Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ฝึกใจไม่ให้โกรธ โดย..สมเด็จพระญาณสังวร ฯ.. อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
I am
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ย.2005, 10:20 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิธีฝึกใจไม่ให้โกรธ



ปรกตินั้น เมื่อโกรธก็มักจะไปเพ่งโทษคนอื่น ว่าเป็นเหตุให้ความโกรธเกิดขึ้น คือมักจะไปคิดว่าผู้อื่นนั้นพูดเช่นนั้น ทำเช่นนั้นที่กระทบกระเทือนถึงผู้โกรธ การเพ่งโทษผู้อื่นเช่นนี้ ไม่ใช่การทำให้จิตใจตัวเองสบาย ตรงกันข้าม กลับเป็นการเพิ่มความไม่สบายให้ยิ่งขึ้น ยิ่งเพ่งเห็นโทษคนอื่นมากขึ้นเพียงใด ใจตัวเองก็ยิ่งจะไม่สบายยิ่งขึ้นเท่านั้น



แต่ถ้าหยุดเพ่งโทษผู้อื่นเสีย เขาจะพูดจะทำอะไรก็ตาม ที่เป็นการกระทบกระเทือนถึงตนเองจริงหรือไม่ก็ตาม อย่าไปเพ่งดู ให้ย้อนเขามาเพ่งดูใจตนเอง ว่ากำลังมีสุขทุกข์อย่างไร มีอารมณ์อย่างไร ใจจะสบายขึ้นได้ด้วยการเพ่งนั้น



กล่าวสั้น ๆ การเพ่งโทษผู้อื่นทำให้ตัวเองไม่เป็นสุข แต่การเพ่งดูใจตนเองทำให้เป็นสุขได้ แม้กำลังโกรธมาก หากเพ่งดูใจตัวเองให้เห็นว่ากำลังโกรธมาก ความโกรธก็จะลดลง หากเพ่งดูใจตัวเองให้เห็นว่ากำลังโกรธน้อย ความโกรธก็จะหมดไป



จึงกล่าวได้ว่า ไม่ว่าจะมีอารมณ์ใดก็ตาม โลภ หรือโกรธ หรือหลงก็ตาม หากเพ่งดูใจให้เห็นอารมณ์นั้นแล้ว อารมณ์นั้นจะหมดไป ได้ความสุขมาแทนที่ ทำให้มีใจสบาย



วิเคราะห์สาเหตุของความโกรธ



บัดนี้มาลองแยกความโกรธที่เกิดจากรูปไม่ถูกตา เห็นหน้าตาท่าทางคนนั้นคนนี้แล้วขัดตา ดูไม่ได้กวนโทโส บางคนบ่นตำหนิการแต่งกายของเด็กสาวสมัยใหม่ว่าไม่น่าดู เห็นแล้วเกิดโทสะ เป็นลูกเป็นหลานก็อยากตีอยากว่า บางคนดูภาพตามหนังสือพิมพ์แล้วส่ายหน้า ตำหนิว่าดูไม่ได้น่ารังเกียจ ยังมีรูปไม่ถูกตาอีกหลายประการ



เช่นเดียวกับเสียงที่ไม่ถูกหูเพราะเหตุผลเดียวกัน คือทุกคนที่เป็นปุถุชน ย่อมจะมีรูปไม่ถูกตาของตนอยู่ด้วยกันทั้งนั้น และไม่ตรงกันก็มีเป็นอันมาก ดังตัวอย่าง บางคนโดยเฉพาะเด็กหนุ่ม ๆ สาว ๆ เห็นผมทรงสมัยใหม่ของพวกเขาน่าดูที่สุด บางคนดูภาพตามหนังสือต่าง ๆ แล้วถึงกับต้องเก็บรวบรวมไว้เพื่อดูแล้วดูอีก เพราะชอบมาก ขณะที่ดังกล่าวแล้ว บางคนตำหนิภาพเหล่านั้นรุนแรงว่าน่ารังเกียจไม่น่าให้ผ่านสายตา



พิจารณาตามตัวอย่างที่ยกมานี้ ก็จะเห็นเหมือนเมื่อพิจารณาตัอย่างเสียงที่ไม่ถูกหูที่กล่าวไว้แล้ว คือจะเห็นว่าสาเหตุเดียวกันแต่ก่อให้เกิดผลไม่เหมือนกัน คนหนึ่งชอบคนหนึ่งไม่ชอบ



สาเหตุที่แท้จริงอยู่ที่การปรุงของใจ มิใช่อยู่ที่อะไรอื่น จะโลภก็เพราะใจปรุงให้โลภ จะโกรธก็เพราะใจปรุงให้โกรธ จะหลงก็เพราะใจปรุงให้หลง หรือจะสุขก็เพราะใจปรุงให้สุข จะทุกข์ก็เพราะใจปรุงให้ทุกข์ ดังนั้นสิ่งที่ควรระมัดระวังที่สุด คือ การปรุงของใจตนเองนี้แหละมิใช่การกระทำของคนอื่น คนอื่นจะทำอะไรอย่างไร ถ้าเราระวังการปรุงของใจของเราเองให้ถูกต้องแล้ว ความทุกข์ของเราจะไม่เกิด เพราะการกระทำของเขาเลย…



เมื่อพิจารณามาถึงตรงนี้ คือตรงผู้โกรธเท่านั้นที่เป็นทุกข์ พิจารณาจนเห็นจริงว่า ผู้โกรธเท่านั้นที่เป็นทุกข์จริง ๆ ซึ่งจะต้องเห็น แม้จะเห็นเพียงครู่ยามแล้วลืมก็จะต้องเห็น เพราะตนเองเป็นทุกข์อยู่เพราะความโกรธจริง ๆ



เมื่อเห็นแล้วว่าผู้โกรธเท่านั้นที่เป็นทุกข์ ให้พิจารณาย้อนไปอีกว่าความโกรธเกิดเพราะความปรุงเช่นใด ก็จะเห็นว่าตนได้คิดปรุงไปเช่นใด เมื่อจะแก้ไม่ให้เกิดความโกรธ ก็จะ ต้องไม่คิดปรุงเช่นนั้น จะต้องเปลี่ยนวิธีปรุงคิดเสียใหม่



ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ความปรุงของใจเป็นสิ่งสำคัญ ทำความรู้ความเข้าใจในเรื่องความปรุงของใจเสียก่อน ให้เห็นแน่ชัดเสียก่อนว่า ความโกรธหรือความไม่โกรธ ไม่ได้เกิดจากเสียงภายนอกมากระทบหู แต่ความโกรธหรือไม่โกรธ ชอบหรือไม่ชอบ เกิดจากความคิดปรุงแท้ ๆ ความปรุงคิดของใจเรานี้แหละ ที่ทำให้เกิดความชอบไม่ชอบ ความโกรธหรือไม่โกรธ เมื่อความชอบหรือไม่ชอบ ความโกรธหรือไม่โกรธ



เกิดขึ้นเพราะความปรุงคิด จึงมิได้เกิดเพราะบุคคลภายนอก แต่เกิดจากตัวเองเท่านั้น ตัวเองนี้แหละเป็นเหตุให้ชอบหรือไม่ชอบ โกรธหรือไม่โกรธ เวลาเกิดความไม่ชอบหรือความโกรธ จึงควรมีสติรู้ว่าตัวเองเป็นผู้ทำให้เกิด



ไม่มีผู้อื่นมาทำ เมื่อใจไม่ส่งออกไปโทษผู้อื่นว่าเป็นเหตุ ใจรับความจริงว่าตนเองเป็นเหตุ ความโกรธก็จะลดน้อยถึงหยุดลงได้ สำคัญต้องมีสติรู้ว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดเพราะความปรุงในจิตใจของเราเอง มิได้เกิดเพราะบุคคลหรือวัตถุภายนอก



นี่พูดถึงเมื่อความโกรธเกิดขึ้นแล้ว ให้ดับด้วยการมีสติรู้ความจริงว่าตนเป็นผู้ทำ แต่ถ้าพูดถึงการป้องกันมิให้ความโกรธเกิด จะต้องฝึกให้สติเกิดเร็วขึ้นอีก และดังกล่าวแล้วในตอนต้น ๆ จะต้องฝึกให้เกิดเหตุผลและปัญญา รวมทั้งเมตตากรุณาด้วย การฝึกในเรื่องเหล่านี้จำเป็นต้องทำเมื่อความโกรธยังไม่เกิดขึ้นในจิตใจ หรือเมื่อเกิดแล้วแต่ดับแล้ว



... สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก...



 
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ย.2005, 1:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ







 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ย.2005, 10:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน





สาธุด้วยครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แอน
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 28 พ.ย.2005, 11:12 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ......
 
เบญจมาศ ปินตา
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ธ.ค.2005, 7:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมที่ได้นช่างเป็นธรรมที่ประเสริฐแท้ เราอยากให้ท่านทั้งหลายได้สัมผัสบ้าง สิ่งที่ท่านยังไม่พบและกำลังหานั่นคือ ความสุขที่แท้จริง คนมักมองข้ามตน มองว่าตนนั้นดี แต่สิ่งที่ตนมองคยมองถึงจิตใจไหม เพราะพคนเรานั้นไม่มีใครดีจริงหลอก
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง