Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 การทำบุญให้ทาน อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 11 ส.ค. 2004, 10:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การทำบุญให้ทาน






คำว่า บุญ ผูกผันกับคนไทยเราเหมือนกับกินข้าว แต่บางทีก็เหมือนกับกินข้าวอีกนั่นแหละ ที่ไม่รู้ว่ากับข้าวนั้นทำมาอย่างไรถึงอร่อย รู้แต่ว่าอร่อย





เรามาคุยกันถึงเครื่องปรุงขอบบุญกันสักหน่อย จะได้เพลิดเพลินในการทำบุญ





คำว่าบุญกับทาน





ก่อนอื่นต้องจูนคลื่นให้ตรงกันก่อน คือคำว่าทำบุญกับทำทาน เรามักจะเข้าใจกันว่า ทำบุญกับพระ ทำทานกับคนทั่วไป ความจริงคือคำเดียวกันไม่ได้แบ่งแยก ทานคือการให้ ฉะนั้น ให้พระ ให้คน ก็คือให้เหมือนกัน เป็นทานทั้งหมด แต่ที่เรียกทำบุญกับพระเป็นความนิยม





การไปทำบุญ





คนโบราณเวลาไปวัดเขาจะบอกว่าไปทำบุญ ความหมายคือ ทำหมดทุกอย่าง ไปสวดมนต์คือเจริญภาวนา รักษาศีล ไปช่วยกิจที่ควรช่วยทำ ไปฟังธรรม แสดงธรรมเวลาพูดคุยกันเรื่องธรรมะนี่ก็เป็นการแสดงธรรม มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีการอุทิศส่วนบุญคือกรวดน้ำ และมีการอนุโมทนาบุญ เวลาท่านไปวัดจึงได้ไปทำในเรื่องบุญหลายประการ จึงเรียกว่าไปทำบุญ





หลวงพ่อชาให้นิยามว่า “ บุญคือความสุขที่ปราศจากโทษ “







 

_________________
สายลมเริ่มเปลี่ยนทิศแล้ว
ลมหนาวกำลังมาเยือนแล้ว

จันทร์ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๑
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 11 ส.ค. 2004, 10:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เพราะส่วนใหญ่พูดสั้น ๆ ว่า บุญคือความสุข ทีนี้กินเหล้าก็มีความสุขเหมือนกัน คนเราจึงอาจเฉไฉเลี่ยงบาลีได้ จึงต้องกำกับตามหลวงพ่อชาไว้ด้วยว่า บุญ คือ ความสุขที่ปราศจากโทษ







ดังนั้น ที่บางคนจัดงานทำบุญที่บ้านนิมนต์พระมา แล้วเลี้ยงเหล้าชาวบ้านด้วย ก็เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เรียกว่าทำบุญปนบาปนาน ๆ จะทำบุญกันที ทำบุญให้ได้บุญจะดีกว่า







 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 11 ส.ค. 2004, 10:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ควรเลือกให้ทาน








พระพุทธเจ้าสอนว่า “ ให้แก่ผู้ที่มีธรรม ย่อมมีผลมากกว่าให้แก่ผู้ไม่มีธรรม “ ดังนั้น เราจึงควรเลือกให้ คือถ้ารู้จริง ๆ แล้วว่าพระองค์นี้ไม่ดี ไม่มีคุณธรรม จะไม่ให้ก็ได้ บางคนเห็นเป็นพระก็ไม่กล้าที่จะไม่ให้กลัวตัวเองจะบาป อันนี้ท่านก็บอกว่าเลือกให้ได้





แต่ถ้าเราไม่รู้ว่าเขาดีหรือไม่ อันนี้ก็ทำไปเถอะ ตัดความหวังประโยชน์ของเราเสีย หวังแต่ให้ผู้รับเป็นสุข แต่ถึงอย่างไรก็ได้อยู่ดีคือ เรารู้สึกปลื้มใจที่ได้ทำบุญ ไม่ใช่เลือกละเอียดยิบ เลือกจนไม่มีที่จะให้ ไม่มีที่ที่จะทำบุญ ท่านสอนว่าขอให้คิดว่าคนเราดีไม่ทั่วชั่วไม่หมด และในการทำบุญ แม้แต่ให้กับสัตว์ก็ได้บุญ บุญเล็กน้อยก็ทำไปเรียกว่าให้บ่อย ๆ เหมือนน้ำหยดลงตุ่มทีละหยดเดียว แต่ถ้าหยดอยู่ตลอดเวลา ก็เต็มตุ่มได้ วันหนึ่งเราก็มีบุญเต็มตัวได้เหมือนกัน







 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 11 ส.ค. 2004, 11:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การทำสังฆทาน






สังฆทาน คือ การถวายสิ่งของแก่พระโดยไม่เจาะจงว่าเป็นพระรูปใด





การให้โดยเจาะจงว่าเป็นพระรูปนั้น ๆ เรียกว่า ปาฏิปุคคลิกทาน ได้บุญเหมือนกัน แต่ได้บุญน้อยกว่าสังฆทาน





พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ ทานที่ให้เจาะจง เรากล่าวว่าเป็นปกฏิปุคลิกทาน ปาฏิปุคลิกทานใด ๆ จะมีผลเท่าสังฆทานไม่ได้เลย “





เมื่อเราไม่ได้เจาะจงพระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งโดยเฉพาะแล้วก็ถือเป็นสังฆทานทั้งสิ้น เรียกว่ามีการเจาะจงหรือไม่เจาะจง เป็นใจความสำคัญของสังฆทาน





ตอนเช้า ตักบาตรให้พระ 1 รูป ที่บิณฑบาตผ่านมา ก็เป็นสังฆทาน





ตอนสาย ไปวัด หย่อนเงินลงตู้ทำบุญค่าน้ำค่าไฟ ก็เป็นสังฆทาน เพราะให้พระใช้ได้ทั้งวัด ไม่เลือกพระองค์ใด





ตอนเพล พระนั่งล้อมวงเป็นร้อยรูป ญาติโยมไปใส่บาตร ให้ท่าน 3 องค์บ้าง 5 องค์บ้าง หรือทั้งร้อย ก็เป็นสังฆทาน





อยากทำบุญด้วยผ้าไตรสักชุดหนึ่ง ก็จัดเตรียมแล้วไปหาพระ เมื่อพบพระองค์ใดก็ถวายท่าน ก็สำเร็จเป็นสังฆทาน





สังฆทาน อยู่ที่เจตนาเจาะจงหรือไม่เจาะจง ไม่ได้อยู่ที่จำนวนพระ และไม่ได้อยู่ที่รายชื่อสิ่งของ บางคนคิดว่าการถวายสังฆทาน คือ ต้องเป็นถังสีเหลือง ใส่ข้าวสาร ผงซักฟอก ไม้ขีดไฟ สบู่ ฯลฯ นั่นเป็นเพียงของสำเร็จรูปที่คนค้าขายเขาจัดไว้ให้เพื่อขายเท่านั้น ปัจจุบันข้าวของเครื่องใช้ บางทีมีมากมายจนล้นเหลือ พระไม่ได้ใช้ บุญก็ไม่เกิดแก่ผู้ให้ แต่พระต้องใช้น้ำใช้ไฟ การจ่ายค่าน้ำค่าไฟ ค่ายารักษาโรค จึงเป็นบุญ เพราะมีประโยชน์แก่พระสงฆ์โดยรวม





ในการทำสังฆทาน ท่านสอนให้เรา “ ทำใจให้ยินดีในบุญกุศล ไม่ให้ยินดีในบุคคลผู้รับ ทำใจให้ตรงแน่วต่อคุณของพระรัตนตรัยคือ พระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ ทานอย่างนี้มีผลมาก เพราะเป็นการขัดเกลาจิตใจของตนไปด้วย “ ที่ท่านสอนเช่นนี้ เพราะเราชอบมัวแต่ละล้าละลัง กังวลว่าผู้รับจะดีหรือไม่อย่างไร คือ กลัวมาทำให้บุญเรามีตำหนินั่นแหละ ( ที่แท้ก็รักตัวเอง ) เลยเศร้าหมอง ท่านจึงสอนให้เพ่งที่ได้ทำบุญกุศลได้ขัดเกลาจิตใจตนเองเป็นหลัก









 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 11 ส.ค. 2004, 11:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การให้ทานมี 3 ชนิด คือ อามิสทาน อภัยทาน ธรรมทาน





อามิสทาน การให้ทานด้วยสิ่งของประกอบด้วยผู้ให้ของที่ให้ และผู้รับ





เมื่อเป็น ผู้ให้ คือตัวเราผู้ทำบุญ เราต้องให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ให้ด้วยความเต็มใจ





หลวงพ่อพุทธทาส สอนว่าควรเลือกเวลาให้ที่เหมาะสมไม่ทำแล้วเหลือทิ้งขว้าง





วันปีใหม่ที่สนามหลวง ทุกคนอยากจะใส่บาตรกันเพราะถือเป็นวันมงคล และแต่ละคนก็อยากใส่บาตรพระหลาย ๆ องค์ แพรวาก็ไปกับเขาด้วย แต่พระมีน้อยกว่าคนใส่บาตร ก็ทำให้ข้าวเหลือเป็นเข่ง ๆ แพรวาเห็นชาย 2 คนช่วยกันหิ้วหูเข่งคนละข้างวิ่งผ่านมา ก็ต้องหลับตา ข้าวหอมมะลิอย่างแพงสุด ตื่นมาบรรจงหุงแต่ตี 4 ไม่รู้อยู่ก้นเข่งนี้หรือเปล่า แพรวาปรารภเรื่องนี้กับริมฤดีซึ่งได้เล่าให้เธอฟังว่า “ ฉันจะตักบาตรปีใหม่ ในวันก่อนหรือหลังปีใหม่วันใดวันหนึ่งในอาทิตย์นั้น แล้วแต่สะดวกวันไหน เพราะความสะดวกทำให้เราทำได้โดยสงบ ไม่ลุกลี้ลุกลนกระวนกระวายถ้าเราถือว่าเป็นช่วงของความมงคล เราก็ทำ แต่ไม่ต้องทำตรงวันที่ 1 เป๊ะ ไม่จำเป็น ความจริงมันก็เป็นวันธรรมดาวันหนึ่งเหมือนวันอื่น ๆ ถ้าเราทำบุญทุกวันก็มงคลทุกวัน การเหลือทิ้งขว้างนั้นเสียของมีคนอดอยากอีกตั้งเยอะ แต่เราเอาข้าวมาทิ้ง น่าเสียดาย ข้าวถ้าไม่มีใครกิน อยู่ในเข่งสกปรกแล้วบุญจะมาจากไหน บุญอยู่ที่มีคนกินข้าวนั้นยังชีวิต ไม่ได้อยู่ที่ข้าวเลื่อนจากทัพพีของเราลงไปในบาตร









 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 11 ส.ค. 2004, 11:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ส่วนวันที่ 1 ถ้าแพรวาอยากทำบุญจริง ๆ ควรสวดมนต์นั่งสมาธิ ฟังธรรมะอย่างสงบอยู่ที่บ้าน หรือไปฟังเทศน์ที่วัด เพราะทำสมาธิหรือฟังธรรม ได้บุญมากกว่าตักบาตร การทำใจให้สงบเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่ดี “





นอกจากนั้น เรายังควรเลือกเวลาที่เหมาะสมกับผู้รับ เช่น เขากำลังทุกข์เพราะหิว เวลานั้นเราก็ควรให้ข้าว เมื่อเขาไม่สบาย เราก็ควรให้ยา ไม่ใช่เวลานี้เขากำลังหิวจนตาลาย แล้วเราก็เอาหนังสือมาให้เขาอ่าน ดังนี้เป็นต้น ท่านสอนรวมไปถึงอาการกิริยาที่ให้ ก็โดยดี ถูกต้องเหมาะสม ไม่ใช่กระแทกกระทั้นให้ เหมือนไม่เต็มใจ และที่สำคัญคือ มีเจตนาดี มีความพอใจยินดีทั้งก่อนให้ขณะกำลังให้ และหลังจากให้ไปแล้ว





ทั้งหมดนี้คือคุณสมบัติที่ผู้ให้พึงมี





ของที่ให้ เรียกว่า วัตถุทาน ก็ได้แก่ ปัจจัย 4 อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย





ดังนั้น เราจะเห็นว่าคนไทยเรานิยมสร้างวัด สร้างโบสถ์กันมาก เพราะอยากได้บุญมากนั่นเอง แต่ถ้าโบสถ์ใดหรือศาลาการเปรียญใดสร้างไปแล้ว 150 ล้าน แต่ปิดใส่กุญแจไม่ได้ใช้คนสร้างก็ไม่ได้บุญเท่าใด เพราะบุญไปอยู่ที่การได้ใช้งาน ถ้าศาลา









 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 11 ส.ค. 2004, 11:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การเปรียญสร้างมาราคาสองแสน แต่ใช้แล้วใช้เล่า เช้า บ่าย เย็น ใช้ตลอด คนทำก็ได้บุญมาก ดังนี้แล





ถ้าไม่มีวัตถุจะให้ สิ่งใดที่เกื้อxxxลผู้อื่นโดยเราต้องเสียสละก็เรียกวัตถุทาน เช่น ช่วยเรี่ยวแรงไปกวาดวัด สร้างถนน หรือช่วยโดยสติปัญญา ใช้ความรู้ของเราให้เป็นประโยชน์แก่กิจนั้น ๆ





วัตถุทานมีข้อจำกัดอยู่ว่า ต้องได้มาโดยธรรม





การได้มาโดยธรรม คือไม่ได้ขโมยมา ไม่ได้โกงใครเขามา ไม่ได้บังคับรีดนาทาเร้นใครเขามา เป็นของที่เราหามาโดยสุจริต จากอาชีพสุจริต





ใครที่บอกว่าไปเล่นม้า ได้เงินมาก็แบ่งเอามาทำบุญแล้ว ปลื้มใจว่าไม่ได้บาปแล้ว ก็ต้องเข้าใจเสียใหม่ ยังทัน





สิ่งของที่จะให้เป็นวัตถุทาน มี 3 ประเภท คือ





1.ทาสทาน ของที่ให้นั้น เป็นของที่เราไม่ใช้แล้ว หรือระดับเลวกว่าของที่เราใช้อยู่ ท่านอาจารย์วศิน อินทสระ ได้ให้คำอธิบายไว้อีกนัยหนึ่ง คือ ถ้าเขาควรได้รับของดี เราขี้เหนียว เราไม่ให้ ไม่อยากให้ เราก็ให้ของเลว ก็จัดเป็นทาสทาน คือ การให้อย่างเป็นทาสของความตระหนี่ หรือให้เหมือนกับให้แก่ทาส





2.สหายทาน ของที่ให้เป็นของระดับเดียวกับที่เราใช้อยู่ตามปกติ







 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 11 ส.ค. 2004, 11:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

3.สามีทาน ของที่ให้นั้น ดีกว่าของที่เราใช้อยู่





ทำไมจึงต้องรู้เรื่อง 3 อย่างนี้ ก็เพื่อเวลาที่ได้รับอะไรมาไม่ค่อยดี ไม่ค่อยถูกใจ จะได้รู้ว่า เราคงเคยให้ของไม่ดีกับคนอื่นเขาไว้นะเอง จะได้ไม่เสียใจมาก และต่อไปก็จะได้หัดให้ของดี ๆ กับคนอื่นเขาบ้าง





ผู้รับ เรียกว่า ปฏิคาหก ผู้รับทาน มีทั้งผู้รับที่ดีและไม่ดี ท่านพุทธทาสได้แจกแจงไว้ให้ดังนี้





1.ให้เพราะสงสาร ได้แก่ สัตว์ คนพิการ ขอทาน คนช่วยตัวเองไม่ได้





2.ให้เพราะเลื่อมใส เป็นผู้ปฏิบัติดี





3.ให้เพื่อบูชาคุณ ได้แก่ บิดา มารดา ครู อาจารย์ พระ





4.ให้เพื่อใช้หนี้ คือเจ้าหนี้ คล้ายพวกบูชาคุณ แต่ว่าการใช้หนี้นี้ เรารู้สึกในความรับผิดชอบ เช่น พระพุทธเจ้าเป็นเจ้าหนี้ เราปฏิบัติดีเป็นการบูชาคุณ หรือแผ่นดินเกิด เรามีชีวิตอยู่บนแผ่นดินนี้มาตลอดตั้งแต่เล็กจนโต ควรทำดีเป็นการตอบแทนคุณแผ่นดิน





5.ให้ทานแก่คนไม่ดี เช่น อันธพาล เราให้เพื่อให้เขากลับตัว





มีผู้รับที่ไม่ดีอีกชนิดหนึ่ง คือให้แล้ว เขาไม่กลับตัว แต่เราก็ให้ เพื่อให้เขาอย่าไปเป็นภัยแก่สังคม ถ้าให้เขาบ้าง เขาอาจจะเป็นภัยน้อยลง





 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 11 ส.ค. 2004, 11:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หลวงพ่อชาสอนว่า





“ ท่านเป็นเรื่องแรก เป็นต้นเหง้าของบุญกุศลจริง ๆ การให้ทานเหมือนการหัดเดิน ให้มันโตไป ๆ ทานวัตถุถ้ามันใหญ่ขึ้นมา มันจะทานไปถึงอารมณ์ ทานถึงสิ่งที่มันไม่มีรูป ทานเรื่องจิตใจ ทานโลภะ ทานโมหะ “





ทานเรื่องจิตใจนี้ หลวงพ่อพุทธทาส ท่านตั้งชื่อว่า สุญญตาทาน คือ ทานที่คืนตัวเองให้แก่ธรรมชาติ คือ คืนบางอย่าง เช่น โลภะ โมหะ ให้แก่ธรรมชาติ ( ก็เดิมธรรมชาติมันอยากให้เรามา เราก็คืนไป ) ท่านอธิบายไว้ 4 อย่าง





1.สละ มานะ ทิฐิ อย่างหยาบ ๆ สละคือ ลด ละ เลิก





2.สละ ความเห็นแก่ตัว คือความเห็นว่าของxxx





3.สละอัสมิมานะ คือ ความเห็นว่า ตัวxxx





4.สละนิพพานออกไปเสียอีกทีหนึ่ง ไม่ใช่นิพพานของxxx ไม่ใช่นิพพานของนิพพาน ไม่ใช่นิพพานของอะไร นิพพานนั้นเป็นความว่างอย่างยิ่ง ไม่เหลืออะไร เหลือแต่ความว่าง





สำหรับข้อ 4 สละนิพพาน ตอนนี้ฟังไว้เฉย ๆ คงยังไม่ใช่สำหรับพวกเราชาวอนุบาล และให้รู้ว่าดอกเตอร์เขาเรียนอะไรก็แล้วกันนะ



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 11 ส.ค. 2004, 11:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การทำบุญให้ได้ผลมาก






ในการทำบุญ เราจะได้ยินบ่อย ๆ ว่าไม่มีเงินจะทำบุญ แต่พระพุทธเจ้าสอนว่า “ เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว การทำบุญชื่อว่าน้อยไม่มี “ ท่านเปรียบว่า คนจนทำบุญ 1 บาท มีผลบุญเท่ากับทำบุญ 1000 บาท ดังนั้น จำนวนเงินจึงไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ แต่การทำบุญเราทำให้ได้ผลมากได้ ท่านเรียกว่า ทำด้วยมหากุศลจิต ประกอบด้วยเหตุดังนี้ คือ





1.มีเจตนาในกาลทั้ง 3 ดี ไม่ปล่อยให้อกุศลแทรกเข้ามาเจตนาทั้ง 3 กาล คือ ก่อนทำ และหลังทำ เช่น





สวดมนต์ เริ่มตั้งต้นสวด ใจไม่ไปอยู่ที่อื่น จดจ่ออยู่ที่ธูปเทียน การกราบ การกล่าวบูชา ไปจนเสร็จกระบวนการ





จะตักบาตร ก่อนทำก็คือช่วงเริ่มปรุงอาหาร อย่าปรุงอาหารไป หงุดหงิดไป ร้อนใจไป ให้ปรุงอาหารอย่างสงบ ไม่คิดฟุ้งซ่าน รู้ว่ากำลังทำอาหารเพื่อไปตักบาตรทำบุญ เสร็จแล้วจบอธิษฐานเรียบร้อย ไปยืนรอพระ ถ้าคิดว่าอธิษฐานไม่ยาวนัก จะจบตอนพระมาก็ได้ แต่ถ้าให้พระคอยนาน จบไม่เสร็จเสียที จะไม่งาม





กำลังทำคือ กำลังใส่บาตร ก็สงบจิตใจ หูตาไม่ต้องไปแคะว่า คนอื่นเขาใส่อะไรมาแล้วในบาตรมั่ง ให้วุ่นไป สงบเข้าไว้โยม





 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 11 ส.ค. 2004, 11:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หลังทำ คือ ตักบาตรเสร็จก็ให้นึกถึงบุญว่าได้ทำบุญมา แต่จิตคนเรามักคอยไปคิดเรื่องอื่น ๆ ต่อทันที ทำให้กิจหลังทำนี่ไม่ค่อยได้ทำ เราจึงดึงไว้โดยการกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้อื่นจะได้มี “ เจตนาหลังทำ “ ทำให้จิตมีเจตนาครบ 3 กาลได้สำเร็จ





นอกจากนี้ ท่านสอนว่า “ เจตนาหลังทำ “ ยังมีอีกแบบหนึ่ง คือ หลังจากทำไปแล้วนาน ๆ เช่น อาทิตย์หนึ่ง เดือนหนึ่ง เป็นต้น เอามาระลึกขึ้นอีกก็เป็นบุญอีก คือ ทำให้จิตใจผ่องใส บริสุทธิ์ มีความอิ่มในบุญเหมือนได้ทำบุญนั้นอีกครั้ง จึงมีอุบายบางอย่างสำหรับในเรื่องนี้ เช่น อาจจะมีภาพถ่ายงานบุญเก็บไว้ ต่อ ๆ มาก็เอามาเปิดดู อิ่มใจ เหมือนได้ไปทำบุญอย่างในภาพนั้นอีก ทำให้ใจเราได้ใกล้ชิดอยู่กับบุญ ทำให้เป็นสุข





2.มีปัญญา ข้อนี้คือ มีปัญญารู้ว่ากรรมนี้มีผล ที่เรากระทำการตักบาตรนี้เป็นสิ่งดีและมีผล รู้ว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ถ้าไม่มีปัญญา ก็คือ เขาบอกให้ตักบาตรก็ตักไปตามประเพณี ไม่รู้ว่าเพื่ออะไร เรียกว่าไม่มีปัญญา





3.ไม่ต้องมีคนมาชวน การทำบุญใด ๆ ถ้าลุกขึ้นมาทำเองโดยไม่ต้องมีใครชวน หรือมีคนชวนก็ได้ แต่ไม่ใช่ชวนยาก ท่านว่าบุญแรง แม้แต่การชวนตัวเองคือ นึกอยากทำบุญปั๊บก็ทำเลย บุญแรง แต่ถ้าเรียกตัวเอง เฮ้ย ตื่น ๆ อีกครึ่งชั่วโมง เรียกใหม่ เฮ้ย ตื่น ๆ จนพระกลับวัดหมดแล้ว วิ่งตามชายผ้าเหลืองไปใส่บาตรในวัด อันนี้ปริมาณบุญก็คงลดตาม เหมือนน้ำลดยามเดือนแรม แต่ก็เอาเถอะ



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 11 ส.ค. 2004, 11:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดีกว่าไม่เคยใส่บาตรเลยตั้งเยอะ





เมื่อครบ 3 อย่าง คือ เจตนาดีทั้ง 3 กาล มีปํญญา ไม่ต้องมีใครชวนแล้ว ก็จะมีผลมาก ท่านเรียกว่า อานิสงส์คือ ผลที่น่าสรรเสริญ การให้ที่มีอานิสงส์มาก คือ การให้ที่คิดว่าทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิตให้ดี เป็นเครื่องขัดเกลากิเลส





 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 11 ส.ค. 2004, 11:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อภัยทาน






พระพุทธเจ้าท่านสรรเสริญ อภัยทาน ดังนั้น ถ้าผู้ใดทำผิดแล้วไม่ขอโทษ ท่านปรับอาบัติ แต่ถ้าเขาขอโทษแล้ว ผู้ถูกขอโทษไม่ให้อภัย ท่านปรับอาบัติเหมือนกัน ดังนั้น เมื่อมีผู้มาขอโทษ เราควรให้อภัย





อีกประการหนึ่ง อภัยแปลว่า ไม่มีภัย ท่านจึงสอนให้เราไม่เบียดเบียนใคร นับเป็นอภัยทานด้วย





และการแผ่เมตตาจิตให้แก่ทุกคน สรรพสัตว์ทั้งหลายก็เป็นการแผ่อภัยทานออกไป ทำให้เกิดความสงบสุข





การให้อภัยเป็นของฟรี แต่ให้ยาก หากถ้าเราฝึกบ่อย ๆ เมตตาแก่ทุกคนว่าเป็นเพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย ในสังสารวัฏคือการเวียนว่ายตายเกิดนี้ แล้วจิตใจของเราจะอ่อนโยนลง สุขสงบและให้อภัยได้





พระพุทธเจ้าทรงแสดง สุขสมุทัย เหตุแห่งสุข 3 อย่าง





1.พึงให้ทาน คือช่วยเหลือกัน





2.พึงสุจริต ประพฤติสุจริต





3.พึงเจริญเมตตาจิต





รวมแล้วมี 3 อย่าง ข้อแรก คือทาน สุจริตคือศีล เจริญเมตตาจิต คือ ภาวนา ทำครบ 3 อย่างแล้วจะมีความสุข





 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 12 ส.ค. 2004, 5:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมทาน






การให้ธรรมย่อมชนะการให้ทั้งปวง แต่ต้องมีลักษณะดังนี้





1.ต้องเป็นธรรมที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ ตั้งแต่ทุกข์เล็กน้อย ไปจนถึงทุกข์ในสังสารวัฏ





2.คำแนะนำสั่งสอนที่ดีที่เป็นประโยชน์แก่การดำรงชีวิตในการนำจิตให้ปลอดโปร่ง หรือสั่งสอนศิลปวิทยาการเป็นประโยชน์ เกื้อxxxลในการทำชีวิตให้ดีขึ้น เช่นนี้ก็เรียกว่าให้ธรรม





พระพุทธเจ้าเตือนว่า อย่าเสพธรรมเลว คืออกุศลธรรม อย่าเลื่อมใสศรัทธาธรรมหรือคำสอนที่ผิด หรือลัทธิที่ผิด เพราะจะนำตนไปในทางที่ผิด เมื่อจมลงแล้วจะถอนตัวได้ยาก





อาจารย์วศิน อินทสระ กล่าวว่า “ เพียงแต่ตั้งใจที่จะพึ่งตนเองและพึ่งธรรม คนก็จะก้าวขึ้นสู่วิถีชีวิตใหม่ มีความมั่นใจในตน มั่นใจในธรรม และมีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย มั่นคงและสงบแจ่มใส ไม่เลื่อนลอยไร้หลักฐาน เหมือนต้นไม้ที่หยั่งรากลงลึกแล้วมีรากน้อยใหญ่ แผ่ยึดดินไว้อย่างมั่นคง “





การให้ธรรมทานคือ การให้โดยตรง ด้วยการบรรยายธรรม หรือแม้แต่พูดคุยธรรม และให้โดยอ้อม เช่น แจกหนังสือธรรม





 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 12 ส.ค. 2004, 5:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

บุญกิริยาวัตถุ 10






ความเข้าใจของเราทั่วไป การทำบุญคือการให้ทาน ดังนั้นเราจึงได้ยินว่า ไม่มีเงินจะทำบุญ บางทีเราเห็นว่า คนลำบากยากจน อยากจะทำบุญ แต่ไม่มีเงิน และคนรวยมีเงิน แต่ไม่ค่อยทำบุญ สาเหตุก็เพราะว่าคนยากจนเข็ดความลำบาก อยากทำบุญหนีทุกข์แต่คนสบายเห็นว่าสบายดีอยู่แล้ว ไม่ต้องทำบุญก็ได้





ความจริงก็คิดผิดทั้งคู่





คนยากจน ทำบุญอย่างอื่นได้อีก เพราะบุญมี 10 อย่าง อย่างแรกคือทานอาจจะเสียเงิน และเล่าให้ฟังแล้วในตอนแรก ทานไม่เสียเงินก็มี เช่น ช่วยแรง ช่วยปัญญา อภัยทาน แต่ก็ยังมีการทำบุญอีก 9 อย่างที่ไม่ต้องเสียเงิน ดังนั้น คนจนก็ทำบุญได้เยอะ





ส่วนคนรวย ก็ควรทำบุญไว้บ้าง เพราะทุกสิ่งเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง วันหน้าอาจจะไม่รวยก็ได้ ตอนนี้รวย ท่านเรียกว่า กินบุญเก่า คือ บุญชาติก่อน เปรียบเหมือนกำลังกินข้าวในหม้อที่หุงแล้ว แต่ก็ควรซื้อข้าวสารมาเติมไว้ ไม่งั้นข้าวสวยหมดหม้อ ข้าวสารหมดถัง จะเอาอะไรกิน





ความจริงคนรวยอาจจะได้เปรียบอยู่บ้าง เพราะรวยแล้วไม่ต้องทำอะไร มีเวลาว่างทำให้ได้ศึกษาธรรมะ มีเงินให้ทำบุญ เรียกว่ามีกำลังพอจะสร้างบุญใหม่ได้เต็มที่ น่าจะฉวยโอกาสไว้





แต่อย่างไรก็ตาม คนจนคนรวยก็ทำบุญได้ 10 อย่างเท่ากัน พวกเราที่ชอบแสวงบุญ จึงไม่ต้องนั่งรถไกลไปแสวงบุญถึงไหนแสวงอยู่ที่ตัวเรานี่เอง คือ











 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 12 ส.ค. 2004, 5:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

1. ให้ทาน





2. รักษาศีล คือ ศีล 5 ที่เรารู้กันอยู่แล้ว อีกประการหนึ่ง คือ ความประพฤติดี เป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรม สำรวมจิตใจต่ออารมณ์ต่าง ๆ ก็เรียกว่ารักษาศีลด้วย





3. ภาวนา การสวดมนต์ การนั่งสมาธิ การเจริญวิปัสสนา





4. ไวยยาวัจจะ การช่วยเหลืองานต่าง ๆ ให้ลุล่วง เช่นมี คนเขาจะทำบุญ เราไปช่วยกวาดเก็บล้างจาน ช่วยทำกับข้าว ช่วยให้การทำบุญของเขาสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เจ้าภาพจะได้บุญข้อทานเราจะได้บุญข้อช่วยเหลือ





5. ไวยยาวัจจะ การช่วยเหลืองานต่าง ๆ ให้ลุล่วง เช่นคนเขาจะทำบุญ เราไปช่วยกวาดเก็บล้างจาน ช่วยทำกับข้าว ช่วยให้การทำบุญของเขาสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เจ้าภาพจะได้บุญข้อทานเราจะได้บุญข้อช่วยเหลือ





6. ปัตติทาน การอุทิศส่วนกุศลให้ผู้อื่นที่เราเรียกกรวดน้ำ การให้นี้ให้ได้ทั้งคนตายและคนเป็น คนตายเราก็อธิษฐานไปให้ ส่วนคนเป็นเราก็ไปบอกเจ้าตัวเขา “ วันนี้ไปทำบุญมานะ เอาบุญมาฝาก “ ให้เขาอนุโมทนา





การอุทิศส่วนกุศลนี้ เป็นการขัดเกลาจิตใจที่ดีมาก เพราะบุญเป็นสิ่งเลอเลิศที่สุด ดังนั้น ถ้าเราสามารถให้บุญกับคนอื่นได้ แสดงว่าเราขจัดความตระหนี่หวงบุญไปได้ แม้สิ่งได้ยากคือบุญยังให้ได้ และก็ไม่ต้องกลัวบุญจะหมด บุญไม่ใช่ขนมเค้ก ตัดแบ่งแล้วเดี๋ยวฉันก็อดกินสิ ไม่ใช่อย่างนั้น แต่การให้บุญเหมือนการต่อเทียน เทียนเขาก็ติด เทียนเราก็ยังคงติดอยู่เช่นเดิม





 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 12 ส.ค. 2004, 5:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

7. ปัตตานุโมทนา การน้อมรับส่วนบุญที่เขาอุทิศให้ อนุโมทนาต่อความดีที่ผู้อื่นทำ โดยเปล่งวาจาสาธุ หรือไม่เปล่งก็ได้การอนุโมทนาที่สมบูรณ์ต้องมีจิตประกอบด้วยปีติโสมนัสและปัญญา ไม่ใช่ เออ ธุ ธุ





8. ธัมมัสสวนะ การฟังธรรม เพื่อให้จิตอ่อน มีสติปัญญา รู้จักบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์ไม่ใช่ประโยชน์ ทำให้จิตใจเบิกบานแจ่มใส เลิกละความเคยชินที่เป็นโทษเสียได้ การฟังธรรมแบบนี้จึงมีบุญมาก





9.ธรรมเทศนา แสดงธรรมด้วยใจบริสุทธิ์ ไม่ได้หวังลาภยศ ชื่อเสียง เงินทอง





10. การทำความเห็นให้ถูกตรง เห็นดีเป็นดี เห็นชั่ว เห็นบุญเป็นบุญ เห็นบาปเป็นบาป ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เท่านี้ก็เป็นบุญแล้ว และให้มีปัญญา คือ รู้ว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ย่อมเป็นไปตามกรรมที่ทำไว้





 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 12 ส.ค. 2004, 5:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พรหมวิหาร 4








นอกจากบุญกิริยาวัตถุ 10 แล้ว เรายังทำบุญให้กับตัวเองได้นั่นคือ ทำความเย็นให้กับชีวิตตัวเองได้อีก โดยการมีพรหมวิหาร 4





พรหมวิหาร คือ ที่อยู่ของพรหม หมายความว่าทำแล้วเป็นสุขเหมือนพรหมในวิมาน มี 4 อย่าง





1. เมตตา อยากให้ผู้อื่นเป็นสุข





2. กรุณา อยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

สองข้อนี้คู่กันเพราะเมื่อเราอยากช่วยผู้อื่นเป็นสุข เราก็ช่วยเมื่อช่วยแล้วเขาก็พ้นทุกข์ การช่วยก็ทำเท่าที่เป็นไปได้ แม้แต่ช่วยพูดให้กำลังใจ หรือช่วยฟังเขาระบายความทุกข์ใจ ก็เป็นวิธีหนึ่งด้วยการได้ช่วยเหลือผู้อื่นเมตตา เมื่อปฏิบัติเป็นประจำ จะพบว่าเป็นความสุขใจอย่างยิ่ง





นอกจากนี้ การแผ่เมตตา ก็เป็นสิ่งที่ควรทำบ่อย ๆ เมื่อกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลเสร็จแล้ว ก็แผ่เมตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น จงเป็นสุข ๆ เถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด





 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 12 ส.ค. 2004, 5:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล ทำเมื่อทำบุญเสร็จ คือ มีกุศลไว้ให้อุทิศแล้วจึงอุทิศ





แต่แผ่เมตตานั้นแผ่ได้ทั้งวัน





เช้ามางัวเงียยังไม่ตื่น หมาข้างบ้านเห่าเสียงขรม 7 ตัว ก็แผ่เมตตาให้หมา เพราะไม่อยากโมโหแต่เช้า กลางคืนจะนอนมอเตอร์ไซค์มาแข่งแรลลี่กันหน้าบ้าน ก็แผ่ให้มอเตอร์ไซค์ กลัวมันไม่ตาย เอ๊ย ! กลัวมันตาย แผ่เมตตาให้มันกลับไปหลับไปนอนเสียที เจอใครทำอะไร ก็แผ่ ๆ เข้าไปเถอะ เมตตามีเยอะ แผ่ได้แผ่ดี เพราะว่าแผ่ฟรี แล้วจะได้สบายใจ





3.มุทิตา ยินดีกับความสำเร็จของผู้อื่น ฟังดูง่าย แต่บางคนก็ยินดียาก เห็นคนอื่นสำเร็จแล้วอิจฉา ความอิจฉาริษยาเป็นคู่ตรงข้ามของมุทิตา เราจะฝึกข้อนี้ได้ โดยคิดว่า ไม่มีใครในโลกนี้น่าริษยา เพราะต่างก็เวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏนี้ด้วยกันทั้งสิ้น สงสารกันเถอะ ดังนั้น ที่ทำสำเร็จในวันนี้ ก็ยินดีด้วย อย่างน้อยก็มีเรื่องดีใจกันบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ ในระหว่างทุกข์มหาศาลของการเวียนว่ายตายเกิด





4.อุเบกขา การวางเฉย เมื่อเราช่วยผู้อื่นไม่ได้แล้วหรือช่วยไม่ไหวแล้ว เราก็ต้องวางเฉยให้ได้ คิดว่าถึงเวลาที่เขาจะต้องรับกรรมของเขาเอง ใครช่วยรับกรรมแทนไม่ได้ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม การวางอุเบกขาไม่ใช่เรื่อง่าย ท่านว่าคนที่มีใจกรุณามาก ๆ จะวางเฉยเมื่อเห็นผู้อื่นทุกข์ร้อนไม่ได้เลย วางเฉยไม่ลง ไม่เป็นสุข ร้อนใจ แต่ก็ไม่รู้จะช่วยอย่างไร









 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กบ้านยางสีสุราช
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2004
ตอบ: 305

ตอบตอบเมื่อ: 12 ส.ค. 2004, 5:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ฉันเคยเรียนถามอาจารย์ วศิน อินทสระ ว่า ความใจดำกับการวางเฉย มันตัดตอนกันตรงไหน ท่านตอบว่า ความใจดำคือช่วยได้ แต่ไม่ได้คิดช่วย แต่การวางเฉยคือ ช่วยไม่ได้แล้วก็เลิกช่วย





ท่านพุทธทาสให้นิยามว่า อุเบกขาคือ จ้องดูอยู่ ดูว่าช่วยได้เมื่อใด จึงเข้าช่วย





ในการปฏิบัติธรรมจริง ๆ นั้น ถ้าท่านไม่ชอบศึกษามาก ก็เพียงแต่รักษาจิตไม่ให้หวั่นไหว ไม่ยินดียินร้ายกับกุศลอกุศลที่เกิดขึ้น คอยระวังใจให้สงบเข้าไว้ แล้วถือพรหมวิหาร 4 มาใช้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะกับเรื่องใด ๆ และกับใคร ๆ รวมทั้งตัวเอง ก็เพียงพอแล้วที่จะทกให้ชีวิตสงบสุข ไม่ต้องแสงหาข้อธรรมมากก็ได้ตามต้องการ และเมื่ออยากทำบุญ หลวงพ่อชาก็สอนว่า “ การทำบุญ คือการละบาป “ เพียงเท่านี้ ละบาปเสียก็ได้บุญแล้ว













 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง