Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 การแผ่เมตตามีประโยชน์อย่างไรบ้าง อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เมย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ม.ค. 2006, 3:01 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ช่วยตอบด้วยครับ
 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 08 ม.ค. 2006, 3:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กราบสวัสดี คุณเมย



ประโยชน์การแผ่เมตตาที่พระพุทธเจ้ากล่าวไว้มี 11 ประการได้แก่



1. หลับก็เป็นสุข



2. ตื่นก็เป็นสุข



3. ไม่ฝันร้าย



4. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย



5. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย



6. เทวดาทั้งหลายย่อมคุ้มครอง



7. แคล้วคลาดจากภยันอันตราย



8. จิตเป็นสมาธิได้ง่าย



9. สีหน้าย่อมผ่องใส



10. สิ้นใจอย่างสงบ (สู่สุคติภูมิ)



11. ถ้ายังไม่บรรลุคุณธรรมพิเศษที่สูงกว่า ย่อมเข้าถึงชั้นพรหม





การแผ่เมตตามี 2 อย่าง คือ



1. เจริญเมตตาจิต ด้วยเพียงการฝึกมองโลกในแง่ดี มีความปรารถนาดีต่อทุกสรรพสัตว์ สรรพชีวิตบรรดามีในโลก รักตัวเองเช่นไร ก็รักชีวิตอื่นให้มากเท่ากว่ารักชีวิตตนเองเช่นกัน ทำให้จิตรู้สึกเกิดความสุข เพราะมีแต่ความปรารถนาดี ทำให้ไม่สะดุ้งกลัวและไม่เป็นกังวล จิตเป็นสมาธิเร็ว



2. เจริญเมตตาฌาน ต้องอาศัยกำลังจิต โดยกำหนดจิตจนรวมเป็นเอกได้แล้ว จึงแผ่กระแสจิตนั้นให้เกิดความรัก ความปรารถนาดีต่อตนเองก่อน จากนั้นก็แผ่ให้กันคนที่เรารัก เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย สามี ภรรยา ลูก แล้วแผ่กระแสจิตที่มีความรัก ความปรารถนาดีนั้นไปตลอดโลก ให้เป็นอัปปมัญญา คือ ไม่มีประมาณ



ในหนังสือ ธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โตพรหมรังสี ได้กล่าวถึงอานิสงส์แห่งการแผ่เมตตาไว้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะสัมฤทธิ์ผลนั้น เกิดจากกรรม 3 อย่าง คือ มโนกรรม เป็นใหญ่ แล้วค่อยแสดงออกมาทางวจีกรรม หรือกายกรรมที่เป็นรูป การบำเพ็ญสมาธิจิตเป็นกุศลดีกว่า เพราะว่า การแผ่เมตตา 1 ครั้ง ได้กุศลมากกว่าสร้างโบสถ์ 1 หลัง ขณะจิตที่แผ่เมตตานั้น จะเกิดอารมณ์แจ่มใส สรรพสัตว์ไม่มีโทษภัย ตัวท่านก็ไม่มีโทษภัย ฉะนั้น เขาจึงว่านามธรรมมีความสำคัญกว่า



ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น ต้องรู้จักคำว่า แผ่เมตตา คือต้องเข้าใจว่า ความวิเวกวังเวงแห่งการคิดนึกของเราแต่ละบุคคลนั้น มีกระแสแห่งธาตุไฟผสมอยู่ในจิตและวิญญาณกระจายออกไปเมื่อจิตของเรามีเจตนาบริสุทธิ์ เมื่อจิตของเราเป็นมิตรกับทุกคน เมื่อนั้นเขาก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา เสมือนหนึ่งเราให้เขากินอาหาร คนที่กินอาหารนั้นย่อมคิดถึงคุณของเรา หรืออีกนัยหนึ่งว่าเราผูกมิตรกับเขาๆก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา แม้แต่คนอันธพาล เราแผ่เมตตาจิตให้ทุกๆวัน สักวันหนึ่งเขาก็ต้องเป็นมิตรกับเราจนได้



เมื่อจิตเรามีเจตนาดีต่อดวงวิญญาณทุกๆดวง ดวงวิญญาณทุกๆดวงย่อมรู้กระแสแห่งจิตของเรา เรียกว่ามนุษย์เรานี้มีกระแสธาตุไฟออกจากสังขาร เพราะเป็นพลังแห่งการนั่งสมาธิจิต วิญญาณจะสงบ ธาตุทั้ง 4 นั้น จะเสมอแล้วจะเปล่งเป็นพลังงานออกไป ฉะนั้น ผู้ที่นั่งสมาธิปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ จิตแน่วแน่แล้ว โรคที่เป็นอยู่มันจะหายไป ถ้าสังขารนั้นไม่ใช่จะพังเต็มทีแล้ว คือไม่ถึงวาระสิ้นอายุขัย หรือว่าสังขารนั้นร่วงโรยเกินไปแล้ว ก็จะรักษาให้มันกระชุ่มกระชวยได้หรือจะให้มันสบายหายเป็นปกติดั่งเดิมได้



เจริญในธรรม



มณี ปัทมะ ตารา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
วิศรุต
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 26 ม.ค. 2006
ตอบ: 6

ตอบตอบเมื่อ: 28 ม.ค. 2006, 9:29 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เหมือนคุณปุ๋ยครับทำให้จิตใจเราสงบ รู้จักปล่อยวาง ไม่เป็นคนเจ้าคิดเจ้าแค้น

มีแต่คนรักไคร่เอ็นดู

สวัสดี
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
TU
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589

ตอบตอบเมื่อ: 28 ม.ค. 2006, 11:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พุทธศาสตร์ศึกษาโดยวิธีอุปมาอุปมัย เรื่อง

"วิธีทำบุญให้ได้ผลที่สุด"

(ตอนที่ ๕ การแผ่เมตตา)

พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์




ข้อปฏิบัติประการหนึ่งที่จะขาดไม่ได้ของผู้ที่ปฏิบัติธรรม หลังจากการสวดมนต์ภาวนา และปฏิบัติกัมมัฏฐานแล้ว คือ "การสวดแผ่เมตตา" ซึ่งมีบทสวดเป็นภาษาบาลีที่อ่านเป็นไทยได้ว่า "สัพเพ สัตตา สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ สัพเพ สัตตา อัพยาปัชฌา โหนตุ สัพเพ สัตตา อะนีฆา โหนตุ สัพเพ สัตตา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ" แปลเป็นไทยได้ว่า "สัตว์โลกทั้งหลายที่เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น จงอย่ามีเวรซึ่งกันและกันเลย จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด จงอย่าพยาบาท เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย จงอย่ามีความลำบาก จงอย่ามีความเดือดร้อน จงอย่ามีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย"



การสวดแผ่เมตตานี้เป็นบุญกิริยาอย่างหนึ่งจัดอยู่ในประเภท "การทำทาน" ดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนที่ ๒ และเป็นกิจกรรมที่มีส่วนช่วยให้เจตสิกของท่านผู้นั้นได้รับการฝึกและพัฒนาเกิดเป็น "อัปปมัญญาเจตสิก" ที่เฝ้าคอยกระตุ้นจิตให้ระลึก มีอารมณ์มีความสงสารเห็นใจผู้ที่กำลังได้รับทุกข์เวทนา มีความอยากที่จะช่วยเหลือให้เขาพ้นจากทุกข์ที่กำลังได้รับอยู่ หรือ กำลังจะได้รับ ไม่นิ่งดูดายต่อทุกข์ของผู้อื่น ไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้เขาได้รับทุกข์กาย ทุกข์ใจ อยู่เป็นประจำ "อัปปมัญญาเจตสิก" นี้เป็นเจตสิกหนึ่งในกลุ่ม "โสภณเจตสิก" ซึ่งเป็นเจตสิกฝ่ายกุศลที่คอยกระตุ้นให้จิตเป็นกุศลระลึกแนบแน่นอยู่กับความดีงาม ปราศจากความเร่าร้อน ตั้งอยู่ในศีลธรรม เว้นจากการกระทำบาป ทุจริตต่างๆ อยู่ตลอดเวลา สามารถประหาร "โลภเจตสิก" ที่คอยกระตุ้นให้จิตมีตัณหาอารมณ์มีความกระหายทะเยอทะยาน อยากได้อยากเป็น ได้เป็นอย่างดี จึงส่งผลให้เกิดกุศลเจตนาขึ้น ตั้งใจประกอบแต่กุศลกรรมแต่เพียงฝ่ายเดียว



คำว่า "เมตตา" หมายถึง ไมตรี ความรัก ความปรารถนาดี ความเห็นอกเห็นใจ ความเข้าใจดีต่อกัน ความใส่ใจ หรือต้องการสร้างเสริมประโยชน์สุขให้แก่เพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย เมตตาจัดเป็นธรรมพื้นฐานของใจขั้นแรก ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งทำให้มองกันในแง่ดี หวังดีต่อกัน พร้อมที่จะรับฟัง และเจรจากันด้วยเหตุด้วยผล ไม่ยึดเอาความเห็นแก่ตัว มีอคติ คือ ความโกรธ ความเกลียด เป็นที่ตั้ง



การแสดงความเมตตา หรือ การแผ่เมตตานี้ เป็นธรรมชาติ หรือคุณสมบัติพื้นฐานของจิตมนุษย์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นสัตว์ที่ประเสริฐอยู่แล้ว ในชีวิตประจำวันของแต่ละคนที่เป็นโรคทางจิต คลุ้มคลั่งจนไม่สามารถควบคุมสติสัมปชัญญะของตนได้ หรือ มีจิตโหดxxxมที่สุดจนไม่อาจจะสมมุตินามของผู้นั้นได้ว่า เป็นมนุษย์ จะต้องมีการแสดงความเมตตาออกทางจิตอยู่เป็นประจำ มากบ้าง น้อยบ้าง ตามกิเลสสันดานที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด เพียงแต่เจ้าตัวมิได้สังเกตจดจำไว้เท่านั้น อาทิ วันไหนที่มีอารมณ์ดี เจ้าตัวจะยินดีพอใจที่จะกล่าวทักทายปราศรัยกับเพื่อนบ้าน หยอกล้อกับสัตว์เลี้ยงมากเป็นพิเศษ หรือ บางครั้ง ขับรถจะไปทำงาน เปิดวิทยุในรถรับฟังสถานีวิทยุกระจายเสียง จส.๑๐๐ หรือ สวพ.๙๑ ได้ทราบข่าว รถบัสแสวงบุญประสบอุบัติเหตุตกเหวระหว่างเดินทาง มีผู้โดยสารบาดเจ็บ ล้มตายเป็นเรือนร้อย "อัปปมัญญาเจตสิก" ก็จะกระตุ้นให้จิตเกิดความรู้สึกสลดใจ สมเพช สงสารในทุกข์เวทนาของบุคคลเหล่านั้นขึ้นมาโดยอัตโนมัติ



ธรรมชาติของจิตในเรื่องความเมตตานี้ หากกล่าวในเชิงอุปมา ก็เปรียบได้กับต้นไม้ผล หรือต้นไม้ดอก ซึ่งต่อไปจะเรียกวา "ต้นเมตตา" ที่ได้เจริญเติบโตขึ้นมาโดยธรรมชาติ ปราศจากเจ้าของที่หมั่นเฝ้าดูแลพรวนดิน ให้ปุ๋ย รดน้ำ เมื่อถึงฤดูกาล ต้นเมตตาก็จะให้ผล หรือให้ดอก ผลิบานสุกงอม แล้วก็ร่วงหล่นลงดินเป็นอาหารของนก กา กระรอก หรือสัตว์อื่นๆ โดยที่ มิได้บังเกิดประโยชน์แก่เจ้าของต้นเมตตานั้นแต่อย่างใด เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ผลผลิตจากต้นเมตตาไม่ว่าจะเป็นดอก หรือผลนี้ ย่อมจะไม่สมบูรณ์ได้ทัดเทียมกับต้นเมตตาที่เจ้าของเอาใจใส่ หมั่นดูแลพรวนดิน ให้ปุ๋ย รดน้ำ อยู่เป็นประจำ เมื่อใดก็ตาม ที่เจ้าของได้เอาใจใส่รดน้ำ พรวนดิน ให้ปุ๋ย ต้นเมตตานั้นย่อมจะเจริญเติบใหญ่ มีลำต้นอวบใหญ่แข็งแรง มีรากแก้วงอกยาวฝังลึกลงไปในดิน ยึดแน่นจนยากที่จะโค่นล้มได้ ดอก หรือผลของต้นเมตตาก็จะมีขนาดใหญ่ มีคุณภาพสูง ไม่ว่าจะเป็นกลิ่น สี หรือ รส จัดเป็นผลผลิตที่อำนวยประโยชน์ให้แก่เจ้าของได้อย่างแท้จริง



จึงกล่าวได้ว่า "เมตตา" นี้เป็นหลักธรรมประจำใจของแต่ละบุคคล และเป็นหลักธรรมพื้นฐานสำหรับสร้างความสามัคคีและเอกภาพของหมู่ชน หรือ ที่เรียกว่า "สารณียธรรม" ซึ่งสามารถแสดงออกได้ทั้งทางกาย คือ "เมตตากายกรรม" ได้แก่ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เช่น เมื่อเห็นคนยืนตากแดดรอจะข้ามถนน เราหยุดรถให้เขาข้ามถนน การแสดงกิริยาสุภาพเคารพนับถือกัน เช่น เมื่อมีคนหยุดรถให้เราข้ามถนน เราแสดงกิริยาขอบคุณ เคารพในน้ำใจดีของเขาด้วยการน้อมศีรษะ ส่งยิ้มให้ เป็นต้น ทางวาจา คือ "เมตตาวจีกรรม" ได้แก่ การมีวาจาที่อ่อนหวานสุภาพ สอบถามสารทุกข์สุกดิบ บอกแจ้งแนะนำ กล่าวคำตักเตือนด้วยความหวังดี และจริงใจ และทางความคิดต่อกัน คือ "เมตตามโนกรรม" ได้แก่ การมองกันในแง่ดี มีความปรารถนาดี มีความหวังดี มีความสงสาร มีความเห็นใจ อยากช่วยเหลือให้พ้นทุกข์ คิดทำประโยชน์ให้มีความสุข



เท่าที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ย่อมเป็นการยืนยันว่า การแสดงความเมตตาไม่ว่าจะโดยทางกาย วาจา หรือ ทางใจนั้น มิใช่เป็นข้อปฏิบัติที่ยุ่งยากลำบากเลยแม้แต่น้อย เพราะเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตของมนุษย์อยู่แล้ว เพียงแต่เราให้ความสนใจหมั่นทำนุบำรุง ฝึกฝน บริหาร เฝ้ากระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกว่า จะต้องถือปฏิบัติเป็นกิจประจำวันเพื่อให้เป็นนิสัยที่จะขาดไม่ได้ เช่นเดียวกับการ ตื่นนอนในตอนเช้า จะต้องเข้าห้องน้ำ ถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ แปรงฟัน ล้างหน้า อาบน้ำ ฯลฯ "อัปปมัญญาเจตสิก" ก็จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ยากที่จะลบล้างให้หมดสิ้นไป เช่นเดียวกับการตอกตะปูลงไปในเนื้อไม้ ตอกวันแรก ตะปูจะฝังลงไปในเนื้อไม้เพียงเล็กน้อย จึงไม่เป็นการยากที่จะถอนดึงตะปูนั้นออก ต่อมาในวันรุ่งขึ้น และวันถัดไป เมื่อเราตอกซ้ำเป็นประจำทุกๆ วัน ตะปูจะฝังลึกลงไปในเนื้อไม้ทุกที จนกระทั่ง ไม่สามารถถอนดึงเอาออกได้โดยกรรมวิธีธรรมดา



"เมตตา" เป็นส่วนหนึ่งของ "พรหมวิหาร ๔" ซึ่งประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ผู้ที่มีจิตใจเต็มเปี่ยมยึดมั่นถือปฏิบัติอยู่ในหลัก "พรหมวิหาร ๔" เป็นประจำ จึงถือได้ว่า จิตของผู้นั้นได้รับการพัฒนาให้เป็นที่อยู่อาศัยของพรหม เพราะคำว่า "วิหาร" แปลว่า "ที่อยู่อาศัย" คำว่า "พรหม" ตามหลักของพระพุทธศาสนานั้น มิได้หมายความถึง พระพรหมซึ่งเป็นเทพเจ้าชั้นสูงที่สำคัญยิ่งพระองค์หนึ่งตามหลักศาสนาฮินดูพราหมณ์ เพราะเป็นผู้ที่สร้างโลก จึงได้มีการนิยมสร้างรูปปั้น รูปหล่อแทนพระองค์ของท่าน แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานอยู่ตามสถานที่สำคัญต่างๆ เพื่อเคารพสักการะบูชาเป็นที่พึ่งทางใจ แต่มีความหมายว่า "ท่านผู้เป็นใหญ่" ท่านผู้เป็นใหญ่ในที่นี้ หมายถึง ผู้ประเสริฐ คือ ผู้ที่มีจิตใจกว้างขวางยิ่งใหญ่ หรือ ยิ่งใหญ่ด้วยคุณธรรมความดีงาม ความหมายของคำว่า "พรหมวิหาร ๔" นี้ ตรงกับคำศัพท์บาลีว่า "อัปปมัญญา ๔" และคำว่า "อัปปมัญญาเจตสิก" ที่ปรากฏอยู่ในพระอภิธรรม ซึ่งผมได้กล่าวถึงข้างต้น ก็คือ "ธรรมชาติที่กระตุ้นให้จิตมีความรู้สึกเมตตา สงสาร เห็นใจ อยากจะช่วยเหลือมนุษย์สัตว์ที่กำลังได้รับทุกข์อยู่ หรือที่จะได้รับทุกข์ในภายภาคหน้า ให้มีความสุขโดยทั่วถ้วนหน้า ความรู้สึกนี้สามารถแผ่กระจายไปถึงมนุษย์สัตว์ทั้งหลายทุกหนทุกแห่งอย่างสม่ำเสมอทั่วกัน ไม่มีประมาณ ไม่จำกัดขอบเขต" การที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสมมุติบัญญัติคำว่า "พรหม" ขึ้นเพื่อใช้ในการสื่อความหมายของสัจจธรรมที่เกี่ยวข้องไว้หลายประการ อาทิ พรหมจรรย์ พรหมกาย รูปพรหม อรูปพรหม นั้น แสดงให้เห็นถึงพระปัญญาคุณของพระพุทธองค์ที่จะทรง หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง หรือสวนกระแสความเลื่อมใส เชื่อมั่นในลัทธิศาสนาดั้งเดิมที่มีอยู่ในท้องถิ่น การเสด็จจาริกไปตามสถานที่ต่างๆ ในประเทศอินเดียเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาจึงเป็นไปได้ด้วยดี



การสวดแผ่เมตตาจึงเป็นการปฏิบัติในลักษณะ "เมตตามโนกรรม" ซึ่งจะบังเกิดเป็นอานิสงส์แก่ผู้ปฏิบัติดังที่ได้แสดงไว้ใน อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ดังนี้



การมีจิตเลื่อมใสในพระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ มีผลมากกว่าสร้างวิหารทานถวายสงฆ์



การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานศีล ๕ มีผลมากกว่าการมีจิตเลื่อมใสในพระรัตนตรัย



การที่มีจิตเจริญด้วยเมตตาแม้เพียงเวลาชั่วสูดของหอมมีผลมากกว่าการมีจิตเลื่อมใสสมาทานศีล ๕



อย่างไรก็ตาม หากการสวดแผ่เมตตา รวมทั้งการสวดมนต์ ไม่ว่า จะเป็นบทสวดมนต์ "อิติปิโส ภควา...." ซึ่งเป็นบทสวดมนต์ที่พุทธศาสนิกชนทุกท่านรู้จักดีเพราะต้องสวดบทนี้กันมาตั้งแต่เริ่มเรียนหนังสือ หรือจะเป็นบทสวดพระคาถา "ชินปัญชร" ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และการสวดพระคาถาของพระเกจิอาจารย์ต่างๆ เป็นการสวดในลักษณะท่องจำเหมือนนกแก้วนกขุนทอง ย่อมจะไม่บังเกิดประโยชน์ ไม่บังเกิดความขลังตามที่ผู้สวดได้ตั้งจิตปรารถนาไว้ เว้นแต่ว่า ในระหว่างที่ทำการสวดภาวนานั้น ผู้สวดได้ตั้งสติกระตุ้นให้จิตเกาะติด หรือน้อมดิ่งอยู่ในอารมณ์เดียว คือ มีความเมตตาระลึกไปถึงผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ โดยไม่เลือกที่รัก มักที่ชัง แม้แต่ผู้ที่เคยเป็นศัตรู ผู้ที่เคยอิจฉาริษยา หรือมีเจตนาร้ายอื่นๆ แก่เรา ที่กำลังประสบความทุกข์เวทนาอยู่ เช่น ผู้ที่ต้องมีส่วนร่วมได้รับเคราะห์กรรมจากวิกฤติปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ ต้องแปรสภาพจากจากผู้ที่เคยมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง มีเงินเดือน มีรายได้ฐานะดี มาเป็นแม่ค้าขายข้าวแกง คนขายของข้างถนน แล้วตั้งอธิษฐานจิตขอให้เขาเหล่านั้นพ้นทุกข์ หรือผ่อนบรรเทาทุกข์ กลับมามีฐานะดีกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้



การบริกรรมภาวนานี้ จึงน้อมนำให้จิตเข้าไปสู่ภาวะให้พุ่งดิ่งเข้าสู่สิ่งที่ศรัทธาเลื่อมใส เชื่อถือ นิยมชื่นชอบ และด้วยแรงศรัทธานี้เองจะเพิ่มพลังให้จิตพุ่งแล่นไปในทางเดียวด้วยความกล้าหาญ เข้มแข็งมั่นคงและมั่นใจ เปี่ยมล้นด้วยความเพียร มีความปิติปราโมทย์ แล้วตามมาด้วยความสงบนิ่งบังเกิดเป็นสมาธิขึ้น อานิสงส์ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นจึงจะเกิดขึ้น และเมื่อได้ถือปฏิบัติในลักษณะนี้เป็นประจำ จนเป็นนิสัย เจตสิกของผู้ปฏิบัติย่อมได้รับการบริหาร ได้รับการพัฒนาเป็นโสภณเจตสิกที่คอยเฝ้ากระตุ้นเตือนจิตให้ใฝ่แต่กุศลอยู่อย่างสม่ำเสมอ มีความมั่นคง ไม่เสื่อมถอยให้อกุศลเจตสิกฉวยโอกาสเข้ามาแทรกแซงได้ ดังเช่นข้ออุปมาเรื่องการตอกตะปูลงในเนื้อไม้ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น และบังเกิดผลเป็นบารมีที่เรียกว่า "เมตตาบารมี" ซึ่งเป็นหนึ่งของบารมี ๑๐ ทัศ หรือ "ทศบารมี" ซึ่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงปฏิบัติเมื่อครั้งยังเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ก่อนที่จะได้ทรงปฏิสนธิมาเสวยพระชาติเป็นเจ้าชายสิทธิทัตถะ แล้วได้ตรัสรู้ในที่สุด





*********************



เอกสารอ้างอิง

๑. หนังสือ "พุทธธรรม", พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุต.โต) มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

๒. "เจตสิกปรมัตถ์", ขุนสรรพกิจโกศล (โกวิท ปัทมะสุคนธ์), มูลนิธิปริญญาธรรม



เรียบเรียง ณ วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๔๑
http://www.dabos.or.th/tm5.html





 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวYahoo Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง