Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 มีวิธีอะไรบ้างไหม ที่จะไม่ให้เรายึดติดกับใครสักคนได้ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
momo
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 15 ม.ค. 2005
ตอบ: 15

ตอบตอบเมื่อ: 24 พ.ย.2005, 9:00 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอคำแนะนำค่ะ....
 

_________________
สมาชิกใหม่ สนใจธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
tanawat30
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2005
ตอบ: 256

ตอบตอบเมื่อ: 24 พ.ย.2005, 10:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดูก่อนมนุษย์ผู้เจริญ



คำตอบ คือการที่เราจะมีสัมพันธ์กับใครคนใดคนหนึ่ง ก็เกิดจากกรรมที่เราได้กระทำไว้กับคน ๆ นั้น บางครั้งบุคคลนั้นจะต้องมาเกี่ยวพันกับเราเพราะเขาต้องต้องชดใช้กรรมให้เรา หรือในทางกลับกัน เราเองต้องไปชดใช้กรรมให้เขา ถ้าเราอยากที่จะตัดความสัมพันธ์ระหว่างเรากับคน ๆ นั้น เราต้องเอามูลเหตุที่ทำให้เราต้องสัมพันธ์กับคน ๆ นั้น นั่นคือกรรมโดยเฉพาะกรรมที่ไม่ดีให้ลดน้อยลงไปเสียก่อน เมื่อกรรมที่ไม่ดีระหว่างเรากับคน ๆ นั้นลดน้อยลง ก็อาจส่งผลให้เรากับคน ๆ นั้นเป็นไปในทางที่ดี หรือไม่เราก็มีเหตุให้เรากับเขาต้องแยกออกจากกัน



จากย่อหน้าบนดูเหมือนว่าจะทำง่าย แต่ความเป็นจริงแล้วทำยาก เพราะเราต้องใช้กำลังสมาธิข่มความรู้สึกที่เรามีต่อเขา ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ทรมานมาก แต่ถ้าเราอดทนได้ การที่เราจะตัดความสัมพันธ์กับคน ๆ นั้นได้ก็ทำได้เช่นกัน ทั้งนี้ต้องให้เวลา ขยันหมั่นเพียร และอดทนเท่านั้นจึงจะทำได้ ดูวิธีปฏิบัติของผมอ่านประกอบ http://www.dhammajak.net/webboard/show.php?Category=dhammajak&No=3455
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
me
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 24 พ.ย.2005, 10:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรียน คุณ tanawat30 .. ดิฉันได้ส่งเมลขอคำปรึกษาคุณแล้ว รบกวนให้คำแนะนำด้วย จักเป็นพระคุณมาก .. จากผู้ที่เคยมีปัญญา แต่ตอนนี้มีปัญหาค่ะ



 
วิษณี
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 27 พ.ย.2005, 5:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุญาติแนะนำนะค่ะ...





ขอให้มีความตั้งใจจริง



พิจารณาคุณและโทษในสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นว่า....คุณหรือโทษมากกว่ากัน

จนใจของคุณเองยอมรับในสิ่งที่เป็นเหตุและผลที่ถูกต้องมากกว่าอารมณ์....ที่



อยากทำไปเพราะอารมณ์แห่งความต้องการเป็นใหญ่




ขอให้พิจารณาในคุณหรือโทษมากๆในสิ่งที่จะทำหรือเกิดขึ้นแล้ว...แต่อย่า



บังคับให้ใจตัวเองยอมรับในสิ่งที่ต้องการให้เป็นไปตามความต้องการ...เพราะธรรมชาติของ



จิตไม่ชอบถูกบังคับ...และถ้าทำไปเพื่อความอยากให้เป็นเช่นนั้นเช่นนี้ก็ยังไม่ถูกเสียซะที



เดียว... ถ้ามีเวลาว่างมากๆ...ควรใช้เวลาดูแลตัวเองหัวใจตัวเอง....แต่ทะเพราะอารมณ์หรือ



ทำเพราะเหตุอันใด... ปัญหามีไว้เพื่อแก้ไข หากฝึกมองอย่างมีสติจะใจจะมีเวลาพิจารณา



ขอให้เจริญในกุศลกรรมดีเทอญ........
 
อิคิว
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 27 พ.ย.2005, 8:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พิจารณาสิ่งต่างๆ ในกายเรา ให้เห็นเป็นเพียงรูปธรรมและนามธรรมเท่านั้น

มีความใม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริง

พิจารณาสิ่งต่างๆ ในกายผู้อื่น ให้เห็นเป็นเพียงรูปธรรมและนามธรรมเช่นเดียวกับกายเรา

มีความใม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน

พิจารณาสิ่งต่างๆให้เห็นว่าไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัวตน สิ่งที่ใช้เรียกนาย ดำ นายแดง หมู หมา เป็นเพียงสมมุติ ไม่ใช่รูปธรรม นามธรรม

เมื่อเห็นสิ่งทั้งหลายเป็นเพียงรูปนามที่เหมือนกัน เสมอกัน เท่ากัน เกิด ตาย เป็นทุกข์เหมือนกัน เป็นเพื่อนทุกข์ด้วยกัน ก็จะคลายความยึดมั่นในตัวตนได้

ผู้ที่ไม่เคยฟังธรรม ศึกษาธรรมมาก่อน ย่อมไม่สามารถกำหนดรู้สิ่งเหล่านี้ได้แต่ผู้ที่รู้ธรรม

ปฎิบัติธรรมะ ย่อมกำหนดรู้ สัตว์ บุคคล ตัวตน และไม่หลง ยึดติดในสิ่งสมมุติ ขอให้มีความตั้งใจ มีความเพียร มีสติ มีสัปชัญญะ พยายามศึกษาและปฎิบัติธรรมให้มากๆแล้วจะเห็นความจริงในสิ่งเหล่านี้ได้เอง
 
กะทะ
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 10 ก.ย. 2005
ตอบ: 3

ตอบตอบเมื่อ: 28 พ.ย.2005, 2:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนากับคำตอบของคุณอิกคิวครับ ตอบได้ตรงใจผมมาก
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
กะทะ
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 10 ก.ย. 2005
ตอบ: 3

ตอบตอบเมื่อ: 28 พ.ย.2005, 2:40 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอแก้เป็นคุณ อิคิว (ขอโทษครับ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
อิคิว
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 28 พ.ย.2005, 11:54 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสภาพธรรม

เมื่อฟังธรรมะแล้วจะได้รู้อย่างนี้ว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นความทุกข์

ความโศกเศร้า ไม่สบายกายใจ คับแค้นใจ เป็นความทุกข์

ความประสบและพลัดพรากสิ่งที่รักที่พอใจ ความปรารถนา นั่นก็เป็นความทุกข์

ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นตัวทุกข์ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ขันธ์ 5 ทั้งหมดนี้เป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น การที่จะคลายความยึดมั่นในขันธ์ 5ได้

ต้องรู้ลักษณะของขันธ์ทั้ง 5 ซึ่งตั้งอยู่ในตัวในกายเรา กายผู้อื่นและสัตว์ทั้งหลาย

พิจารณาธรรมเหล่านี้จนกระทั่งเห็นแจ้งในความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน

เมื่อจิตเกิดความเห็นชอบเห็นธรรมเป็นไปตามความเป็นจริงในที่สุดก็จะค่อยๆคลาย

ความยึดมั่นไปเอง

การปฏิบัติตนฝึกจิตอย่างง่ายๆทำได้ดังนี้

1.หมั่นทำทาน โดยตั้งจิตให้มีเมตตา กรุณา แผ่ไปยังสัตว์โลกให้มีความสุข พ้นจากทุกข์

2.หมั่นทำบุญกุศล ตั้งจิตว่าเรายึด พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ จะปฏิบัติตาม

คำสั่งสอน เพื่อความพ้นจากทุกข์ เพื่อสู่นิพพาน พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

3.ภาวนา คือการทำสมาธิฝึก อบรมจิตตนเอง ให้รู้แจ้งในความเป็นจริงของสภาวธรรม

4.สวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น แปลเป็นกิจประจำวัน

5.แผ่เมตตาให้สัตว์โลกทั้งหลาย ที่เป็นเสมือนเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย และมีจิตเสมอ

เช่นเรา ตั้งจิตให้มีแต่ความสุข พ้นทุกข์ อย่ามีเวรซึ่งกันและกัน ไม่เบียดเบียนกัน อยู่อย่าง

มีความสุข เมื่อผู้อื่นมีความสุขเราก็พลอยสุขด้วย

ธรรมอันเป็นกุศลนั้นมีมากมายที่มีให้เราปฏิบัติ เป็นสิ่งที่ต้องศึกษาหาด้วยตนเอง รู้ได้ด้วย

ตนเองขอให้มีจิตตั้งมั่นในการเพียรทำตนให้พ้นจากทุกข์ให้ได้

 
อิคิว
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 28 พ.ย.2005, 11:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การฝึกภาวนา

การฝึกจิตภาวนา ก็คือการทำสมาธินั่นเอง เป็นการทำจิตใจให้สงบจากกิเลสกามทั้งหลาย

วิธีวิปัสสนาง่ายๆคือการรู้ลักษณะของกาย

1.พิจารณาลมหายใจให้เห็นชัดว่าเราและผู้อื่นต้องหายใจเข้าและหายใจออกอยู่เช่นนี้

เหมือนกัน ให้เห็นว่าลักษณะของกายล้วนต้องมีลมหายใจเข้าออก

2.พิจารณาอิริยาบถของกายเราและผู้อื่นให้เห็นชัดว่ากายล้วนมีอิริยาบถ นั่ง ยืน นอน เดิน อันเป็นลักษณะของกายทั้งปวง

3.พิจารณาสัมปชัญญะ ให้ทำความรู้สึกตัวในการกระทำต่างๆ คือ กิน เคี้ยว สวมเสื้อผ้า ทำงาน ดูหนังสือ สัมผัส รู้กลิ่น ให้เห็นว่ากายทั้งสิ้นล้วน เห็นรูป รู้เสียง รส กลิ่น สัมผัส รู้อารมณ์ เหมือนกันเสมอกัน

4.พิจารณาให้เห็นชัดว่ากายล้วนมีลักษณะเป็นธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ

5.พิจารณาให้เห็นชัดว่ากายล้วนเป็นปฏิกูล เป็นของไม่สะอาด มี ผม เล็บ ฟัน หนัง ฯลฯ

6. พิจารณาให้เห็นชัดว่ากายล้วนตายเป็นซากศพ เน่าเปื่อยผุพังด้วยกันทั้งสิ้น

วิปัสสนารู้ลักษณะของเวทนา

1.พิจารณาในอารมณ์ตน เอา ความทุกข์ ความสุข ความไม่ทุกข์ไม่สุขเป็นอารมณ์ ให้รู้ชัดในอารมณ์นั้นๆ

วิปัสสนารู้ลักษณะของจิต

1.พิจารณาในจิตตน เอา ความโลภ โกรธ หลง ให้รู้ชัดในอารมณ์นั้นๆ

วิปัสสนารู้ลักษณะธรรม

1.พิจารณาธรรมที่เกิดในจิตตน เอาจิตที่เป็น กุศล อกุศล อัพยากฤติ เป็นอารมณ์นั้นๆ

ที่กล่าวมาเป็นการพิจารณาอย่างง่ายๆ การที่จะพิจารณาให้รู้ลึกยิ่งๆขึ้น ให้ศึกษาเพิ่มเติม

ด้วยตนเองเพื่อให้จิตเกิดกุศล และเจริญกุศลที่มีอยู่ให้ยิ่งๆขึ้นไป



 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง