Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 มีคนส่ง Email มาถามผมว่าจะรู้เห็นในสมาธิได้อย่างไร อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
tanawat30
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2005
ตอบ: 256

ตอบตอบเมื่อ: 16 พ.ย.2005, 5:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คือคำถามนี้เป็นคำถามที่ตอบยาก คำถามหนึ่ง เพราะผมก็อธิบายคนที่ถามทาง Email ว่าผมมีความรู้ในทางด้านตำราน้อยมาก ส่วนมากจะรู้เห็นจากสมาธิ



ผมขออธิบาย สติปัฏฐาน 4 ในส่วนธรรมมานุสติปัฏฐานให้ฟังก็แล้วกัน ปกติเวลาทำสติปัฏฐาน 4 เราทำแค่ กายายานุสติปัฏฐาน เวทนานุสติปัฏฐาน จิตตานุสติปัฏฐานเท่านั้น แต่ธรรมมานุสติปัฏฐานเกิดขึ้นเอง เมื่อเราทำปัฏฐานทั้ง 3 ช่ำชองแล้ว อย่างไรก็ดี การตรัสรู้ก็อาศัยธรรมมานุสติปัฏฐานเช่นกหัน



ปกติธรรมชาติของจิตมนุษย์ไม่ค่อยนิ่ง คิดโน่นคิดนี่ฟุ้งซ่านอยู่ตลอดเวลา เป็นเหตุให้จิตไม่สามารถรับรู้อภิปัญญาได้ ดังนั้นจึงต้องมีวิธีการทำให้จิตสงบนิ่ง ยิ่งถ้าจิตสงบนิ่งมากขึ้นเท่าไร ความรู้ในทางธรรมของเราก็จะยิ่งแตกฉานมากขึ้นเท่านั้น และเป็นความรู้ที่เราเข้าใจง่ายกว่าการอ่านหนังสือ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้จิตของผู้ปฏิบัติไม่สงบนิ่ง เพราะมีมนุษย์โดยปกติล้วนมีข้อบกพร่องอันเป็นสันดานที่ไม่ดีด้วยกันทั้งสิ้น นี่คือเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ผู้ปฏิบัติสมาธิเท่านั้นจึงจะมีอภิปัญญา คือรู้เองเห็นเองในสมาธิ



ซึ่งกระบวนการนี้ต้องได้รับการฝึกฝนพากเพียรและอดทน การทำจิตของเราให้เชื่องเหมือนการทำเสือที่อยู่ในป่าให้เชื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่ยาก คนที่ปฏิบัติสมาธิภาวนาจนชำนาญ ความสัมพันธ์ระหว่างจิตและร่างกายจะได้ดุลยภาพ นั่นคือเมื่อใดจิตคิดจะทำชั่ว สมองจะผลิตความคิดไปยับั้งการกระทำของจิต และถ้าเมื่อใดก็ตามตัวคิดจะทำชั่ว จิตจะส่งอธิวจนเข้ามาเพื่อเตือนสติอย่าให้เราทำชั่ว จึงเป็นการถ่วงดุลย์ระหว่างจิตและตัว เพื่อควบคุมให้เราสามารถดำเนินชีวิตไปในทางที่ควรจะเป็น แต่มิใช่การดำเนินชีวิตตามที่เราทุกคนอยากจะเป็น



อย่างไรก็ตามผู้ที่ปฏิบัติสมาธิเท่านั้นจึงจะเข้าใจในสิ่งที่ผมอธิบายได้อย่างลึกซึ้งและถ่องแท้ ส่วนผู้ที่ไม่ได้ลงมือปฏิบัติ ลองอ่านกระทู้ที่ผมบอกวิธีปฏิบัติแล้วลองปฏิบัติดู เพราะผมได้ตัดสติปัฏฐาน 4 ออกจากวิธีการปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้คนสามารถปฏิบัติง่ายขึ้น ไม่หลงขั้นตอนในการปฏิบัตินั่นเอง
 

_________________
ไม่มีเรื่องส่วนตัวนะครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
ผู้ใหม่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 16 พ.ย.2005, 6:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ช่วยอธิบายสติปัฏฐานข้อที่ 4 ให้ชัดอีกทีครับ ว่า ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นอย่างไร ? และจะพิจารณาอย่างไร

เมื่อเราตัดออกไปแล้ว สติปัฏฐานก็ขาดหายไป...

สาธุ
 
tanawat30
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2005
ตอบ: 256

ตอบตอบเมื่อ: 16 พ.ย.2005, 7:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมไม่ได้บอกว่าตัดธรรมมานุสติปัฏฐานนะครับ เพียงแต่ว่าธรรมมานุสติปัฏฐานจะเกิดขึ้นเอง ให้เรานึกถึงตอนกินข้าวมี 4 ขั้นตอน 1. เตรียมกับข้าวกับภาชนะ 2. ทำกับข้าว 3. กินข้าว 4. ได้รับความอิ่มจากการกินข้าว ซึ่งถ้าเราจะอิ่มก็ไม่ต้องทำข้อ 4 ใช่หรือไม่ เพราะมันเกิดขึ้นเอง เมื่อเอามาเปรียบเทียบกับสติปัฏฐาน 4 ก็มีลักษณะเดียวกันดังนี้ คือมันเกิดขึ้นเองนะครับ



มันเหมือนกับเราอิ่มข้าวนั่นแหละ ถ้าเราทำ 3 อย่างไม่ชำนาญ ข้อ 4 คืออิ่มข้าวมันก็ไม่เกิด แต่ถ้าเราจะพิจารณาธรรมมานุสติปัฏฐาน คือเราสามารถเข้าใจข้อธรรมได้ลึกซึ้งและละเอียดเพียงใด เหมือนกับว่าเรากินข้าวแล้วอิ่มเพียงใด ถ้ากินข้าวแล้ว 1 จานถ้าไม่อิ่ม แล้วข้าวหมดพอดี เราต้องเริ่ม ข้อ 1 คือเตรียมกับข้าวกับภาชนะอีก จนกว่าเราจะอิ่มข้าวในแต่ละมื้อ



นี่คือลักษณะของอุปมาอุปไมยเพื่อให้เข้าใจข้อธรรมมากขึ้นเท่านั้นนะครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
คนเดินทาง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 17 พ.ย.2005, 7:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

...ธรรมดาของธรรมะมันเกิดและดับอยู่แล้วตามปกติ ไม่ว่า เราจะรู้จักมันหรือไม่ก็ตาม เพราะพระพุทธองค์ตรัสว่า ตถาคตจะเกิดหรือไม่ก็ตาม...สิ่งเหล่านี้มันอยู่แล้ว เช่น นิวรณธรรม 5 ประการ คือ 1. กามฉันทนิวรณ์ (ความยินดีพอใจอารมณ์ที่มากระทบทางอายตนะ) 2. พยาบาทนิวรณ์ (ผูกอาฆาตพยาบาท) 3. ถีนมิทธนิวรณ์ (ความง่วงเหงาเศร้าซึม ไม่โปร่งไม่โล่งในอารมณ์) 4. อุทธัจจะกุกกุจจะนิวรณ์ (ฟุ้งซ่านรำคาญ) 5.วิจิกิจฉานิวรณ์ (ความลังเลสงสัย...) คือ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน โยคีต้องพิจารณาตามดูควบคู่กันไปกับสติปัฏฐาน 3 ข้อข้างต้น



ธรรมะคำเดียวไม่ยังไม่แยกว่าดีหรือชั่ว แต่ถ้าอธิบายโดยแยกประเภทแล้วก็มีทั้งกุศลธรรม อกุศลธรรม และอพยากตธรรม....

 
กระทะ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 พ.ย.2005, 7:54 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณtanawat30 อธิบายได้แจ่มแจ้งจริงๆครับ ขออนุโมทนาครับผม
 
วรากร
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 พ.ย.2005, 2:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คลองมันยาวบางคนว่ายข้าม บางคนนั่งเรื่อ บางคนกระโดดข้ามเลย

แต่เมื่อถึงฝัง ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกัน



เมื่อธรรมนั้นอธิบายดีแล้ว

หากเราไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ ก็จงทดลองดู

หากเราเชื่อ ก็ทำให้จิตคลายความสงสัยที่เคยมี เข้าใจธรรมได้มากขึ้น



จงอย่าสงสัย แต่จงสงสัยว่าเราทำไมไม่ทำสักที

เพราะเรามั่วแต่สงสัย เลยไม่ได้ข้ามฝังสักที



สาธุ
 
นิ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 19 พ.ย.2005, 10:16 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เจ้าชายสิทธัตถะ ค้นหาธรรมะไม่ได้ไปหาที่ไหนหรอก มันอยู่ในกายยาววาหนาคืบนี้เอง มันมีพร้อมกับการเกิดมาของมนุษย์นั่นเองแหละ แต่ไม่มีใครรู้จัก เพราะมองข้าม โดยคิดว่า มันเป็นตัวตนของตน และไม่มีชื่อเรียกว่าอะไร ๆ ทั้งนั้น



ครั้นพระองค์ได้ตรัสรู้ธรรมชาติซึ่งไม่มีชื่อเรียกไม่มีใครรู้จักนั้นแล้ว มาบัญญัติชื่อตั้งชื่อว่า สติบ้าง สัมปชัญญะบ้าง ศรัทธาบ้าง ฯลฯ ปัจจุบันนี้เราก็เรียนรู้ตามนั้น ซึ่งก็มีอยู่แล้ว และก็มีชื่อเรียกแล้ว ฯลฯ แต่ถึงกระนั้นเราก็ตีความในเรืองภาษาอีก แค่สติตัวเดียวก็ถกกันไปคนละทาง สมถะตัวเดียวก็ว่ากันไปคนแนวทาง วิปัสสนายิ่งไปกันใหญ่ เพราะเดิมมันเป็นภาษาแขก พอเข้ามาเมืองไทยว่าจะว่าให้เป็นรูปภาษาของตนๆ ฯลฯ

 
tanawat30
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2005
ตอบ: 256

ตอบตอบเมื่อ: 19 พ.ย.2005, 12:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คืออีกอย่างที่มีมาพร้อมมนุษย์ทุกคน คือสันดานชั่ว มนุษย์มองข้ามสันดานชั่ว นี้ไป คนปฏิบัติสมาธิก็ใช้พลังอำนาจสมาธิไปทำลาย ทำร้ายคน ทำไสยศาสตร์ เสน่ห์ยาแฝด แต่ไม่ได้ใช้กำลังสมาธินั้นให้เป็นประโยชน์โดยการมานั่งนึกในสมาธิ แล้วถามตัวเองว่า วันนี้กูทำอะไรเลว ๆ ไปบ้าง มีความโลภ ความโกรธ ความหลงตนความถือตัว ฯลฯ บ้างมั้ย แทนที่จะเอากำลังสมาธิไปใช้ในทางที่ไร้สาระเลวทราม หันมาใช้กำลังสมาธิขจัดสิ่งที่ไม่ดีให้ออกไปจากตนกันดีมั้ย เอาให้สันดานชั่ว ๆ ให้ค่อย ๆ ลงลงทีละเล็กทีละน้อยจนค่อย ๆ หมดไปจากตนอย่างถาวรเสียที อีกอย่างที่ต้องทำ คือในขณะที่จิตบริสุทธิ์ให้เราแผ่เมตตา จิตจะบริสุทธิ์ได้เป็นครั้งเป็นคราวเมื่อสันดานชั่วได้หลุดออกไปจากจิตเราและตัวเราเป็นครั้งเป็นคราวเหมือนกัน สังเกตง่าย ๆ ในสภาวะที่จิตบริสุทธิ์เราจะเข้าสู่สภาวะจิตสงบ เข้าสู่สภาวะอารมณ์ว่าง สิ่งนี้จะเกิดได้เร็วขึ้นและตั้งอยู่ได้นานขึ้น ๆ เรื่อย ๆ ตามความขยันหมั่นเพียรและอดทนของเรา และในที่สุดก็ตั้งอยู่ได้ตราบนานเท่านาน หรือเรียกอีกอย่างว่าสภาวะการบรรลุอรหัตผล หรือการเข้าสู่สภาวะนิพพานนั่นเอง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
งง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 19 พ.ย.2005, 2:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

งง ไม่รู้พูดเรื่องอะไรกัน
 
tanawat30
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2005
ตอบ: 256

ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ย.2005, 1:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คนที่จะเข้าใจในคำสอนที่พระพุทธองค์ท่านตรัสเอาไว้อย่างลึกซึ้งและถ่องแท้จะต้องเป็นผู้ปฏิบัติสมาธิภาวนาเท่านั้น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
ผ่านมาแล้วก็จากไป
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ย.2005, 1:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สำหรับความคิดส่วนตัว ปฏิบัติธรรมคือการฝึกจิตให้เรียนรู้สภาพจริงภายในที่มีหลายหลายไม่จำกัดตามธรรมชาติ เมื่อปฏิบัติแล้วแต่จิตยังไม่รู้ มีแต่สมองความคิดรู้เป็นภาษาบาลีหรือภาษาไทยก็ไม่สามารถทำให้เห็นผลที่เกิดขึ้นได้ ตัวอย่างเหมือนกลิ่นที่น่ารำคาญหากจิตเราไม่รู้จะรู้สึกเหม็นจนทนไม่ไหว ทั้งที่เราก็เข้าใจด้วยความคิดทางสมองว่ามันคือเวทนาไม่ชอบอย่างนึง แต่ความเข้าใจนั้นก็ไม่ได้ทำให้จิตรับรู้จริงยังคงเกิดการปรุงแต่งตลอดเวลาว่าไม่ชอบอยู่ดี แต่พอได้รับกลิ่นนานวันเข้าทุกทีทุกทีความเหม็นนั้นกลับหายไปเพราะจิตรู้ได้ว่ามีแต่กลิ่นส่วนสิ่งน่ารำคาญนั้นไม่มีตัวตนจริงจิตจึงปรับตัวสงบลงของมันเองจากนั้นเรื่อยไป ไม่น่าจะต่างอะไรกับการรู้เห็นภายในสมาธิหากความคิดของสมองที่มีทั้งเสียงภาพติดอยู่ภายในคอยสื่อความหมายให้ผู้ปฏิบัติเกิดความเข้าใจอยู่ตลอดเวลา จิตจึงยังไม่น่าจะเข้าถึงสภาพรู้จริงโดยตรง ที่ไม่ควรจะเหลือความคิดที่จดจำมาจากภายนอกนอกไปเสียจากความรู้สึกที่ชัดเจนและจับจดกับสภาพภายในอะไรก็ได้ที่ปรากฏแต่สิ่งเดียวและละเอียดต่อเนื่องตลอดเวลา
 
วิท
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ย.2005, 8:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กำลังสมาธิ เพิยงกดทับกิเลสไว้ ท่านเปรียบเหมือนหินทับหญ้า เมื่อออกจากสมาธิ กิเลสก็โผล่มาอีกตามเดิม เหมือนยกหินออกหญ้า ก็งอกขึ้นมาอีก ส่วนปัญญาที่รู้สภาวะตามความเป็นจริงแล้วจะทำลายกิเลสได้
 
tanawat30
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2005
ตอบ: 256

ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ย.2005, 9:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ข้อสำคัญต้องรู้ว่ากิเลสเกิดจากอะไร ถ้ารู้แล้วก็เอาต้นตอของกิเลสออกได้ แต่บุคคลโดยทั่วไปปล่อยให้ต้นตอของกิเลสพอกพูนอยู่ในตนจนยากที่จะเอาออกได้ ส่วนปัญญาจะสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อจิตของเราสงบนิ่งอันแสดงถึงสภาวะวะบริสุทธิ์ของจิต ซึ่งจิตจะบริสุทธิ์หรือไม่ก็ขึ้นกับอนุสัย อนุสัยผมก็แปลง่าย ๆ ว่าสันดาน แล้วสันนี่แหล่ะคือต้นตอแห่งกิเลสอีกทีหนึ่ง บุคคลใดก็ตามถ้าจะให้กิเลสหมดไปค่อนข้างถาวร คือบุคคลที่ไม่ว่าจะอยู่ในสมาธิหรือนอกสมาธิก็ตาม ต้องทำให้สันดานชั่วหมดไปโดยถาวรแล้วเท่านั้น คราวนี้ไม่ว่าจะในสมาธิหรือนอกสมาธิกิเลสก็ไม่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นง่าย ๆ แต่เมื่อเกิดแล้วก็ดับกิเลสนั้นได้เพียวเสี้ยวนาทีเท่านั้น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
surakiat@thaimail
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 22 พ.ย.2005, 12:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ แล้วท่านจะหายสงสัยในทุกสิ่ง ผลย่อมเกิดจากฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง เอาชนะใจตนเองให้ได้ก่อน แล้วเราจะรู้ได้ด้วยตนเองแน่นอน ตราบใดที่คุณไม่ได้ฝึกการดูลมหายใจของคุณ พยายามทำใจให้มีสมาธิ มีความสงบระงับในทุก ๆสิ่งให้ได้แล้วคุณจะเห็นตามความเป็นจริง เอาชนะความอยากให้ได้
 
เง็ง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ย.2005, 8:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ฟังๆธนาวัฒน์พูดมาเหมือนคนใจฟุ้งซ่าน ไม่ได้ปัญญา เลยไม่รู้ ไม่เขาใจจริงๆว่าหมายถึงอะไร
 
เหนื่อยแทน
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ย.2005, 8:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

น่านนะซี แค่สมองผลิตความคิดยับยั้งการกระทำของจิตก็ประสาทพอแรงแล้ว ลองอ่านดูที่ยกมาข้างล่างนี่แล้ว ก็สมควรว่าจะไปเช็คประสาทได้แล้วคับ





"นั่นคือเมื่อใดจิตคิดจะทำชั่ว สมองจะผลิตความคิดไปยับั้งการกระทำของจิต และถ้าเมื่อใดก็ตามตัวคิดจะทำชั่ว จิตจะส่งอธิวจนเข้ามาเพื่อเตือนสติอย่าให้เราทำชั่ว จึงเป็นการถ่วงดุลย์ระหว่างจิตและตัว เพื่อควบคุมให้เราสามารถดำเนินชีวิตไปในทางที่ควรจะเป็น แต่มิใช่การดำเนินชีวิตตามที่เราทุกคนอยากจะเป็น "
 
บัวเบลอ
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 18 ต.ค. 2005
ตอบ: 86

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ย.2005, 10:56 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
tanawat30
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2005
ตอบ: 256

ตอบตอบเมื่อ: 24 พ.ย.2005, 10:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สิ่งที่ผมพิมพ์ คือสิ่งที่ผมปฏิบัติ ปฏิบัติมาอย่างไรก็ได้อย่างนั้น ส่วนคนที่ไม่ปฏิบัติผมก็ไม่ทราบว่าเขารู้หรือไม่ว่าเมื่อปฏิบัติแล้วได้ผลอย่างไร คนที่ไม่ปฏิบัติเหมือนคนตาบอดที่กำลังจ้องมองช้าง แล้วพิจารณาว่าช้างตัวใหญ่แค่ไหน เมื่องมองไม่เห็นว่าช้างตัวใหญ่แค่ไหนก็สรุปไปเองว่าคนอื่นคงจะเป็นเหมือนที่ตนเป็น



ขอขอบคุณความเห็นที่ 14 ที่ทำให้ผมเขียนบทความได้อีก 1 บท
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
ปูคุง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 พ.ย.2005, 8:03 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หากการตรัสรู้เป็นเรื่องง่าย และรู้ตามได้โดยง่าย

ท้าวสหัมบดีพรหม จะทูลอาราธนาให้พระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดสัตว์ทำไมกัน?
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง