Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 การปฏิบัติธรรมะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 15 พ.ย.2005, 2:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

การปฏิบัติธรรมะ


การปฏิบัติธรรมะ ก็ไม่แตกต่างกับทางโลกเขาฝึกหัด หรือหัดสานกระบุงตะกร้ากันเท่าใดนัก คือต้องพยายามสานกันอยู่บ่อยๆ เพื่อให้เกิดความชำนิชำนาญ แม้จะไม่มีผู้ใดคอยพร่ำสอนแนะนำ ก็สามารถทำได้ดีและอาจดียิ่งกว่าคนอื่นๆ ที่เขาเคยทำมาแล้ว พร้อมทั้งคิดค้นหาวัสดุสิ่งต่างๆมาประดิษฐ์ ให้มีแบบลวดลายและทรวดทรงแปลกๆ จะได้เป็นจุดสนใจของผู้ซื้อ ด้วยฝีมืออย่างสวยงามประณีตบรรจง ทางธรรมะก็ดำเนินรอยดังนี้ หาได้มีข้อแตกต่างกันไม่

จะต่างกันก็ตรงที่ทางโลกเขาฝึกหัดกาย ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับฝีมือ หรือความรู้ความชำนาญอย่างโลกๆที่คนในโลกจำต้องปฏิบัติ ส่วนทางธรรมะเป็นการฝึกหัดอบรมจิตใจให้เกิดความสงบระงับ กายต้องฝึกหัดอย่างไร ใจก็ต้องฝึกหัดอย่างนั้น คือต้องบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจ ไม่ยอมให้มันซัดส่ายดิ้นรนไปตามความพอใจได้

อารมณ์ทุกชนิดที่เข้ามากระทบใจนั้น มีวิธีปฏิบัติได้เป็น 2 ทาง คือหนีทางหนึ่ง และสู้อีกทางหนึ่ง การที่ต้องหนีก็โดยเหตุที่จิตยังหวั่นไหวไม่มั่นคงพอ ขณะใดกระทบเข้ากับอารมณ์ที่น่ายินดียินร้ายอย่างจังๆเมื่อสู้ไม่ไหว วางจิตให้สงบเป็นปกติไม่ได้ ก็ต้องใช้วิธีเลี่ยงหนีให้พ้นจากอารมณ์นั้นๆ ไปก่อน เพื่อหาทางสู้ในภายหลัง หากปล่อยให้มันเกิดขึ้นบ่อยๆ ไม่มีระงับเสียให้ได้ในขณะนั้น มันจะเก็บสะสมว้าภยในจิตใจ จนเกิดความเคยชินเป็นนิสัยต่อไปจะแก้ไขได้ยาก

ส่วนอีกทางหนึ่ง คือ ทางสู้ ถ้าเราสามารถอดกลั้น อดทนหรือวางจิตใจอย่างสงบต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้นทั้งดีทั้งชั่วได้ก็ไม่จำเป็นต้องหนี วิธีนี้เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องและประเสริฐที่สุด เพราะสามารถเอาชนะอารมณ์นั้นๆ ได้ แสดงให้ทราบถึงสภาพจิตของผู้นั้นว่ามั่นคงดีแล้ว การสู้ในกรณีนี้ มิได้หมายถึงการต่อสู้เอาชนะผู้อื่นด้วยกำลังทางร่างกาย แต่หมายถึงสู้กับกิเลสที่อย่าภายในจิตใจของตนให้ได้นี่เอง

การฝึกหัดหรือการปฏิบัติธรรมะ ก็มาฝึกหัดกันที่ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจของตน ขณะใดกระทบเข้ากับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ก็ให้มีสิตรู้เท่าทันต่ออารมณ์นั้นๆ มิให้หลงรักหลงชังขึ้นมา หากขาดสติ ทำอย่างไรเสียก็ต้องรู้สึกหลงใหลยินดีในสิ่งที่ชอบใจ และหลงชังในสิ่งที่ไม่ชอบใจ จะให้วางจิตใจเฉยเป็นปกติเหมือนดังผู้มีสติอยู่ตลอดเวลาไม่ได้ ในตอนนี้กิเลส ตัณหา อุปาทาน มันจะทยอยเข้ามาเป็นสาย จนกระทั่งกลายเป็นทุกข์ตามหลักของปฏิจจสมุปบาท

เมื่อมีสติอยู่ทุกขณะจิต ก็จะเกิดปัญญารู้เท่าทันความจริง ไม่หวั่นไหวเอนเอียงไปจับอารมณ์ทางโน้น ปล่อยทางนี้ คว้าทางนั้นให้วุ่นวายไปหมด ใครทำได้ถึงขั้นนี้ต่อไปก็ไม่ต้องระมัดระวังควบคุมสติกันต่อไปอีก แต่สติมันจะคอยควบคุมระมัดระวังให้เอง ความสุขสงบเย็นจะเกิดขึ้นให้ผู้นั้นได้รับอยู่ตลอดเวลา

ผู้ปฏิบัติที่มีสติ แม้จะมีอารมณ์ใดๆ มากระทบ จิตก็จะวางเฉยได้เป็นปกติ คงรับเข้ามาก็เฉพาะเรื่องที่เป็นความถูกต้อง สร้างความสันติสุขแก่ตนและผู้อื่นเท่านั้น นอกจากที่กล่าวนี้จิตจะไม่ยอมรับ ขืนรับไว้ จิตที่เคยผ่องใสเป็นปกติ ก็จะเริ่มหวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่เข้ามากระทบ

หากผู้ใดยังปฏิบัติไม่ได้ดังนี้ คือต้องคอยระมัดระวังควบคุมสติตลอดเวลาแล้วก็ถือว่าการประพฤติปฏิบัติธรรมะของผู้นั้น ยังหาใช่เป็นผลสำเร็จขั้นสูงสุดไม่ จะต้องอบรมกาย วาจา ใจ กันต่อไปอีก เพราะปล่อยสติไม่ควบคุมเมื่อใด กิเลสมันเตรียมพร้อมตั้งท่าคอยทีอยู่ใกล้ๆ จะรีบฉวยโอกาสแทรกตัวเข้ามาทันที

ใครปล่อยให้กิเลสเข้ามาสิงสถิตอยู่ในจิตใจได้ ผู้นั้นก็จะเกิดความรักใคร่ในสิ่งน่าพอใจและโกรธเกลียดรำคาญในสิ่งที่ตนไม่พอใจ เพราะตกอยู่ใต้อำนาจของกิเลส ถูกกิเลสชักนำให้หลงผิด จึงไปไขว่คว้าอารมณ์น่ารักน่าชังเอาไว้ ถึงกับได้โจน และตกลงไปในหลุมพรางที่มันขุดล่อดักเอาไว้ กระทั่งไม่สามารถถอนตนให้พ้นจากหล่มขึ้นมาได้

สมมติว่าเรามีโทสะมากเกินไป และเห็นโทษของโทสะว่า เมื่อเกิดขึ้นอย่างรุนแรงไม่สามารถระงับไว้ได้จะทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่ไม่พอใจ ให้พินาศย่อยยับลงด้วยอารมณ์เพียงวูบเดียวเท่านั้น หากไม่รู้จักผ่อนความโกรธให้ลดน้อยเบาบางลงเสียบ้าง ตนคงหมดความสุขไปตลอดชีวิต มันมีแต่โทษอย่างเดียว หาได้มีคุณแก่ใครๆ ไม่


(มีต่อ 1)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 15 พ.ย.2005, 2:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความโกรธเกิดขึ้นครั้งใด จิตใจรู้สึกเร่าร้อนเหมือนกับตกนรกอเวจีก็ไม่ปาน จึงยากจะละความโกรธนี้ให้ได้สิ้นเชิง ก็ขอให้คลายความรุนแรงลง หรือผ่อนหนักให้เป็นเบาก็ยังดี ทำได้เพียงเท่านี้พอใจแล้ว เราควรจะปฏิบัติอย่างไร ก่อนอื่นต้องมีสติคอยควบคุมกำกับอยู่ตลอดเวลา โดยแบ่งการฝึกหัดเป็น 2 ระยะ

ระยะแรก คุมสติตอนที่ความโกรธยังไม่เกิด พอเขาด่ามา ครั้งแรกๆสติอาจมาช้าไม่ค่อยทันการ เพราะเชื้อของความโกรธมันมีอยู่มากจึงระงับไม่อยู่ เมื่อได้ฝึกหัดให้เคยชินอยู่เสมอๆ ต่อไปอาจโกรธเหมือนกันแต่ไม่ถึงกับลงมือลงไม้ หรือด่าตอบ เป็นเพียงแสดงกิริยาอาการฮึดฮัดออกมาบ้างเท่านั้น ยิ่งปฏิบัติไปนานๆ ก็จะค่อยๆผ่อนคลายไปได้เรื่อยๆ เพราะมีสติมากขึ้น

ระยะที่ 2 เมื่ออารมณ์โกรธเกิดขึ้นแล้ว เราประมาทจึงเผลอสติไป ก็ต้องใช้ขันติความอดกลั้น อดทนให้มากยิ่งขึ้น และต้องใช้สติสอดส่องตรวจตราเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ ควรเสียใจอย่างยิ่งที่ได้พลาดท่าเสียทีกิเลสเข้าแล้ว ครั้งนี้แพ้ ครั้งต่อไปต้องเอาชนะให้ได้

นอกจากนี้ ก็ต้องพิจารณาให้เห็นโทษของความโกรธอยู่เนืองๆ กรณีที่ทำให้เราต้องผิดพ้องหมองใจ หรือทะเลาะวิวาทกับผู้อื่น ถ้ามีลักษณะรุนแรงร้ายกาจ อาจถึงต้องติดคุกติดตะราง หมดความเป็นอิสระไปเลยก็ได้

ขนาดธรรมดาๆ ก็ยังรู้สึกเร่าร้อน กระสับกระส่ายงุ่นง่านคล้ายคนเสียสติ เราจะพบเห็นผู้อื่นเป็นเครื่องเตือนใจได้เสมอ เมื่อโกรธจัด หน้าตาจะบูดเบี้ยวบึ้งตึง หู ตาแดง มือไม้ปากคอสั่น ตีอกชกตัว หรือกระทืบเท้าดิ้นเร่าๆ บ้างก็ขว้างปาข้าวของแตกหักเสียหายด้วยฤทธิ์โทสะ ผู้อื่นเขาแสดงกิริยาอาการอย่างไร เวลาโกรธเราก็แสดงกิริยาอาการอย่างนั้น ควรอับอายผู้อื่นและน่าเวทนาสงสารตัวเองอย่างที่สุด

ได้เห็นโทษของมันชัดแจ้ง ก็จะรู้สึกพอใจละความโกรธที่มีอยู่ออกไป เป็นเหตุให้ต้องคอยตรวจตราระมัดระวัง และใช้สติควบคุมสิ่งต่างๆ ให้อยู่ในสภาพปกติ ไม่ยอมให้มันเกิดขึ้นดังครั้งก่อนๆ การละความโกรธชนิดรุนแรง ก็พอมีหวังว่าจะทำได้สำเร็จ เพราะได้ช่วยกันถึง 2 แรง พออารมณ์ไม่พอใจเข้ามากระทบ จิตจะรู้ทันที จึงไม่ยอมรับอารมณ์ชนิดนั้นเนื่องจากได้คอยระมัดระวังอยู่ก่อนแล้ว หากทำได้เช่นนี้ตลอดเวลา ความโกรธก็จะค่อยๆคลายและห่างออกไปตามลำดับ และอาจดับหายไปในที่สุด ไม่หวนกลับมาเกิดอีกเลยก็ได้

ผู้ใดมิเคยได้ฝึกหัดไว้ก่อนล่วงหน้า จะไม่สามารถดับอารมณ์ที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันได้ เพราะสติมาไม่ทันท่วงที จึงพ่ายแพ้แก่อารมณ์ที่พอใจ หรือไม่พอใจเกือบทุกครั้ง การฝึกหัดหรือการระงับสิ่งใดก็ตาม ต้องพยายามฝึกให้เป็นนิสัย เพื่อไม่ให้พลาดท่าเสียทีแก่กิเลส ถ้าปล่อยให้กิเลสเกิดขึ้นเสียก่อน แล้วจึงจะหาวิธีแก้ไขในภายหลังมันชักช้าไม่ทันการ กว่าถั่วจะสุขงาก็ไหม้ อาจทำสิ่งที่ให้โทษอย่างร้ายแรงลงไป ถึงกับหมดทางจะคิดแก้ไขเอาเลยทีเดียว

เมื่อทำได้บ้างในครั้งแรกๆ ครั้งต่อๆ ไปจะดีขึ้นเป็นลำดับ สติที่เคยเชื่องช้าก็จะเพิ่มความรวดเร็วและมาทันเวลายิ่งขึ้น จนกระทั่งมีอารมณ์ใดมากระทบ ก็รู้ได้ในขณะนั้น ยิ่งรู้ก็ยิ่งเห็นความจริง จึงจัดการดับสิ่งนั้นอย่างฉับพลัน และปฏิบัติได้ถูกต้องเหมาะสมกับเหตุการณ์ทุกคราว อารมณ์ที่มากระทบจิตก็หมดความหมายไม่ว่าดีหรือชั่ว ก็เป็นดังนี้เหมือนกันทั้งสิ้น


(มีต่อ 2)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 16 พ.ย.2005, 2:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขณะที่มีอารมณ์ใดๆ มากระทบจิต และเกิดรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจขึ้น ถ้าเรามีสติรู้ว่านี่เป็นความยึดถือ ปัญญาจะไม่นิ่งเฉยรอช้า รีบเข้ามาพิจารณาตัดสินให้ สั่งให้จัดการปล่อยความพอใจหรือไม่พอใจนี้เสีย อารมณ์นั้นๆ จะหยุดชะงักลง และค่อยๆ เลือนหายไปจากจิตใจทันที ความปลอดโปร่งเย็นกายสบายใจจะเข้ามาแทนที่ อาการอึดอัดขุ่นมัว ซึ่งเคยมีเป็นประจำจะเริ่มแจ่มใสเป็นสุขสดชื่นขึ้น เพราะไม่ถูกสิ่งใดก่อกวนให้เศร้าหมองได้ ทั้งจะไม่ยึดถือสิ่งที่ได้ปล่อยไปแล้วอย่างน้อยก็ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เมื่อทำเช่นนี้ได้เสมอๆ สติก็มีมากขึ้น พอกระทบเข้ากับสิ่งใด สติจับได้ก็รีบส่งต่อให้ปัญญา ปัญญาก็พิจารณาตรวจสอบตัดสินให้อีก สติกับปัญญาคงทำหน้าที่ร่วมกันตลอดเวลา

ส่วนผู้ที่ไม่สามารถทำได้ดังนี้ ก็เพราะสติปัญญาไม่ทำงานร่วมกัน สติไปอยู่ทางหนึ่ง ปัญญาก็หลบไปเสียอีกทางหนึ่ง ครั้นเมื่อสติรู้เท่าทันอารมณ์นั้นๆ ขึ้นมาบ้าง ซึ่งนานๆ จึงจะเกิดมีสักครั้งหนึ่ง ปัญญาก็มาไม่ทัน กว่าจะมาได้ทันเวลา สติก็ปล่อยสิ่งที่จับได้นั้นเสียแล้ว ตกลงปัญญาเลยไม่ทราบเรื่อง ว่าสติได้จับอารมณ์อะไรไว้ได้ จึงตัดสินให้ไม่ถูก เพราะสติชิงไปปล่อยเสียก่อน

ทั้งนี้ก็โดยที่ทั้งสติและปัญญา ไม่เคยได้รับการฝึกฝนอบรมให้ทำงานร่วมกัน พอสิ่งใดเกิดขึ้นกับสติ ปัญญาก็ไม่เข้ามาช่วยเหลือตัดสินและสกัดกั้นให้ กิเลสก็เข้ามาผสมโรงสวมรอยเป็นปัญญา จัดการตัดสินให้แทนเสียเอง มันคอยจ้องหาโอกาสอยู่แล้ว กิเลสสวมรอยเป็นปัญญาได้เมื่อใด ผู้นั้นนับวันจะเหินห่างธรรมะยิ่งขึ้นทุกที ผลที่สุดก็เร่หันเข้าหากิเลส เป็นพวกพ้องของกิเลส สนุกสนานรื่นเริงยิ่งกว่าเข้าพวกรวมหมู่กับพวกธรรมะเป็นไหนๆ

การเขียนคติพจน์หรือถ้อยคำสั้นๆ ที่เหมาะสมซึ่งตนเห็นว่าดีที่สุด สมควรนำไปประพฤติปฏิบัติตามได้ไว้ในที่ๆ เด่นชัด สามารถมองเห็นได้ง่ายสักบทหนึ่งหรือสองสามบท มากเกินไปนักก็ไม่สู้ดี เพื่อใช้เป็นหลักสำหรับช่วยเตือนสติ เวลาใดความคิดมันล่องลอยไปอื่น เมื่อพบคติพจน์หรือคำขวัญเข้าจะได้รู้สึกตัว รีบเหนี่ยวรั้งความคิดที่เตลิดออกไปนอกทาง ให้หันกลับมาอยู่ในแนวทางที่กำหนดเอาไว้

หากไม่ได้ทำกันไว้บ้างเลย เวลาเผลอสติ ก็จะไม่มีสิ่งใดคอยแนะนำตักเตือนให้ทราบ จิตใจที่ถูกปล่อยให้ล่องลอยไปไหนๆ ได้อย่างเสรี มันจะอยู่ห่างไกลจากจุดหมายมากเกินไป จนยากที่จะแก้ไข เหนี่ยวรั้งดึงให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิมได้

คติพจน์คำขวัญที่เขียนไว้นี้ จะได้ผลหรือไม่เพียงใด ก็อยู่ที่ตัวของผู้ปฏิบัติเป็นสำคัญ มิใช่ทำเพียงเล่นๆ เขียนคติพจน์ไว้โก้ๆ อวดผู้อื่น โดยที่ตนไม่เคยเอาใจใส่ ไม่ยอมปฏิบัติตามถ้อยคำที่อุตส่าห์เขียนเอาไว้ คำขวัญนั้นก็เป็นหมัน ไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้เขียน ซ้ำจะรกรุงรังสถานที่ ทำให้สกปรกเปรอะเปื้อนเสียอีก

ประโยชน์จะมีขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อพบเห็นคติคำขวัญเข้าเวลาใด เป็นไม่ลังเลรอช้า รีบทำตามทันทีเสมือนหนึ่งได้พบขุมทรัพย์ที่มีค่าอย่างมหาศาล หากผู้ปฏิบัติตั้งใจทำจริงๆ และสามารถทำได้อย่างสม่ำเสมอ เป็นปกตินิสัย เป็นต้องมีผลดีแก่ผู้นั้นอย่างมิต้องสงสัยเลย


(มีต่อ 3)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 16 พ.ย.2005, 3:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิธีเขียนคติพจน์หรือคำขวัญดังกล่าวนี้ มีผู้ชอบทำกันมากทั้งทางโลกทางธรรม ส่วนมากมักจะมีแต่ผู้เขียน ผู้สมัครใจทำตามอย่างแท้จริง จะมีสักกี่คน บางคนก็เขียนกันเสียเปรอะ มีทั้งในห้องนอน ตลอดถึงห้องน้ำห้องส้วม จะหันหน้าไปทางใด เป็นต้องพบคำขวัญเต็มไปหมด ข้อความที่เขียนไว้ทุกแห่งก็ล้วนมีสาระประโยชน์ควรค่าแก่การอ่าน น่าเลื่อมใส น่าปฏิบัติตามด้วยกันทั้งสิ้น ถึงกระนั้นก็คงเป็นคติคำขวัญ สำหรับให้จิ้งจกตุ๊กแกร้องทัก และสอบถามพวกเดียวกันว่า ใครเป็นคนเขียน เขียนไว้ให้ใครปฏิบัติ เพราะแต่ก่อนไม่เคยเห็นมี เพิ่งปรากฎแก่สายตา ความสงสัยจึงเกิดขึ้น

การที่จะรู้ว่า สภาพจิตของผู้ใดสูงต่ำ ละเอียดหยาบเพียงใด ก็ให้ดูกันที่สติของแต่ละคนนี้เอง โดยนำสติของผู้นั้นมาเป็นหลักสำหรับพิจารณาทดสอบ ก็จะทราบความจริงได้คนเราจะดีจะชั่ว ก็เป็นไปตามอำนาจของสติ และก็สตินี่แหละจะช่วยบอกให้ทราบถึงความประพฤติของเขาอีกต่อหนึ่ง ถ้าไม่ดูที่สติ ไปดูกันที่อื่น ก็มีทางผิดพลาดได้ง่าย ผู้มีสติอยู่กับตัว ก็เท่ากับมีอาหารทิพย์ไว้บริโภคอย่างอิ่มหนำสำราญ ไม่มีเวลาขาดแคลนสิ่งที่เรียกว่าความสุขเลย

ผู้ใดปรารถนามีสติทุกเมื่อ ก็ต้องลงมือเจริญสติเรื่อยไป และต้องปฏิบัติจนถึงขั้นไม่ต้องระมัดระวังสติ ก็มีอยู่กับตัวตลอดเวลา ใครสามารถทำได้ถึงขั้นนี้ จึงจะถือว่าผู้นั้นมีสติสมบูรณ์ทุกเมื่อ ความโลภ โกรธ หลง ที่เกิดขึ้นมาทุกครั้ง มันเกิดในขณะขาดสติ เผลอสติเวลาใด จิตใจจะล่องลอยตกไปสู่กระแสโลก ส่วนมากมักจะถูกพัดพาไปในทางต่ำ ความรู้สึกนึกคิดก็จะพลอยตกต่ำลงเรื่อยๆ มันอยู่ในสภาพที่ไม่เป็นปกติเสียแล้ว

จิตใจต่ำ การพูด การทำ การคิดนึก ก็ถูกฉุดให้ต่ำลงด้วย เป็นเหตุให้ผู้นั้นกล้าทำสิ่งที่คนมีสติสมบูรณ์เขาไม่ทำกัน ทั้งนี้ก็เพราะไม่มีหลักที่พึ่งทางใจ คอยเหนี่ยวรั้งเตือนให้ทราบถึงภัยอันตรายที่จะพึงมีแก่ตน ครั้นสิ่งใดเกิดขึ้น ก็หลีกเลี่ยงไม่พ้น ต้องยอมรับทุกข์โทษเวรภัยไปตามโทษานุโทษที่ตนได้กระทำไว้ทุกๆ อย่าง

ผู้ใดสามารถควบคุมสติให้มีได้ตลอดเวลา ก็แสดงว่าเขามีจิตใจสูงมาก ผู้มีจิตใจเช่นนี้ จะไม่มีอำนาจใดๆ ในโลกมาชักจูงบีบบังคับ ให้ลงไปเกลือกกลั้วหมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่ต่ำๆ ได้ พร้อมกันนั้นทุกข์ทุกชนิด ก็เข้าใกล้ชิดติดตัวไม่ได้ ต้องถอยห่างออกไปไกลแสนไกล เพราะสติคอยช่วยคุ้มกันระมัดระวัง ไม่ยอมให้สิ่งที่ขัดต่อความผาสุกสงบเย็นจู่โจมเข้ามา

จะอย่างไรก็ตาม ขอให้มีจิตใจสูงเข้าไว้ก่อนก็แล้วกัน อย่างอื่นจะสูงด้วยหรือไม่มิใช่เป็นเรื่องที่สำคัญอะไรนัก จิตใจสูงเพียงอย่างเดียว ก็จูงสิ่งอื่นๆ ให้ดีตาม อย่างอื่นสูงจะจิตใจต่ำเสียอีก กลับจะช่วยสนับสนุนให้ความทุกข์ความเดือดร้อนทั้งปวง ทยอยเข้ามาหาตัวยิ่งขึ้น

สภาพจิตของปุถุชนนั้น แม้จิตใจสูงขึ้นกว่าระดับเดิมในบางครั้งบางขณะ คือไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลงจะเป็นเพราะได้ฟังธรรม หรือเกิดสติระลึกถึงความดีความถูกต้องขึ้นได้เองก็ตาม ก็คงสภาพเช่นนั้นได้เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง ในไม่ช้ามันจะกลับตกไปสู่สภาพเดิมของมัน เคยโลภก็โลภตามเดิม มีโทสะก็โทสะเหมือนเดิม เคยหลงก็หลงอยู่เช่นเดิม ทั้งนี้เป็นเพราะพื้นเพเดิมของจิตปุถุชนมันต้องเป็นดังนี้ จะให้ฝืนความจริงย่อมไม่ได้ เช่นเดียวกับคนที่มีทุกข์คุกรุ่นอยู่ในจิตใจ เมื่อได้ดูหนังฟังเพลง อาจรู้สึกสบายใจ คลายทุกข์ได้บ้างในขณะนั้น แต่โดยเหตุที่จิตของเขายังมีทุกข์ครอบงำอยู่ จึงถูกความทุกข์นั้นๆ บีบคั้นทิ่มแทงเอา เมื่อขาดสติไปหลงยึดถือสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาอีก

ผู้ไม่มีสติช่วยคุ้มครองให้ ก็เสมือนตนเป็นฝ่ายเชื้อเชิญชักจูงความทุกข์ และสิ่งที่ไม่มีผู้ใดปรารถนาอย่างอื่นๆ ให้เข้ามาเยี่ยมเยียนคลุกคลีเป็นเพื่อนตาย ใครก็ตามถ้าปล่อยให้สิ่งเหล่านี้เข้ามาสิงสถิตอยู่ในจิตใจได้แล้ว ต่อไปแม้เห็นโทษของมันบ้าง ก็ยากที่จะขจัดหรือทำลายมันลงได้ง่ายๆ สติสัมปชัญญะจะมีได้ ก็ต่อเมื่อมีปัญญาเป็นพี่เลี้ยง คอยแนะนำช่วยเหลืออยู่เท่านั้น ขาดสติก็เท่ากับขาดปัญญา ขากปัญญาสติก็เกิดขึ้นไม่ได้ ขาดปัญญาในที่นี้ หมายถึง ปัญญาชั้นสูง มิใช่ปัญญาอย่างโลกๆ เพราะมีปัญญาทางโลกยังขาดสติได้ ปัญญาชั้นสูงขั้นหลุดพ้นจากอาสวะกิเลส ใครสามารถทำให้เกิดขึ้นกับตนได้แล้ว จะไม่มีเวลาขาดสติได้เลย


จาก.....สามัญญสำนึก รำลึกพระคุณ ธรรมจักร
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 18 พ.ย.2005, 7:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุด้วยครับคุณปุ๋ย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
oceangirl_pu
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 04 ม.ค. 2006
ตอบ: 1

ตอบตอบเมื่อ: 07 ม.ค. 2006, 11:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
โลกุดตระธรรม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 มิ.ย.2006, 4:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมธนาครับคุณปุ๋ย
 
๛ Nirvana ๛
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 เม.ย. 2006
ตอบ: 403

ตอบตอบเมื่อ: 23 มิ.ย.2006, 8:40 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาธรรมครับ สาธุ
 

_________________
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMMSN Messenger
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 26 มิ.ย.2006, 8:01 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุโมทนากับคุณปุ๋ยด้วยค่ะ ขอให้เจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป
 
marissa
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 10 ส.ค. 2006
ตอบ: 6
ที่อยู่ (จังหวัด): สิงห์บุรี

ตอบตอบเมื่อ: 26 ส.ค. 2006, 3:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุโมทนาบุญ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ย. 2006, 1:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุโมทนาบุญครับ สาธุ

ข้าพเจ้าจะปฏิบัติธรรมะ เพื่อพยายามเจริญสติ และเพิ่มพูนปัญญาของข้าพเจ้า ยิ้ม
 
ข้าว
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ย. 2006, 2:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ อนุโมทนาค่ะ คุณปุ๋ย กำลังพยายามทำสมาธิอยู่ค่ะ ขอให้คุณปุ๋ยพบแต่สิ่งที่ดีและมีความสุขมากๆ นะค่ะ
 
kanalove
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 07 เม.ย. 2007
ตอบ: 35
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 13 พ.ค.2007, 4:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หลังจากพิจารณาอ่านบทความนี้แล้ว
ทั้งข้าพเจ้าที่ยังไม่ค่อยมีสตินัก จะเพียรดำรงให้เป็นผู้มีสติ อนุโมทนาให้ทุกท่านมีสติกันทั่วหน้าคะ * *
 

_________________
kanalovero@hotmail.com
ธรรมะสวัสดีคะ แอดเมล์ได้นะคะ
เรามักจะออนเอ็มเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์นะ

เรามีชีวิตอยู่เพื่อตาย จงตายจริงก่อนที่เราจะตายลวง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailตำแหน่ง AIMYahoo MessengerMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง