในคนเสีย ตวํ ชโน ชนสฺมึ วินสฺสุ ฉนฺทํ
แล้วท่านจะปราศจากกำหนัดอยู่สบาย ตโต สุขี โหหิสิ วีตราโค
นกเปื้อนฝุ่นสลัดธุลีออกจากปีก สกุโณ ยถา ปํสุกุณฺฑิโต
พระก็ควรมีสติ เพียรสลัดกิเลสจากใจ วิธุนํ ปาตยติ สิตํ รชํ
เช่นเดียวกัน เอวํ ภิกฺขุ ปธานวา สติมา ปาตยสิ สิตํ รชํ

(2) อุปัฏฐานสูตร พระอยู่ป่ารูปหนึ่งชอบนอนหลับกลางวัน เทวดาจึงเข้าไปเตือนว่า

ลุกขึ้นสิ มัวนอนอยู่ทำไม อุฏฺเฐหิ ภิกฺขุ กึ เสสิ
ท่านยังมีกิเลสรุมใจ โก อตฺโถ สุปิเตน เต
ดังถูกลูกศรเสียบอก มัวหลับไย อาตุรสฺส หิ เต นิทฺทา
เมื่อบวชด้วยศรัทธา ก็ทำศรัทธา สลฺลวิทฺธสฺส รุปฺปโต
ให้เจริญขึ้น อย่าเห็นแก่นอนเลย ยาย สทฺธาย ปพฺพชิโต อคารสฺมานคาริยํ
ตเมว สทฺธํ พฺรูหิ มา นิทฺทาย วสํ คมิ

(3) กัสสปโคตสูตร สูตรนี้เกี่ยวกับการสอนคน มีพระรูปหนึ่งไปสอนนายพรานมิให้ล่าสัตว์เขาไม่สามารถทำตามได้ เทวดาจึงไปเตือนสติแก่เธอ

พรานป่าผู้โง่เขลา คิริทุคฺครํ เฉติ
ทรามปัญญา รู้เท่าไม่ถึงการณ์ อปฺปญฺญํ อเจตสํ
ภิกษุให้โอวาทผิดกาละ อกาเล โอวทํ ภิกฺขุ
เราเห็นว่าไม่ใช่พระฉลาด มนฺโทว ปฏิภาติ มํ
เขาฟัง แต่ไม่รู้เรื่อง สุณาติ น วิชานาติ
เขามองดู แต่ไม่เห็น อาโลเกติ น ปสฺสติ
ท่านสอนธรรมะ คนโง่เขาไม่เข้าใจ ธมฺมสฺสมึ ภญฺญมานสฺมึ

ต่อให้ท่านชูประทีปทั้งสิบดวง อตฺถํ พาโล น พุชฺฌติ
เขาก็มองไม่เห็นอะไร สเจปิ ทส ปชฺโชเต
เพราะเขาไม่มีตา ธายิสฺสลิ กสฺสป
เนว ทกฺขติ รูปานิ
จกฺขุหิสฺส น วิชฺชติ

(4) ปทุมปุปผสูตร พระสูตรนี้พูดถึงพระดมดอกบัวในสระ เทวดาเห็นว่าทำไม่ถูกต้อง จึงกล่าวหาว่าเธอเป็นขโมย เมื่อพระย้อนถามว่าเรามิได้ขโมยเอาอะไรติดมือไป จะหาว่าขโมยได้อย่างไร เทวดาตอบว่าท่านขโมยกลิ่นอย่างไรเล่า

คนที่มีบาปหนา อากิณฺณลุทฺโธ ปุริโส
แปดเปื้อนกิเลสเกินไป อติเวลํว มกฺขิโต
เราไม่พูดถึง ตสฺมึ เม วจนํ นตฺถิ
แต่จะขอพูดกับท่าน ตญฺจ อรหามิ วตฺตเว
ท่านเป็นคนบริสุทธิ์ อนงฺคณสฺส โปสสฺส
ใฝ่หาความสะอาดเป็นนิตย์ นิจฺจํ สุจิคเวสิโน
บาปเท่าปลายขนทราย วาลคฺคมตฺตํ ปาปสฺส
ก็ดูมหึมาดังก้อนเมฆ อพฺภามตฺตํว ขายติ


(มีต่อ 23)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2006, 12:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

2.10 ยักขสังยุตต์ ประมวลเรื่องยักษ์ ยักษ์ที่ปรากฏในสังยุตต์นี้ดูเหมือนจะเป็นยักษ์ดีที่มีธรรมแทบทั้งนั้น มีบ้างที่ดุร้ายทำบาปปาณาติบาต เช่น อาฬวกยักษ์ แต่ส่วนใหญ่จะคอยสนับสนุนให้คนทำดี หรือห้ามมิให้คนทำชั่ว ยักขสังยุตต์มี 12 สูตร สั้นๆ ขอนำมาบางสูตร

(1) อินทกสูตร สูตรนี้อินทกยักษ์ถามปัญหาลึกซึ้ง เกี่ยวกับพัฒนาการของชีวิตในครรภ์ พระพุทธเจ้าทรงวิสัชนาให้ฟัง น่าประหลาดใจว่าตรงกับความจริงที่นักปราชญ์ปัจจุบันค้นพบไม่ผิดเพี้ยน ถามว่ารูปหาใช่ชีวะไม่ สัตว์นี้ได้ร่างกายมาแต่ไหน กระดูกและก้อนเนื้อมาจากไหน สัตว์อยู่ในครรภ์ได้อย่างไร

พระพุทธเจ้าตรัสว่า

เบื้องแรกเกิดมี "กลละ" ก่อน ปฐมํ กลลํ โหติ
จากนั้นเป็น "อัพพุทะ" กลลา โหติ อพฺพุทํ
จากนั้นเป็น "เปสิ" อพฺพุทา ชายเต เปสิ
จากนั้นเป็น "ฆนะ" เปสิ นิพฺพตฺตี ฆโน
จากนั้นเป็น "ปุ่มห้าปุ่ม" ฆนา ปสาขา ชายนฺติ
จากนั้นเป็น ผม ขน เล็บ เกสา โลมา นขาปิจ
มารดากิน ดื่มอะไร ยญฺจส ภุญฺชติ มาตา อนุนํ ปานญฺจ โภชนํ
สัตว์ในครรภ์ยังชีพด้วยสิ่งนั้น เตน โส ตตฺถ ยาเปติ มาตุกุจฺฉิโต นโร

(2) สานุสูตร ยักษ์ตนหนึ่งรู้ว่าสามเณรสานุคิดสึก ไปหาโยมมารดาจะขอลาสึก ยังไม่ทันได้พูดกับโยม ยักษ์ก็เข้าสิงร่างสามเณร มารดาพูดขึ้นว่า เราได้ยินมาว่า ผู้ที่รักษาศีลอุโบสถประพฤติพรหมจรรย์ ยักษ์ (ผี) ไม่ตอแยด้วย เราได้ยินมาผิดแล้ว บัดนี้ยักษ์กำลังทำร้ายบุตรเรา

ยักษ์ตอบว่า

ท่านจงบอกสานุผู้ฟื้นขึ้นมาว่า อย่าคิดทำชั่วทั้งที่ลับและที่แจ้ง หาไม่เราจะไม่ละเว้น เมื่อสามเณรสานุฟื้นขึ้นมาเห็นมารดาร้องไห้ (เพราะทราบจากยักษ์ว่าตนกำลังคิดสึก) จึงถามว่า คนทั้งหลายมีแต่คนร้องไห้หาคนตายหรือคนจากไปไกล โยมเห็นฉันอยู่ ร้องไห้ทำไม มารดากล่าวเป็นนัยให้ทราบว่า

คนที่ละกามแล้ว ยังจะกลับมาหากามอีก โยมร้องไห้หาคนนั้น
เพราะถึงเขาจะมีชีวิตอยู่ก็เหมือนคนตายแล้ว
ลูกเอ๋ย เจ้าถูกเขายกจากเถ้ารึง (หลุมถ่านไฟร้อน) แล้วยังอยากตกลงไปอีกหรือ
ถูกเขายกจากเหวแล้ว ยังอยากตกลงไปอีกหรือ
เจ้าขนของหนีไฟแล้ว ยังจะเผามันทิ้งเองอีกหรือ
สามเณรได้ฟังดังนั้น เลยเลิกคิดจะลาสิกขา

2.11 สักกสังยุตต์ ประมวลเรื่องเกี่ยวกับท้าวสักกะ หรือพระอินทร์ ส่วนมากเป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้านำมาเล่าให้สาวกฟังอีกทีว่าท้าวสักกะทำอะไร กล่าวอะไร อย่างไร มีทั้งหมด 25 สูตร ขอนำมาเพียงบางสูตร

(1) สุภาสิตชยสูตร พระพุทธเจ้าทรงเล่าให้พระฟังว่า ครั้งหนึ่งท้าวเวปจิตติอสูรกับพระอินทร์ท้าแข่งกล่าวคำสุภาษิตกัน ว่าคำของใครจะไพเราะกว่า มีเหตุผลกว่ากัน ท้าวเวปจิตติ กล่าวว่า

คนพาลนั้น ถ้าไม่รีบปราบเสียแต่ต้น ยิ่งจะกำเริบใหญ่
เพราะฉะนั้น นักปราชญ์ จึงควรกำราบคนพาลด้วยการลงทัณฑ์

พระอินทร์ กล่าวว่า

ผู้ที่คนอื่นโกรธแล้วมีสติยับยั้งไม่โกรธตอบ
เราเห็นว่านี่แหละเป็นวิธีกำราบคนพาล

ท้าวเวปจิตติ กล่าวอีกว่า

เราเห็นโทษของการอดกลั้นมาแล้ว เมื่อใดคนพาลเห็นว่าเรานิ่งเฉยเสีย
ก็จะยิ่งข่มขู่เหมือนโคที่แพ้วิ่งหนีไป ตัวที่ชนะยิ่งไล่ขวิด

พระอินทร์ กล่าวแก้ว่า

ผู้ใดแข็งแรง อดกลั้นคำล่วงเกินของผู้อ่อนแอ
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าความอดกลั้นของผู้นั้นเป็นยอด
เพราะคนอ่อนแอจำต้องอดทนเป็นประจำอยู่แล้ว
ความอดทนของคนอ่อนแอไม่นับว่าเป็นพลัง
ผู้ที่โกรธคนอื่นเลวอยู่แล้ว แต่ผู้ที่โกรธตอบเลวยิ่งกว่าอีก
ผู้ที่ไม่โกรธตอบผู้ที่โกรธตน ย่อมชนะสงครามที่ชนะได้แสนยาก
นับว่าทำประโยชน์ทั้งแก่ตนและแก่ผู้อื่น

ที่ประชุมอันประกอบด้วยพวกอสูรและเทวดาตัดสินว่าคำกล่าวของอสูรเป็นการชวนทะเลาะเบาะแว้ง ไม่เป็นสุภาษิต ส่วนคำกล่าวของพระอินทร์ไม่ชวนทะเลาะเบาะแว้งเป็นวาจาสุภาษิต จึงให้พระอินทร์เป็นผู้ชนะ

(2) ทุติยสักกนมัสการสูตร และตติยาสักกนมัสการสูตร สูตรแรกที่พระพุทธเจ้าทรงเล่าให้สาวกฟังว่าท้าวมาตุลี สารถีของพระอินทร์เห็นพระอินทร์ก่อนเสด็จไปไหนจะประคองอัญชลีไหว้จึงทูลถามว่า ทรงนมัสการใคร ท้าวสักกะบอกว่า ไหว้พระพุทธเจ้า พระสงฆ์ และเสขบุคคล

ดูกรมาตุลี เรานอบน้อมพระผู้มีพระภาค ผู้มีพระนามอันประเสริฐ
เรานอบน้อมพระอรหันตขีณาสพ ผู้หมดราคะ โทสะ และอวิชชา
เรานอบน้อมผู้ที่ยังไม่หมดราคะ โทสะ โมหะ และอวิชชา
แต่ใฝ่ใจศึกษาอยู่ อย่างไม่ประมาท

พระสูตรที่สอง (ตติยสักกนมัสการสูตร) มาตุลีถามเช่นเดียวกัน ท้าวสักกะตรัสตอบว่าไหว้พระสงฆ์

พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นปราชญ์ กล่าวคำสุภาษิต เป็นผู้สงบ
ประพฤติสม่ำเสมอ ดูกรมาตุลี พวกเทวดายังโกรธพวกอสูร
สัตว์เป็นอันมากโกรธกันและกัน แต่ท่านเหล่านั้นไม่โกรธใคร
งดเว้นการเบียดเบียน เมื่อคนทั้งหลายเขายึดมั่นถือมั่น
ท่านเหล่านั้นไม่ถือมั่น เราจึงสักการะพระสงฆ์เหล่านั้น


(มีต่อ 24)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2006, 3:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(2) นิทานวรรค

2.12 อภิสมยสังยุตต์ ประมวลเรื่องเกี่ยวกับการตรัสรู้ เป็นสังยุตต์แรกของวรรคที่สองคือนิทานวรรค ขอประมวลมาเฉพาะสูตรที่น่าสนใจ

(1) วิภังคสูตร ว่าด้วยการจำแนกปฏิจจสมุปบาท ในสูตรนี้ต่างจากมหานิทานสูตรมัชฌิมนิกาย ฑีฆนิกาย (เล่มที่ 10) ในมหานิทานสูตรแจกปฏิจจสมุปบาทถอยหลัง สาวไปไม่ถึงสังขารและอวิชชา พอพูดถึงวิญญาณแล้วก็วกกลับ และกลับไปกลับมาระหว่างวิญญาณและนามรูปดังนี้

วิญญาณ - นามรูป - นามรูป - วิญญาณ - ผัสสะ ฯลฯ (ไม่มีสฬายตนะ) แต่ในวิภังคสูตรนี้แจกครบเครื่อง ทั้งฝ่ายเกิดและฝ่ายดับ ดังนี้

อวิชชา - สังขาร - วิญญาณ - นามรูป - สฬายตนะ - ผัสสะ - เวทนา - ตัณหา - อุปาทาน - ภพชาติ - ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส = ทุกข์เกิด

ดับอวิชชา - ดับสังขาร -... ดับชรามรณะ โสกะ ปริเทว ทุกข์ โทมนัส อุปายาส = ทุกข์ดับ คำจำกัดความเป็นสิ่งที่นักศึกษาควรสนใจ "ชรามรณะ" หมายถึงแก่ตายจริงๆ ในความหมายที่เราทราบกัน "เกิด" หมายถึงเกิดเป็นรูปเป็นร่างกาย การได้ขันธ์ครบถ้วน "ตาย" หมายถึงการตายจริงๆ การแตกดับแห่งขันธ์หรือกาลกริยา ไม่ต้องตีความเป็นอย่างอื่น (โปรดดูข้อสังเกตข้างท้าย)

(2) อาหารสูตร ยกอาหาร 4 อย่างมาแสดงคือ กวฬิงการาหาร (คำข้าว) ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร แล้วกล่าวว่าอาหารเหล่านั้นเกิดจากตัณหา แล้วนำเข้าหลักปฏิจจสมุปบาท ถอยหลัง จับจากตัณหา ดังนี้ ตัณหา - เวทนา - ผัสสะ - สฬายตยะ - นามรูป - วิญญาณ - สังขาร - อวิชชา

(3) ผัคคุนสูตร มีพระโมลิยะผัคคุนะ ทูลถามว่า "ใครเป็นผู้สัมผัส ใครเป็นผู้เสพอารมณ์ ใครเป็นผู้ทะเยอทะยาน" พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า "ตั้งคำถามไม่ถูกไม่ควรถามว่า "ใคร" แต่ควรถามว่า "เพราะอะไร" เป็นปัจจัย จึงมีสัมผัส (ผัสสะ) เพราะอะไรเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เป็นต้น (เพราะการยึดในตัวตน เรา เขา ไม่เข้าใจตามสภาวะที่เป็นจริง)" พระองค์จึงแสดงปฏิจจสมุปบาทฝ่ายดับ เริ่มตั้งแต่ผัสสะเป็นต้นไป ดังนี้

ผัสสะดับ - เวทนาดับ - ตัณหาดับ - อุปาทานดับ - ภพดับ - ชาติดับ - ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส ดับ = ทุกข์ดับ

สูตรนี้ (และอีกหลายสูตร) มีทางให้คิดว่าทรงอธิบายการดับวงจรแห่งปฏิจจสมุปบาท โดยรวบยอดในปัจจุบันชาติไม่ข้ามภพข้ามชาติ (ดูข้างท้าย)

(4) ปัจจยสูตร สูตรนี้แสดงปฏิจจสมุปบาทอีกรูปแบบหนึ่ง คือ

ชาติ เป็นปัจจัยให้เกิด ชรามรณะ
ภพ เป็นปัจจัยให้เกิด ชาติ
อุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิด ภพ
ตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิด อุปาทาน
เวทนา เป็นปัจจัยให้เกิด ตัณหา
ผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา
สฬายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิด ผัสสะ
นามรูป เป็นปัจจัยให้เกิด สฬายตนะ
วิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป
สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ
อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร

(5) กัจจายนโคตตสูตร ทรงแสดงว่าการเข้าใจปฏิจจสมุปบาทเป็นสัมมาทิฐิ ปฏิเสธความเข้าใจที่ว่าสรรพสิ่งมีตลอดกาล (อัตถิตา) และสรรพสิ่งดับสูญตลอดกาล (นัตถิตา)

(6) อเจลกสูตร แสดงว่าถ้าเข้าใจหลักปฏิจจสมุปบาท จะเข้าใจกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยสัมพันธ์ ปฏิเสธทั้งสัสสตทิฐิ และอุจเฉททิฐิ เช่น ในกรณีสุขและทุกข์ "ถ้าใครเข้าใจว่าทุกข์ตนทำเอง ก็เท่ากับบอกว่า ผู้นั้นเสวยทุกข์ กลายเป็นสัสสตทิฐิ เมื่อเข้าใจว่าทุกข์ ตัวการอื่นทำให้ ก็เท่ากับว่า คนหนึ่งทำ อีกคนหนึ่งเสวยทุกข์ กลายเป็นอุจเฉททิฐิไป"

(7) นิทานสูตร พระอานนท์คิดว่า ปฏิจจสมุปบาทง่าย พระพุทธเจ้าทรงห้ามมิให้คิดเช่นนั้น ตรัสว่า ปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องลึกซึ้งหยั่งรู้ได้ยาก "อานนท์ เพราะไม่รู้ ไม่ตรัสรู้ ไม่แทงตลอดในธรรม (ปฏิจจสมุปบาท) หมู่สัตว์จึงเหมือนเส้นด้ายที่ยุ่ง เหมือนกลุ่มด้ายที่มีปม เหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ย่อมหนีไม่พ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสังสาระ (การเวียนตายเวียนเกิด)"

(8) ปุตตมังสสูตร ตรัสสอนให้พระกำหนดรู้เรื่องอาหาร 4 ชนิด ด้วยอุปมาอุปไมยน่าฟังคือ

- ให้กินอาหาร (กวฬิงการาหาร) เหมือนคนกินเนื้อบุตรของตนเองเพื่อยังชีพขณะเดินทางกันดาร อย่าติดในรสอาหาร เมื่อกำหนดรู้กวฬิงการาหารอย่างนี้ เท่ากับรู้ความยินดีในกามคุณหมกมุ่นพัวพัน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารณ์นั้น วิญญาณอันอาศัยตัณหาก็จะเกิดอุปาทานอันอาศัยตัณหาก็จะเกิด ผู้ที่มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน ผู้ที่ปรินิพพานในปัจจุบัน พึงทราบโดยนัยตรงกันข้าม

(9) ภารทวาชสูตร พระเจ้าอุเทนตรัสถามพระปิณโฑลภารทวาชะว่า อะไรเป็นเงื่อนไขให้พระหนุ่มแน่น เยาว์วัย ผมดำสนิท ยังไม่หมดความรู้สึกทางกามารมณ์ ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ตลอดชีวิต พระปิณโฑภารทวาชะตอบว่า เพราะปฏิบัติตามพระโอวาทของพระศาสดาว่าให้คิดว่าสตรีที่อยู่ในวัยปูนพี่สาว น้องสาว เป็นพี่สาว น้องสาวของตน สตรีปูนลูกสาวเป็นลูกสาวของตน

พระราชาทรงซักต่อไปว่า ธรรมดาจิตของคนมักโลเล บางครั้งอาจไม่คิดเช่นนั้นก็ได้ มีเงื่อนไขอีกหรือไม่ พระปิณโฑลภารทวาชะตอบว่า ให้พิจารณาร่างกายนี้ตั้งแต่ปลายเท้าจดศีรษะ อันมีหนังหุ้มโดยรอบ ให้เห็นความไม่สะอาดต่างๆ อยู่ในร่างกายนั้น ไม่ว่าจะเป็น ผม ขน เล็บ หนัง หรือส่วนอื่นๆ

พระราชาตรัสว่าบางครั้ง ทั้งที่ทำในใจว่าไม่งามแต่ยังเห็นว่ามันงาม จะมีเงื่อนไขอื่นอีกหรือไม่ พระเถระตอบว่าเวลาเห็นรูปด้วยตา อย่าถือเอาโดยนิมิต (คืออย่ามองรวม) อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ (อย่ามองแยก) ให้สำรวมอินทรีย์ พยายามมิให้อกุศลธรรมครอบงำ เวลาได้ยินเสียง สูดกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องสัมผัส คิดมโนภาพ ก็ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกัน ภิกษุหนุ่มแน่น เยาว์วัย ผมดำสนิท ที่ยังไม่หมดความรู้สึกทางกามารมณ์ ปฏิบัติได้อย่างนี้ จะสามารถประพฤติพรหมจรรย์ได้บริสุทธิ์บริบูรณ์ตลอดชีวิต



(มีต่อ 25)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ค.2006, 7:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(6) เวรหัญจานีสูตร นางเวรหัญจานีโคตร อยากสนทนาธรรมกับพระอุทายี จึงนิมนต์ท่านไปฉันที่บ้าน ตามคำแนะนำของมาณพผู้เป็นศิษย์ แต่ไม่แสดงความเคารพ นั่งบนอาสนะสูง สวมรองเท้า คลุมศีรษะ พระเถระไม่สนทนาด้วย บอกว่าเอาไว้วันหลัง ต่อเมื่อรู้สึกตัวผิด จึงนิมนต์ท่านไปฉันอีก แสดงความเคารพ นั่งอาสนะต่ำกว่า ไม่สวมรองเท้า ไม่คลุมศีรษะนางถามพระเถระว่าเมื่ออะไรมี พระอรหันต์ทั้งหลายจึงบัญญัติว่า สุขและทุกข์มี เมื่ออะไรไม่มี จึงบัญญัติว่าสุขและทุกข์ไม่มี

พระเถระตอบว่า เมื่อจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน มี พระอรหันต์ทั้งหลายบัญญัติว่า สุขและทุกข์มี เมื่อจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ไม่มี จึงบัญญัติว่า สุขและทุกข์ไม่มี คำว่า "มี" "ไม่มี" ในทางธรรมหมายถึง เวลาที่อายตนะเหล่านั้น พร้อมที่จะทำหน้าที่ เวลาธรรมดาถึงมันจะมีท่านก็ไม่นับว่ามี)

(7) ขณสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่า มีนรกชื่อผัสสายตนิกนรก มีสวรรค์ชื่อผัสสายตนิกสวรรค์ โดยอธิบายว่า ถ้าเห็นรูป ได้ยินเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องสัมผัส คิดมโนภาพอะไร เห็นว่าไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ อย่างนี้เรียกว่า ผัสสายตนิกนรก ถ้าเห็นรูป ได้ยินเสียง

จากกามสังกัปปะ ก็เกิด กามฉันท์ (ความใคร่ในกาม)
จากกามฉันท์ ก็เกิด กามปริฬาหะ (ความร้อนรุ่มเพราะกาม)
จากกามปริฬาหะ ก็เกิด กามปริเยสนา (การแสวงหากาม)
ปุถุชนเมื่อแสวงหากาม ก็ประพฤติผิดทางกาย วาจา ใจ
(เรื่องเกี่ยวกับพยาบาท และวิหิงสา ก็พึงทราบขั้นตอนเช่นเดียวกัน)

2.14 อนมตัคคสังยุตต์ ประมวลเรื่องสังสารวัฏ ว่ากำหนดเบื้องต้นเบื้องหลายไม่ได้ มีด้วยกันทั้งหมด 10 สูตร สั้นๆ เนื้อหาคล้ายกัน แต่ละสูตรก็สนับสนุนและอธิบายกันเองเพื่อให้แจ่มแจ้งขึ้น ขอยกตัวอย่างสูตรเดียว

(1) ปุคคลสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่า สังสารวัฏนี้ยาวนานจนไม่รู้ได้

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารกำหนดเบื้องต้นเบื้องปลายมิได้" และตรัสว่า "ตราบใดที่ยังไม่รู้อริยสัจ ต้องท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏนี้ตราบนั้น" เมื่อบุคคลใดเห็นอริยสัจคือ ทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และอริยมรรคมีองค์ 8 ทางดับทุกข์ด้วยปัญญาอันชอบ เขาจะท่องเที่ยวในสังสารวัฏอย่างมาก 7 ครั้ง (คือเกิดอีก 7 ชาติ) ก็จักทำที่สุดทุกข์ได้ เพราะสิ้นใยสังโยชน์ทั้งปวง"

2.15 กัสสปสังยุตต์ ประมวลเรื่องพระมหากัสสปะ ว่าด้วยพระพุทธดำรัสที่ตรัสชมปฏิปทาพระเถระรูปนี้ ทรงแนะนำให้พระสงฆ์เอาแบบอย่าง เช่น สันโดษ ความไม่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ รวมถึงข้อเสนอของพระมหากัสสปะ เพื่อให้พระผู้มีพระภาคเจ้าปรับปรุงวัตรปฏิบัติของพระสาวกทั้งหลาย ขอยกมาบางสูตร

(1) จันทูปมาสูตร พระพุทธเจ้าตรัสกับพระสาวกว่า พระมหากัสสปะ เปรียบประดุจดวงจันทร์ (อาจหมายถึงผุดผ่องด้วยศีลดังแสงจันทร์นวลใยก็ได้) เวลาเข้าไปยังสกุลทั้งหลาย ระวังจิต ทำดังหนึ่งว่าเป็นผู้ใหญ่ต่อสกุล ไม่คะนองกาย วาจา กัสสปะไม่ยึดติด พัวพันในสกุล เหมือนแกว่งมือไปในอากาศ มือไม่ติดอากาศ ฉะนั้น พระมหากัสสปะเป็นยอดพระธรรมกถึก ที่แสดงธรรมอาศัยความกรุณา อนุเคราะห์ อยากให้ผู้อื่นเข้าใจธรรม ไม่หวังอามิส ไม่หวังศรัทธาจากผู้ฟัง

(2) โอวาทสูตร พระมหากัสสปะเห็นพระ 2 รูป ท้ากันว่าใครจะเป็นพหูสูตมากกว่ากัน จะกล่าวธรรมได้มาก และได้นานกว่ากัน เห็นว่าเป็นการแข่งดี มีทิฐิ ยึดมั่นที่ไม่สมควร จึงไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสเรียกพระสองรูปมาตักเตือนว่า พวกเธอได้รู้ทั่วถึงธรรมที่พระองค์ตรัสไว้แล้วหรือ จึงกล้ามาท้ากันกล่าวธรรมเช่นนี้ (ธรรมของพระพุทธเจ้ามิใช่สิ่งที่ต้องเรียนรู้มากๆ แล้วมาอวดกัน เป็นเรื่องของการนำมาปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์มากกว่า)

(3) สัมธัมมปฏิรูปกสูตร พระมหากัสสปะทูลถามพระพุทธเจ้าว่า เมื่อก่อนสิกขาบทมีน้อย มีพระอรหันต์มาก แต่เดี๋ยวนี้สิกขาบทมาก ทำไมผู้สำเร็จอรหัตผลจึงมีน้อย

พระพุทธเจ้าตรัสว่า เพราะหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น มีพระอรหันต์น้อยลง สัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นที่ใด พระธรรมก็เลือนหายไปเมื่อนั้น ทองเก๊เกิดขึ้นเมื่อใดทองแท้ก็หายไปฉะนั้น พระพุทธเจ้าตรัสต่อไปว่า ดิน น้ำ ลม ไฟ ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไปไม่ได้ มีแต่โมฆบุรุษในพระศาสนานี้เท่านั้น ที่เกิดมาทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป เหมือนเรือจมเพราะต้นหนไม่ดี สาเหตุสำคัญที่ทำให้พระสัทธรรมเสื่อมมี 5 ประการ คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไม่เคารพศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา และสมาธิ

2.16 ลาภสักการสังยุตต์ ประมวลเรื่องลาภสักการะ ชี้ว่าลาภสักการะทำให้คนเสียคน (โดยเฉพาะพระภิกษุ) จึงไม่ควรปล่อยให้ลาภสักการะครอบงำ มีการเปรียบเทียบพระภิกษุที่มัวเมาในเรื่องเหล่านี้ด้วยถ้อยคำคมคายน่าฟังมาก เช่น เปรียบผู้ติดลาภสักการะเหมือนเต่าถูกมัด เหมือนแกะถูกหนามเกี่ยว เหมือนถูกยิงด้วยลูกศร ขอยกมาสัก 2 สูตร

(1) เอฬกสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่าแมลงฉู่ฉี่ กินขี้จนเต็มทอง ข้างหน้ามันยังมีขี้กองใหญ่ มันอวดเพื่อนๆ ว่า กินจนเต็มท้องแล้วยังมีขี้กองใหญ่ข้างหน้าอีกเห็นไหม พระบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็เช่นกัน ร่ำรวยอาหารบิณฑบาต จีวร เสนาสนะ และคิลานเภสัช กล่าวโอ้อวด เพื่อนพรหมจรรย์อื่นๆ และดูหมิ่นท่านเหล่านั้นว่ามีบุญน้อยมีศักดิ์น้อย สู้ตนไม่ได้ ดูหมิ่นกระทั่งผู้ทรงศีลเป็นที่รัก

(2) สิคาลกสูตร หมาขี้เรื้อนแก่ตัวหนึ่งอยู่บนบกก็ไม่สบาย อยู่โคนต้นไม้ก็ไม่สบาย อยู่กลางแจ้งก็ไม่สบาย จะยืน เดิน นั่ง นอน ก็คันยุบยิบไปหมด ไม่ต่างอะไรกับภิกษุบางรูป ถูกลาภสักการะและชื่อเสียงครอบงำ อยู่ที่ไหนก็ไม่สบาย เช่นกัน

2.17 ราหุลสังยุตต์ ประมวลเรื่องพระราหุล สูตรที่แสดงธรรมสำคัญๆ แก่พระราหุลมีอยู่ในทีฆนิกายแล้ว ที่ประมวลในสังยุตต์นี้ เป็นเพียงสูตรสั้นๆ 20 สูตร พระพุทธเจ้าตรัสสอนพระราหุลเรื่องจักษุ รูป วิญญาณ สัมผัส เวทนา สัญญา เจตนา ตัณหา และขันธ์ เป็นต้นให้มองเห็นว่าแต่ละอย่างไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตาอย่างไร

2.18 ลักขณสังยุตต์ ประมวลเรื่องเกี่ยวกับพระลักขณะ ผู้เป็นปัจฉาสมณะของพระมหาโมคคัลลานะ (คือเป็นผู้ติดตาม) ท่านทั้งสองรูปไปที่ไหน พระมหาโมคคัลลานะจะเห็นสิ่งที่พระลักขณะไม่เห็น พระมหาโมคคัลลานะจะยิ้มนิดๆ พระลักขณะถามท่านถึงสาเหตุที่ยิ้ม ท่านขอให้ไปถามต่อพระพักตร์ พระพุทธเจ้า ทั้งนี้ เพื่อจะได้มีพยานยืนยันในสิ่งที่ท่านเห็น สิ่งที่พระมหาโมคคัลลานะเห็นก็คือเปรตชนิดต่างๆ เมื่อเล่าถวายพระพุทธเจ้าแล้วพระองค์ตรัสบอกบุพกรรมของเปรตเหล่านั้นด้วย

2.19 โอปัมมสังยุตต์ ประมวลเรื่องเปรียบเทียบ สอนธรรมโดยยกอุปมาอุปไมยเปรียบเทียบให้เข้าใจง่าย เช่น เปรียบอายุสังขารสิ้นไปเร็วกว่าคนวิ่ง เร็วกว่าพระจันทร์และพระอาทิตย์ เร็วกว่าเทวดาเหาะ เป็นต้น


(มีต่อ 26)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ค.2006, 3:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ข้อเปรียบเทียบที่น่าสนใจในสังยุตต์นี้คือ

"ตะโพนชื่ออานกะของกษัตริย์นามว่าทสารหะแตก พวกทสารหะได้ตอกลิ่มลงไป สมัยต่อมาโครงเก่าของตะโพนอานกะหายไป แต่ยังเหลือโครงลิ่มฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในอนาคตก็ฉันนั้น เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้วอันลึกซึ้ง มีอรรถลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตา จักไม่ปรารถนาจะฟัง ไม่ตั้งใจเรียนรู้ ต่อเมื่อมีคนกล่าวสูตรภายนอก กาพย์กลอนที่กวีแต่งมีอักษรวิจิตร พยัญชนะวิจิตร เป็นสาวกภาษิต กลับสนใจฟัง สนใจเรียนรู้ เห็นว่าเป็นสิ่งควรศึกษา"

ความจริงปรากฏแล้วว่า เดี๋ยวนี้พระสงฆ์ไม่สนใจพระพุทธวจนะ กลับไปสนใจติรัจฉานวิชานอกพระพุทธวจนะมากขึ้นทุกวัน

2.20 ภิกขุสังยุตต์ ประมวลเรื่องเกี่ยวกับภิกษุ คือ เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาแก่ภิกษุทั้งหลายบ้าง ตรัสสอนให้เอาอย่างพระเถระที่มีคุณสมบัติน่าเลื่อมใสบ้าง ขอยกตัวอย่างมาบางสูตร

(1) ฆฏสูตร วันหนึ่งพระสารีบุตรเห็นพระมหาโมคคัลลานะ มีสีหน้าผ่องใสเป็นพิเศษ ถามว่าท่านอยู่ด้วยวิหารธรรมอันละเอียดหรือ วันนี้จึงมีสีหน้าผ่องใสนัก พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า อยู่ด้วยวิหารธรรมอย่างหยาบ แต่ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า ครั้นถูกซักว่า "พระพุทธเจ้าประทับอยู่ไกลมาก ท่านมหาโมคคัลลานะเหาะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าหรือ" ท่านมหาโมคคัลลานะกล่าวตอบว่าไม่ได้เหาะไปเฝ้า แต่ฟังด้วยทิพยโสต

แล้วได้เล่าให้พระสารีบุตรฟังว่า ท่านได้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า แค่ไหนจะเรียกว่าเป็นผู้พากเพียร พระพุทธเจ้าตรัสว่า จะต้องเป็นคนที่ตั้งสัตยาธิษฐานอย่างแน่วแน่ว่า "จะเหลือแต่หนัง เอ็น กระดูก และเลือดเนื้อในร่างกาย จะเหือดแห้งไปก็ตามที ตราบใดที่ยังไม่บรรลุผลที่พึงบรรลุได้ด้วยความเพียรของบุรุษ ความบากบั่นของบุรุษ จะไม่ยอมหยุดความพยายามเป็นอันขาด" อย่างนี้เรียกว่าผู้พากเพียรจริง

พระสารีบุตรกล่าวชมเชยว่า "ท่านมหาโมคคัลลานะ เป็นผู้มีฤทธิ์มากจริงๆ เมื่อเปรียบกันแล้วผมเองดุจก้อนหินเล็กๆ วางอยู่ต่อหน้าภูเขาใหญ่มิผิด คนมีฤทธิ์มากอย่างท่าน แม้ปรารถนาจะอยู่ตลอดกัปก็ย่อมทำได้"

พระมหาโมคคัลลานะกล่าวตอบว่า "ท่านสารีบุตรต่างหากที่เป็นพระสาวกรูปเดียว ที่พระพุทธเจ้าตรัสชมเชยว่าไม่มีใครเด่นเท่า ทางด้านปัญญา และศีล และอุปสมะ (ความสงบ) ถ้าจะเปรียบแล้ว ผมก็ไม่ต่างอะไรกับก้อนเกลือเล็กๆ วางอยู่ข้างหม้อเกลือใหญ่"

(2) ภัททียสูตร พระลกุณฏกภัททิยะ เป็นพระอรหันต์ร่างเล็กแคระไม่น่าดู เป็นที่ขบขันของผู้พบเห็น พระพุทธเจ้าตรัสสอนพระว่าท่านลกุณฏกะนั้น ถึงร่างจะเล็กแต่เป็นพระอรหันต์คุณสมบัติไม่เล็กเหมือนร่างกาย

สัตว์ทั้งหลาย หงส์ นกกระเรียน นกยูง ช้าง ฟาน
ย่อมกลัวราชสีห์ ไม่ใช่เพราะราชสีห์ตัวใหญ่ ฉันใด
ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน คนร่างเล็กแต่มีปัญญา
ย่อมเป็นใหญ่กว่ามนุษย์เหล่านั้น
ไม่เหมือนพวกคนพาล ซึ่งถือร่างกายเป็นใหญ่


(3) ขันธวารวรรค

2.21 ขันธสังยุตต์ ประมวลเรื่องขันธ์ กล่าวถึงขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ พร้อมด้วยรายละเอียดต่างๆ เป็นเทศนาของพระพุทธเจ้าบ้าง ของพระเถระผู้ใหญ่ เช่นพระสารีบุตรบ้าง และพระมหากัจจายนะเป็นต้นบ้าง ขอยกมาเพียงบางสูตร

(1) ภารสูตร ว่าด้วยขันธ์ 5 เป็นภาระหนัก ทรงแสดงด้วยการตั้งคำถามว่า อะไรคือภาระ(ของหนัก) ผู้แบกภาระ เครื่องถือมั่นภาระ การวางภาระ และทรงอธิบายว่า

อุปทานขันธ์ 5 คือภาระ บุคคลแต่ละคนที่มีชื่อ โคตรต่างๆ กันนี่แหละคือผู้แบกภาระตัณหาที่ทำให้เกิดภพใหม่ ทั้ง 3 ประเภท คือ เครื่องถือมั่นภาระ การละตัณหาได้เด็ดขาด คือการวางภาระ

(2) พุทธสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่า ทรงหลุดพ้นเพราะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เพราะดับเพราะไม่ยึด รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ พระภิกษุผู้หลุดพ้นโดยปัญญาก็หลุดพ้นด้วยลักษณะอย่างเดียวกัน แต่อะไรเป็นข้อแตกต่างระหว่างพระพุทธเจ้ากับภิกษุผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา

พระองค์ตรัสต่อไปว่า "ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำทางที่ยังไม่เกิดให้เกิด
ยังชุมชนที่ยังไม่รู้จักมรรคาให้รู้จัก บอกทางที่ยังไม่มีใครบอก รู้จักทาง
ประกาศทางให้ปรากฏ ฉลาดในทาง ส่วนสาวกทั้งหลายเป็นผู้ดำเนินตามทาง
เป็นผู้ตามไปภายหลัง อันนี้และเป็นข้อแตกต่างกัน"

(3) ปัญจวัคคิยสูตร สูตรนี้คือ "อนัตตลักขณสูตร" นั้นเอง แต่ในที่นี้เรียกอย่างนี้ เนื้อหาเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการสอนให้ปัญจวัคคีย์พิจารณาขันธ์ 5 โดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา นั้นเอง โดยทรงแยกประเภทประเด็นถามทีละอย่างๆ ให้ผู้ฟังพิจารณาตาม เพื่อให้ได้คำตอบในที่สุด

เนื้อหานั้นเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว แต่ผู้ศึกษามักไม่ทราบว่ามีบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก เล่มไหนบ้าง จึงนำลงไว้ ณ ที่นี้ (มีในพระวินัยปิฎก และในที่นี้

(4) ปิณโฑลยสูตร พระพุทธเจ้าทรงขับไล่พระภิกษุสงฆ์เพราะเหตุเรื่องหนึ่ง (ไม่บอกว่าว่าเรื่องอะไร แต่คงเป็นพระบวชใหม่ต่างถิ่นจะมาเฝ้าพระองค์ ทำเสียงเอะอะไม่สำรวม ดังกล่าวไว้ในสูตรๆ หนึ่ง) ท้าวสหัมบดีพรหมทราบเรื่อง จึงทูลอาราธนาให้อนุเคราะห์ เพราะพระเหล่านั้น "เพิ่งบวชใหม่ เหมือนลูกโคน้อยๆ ไม่เห็นแม่จะรวนเร เหมือนพืชที่ยังอ่อนไม่ได้น้ำจะเฉาตาย" พระพุทธองค์ทรงรับคำอัญเชิญ และทรง ให้ภิกษุเหล่านั้นเข้าเฝ้าตรัสสอนว่า พวกเธอมาบวชอยู่ในพระธรรมวินัยนี้จุดประสงค์เพื่อทำที่สุดทุกข์ ถ้ามากด้วยอภิชฌามีความกำหนัดในกาม มีจิตพยาบาท มีความดำริชั่ว หลงลืมสติ ไร้สัมปชัญญะ ใจไม่เป็นสมาธิ จิตหมุนไปผิดทิศทาง ไม่สำรวมอินทรีย์ จะทำที่สุดทุกข์ได้อย่างไร คนที่มีลักษณะดังกล่าวมานี้

"เรากล่าวว่าเขาเสื่อมจากโภคะแห่งคฤหัสถ์ ไม่ทำความเป็นสมณะให้บริสุทธิ์ ด้วยอุปมาเหมือนดุ้นฟืนในที่เผาศพ ติดไฟทั้งสองข้าง ตรงกลางเปื้อนคูถ จะใช้เป็นฟืนในบ้านก็ไม่ได้ในป่าก็ไม่ได้"


(มีต่อ 27)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 31 ก.ค.2006, 6:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(5) ปุณณมสูตร ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า อุปาทานขันธ์ 5 คืออะไร พระพุทธองค์ตรัสตอบว่าคือ รูปูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์ เธอทูลถามว่า อุปาทานขันธ์ 5 มีอะไรเป็นมูลเหตุ ตรัสตอบว่า "มีฉันทะเป็นมูลเหตุ" เธอทูลถามต่อไปว่าแล้วอุปาทานกับอุปาทานขันธ์อันเดียวกันหรือต่างกัน พระพุทธเจ้าตรัสว่า

"ดูก่อนภิกษุ อุปาทานอันนั้น อุปาทานขันธ์ 5 ก็อันนั้น หามิได้ (อย่างเดียวกันก็มิใช่)
และอุปทานอื่นจากอุปทานขันธ์ 5 นั้นก็มิใช่ (จะแตกต่างกันก็มิใช่)
แต่ฉันทราคะ (ความกำหนัดด้วยความยินดี) ในอุปาทานขันธ์ 5 นั้นแหละเป็นตัวอุปาทาน"

(6) ยมกสูตร พระยมกะ อวดอ้างว่ารู้ทั่วถึงคำสอนของพระศาสดา มีทัศนะว่า พระอรหันต์ตายแล้วจะขาดสูญ ไม่เกิดอีก ภิกษุทั้งหลายห้ามมิให้พูดเช่นนั้นก็ไม่ฟัง พวกเธอจึงขอร้องให้พระสารีบุตรช่วยตักเตือน พระสารีบุตรจึงไปสนทนาด้วย โดยซักถามขันธ์ทีละอย่างว่า เที่ยงหรือไม่เป็นสัตว์บุคคลหรือไม่ สัตว์บุคคลมีในขันธ์ 5 แต่ละอย่างใช่หรือไม่ สัตว์บุคคลอื่นจากขันธ์ 5 แต่ละ อย่างหรือไม่ สัตว์บุคคลอื่นไม่มีในขันธ์ 5 แต่ละอย่างใช่หรือไม่ เมื่อซักไปๆ ก็ค้นหาสัตว์บุคคลในขันธ์ทั้ง 5 ไม่ได้

พระสารีบุตรจึงกล่าวว่า "ท่านยมกะ โดยแท้จริงแล้ว ท่านจะค้นหาสัตว์บุคคลในขันธ์ 5 เหล่านี้ในปัจจุบันมิได้เลย ควรหรือที่ท่านจะยืนยันว่าพระอรหันตขีณาสพเมื่อตายแล้ว ย่อมขาดสูญพินาศ ไม่เกิดอีก"

พระสูตรนี้ใช้คำว่า "ตถาคโต" นักปราชญ์โดยมากแปลว่าพระอรหันต์ แต่ในอรรถกถาแปลว่าสัตว์ทั่วๆ ไป อ่านความเห็นของยมกะและการซักค้านของพระสารีบุตรแล้วไม่น่าจะรับกัน แต่ที่จริงแล้วถ้าใครเห็นว่า ตายแล้วสูญไปก็เท่ากับยอมรับว่า สิ่งที่มีมาแล้วนี้ดับไปเลย จะไม่มีอีกไปชั่วนิรันดร ก็ตกอยู่ในฝ่าย "อุจเฉททิฐิ" หรือ "นัตถิกทิฐิ" แม้พระอรหันต์หมดกิเลสแล้ว ตายแล้วก็ "ดับ" ไปเลย พูดภาษาสามัญก็ว่าไม่เกิดอีกก็ตาม แต่ถ้าใครพูดว่าพระอรหันต์ตายแล้วสูญก็ไม่พ้นอุจเฉททิฐิ เพราะเท่ากับว่า ผู้พูดถือว่าพระอรหันต์เป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์บุคคล ซึ่งมีอยู่ ยังอยู่หลังจากนั้นก็ตาย สูญไปเลย คำซักค้านของพระสารีบุตร ต้องการบอกว่า "แท้ที่จริงแล้ว สัตว์หรือคนไม่มี มีเพียงแต่ขันธ์ 5 เท่านั้น เมื่อคนไม่มีมาตั้งแต่ต้นแล้ว ก็ไม่มีอะไรตาย ไม่มีอะไรสูญ"

(7) วักกลิสูตร พระวักกลิอาพาธหนัก พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมโปรดตรัสถามว่าเป็นอย่างไร พระวักกลิกราบทูลว่า รู้สึกรำคาญที่ต้องนอนแซ่วอยู่อย่างนั้น พระองค์ตรัสถามว่า เธอติเตียนตัวเองโดยศีลหรือไม่ เมื่อเธอกราบทูลว่า ไม่มีเลย จึงตรัสปลอบว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ไม่มีเหตุผลอะไรจะต้องรำคาญใจ พระวักกลิกราบทูลว่า ที่รำคาญเพราะไม่สามารถไปเฝ้าพระพุทธองค์อย่างใกล้ชิด

พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ประโยชน์อะไรด้วยกับการเห็นร่างกายอันเน่าเปื่อยนี้ วักกลิ ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรม" แล้วทรงแสดงธรรมเรื่องความไม่เที่ยงแท้ของขันธ์ 5 ให้ฟัง หลังจากนั้น พระวักกลิ ก็ทำอัตวินิบาตกรรม พระพุทธองค์ตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า พระวักกลิเป็นพระอรหันต์ปรินิพพานแล้ว(ดูข้างท้าย)

(8) เผณปิณฑสูตร ตรัสสอนภิกษุว่า ขันธ์ 5 แต่ละอย่างว่างเปล่า หาสาระมิได้ โดยยกอุปมามาประกอบอย่างน่าฟังคือ

รูป เปรียบเหมือน กลุ่มฟองน้ำ (เผณปิณฑ)
เวทนา เปรียบเหมือน ฟองน้ำ (อุทกปุพฺพุฬุก)
สัญญา เปรียบเหมือน พยับแดด (มรีจิ)
สังขาร เปรียบเหมือน ต้นกล้วย (กทลิขนฺธ)

(9) ปุปผสูตร พระสูตรนี้พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์ไม่ทรงขัดกับ "บัณฑิตทั้งหลาย" ในสองเรื่อง คือสิ่งที่บัณฑิตเขาว่าไม่มี สิ่งที่บัณฑิตเขาว่ามี พระองค์ก็ว่ามี และไม่มีเหมือนกัน แล้วทรงไขว่า

สิ่งที่ไม่มี นั้นคือ ไม่มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เที่ยงไม่เป็นทุกข์ ไม่เปลี่ยนแปลง
"สิ่งที่มี" คือ มีรูป วิญญาณที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเปลี่ยนแปลง

ต่อมาตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า พระองค์ทรงรู้ชัดซึ่งโลกธรรม (ในที่นี้หมายเอาขันธ์ 5) แล้วทรงแสดงให้เป็นที่เข้าใจง่าย แต่ก็ยังมีคนโง่ ไม่รู้ไม่เข้าใจ พระองค์ไม่รู้จะทรงทำอย่างไรกับอันธปุถุชน ผู้โง่เขลา ไร้จักษุ ที่ไม่รู้ไม่เห็น

ท้ายพระสูตรมีพระวจนะที่น่าจดจำมากคือ

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบลก็ดี ปทุมก็ดี บุณฑริกก็ดี เจริญในน้ำ ขึ้นพ้นน้ำ แต่ไม่ติดน้ำ
ฉันใด ตถาคตเกิดในโลก เจริญในโลก ย่อมอยู่เหนือโลก ไม่ติดโลกฉันนั้น"

2.22 ราธสังยุตต์ ประมวลเรื่องพระราธะ พระเถระรูปนี้บวชเมื่อแก่ แต่เป็นพระที่เอื้อเฟื้อต่อสิกขา ว่าง่าย ราธสังยุตต์ 10 สูตรสั้นๆ เป็นปัญหาที่ทูลถามพระพุทธเจ้า หรือไม่ก็เป็นพระธรรมเทศนาพระพุทธองค์แสดงแก่ท่านในโอกาสต่างๆ ขอนำมาแสดงเพียงสูตรเดียว

(1) มารสูตร พระราธะทูลถามว่าที่เรียกว่า มารๆ นั้น ได้แก่อะไร พระพุทธเจ้าตรัสว่า รูป เวทนา สังขาร วิญญาณ มี มารจึงมี จงพิจารณาให้เห็นว่า รูป เป็นต้น นั้นเป็นมาร เป็นความทุกข์ เป็นตัวทุกข์ พระเถระทูลถามต่อไปว่า

"ความเห็นชอบนั้น มีประโยชน์อย่างไร" ตรัสว่า "มีประโยชน์ช่วยให้เบื่อหน่าย"
"ความเบื่อหน่าย มีประโยชน์อะไร" "เพื่อให้คลายกำหนัด"
"คลายกำหนัด มีประโยชน์อะไร" "เพื่อให้หลุดพ้น"
"คลามหลุดพ้น มีประโยชน์อะไร" "เพื่อนิพพาน"
"นิพพาน มีประโยชน์อะไร"

เมื่อราธะทูลถามถึงตอนนี้ พระพุทธองค์ตรัสปราม ราธะว่า "เธอเลยธงไปแล้ว (ถามนอกขอบ ขอบเขตหรือนอกประเด็น) เธอไม่อาจกำหนดที่สุดของปัญหาได้ (คือ ถ้าถามอย่างนี้ก็ถามกันไม่รู้จบ) กุลบุตรประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อเข้าถึงนิพพาน นิพพานเป็นจุดหมายสูงสุดของการประพฤติพรหมจรรย์"

2.23 ทิฏฐิสังยุตต์ ประมวลเรื่องเกี่ยวกับขันธ์ 5 ว่าแต่ละอย่างเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอย่างไรบ้าง เกี่ยวกับความเห็นว่า เที่ยงหรือไม่เที่ยงบ้าง ความเห็นว่าสัตว์ตายแล้วเกิดหรือไม่เกิดบ้าง

2.24 โอกกันตสังยุตต์ ประมวลเรื่องผู้ก้าวพ้นภูมิปุถุชน ก้าวลงสู่ภูมิสัปปุริสชนที่ไม่กระทำกรรมเพื่อเข้าถึงกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน เปรตวิสัย หรือนรก สังยุตต์นี้มีสูตรสั้นๆ พูดถึงสัทธานุสารีบุคคลและธัมมานุสารีบุคคล (ได้แก่ผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค)

2.25 อุปปาทสังยุตต์ ประมวลเรื่องความเกิดขึ้นแห่ง ตา หู จมูก ลิ้น เป็นต้น ในความหมายทางธรรม แสดงว่า เมื่อใดเกิด ตา หู จมูก ลิ้น เป็นต้น เมื่อนั้นกระบวนแห่งความทุกข์ย่อมเป็นไป สังยุตต์นี้มี สูตรสั้นๆ 10 สูตร เช่เนดียวกับโอกกันตสังยุตต์

2.26 กิเลสสังยุตต์ ประมวลเรื่องกิเลส ว่าด้วยความกำหนัดยินดีที่เกิดขึ้นในใจ เมื่อได้เห็นรูปที่น่าพอใจ ได้สัมผัสที่น่าพอใจ ได้เสวยเวทนาที่น่าพอใจ เป็นต้น มีทั้งหมด 10 สูตร สั้นๆ

2.27 สารีปุตตสังยุตต์ ประมวลเรื่องพระสารีบุตร มีทั้งหมด 10 สูตร สั้นๆ ส่วนมากเป็นเรื่องที่พระอานนท์ถามท่านว่า ทำไมท่านมีสีหน้าผ่องใสนัก ท่านอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร พระสารีบุตรตอบว่า เพิ่งออกจากการเข้าฌาน ระดับนั้น ระดับนี้ เป็นต้น


(มีต่อ 28)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2006, 12:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีสูตรที่น่าสนใจสูตรหนึ่งชื่อ สุจิมุขีสูตร (เป็นโกอานหรือปริศนาธรรม) ขอยกมาเพื่อศึกษาดังนี้

(1) สุจิมุขีสูตร พระสารีบุตรเข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ในเช้าวันหนึ่ง ได้อาหารพอฉันแล้วก็นั่งฉัน ใกล้ข้างฝาแห่งหนึ่ง ปริพาชิกา ชื่อสุจิมุขีเข้าไปหาท่าน กล่าวว่า

"สมณะ ท่านก้มหน้าฉันอาหารหรือ"

"เรามิได้ก้มหน้าฉัน" พระเถระตอบ

"ถ้าอย่างนั้น ท่านแหงนหน้าฉัน"

"เรามิได้แหงนหน้าฉัน"

"ถ้าอย่างนั้น ท่านก็มองดูทิศใหญ่ฉัน"

"เรามิได้มองดูทิศใหญ่ฉัน"

"ถ้าอย่างนั้นก็มองดู ทิศน้อยฉัน"

"เรามิได้มองดูทิศน้อยฉัน"

"สมณะ ถ้าอย่างนั้นท่านฉันอย่างไรเล่า"

พระเถระกล่าวว่า "สมณพราหมณ์เหล่าใด เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพ ด้วยดิรัจฉานวิชา คือวิชาดูพื้นที่สมณพราหมณ์เหล่านั้นเรียกว่า "ก้มหน้าฉัน" พวกสมณพราหมณ์ที่เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพคือวิชาดูดาวนักษัตร เรียกว่า "แหงนหน้าฉัน" พวกสมณพราหมณ์ที่เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพ ด้วยการรับส่งข่าวสาร เรียกว่า "มองดูทิศใหญ่ฉัน" พวกสมณพราหมณ์ที่เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพ ด้วยดิรัจฉานวิชา ด้วยการทายอวัยวะ เรียกว่า "มองดูทิศน้อยฉัน" แต่เรามิได้เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพเหล่านั้นแสวงหาภิกษาโดยธรรมแล้วจึงฉัน"

2.28 นาคสังยุตต์ ประมวลเรื่องนาค เล่าเรื่องนาค 4 ประเภท คือ นาคที่เกิดจากไข่ 1, นาคที่เกิดจากเถ้าไคล (ของโสโครก) 1, นาคที่เกิดในน้ำ 1, นาคที่เป็นโอปปาติกะ 1, เป็นการตอบคำถามของภิกษุที่กราบทูลถาม (นาคที่แปลงเป็นมนุษย์มาขอบวช ที่เล่าไว้ในพระวินัยปิฎก คงเป็นนาคประเภทโอปปาติกะกระมัง)

2.29 สุปัณณสังยุตต์ ประมวลเรื่องครุฑ กล่าวถึงครุฑ 4 ประเภท ตามคำทูลถามของภิกษุสาวกเช่นเดียวกัน

2.30 คันธัพพกายสังยุตต์ ประมวลเรื่องคนธรรพ์ กล่าวกันว่าคนธรรพ์คือเทพที่สิงสถิตอยู่ตามต้นไม้ที่มีกลิ่นราก แก่น กระพี้ สะเก็ด ใบ ดอก ผล รส กลิ่น ทรงเล่าให้พระสาวกฟังถึงสาเหตุที่มนุษย์บางจำพวกไปเกิดเป็นคนธรรพ์เหล่านั้น

2.31 วลาหกสังยุตต์ ประมวลเรื่องเมฆ กล่าวถึง เทพเมฆหนาว เทพเมฆร้อน เทพเมฆหมอก เทพเมฆลม เทพเมฆฝน

2.32 วัจฉโคตตสังยุตต์ ประมวลเรื่องวัจฉโคตรปริพาชก ปริพาชกทูลถามปัญหาต่างๆ เช่นความเห็นว่าโลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด และสาเหตุที่ทำให้คนมีความเห็นเช่นนั้น

2.33 สมาธิสังยุตต์ ประมวลเรื่องสมาธิ ตอบปัญหาของภิกษุเกี่ยวกับบุคคล 4 ประเภทคือ (1) บางคนฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ (2) บางคนฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ (3) บางคนฉลาดทั้งสองอย่างข้างต้น (4) บางคนไม่ฉลาดทั้งสองอย่างข้างต้น


(4) สฬายตนวรรค

2.34 สฬายตนสังยุตต์ ประมวลเรื่องอายตนะ 6 ว่าด้วยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของอายตนะภายใน อายตนะภายนอก ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่สาวกในโอกาสต่างๆ รวมถึงการประทานพระโอวาทแก่ภิกษุผู้อาพาธหนัก เพื่อให้พิจารณาเห็นสัจจะแห่งชีวิต (น่าสังเกตว่าพระพุทธองค์ทรงให้ความสนใจเรื่องนี้เป็นพิเศษ) จะขอประมวลมาเพียงสูตรดังนี้

(1) โลกสูตร ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ที่เรียกว่าโลกๆ นั้น ได้แก่อะไร พระพุทธองค์ตรัสว่าที่เรียกว่าโลกเพราะจะต้องแตกสลาย จักษุแตกสลาย รูปแตกสลาย จักษุวิญญาณแตกสลาย จักษุสัมผัสแตกสลาย สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยแตกสลาย ฯลฯ ใจแตกสลาย ธรรมารมณ์แตกสลาย มโนวิญญาณแตกสลาย สุขเวทนา ทุกขเวทนาหรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยแตกสลาย ที่เรียกว่าโลก เพราะจะต้องแตกสลายอย่างนี้

(2) สุญญสูตร พระอานนท์ทูลถามว่า ที่ว่าโลกว่างๆ นั้น ว่างจากอะไร พระพุทธองค์ตรัสว่าที่เรียกว่าโลกว่างๆ เพราะว่างจาก "ตัวฉัน" จักษุว่างเปล่า รูปว่างเปล่า จักษุวิญญาณว่างเปล่า จักษุสัมผัสว่างเปล่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ว่างเปล่า จาก "ตัวฉัน" จาก "ของฉัน" ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ว่างเปล่าจาก "ตัวฉัน" จาก "ของฉัน" ฉะนั้น จึงเรียกว่าโลกว่างเปล่า

(3) อุทกสูตร พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระภิกษุทั้งหลายว่า อุทกดาบส รามบุตร อาจารย์เก่าของพระองค์คุยว่าตนรู้จบพระเวท เป็นผู้ชนะทุกอย่าง ขุดรากเหง้าของทุกข์ แต่ที่จริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ ภิกษุที่รู้การเกิดดับ คุณ โทษ และการสลัดออกซึ่งผัสสายตนะ 6 ตามเป็นจริงแล้วหลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น จึงจะเรียกว่าผู้ชนะทุกอย่าง ผู้ที่ละตัณหาซึ่งเรียกว่าคัณฑมูล (รากเหง้าแห่งทุกข์) ขุดรากถอนโคนไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป จึงจะเรียกว่าผู้ขุดรากเหง้าของทุกข์

(4) เวสาลีสูตร อุคคะคฤหบดี ทูลถามว่า อะไรเป็นเงื่อนไขให้สัตว์บางจำพวกไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน บางจำพวกปรินิพพานในปัจจุบัน พระพุทธเจ้าตรัสว่า รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด หากภิกษุเพลิดเพลินหมกมุ่นพัวพัน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์นั้น วิญญาณอันอาศัยตัณหาก็จะเกิดอุปาทานอันอาศัยตัณหาก็จะเกิด ผู้ที่มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน ผู้ที่ปรินิพพานในปัจจุบัน พึงทราบโดยนัยตรงกันข้าม

(5) ภารทวาชสูตร พระเจ้าอุเทนตรัสถามพระปิณโฑลภารทวาชะว่า อะไรเป็นเงื่อนไขให้พระหนุ่มแน่น เยาว์วัย ผมดำสนิท ยังไม่หมดความรู้สึกทางกามารมณ์ ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ตลอดชีวิต พระปิณโฑลภารทวาชะตอบว่า เพราะปฏิบัติตามพระโอวาทของพระศาสดาว่าให้คิดว่าสตรีที่อยู่ในวัยปูนพี่สาว น้องสาว เป็นพี่สาว น้องสาวของตน สตรีปูนลูกสาวเป็นลูกสาวของตน


(มีต่อ 29)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 07 ส.ค. 2006, 12:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระราชาทรงซักต่อไปว่า ธรรมดาจิตของคนมักโลเล บางครั้งอาจไม่คิดเช่นนั้นก็ได้ มีเงื่อนไขอีกหรือไม่ พระปิณโฑลภารทวาชะตอบว่า ให้พิจารณาร่างกายนี้ตั้งแต่ปลายเท้าจดศีรษะ อันมีหนังหุ้มโดยโดยรอบ ให้เห็นความไม่สะอาดต่างๆ อยู่ในร่างกายนี้ ไม่ว่าจะเป็นผม ขน เล็บ หนัง หรือส่วนอื่นๆ

พระราชาตรัสว่าบางครั้ง ทั้งที่ทำในใจว่าไม่งามแต่ยังเห็นว่ามันงาม จะมีเงื่อนไขอื่นอีกหรือไม่ พระเถระตอบว่าเวลาเห็นรูปด้วยตา อย่าถือเอาโดยนิมิต (คืออย่ามองรวม) อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ (อย่ามองแยก) ให้สำรวมอินทรีย์ พยายามมิให้อกุศลธรรมครอบงำ เวลาได้ยินเสียง สูดกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องสัมผัส คิดมโนภาพ ก็ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกัน ภิกษุหนุ่มแน่น เยาว์วัย ผมดำสนิท ที่ยังไม่หมดความรู้สึกทางกามารมณ์ ปฏิบัติได้อย่างนี้ จะสามารถประพฤติพรหมจรรย์ได้บริสุทธิ์บริบูรณ์ตลอดชีวิต

(6) เวรหัญจานีสูตร นางเวรหัญจานีโคตร อยากสนทนาธรรมกับพระอุทายี จึงนิมนต์ท่านไปฉันที่บ้าน ตามคำแนะนำของมานพผู้เป็นศิษย์ แต่ไม่แสดงความเคารพ นั่งบนอาสนะสูง สวมรองเท้า คลุมศีรษะ พระเถระไม่สนทนาด้วย บอกว่าเอาไว้วันหลัง ต่อเมื่อรู้สึกตัวผิด จึงนิมนต์ท่านไปฉันอีก แสดงความเคารพ นั่งอาสนะต่ำกว่า ไม่สวมรองเท้า ไม่คลุมศีรษะนางถามพระเถระว่า เมื่ออะไรมี พระอรหันต์ทั้งหลายจึงบัญญัติว่า สุขและทุกข์มี เมื่ออะไรไม่มี จึงบัญญัติว่าสุขและทุกข์ไม่มี

พระเถระตอบว่า เมื่อจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน มี พระอรหันต์ทั้งหลายบัญญัติว่า สุขและทุกข์มี เมื่อจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ไม่มี จึงบัญญัติว่า สุขและทุกข์ไม่มี คำว่า "มี" "ไม่มี" ในทางธรรม หมายถึง เวลาที่อายตนะเหล่านั้น พร้อมที่จะทำหน้าที่ เวลาธรรมดาถึงมันจะมีท่านก็ไม่นับว่ามี)

(7) ขณสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่า มีนรกชื่อผัสสายตนิกนรก มีสวรรค์ชื่อผัสสายตนิกสวรรค์ โดยอธิบายว่า ถ้าเห็นรูป ได้ยินเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องสัมผัส คิมมโนภาพอะไร เห็นว่าไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ อย่างนี้เรียกว่า ผัสสายตนิกนรก ถ้าเห็นรูป ได้ยินเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องสัมผัส คิดมโนภาพอะไร เห็นว่ามันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจไปเสียหมด อย่างนี้เรียกว่า ผัสสายตนิกสวรรค์

พระสูตรนี้แสดงว่า นรก สวรรค์ อยู่ที่ ตา หู เป็นต้น ดังคำพังเพยไทยว่า สวรรค์ในอกนรกในใจ

(8) กัมมสูตร ทรงแสดงกรรมเก่า กรรมใหม่ และทางดับกรรม ในแนวที่ต่างจากที่แสดงในที่อื่นคือ กรรมเก่า หมายถึง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กรรมใหม่หมายถึง กรรมที่บุคคลกระทำ ทาง กาย วาจา และใจ ในบัดนี้ ทางดับกรรมคืออริยมรรคมีองค์ 8

(9) โกฏฐิกสูตร พระโกฏฐิกะถามพระสารีบุตรว่า ตาเกาะเกี่ยวรูป (แสงสี) หูเกาะเกี่ยวเสียง จมูกเกาะเกี่ยวลิ้น ลิ้นเกาะเกี่ยวรส กายเกาะเกี่ยวสัมผัส ใจเกาะเกี่ยวมโนภาพหรือ พระสารีบุตรย้อนถามว่า โคขาวกับโคดำ เขาเอาเชือกผูกติดกันไว้ อยากทราบว่าโคขาวติดกับโคดำหรือไม่ พระโกฏฐิกะตอบว่าหามิได้ เชือกเท่านั้นที่ทำให้โคดำกับโคขาวเนื่องกัน พระสารีบุตรจึงวิสัชนาว่า

ตามิได้เกาะเกี่ยวรูป หูมิได้เกาะเกี่ยวเสียง จมูกมิได้เกาะเกี่ยวกลิ่น ลิ้นมิได้เกาะเกี่ยวรส กายมิได้เกาะเกี่ยวสัมผัส ใจมิได้เกาะเกี่ยวมโนภาพ ความรักใคร่พอใจ ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส มโนภาพ เหล่านั้นต่างหากที่เป็นตัวผูกสิ่งเหล่านั้นเนื่องกัน

(10) อาทิตตปริยายสูตร พระพุทธเจ้าตรัสสอนพระปัญจวัคคีย์ว่า ทุกอย่างเป็นของร้อน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ร้อน สัมผัสเกิดจาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ร้อน เวทนาเกิดจากสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ร้อน ร้อนด้วยไฟราคะ โทสะ โมหะ ร้อนด้วยไฟ คือ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส

(11) อาสีวิสสูตร พระสูตรนี้เป็นคำเปรียบเทียบน่าสนใจ ความว่า มีคนมาบอกชายคนหนึ่งว่ามีอสรพิษ 4 ตัว จะต้องดูแลให้ดี ปลุกตามเวลา อาบน้ำให้ตามเวลา ให้กินตามเวลา ให้เข้าที่อยู่ตามเวลา ถ้าตัวใดตัวหนึ่งโกรธขึ้นมา อาจกัดเจ้าของถึงตาย มีอะไรจะต้องทำให้รีบทำเสีย ชายคนนั้นกลัวอสรพิษ 4 ตัวนั้น จึงหนีไปที่อื่น มีคนมาบอกว่ามีเพชฌฆาตอยู่ 5 คน ไล่ตามหลังมาพบท่านที่ใด จะฆ่าท่านที่นั่นทันที เขาวิ่งหนีต่อไปด้วยความกลัว มีคนบอกเขาอีกว่ายังมีพวกโจรเหาะเหินเดินอากาศได้ เงื้อดาบไล่หลังท่านมา พบท่านที่ใด จะตัดศีรษะท่าน มีอะไรจะต้องทำให้รีบทำเสีย

เขากลัวอสรพิษ กลัวเพชฌฆาต 5 คน กลัวพวกโจร วิ่งหนีเข้าไปในบ้านร้างหลังหนึ่ง ลูบคลำภาชนะว่างเปล่าชนิดหนึ่ง มีคนบอกว่ามีโจรคอยดักฆ่าคนที่เข้ามายังบ้านหลังนี้เสมอ มีอะไรจะทำให้รีบทำเสีย เขารีบหนีไปอีก พบห้วงน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง ฝั่งนี้เต็มไปด้วยอันตราย ฝั่งโน้นปลอดภัย เขาหาไม้มาผูกเป็นแพแล้ว พยายามแจวหรือพายจนข้ามไปยังฝั่งโน้นโดยสวัสดี

พระพุทธองค์ตรัสอุปมาดังนี้ ตรัสอุปไมยว่า

อสรพิษทั้ง 4 คือ มหาภูต 4 (ดิน น้ำ ลม ไฟ)

เพชฌฆาต 5 คนแรก คือ เบญจขันธ์ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)

พวกโจร คือ นันทิราคะ (ความกำหนัดยินดีด้วยความเพลิน, ความเพลิดเพลินยินดี)

บ้านร้าง คือ อายตนะภายใน 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

ห้วงน้ำใหญ่ คือ โอฆะ 4 (กาม ภพ ทิฐิ อวิชชา)

ฝั่งนี้ คือ ร่างกายของคนเรา

ฝั่งโน้น คือ พระนิพพาน

แพ คืออริยมรรคมีองค์ 8

การพยายามแจว หรือพายเรือด้วยมือและเท้า คือการทำความเพียร

การถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดี คือ การบรรลุพระอรหัต

(12) ทารุขันธสูตร พระพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็นขอนไม้ลอยมา จึงตรัสแก่เหล่าสาวกว่า ถ้าขอนไม้นั้นไม่เข้าฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น จักไม่จมในระหว่าง ไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์จับเอาไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนพัด ไม่เน่าเสียภายใน มันจักลอยเรื่อยไปยังมหาสมุทร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอไม่แวะฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น ก็จักไม่เกยบก ไม่จมในระหว่าง ไม่ถูกอมนุษย์จับเอาไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนพัดไม่เน่าเสียภายใน เช่นเดียวกัน ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ที่พระองค์ตรัสหมายความว่าอย่างไร

พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า

ฝั่งนี้ คืออายตะภายใน 6

ฝั่งโน้น คืออายตนะภายนอก 6

การจมในระหว่าง คือ นันทิราคะ (ความเพลิดเพลินยินดี)

เกยบก คืออัสสิมานะ (ถือว่าตัวกู)

ถูกมนุษย์จับไว้ หมายถึง พระที่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ร่วมสุขร่วมทุกข์กับพวกเขา ช่วยเหลือทำกิจให้พวกเขา

ถูกอมนุษย์จับไว้ หมายถึง พระที่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อไปเกิดในเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง

เกลียวน้ำวน คือ กามคุณ 5

เน่าเสียภายใน หมายถึง ทุศีล มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีธรรมลามก ไม่บริสุทธิ์ มีการกระทำซ่อนเร้น ไม่ประพฤติพรหมจรรย์อ้างว่าประพฤติ มีกิเลสหนา เน่าเสียภายใน ดุจขยะ เน่าเหม็น


(มีต่อ 30)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 11 ส.ค. 2006, 12:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(13) ฉัปปาณสูตร ตรัสสอน สังวร หรือการสำรวมอินทรีย์เหมือนจับสัตว์ 6 ชนิดมัดรวมไว้ที่เดียวกัน ย่อมเป็นการลำบากยิ่ง

สัตว์ 6 ชนิด ที่มีวิสัยต่างกัน มีโคจร (ที่หากิน) ต่างกัน ถูกจับมาผูกติดกันไว้คือ งู จระเข้ นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง ต่างฝ่ายต่างก็จะดึงไปยังฝั่งที่ตนเคยชิน งูก็จะดึงไปสู่จอมปลวก จระเข้ก็จะดึงลงน้ำ นกก็จะบินขึ้นฟ้า สุนัขบ้านก็จะเข้าบ้าน สุนัขจิ้งจอกก็จะเข้าป่า ดึงกันไปดึงกันมา ตัวไหนมีกำลังมากก็จะลากตัวอื่นตามไปด้วย

ภิกษุที่ไม่อบรมกายคตาสติ ก็ตกอยู่ในสภาพเช่นเดียวกัน ย่อมถูกตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ดึงไปสู่ทางที่มันเคยชิน เพราะฉะนั้นพวกเธอทั้งหลายพึงตั้งใจอบรมกายคตาสติให้มากเถิด

2.35 เวทนาสังยุตต์ ประมวลเรื่องเวทนา ทรงแสดงเวทนาโดยละเอียดในแง่มุมต่างๆ จำแนกประเภทเวทนาออกเป็นหลายประเภท เช่น เวทนา 3 เวทนา 5 เวทนา 6 เวทนา 8 ทรงชี้ความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับพระอริยเจ้าว่า ถึงแม้จะเสวยเวทนาเหมือนกัน ปุถุชนย่อมเสวยทั้งทางกายและทางใจ ส่วนอริยบุคคลเสวยเฉพาะเวทนาทางกาย เป็นต้น

2.36 มาตุคามสังยุตต์ ประมวลเรื่องสตรี เช่นกล่าวถึงสตรีที่มีคุณสมบัติเท่าไรจึงจะเป็นที่ถูกใจและไม่ถูกใจบุรุษ กล่าวถึงทุกข์ของสตรี กล่าวถึงธรรมที่ทำให้สตรีเข้าสู่อบายและสุคติ เป็นต้น

2.37 ชัมพุขาทกสังยุตต์ ประมวลเรื่องปริพาชกชื่อชัมพุขาทกะ สังยุตต์นี้ได้บันทึกคำตอบปัญหาธรรมของพระสารีบุตร ที่ปริพาชกนี้ไปถามท่าน เป็นการให้คำจำกัดความสั้นๆ น่าสนใจ ขอนำมาบางส่วนมาแสดงไว้ในที่นี้

ถาม นิพพานคืออะไร
ตอบ คือความสิ้นราคะ โทสะ และโมหะ

ถาม อรหัต คืออะไร
ตอบ คือธรรมเป็นที่สิ้นราคะ โทสะ และโมหะ

ถาม การประพฤติพรหมจรรย์ มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ มีประโยชน์เพื่อ มีกำหนดรู้ทุกข์

ถาม ทุกข์คืออะไร
ตอบ คือทุกขทุกข์ (ทุกข์กาย-ใจ) สังขารทุกข์ (ทุกข์คือ เบญจขันธ์) วิปริณามทุกข์ (ทุกข์คือ ความเปลี่ยนแปลง)

2.38 สามัณฑสังยุตต์ มีสูตรสั้นๆ เพียงสูตรเดียว พระสารีบุตรตอบคำถามสามัณฑปริพาชกเกี่ยวกับความหมายของนิพพานและทางบรรลุนิพพาน

2.39 โมคคัลลานสังยุตต์ ประมวลเรื่องพระโมคคัลลานะ ส่วนมากเป็นโอวาทที่ท่านพระมหาโมคคัลลานะ สอนภิกษุทั้งหลาย เช่น เรื่องรูปฌาน อรูปฌาน ที่แสดงแก่ท้าวสักกะเทวราชก็มีบ้าง

2.40 จิตตคหปติสังยุตต์ ประมวลเรื่องคฤหบดีชื่อจิตตะ จิตตคฤหบดีเป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึกและมีความอ่อนน้อมต่อพระสงฆ์มาก เธอมักหาเวลาไปสนทนาธรรมกับพระภิกษุสงฆ์เสมอ สังยุตต์นี้เป็นการประมวลบทสนทนาธรรมหัวข้อต่างๆ เช่น กายสังขาร วจีสังขาร สัญญาเวทยิตนิโรธวิมุติ มีสูตรที่น่าสนใจสำหรับชาวพุทธทั่วไปสูตรหนึ่ง คือ คิลานสูตร ขอนำมาลงโดยย่อ

(1) คิลานสูตร จิตตคฤหบดีป่วยหนัก พวกเทวดาที่สิงสถิตตามสวนป่า และตามต้นไม้มาบอกว่าคนที่มีศีล มีกัลยาณธรรมเช่นท่าน แม้ปรารถนาเป็นพระจักรพรรดิในชาติหน้าก็ย่อมได้คฤหบดีตอบว่า "แม้ราชสมบัติก็ไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน จำต้องละไปในที่สุด" พวกญาติที่นั่งเฝ้าไข้อยู่นึกว่าท่านคฤหบดีเพ้อ จึงกล่าวว่าจงตั้งสติให้ดี อย่าเพ้อเลย คฤหบดีบอกพวกญาติว่าตนมิได้เพ้อเพียงแต่ปฏิเสธคำเชิญชวนของพวกเทวดาที่มาขอให้ปรารถนาราชสมบัติในชาติหน้า เพราะเห็นว่าราชสมบัติก็ไม่เที่ยงแท้ยั่งยืนจำต้องละไปในที่สุด (ยังมีสิ่งอื่นที่ดีกว่า)

เมื่อพวกญาติขอให้สอนสิ่งที่ดีกว่านั้น จิตตคฤหบดีได้สอนพวกเขาว่า

"สูเจ้าจงสำเหนียกศึกษาว่า เราจักประกอบด้วยศรัทธาอันไม่หวั่นไหวคลอนแคลน ในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์"

2.41 คามณิสังยุตต์ ประมวลเรื่องนายบ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน) เป็นเทศนาที่แสดงแก่นายบ้านหลายคนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่เป็นธรรมพื้นฐาน เช่น การใช้สอยโภคทรัพย์ เรื่องศีล 5 เป็นต้น ขอนำมากล่าวเพียงบางสูตร

(1) อสังขาสูตร นายบ้านคนหนึ่งชื่ออสิพันธกบุตร เป็นสาวกของนิครนถ์นาฏบุตร (มหาวีระ) กล่าวกับพระพุทธเจ้าว่า อาจารย์เขาสอนว่า คนที่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดในกาม พูดเท็จ ตกนรกไปอบายหมด กรรมใดที่มีมากๆ กรรมนั้นแหละจะนำคนไป

พระพุทธเจ้าทรงย้อนถามเขาว่า ธรรมดาคนเราเวลาที่ทำกรรมชั่ว กับเวลาที่ไม่ทำกรรมชั่วอย่างไหนจะมากกว่ากัน เมื่อเขาทูลตอบว่า เวลาที่ไม่ทำกรรมชั่ว พระองค์จึงตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นอาจารย์ของท่านสอนว่ากรรมใดมีมากกรรมนั้นก็จะนำคนไป นั้นไม่ถูก บุคคลที่ยกมากล่าวถึงนี้ก็ไม่ตกนรก ไม่ไปอบาย (เพราะเวลาที่เขาไม่ทำกรรมชั่วมีมากกว่า) พระพุทธองค์ตรัสต่อไปว่า พระองค์ตำหนิการทำปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร โดยอเนกปริยาย สอนให้สาวกงดเว้นจากการทำบาปเหล่านั้น เหล่าสาวกของพระองค์ต่างคนต่างเคยผิดพลาดทำปาณาติบาต เป็นต้น คนละไม่มากก็น้อย แต่ตั้งใจงดเว้น เลิกละปาณาติบาต เป็นต้น เมื่อเจริญเมตตาเจโตวิมุติ และอุเบกขาเจโตวิมุติ บาปกรรมที่ทำไว้มากบ้างน้อยบ้าง ก็จักหมดไปเอง

2.42 อสังขตสังยุตต์ ประมวลเรื่อง อสังขตะ (พระนิพพาน) ทรงทำให้คำจำกัดความสังขตะว่าได้แก่ "ความสิ้นราคะ โทสะ โมหะ" แล้วทรงแสดงทางไปสู่อสังขตะหลายนัย เช่น สมถะและวิปัสสนา สมาธิที่มีทั้งวิตกและวิจาร สมาธิที่มีแต่วิตกไม่มีวิจาร สมาธิที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร อัปปณิหิตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ สุญญตสมาธิ สติปัฏฐาน เป็นต้น

2.43 อัพยากตสังยุตต์ ประมวลเรื่องที่พระพุทธเจ้าไม่ตอบ ซึ่งได้แก่ปัญหาโลกเที่ยงหรือไม่ โลกมีที่สุดหรือไม่ สัตว์ตายแล้วเกิดใหม่อีกหรือไม่ เป็นต้น ที่นักปราชญ์มักถามกัน ทั้งๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศท่าทีที่ชัดเจนต่อปัญหาเหล่านั้น ก็มีพระสาวกบางรูปให้ความสนใจอยู่ เมื่อไม่กล้าถามพระพุทธเจ้า ก็ไปถามพระเถระรูปอื่น เช่น พระสารีบุตร พระสารีบุตรตอบได้คำเดียวว่า "ปัญหาข้อนี้พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์"


(มีต่อ 31)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 14 ส.ค. 2006, 11:45 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(5) มหาวารวรรค

2.44 มัคคสังยุตต์ ประมวลเรื่องมรรค พูดถึงมรรคมีองค์ 8 ในรายละเอียดต่างๆ ขอยกมาพอเป็นตัวอย่าง

(1) อุปัฑฒสูตร พระอานนท์กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า ความมีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นับว่าเป็นกึ่งหนึ่งของพรหมจรรย์ (หมายความว่าคนที่มาขอบวชแล้ว ถ้าได้กัลยาณมิตร ก็จะสำเร็จประโยชน์ไปกึ่งหนึ่งแล้ว) พระพุทธเจ้าตรัสห้ามมิให้คิดอย่างนั้น เพราะความมีมิตรที่ดี สหายที่ดี เพื่อนที่ดี นับว่าเป็น "ทั้งหมด" ของพรหมจรรย์ทีเดียว ภิกษุที่มีมิตรดี สหายดี เพื่อนดีย่อมทำมรรคมีองค์ 8 ให้เจริญได้

(2) พราหมณสูตร พระอานนท์เข้าไปบิณฑบาต เห็นรถม้าขาว สวยงาม คนลือว่าเป็นรถที่ประเสริฐสุดในเมือง พระอานนท์กลับจากบิณฑบาต เข้าไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่าในธรรมวินัยของพระองค์ มียานอะไรที่ประเสริฐที่สุด พระพุทธเจ้าตรัสว่า มรรคมีองค์ 8 นี้แหละประเสริฐสุด จะเรียกว่าพรหมยานก็ได้ ธรรมยานก็ได้ รถพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมก็ได้

"รถคันนี้ มีศรัทธากับปัญญาเป็นเอก มีศรัทธาเป็นทูบ มีหิริเป็นงอน มีใจเป็นเชือก มีสติเป็นสารถี มีศีลเป็นเครื่องประดับ มีญาณเป็นเพลา มีความเพียรเป็นล้อ มีอุเบกขากับสมาธิเป็นทูบ มีความไม่อยากเป็นประทุน มีความไม่พยาบาท ความไม่เบียดเบียนและวิเวกเป็นอาวุธ มีความอดทนเป็นเกราะ ย่อมเป็นไปเพื่อเกษมจากโยคะอาศัยพรหมยาน (รถที่ประเสริฐ) นี้ นักปราชญ์ย่อมออกจากโลก ได้ชัยชนะอย่างแน่แท้"

(3) กัลยาณมิตตสูตรที่ 1 พระพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นย่อมมีแสงเงินแสงทองเป็นนิมิตมาก่อน ความมีมิตรที่ดี ก็เป็นบุพนิมิตของอริยมรรคมีองค์ 8 เช่นเดียวกัน

(4) โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ 2 พระองค์ตรัสว่า เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น ย่อมมีแสงเงินแสงทองเป็นนิมิตมาก่อน ความมีโยนิโสมนสิการ (คิดอย่างรอบคอบ) ก็เป็นบุพนิมิตแห่งอริยมรรคมีองค์ 8 เช่นเดียวกัน

(5) นทีสูตร พระพุทธเจ้าตรัสถามพระสาวกทั้งปวงว่า แม่น้ำคงคาที่ไหลอยู่นั้น ใครจะทำให้มันไหลกลับได้หรือไม่ เมื่อพระสาวกทั้งหลายกราบทูลว่าไม่ได้ จึงตรัสตอบไปว่า ภิกษุผู้เจริญอริยมรรคมีองค์ 8 ก็เช่นกัน ไม่มีใครสามารถหวนกลับได้ เธอไม่มีทางลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์เพราะจิตของเธอน้อมไป เอนเอียงไป โน้มไปสู่วิเวกเสียแล้ว

2.45 โพชฌังคสังยุตต์ ประมวลเรื่องโพชฌงค์ 7 ในแง่มุมต่างๆ เช่น ผู้เจริญโพชฌงค์เป็นใหญ่ในธรรมทั้งปวง โพชฌงค์ 7 ไม่มีนอกพระพุทธศาสนา พระมหากัสสปะและพระพุทธเจ้าหายจากโรคาพาธเพราะ (ฟังสวด) โพชฌงค์ คนที่ไม่เจริญโพชฌงค์เรียกว่าคนโง่ ใบ้ จน เป็นต้น ในที่นี้ขอยกมาเพียงบางสูตร

(1) กายสูตร ตรัสถึงอาหารที่หล่อเลี้ยงวิวรณ์ 5 และโพชฌงค์ 7 ดังนี้

การนึกแต่เรื่องสวยงาม (สุภนิมิต) เป็นอาหารของกามฉันท์

การนึกแต่เรื่องที่ทำให้ขุ่นเคืองใจ (ปฏิฆนิมิต) เป็นอาหารของพยาบาท

การนึกถึงแต่เรื่องไม่ยินดี-เกียจคร้าน-บิดขี้เกียจ-เมาอาหาร และเรื่องที่ทำให้ใจหดหู่ เป็นอาหารของ ถีนมิทธะ

การนึกถึงแต่เรื่องที่ไม่สงบแห่งจิต เป็นอาหารของ อุทธัจจกุกกุจจะ

การพิจารณาโดยรอบคอบว่าธรรมใดดีหรือไม่ดี

มีโทษหรือไม่มีโทษ เลวหรือประณีต ดำหรือขาว เป็นอาหารของ ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์

การพิจารณาโดยรอบคอบในความดำริริเริ่ม

พยายาม บากบั่น เป็นอาหารของ วิริยสัมโพชฌงค์

การพิจารณาโดยรอบคอบซึ่งธรรม

เป็นที่ตั้งของความอิ่มใจ เป็นอาหารของ ปีติสัมโพชฌงค์

การพิจารณาโดยรอบคอบ

ซึ่งความสงบกาย สงบจิต เป็นอาหารของ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

การพิจารณาโดยรอบคอบซึ่งสมาธินิมิต

อัพยัคคนิมิต เป็นอาหารของ สมาธิสัมโพชฌงค์

การพิจารณาโดยรอบคอบ

ซึ่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งการวางเฉย เป็นอาหารของ อุเบกขาสัมโพชฌงค์

2.46 สติปัฏฐานสังยุตต์ ประมวลเรื่องสติปัฏฐาน 4 โดยนัยต่างๆ เช่น ผู้ตั้งมั่นในมหาสติปัฏฐานย่อมรู้คุณวิเศษ ผู้เจริญสติปัฏฐานชื่อว่า มหาบุรุษ ผู้เจริญสติปัฏฐานชื่อว่ามีตนเป็นเกราะ (หรือสร้างที่พึ่งแก่ตน) ผู้เจริญสติปัฏฐานชื่อว่ารักษาทั้งตนและผู้อื่น เป็นต้น ขอนำมาเพียงบางสูตร

(1) สกุณัคฆีสูตร นกมูลไถ ไปหากินในที่ที่มิใช่โคจร (ถิ่นหากินของตน) ถูกเหยี่ยวจับไปรำพันว่าสมควรแล้วที่เราถูกเหยี่ยวเฉี่ยวเอาไป เพราะเราไม่รู้จักหากินในถิ่นปิตุภูมิของตน เหยี่ยวถามว่า ที่ไหนล่ะที่เป็นถิ่นปิตุภูมิของเจ้า นกมูลไถกล่าวว่า ที่ๆ เขาไถนานั่นแหละ เหยี่ยวลำพองในพละกำลังของตน จึงปล่อยนกมูลไถลงไปยังนาที่เขาไถไว้ นกมูลไถก็ยืนท้าให้เหยี่ยวโฉบลงมาด้วยความเร็ว กระแทกกับก้อนดินตายทันที

พระพุทธเจ้าทรงยกอุปมาเรื่องนี้แล้วตรัสสอนว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าเที่ยวไปในที่ซึ่งมิใช่ถิ่นของตน มารจักได้ช่องทำลาย อันได้แก่ กามคุณ 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์อันน่าใคร่ น่าพอใจ ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด จงเที่ยวไปในถิ่นปิตุภูมิของตน คือ สติปัฏฐาน 4 เถิด มารจักไม่ได้ช่องทำลาย"

(2) จุนทสูตร หลังจากพระสารีบุตรนิพพานแล้ว สามเณรจุนทะ ถือบาตรและจีวรของท่านไปหาพระอานนท์ เล่าเรื่องให้ฟัง พระอานนท์พาสามเณรจุนทะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลว่าพระสารีบุตรนิพพานแล้ว ข้าพระองค์มืดแปดด้านไปหมดแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสว่า สารีบุตรตายไปเธอเอาศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ ติดตัวไปด้วยหรือ อานนท์ เมื่อพระอานนท์กราบทูลว่า ไม่ได้เอาไปด้วย แต่ว่าเมื่อสมัยท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้อนุเคราะห์สั่งสอนธรรมให้คนได้รับรสพระธรรม น่าเสียดายที่ท่านจากไป

พระพุทธเจ้าตรัสว่า ถึงพระสารีบุตรจากไปแล้ว พระสงฆ์ส่วนใหญ่เปรียบเสมือนแก่น ก็ยังอยู่เหมือนไม้ใหญ่ ถึงเปลือกจะเน่าเปื่อยไป แก่นมันก็ยังอยู่ได้นาน ขอจงสร้างเกราะหรือสิ่งที่พึ่งแก่ตนเองคือเจริญสติปัฏฐาน 4 เถิด


(มีต่อ 32)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2006, 5:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

2.47 อินทรียสังยุตต์ ประมวลเรื่องอินทรีย์ 5 (ธรรมที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน) ในรายละเอียดต่างๆ เช่น ผู้รู้ชัดซึ่งอินทรีย์ 5 นับว่าเป็นพราหมณ์ที่แท้ในความหมายของพระพุทธศาสนา ในสังยุตต์นี้ นอกจากจะพูดถึงอินทรีย์ 5 อย่าง ยังแจกอินทรีย์เป็นหลายประเภทด้วย คือ อินทรีย์ 3 อินทรีย์ 5 อินทรีย์ 6 ขอยกมาเพียงบางสูตร

(1) ชราสูตร พระอานนท์กราบทูลว่า เดี๋ยวนี้พระฉวีวรรณของพระองค์ไม่ผุดผ่องเหมือนก่อน พระตจะ (หนัง) เหี่ยวย่น พระวรกายค้อมไปข้างหน้า พระอินทรีย์ (ตา หู) แปรปรวน พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นของธรรมดา อานนท์ ในความเป็นหนุ่มก็มีความแก่ ในความไม่มีโรคก็มีโรค ในชีวิตมีความตาย

(2) ปุพพโกฏฐกสูตร พระพุทธเจ้าตรัสกับพระสารีบุตรว่าผู้ที่เจริญอินทรีย์ 5 มากๆ แล้วย่อมหยั่งลงสู่อมตะ (บรรลุพระนิพพาน) พระสารีบุตรกราบทูลว่า ท่านไม่เชื่อพระพุทธดำรัส "ผู้ไม่รู้ไม่เห็นไม่ทราบ ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาด้วยปัญญา ย่อมเชื่อคนอื่น เขาพูดว่า อินทรีย์ทั้ง 5 ที่บุคคลเจริญให้มากแล้วจะทำให้บรรลุอมตะ ข้าพระองค์รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาด้วยปัญญาแล้ว จึงหมดความสงสัยว่า อินทรีย์ทั้ง 5 อันบุคคลเจริญให้มากแล้วทำให้บรรลุอมตะ"

2.48 สัมมัปปธานสังยุตต์ ประมวลเรื่องสัมมัปปธาน 4 คือ เพียรป้องกันบาปอกุศล เพียรละบาปอกุศล เพียรเจริญกุศลธรรม เพียรรักษากุศลธรรม กล่าวว่า สัมมัปปธาน 4 นี้ จะเจริญได้ดีต้องอาศัยพื้นฐาน เหมือนคนจะทำงานที่ต้องใช้แรง ทุกอย่างจะสำเร็จได้ต้องอาศัยแผ่นดิน (จะทำนา ทำไร่ สำเร็จ ก็ต้องมีที่นา มีไร่)

2.49 พลสังยุตต์ ประมวลเรื่องพละ 5 (ธรรมที่เป็นพลัง) คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา กล่าวว่า พละ 5 ทำให้บรรลุพระนิพพาน ละสังโยชน์เบื้องต่ำ สังโยชน์เบื้องสูง และบรรลุนิพพานได้

2.50 อิทธปาทสังยุตต์ ประมวลเรื่องอิทธิบาท 4 (ธรรมให้บรรลุความสำเร็จ) คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา กล่าวถึงอิทธิบาท ที่เจริญมากแล้วทำให้เกิดฤทธิ์ต่างๆ ทำให้อายุยืน สามารถต่ออายุได้ ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ดังที่ตรัสไว้ในมหาปรินิพพานสูตร ทำให้บรรลุเจโตวิมุติ และปัญญาวิมุติ เป็นต้น จะขอนำมาแสดงเพียงบางสูตร

(1) พราหมณสูตร พราหมณ์ชื่ออณุณาภะ ถามพระอานนท์ว่า ประพฤติพรหมจรรย์เพื่ออะไร พระอานนท์ตอบว่า เพื่อละฉันทะ พราหมณ์ถามว่า วิธีปฏิบัติทำอย่างไร พระอานนท์อธิบายว่า ต้องเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยสมาธิและปธานสังขาร (จิตเป็นสมาธิ ตั้งใจมิให้บาปอกุศลเกิดขึ้นในจิต ตั้งใจละบาปอกุศล ตั้งใจทำกุศลธรรมให้เจริญ ตั้งใจรักษากุศลธรรมที่เกิดมีแล้วเรียกว่าปธานสังขาร)

พราหมณ์ถามว่า ในอิทธิบาทก็มีฉันทะใช่หรือไม่ การอาศัยฉันทะ ละฉันทะดูไม่น่าเป็นไปได้ พระอานนท์ตอบว่า ก็เหมือนคนมาวัด ตอนแรกก็พอใจ ว่าจะมาวัด ครั้นมาถึงแล้วความพอใจนั้นก็ระงับ มีความพยายามจะมาวัด มาถึงแล้วความพยายามก็ระงับไป ตั้งใจจะมาวัด พอมาถึงแล้วความตั้งใจก็ระงับไป พิจารณาไตร่ตรองว่าจะมาวัด พอมาถึงวัดแล้วความพิจารณาไตร่ตรองนั้นก็ระงับไป พระอรหันตขีณาสพ ก็พึงทราบ โดยนัยเดียวกัน เบื้องต้นก็มีความพอใจเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุแล้วความพอใจก็ระงับไป เบื้องต้นก็มีความเพียรเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุแล้วความเพียรก็ระงับไป เบื้องต้นก็มีความคิดเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุแล้วความคิดก็ระงับไป เบื้องต้นก็มีความตริตรองเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุแล้วความตริตรองก็ระงับไป

(2) อโยคุฬสูตร พระพุทธเจ้าทรงบอกพระอานนท์ว่า พระองค์สามารถไปพรหมโลกได้ด้วยใจด้วยอิทธิฤทธิ์ พระอานนท์ทูลถามว่า ไปทั้งกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูปนี้หรือ (คือกายเนื้อที่มีธาตุ 4 นี้) เมื่อพระองค์ตรัสว่า ใช่ จึงสงสัยว่าจะไปได้อย่างไร พระองค์ทรงอธิบายให้เธอฟังว่าทรงตั้งกายไว้ในจิต ตั้งจิตลงที่กาย ก้าวลงสู่สุขสัญญา ลหุสัญญา (สำคัญหมายว่า เบา สบาย) แล้วร่างกายก็เบาลอยไปได้ ดุจเหล็กเผาไฟทั้งวันย่อมเบากว่าปกติ ดุจปุยนุ่น ปุยฝ้าย ลอยขึ้นในอากาศได้ง่ายฉะนั้น

2.51 อนุรุทธสังยุตต์ ประมวลเรื่องพระอนุรุทธ พระเถระรูปนี้เป็นพุทธอนุชาได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางผู้ได้ทิพยจักษุ ในสังยุตต์นี้เป็นประมวลเทศนาของท่านที่แสดงแก่สาวกรูปอื่นๆ เกี่ยวกับสติปัฏฐาน 4 ท่านว่าท่านได้ "มหาอภิญญา" เพราะเจริญสติปัฏฐาน ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐานมากๆ จะไม่ลาสิกขา และจะระงับทุกขเวทนาได้

2.52 ฌานสังยุตต์ ประมวลเรื่องฌาน คือการเพ่งอารมณ์จนจิตสงบ ได้ฌานที่ 1 ถึง ที่ 4

2.53 อานาปานสังยุตต์ ประมวลเรื่องอานาปานสติ (สติกำหนดลมหายใจเข้า ออก)

กล่าวถึงวิธีเจริญอานาปานสติ อานิสงส์ 2 (บรรลุอรหัตในปัจจุบัน หรือไม่ก็เป็นอนาคามี) และอานิสงส์อื่นๆ อีก

2.54 โสตาปัตติสังยุตต์ ประมวลเรื่องพระโสดาบัน ว่าด้วยองค์คุณของพระโสดาบัน 4 ประการ (ศรัทธา ศีล ปสาทะ = ความเลื่อมใส ธัมมานุธัมมปฏิบัติ = ปฏิบัติธรรมตรงเป้าหมาย) โสตาปัตติยังคะ 4 (สัปปุริสูปสังเสวะ = คบคนดี สัทธัมมสวนะ = ฟังธรรม โยนิโสมนสิการ = คิด วิดเคราะห์ ธัมมานุธัมมปฏิบัติ) เป็นต้น

2.55 สัจจสังยุตต์ ประมวลเรื่องสัจจะ หรืออริยสัจ 4 ธัมมจักกัปปวัตนสูตร หรือปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้า มีบันทึกไว้ในสังยุตต์นี้ มีสูตรที่น่าสนใจ ดังยกมาแสดงไว้ต่อไปนี้

(1) วัชชีสูตร ขณะประทับอยู่โกฏิคาม แคว้นวัชชี พระพุทธเจ้าตรัสสอนพระสงฆ์ว่า "ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่ตรัสรู้ ไม่แทงตลอดอริยสัจ 4 เราและเธอทั้งหลายจึงแล่นไป ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏตลอดกาลยาวนานนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจ สมุทัยอริยสัจ นิโรธอริยสัจ นิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เราและเธอทั้งหลายได้แทงตลอดแล้ว ตัณหาในภพขาดสูญแล้ว ตัณหาที่จะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี"

(2) สีสปาสูตร ขณะประทับ ณ สีสปาวัน (แปลกันว่าป่าสีเสียดบ้าง ป่าประดู่ลายบ้าง) ทรงหยิบใบไม้ขึ้นมาแล้วตรัสถามว่า ใบไม้ในพระหัตถ์ของพระองค์กับใบไม้บนต้นไม้อย่างไหนจะมากกว่ากัน เมื่อเหล่าสาวก กราบทูลว่า บนต้นไม้มากกว่าจึงตรัสว่า

"เช่นเดียวกันนั่นแหละ ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ตถาคตรู้แล้วมิได้บอกพวกเธอมีอีกมาก เพราะเหตุไรเราตถาคตจึงไม่บอก เพราะไม่เป็นประโยชน์ มิใช่เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เพื่อความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน สิ่งที่บอกเธอคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เพราะมีประโยชน์ เป็นไปเพื่อนิพพาน"


(มีต่อ 33)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2006, 5:33 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

3. ข้อสังเกตบางประการและจุดควรเน้น

3.1 ข้อความซ้ำ ถ้าอ่านพระไตรปิฎกทั้งหมดอย่างต่อเนื่องกัน จะสังเกตเห็นความซ้ำซ้อนมากมายโดยเฉพาะเนื้อหาในสังยุตตนิกายนี้จะซ้ำซ้อนกับนิกายที่ผ่านมา และจะไปปรากฏในอังคุตตรนิกายและขุททกนิกายบางส่วน แม้คาถาในสคาถวรรคก็มีที่ซ้ำกับธรรมบท อุทาน และเถรเถรีคาถาบ้าง นี้คือเหตุผลอย่างหนึ่ง ที่ทำให้พระไตรปิกฎหนาหลายเล่มสมุด

3.2 พุทธกิจประจำวันของพระศาสดา พระอรรถกถาจารย์ท่านประพันธ์เป็นคาถาว่า

ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาตญฺจ เช้า เสด็จออกบิณฑบาต (โปรดสัตว์)

สายณฺเห ธมฺมเทสนํ เย็น ทรงแสดงธรรม

ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ ค่ำ ทรงประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย

อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ เที่ยงคืน ทรงแก้ปัญหาเทวดาทั้งหลาย

ปจฺจูเสว คเต กาเล ใกล้รุ่ง ทรงทอดพระเนตรดูสัตว์ที่

ภพฺพาภพฺเพ วิโลเกนํ ควรโปรดและไม่ควรโปรด

เอเต ปญฺจวิเธ กิจฺเจ พระมุนีผู้นี้ประเสริฐ ทรงยังกิจวัตรทั้ง 5

วิโสเธติ มุนิปุงฺคโว ประการให้หมดจดอย่างนี้

จะเห็นว่าทรงมีเวลาพักผ่อนน้อยมาก ตลอดระยะเวลา 45 ปี ทรงอนุเคราะห์สัตว์โลกโดยมิได้ทรงคำนึงถึงความลำบากพระวรกาย ทั้งๆ ที่พระสุขภาพไม่ค่อยดี (ทรงมีโรค "ปักขันทิกาพาธ" ประจำอันเป็นผลจากการทรงทรมานกายก่อนตรัสรู้)

สังเกตว่า เวลาเทวดาหรือเทวบุตรมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า จะไม่นั่งจะยืน ณ ที่ข้างหนึ่ง ทูลถามปัญหาเสร็จแล้วก็อันตรธานไป พระอรรถกถาจารย์ให้เหตุผลว่า

โดยปกติเทวดาไม่อยากเข้าใกล้มนุษย์ เพราะมนุษย์มีกลิ่นเหม็น (มนุษย์ขี้เหม็น) ที่มาเฝ้าพระพุทธเจ้าเพราะกลิ่นศีลของพระองค์ และอยากทราบข้อธรรมจึงมา

เทวดามี 3 ประเภท (เทวดาโดยสมมติ เทวดาโดยกำเนิด เทวดาโดยความบริสุทธิ์ พวกที่มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ท่านว่าได้แก่เทวดาพวกที่ 2 คืออุปปัติเทพ เวลาเทวดาพวกนี้มา จะทำให้มีแสงสว่างปรากฏทั่วทั้งบริเวณด้วยรัศมี

บางคนตีความว่า เทวดา ก็คือพระราชามหากษัตริย์ ที่หาเวลาว่างจากราชกิจตอนกลางคืนมา ปรึกษาหารือกับพระพุทธองค์ แสงสว่างที่ว่านั้นคือคบเพลิงชูสว่างไสวเวลาเสด็จ ความจริงไม่ต้องตีความก็ได้ พระพุทธศาสนารับรองว่ามีเทวดาจริงอยู่แล้ว

3.3 ข้อที่น่าสังเกตระหว่างภาษิตของเทวดา และพระพุทธองค์ คือ

ทรรศนะของเทวดา หรือเทวบุตร ส่วนมากจะเป็น "โลกียะ" คือมีความคิดเห็นหรือค่านิยมที่สามัญปุถุชนเขาคิดหรือมีกัน เช่น เห็นว่าคนสำคัญที่มีสมบัติพัสถาน มีมากก็มีความสุข ความเพลิดเพลิน

ส่วนพระพุทธองค์ทรงมองแบบ "อริยะ" มองตามภาพความเป็นจริง ว่าคนเรายิ่งมีมากยิ่งทุกข์มาก เพราะสมบัติพัสถานเป็นเหตุ ให้ตนยึดมั่นถือมั่น เพราะฉะนั้นภาษิตของพระพุทธองค์ จึงมักจะมีนัยตรงข้ามจากภาษิตของเทวดา

แต่มีบางครั้งเหมือนกัน เทวดาก็ "คิดลึก" เข้าใจลึก เช่น ข้อ 19, 130, 134 (ไม่ได้รวมไว้ในที่นี้) เป็นต้น บางครั้งถามปริศนาธรรมที่ลึกซึ้งเช่นข้อ 45 "ภิกษุท่านไม่กินแล้วขอ กินแล้วไม่ขอ ท่านจงกินให้อิ่มแล้วค่อนขอเถิด อย่าให้เวลาผ่านไปเปล่า" ในที่นี้เทวดาเธอหมายความว่า "ทำไมไม่บริโภคกามให้อิ่มเสียก่อน ค่อยออกบวชถือเพศบรรพชิตเที่ยวภิกขาจาร" บังเอิญพระสมิทธิผู้ที่เทวดาถาม เข้าใจความหมายของเธอ จึงได้โต้กลับมาอย่างเฉียบแหลมเช่นกัน

3.4 ในอรรถกถาชื่อปปัญจสูทนี กล่าวว่าคนถามปัญหามีอยู่ 5 ประเภท คือ

1) ถามเพื่อต้องทราบในสิ่งที่ตนไม่ทราบ

2) ถามเพื่อเทียบเคียงกับความรู้ที่ตนมีว่าตรงกันหรือไม่

3) ถามเพื่อแก้ข้อสงสัยของตน

4) ถามเพื่อขออนุมัติหรือคำรับรองยืนยันจากผู้ถูกถาม

5) ถามเพื่อทดสอบดูว่าเข้าใจไหม ถ้าไม่เข้าใจจะบอกให้

เทวดาที่ถามพระพุทธองค์ ส่วนมากก็ใช้คำถาม 4 ประเภทข้างต้น ไม่ปรากฏว่าจะมีใครใช้ประเภทสุดท้าย

3.5 อินเดียสมัยพุทธกาล มีการปกครอง 2 ระบบ คือ "ราชาธิปไตย" กับอีกระบบที่เรียกว่า "สามัคคีธรรม" มีมหาราชที่อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา 2 พระองค์ คือ พระเจ้าพิมพิสาร กับพระเจ้าปเสนทิโกศล เรื่องราวของมหาราชองค์หลังมีมากกว่า จนรวมได้สังยุตต์หนึ่ง (เพราะพระเจ้าพิมพิสารด่วนสวรรคตไปก่อน) พระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นผู้ปกครองของพวกศากยะราชสกุลวงศ์ของพระพุทธเจ้าด้วย การที่พระเจ้าปเสนทิโกศลมาเคารพนับถือพระพุทธองค์ นอกจากเพื่อผลทางการเมือง (แข่งบารมีกับพระเจ้าพิมพิสาร) แล้ว ส่งผลทางอ้อมทำให้ผู้นำรัฐน้อยใหญ่ หันมาให้ความสำคัญและอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาด้วย ตอนหลังกษัตริย์ทั้งสองเจริญสัมพันธไมตรีกัน อภิเษกสมรสกับพระขนิษฐาของกันและกัน

พระขนิษฐาของพระเจ้าปเสนทิโกศล คือ โกศลเทวี พระราชมารดาของพระเจ้าอชาตศัตรู พระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นตัวอย่างของพระมหากษัตริย์ ผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างดีพระองค์หนึ่ง ทรงเอาใจใส่ดูแลความเป็นอยู่ของพระองค์และเสด็จเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลขอคำแนะนำในเรื่องต่างๆ อยู่เสมอ พระราชามีมเหสีที่เป็นพุทธสาวิกา และมีความฉลาดเป็นเลิศอีกนางหนึ่ง ชื่อมัลลิกา พระนางมัลลิกาเป็นผู้ถวายคำแนะนำให้พระราชาเลิกการทำบูชายัญ (ที่มีการฆ่าอย่างใหญ่หลวง) ให้หันมาบำเพ็ญ "อสทิสทาน" แทน (เรื่องราวของพระมหากษัตริย์องค์นี้มีกล่าวไว้ในพระสูตรหลายแห่ง)

3.6 ข้อความในชฏิลสูตร ให้สติว่า การจะรู้ว่าใครบรรลุธรรมขั้นไหน ผู้นั้นจะต้องบรรลุธรรมขั้นนั้น หรือสูงกว่านั้น วิสัยปุถุชนผู้มีกิเลส หมกมุ่นในกามารมณ์ จะวินิจฉัยว่าใครบรรลุธรรมขั้นนั้นขั้นนี้ ย่อมเป็นไปไม่ได้ หรือใครจะอวดว่า ตนบรรลุขั้นนั้นขั้นนี้ ก็ผิดความจริงอีกเพราะ "ผู้บรรลุธรรมย่อมไม่บอกใคร และผู้ที่บอก คนนั้นไม่ได้บรรลุ" ต่อจากคำถามของนัก "อรหันต์นิยม" ที่มักถามอยู่เสมอว่า เดี๋ยวนี้ยังมีอรหันต์หรือไม่ มีพุทธวจนะให้หลักการกว้างๆ ว่า "ตราบใดที่ยังมีผู้อยู่โดยชอบ (ปฏิบัติตามอริยมรรค) ตราบนั้นโลกย่อมไม่ว่างจากอรหันต์ทั้งหลาย" เพราะฉะนั้นคำถามมิใช่อยู่ที่ว่ามีอรหันต์หรือไม่ แต่ควรจะอยู่ที่มีผู้ปฏิบัติตามหลักอริยมรรคจริงๆ หรือเปล่า


(มีต่อ 34)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2006, 5:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

3.7 ความคิดว่า พระราหูอมจันทร์ อมอาทิตย์ เกิดขึ้นเพราะคนสมัยก่อนไม่มีความรู้เรื่องดาราศาสตร์ พระสูตรสองสูตรนี้มีเนื้อหาสอดคล้องกันกับความรู้ความเข้าใจของคนสมัยก่อนโน้น เป็นความรู้ที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ บางท่านจึงตั้งข้อสังเกตว่า สองสูตรนี้แปลกปลอมเข้ามา (ที่น่าสังเกตคือ เป็นสูตร "บอกเล่า" มิใช่เป็นพุทธดำรัสของพระพุทธเจ้า)

แต่ในอรรถกถาท่านแก้ว่า พระจันทร์ และพระอาทิตย์ที่กล่าวถึงนี้ เป็นเทพบุตรชื่อนี้ มิใช่เป็นดวงจันทร์ หรือดวงอาทิตย์ จันทิมเทพบุตร และสุริยเทพบุตร เป็นเทพชั้นเดียวกับราหู คือเป็นพวกเดียวกับอสูรเวปจิตติ ในมหาสมยสูตรบอกว่า เทพทั้งสองนี้เป็นโสดาบัน เมื่อยอมรับสถานภาพของเทวดา เทวบุตรได้ เรื่องจันทิมเทวบุตร สุริยเทวบุตรก็ไม่น่ามีปัญหาว่ามีจริงหรือไม่ เป็นไปได้หรือไม่

อย่างไรก็ตาม สาระที่ควรคำนึงในสูตรนี้อยู่ที่ "พุทธคุณ" หรือ "พุทธานุภาพ" อำนาจพุทธคุณย่อมขจัดอันตรายต่างๆ ได้แน่นอน ในธชัคคสูตร ก็มีเนื้อหาสาระดุจเดียวกัน

3.8 มารมี 5 ประการ คือ

- กิเลสมาร คือ กิเลสน้อยใหญ่

- ขันธมาร ได้แก่ ขันธ์ 5 บางครั้งบางคราวทำความลำบากให้ได้

- อภิสังขารมาร คือ บาป บุญและอรูปฌาน เป็นต้น เป็นมารในระดับแตกต่างกัน

- เทวปุตตมาร คือ เทวดาอันธพาล ประเภทอิจฉาคอยทำลายหรือขัดขวางความดีของคนอื่น

- มัจจุมาร คือ ความตาย โดยเฉพาะความตายที่ตัดรอนขณะทำความดีอยู่

มารในสังยุตต์นี้ มีทางเป็นไปได้ทั้งกิเลสมาร และเทวบุตรมาร บางครั้งก็น่าจะเป็นเพียงความรู้สึกฝ่ายต่ำ ที่เกิดขึ้นในใจชั่ววูบของพระสาวกผู้กำลังบำเพ็ญคนเดียวในป่า พอรู้ตัวเกิดสติขึ้นมา ความรู้สึกนั้นก็หายไป เท่ากับมารหายไปทันใด ที่ว่ามารมาเร็วไปเร็วก็เพราะเหตุนี้ แต่บางครั้งก็น่าจะเป็นเทวบุตรมาร หรือเทวดาเกเรมาแกล้งจริง

ในพระพุทธประวัติมี "มารผจญ" มารที่มาผจญมิใช่มารชั้นปลายแถว แต่เป็นพญามารชื่อ "วสวัตตี" ตามรังควานพระองค์มาถึง 7 ปี (ตโปกัมมสูตร) สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ท่านทรงตีความว่า ได้แก่ อกุศลมูล 3 นั่นเอง ส่วนธิดามาร 3 ที่มาช่วยพญามาร เทียบได้กับกิเลสชั้นปลายแถว แต่สมเด็จฯ ท่านก็ทรงลังเลอยู่เหมือนกัน เพราะถ้าเป็นกิเลสจริง ทำไมธิดามายั่วพระพุทธเจ้าหลังจากตรัสรู้ ซึ่งไม่น่าเป็นได้ ส่วนทางพุทธทาสว่า ธิดามารนั้นเป็นความคิดคำนึงย้อนหลังถึงความร้ายกาจของกิเลส ว่าร้ายแค่ไหน ซึ่งเกิดขึ้นแก่พระพุทธเจ้าหลังตรัสรู้ (เรื่องมารผจญอ่าน "กองทัพมารหรือกองทัพงู" ในชุด "บัวบานกลางเปลวเพลิง" ของผู้บรรยายประกอบ)

3.9 เรื่องพรหมอัญเชิญแสดงธรรม นั้น ถ้าไม่ถือตามตัวอักษร ก็อาจตีความในแง่สัญลักษณ์ว่า "พรหม" หมายถึง พระมหากรุณาของพระพุทธองค์ ชั้นแรกทรงเห็นว่าธรรมที่ทรงบรรลุซึ้งเกินไป เกรงจะไม่มีใครเข้าใจ จึงทรงดำริไม่สอนใคร แต่เพราะพระมหากรุณาต่อสรรพสัตว์ทำให้พระองค์ทรงนิ่งอยู่ไม่ได้ต้องตัดสินพระทัยเสด็จไปสอน

น่าสังเกตคำย่า "อตกฺกาวจโร" (ตรรกะหยั่งไม่ถึง รู้ไม่ได้ด้วยการใช้ตรรกะ) คือการหาเหตุผลทางด้านตรรกศาสตร์ เพราะพระธรรมของพระองค์มิใช่ต้องมานั่งคิดหาความสมเหตุสมผลใดๆ เป็นเรื่องที่ต้องลงมือปฏิบัติจนเห็นผลด้วยตนเอง ดังในเกสปุตติยสูตร (กาลามสูตร) ก็ห้ามชื่อตรรกะ แปลกันว่า "อย่าเชื่อด้วยการเดา" นั้นไม่น่าจะตรง

3.10 อักโกสูตร เป็นตัวอย่างของการวางตนเมื่อถูกคนอื่นด่าหรือว่าร้าย ดังทรงแสดงไว้หลายอย่าง (เช่น ในโอวาทปาติโมกข์ ตรัสสอนให้อดทน เผยแผ่พระศาสนาโดยสันติวิธี ในกกจูปมสูตรสอนมิให้โกรธแม้กระทั่งผู้ที่เอาเลื่อยมาเลื่อยอวัยวะร่างกาย) ขณะเดียวกันก็แสดงปฏิภาณของพระพุทธเจ้าด้วย จนผู้ที่ด่าสงบสติอารมณ์และเปลี่ยนใจมานับถือในที่สุด ในอรรถกถาธรรมบท เมื่อพระอานนท์มากราบทูลให้หนีพวกอันธพาลที่ตามด่า พระองค์ตรัสว่าถึงหนีไปไหนก็ไม่พ้นคนด่า "เรื่องเกิดที่ไหนย่อมดับที่นั่น" หมายความว่า การแก้ปัญหาต้องแก้ที่ตัวปัญหา พระพุทธวจนะ เกี่ยวกับเรื่องนี้ น่าศึกษายิ่ง

อหํ นาโคว สงฺคาเม เราจักอดทนต่อคำเสียดสีของคนอื่น

จาปาโต ปติตํ สรํ เหมือนพญาคชสารในสนามรบ

อติวากฺยํ ติติกฺขิสฺสํ ทนลูกศรที่ปล่อยจากคันธนู

ทุสฺสีโล หิ พหุชฺชโน เพราะคนโดยมากมีสันดานชั่ว

(พุทธวจนะธรรมบท เสฐียรพงษ์ วรรณปก แปล)

3.11 กัสสปโคตตสูตร ให้สติเกี่ยวกับการสอนธรรมะแก่ประชาชน ผู้สอนต้องคำนึงถึงความพร้อมของผู้ฟังและเงื่อนไขข้อขัดข้องอย่างอื่นด้วย มิใช่ว่ามีหน้าที่สอนก็สอน ไม่คำนึงถึงกาลเทศะ ในเรื่องนี้พระไปสอนนายพรานล่าเนื้อมิให้ฆ่าสัตว์ เท่ากับให้เขา "เลิก" อาชีพทันที ซึ่งเป็นไปได้ยาก ควรหาวิธีค่อยเป็นค่อยไป คำเตือนของเทวดาแหลมคม น่าคิดมาก มีผู้เล่าว่าสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงตำหนิพระที่ไปเทศน์ด่าชาวประมงเรื่อง ปาณาติบาตเลยทีเดียว "มิใช่ธรรมะไม่ดี แต่การจะให้ธรรมะต้องรู้กาลควรไม่ควร" ถ้าศึกษากลวิธีในการสอนของพระพุทธเจ้า จะได้ข้อคิดมากมาย เกี่ยวกับเรื่องนี้ (อ่านพุทธวิธีสอนจากพระไตรปิฎก ของผู้บรรยาย)


(มีต่อ 35)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2006, 2:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

3.12 การพัฒนาการของชีวิต ที่ตรัสว่าในอินทกสูตร เป็นเรื่องน่าสนใจ แพทย์ปัจจุบันยืนยันว่าตรงตามนั้นทุกประการ บางคนสงสัยว่าพระพุทธเจ้าทรงทราบได้อย่างไร หากเรานึกถึงการตรัสรู้ของพระองค์ จนทำให้พระองค์ได้พระนามว่า โลกวิทู และสัพพัญญู เราก็ไม่น่าจะสงสัยอะไร เพราะเรื่องนามธรรมลึกซึ้งกว่านี้หลายร้อยหลายพันเท่า พระองค์ยังตรัสรู้ได้ "สิ่งที่ตถาคตรู้นั้นมากดังใบไม้ในป่า แต่ที่รู้แล้วนำมาสอนพวกเธอมีนิดเดียวดังใบไม้ในกำมือ" (สีสปาสูตร สังยุตตนิกาย)

ในมหาตัณหาสังยสูตร บอกจุดกำเนิดชีวิตไว้ว่า จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 คือ

- มารดาบิดาร่วมกัน
- มารดามีไข่สุกพร้อมที่จะผสม
- คันธัพพะปรากฏ

"คันธัพพะ" มีปัจจัยหรือองค์ประกอบ 3 คือ กรรม ที่สัตว์ทำไว้เปรียบเสมือนที่นา วิญญาณเปรียบเสมือนเมล็ดพืช ตัณหา เปรียบเสมือนยางเหนียวในพืช สรุปแล้วคนจะเกิดได้ ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งภายนอกและภายใน (ทั้งรูปธรรมและนามธรรม) นักวิชาการสมัยใหม่พูดถึงแต่ในแง่รูปธรรมอย่างเดียว ลักษณะพัฒนาการในขั้นตอนต่างๆ ท่านอธิบายดังนี้

กลละ มีลักษณะใสสะอาดเหมือนหยาดน้ำมันงา มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เพราะเล็กมาก ท่านว่าเปรียบเสมือนเอาขนจามรีจุ่มน้ำมันใสแล้วสลัด 7 ครั้ง ที่เหลืออยู่บนปลายขนจามรีนั้นแลเท่ากับขนาดกลละ

อัพพุทะ - เมื่อผ่านไปอีก 7 วัน จะมีการเปลี่ยนแปลงคือสีข้นขึ้น

เปสิ - ผ่านไปอีก 7 วัน สีจะแดงเรื่อเหมือนน้ำล้างเนื้อ

ฆนะ - ผ่านไปอีก 7 วัน จะจับเป็นก้อน

ปสาขา ผ่านไปอีก 7 วัน จะมีปุ่มใหญ่งอกออกมา 5 ปุ่ม (ปัญจสาขา) ที่จะกลายเป็นศีรษะ แขน 2 ขา 2 ต่อจากนั้นก็จะงอกเป็นศีรษะ แขน ขา ในระยะนี้ก็อาศัยอาหารผ่านรกจากมารดาเจริญเติบโตตามลำดับ พอถ้วนทศมาสก็คลอดออกมา (พัฒนาการหลังจากการเกิด ปุ่มแขน ขาและศีรษะ ท่านพูดรวบรัด ถ้าอยากทราบรายละเอียด กว่านั้นโปรดอ่าน "วิมุตติมรรค" (ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ หน้า 173)

3.13 ปฏิจจสมุปบาท เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอิทัปปัจจยตา, ปัจจยากร (ชื่อหลังส่วนมากใช้ในอรรกถา ทรงแสดงสั้นๆ ว่า "เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด เมื่อสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้ก็ไม่มี พระสิ่งนี้ดับ" แสดงจากหัวข้อรายละเอียดเป็น 12 ข้อ ดังที่ทราบกันอยู่แล้ว และทั้ง 12 ข้อนั้นมิได้หมายความว่า จะทรงยกมาแสดงครบชุดทุกครั้ง บางครั้งก็จับเอา "องค์" ใดองค์หนึ่งมาตรงกลางแล้วย้อนทวนจนถึงต้นสาย(อวิชชา) หรือสาวไปจนเจอปลายเหตุ(ชรามรณะ) ก็มี ส่วนมากในแง่ปฏิบัติมักทรงเริ่มต้นที่ "ผัสสะ" เพราะผัสสะเป็นประตูเปิดรับรู้โลกภายนอก

การอธิบายปฏิจจสมุปบาท นักศึกษาไม่ควรจับแนวใดแนวหนึ่งเฉพาะ เพราะมีทั้งอธิบายแบบ "ข้ามภพชาติหน้า" และแบบชั่วชีวิตเดียว

สำหรับสูตรแรก ที่เอ่ยถึงปฏิจจสมุปบาท คือมหานิทานสูตร ทีฆนิกาย(พระไตรปิฎกเล่มที่ 10 ให้คำจำกัดความว่า "ชาติ" "ภพ" โดยไม่ต้องตีความดังนี้

- ชาติ หมายถึง เกิดเป็นเทพ เป็นคนธรรพ์ เป็นยักษ์ เป็นสัตว์สี่เท้า เป็นสัตว์ปีก เป็นสัตว์เลื้อยคลาน

- ภพ หมายถึง กามภพ รูปภพ อรูปภพ

ส่วนในวิภังคสูตร นี้ ให้จำกัดความไว้ครบชุด ขอยกมาดังนี้

- ชรา คือ ความแก่ ภาวะความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเป็นเกลียว ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ

- มรณะ คือ ความเคลื่อน ภาวะความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ

- ชาติ คือ ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ทังหลาย ความได้อายตนะครบถ้วนในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ (โปรดดูที่อื่นอีก คือ มหาสติปัฏฐานสูตร เล่ม 10 ข้อ 194 ด้วย)

ในพระไตรปิฎกเล่ม 16 ข้อ 146 ข้อ 216 ข้อ 107 เล่ม 17 ข้อ 17 มีข้อความส่อให้เห็นว่าปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องของปัจจุบัน

3.14 เรื่องพระวักกลิ ในอรรถกถาธรรมบท ต่างจากพระสูตรในรายละเอียด คือ กล่าวว่าพระวักกลิติดใจในรูปโฉมของพระองค์ถึงกับตามไปเฝ้าดู จนพระองค์ตรัสขับไล่ เธอน้อยใจจะไปกระโดดเขาตาย พระองค์เสด็จไปช่วยไว้ทัน ในพระสูตรว่าเธอป่วยหนัก ท้ายที่สุดฆ่าตัวตาย พระพุทธองค์ตรัสว่าเธอ ปรินิพพาน(ตายพร้อมกับบรรลุอรหัต) ในอังคุตตรนิกายเรียกชื่อพระอริยบุคคลประเภทนี้ว่า "สมสีสี" มีอีกหลายรูปที่ตายทำนองนี้เช่น พระโคธิกะ


(มีต่อ 36)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2006, 12:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย


1. โครงสร้างอังคุตตรนิกาย

อังคุตตรนิกาย

เอกนิกาย ทุกนิบาต ติกนิบาต จตุกกนิบาต ปัญจกนิบาต ฉักกนิบาต สัตตกนิบาต อัฏฐกนิบาต นวกนิบาต ทสกนิบาต เอกาทสกนิบาต


2. เนื้อหาสาระ

2.1 เอกนิบาต แบ่งออกเป็น 6 หมวด คือ

(1) เอกธัมมาทิปาลิ ว่าด้วยธรรมเอก เช่น จิตที่อบรมแล้วนำประโยชน์ให้มหาศาล จิตที่ไม่อบรมเปลี่ยนเป็นไปเพื่อความฉิบหายอย่างมหาศาลเป็นต้น

(2) เอกปุคคลปาลิ ว่าด้วยบุคคลที่เป็นเอก เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเอกบุคคลในโลกการปรากฏขึ้นแห่งสัมมาสัมพุทธเจ้า นั้นหาได้ยากเป็นต้น

(3) เอตทัคคปาลิ ว่าด้วยความเป็นเลิศของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่อง ตามความรู้ความสามารถ ความประพฤติและความถนัดต่างๆ กันออกไป

(4) อัฏฐานปาลี ว่าด้วยสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เช่น เป็นไปได้ที่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยความเห็นชอบจะฆ่าบิดามารดาเป็นต้น

(5) อปราเอกธัมมาทิปาลิ ว่าด้วยธรรมเอกอีกหมวดหนึ่ง เพิ่มเติมจากที่ประมวลไว้ในข้อ (1) ข้างต้น

(6) ปสาทกรธัมมาทิปาลิ ว่าด้วยธรรมที่ทำให้เกิดความเลื่อมใสเป็นต้น

ที่น่าสนใจเอกนิบาตนี้คือ เอตทัคคะ หรือความเป็นเลิศทางด้านต่างๆ ของเหล่าสาวกของพระพุทธเจ้า ขอคัดลงไว้ ณ ที่นี้เพื่อจะได้ทราบว่า แต่ละท่านได้มีบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างไรบ้าง


เอตทัคคะฝ่ายภิกษุ

1. พระอัญญาโกณฑัญญะ เลิศทางรู้ราตรี (รัตตัญญู = รู้ราตรี หรือมีประสบการณ์มาก)

2. พระสารีบุตร เลิศทางมีปัญญามาก

3. พระมหาโมคคัลลานะ เลิศในทางมีฤทธิ์มาก

4. พระมหากัสสปะ เลิศในทางกล่าว (ยกย่องการ) ขัดเกลา (ธูตวาทะ ยกย่องการถือธุดงค์)

5. พระอนุรุทธะ เลิศในทางมีตาทิพย์

6. พระภัททิยะ กาฬิโคธายบุตร เลิศในทางมีสกุลสูง

7. พระลกุณฏกะภัททิยะ เลิศในทางมีเสียงไพเราะ

8. พระปิณโฑละ ภารทวาชะ เลิศในทางบันลือสีหนาท

9. พระปุณณะ มันตานีบุตร เลิศในทางแสดงธรรม

10. พระมหากัจจายนะ เลิศในทางจำแนกธรรมโดยพิสดาร

11. พระจูฬปันถก เลิศในทางนิรมิตกายอันสำเร็จด้วยใจ ฉลาดในเจโตวิวัฏฏะ

12. พระมหาปันถก เลิศในทางฉลาดในวิวัฏฏะฝ่ายปัญญา

13. พระสุภูติ เลิศในทางเป็นทักษิไณยบุคคล, อยู่อย่างไม่มีข้าศึก (อรณวิหาร)

14. พระเรวตะ ขทิรวนิยะ เลิศในทางอยู่ป่า

15. พระกังขาเรวตะ เลิศในทางเข้าฌาน

16. พระโสณะ โกลิวิสะ เลิศในทางปรารภความเพียร

17. พระโสณะ กุฏิกัณณะ เลิศในทางกล่าววาจาไพเราะ

18. พระสีวสี เลิศในทางมีลาภมาก

19. พระวักกลิ เลิศในทางน้อมใจไปตามความเชื่อ (สัทธาธิมุต)

20. พระราหุล เลิศในทางใคร่ต่อการศึกษา

21. พระรัฏฐปาละ เลิศในทางบวชด้วยศรัทธา

22. พระกุณฑธานะ เลิศในทางจับสลากเป็นองค์แรก

23. พระวังคีสะ เลิศในทางมีปฏิภาณ

24. พระอุปเสนะ วังคันตบุตร เลิศในทางทำให้เกิดความเลื่อมใสทั่วไป

25. พระทัพพะ มัลลบุตร เลิศในทางจัดเสนาสนะ

26. พระปิลินทวัจฉะ เลิศในทางเป็นที่รักของเทวดา

27. พระพาหิยะ ทารุจีริยะ เลิศในทางตรัสรู้เร็ว

28. พระกุมารกัสสปะ เลิศในทางกล่าวธรรมอันวิจิตร

29. พระมหาโกฏฐิตะ เลิศในทางบรรลุปฏิสัมภิทา

30. พระอานนท์ เลิศในทางเป็นพหูสูต, มีสติ, มีคติ (มีหลักการสำหรับจำพุทธวจนะ) มีธิติ (ความอดทน หรือความเพียร) เป็นพุทธอุปัฏฐาก

31. พระอุรุเวลกัสสปะ เลิศในทางมีบริวารมาก

32. พระกาฬุทายี เลิศในทางทำสกุลให้เลื่อมใส

33. พระพักกุละ เลิศในทางมีอาพาธน้อย

34. พระโสภิตะ เลิศในทางระลึกชาติได้

35. พระอุบาลี เลิศในทางทรงจำพระวินัย

36. พระนันทกะ เลิศในทางให้โอวาทแก่พระภิกษุณี

37. พระนันทะ เลิศในทางสำรวมอินทรีย์

38. พระมหากัปปินะ เลิศในทางให้โอวาทแก่ภิกษุ

39. พระสาคตะ เลิศในทางฉลาดในธาตุไฟ

40. พระราธะ เลิศในทางทำให้เกิดปฏิภาณ

41. พระโมฆราช เลิศในทางทรงจีวรสีหม่น


(มีต่อ 37)
 


แก้ไขล่าสุดโดย สาวิกาน้อย เมื่อ 27 พ.ย.2006, 7:49 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.ย. 2006, 8:04 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เอตทัคคะฝ่ายภิกษุณี

1. นางปชาบดีโคตมี เลิศในทางรู้ราตรี หรือมีประสบการณ์มาก
2. นางเขมา เลิศในทางมีปัญญามาก
3. นางอุบลวรรณา เลิศในทางมีฤทธิ์
4. นางปฏาจารา เลิศในทางทรงจำพระวินัย
5. นางธัมมทินนา เลิศในทางแสดงธรรม
6. นางนันทา เลิศในทางเข้าฌาน
7. นางโสณา เลิศในทางปรารภความเพียร
8. นางสกุลา เลิศในทางมีตาทิพย์
9. นางกุณฑลเกสา เลิศในทางตรัสรู้เร็ว
10. นางภัททกาปิลานี เลิศในทางระลึกชาติได้
11. นางภัททากัจจานา (ยโสธรา) เลิศในทางบรรลุมหาอภิญญา
12. นางกีสาโคตมี เลิศในทางทรงจีวรสีหม่น
13. นางสิคาลมาตา เลิศในทางน้อมไปด้วยความเชื่อ (สัทธาธิมุต)


เอตทัคคะฝ่ายอุบาสก

1. ตปุสสะ และภัลลิกะ เลิศในทางถึงสรณะ (สอง) เป็นคนแรก
2. อนาถปิณฑิกะเศรษฐี เลิศในทางถวายทาน
3. จิตตะคฤหบดี เลิศในทางเป็นพระธรรมกถึก
4. หัตถกะอาฬวกะ เลิศในทางสงเคราะห์บริษัทด้วยปัจจัย 4
5. มหานามะศากยะ เลิศในทางถวายของประณีต
6. อุคคะคฤหบดี เลิศในทางถวายของที่ชอบใจ
7. อุคตะคฤหบดี เลิศในทางอุปัฏฐากพระสงฆ์
8. สูระอัมพัฏฐะ เลิศในทางมีความเลื่อมใสไม่หวั่นไหว
9. ชีวกโกมารภัจจ์ เลิศในทางเลื่อมใสในบุคคล (เลื่อมใสในคนที่ดีงาม)
10. นกุลปิตาคฤหบดี เลิศในทางคุ้นเคยกับพระพุทธเจ้า


เอตทัคตะฝ่ายอุบาสิกา

1. นางวิสาขา มิคารมาตา เลิศในทางถวายทาน
2. นางขุชุตตรา เลิศในทางสดับตรับฟังมาก
3. นางสามาวดี เลิศในทางอยู่ด้วยเมตตา
4. นางอุตตรา นันทมาตา เลิศในทางเข้าฌาน
5. นางสุปปวาสา โกลิยธิดา เลิศในทางถวายของประณีต
6. นางสุปปิยาอุบาสิกา เลิศในทางพยาบาลคนไข้
7. นางนกุลมาตา คหปตานี เลิศในทางมีความคุ้นเคยกับพระพุทธเจ้า
8. นางกาติยานี เลิศในทางมีความเลื่อมใสไม่หวั่นไหว
9. นางกาลีอุบาสิกา เลิศในทางเลื่อมใสเพราะฟังจากผู้อื่น
10. นางสุชาดา เสนียธิดา เลิศในทางถึงสรณะเป็นคนแรก


2.2 ทุกนิบาต ประชุมข้อธรรม 2 อย่าง โดยนัยต่างๆ ขอนำลงมาไว้เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาดังต่อไปนี้

(1) ความเพียรที่ให้สำเร็จผลได้ยาก 2 อย่าง

1. ความเพียรของคฤหัสถ์เพื่อให้ได้ปัจจัย 4
2. ความเพียรของบรรพชิตเพื่อละกิเลสทั้งปวง


(2) สิ่งที่ทำให้เดือดร้อน 2 อย่าง คือ

1. กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ที่กระทำไว้
2. กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ที่มิได้กระทำไว้


(3) ธรรมที่ทรงบัญญัติ ไว้เพื่อบรรลุผลที่ต้องการ 2 ประการ

1. ความไม่พอใจใน (การทำ) ความดี (อสนฺตุฏฺฐิตา กุสเลสุ ธมฺเมสุ)
2. ความพากเพียรไม่หยุด (อปฺปฏิวาณิตา ปธานสฺมึ)


(4) ธรรมคุ้มครองโลก 2 อย่าง

1. ความละอายใจในการทำบาป (หิริ)
2. ความเกรงกลัวผลของการทำชั่ว (โอตตัปปะ)


(5) พลัง 2 อย่าง

1. พลังคือการพิจารณา (ปฏิสังขานพละ)
2. พลังคือการฝึกฝนตน (ภาวนาพละ)


(6) เหตุที่ทำให้พระสัทธรรม (พระศาสนา) เสื่อม 2 อย่าง

1. ยกบทพยัญชนะผิด
2. อธิบายความหมายผิด


(7) คนพาล 2 จำพวก

1. ทำผิดแล้วไม่รู้ว่าตนผิด
2. เวลาคนอื่นทำผิดแล้วขอขมา ไม่รับขมา


(8) คนกล่าวตู่พระตถาคต 2 ประเภท

1. ทำคิดชั่วร้าย (จ้องหาทางจะทำลาย)
2. คนที่ศรัทธาเลื่อมใส แต่ถือเอาผิด (เรียนผิด ปฏิบัติผิด)


(9) ภูมิของคนดี 2 อย่าง

1. รู้บุญคุณผู้อื่น (กตัญญุตา)
2. ตอบแทนคุณผู้อื่น (กตเวทิตา)


(10) คน 2 จำพวก วิวาทด้วยสาเหตุต่างกัน

1. คฤหัสถ์วิวาทกันเพราะเรื่องกาม
2. บรรพชิตวิวาทกันเพราะเรื่องทิฐิ (ความเห็น)


(11) บริษัท 2

นัยที่ 1 บริษัทตื้น กับ บริษัทลึก
นัยที่ 2 บริษัทกาก กับ บริษัทหัวกะทิ
นัยที่ 3 บริษัทที่แนะนำได้ยาก กับ บริษัทที่แนะนำไม่ยาก


(มีต่อ 38)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2006, 6:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(12) สุข 3 อย่าง

นัยที่ 1 สุขของคฤหัสถ์ (คิหสุข) กับสุขของบรรพชิต (ปัพพัชชาสุข)
นัยที่ 2 สุขในกาม (กามสุข) กับ สุขในการออกจากกาม (เนกขัมมสุข)
นัยที่ 3 สุขทางกาย (กายสุข) กับ สุขทางใจ (เจตสิกสุข)


(13) คนพาล 2 อย่าง

1. ผู้นำภาระที่ยังไม่มาถึง
2. ผู้ไม่นำภาระที่มาถึงแล้ว


(14) บุคคลหาได้ยาก 2 จำพวก

นัยที่ 1 ผู้ทำอุปการะก่อน (บุพพการี) กับ ผู้รู้คุณแล้วตอบแทน (กตัญญูกตเวที)

นัยที่ 2 ผู้อิ่มแล้ว (ติตฺโต) กับ ผู้ยังคนอื่นให้อิ่มด้วย (ตปฺเปตา)


2.3 ติกนิบาต ประชุมข้อธรรม 3 อย่าง ขอยกมาเป็นตัวอย่างดังนี้

(1) ลักษณะคนพาล 3 อย่าง

นัยที่ 1 คิดชั่ว, พูดชั่ว, ทำชั่ว

นัยที่ 2 ตั้งคำถามโดยไม่แยบคาย, แก้ปัญหาโดยไม่แยบคาย, ไม่อนุโมทนาปัญหาที่เขาแก้แล้ว


(2) คุณสมบัติของพ่อค้าที่ดี

1. ตาดี (จกฺขุมา)
2. ฉลาด (วิธูโร)
3. รู้จักคนกว้างขวาง (นิสฺสยสมฺปนฺโน)


(3) บุคคล 3 จำพวก

นัยที่ 1 คนมีใจเป็นแผล, คนมีใจเหมือนสายฟ้า, คนมีใจเหมือนเพชร

นัยที่ 2 คนไม่ควรคบไม่ควรเข้าใกล้, คนควรคบ ควรเข้าใกล้, คนควรเข้าใกล้ ควรคบ ควรสักการะ

นัยที่ 3 คนปากเหม็น (คูถภาณี), คนปากหอม (ปุปฺผภาณี), คนปากหวาน (มธุรภาณี)

นัยที่ 4 คนตาบอด (อนฺโธ), คนตาเดียว (เอกจกฺขุ), คนสองตา (ทฺวิจกฺขุ)

นัยที่ 5 คนปัญญาคว่ำ, คนปัญญาเหมือนชายพก, คนปัญญามาก


(4) บิดามารดามี 3 ฐานะ

1. เป็นพรหมของบุตร
2. เป็นบูรพาจารย์ของบุตร
3. เป็นอาหุไนยบุคคล หรือเป็นอรหันต์ของบุตร


(5) กิเลสมีโทษต่างกัน 3 อย่าง

1. ราคะมีโทษน้อย คลายช้า
2. โทสะมีโทษน้อย คลายเร็ว
3. โมหะมีโทษมาก คลายช้า


(6) หน้าที่รีบด่วนของภิกษุเทียบหน้าที่ของชาวนา 3 อย่าง

1. สมาทานในอธิสีลสิกขา เทียบกับชาวนาปราบพื้นนาให้เรียบ

2. สมาทานในอธิจิตตสิกขา เทียบกับชาวนาหว่านพืช

3. สมาทานในอธิปัญญาสิกขา เทียบกับชาวนาไขน้ำออกเมื่อน้ำมากเกิน, สูบน้ำเข้าเมื่อน้ำมีน้อยเกิน


(7) คุณสมบัติของภิกษุเปรียบด้วยม้าอาชาไนย 3 อย่าง

1. มีศีล เปรียบเหมือนม้ามีสีงาม
2. พากเพียรสม่ำเสมอ เปรียบเหมือนม้ากำลังดี
3. รู้อริยสัจ เปรียบเหมือนม้ามีฝีเท้าเร็ว


(8) ภิกษุเปรียบเหมือนผ้า 3 ชนิด

1. ทุศีล มีธรรมทราม เปรียบเหมือนผ้าสีไม่งาม
2. ให้ทุกข์แก่คนอื่น เปรียบเหมือนผ้าเนื้อหยาบ
3. ทำไทยทานของทายกให้มีอานิสงส์น้อย เปรียบเหมือนผ้าราคาต่ำ


(9) ไม่มีความอิ่มใน 3 อย่าง

1. ไม่อิ่มในการนอน
2. ไม่อิ่มในการดื่มสุราเมรัย
3. ไม่อิ่มในการเสพเมถุนธรรม


(10) เทคนิคการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า 3 อย่าง

1. ทรงแสดงเพื่อให้ผู้ฟังรู้เห็นในสิ่งที่ควรเห็น (อภิญฺญาย)
2. ทรงแสดงธรรมมีเหตุมีผลที่อาจตรองตามให้เห็นจริงได้ (สนิทานํ)
3. ทรงแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ คือ ปฏิบัติตามได้รับผลจริง (สปฺปาฏิหาริยํ)


(11) บุคคล 3 จำพวก

1. บุคคลเปรียบด้วยรอยขีดในศิลา
2. บุคคลเปรียบด้วยรอยขีดบนแผ่นดิน
3. บุคคลเปรียบด้วยรอยขีดในน้ำ


(12) คุณสมบัติของพระเปรียบนักรบ 3 ประการ

1. กำหนดรู้ขันธ์ 5 ดุจนักรบที่ยิงได้ไกล (ทูเร ปาตี)

2. รู้แจ้งอริยสัจ ดุจนักรบยิงได้เร็วและแม่นยำ (อกฺขณเวธี)

3. ทำลายอวิชชา ดุจนักรบทำลายข้าศึกมากมายด้วยกำลังพลน้อย (มหโต กายสฺส ปทาเลตา)


(13) คุณสมบัติของมิตร 3 ประการ

1. ให้สิ่งที่ให้ได้ยาก
2. ทำสิ่งที่ทำได้ยาก
3. อดทนสิ่งที่ทำได้ยาก


(14) คุณสมบัติของภิกษุดี เปรียบม้าดี 3 ชนิด

1. รู้อริยสัจ เวลาถูกถามปัญหาในอภิธรรม อภิวินัย ตอบตะกุกตะกัก ไม่มีลาภปัจจัย เปรียบเหมือนม้าฝีเท้าดี สีไม่สวย สูงไม่ได้สัดส่วน

2. รู้อริยสัจ ถูกถามปัญหาตอบได้ แต่ไม่มีลาภปัจจัย เปรียบเหมือนม้าฝีเท้าดี สีสวยแต่สูงไม่ได้สัดส่วน

3. รู้อริยสัจ ถูกถามปัญหาตอบได้ และมีลาภสักการะ เปรียบเหมือนม้าฝีเท้าดี สีสวย และสูงได้สัดส่วน


(15) ปฏิปทา 3 ทาง

1. ปฏิปทาหมกมุ่นในกาม
2. ปฏิปทาทรมานตน
3. ปฏิปทาสายกลาง


(มีต่อ 39)
 


แก้ไขล่าสุดโดย สาวิกาน้อย เมื่อ 11 ก.ย. 2006, 6:33 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 11 ก.ย. 2006, 6:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

2.4 จตุกกนิบาต ประชุมข้อธรรม 4 ข้อ ขอยกมาเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้

(1) ผู้ปฏิบัติผิดต่อบุคคล 4 จำพวก

1. ปฏิบัติผิดในมารดา
2. ปฏิบัติผิดในบิดา
3. ปฏิบัติผิดในพระตถาคต
4. ปฏิบัติผิดในพระสาวกของพระพุทธเจ้า


(2) บุคคล 4 จำพวก

1. ผู้ไปตามกระแส (อนุโสตคามี)
2. ผู้ทวนกระแส (ปฏิโสตคามี)
3. ผู้ยืนอยู่อย่างมั่นคง (ฐิตตฺโต)
4. ผู้ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งอย่างปลอดภัย (ติณฺโณ ปารคโต)


(3) เวสารัชชธรรม (ความองอาจกล้าหาญ) ของพระตถาคต 4 ประการ

1. เมื่อทรงปฏิญาณว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธ ใครๆ ไม่กล้าทักท้วงว่ามิได้เป็นจริง

2. เมื่อทรงปฏิญาณว่าสิ้นอาสวะแล้ว ใครๆ ไม่กล้าทักท้วงว่ายังไม่สิ้น

3. เมื่อบอกว่าสิ่งใดเป็นโทษ ใครๆ ไม่กล้าทักท้วงว่าไม่เป็นโทษจริง

4. เมื่อทรงแสดงว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์ใครๆ ไม่กล้าทักท้วงว่าไม่เป็นประโยชน์จริง


(4) เป้าหมายของพรหมจรรย์ (การบวช) คืออะไร

พระบรมศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้เราประพฤติมิใช่เพื่อหลอกลวงคน เพื่อให้คนบ่นเพ้อถึง เพื่ออานิสงส์คือลาภสักการะและชื่อเสียง เพื่อเป็นเจ้าลัทธิเพื่อให้คนรู้จักเรา แต่ที่แท้เรา ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสำรวมระวัง เพื่อละกิเลสเพื่อคลายกำหนัดยินดี เพื่อดับกิเลสโดยสิ้นเชิง


(5) ลักษณะของมหาบุรุษ 4

1. ปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขแก่คนหมู่มาก

2. ให้คนหมู่มากประดิษฐานอยู่ในญาณธรรมอันประเสริฐ คือ กัลยาณธรรมและกุศลธรรม

3. ชำนาญในทางแห่งการตรึก คือ คิดหรือไม่คิดเรื่องใดๆ ได้ตามปรารถนา

4. ได้ฌาน 4 ทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ


(6) พระบรมศาสดาเป็นพุทธะเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น

พระศาสดาเสด็จพุทธดำเนินทางไกลระหว่างเมืองอุกัฏฐะ กับเมืองเสตัพยะ โทญพราหมณ์เดินตามหลังมา เห็นรอยบาทต้องด้วยมหาปุริสลักษณะ จึงเข้าไปทูลถามว่า "ท่านเป็นเทวดาหรือ" พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธ เขาถามต่อว่า เป็นยักษ์หรือ เป็นมนุษย์หรือ พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธเมื่อเขาถามว่า "ถ้าอย่างนั้น ท่านเป็นอะไร"

"พุทธะ" พระพุทธองค์มีดำรัสตอบ


(7) ผู้มีธรรม 4 ประการ ไม่มีทางเสื่อม

1. สมบูรณ์ด้วยศีล
2. สำรวมอินทรีย์ (ระมัดระวังการแสดงออกทางประสาทสัมผัส)
3. รู้จักประมาณในการกิน
4. มีความพากเพียรพยายาม ตื่นอยู่เสมอ


(8) การตอบปัญหา 4 อย่าง

1. ตอบยืนยัน, ตอบแง่เดียว (เอกังสพยากรณียะ)
2. แยกประเด็นตอบ (วิภัชชพยากรณียะ)
3. ย้อนถามแล้วจึงตอบ (ปฏิปุจฉาพยากรณียะ)
4. งดตอบ, ตัดประเด็น (ฐปนียะ)


(9) โลกในความหมายของพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าตรัสว่า "บุคคลไม่อาจไปให้ถึงที่สุดโลกด้วยการไปธรรมดา แต่เมื่อยังไม่ถึงที่สุดโลกก็จะทำที่สุดทุกข์ไม่ได้ อาวุโส เราบัญญัติโลก การเกิดแห่งโลก ความดับโลก และทางให้ถึงความดับโลก ที่ร่างกาย ยาววาหนาคืบ มีสัญญา มีใจครองนี้"


(10) สิ่งไกลกัน 4 อย่าง

1. ฟ้า กับดิน
2. ฝั่งนี้ กับฝั่งโน้น
3. พระอาทิตย์ขึ้น กับพระอาทิตย์ตก
4. ธรรมของสัตบุรุษ กับธรรมของอสัตบุรุษ


(11) สิ่งเศร้าหมองของสมณพราหมณ์ 4 ประการ

1. การดื่มสุราเมรัย
2. การเสพเมถุนธรรม
3. การยินดีเงินและทอง
4. การประกอบมิจฉาชีพ


(12) การอยู่ร่วมกันแห่งสามีภรรยา 4 ประเภท

1. ศพอยู่ร่วมกับศพ (สามีภรรยาไร้ศีลธรรมทั้งคู่)
2. ศพอยู่ร่วมกับเทพ (สามีไร้ศีลธรรม ภรรยามีศีลธรรม)
3. เทพอยู่ร่วมกับศพ (สามีมีศีลธรรม ภรรยาไร้ศีลธรรม)
4. เทพอยู่ร่วมกับเทพ (สามีมีศีลธรรม ภรรยามีศีลธรรม)


(13) คู่สร้างคู่สม มีธรรม 4 ประการ

1. มีศรัทธาสมกัน (สมสทฺธา)
2. มีศีลสมกัน (สมสีลา)
3. มีจาคะสมกัน (สมจาคา)
4. มีปัญญาสมกัน (สมปญฺญา)


(14) สุขของคฤหัสถ์ 4 อย่าง

1. สุขเพราะมีทรัพย์ (อตฺถิสุขํ)
2. สุขเพราะได้ใช้สอยทรัพย์ (โภคสุขํ)
3. สุขเพราะไม่มีหนี้ (อนณสุขํ)
4. สุขเพราะทำงานสุจริต ไม่มีโทษ (อนวชฺชสุขํ)


(15) สำคัญที่ผู้นำ

พระพุทธเจ้าตรัสว่า "เมื่อฝูงโคข้ามาฟาก หากโคจ่าฝูงนำไปคด โคทั้งหลายจะเดินคดตามหากโคจ่าฝูงนำไปตรง โคทั้งหลายก็จะเดินตรงตาม ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ใครที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ ให้เป็นผู้นำ ถ้าคนนั้นไม่ประพฤติธรรม คนทั้งปวงก็จะทำตาม รัฐก็เดือดร้อน ถ้าผู้นำประพฤติธรรม คนทั้งปวงก็ประพฤติธรรมตาม รัฐก็มีแต่ความสุขสมบูรณ์"


(มีต่อ 40)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง