Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 การปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
poivang
บัวตูม
บัวตูม


เข้าร่วม: 18 มิ.ย. 2005
ตอบ: 224

ตอบตอบเมื่อ: 20 มิ.ย.2006, 11:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์
โดยพระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช

วิธีขจัดความทะยานอยากในจิตใจลงได้มีอยู่ทางเดียว คือการเจริญอริยมรรคมีองค์๘ประการ หรือการเจริญวิปัสสนาคือการมีสติสัมปชัญญะตามรู้กายตามรู้ใจนั่นเอง โดยมีสติ(มีสัมมาสติ) ตามรู้ทุกข์ ตามรู้กาย ตามรู้ใจอยู่เนืองๆ(มีสัมมาวายามะ) ตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้(มีสัมมาทิฎฐิในภาคปริยัติธรรม) ด้วยจิตที่ตั้งมั่น(มีสัมมาสมาธิ) ไม่นานก็จะเกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสภาวธรรมว่า กายและใจหรือรูปนามเป็นทุกข์จริง แต่ไม่ใช่ตัวเรา(สัมมาทิฎฐิในภาคปฏิบัติ) แล้วจิต(ไม่ใช่เรา) ก็ปล่อยวางความถือมั่นในรูปนามเสียได้ในที่สุด จิตที่ปล่อยวางรูปนามนั่นแหละคือจิตที่พ้นทุกข์ และได้ประจักษ์ถึงนิพพานอันเป็นสภาวะที่สงบสันติจากขันธ์และกิเลสตัณหาทั้งปวง

การตามรู้กายก็มีหลักง่ายๆคือ ให้มีความรู้สึกตัวแล้วตามรู้กายไปอย่างสบายๆ หากกายอยู่ในอาการอย่างไร ก็รู้ว่ารูป(ไม่ใช่เรา) อยู่ในอาการอย่างนั้น การตามรู้ใจก็มีหลักการปฏิบัติง่ายๆเช่นกันคือ ให้มีความรู้สึกตัวแล้วตามจิตรู้จิตใจไปอย่างสบายๆ หากจิตใจมีความรู้สึกหรือมีอาการอย่างไรก็รู้ว่านาม(ไม่ใช่เรา) มีความรู้สึกหรือมีอาการอย่างนั้น เช่นจิตมีความสุขก็รู้ มีความทุกข์ก็รู้ เฉยๆก็รู้ ชั่วก็รู้ส่งออกหรือหลงไปตามอารมณ์ทางทวารทั้ง๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ก็รู้และสักว่ารู้อารมณ์ทางทวารทั้ง๖ คือรู้โดยไม่หลงก็รู้ เป็นต้น

ความรู้สึกตัวเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวดสำหรับการตามรู้กายและตามรู้ใจ เพราะถ้าจิตมีความรู้สึกตัวคือไม่หลงไปกับอารมณ์ที่ปรากฏทางทวารทั้ง๖ (หลวงปู่ดุลย์ อตุโล สอนว่า อย่าส่งจิตออกนอก) จิตก็ย่อมจะอยู่กับเนื้อกับตัว เกิดความรู้สึกตัวแล้วรู้เนื้อรู้ตัวหรือรู้กายรู้ใจได้
ผู้ปฏิบัติพึงทำความรู้จักสภาวะของความรู้สึกตัว โดยหัดการสังเกตความแตกต่างระหว่างความหลงกับความรู้สึกตัวซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกัน ความหลงมี๖ชนิดคือ เมื่อดูรูปก็หลงรูปแล้วลืมกายลืมใจของตนเอง เมื่อได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัส ก็หลงกลิ่น ก็หลงรส หลงสัมผัส แล้วลืมกายลืมใจของตนเอง และเมื่อรู้อารมณ์ทางใจก็หลงอารมณ์ทางใจแล้วลืมกายลืมใจของตนเอง

เมื่อรู้สึกตัวเป็นแล้วก็ต้องเจริญสติปัฏฐานเพื่อ (๑) กระตุ้นความรู้สึกตัวให้เกิดขึ้นเนืองๆ และ(๒) ตามรู้รูปนามอันเป็นอารมณ์วิปัสสนาในสติปัฏฐาน จนเห็นความจริงว่ากายและใจไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จึงจะสามารถละสักกายทิฏฐิหรือความเห็นผิดว่ารูปนาม หรือกายใจคือตัวตนลงได้ในเบื้องต้น และสามารถทำลายความยึดถือรูปนามลงได้ในที่สุด

การเจริญสติปัฏฐาน เช่น การตามรู้กายใน อริยาบถเดิน หรือการตามรู้ความเคลื่อนไหวของกาย จะช่วยกระตุ้นความรู้สึกตัวได้ง่ายกว่าการตามรู้อารมณ์ที่นิ่งๆ เช่นการรู้รูปนั่ง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนั่งหลับตา) เพราะเมื่อนั่งนานก็มักจะเคลิ้มง่าย อย่างไรก็ตามผู้ปฏิบัติพึงสังเกตตนเองว่าใช้อารมณ์กรรมฐานอันใดแล้วเกิดสติบ่อย ก็ควรใช้อารมณ์นั้นเป็นเครื่องอยู่ประจำไว้ จะเป็นตามรู้กาย เวทนา จิต หรือธรรมก็ใช้ได้ทั้งสิ้น เพราะแต่ละคนมีจริตนิสัยต่างๆกัน ทั้งนี้การเจริญสติ แม้ต้องอยู่ภายใต้หลักการอันเดียวกันที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ แต่ต่างคนก็มีทางเดินเฉพาะตัวที่ไม่ซ้ำรอยกัน เพราะทางนี้เป็นทางของผู้ไปคนเดียว ดังนั้นจึงไม่มีรูปแบบสำเร็จรูปของการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งที่ดีที่สุด มีแต่รูปแบบที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลเท่านั้น

เมื่อรู้สึกตัวได้แล้วก็ให้หมั่นรู้สึกถึงอาการปรากฏของกายและของจิตอยู่เนืองๆ (แล้วแต่สิ่งใดจะปรากฎชัด เพราะการรู้กายก็ช่วยกระตุ้นให้รู้ใจ และการรู้ใจก็ช่วยกระตุ้นให้รู้กายได้) แต่ไม่จำเป็นต้องรู้แบบไม่ให้คลาดสายตา เพราะจะกลายเป็นการกำหนด เพ่งจ้อง หรือดักดูกายและใจ ด้วยอำนาจบงการของตัณหา ให้รู้ไปอย่างสบายๆ รู้บ้าง เผลอบ้างก็ยังดี ไม่ต้องอยากรู้หรืออยากให้สติเกิดขึ้นตลอดเวลา เพียงหมั่นตามรู้กายและใจเนืองๆ สติจะเกิดได้บ่อยขึ้นเอง และไม่ต้องพยายามห้ามไม่ให้จิตหลง เพราะจิตเป็นอนัตตาคือห้ามไม่ได้ บังคับไม่ได้ เพียงทำความรู้จักสภาวะของความหลงให้ดี และเคลื่อนไหวร่างกายบ่อยๆ แล้วความหลงจะสั้นลงได้ นอกจากนี้จะต้องจับหลักการปฏิบัติให้แม่นยำว่า จะต้องตามรู้กายตามรู้ใจ ตามที่เป็นจริงไม่ใช่เข้าไปดัดแปลง แก้ไข หรือควบคุมกายและใจแต่อย่างใดเลย ทั้งนี้บรรดาคำสอนที่ให้เพ่งกายเพ่งจิต หรือให้แก้ไขดัดแปลงจิตใจ เป็นคำสอนในขั้นสมถะกรรมฐานทั้งสิ้น

จิตที่มีความรู้สึกตัวย่อมไม่หลงไปตามอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่หลงไปในโลกของความคิด เมื่อไม่หลงไปกับความคิดอันเป็นเรื่องของสมมติบัญญัติ จิตก็อยู่กับความจริง และสามารถเห็นอารมณ์ปรมัตถ์คือ กายและใจหรือรูปนาม ได้ตรงตามความเป็นจริง
การที่รู้กายรู้ใจได้ตรงความเป็นจริงนี้เอง จะส่งให้เกิดผล๒ ขั้นตอน คือเบื้องต้นจะละความเห็นผิด ว่ากายและใจคือตัวเราลงได้ และเบื้องปลายจะละความยึดถือกายและใจลงได้

การละความเห็นผิดว่ากายและใจคือตัวเรานั้น เกิดจากการที่ผู้ปฏิบัติตามรู้กาย ตามรู้ใจอยู่เนืองๆ จนเห็นความจริงว่ากายและใจเป็นสิ่งที่แปรปรวน เป็นทุกข์ และบังคับไม่ได้จริง เช่น เมื่อตามรู้รูป ยืน เดิน นั่ง นอนอยู่เนืองๆก็จะเห็นว่า รูปแต่ละชนิดล้วนถูกความทุกข์บีบคั้น ทำให้รูปเก่าดับไปแล้วรูปใหม่เกิดขึ้น เช่นต้องเปลี่ยนอิริยาบถจากรูปนั่งเป็นรูปยืนและรูปเดิน เป็นต้น จะบังคับให้รูปคงที่ตลอดไปไม่ได้ ส่วนความรู้สึกทางใจก็เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและบังคับไม่ได้เช่นกัน

สำหรับการละความยึดถือ กายและใจเป็นการปฏิบัติในเบื้องสูง วิธีปฏิบัติก็เป็นไปในทำนองเดียวกับการปฏิบัติในเบื้องต้นนั่นเอง เพียงแต่ผู้ปฏิบัติมีสติสัมปชัญญะหรือมีความรู้สึกตัวแก่กล้ามากขึ้น สามารถรู้สึกตัวได้อย่างถี่ยิบโดยไม่เจตนารู้ ในขั้นนี้จึงไม่ต้องจงใจทำเพราะจิตเขาจะทำของเขาเอง คล้ายกับผลไม้ที่รอเวลาสุกเท่านั้น ผู้ปฏิบัติจะรู้สึกเหมือนกับว่า ความรู้สึกแผ่กว้างออกในขณะที่ความหลงหดสั้นลง อนุสัยและอาสวะกิเลสทั้งหลายไม่สามารถทำงานได้ดังเดิม กำลังของกิเลสที่ห่อหุ้มปกคลุมจิตและผูกมัดจิตให้ยึดติดอยู่กับขันธ์ (คือกายและใจอันเป็นของหนัก) ก็จะอ่อนกำลังลง ผู้ปฏิบัติจะรู้สึกว่าจิตใจมีน้ำหนักน้อยลงเรื่อยๆ เพราะวางภาระที่ต้องแบกหามขันธ์ไปตามลำดับ และรู้สึกว่าจิตเป็นเพียงสภาวธรรมบางอย่างที่ไม่สนใจจะเรียกตัวเองว่าจิตด้วยซ้ำไป ความคิดนึกปรุงแต่งจะจางลงๆ เว้นแต่มีกิจที่จะต้องคิดก็คิดปรุงไปตามหน้าที่ และเมื่อถึงจุดหนึ่งจิตก็จะสลัดตัวหลุดพ้นจากอาสาวกิเลสที่ห่อหุ้มอยู่ เกิดการปล่อยวางขันธ์หรือกายและใจ ผู้ปฏิบัติจะรู้สึกได้ว่าจิตกับสภาพแวดล้อมเป็นสิ่งที่ว่าง และปราศจากน้ำหนักเช่นเดียวกัน คือธรรมภายในได้แก่จิตใจซึ่งปราศจากเปลือกหุ้ม คืออาสวกิเลสก็ว่างไร้ขอบเขตแผ่กว้างผ่านทวารตา หู จมูก ลิ้น กาย รวมเข้าถึงความว่างของธรรมภายนอกเป็นสิ่งเดียวรวดเสมอกัน จิตจึงไม่มีการหลงหรือไหลไปมา และเป็นจิตที่ไม่ทำกรรมอีกต่อไป อนึ่งจิตที่ปล่อยวางขันธ์ก็คือจิตที่พ้นทุกข์ เพราะอุปาทานขันธ์นั่นแหละคือตัวทุกข์ นี้คือนิพพานประเภทแรกคือความพ้นทุกข์ทางจิตใจอย่างสิ้นเชิงในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ (สอุปาทิเสสนิพพาน)

การปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ มีแนวทางปฏิบัติหลักๆอยู่เพียงเท่านี้ ไม่ต้องทำอะไรมากหรอก เพียงแต่รู้สึกตัวเนืองๆ แล้วตามรู้กายตามรู้ใจไปตามความเป็นจริง ซึ่งตรงตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ทำได้อย่างนี้จิตจะพัฒนาไปสู่ความพ้นทุกข์ได้เอง

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง