Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
  เพียร**ไม่ให้ความชั่วเกิด อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ต้นข้าว
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ย.2005, 12:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เพียรไม่ให้ความชั่วเกิด



โดย ผู้จัดการออนไลน์ 26 ตุลาคม 2548 17:04 น.





ได้อธิบายเรื่องความเพียรมาแล้ว ๓ ข้อ ข้อต้นว่า ให้เพียรพยายามเจริญกุศลให้เกิดให้มีให้ เป็นขึ้น ข้อต่อมาก็เพียรรักษากุศลที่เกิดแล้วนั้นอย่า ให้มันเสื่อมหายไป



สองข้อนี้ก็อุปมาอุปไมย เปรียบได้ดั่งคนเรา ชาว สวนชาวนาพยายามปลูกต้นไม้ พอมันงอกงามขึ้นมา ก็รักษาไว้ไม่ให้มันตาย ไม้บางอย่างบางชนิดได้รับประโยชน์ก่อนที่จะเป็นดอกเป็นผล คือ ยอดและใบ รับประทานได้ก่อน เมื่อรักษาไว้ไม่ตาย ยังเจริญงอกงามอยู่ก็ย่อมเกิดผล ได้รับผล เปรียบได้กับการเจริญกุศล คือความดีให้มีอยู่ในตน แล้วก็จะได้ชมความดีที่ตนฝึกอบรมขึ้นมา เราจะได้เห็นความดีของตน นั้นแหละจึงจะรักษาความดีของตนไว้ได้ ถ้าหากสร้าง ความดีขึ้นมาแล้ว แต่หากไม่รู้จักคว ามดีนั้นว่ามันดี อย่างไรและไม่เห็นความดีของตน ก็ไม่มีหนทางจะ รักษาความดีนั้นไว้ได้



คนเราบางคนมีแต่สร้างความดี เขาว่าอะไรดีก็สร้างไป สร้างไปทุกสิ่งทุกอย่าง เขาว่ารักษาศีลดี ทำทานดี ทอดกฐิน บวชนาคดี อยากจะทำอย่างเขา เพราะเห็นเขาบอกว่าเป็นของดี แต่ไม่ทราบว่าดีอย่าง ไร เช่น การรักษาศีลดีอย่างไร ยังไม่ทันเห็นคุณค่าของการรักษาศีลก็รักษาทั้งหมดเรื่อยๆไปอย่างนั้น



ท่านได้จัดประเภทของการรักษาศีลไว้หลายอย่าง หลายประการ ศีลบางประเภทรักษาแล้วได้ความอิ่ม อกอิ่มใจ ได้เห็นผลปร ะโยชน์ เมื่อมีผลแล้วก็สามารถรักษาคุณงามความดีของตนคือการที่มีศีลไว้ได้ไม่ให้เสื่อม ไม่ให้ด่างพร้อย เห็นว่าศีลเป็นเหมือนนัยน์ตาข้างเดียวที่มีอยู่ กลัวมันจะบอด ต้องคอยระวังคอยรักษาอย่างยิ่ง การเห็นคุณค่าของศีลว่าศีลทำประโยชน์คือให้ได้รับความสุข ให้ความเย็นใจ ให้เกิดปลื้มปีติ กับการที่เราละความชั่วได้ และตั้งอยู่ในความดี อย่างนี้เป็นต้น ผู้เห็นผลอย่างนี้จึงจะรักษาความดีนั้นไว้ได้ ศีลอย่างนี้ท่านเรียกว่า ‘วิสุทธิศีล’ นักปราชญ์ ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ท่านชมเชยสรร เสริญ ศีลอันนั้น



..การทำความดีโดยการรักษาศีลนั้น ไม่เลือกกลางวันกลางคืน ไม่เลือกวันพระ คอยระวังสังวรอยู่ ตลอดเวลา คิดถึงศีลของตนแล้วปลื้มปีติอิ่มใจ ไม่ใช่จะอิ่มใจจะปลื้มปีติแต่วันเรารักษาศีลและในวันพระเท่านั้น เรื่องของฆราวาสมันเป็นการลำบากที่จะรัก ษาศีล ๘ ตลอดไป แต่ว่ารักษาศีล ๘ เป็นศีลพิเศษในวันพระ วันหนึ่งกับคืนหนึ่งรักษาได้ขนาดนั้นก็นับว่า ดีมาก มีศีล ๕ เป็น นิจศีล หมายถึง ศีลประจำตลอด เวลา ผู้มีศรัทธาเห็นคุณค่าของศีลแล้ว จะมีศีลเป็นเครื่องอยู่ เรียกว่าเจริญความดี บำเพ็ญความดีให้เกิดมีขึ้นในตน ความดีเกิดมีขึ้นในตนแล้วจะอิ่มใจดี ใจ ปลื้มปีติกับความดีอันนั้น และพยายามรักษาความดีอันนั้นไว้ นี่แหละหลัก ๒ ข้อเบื้องต้น



ข้อที่ ๓ พยายามละความชั่ว ความชั่วมันก็เกิดที่กาย วาจา ใจ ของเรานี่แหละ อย่าไปดูที่อื่น ถ้าหากว่าไม่รู้จักความชั่ว ก็ไม่ทราบจะไปละตรงไหน ต้องดูให้รู้จักความชั่วเสียก่อน อุปมาเปรียบได้กับการเกิด โรคภัยไข้เจ็บ รู้สึกแต่ว่าโรคเกิดขึ้นในกาย แต่ไม่ รู้จักว่าโรคอะไร เกิดขึ้นที่ไหน เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ไม่มีหนทางที่จะระงับดับโรคนั้นได้ มิหนำซ้ำร้ายยิ่งกว่าเก่านั่นอีก หายาตามท้องตลาดมากิน โดยไม่เข้าใจว่าเป็นยาแก้โรคที่มีอยู่ในกายของตนโดยเฉพาะ หรือไม่ ไปใช้ยาสุ่มสี่สุ่มห้า มันก็ไม่ถูกกับโรคและอาจไปแสลงแก่โรคให้ร้ายแรงยิ่งกว่าเก่าถึงกับตายก็ได้ ฉันใด คนที่จะละความชั่ว ถ้าไม่เห็นความชั่วของ ตนแล้วก็ละไม่ได้เหมือนกัน ถ้าไม่รู้จักความผิดของตน ไม่รู้จักความโง่ของตน เข้าใจว่าตนฉลาดอยู่ร่ำไป อะไรก็เข้าใจว่าเป็นดีหมด ไม่ยอมฟังเสียงใครทั้งนั้น อย่างนี้ก็ไม่ทราบว่าจะไปละความโง่อันนั้นได้อย่างไร มีแต่เพิ่มพูนความโง่ขึ้น จิตมีทิฏฐิมานะกล้าขึ้นกว่า เก่าทวีคูณ ไม่ทราบว่ามันจะไปดีได้อย่างไร นี่เพราะไม่เห็นความโง่ของตน ถือเอาความโง่เป็นความฉลาด โง่ฝังอยู่ในใจเฉยๆ ก็ยังคลางแคลง แต่เมื่อเอาความโง่มาแสดงให้ปรากฏออกภายนอกในที่สาธารณะแล้ว เป็นสิ่งที่น่าอับอายขายขี้หน้า เพราะความโง่นั้นฝังอยู่ ภายในตัวเรา แต่เราเข้าใจผิดคิดว่าอันนั้นเป็นความฉลาด เลยถือมานะทิฏฐิว่าตนเด่นตนดี อันนี้เรียกว่า ไม่รู้จักความชั่ว ไม่รู้จักความโง่ แล้วก็ไม่ทราบจะชำระอะไรได้



โดยทั่วไป การกระทำของใคร คนนั้นก็ว่าตนทำถูกหมด มันถูกตามกิเลสของตนเอง แต่ไม่ถูกตามธรรมวินัย แม้ถึงถูกตามธรรมวินัย ก็ยังเอามาใช้เป็น กาลเป็นเวลาเป็นสมัย ใช้ตามกาลเทศะและบุคคล ไม่ใช่จะไปใช้ทั่วไป นอกจากนั้นยังต้องดูขนบธรรมเนียมประเพณีที่เขานิยมกัน เช่น ภาษาที่ว่า ‘กินข้าว’ จะรู้เรื่องกันหมด ใครๆก็รู้กันทั้งนั้น กินคือมีอาหารมีกับแกล้ม แ ล้วก็เปิบเข้าปาก แล้วพยายามเคี้ยวกลืน ลงไป เรียกว่า‘กิน’ แต่คราวนี้เราจะพูดคำว่า‘กิน’ กับคนอีกชั้นหนึ่งซึ่งไม่ใช่พวกเราที่คุ้นเคยนั้น ไม่เหมาะสมแก่ความนิยมของเขาเสียแล้ว ต้องเรียกว่า ‘รับประทาน’ อันนี้เรียกว่ารู้จักฐานะพอดี พองาม และความนิยมของบุคคลในชั้นภูมินั้นๆ คราวนี้หากเราพูดอย่างกระแทกxxxดัน เพื่อให้บังเกิดความรู้สึกตื่นตัว บางคนมันทื่อ พูดละเอียดมันไม่กระเทือน ต้องพูดหยาบและพูดกระแทก ให้เอาไปคิดไปนึก โดยหวังอยากจะให้ผู้นั้นรู้สึก ก็ไม่ใช่‘กิน’เสียแล้ว มันเป็น ‘แ ดก’เป็น‘ยัด’ไปแล้ว ถ้าหากว่าขนาดนั้นแล้วยังไม่รู้ตัวก็หมดหนทาง ไม่ทราบว่าจะเอาอะไรไปพูดกันอีกแล้ว นี่แหละเรียกว่าคำพูดที่รู้จักใช้ตามฐานะ ถ้าไปพูดกับพระเจ้าพระสงฆ์อย่างนั้น กลายเป็นอาการเหยียดหยามดูถูกพระเจ้าพระสงฆ์ ผู้เป็นที่สักการะเคารพ สำนวนภาษาเขาใช้ทั่วไปเรียกว่า‘ฉัน’ ไม่ใช่‘กิน’ ถ้าพูดว่ากิน เขาจะหาว่าไม่ รู้จักฐานะชั้นต่ำ สูง แต่คำว่า‘ฉัน’ไปพูดกับชาวบ้านชาวเมืองเขาก็หัวเราะอีก เพราะเขาไม่ใช้กัน ของอย่างนี้มันเป็นความรู้ของแต่ละบุคคลที่จะเอาไปใช้ให้มันถูกต้อง เรี ยกว่า ตนเองเข้าใจว่ามันดีทั้งหมด ถูกทั้งนั้น มันก็ถูกเหมือนกัน มันถูกกิเลสของตน แต่มันไม่ฉลาดพอจะไปใช้ถูกตามกาลเทศะและฐานะของบุคคลชั้นภูมินั้นๆ



พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ละความชั่ว แต่ให้รู้จักความชั่วเสียก่อน การเพียรพยายามนั้น ท่านใช้ให้เพียรใช้ให้พยายามละ ถ้าไม่เพียรพยายามละ เคยเป็นมาอย่างไรก็เป็นไปอย่างนั้นแล้ว ถึงเกิดตายตั้ง ห้าร้อยชาติก็เท่าเก่านั่นแหละ เพราะฉะนั้นจึงต้อง ฝึกฝนอบรม..



วันนี้จะอธิบายต่อถึงข้อที่ ๔ สังวรปธาน คือ ละชั่วแล้วระวังอย่าให้มันกลับเกิดขึ้นมาอีก ระวังอย่าให้ ความชั่วนั้นรั่วไหลเข้ามาในตนอีก เหมือนการขับไล่ศัตรูออกจากหมู่บ้านของเรา มันหนีพ้นไปแล้ว อย่าให้มันกลับมาอีกได้ เป็นการระวังและสังวร



ระวังตรงไหน? ก็ระวังตรงที่มันเกิดนั่นแหละ มันเกิดขึ้นตรงไหนมันมักเกิดขึ้นตรงนั้นอีก อุปมาเปรียบเหมือนกับเราแปรงฟัน เรารู้จักว่าความสกปรก มันเกิดขึ้นที่ฟันเพราะเหม็นขี้ฟัน เราเห็นตรงนั้นมันเป็นที่สกปรก เราก็พยายามแปรง พยายามถู พยายามบ้วนปากอยู่เสมอ อย่าประมาท นี่เรียกว่าระวังอย่าให้สกปรกเกิดขึ้นฉันใด จิตที่มันเคยคิดนึกในทางชั่ว โดยเข้าใจผิดมาแต่ก่อนว่าความชั่วเป็นของดี เมื่อรู้ จักว่ามันเป็นความชั่วจริงแล้ว อย่าให้มันไปคิดนึกอีก อย่าให้มันเอนเอียงไปทางนั้น ตั้งสติให้มั่นคงอยู่เสมอ อย่าหลงใหลไปตามทางเลวนั้นอีก คนเรามันดีได้ตรงนี้ ทุกคนเกิดขึ้นมามีผิดทั้งนั้นแหละ ถ้าหาก ว่าเราไม่พยายามที่จะละความผิดและไม่พยายามระวังไม่ให้ ความผิดมันเกิดขึ้นอีกแล้วดีไม่ได้หรอก จะไม่มีคน ดีในโลกนี้เลย จะคอยให้มันดีเองไม่ได้ ต้องอาศัยความพยายามละความชั่ว แล้วระวังอย่าให้ความชั่วเกิดขึ้นอีก หากละความชั่วแล้วไม่มีการระวังก็จะเกิดผิดอีกนั่นแหละ ไม่มีทางจะดีขึ้นมาได้



ความเพียร ๔ ประการนี้ เป็นแนวทางปฏิบัติที่จะให้คนดีขึ้นมาโดยลำดับ หรือจะอำนวยให้คนพ้นจากความทุกข์ได้ ถ้าไม่มีความเพียรพยายามก็ไม่มีวันที่จะดีขึ้นมาได้และไม่มีทางที่จะละความชั่วนั้นได้ เมื่อละแล้วไม่มีการระวังก็ไม่มีทางที่จะดีได้ตลอดไป

(แสดงธรรมในพรรษา พ.ศ.๒๕๑๕ ณ วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย)



หลวงปู่อบรมนั่งสมาธิ

การภาวนา คือ เรารวมใจให้อยู่ในอันเดียว ให้ปล่อยวางหมด เราไปยึดมามากแล้ว คราวนี้เราจะไม่ยึดอะไรทั้งหมด ให้มันวางอ ยู่ในที่เดียวจุดเดียว ลองหัดแบบนี้ ลองดู หากมันจะไปยึด เราบอกว่าไม่เอา มันจะส่งไปยึดอะไรเราไม่เอาทั้ง นั้น ให้มันปล่อยวา ง ทำความรู้สึกอยู่โดยเฉพาะ คือมีความรู้สึกอยู่ เราจับอันนั้นให้ได้ และคุมให้อยู่ตรงนั้นในจุดอันเดียว



-----------------------------------
http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9480000147819
 
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 24 พ.ย.2005, 3:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ คุณต้นข้าว



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 24 พ.ย.2005, 9:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน





สาธุด้วยครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
เด็กลำพูน
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 25 ม.ค. 2006, 2:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เป็นบทความที่ดีมากอันหนึ่งให้ข้อคิดต่างๆมากมาย

อยากให้มีอีกหลายบทความ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง