Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 บาปกรรมที่ทำได้ชดใช้แล้วหรือยัง อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
คนเคยทำบาป
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 ธ.ค.2005, 4:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรามีทางจะรู้หรือไม่ว่าบาปกรรมที่เราได้เคยกระทำไว้ตอนเด็ก ๆ เราได้รับผลกรรมอันนั้นแล้วหรือไม่ โดยความรู้สึกบางครั้งก็คิดว่าได้รับผลกรรมไปแล้ว บางครั้งก็คิดว่ายังหรือบางที่ก็คิดว่าได้รับแล้วแต่ยังไม่หมด ถ้าเราถามผู้ที่บรรลุฌานแล้วจะรู้ได้ไหม
 
tanawat30
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2005
ตอบ: 256

ตอบตอบเมื่อ: 05 ธ.ค.2005, 7:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดูก่อนเจ้าของกระทู้ผู้เจริญ



ผู้บรรลุฌาณชั้นสูงที่จิตบริสุทธ์ไม่ว่าจะเป็นพระหรือฆราวาสก็ตาม สามารถล่วงรู้กรรมของบุคคลอื่นได้ ด้วยบุปเพนิวาสานุสติญาณ อันเป็นผลมาจากผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมเข้าใจในกฎแห่งกรรมได้ดีและลึกซึ้งกว่าผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติ อย่าว่าแต่กรรมในปัจจุบันชาติเลยครับ กรรมในอดีตชาติที่สำคัญอันเป็นเหตุปัจจัยที่ส่งผลให้มาเกิดในปัจจัน หรือในทางธรรมเรียกว่า กรรมเป็นกำเนิด นั้นมาจากสาเหตุใด เช่นชาตินี้ผมเกิดมาตาพิการ แล้วหัวสมองถูกกระทบกระเทือน เป็นเพราะชาติก่อนผมเป็นพ่อค้าปลา ทุบหัวปลาเป็นเรื่องประจำ แล้วเวลาพิสูจน์ว่าผลกรรมนั้นยังส่งผลถึงตัวเราอีกหรือไม่ ก็ให้ดูว่าผลจากกรรมนั้นยังส่งผลให้เราเป็นอยู่หรือไม่ เช่นเมื่อก่อนผมเป็นคนสมองช้า คิดอะไรไม่ค่อยออก พอมาปฏิบัติสมาธิภาวนา สมองและสติปัญญาถูกพัฒนาขึ้น จนสามารถเป็นคอลัมน์นิสต์ และมีหนังสือธรรมมะที่เขียนขึ้นมาเองได้ แสดงว่ากรรมที่ผมไปทุบหัวปลาได้หมดไปแล้ว หรือในชาติก่อน ผมได้ไปโกงค่าสร้างทางรถไฟกับล้นเกล้ารัชการที่ 5 ทำให้ทรัพย์สิน เงินทอง สูญหาย ถูกโกงเป็นประจำ หรือแม้แต่เป็นโรคหัวใจ หลังจากที่ ล้นเกล้ารัชการที่ 5 ได้อโหสิกรรมให้ผม ทรัพย์สิน เงินทอง ไม่เคยสูญหายอีกเลย โรคหัวใจที่เคยเป็นก็ได้หายไปด้วย ชีวิตก็มีความสุขขึ้น ขออธิบายในมิติของกรรมให้ฟังพอสังเขป



ไม่ว่าเราจะรู้หรือไม่ว่าเราเคยเกิดเป็นอะไรมาบ้าง ก็ยังไม่สำคัญเท่ากหับเราสามารถทำให้กรรมที่เรามีอยู่ส่งผลน้อยลงหรือหมดไปในที่สุดได้หรือยังมากกว่า หรือถึงที่สุดส่งผลในแง่ดีขึ้น ดีวันดีคืนในชีวิตชองเราบ้างหรือไม่ เช่นด้านความเป็นอยู่ในชาติปัจจุบัน เช่นจากเดิมเรามีลูกที่เกเร ลูกเราเกเรน้อยลง หรือกลับตัวเป็นคนดีหรือยัง สิ่งนี้จะพิสูจน์ให้เราเห็นเป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม เป็นต้น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
ความคิดเห็นที่สอง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ธ.ค.2005, 2:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความคิดเห็นส่วนตัว หากเมื่อไรเราต้องคิดถึงมันแล้วเกิดความทุกข์ ก็แสดงว่ามันก็กำลังเล่นงานเราอยู่นั่นเอง คือยังไม่หมดสิ้นจากกรรมนั้นครับ ดังนั้นไม่สร้างความคิดแต่สร้างภูมิต้านทานต่อกรรมที่จะมาดึงจิตให้เราเป็นทุกข์นั่นคือไม่ประมาทได้ดีที่สุดครับ เคยเห็นไหมครับสภาพที่น่าจะเป็นทุกข์แต่มนุษย์ทำไมยังคงอยู่ได้อย่างเบิกบาน พระปฏิบัติที่ท่านอยู่ในป่าเพียงผู้เดียวไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใด หรือสิ่งที่น่าจะเห็นได้ง่ายกว่านั้นเช่นคนพิการที่เราเองรู้สึกยากที่จะรับได้หากเกิดกับตัวเราแต่ทำไมเขาบางคนดูมีความสุขกับการทำงานของเขาในชีวิตประจำวัน หรือการสันทนาการกิจกรรมเสริมสร้างคุณค่าชีวิตเขาได้โดยไม่มีความกังวลถึงสภาพพิการอันเป็นกรรมที่เขาได้รับอยู่ตลอดเวลาแม้แต่น้อย ภูมิต้านทานกรรมที่ว่าขอให้เป็นบารมีของผู้ที่แสวงหาการพ้นทุกข์ได้ค้นคว้าเองครับศึกษาธรรมที่ไม่เคยจำกัดว่ามาจากตำราจากผู้รู้จากผู้ไม่รู้หรือแม้นกระทั่งจากภายในตัวเราเองทุกอย่างสามารถเป็นแหล่งค้นคว้าหาแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมกับตัวเองได้เพียงแต่อย่าหลงติดต้องรู้จักเสริมสร้างสติให้ระมัดระวังการปฏิบัติควบคู่ไปด้วยเท่านั้นครับ

ความเห็นเป็นเพียงแนวความคิดหนึ่งเท่านั้นครับ ไม่จำเป็นต้องถูกเสมอไป
 
tanawat30
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2005
ตอบ: 256

ตอบตอบเมื่อ: 06 ธ.ค.2005, 9:18 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดูก่อน ความคิดที่ 2 ผู้เจริญ



ขอเสริมต่อจากความคิดที่ 2 อีกนิด คือบารมีจะสร้างจาก ความลำบาก ความทุกข์ยาก หยดเลือด น้ำตา ความเสียใจ ดังนั้นถ้าใครมีความพิการอยู่ในตน ถือว่าเป็นสมบัติล้ำค่า เพราะไม่ต้องไปหาความลำบากที่ไหน ไม่ต้องเข้าป่า ก็อยู่อย่างลำบากอยู่แล้ว แต่เวลาใช้ จะก่อให้เกิดความสุข ไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับตนเองหรือผู้อื่นก็ตาม เกิดสิ่งดี เกิดสิริมงคล ต่อผู้รับ ถ้าผู้รับได้รับสิ่งเหล่านี้ ดี สุขสบายและเร็วเท่าไหร่ จะแปลสิ่งนี้มาเป็นความศักดิ์สิทธิ์ที่มีในตัวเรา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
ดำจังแก
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ธ.ค.2005, 10:12 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปัญหาก็คือ เราจะพ้นจากอำนาจแห่งกรรมได้อย่างไร

เพราะถึงแม้เราจะใช้กรรมแล้ว

ตราบใดที่เรายังอยู่ในโลกแห่งวัฏสงสาร

เราก็ยังเป็นผู้ประมาทอยู่

ดังนั้น เราควรหาทางที่จะพ้นจากกรรมได้โดยเร็ว



ทำอย่างไรจึงจะพ้นจากกรรมได้

ต้นเหตุแห่งกรรมทั้งปวงก็เกิดจากความคิดนี่เอง

ธรรมชาติของความคิดนั่น มันมีเกิดแล้วมันก็มีดับไป

เหมือนสิ่งต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวง

แต่เราหายอมหยุดแค่นั้นไม่

กลับแต่งเสริมเติมแต่ง ความคิดนั้นไม่มีวันหยุด



เพียงแต่เรามองเห็น อย่างเท่าทันความคิดที่เกิดขึ้นแต่ละขณะๆนั้น

เราก็จะพบความจริงว่า

มันมีเกิดแล้วมันก็มีดับไปเป็นธรรมดา



แต่เรามีความเชื่อผิดและเห็นผิดในความคิดนั้น

ยึดเอาความคิดเป็นสรณะ

เกิดเป็นอัตตาตัวตนขึ้นมา

เกิดการสร้างกรรมอย่างต่อเนื่องไม่มีหยุด



เมื่อเรามองเห็นความคิดที่เกิดขึ้น

หลังความคิดนั้นมันจะว่าง

แต่ด้วยความหลงที่คอยเข้ามาเป็นระยะๆ

เราก็เผลอไป หลงไปอีก

เราก็กลับมารู้ตัวว่าหลงไปเผลอไปอีก

ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ

จนความว่างหลังจากที่เรารู้เท่าทัน

มันขยายตัวกว้างออกไป

จนวันนึงมันขาดลง

และเราก็สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นว่ามันเป็นธรรมดาเช่นนั้นเอง...........



 
tanawat30
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2005
ตอบ: 256

ตอบตอบเมื่อ: 06 ธ.ค.2005, 10:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดูก่อนความเห็นที่ 4 ผู้เจริญ



ความคิดเป็นต้นเหตุของการกระทำนั้นจริงอยู่ แต่สันดานที่เรามีเป็นต้นเหตุแห่งความคิดอีกที สันดานที่ไม่ดีย่อมเป็นเหตุให้เราคิดไม่ดี ทางที่จะขจัดสันดานที่ไม่ดีมาทางเดียว คือสันดานที่ไม่ดีเกิดจากจิต ถ่ายทอดสันดานนั้นลงสู่สมอง แล้วผ่านกระบวนการทางความคิด ผลิตออกมาเป็นการกระทำ การจะขุดสันดานที่ไม่ดี อันเป็นต้นตอแห่งความคิดนั้น คือการนำกำลังสมาธิไปขุดสันดานที่ไม่ดีให้หลุดพ้นไปจากจิตและตัวของเราให้ได้ ทำเท่านี้ เราก็จะหยุดผลิตความคิดชั่ว และหยุดการทำชั่วที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคตได้แล้ว ส่วนเรื่องของอดีต เราต้องใช้กำลังสมาธิที่บริสุทธิ์ในการแผ่เมตตา แล้วนำกุศลไปชดใช้ให้กับผู้เราเคยไปทำไม่ดีกับเขาเอาไว้ นั่นคือเจ้ากรรมนายเวรของเรานั่นเอง



แล้วจะรู้อย่างไรว่าจิตของเราบริสุทธิ์หรือไม่ ดูจาก เรามีความหงุดหงิด ฟุ้งซ่าน กระวนกระวายใจหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าจิตของเรายังไม่บริสุทธิ์ ดังนั้น เราจึงต้องขจัดสันดานที่ไม่ดีให้หมดสิ้นไปในแต่ละรอบก่อนการแผ่เมตตาเสมอ ปกติเราแผ่เมตตามาได้รับกุศลแล้วอุทิศให้กับเจ้ากรรมนายเวรเป็นวิธีปกติ ตามหนังสือพระ หนังสือสวดมนต์ก็มีอยู่ทั่วไป แต่ถ้าเราแผ่เมตตาเพื่อทำให้เกิดกุศล แล้วนำกุศลที่ได้อุทิศให้สรีรพจิต สรรพชีวิต จะเป็นเรื่องดีที่สุด เพราะเป็นการสร้างเมตตาบารมีให้เกิดขึ้นกับเราตั้งแต่ครั้งแรกที่เราปฏิบัติ ถึงแม้ว่าเราจะอุทิศกุศลที่ได้ให้กับสรรพจิต สรรพวิญญาณก็จริง แต่ผู้มีสิทธิ์รับกุศลจากเราเป็นพวกแรก คือเจ้ากรรมนายเวรของเราเสมอ



ข้อสังเกต กรรมของเราน้อยลง จิตของเราจะตั้งอยู่ในความบริสุทธิ์ได้นานขึ้น ๆ เรื่อย ๆ ตามความขยัน แล้วถ้าความบริสุทธิ์ตั้งอยู่ได้นานตราบนานเท่านานไม่มีกำหนดเวลา แสดงว่าเราบรรลุอรหัตผล หรือเข้าสู่สภาวะนิพพานนั่นเอง จากตรงนี้จึงเป็นที่มาของสมการที่ว่า สันดานทั้งหมดที่มี = กรรมทั้งหมดที่มี หรืออีกนัยหนึ่ง ปัจจุบันชาติ = อดีตชาติต่อเนื่องถึงปัจจุบัน สันดานตามภาษาพระแปลว่าอนุสัย แล้วคำสอนของพระพุทธองค์ก็เป็นเช่นนั้นด้วย จึงเป็นที่มาของคำว่าถอนเสียให้สิ้นอนุสัย ปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎก และคำว่า อนุสัยเองก็มีปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎกมากมาย แสดงว่าพระพุทธองค์ท่านให้ความสำคัญในเรื่องของอนุสัยเป็นอันมาก



ดังนั้นจัดการกับปัจจุบันด้วยการขจัดต้นตอแห่งความความคิดคือล้างสันดานที่ไม่ดีให้หมดสิ้น จัดกหารในเรื่องของอดีต ด้วยการแผ่เมตตานำกุศลไปอุทิศให้กับสรรพจิต สรรพวิญญาณดังว่า ก็จบด้วยประการชะนี้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
เจ้าของกระทู้
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ธ.ค.2005, 10:55 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอขอบคุณทุกความเห็นจะน้อมนำมาลองปฏิบัติต่อไป

เมื่อเกิดสัญญา(ความจำ)ก็ให้เป็นเพียงสัญญา เราน้อมจิตมาพิจารณากำหนดรู้ลมหายใจเพื่อมิให้สังขาร(สิ่งปรุงแต่ง)เกิดขึ้นต่อไป ไม่นานสัญญาย่อมดับ แต่ถ้าจิตหลุดจากการกำหนดรู้เมื่อใด สัญญาย่อมเกิดใหม่อาจเป็นเรื่องเก่าหรือเรื่องใหม่ก็ได้และย่อมเกิดสังขารต่อเนื่องกันไปเป็นวิตกวิจารณ์ ลักษณะเช่นนี้ถูกต้องไหมครับ
 
เณรน้อย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ธ.ค.2005, 12:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความเห็นของท่านเห็นชอบแล้ว ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติชอบแล้ว

เพียงแต่ให้มีสติเกิดอยู่เสมอ จิตก็เป็นกุศล แล้วไม่ว่าจะเกิดปัญญา เกิดธรรมอะไรก็ตาม ให้ตั้งสติว่านั่นไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา เราไม่ได้เป็นนั่น อย่าหลงยึดมั่นในธรรมนั้นๆแม้ว่ามันจะเป็นกุศลธรรมก็ตาม สิ่งนั้นไม่ใช่เรา เราไม่เป็นพรหม เป็นโสดาบัน หรือเป็นอะไรทั้งนั้น ให้ปฏิบัติให้ยิ่งๆขึ้นไปเรื่อยๆ ให้เจริญในกุศลนั้นให้ยิ่งๆขึ้น อย่าแม้ปรารถนาว่าเราจะได้เป็นสิ่งใด เพราะนั้นคือความยึดมั่นเป็นเพียงสิ่งสมมุติ ผู้ปฏิบัติเองจะมีญาณรู้ด้วยตนเองว่ายังมีกิเลสหรือหลุดพ้น

เพียรระวังไม่ให้มีกิเลส ละบาปที่มีอยู่ กิเลสอย่างหยาบจะดับได้ก่อน กิเลสอย่างอ่อนจะดับได้ยากกว่าถ้าไม่ตั้งสติให้ดีอาจจะหลงไปว่าเราไม่มีกิเลส เมื่อมีความเห็นชอบ เห็นชัด เกิดปัญญาขึ้นแล้วสิ่งนี้ก็เป็นเพียงสภาพธรรม รูปกายก็ยังเป็นรูปกายไม่ได้เป็นอะไรทั้งสิ้น ถ้าเราหลงไปยึดติด โลกุตตรจิตที่เกิดก็เสื่อมเกิดตัวตนเกิดอกุศลจิตขึ้นทันที การปฏิบัติธรรมจะคล้ายๆกับว่าละสิ่งหนึ่งแล้วก็ไปยึดติดอีกสิ่งหนึ่งไปเรื่อยๆซึ่งมีผลทำให้การปฏิบัติไม่เจริญเท่าที่ควรเพราะการหลงยึดติดในธรรมที่เกิดใหม่ว่าคือตัวตนของเรา อยู่กับเราแล้ว
 
เจ้าของกระทู้
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ธ.ค.2005, 4:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กราบขอบพระคุณท่านเณรน้อย ผมตั้งสติอ่านตามคำแนะนำแล้วมีความรู้สึกขนลุกเป็นระยะคิดว่าพอเข้าใจจะน้อมนำไปปฏิบัติต่อไป
 
tanawat30
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2005
ตอบ: 256

ตอบตอบเมื่อ: 06 ธ.ค.2005, 5:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความเห็นที่ 6 ผู้เจริญ ความเห็นของท่านถูกต้องแล้ว แต่เหตุปัจจัยดังกล่าวเป็นปัจจัยเบื้องต้นที่ทำให้มนุษย์ยุคปัจจุบันไม่น้อยที่ไม่กลัวการทำบาป เช่านคนที่เคยตกนรกมาก่อน พอมาเกิดเป็นมนุษย์ในชาติปัจจุบัน สัญญาหรือความจำว่าตนเคยตกนรกก็หายไป เมื่อจำไม่ได้ว่าตนตกนรกได้รับทุกขเวทนาอย่างไรไม่ได้ บางคนอาจคิดว่านรกหรือสวรรค์ไม่มีจริง พระพุทธองค์ท่านตรัสว่าเป็นโทษที่ร้ายแรงอย่างหนึ่ง เรียกว่านัตถิกทิฏฐิ เพราะสัญญาเรื่องนรกได้หายไปในตอนที่ตนเกิดเป็นมนุษย์ เมื่อเป็นมนุษย์แล้วก็ไม่รู้จักนรก ก็เลยทำบาป ทำกรรม สะสมบ่มเพาะ วนเวียนเช่นนี้ ชาติแล้ว ชาติเล่า ก็ไม่เข็ด ไม่จำเสียที ถ้ามนุษย์ที่เกิดมาจำสัญญาเดิมได้ทุกชาติ ป่านนี้คงไม่มีมนุษย์ หรือสรรพชีวิตบนโลกนี้อีกแล้ว เพราะทุกคนกลัวการตกนรกด้วยกันทั้งสิ้น



ความเห็นที่ 8 ผู้เจริญ การปฏิบัติจะให้ผลเฉพาะผู้ปฏิบัติเท่านั้น ขอให้เจริญรอยตามที่ผมบอก ผู้ปฏิบัติตามแนวทางที่ได้ผลอย่างแท้จริงเท่านั้นจึงเป็นผู้ที่ได้รับคุณประโยชน์สูงสุดในพุทธศาสนา ผู้อ่านมากรู้มากเสมือนผู้ที่ยืนดูต้นไม้เท่านั้น แต่ผู้ปฏิบัติจึงเป็นผู้ที่รู้จักนำต้นไม้ไปใช้ประโยชน์ สร้างสุขให้แก่ตน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
tanawat30
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2005
ตอบ: 256

ตอบตอบเมื่อ: 06 ธ.ค.2005, 5:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความคิดเห็นที่ 7 ผู้เจรญ



คำว่าอัตา กับคำว่าอนัตตา นั้นมีความหมายว่า อัตนานั้นคือของตน อนัตตานั้นคือไม่ใช่ของตน แม้สรรพสิ่งทุกอย่างย่อมมีตัวตนของมันอยู่ฉะนั้น แม้นก้อนหินก็ยังคงเป็นก้อนหิน เราจะดูก้อนหินอย่างไรดูแล้วก็คือก้อนหิน ไม่มีทางเปลี่ยนจากก้อนหินไปเป็นไม้ได้ ยกเว้นว่าเราจะเรียกก้อนหินว่าไม้ ก้อนหินอาจจะหมายความของคนอื่นอาจจะเป็นหิน แต่ของเราอาจจะเรียกก้อนหินว่าไม้ได้ ตามแต่ความพอใจของเรา จิตก็มีตัวตน แต่จิตไม่ใช่เป็นของร่างกาย จิตนั้นนิจจัง แต่สังขารนั้นเป็นอนิจจัง แต่ความเป็นนิจจังของจิต ยังรู้จักดีชั่วเป็นอนิจจัง วันนี้ดี พรุ่งนี้อาจจะชั่ว เอาแน่เอานอนไม่ได้ มีสติที่จะเรียนรู้ตนเอง การจะรู้ตนเองได้คือต้องมีความจริงใจต่อตนเองเป็นที่ตั้ง ถ้าเราลองสังเกตว่ามีแต่คนป่าวประกาศร้องหาแต่ความจริงใจจากผู้อื่น ทำไมเราไม่ป่าวประกาศร้องหาความจริงใจจากตนเองบ้าง ถ้าเราจริงใจต่อตนเองไม่ได้ แล้วจะจริงใจต่อผู้อื่นได้อย่างไร บางคนมีความพยาบาทผู้อื่นอยู่เป็นนิจ แต่ป่าวประกาศว่าตนเป็นผู้ไม่พยาบาทใครเลย เช่นนี้ถือว่าไม่มีความจริงใจต่อตนเอง ผู้ไม่จริงใจต่อตนเอง แม้นกิเลสที่มีก็ไม่จริงใจต่อเราด้วย นั่นคือเราก็ถูกกิเลสหลอกเราว่าเราไม่มีกิเลส กิเลสก็เป็นศตรูกับเรา แต่ถ้าเรามีความจริงใจต่อตนเอง กิเลสที่เรามีก็จะจริงใจกับเรา กิเลสก็ไม่หลอกเรา กิเลสก็จะเป็นมิตรกับเรา เมื่อเราจรงใจต่อตนเองได้ เราก็มีความจริงใจต่อผู้อื่นได้เช่นกัน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
ดำจังแก
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 07 ธ.ค.2005, 2:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



ตัวแท้และการทำหน้าที่ของธรรมะ

ย่อมอยู่ในภาวะแห่ง "ความคงที่เสมอ"



 
tanawat30
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2005
ตอบ: 256

ตอบตอบเมื่อ: 07 ธ.ค.2005, 2:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดูก่อนความเห็นที่ 11 ผู้เจริญ



ทุกอย่างคนที่อยู่เช่นนั้น แม้นอารมณ์ของผู้ปฏิบัติธรรม ที่เข้าถึงพระนิพพานแล้วก็เป็นเช่นนั้น ไม่อารมณ์ที่เป็นสุข ไม่มีอารมณ์ที่เป็นทุกข์ มีแต่ความรู้สึกสุขหรือทุกข์เท่านั้น เหมือนลมที่พัดผ่านเราไป เดิมอากาศร้อน ลมเย็นพัดมาเราก็เย็น ลมเย็นที่พัดผ่านเราไปแล้วก็ร้อนดังเดิม ลมร้อนผ่านมาเราก็ร้อนมากขึ้นกว่าเดิม ลมร้อนพัดผ่านไปก็ร้อนเท่าปกติ อยู่อย่างนั้น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
นิพพาน
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 30 ต.ค. 2006
ตอบ: 34

ตอบตอบเมื่อ: 03 พ.ย.2006, 12:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ชีวิตเรา ชั่งสั้นหนัก
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
suvitjak
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 26 พ.ค. 2008
ตอบ: 457
ที่อยู่ (จังหวัด): khonkaen

ตอบตอบเมื่อ: 30 พ.ค.2008, 1:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ อนุโมทนาด้วยครับ
 

_________________
ซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง