Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 นิทานสาธก : ตาบอดคลำช้าง (เสฐียรพงษ์ วรรณปก) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 19 มี.ค.2006, 10:45 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



การเมือง.jpg


นิทานสาธก : ตาบอดคลำช้าง
คอลัมน์ รื่นร่มรมเยศ
โดย เสฐียร์พงษ์ วรรณปก


ผมเคยคิดว่า นิทานเรื่องตาบอดคลำช้าง เป็นนิทานอีสปหรือนิทานพื้นบ้าน ที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสู่ลูกหลานฟัง มารู้ว่า เป็นนิทานที่พระพุทธเจ้าทรงเล่าให้สาวกของพระองค์ฟัง ก็ต่อเมื่อได้บวชเป็นพระภิกษุแล้ว

ข้อความมีปรากฏในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 ในส่วนที่ว่าด้วยอุทาน ชื่อนานาติตถิยสูตรที่ 1 ขอแปลเป็นไทยด้วยสำนวนพอเข้าใจได้ดังนี้ครับ

สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่พระเชตวันวิหาร เมืองสาวัตถี พวกเดียรถีย์ (นักบวชนอกศาสนาพุทธ) ต่างลัทธิ สมณะพราหมณ์ และปริพาชก ที่อาศัยอยู่ในเมืองสาวัตถี

มีทิฐิ (ทฤษฎี) แตกต่างกัน มีความชอบใจต่างกัน มีความพอใจต่างกัน มีทิฐินิสัยต่างกัน

พวหนึ่งว่า โลกนี้เที่ยง
พวกหนึ่งว่า โลกไม่เที่ยง
พวกหนึ่งว่า โลกนี้มีที่สุด
พวกหนึ่งว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด

พวกหนึ่งว่า ชีวะ (วิญญาณ) กับสรีระร่างกายเป็นอย่างเดียวกัน
พวกหนึ่งว่า ชีวะกับสรีระต่างกัน

พวกหนึ่งก็ว่า สัตว์หลังตายยังคงอยู่
พวกหนึ่งก็ว่า สัตว์หลังตายไม่คงอยู่
พวกหนึ่งก็ว่า สัตว์หลังตายจะคงอยู่ก็มิใช่ ไม่คงอยู่ก็มิใช่

แต่ละพวกก็ยืนยันว่าทฤษฎีของตนเท่านั้นถูกต้อง ของคนอื่นผิดหมด

ดูๆ ก็ไม่ต่างกับสังคมไทยสมัยนี้ ถึงแม้ว่าจะไม่เถียงกันในปรัชญาลึกซึ้ง อย่างสมัยพุทธกาล หากเถียงสองประเด็นว่า "ท้ากษิณออกไป" กับ "ท้ากทักษิณสู้ๆ" ก็ก่อให้เกิดความบาดหมางกันของคนในชาติอย่างไม่เคยมีมาก่อน

พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลายอัญเดียรถีย์และปริพาชกเหล่านั้น เป็นคนมืดบอดไม่มีตา จึงไม่รู้ว่าอะไรคือประโยชน์ อะไรคือมิใช่ประโยชน์ อะไรคือความชอบธรรม อะไรคือความไม่ชอบธรรม เมื่อไม่รู้ก็ทะเลาะวิวาทกันทิ่มแทงกันด้วยหอกคือปาก ยึดมั่นว่า (ความเห็นของกู) เท่านั้นถูกอย่างอื่นผิดหมด

ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้วในอดีตพระราชาพระองค์หนึ่งเรียกราชบุรุษคนหนึ่งให้หาช้างมาให้คนตาบอดแต่กำเนิดเก้าคนดู คนตาบอดทั้งเก้านั้น ต่างก็ใช้มือลูบคลำส่วนต่างๆ ของช้าง แล้วก็กำหนดว่า ช้างเป็นเช่นนี้ๆ

เมื่อถูกพระราชาตรัสถามว่า ช้างเหมือนอะไร

(1) คนที่คลำศีรษะช้างกราบทูลว่า "เหมือนหม้อน้ำ"

(2) คนที่คลำหูก็กราบทูลว่า "เหมือนกระด้ง"

(3) คนคลำงาก็ว่า "เหมือนเสาอินทขีล (หลักเมือง)"

(4) คนที่คลำงวงก็ว่า "เหมือนงอนไถ"

(5) คนที่คลำร่างกายก็ว่า "เหมือนฉางข้าว"

(6) คนที่คลำเท้าก็ว่า "เหมือนเสาเรือน"

(7) คนคลำหลังก็ว่า "เหมือนครกตำข้าว"

(8) คนคลำหางก็ว่า "เหมือนสาก"

(9) คนที่คลำปลายหางก็ว่า "เหมือนไม้กวาด"

แต่ละคนก็ว่า ตนเท่านั้นถูกต้อง คนอื่นผิดหมด "ช้างมันเป็นเช่นนี้โว้ย ไม่ใช่อย่างที่เอ็งว่า" ว่าแล้วก็ลงไม้ลงมือตลุมบอนกันอุตลุด

พระราชาทรงพระสรวลก้ากๆ ด้วยความสำราญพระราชหฤทัยเต็มที่

ในทำนองเดียวกันภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์และปริพาชกที่มืดบอด ไร้จักษุไม่รู้ว่าอะไรคือประโยชน์ อะไรมิใช่ประโยชน์ อะไรคือความชอบธรรม อะไรมิใช่ความชอบธรรม จึงทะเลาะวิวาทกันทุ่มเถียงกัน ทิ่มแทงกันด้วยหอกคือปาก "นี้เท่านั้นโว้ยถูกต้อง อย่างอื่นผิดหมด"

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเล่าอดีตนิทานนี้จบแล้ว ทรงสรุปด้วยพุทธวจนะเป็นคาถาประพันธ์ว่า

อิเมสุ กิร สชฺชนฺติ อเก สมณพฺราหฺมณา
วิคฺคยฺห นํ วิวทนฺติ ชนา เอกงฺคทสฺสิโน

สมณะบางพวกดังกล่าวนี้
ต่างยึดมั่นทฤษฎีที่ตนเห็น
มองแง่มุมไม่จบครบประเด็น
จึงทุ่มเถียงคอเป็นเอ็นไม่ฟังใคร

สรุปว่ากิเลสที่มีบทบาททำให้คนทะเลาะเบาะแว้งไม่รู้จบ มีอยู่ 3 ตัวใหญ่ๆ คือ

1. ตัณหา
ความอยาก ความต้องการ ตนเองต้องการอย่างนี้ จะเอาอย่างนี้ ไม่คำนึงว่าที่ตนต้องการนั้นมันขัดกับศีลธรรมจริยธรรมหรือไม่ ขัดแย้งกับความต้องการของคนส่วนใหญ่หรือไม่ ก็กูจะเอาอย่างนี้นี่มีอะไรอ๊ะเปล่า

2. มานะ ความถือตัว ถือตัวว่ากูเป็นใคร ลูกเต้าเหล่าใคร ตำแหน่งหน้าที่การงานยิ่งใหญ่แค่ไหน สำคัญแค่ไหน มันเป็นใคร (Who is he? ว่างั้นเถอะ) จึงมาขัดแย้งกับกู

3. ทิฐิ ความเห็น ความเห็นของตนเป็นสำคัญคิดว่าในประเทศนี้ไม่มีความเห็นของใครถูกต้องเท่ากับความเห็นของกู

เจ้าตัณหามานะทิฐินี้ ทางพระท่านเรียกว่า ตัมมยา ผู้ที่ปฏิบัติจนสามารถกำราบตัณหามานะทิฐิได้ เรียกว่า อตัมมยา ภาวะที่ปราศจากตัณหามานะและทิฐิ เรียกว่า อตัมมยตา

ปุถุชนธรรมดาอย่างเราๆ ท่านๆ ย่อมต้องมีตัณหามานะทิฐิเหมือนกัน ต่างเพียงว่าใครมีมากมีน้อยเท่านั้น จะให้ไม่มีความคิดเห็นต่างกัน ย่อมเป็นไปไม่ได้ ขอแต่เพียงไม่ยึดมั่นในกิเลสของตัวเกินไป ถึงขั้นตลุมบอนกันดังคนตาบอดคลำช้างก็นับว่าดีถมเถแล้ว

พูดอีกนัยหนึ่งกิเลสทั้งสามนี้รวมอยู่ใน "ตัวกู" "ตัวสู" ดังที่หลวงพ่อพุทธทาสท่านกล่าวเตือนใจในบทกวีว่า

"อันความจริง "ตัวกู" มิได้มี
แต่พอเผลอมันเป็นผีโผล่มาได้
พอหายเผลอ "ตัวกู" ก็หายไป
หมด "ตัวกู" เสียได้เป็นเรื่องดี
สหายเอ๋ยจงถอนซึ่ง "ตัวกู"
และถอนทั้ง "ตัวสู" อย่างเต็มที่
มีกันแต่ปัญญาและปรานี
หน้าที่ใครทำให้ดีเท่านี้เอย"

ครับ เท่านี้จริงๆ

ที่มา : นสพ.มติชนรายวัน หน้า 6
คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก
วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10235
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --

แก้ไขล่าสุดโดย admin เมื่อ 02 ก.ค.2006, 2:25 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 22 มี.ค.2006, 6:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ

สาธุด้วยครับ
 

_________________
"อย่าลืมตัว อย่าลืมปัจจุบัน อย่าลืมปฏิบัติ"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
^^
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 มิ.ย.2006, 7:46 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง