Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 “สัจจธรรมจากความมืด” อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.พ.2006, 1:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรื่อง “สัจจธรรมจากความมืด”

พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์

.........

ความมืด เป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นมาคู่กับความสว่าง ความสว่างเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นมาควบคู่
กับความร้อน ความอบอุ่นจากพลังงานที่ได้จากดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นสิ่งที่ให้กำเนิดแก่โลก และดาวพระเคราะห์ต่างๆ
ในสุริยจักรวาล ทั้งเป็นสิ่งที่ให้กำเนิดชีวิต และสร้างความเจริญงอกงามให้แก่พืช และสัตว์ในมนุษยโลกมาตั้งแต่ต้น
ชีวิตของเรายกเว้นสัตว์ และพืชบางประเภทจะขาดแสงสว่างของดวงอาทิตย์ไม่ได้ ในตอนกลางคืน เมื่อสิ้นแสง
อาทิตย์ ความมืดจะเกิดขึ้น ในบางโอกาส เราจะได้แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ซึ่งสะท้อนผ่านดวงจันทร์มายังโลก
ในวันข้างขึ้น และข้างแรมอ่อนๆ เมื่อโลกได้มีวิวัฒนาการ มนุษย์จึงได้คิดสร้างแสงสว่างจำลองขึ้น เพื่อใช้ทดแทน
ความสว่างของแสงอาทิตย์ที่หมดไปในเวลากลางคืน โดยการก่อกองเพลิงสุมไฟ และในโอกาสต่อมาได้
วิวัฒนาการ โดยการสร้างเป็นประทีปที่ให้ความสว่างขึ้น อาทิ ไต้ เทียน ตะเกียง หลอดไฟฟ้า เป็นต้น
ทุกชีวิตจะตื่นขึ้น เมื่อดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า และลงมือกระทำกิจกรรมต่างๆ ตามภารกิจหน้าที่ของตน
และใช้เวลากลางคืนที่ปลอดจากความสว่างส่วนหนึ่งเพื่อการพักผ่อนหลับนอน

ทั้งความสว่าง และความมืด จึงมีอิทธิพลต่อชีวิตมนุษย์ สัตว์ และพืชโดยตรง โดยเฉพาะมนุษย์
และสัตว์ที่มีสมอง มีจิตวิญญาณ ความสว่าง และความมืดได้มีบทบาทสำคัญในการสร้างอารมณ์ให้แก่สัตว์โลก
เหล่านี้ในรูปแบบต่างๆ มนุษย์ปุถุชนธรรมดาทั่วไปมีความพึงพอใจที่จะใช้ชีวิตอยู่ในความสว่าง และความ
อบอุ่น ในเวลากลางคืนวันเพ็ญ พระจันทร์เต็มดวง ทุกชีวิต โดยเฉพาะชาย หญิงที่กำลังตกอยู่ในความรัก
จะมีความสุข รื่นรมย์ กับธรรมชาติมากเป็นพิเศษ ไม่มีผู้ใดที่จะชอบความมืด เพราะความมืดเป็นอุปสรรค
สำคัญ เป็นสิ่งที่ปิดบังทำให้เราไม่รู้เห็นในความถูกต้อง ความเป็นจริงซึ่งอยู่รอบตัวเรา เว้นแต่ผู้ที่มีจิต
เจตนาจะก่ออกุศลกรรม ทำบาป ทำชั่ว เป็นผู้ประกอบมิจฉาชีพ เป็นอาชญากร จะพอใจที่จะอาศัยความมืด
เป็นที่แอบแฝงกำบังในการประกอบกรรมชั่วของตน

องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้แจ้งเห็นจริงในแก่นแท้ที่สุดของความจริงในสภาวธรรมนี้
จึงได้ทรงสมมุตินามบัญญัติของสิ่งที่เป็นเสมือนกับความมืดซึ่งปิดบังมิให้สัตว์โลกได้เห็นสภาวธรรมที่ถูกต้อง
ตามความเป็นจริง ว่า “อวิชชา” ซึ่งเป็นคำศัพท์บาลีแปลว่า “ความไม่รู้”

อวิชชา มีอิทธิพลสำคัญยิ่งต่อจิตวิญญาณ เพราะเป็นกลไกที่จะโน้มนำจิต สร้างเจตนาให้มีการ
ก่อกรรมทำชั่วทั้งกาย วาจา และใจ ที่เจ้าของจิตกระทำไปเช่นนั้น เพราะเจ้าตัวขาดสติ ขาดปัญญา ไม่รู้ว่าสิ่ง
ใดดี สิ่งใดชั่ว สิ่งใดผิด สิ่งใดถูก ไม่รู้บาปบุญคุณโทษ ไม่มีความละอายเกรงกลัวต่อบาป ซึ่งเป็นผลมาจาก
กิเลสสำคัญ คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง

อวิชชานี้เองที่เป็นปัจจัย เป็นต้นเหตุสำคัญที่เกื้อหนุน เอื้ออำนวยให้สัตว์โลกต้องวนเวียนมาเกิด
ตายไม่มีที่สิ้นสุดเพื่อรับผล หรือ วิบากของกรรมที่ตนได้กระทำขึ้นเพราะความไม่รู้นั่นเอง พระพุทธองค์ได้
ทรงแสดงคำสอนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในหัวข้อเรื่อง “ปฏิจจสมุปบาท” ซึ่งอาจจะสมมุติบัญญัติเป็นภาษาง่ายๆว่า
“วงจรการเกิดดับของชีวิต” ก็คงจะไม่ผิดนัก

จุดเชื่อมต่อของ “วงจรการเกิดดับของชีวิต” ดังกล่าว ที่ได้แสดงไว้ในพระอภิธรรมมีอยู่
๑๒ จุดด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป …..ไปจนถึงชาติ ชรา มรณะ เป็นที่สุด แล้วจึง
กลับมาเริ่มต้นใหม่ที่ อวิชชา อีกครั้งหนึ่ง เป็นไปในลักษณะนี้ไม่มีที่สิ้นสุด

เราอาจอธิบายความหมายของคำว่า “วงจรการเกิดดับของชีวิต” โดยวิธีอุปมาอุปมัย
เปรียบเทียบกับธรรมชาติที่ปรากฏอยู่รอบตัวของเรา ได้ดังนี้ เพราะมีน้ำขังอยู่ (ในคู คลอง แม่น้ำ ทะเล
มหาสมุทร) ไอน้ำจึงเกิด (เพราะความร้อนจากแสงอาทิตย์) เพราะมีไอน้ำ ก้อนเมฆจึงเกิด เพราะมีก้อนเมฆ
ฝนจึงตก เพราะมีฝนตก จึงมีน้ำขัง

การกำจัดอวิชชา หรือ การกำจัดความไม่รู้ จึงเป็นวัตถุประสงค์ที่สำคัญยิ่งตามหลักพระพุทธ
ศาสนา โดยธรรมชาติ เราสามารถกำจัดความมืดโดยการใช้แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นต้นกำเนิด และ
หรือ ใช้ความสว่างจากกองไฟ ประทีปโคมไฟต่างๆ ที่ประดิษฐ์ขึ้นก็ได้ เมื่อกล่าวเช่นนี้ ก็จะมีคำถาม คำตอบ
ติดตามมาในลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้

คำถาม เราจะสามารถกำจัดความไม่รู้ หรือ ความมืดมัวที่เกิดจากความโลภ ความโกรธ ความหลง
ที่ปิดบังไม่ให้เราเห็นความถูกต้อง ความเป็นจริง นั้น ได้อย่างไร?

คำตอบ การกำจัดอวิชชา หรือ ความไม่รู้ จะกระทำได้ด้วยวิชชา หรือ ปัญญา คือ ความรู้ว่า สิ่งใด
ผิด สิ่งใดถูก สิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว รู้จักบาปบุญคุณโทษ เท่านั้น เปรียบเสมือนกับ บุคคลที่เข้าไปในห้องมืด
ย่อมไม่สามารถเห็นได้ว่า ในห้องนั้น มีสมบัติพัสถาน ตู้ตั่ง ถ้วยโถโอชามอะไรบ้าง วางอยู่ที่ใดจนกว่า
จะได้จุดประทีปโคมไฟส่องสว่างขึ้น จึงจะเห็นได้ถนัดชัดเจน ความมืด เปรียบได้กับ อวิชชา และ
ความสว่างที่เกิดจากประทีปโคมไฟ เปรียบได้กับ ปัญญา

คำถาม เราจะสร้างปัญญาให้เกิดขึ้นได้อย่างไร?
คำตอบ ปัญญาของมนุษย์มีบ่อเกิดมาจากการใช้สมาธิในการฟังที่เรียกว่า "สุตมยปัญญา"
เป็นปัญญาที่เกิดจากใช้สมาธิในการเล่าเรียน หรือ ในการรับถ่ายทอดกันมาหนึ่ง มาจากการใช้สมาธิในการ
คิดพิจารณาหาเหตุผลด้วยตนเอง ที่เรียกว่า "จินตามยปัญญา" หนึ่ง และมาจากการสร้างขึ้นมา ทำให้เจริญ
พัฒนาขึ้นมาที่เรียกว่า "ภาวนามยปัญญา" ซึ่งเป็นปัญญาที่เกิดจากการใช้สมอง ใช้สมาธิในการทำกิจกรรม
ต่างๆ คือ การฟัง ซักถาม สอบค้น สนทนา การถกเถียง อภิปราย การสังเกตดู เฝ้าดู ดูอย่างพินิจ การพิจารณา
โดยแยบคาย การชั่งเหตุผล การไตร่ตรอง ตรวจสอบ ทดสอบ สอบสวน ทดลอง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ปัญญาที่เกิดจาการสดับตรับฟังมา ก็ดี ปัญญาที่เกิดจากการคิดเรื่องราวต่างๆ ก็ดี
และปัญญาที่ทำให้เกิดความรู้เข้าใจอย่างนั้นอย่างนี้ ก็ดี เป็นปัญญา หรือความรู้ในรูปแบบต่างๆ ที่มีอยู่ในทุกตัว
บุคคลมาตั้งแต่กำเนิดโดยวิวัฒนาการของสมองที่เป็นไปโดยธรรมชาติ การศึกษาเล่าเรียน การคิด การ
สดับตรับฟัง และการหมั่นใช้สมองเพื่อการกระทำต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น เป็นเครื่องช่วยให้เกิดปัญญาเพิ่มพูน
ขึ้นใหม่บ้าง พัฒนาก้าวหน้าออกไปมากยิ่งขึ้นบ้าง ได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องขึ้นบ้าง จัดเป็นปัญญา
ทางโลกเรียกว่า "โลกิยปัญญา"

ปัญญาทางโลกดังกล่าวข้างต้น จะยังนำมาใช้ประโยชน์ในการกำจัดอวิชชาอย่างแท้จริงไม่ได้เสมือน
กับแสงสว่างของหิ่งห้อยในความมืดที่ไม่สามารถนำมาใช้ส่องทางเดินได้แทนที่จะเป็นคุณ กลับเป็นโทษ นำทาง
ให้ตกหลุม สะดุดก้อนหินจนหกล้ม เจ็บตัว แข้งขาหักได้

ปัญญาที่จะสร้างความสว่างให้แก่จิตใจได้มากเพียงพอที่จะสามารถกำจัดอวิชชา หรือ ความมืดใน
จิตใจได้อย่างแท้จริงนั้น จะต้องเป็นโลกุตรปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติสมถสมาธิ และวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ควบคู่กันไป โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ศีล กำกับอยู่ด้วย ที่เรียกรวมกันว่า "ไตรสิกขา" เท่านั้น

ผมขออธิบายข้อแตกต่างระหว่างโลกิยปัญญา กับ โลกุตรปัญญา โดยวิธีอุปมาอุปมัย ดังต่อไปนี้
ขอให้ท่านนักศึกษาปฏิบัติธรรมหยิบกระบอกไฟฉายที่มีอยู่ขึ้นมาพิจารณา ครั้งแรกให้หมุนเกลียวถอดเอาส่วน
หัวที่เป็นกระจก และแผ่นโลหะวงกลมเว้าซึ่งเคลือบปรอทไว้ให้สะท้อนแสง คงเหลือแต่ตัวกระบอกซึ่งบรรจุถ่าน
ไฟฉายไว้ และตัวหลอดไฟฟ้าที่ติดอยู่กับกระบอกไฟฉายเท่านั้น เมื่อเปิดสวิตช์ที่ตัวไฟฉาย หลอดไฟฉายจะ
สว่างมากน้อยตามกำลัง และแรงไฟฟ้าของถ่านที่บรรจุอยู่ในกระบอกไฟฉาย ความสว่างของหลอดไฟฉายนี้
จึงเปรียบเสมือนกับ สุตมยปัญญา และ จินตามยปัญญา ซึ่งเป็นปัญญาพื้นฐานของแต่ละบุคคล ต่อจากนั้น
ให้เช็ดกระจกหน้าให้สะอาดหมดจด แล้วสวมส่วนหัวของไฟฉายทั้งหมดให้เข้าที่ ทดลองเปิดสวิตช์ไฟฉายดู
อีกครั้ง จะเห็นว่า แสงสว่างจากไฟฉายนั้นพุ่งออกเป็นลำไปได้ไกล มีความแรงมากกว่าแสงสว่างที่ยังมิได้สวม
ส่วนหัวไว้มาก ทั้งที่หลอดไฟ และถ่านไฟฉายที่ใช้ก็เป็นชุดเดียวกัน สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะแผ่นโลหะ
เคลือบปรอทที่โค้งเว้าอยู่หลังหลอดไฟนั้น ทำหน้าที่สะท้อนแสงจากหลอดไฟกลับไปรวมกันที่จุดศูนย์กลาง
ของแผ่นโลหะ จึงเปรียบเสมือนกับ การปฏิบัติสมาธิเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง หรือ เอกัคคตา วิธีการนี้ ตาม
หลักวิชาวิทยาศาสตร์ว่าด้วยเรื่อง แสง ได้พิสูจน์ไว้อย่างแน่ชัดแล้วว่า จะสามารถเพิ่มให้พลังงานของแสง
มากขึ้นกว่าเดิม และพุ่งไปเป็นลำแสงสว่างจ้าออกไปได้ไกล จึงเปรียบเสมือนกับโลกุตรปัญญาที่เกิดจาก
การปฏิบัติสมถสมาธิ และวิปัสสนากัมมัฏฐาน ส่วนกระจกแผ่นหน้านั้น หากไม่ทำความสะอาด ลำแสงของ
ไฟฉายที่ส่องพุ่งออกไปจะไม่สว่าง ความสะอาดของกระจกแผ่นหน้าเปรียบเสมือนกับศีล ผู้ที่มีศีลไม่บริสุทธิ์
กระจกแผ่นหน้าก็ขุ่นมัวเป็นอุปสรรคสกัดกั้นการพุ่งกระจาย และความสว่างของแสง ในทางตรงข้าม ถ้าผู้ใช้
ไฟฉายหมั่นทำความสะอาดกระจกแผ่นหน้าเป็นประจำ แสงไฟฉายจะสว่าง พุ่งออกไปได้ไกล เสมือนกับผู้ที่
สมาทานรักษาศีลอยู่จนเป็นประจำจนเป็นนิสัย เมื่อได้ปฏิบัติสมาธิแล้ว ย่อมเกิดพลังปัญญาขึ้นใน
จิตอย่างเจิดจ้า สามารถดับอวิชชาที่ยังมีหลงเหลือตกตะกอนคั่งค้างอยู่ได้ไม่น้อย

---------------------------------------

เอกสารอ้างอิง
๑. "พุทธธรรม", พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุต.โต), มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๒. "ปฏิจจสมุปบาท", บรรจบ บรรณรุจิ, กองทุนศึกษาพุทธสถาน

ยิ้ม สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง