Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ...นี่คือการฝึกการปฏิบัติกายใจของพวกเรา... อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
I am
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 มี.ค.2006, 7:18 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

...การประพฤติปฏิบัติ

มีสติรักษา
มีปัญญาแนะนำสั่งสอน
รักษาจิต ฝึกจิต
อบรมจิตของตัวจิต
ที่เคยชั่ว
เคยเสีย
เคยฟุ้ง
เคยปรุง


จะสงบระงับเห็นประจักษ์ชัดเจนภายในตัวของตัว
ไม่ได้ตำหนิชีวิตของตัวเป็นโมฆะ
ไม่ได้เสียใจให้ตัวว่า วันเวลาผ่านไปไม่มีอะไรเกิดขึ้น
นี่คือการฝึกการปฏิบัติกายใจของพวกเรา...

: หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
สาธุ
 
ต้นหญ้า
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 มี.ค.2006, 9:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



mini-mini-buddha1.jpg


สาธุ ค่ะท่าน I am วันนี้วันพระค่ะ เมื่อคืนหลังจากกล่อมลูก 2 คน หลับแล้วลูกชาย 2 คนค่ะ 9 ขวบและ 3 ขวบ ประมาณ 4 ทุ่ม ลุกขึ้นมานั่งสมาธิภาวนาจิตสงบดีพอสมควรค่ะ
ลูกชายคนเล็กเล่นไม่ยอมหลับ เรารึก็อยากสงบจิตสงบใจก็เฝ้า รอจนเขาหลับ นี่แหละหนาพระท่านว่าทางโลกเป็นทางที่แคบ ตื่นเช้ามาสดชื่นดีค่ะทำอาหารให้ลูก จัดการภาระกิจตนเองเข้าห้องพระสวดมนต์ไหว้พระสมาทานอุโบสถศีล

ขอน้อมธรรมอีกหมวดหนึ่งมาร่วมแสดงด้วยค่ะ
ธรรมอีกหมวดหนึ่งที่ควรเจริญ คือ มหาสติปัฏฐานสี่

มีสติระลึกรู้อยู่ในฐานทั้งสี่ ได้แก่ กาย เวทนา จิต และธรรม
กาย - เมื่อกายเคลื่อนไหวมีสติระลึกรู้อาการเคลื่อนไหวนั้นๆ
เวทนา - เมื่อมีเวทนาใดเกิดขึ้นให้ระลึกรู้ว่า เวทนาเกิดขึ้น มีอาการอย่างไร
จิต - เมื่อจิตมีกิเลสเกิดขึ้น ให้ระลึกรู้ว่า มีกิเลส เช่น โกรธ ให้ระลึกรู้ว่า ขณะนี้โกรธ ให้ดูว่า อาการโกรธเป็นอย่างไร
ธรรม - เมื่อเรียนรู้ธรรมใดๆ ให้ระลึกรู้ในเนื้อความ ข้อความ นั้นๆ ว่าเป็นธรรมารมณ์ มีอาการอย่างไร

เมื่อชำนาญ ขึ้น เมื่อรู้ทันกาย ให้เริ่มดูจิต..

เมื่อระลึกรู้จนชำนาญขึ้นให้ดูว่า อะไรเป็นผู้รู้ อาการเหล่านั้น

จากนั้น ให้ตามดูแต่ผู้รู้ อารมณ์ใดที่มากระทบ(ถูกรู้) ไม่ว่า จาก กาย เวทนา จิต หรือ ธรรม
ให้แยกสิ่งที่ถูกรู้ ว่าเป็นขันธ์ไหน ในขันธ์ห้า ..

แล้วก็ทำเหมือนข้างต้น คือ ให้ดู ขันธ์ห้า โดยมีสติรู้ เป็นปัจจุบันขณะ
ดูธรรมที่มากระทบให้เป็นไตรลักษณ์ โดยมีสติรู้ เป็นปัจจุบัน
พิจารณาอริยสัจจ์ โดยมีสติรู้ เป็นปัจจุบัน
ทำมรรคให้ครบองค์แปด โดยมีสติรู้ เป็นปัจจุบัน

สวัสดีค่ะทุกท่าน คุณบัวใต้
 
บัวใต้
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 มี.ค.2006, 10:01 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



fwl_003.jpg


สาธุ


260 ก้าวแรกในการปฏิบัติธรรม

ปัญหา ธรรมข้อไหนจำเป็นในการปฏิบัติธรรมเบื้องต้น ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ หิริและโอตตัปปะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์.. เมื่อหิริและโอตตัปปะมีอยู่ อินทรีย์สังวรชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่ออินทรีย์สังวรมีอยู่ ศีลชื่อว่ามีเหตุอันสมบูรณ์... เมื่อศีลมีอยู่ สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุอันสมบูรณ์ .... เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อวามีเหตุสมบูรณ์.... เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์.... เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุอันสมบูรณ์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นก็ย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้นก็ย่อมบริบูรณ์ฉะนั้น ฯ”

สติสูตร อ. อํ. (๑๘๗)
ตบ. ๒๓ : ๒๔๘-๒๔๙ ตท. ๒๓ : ๓๐๙
G.S. IV : ๒๑๙-๒๒๐

389 ถ้าไม่ระวังจะตกเป็นทางของอายตนะ

ปัญหา ภิกษุที่ไม่สังวรระวังอาตยนะ ย่อมตกเป็นทาสของอายตนะอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่ได้อบรมไม่ได้พัฒนากายคตาสติ จักษุย่อมฉุดภิกษุนั้นไปในรูปอันเป็นที่พึงพอใจ...หูย่อมฉุดภิกษุนั้นไปในเสียงอันเป็นที่พอใจ.... จมูกย่อมฉุดไปในกลิ่นอันน่าพอใจ ลิ้นย่อมฉุดไปในรสอันน่าพอใจ กายย่อมฉุดไปในโผฏฐัพพะอันน่าพอใจ ใจย่อมฉุดไปในธรรมารมณ์อันน่าพอใจรูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ อันไม่น่าพอใจ ย่อมเป็นของปฏิกูล เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์ ๖ ชนิด ซึ่งมีวิสัยต่างหาก มีโคจรต่างกัน แล้วผูกด้วยเชือกอันเหนียวแน่น คือ จับงู จระเข้ นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง แล้วผูกด้วยเชือกอันเหนียวแน่น ครั้นแล้วพึงขมวดปมไว้ตรงกลาง ปล่อยไป...
“ทีนั้นแล สัตว์ทั้ง ๖ ชนิด ซึ่งมีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน พึงดึงไปหาโคจรและวิสัยของตน ๆ งูพึงดึงด้วยคิดว่าเราจักเข้าไปสู่จอมปลวก จระเข้พึงดึงด้วยคิดว่าจักลงน้ำ นกพึงดึงด้วยคิดว่าเราจักบินขึ้นสู่อากาศ สุนัขบ้านพึงดึงด้วยคิดว่าเราจักเข้าบ้าง สุนัขจิ้งจอกพึงดึงด้วยคิดว่าเราจักเข้าสู่ป่าช้า ลิงพึงดึงด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปสู่ป่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแลสัตว์ ๖ ชนิดเหล่านั้น ต่างก็จะไปตามวิสัยของจน ๆ พึงลำบาก เมื่อนั้น บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์ใดมีกำลังกว่าสัตว์ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นพึงอนุวัตรคล้อยตามไปสู่กำลังแห่งสัตว์นั้น
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยจักษุ ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปใน รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ อันน่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ มีใจหาขอบเขตมิได้ ย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุต ปัญญาวิมุต อันเป็นที่ดับไปอย่างสิ้นเชิง แห่งอกุศลกรรมอันลามกเหล่านั้น อันบังเกิดขึ้นแก่เธอตามความเป็นจริง
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์ ๖ ชนิด ซึ่งวิสัยต่างกันแล้วผูกด้วยเชือกเหนียวแน่น ครั้นแล้วพึงผูกไว้ที่หลักหรือเสาอันมั่นคง เมื่อนั้นสัตว์เหล่านั้นพึงยืนแนบ นั่งแนบ นอนแนบหลักหรือเสานั่นเอง คำว่าเสาหรือหลักเป็นชื่อของกายคตาสติเพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่ากายคตาสติ เราทั้งหลายจักอบรม กระทำให้มาก กระทำให้เป็นยานพาหนะ กระทำให้เป็นที่ตั้งให้มั่นคง สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล”


ฉัปปาณสูตร สฬา. สํ. (๓๔๘-๓๕๐)
ตบ. ๑๘ : ๒๔๖-๒๔๙ ตท. ๑๘ : ๒๓๐-๒๓๒
ตอ. K.S. ๔ : ๑๓๐-๑๓๒

จาก พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
http://www.84000.org/true/389.html

สาธุ...ค่ะ คุณ I am ,คุณต้นหญ้า
วันนี้วันพระ ไปส่งลูกสาวที่โรงเรียนแต่เช้าหน่อยนึง แม่ไปวัดค่ะ แล้วค่อยพาบัว(ลูกสาว)กับยายไปวัดอีกครั้งวันอาทิตย์ (เล่าสู่กันฟังค่ะ)

เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นนะค่ะทุกๆท่าน
สวัสดีค่ะ คุณ I am ,คุณต้นหญ้า, คุณลูกโป่ง และท่านอื่นๆ แลบลิ้น
 
I am
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 มี.ค.2006, 3:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สวัสดีครับ ขอชื่นชมกับครอบครัวอันอบอุ่นทั้งสองท่านครับ
ขอโมทนาในธรรมทานด้วยครับ สาธุ....
 
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 17 มี.ค.2006, 7:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ

สาธุด้วยครับ
 

_________________
"อย่าลืมตัว อย่าลืมปัจจุบัน อย่าลืมปฏิบัติ"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง