Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อะไรคือการพิจารณาในการเจริญสติ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
อาคันตุก
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ย.2005, 4:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มักมีคำถามเสมอว่าการเจริญสติตามหลักสติปัฏฐานสี่คือการะลึกด้วยสติและรู้ด้วยสัมปชัญญะเท่านั้น ทำไมจึงพูดถึงการพิจารณาด้วย การพิจารณานั้นเป็นอย่างไร ในสติปัฏฐานสูตรนั้นได้กล่าวถึงการพิจารณาในการเจริญสติปัฏฐานสี่ทั้ง 13 บรรพ ไม่มีที่ใดละเว้นจะไม่กล่าวถึงการพิจารณาเลย ดังยกตัวอย่างมาให้เห็นพอสังเขปดังต่อไปนี้

คำตอบมีว่าเมื่อผู้เจริญภาวนาได้น้อมธรรมเข้ามาแล้วย่อมพิจารณา กายว่า กายนี้ก็เป็นอย่างนี้ย่อมไม่เป็นอย่างนี้ไปได้ (คือไม่งาม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีตัวตนให้ไปยึดถือ) ด้วยกำลังปัญญาที่เกิดขึ้นในเวลานั้น เมื่อเจริญกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง และย่อมพิจารณาต่อไปอีกเพื่อเห็นกายในกายเป็นภายในบ้าง เพื่อเห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้าง เห็นความเกิดขึ้นในกายบ้าง เห็นความเสื่อมไปในกายบ้างย่อมพิจารณาเห็นความเป็นธรรมดาของธรรมทั้งหลาย

ย่อมพิจารณาไปในการเสวยเวทนาในอารมณ์เวทนาทั้งสาม เพื่อให้รู้ชัดว่าในขณะนั้นกำลังเสวยเวทนาอยู่ การพิจารณาเช่นนี้ก็เรียกว่าการพิจารณาในเวทนา และย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปของเวทนา ย่อมพิจารณาเห็นความเป็นธรรมดาของธรรมทั้งหลายในขณะที่กำลังเจริญภาวนา

ย่อมพิจารณาไปในการเห็นจิตในจิตเป็นภายใน และการเห็นจิตในจิตเป็นภายนอก ย่อมพิจารณาไปเห็นความเกิดขึ้นไปในจิต และความเสื่อมไปในจิต แล้วทำสติให้รู้ชัดว่าจิตมีอยู่แต่เพียงสักว่ารู้

ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเป็นภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเป็นภายนอกบ้าง พิจารณาความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง ความเสื่อมไปในธรรมบ้าง แล้วทำสติให้รู้ชัดว่าธรรมมีอยู่แต่เพียงสักแต่ว่ารู้

การพิจารณากาย ภาษาบาลีว่า กายานุปัสสี
การพิจารณาเวทนา ภาษาบาลีว่า เวทนานุปัสสี
การพิจารณาจิต ภาษาบาลีว่า จิตตานุปัสสี
การพิจารณาธรรม ภาษาบาลีว่า ธัมมานุปปัสสี


สาธุ
 
อาคันตุก
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ย.2005, 5:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ ทำโดยการดำรงสติรู้ว่าหายใจเข้าและหายใจออก (มีในอานาปานสติบรรพ) การพิจารณากาย อันตั้งอยู่ตามปกติด้วยความเป็นธาตุ (มีในธาตุบรรพ) การพิจารณากายในกายโดยความเป็นปฏิกูล (มีในปฏิกูลบรรพ)การพิจารณากายในกายขณะทรงอิริยาบถสี่ โดยความเป็นอิริยาบถ (อิริยาบถบรรพ) การพิจารณากายในกายโดยความเคลื่อนไหวกาย (สัมปชัญญะบรรพ หมายเหตุ สัมปชัญญะบรรพนี่ให้แยกจากอิริยาบถในความต่างกันว่าเป็นความละเอียดปลีกย่อยกว่าอิริยาบถ)

การพิจารณาธรรมในธรรมโดยความเป็นขันธ์ (ขันธบรรพ) การพิจารณาธรรมในธรรมโดยความเป็นอายตนะ (อายตนบรรพ) การพิจารณาธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ (โพชฌงค์บรรพ) การพิจารณาธรรมในธรรมคืออริยสัจจ์ (สัจจบรรพ)
 
อาคันตุก
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ย.2005, 6:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การพิจารณาในการเจริญภาวนาหรือเจริญสตินี้เป็นอย่างไร ถ้าเอาความเข้าใจเรื่อง "การพิจารณา" อย่างที่เราใช้พิจารณาเรื่องต่างๆ ก็อาจจะเข้าใจได้ยาก แม้ว่าจะเป็นเรื่องสามารถจะทำความเข้าใจได้ก็ตาม

แต่ถ้ายกการปฏิบัติกรรมฐาน ที่เรียกกันว่า "การดูรูปนาม" ความรู้หรือวิปัสสนาภูมิในการปฏิบัติกรรมฐานของกลุ่มที่ดูรูปนามนี้ มิได้เรียกว่า "วิปัสสนาภูมิ ๖" แต่เรียกว่าความรู้ที่จะรู้ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม เท่านั้น แต่ความรู้อันนี้เป็นการทำความเข้าใจในวิปัสสนาภูมิด้วย

เมื่อผูดำเนินการปฏิบัติดูนามนั่งภาวนาอยู่ มีเสียงเกิดขึ้น ก็ยกเสียงนั้นพิจารณาทันทีว่า เสียงนั้นเป็นรูปหรือเป็นนาม คือถ้าไม่พิจารณาก็จะไม่รู้ว่าเสียงนั้นเป็นอะไร แต่การพิจารณานั้นอาศัยภูมิรู้ จึงเป็นไปอย่างรวดเร็ว รู้ว่านั่นรูปเกิดแล้ว แต่การจะรู้ว่ารูปคือเสียงเกิดนั้น จะต้องพิจารณาก่อนว่าเสียงนั่นเป็นรูป จึงจะรู้ว่ารูปเกิด

การพิจารณาที่รวดเร็วเช่นนี้เอง ทำให้ผู้ปฏิบัติไม่เห็นว่านั้นเป็นการพิจารณาไปเรียบร้อยแล้ว ด้วยปัญญา ท่านอาจไม่เห็นปัญญา แต่คิดว่ามีสติเพียงอย่างเดียวในองค์ภาวนา จึงไม่เข้าใจว่าปัญญานั้นได้มีการพิจารณาไปแล้ว เลยเห็นว่าการดำเนินการภาวนาสมถะวิปัสสนานั้นมิได้มีการพิจารณาอะไรเลย ทั้งที่ก็รู้อยู่แก่ใจผู้ปฏิบัติเอง ว่าตนเองได้พิจารณาได้ใคร่ครวญธรรมต่างๆ อยู่ตลอดเวลา แต่กลับไม่เข้าใจในการใคร่ครวญพิจารณานั้นไป
 
max
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ย.2005, 7:33 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุครับท่านอาคันตุก

แต่กลับไม่เข้าใจในการใคร่ครวญพิจารณานั้นไป = จริงครับ

ขออณุญาตถามครับแล้วจะต้องทำความเข้าใจเช่นไรครับ
 
สติมา
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ย.2005, 9:38 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุท่านอาคันตุก

เป็นคนถามเรื่อง "การพิจารณา"
เพราะเหตุว่า เราล้วนแต่ เหมือนนกหัดบิน

การพิจารณาที่เป็นปัญหา ก็คือ การคิดพิจารณา ซึ่งเป็นไปด้วยปัญญาสองอย่างในโลก

คือ สุตตมยปัญญา = ปัญญาที่เกิดจากการเรียน การฟัง

การรับรู้ต่างแบบวิชาความรู้

ปัญญาอย่างที่สอง คือ

จินตายมปัญญา = ปัญญาที่เกิดจากการคิดไตร่ตรอง รวมองค์

แห่งความรู้ที่ได้มาจากสุตตมยปัญญา และเกิดปัญญา หรือเกิดความรู้ใหม่ขึ้นมาอีกชุดนึง

โลกเราเจริญก้าวหน้าด้วยปัญญาชนิดนี้ ทำให้เราค้นพบสิ่งใหม่ๆ อันเป็นประโยชน์กับโลก

แต่ปัญญาที่พระพุทธองค์ทรงสอนก็คือ ภาวนามยปัญญา

เป็นปัญญาที่เกิดจากการภาวนา คือการทำให้มีให้เกิดขึ้น (เอง)

ด้วยจิตที่มีคุณภาพสามอย่างคือ ปริสุทโธ สมาหิโต และกัมมนีโย คือ

เป็นจิตที่บริสุทธิ์ ตั้งมั่น และควรแก่การงาน (ว่องไว) จิตชนิดนี้เป็นจิตที่

เรานำมาเจริญวิปัสสนา ฉะนั้น ถ้าขาดกำลังตรงนี้ จิตก็ไม่สามารถ ที่จะ

รู้เห็นตามความเป็นจริง ได้เลย

ตามที่ได้หัด มาแล้ว

ทำให้ทราบว่า เรามักจะคิดพิจารณา ซึ่งเป็นการนำเอาสัญญาการจำได้หมายรู้

ในปัญญาชนิดสุตตฯ และจินตาฯ มาใช้วิธี คิด ให้เกิดปัญญา

ซึ่งเป็นความผิดพลาดอย่างมาก เพราะเราทำผิดจากที่พระพุทธองค์ทรงสอนคือท่าน

ให้ใช้ภาวนามยปัญญาเท่านั้น ในเรื่องการเจริญธรรม หรือการเจริญวิปัสสนานั่นเอง

ธรรมะที่ท่านอาคันตุก กล่าวได้งดงามตามตำรา และมีความแม่นยำขออนุโมทนา

สำหรับเรื่อง "การพิจารณา" ขอฝากไว้ตรงนี้ค่ะว่า

ถ้าเป็นการคิด ย่อมเป็นสัญญาและสังขาร ซึ่งไม่ใช่ภาวนามยปัญญาอย่างแน่นอน

และทำให้เราไม่สามารถ เห็น ตามความเป็นจริงได้

แต่เมื่อใดเราใช้สมาธิในระดับใดก็ตาม ตั้งแต่ขนิษกะสมาธิไปจนถึงอุปจาร (ไม่เกินไปถึงอัปนาสมาธิ) ตามรู้เห็น (อนุปัสสนา) ไม่ว่าในบรรพใดๆ ก็ตาม เราก็จะสามารถเกิดปัญญาชนิดภาวนมยปัญญาได้จริง ตามที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน

กราบขอบพระคุณคำสั่งสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์

ผิดพลาดประการใด โปรดอโหสิด้วยค่ะ เพื่อความเจริญในธรรมของ
 
satima
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 120

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ย.2005, 9:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่ได้ตอบกระทู้เสียนาน เลยเข้าผิดชื่อไปค่ะ ก็คนเดียวกันแหละค่ะ แต่ตอนลงทะเบียนไปลงเป็นภาษาปะกิตซะ แล้วลืม (สัญญาไม่เที่ยง) ถ้ามีข้อสงสัยแล้วไม่ได้มาตอบเพราะลืมอีกไปตามเตือนในห้องธรรมจักรได้นะคะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
satima
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 10 มิ.ย. 2004
ตอบ: 120

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ย.2005, 11:29 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ mac "ขออณุญาตถามครับแล้วจะต้องทำความเข้าใจเช่นไรครับ"

ตอบคุณ mac ค่ะ ว่า ไม่ต้องทำความเข้าใจหรอกค่ะ เพราะเหตุว่าเมื่อใดเราพยายาม ทำความเข้าใจ ก็เท่ากับเรา "คิด" และพยายาม "จดจำ" ซึ่งทำให้เราตกลงไปสู่ขันธ์ห้าแบบยึดมั่นอีก คือ เป็นสังขาร (คิด) และสัญญา (การจดจำไว้) ล้วนทำให้เรายังหลงอยู่ในวัฏฏะสงสารไปเรื่อยค่ะ

หลวงปู่ดูลย์ ท่านจึงกล่าวว่า "ยิ่งคิด ยิ่งไม่รู้ หยุดคิด จึงรู้ แต่ต้องอาศัยคิด" ก็คืออาศัยว่า มันต้องคิดอยู่แล้ว เราเพียงมีสติฯ รู้ทันความคิดเรา ที่มันเกิดขึ้นไปเรื่อยๆ เป็นวัฏฏะสงสาร หรือวงของปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง ปัญญาจะเกิดเมื่อเขาเห็นตามความเป็นจริง ว่า "สิ่งใดเกิด สิ่งนั้นย่อมดับเป็นธรรมดา"

จิตพิจารณาแล้ววาง เป็นสิ่งที่เราต้องการ เราไม่ต้องช่วยจิตพิจารณา ด้วยการคิดซ้ำ หรือพยายามจดจำสภาวะนั้นไว้ แต่จิตที่รู้จักสภาวะนั้น จะเกิดสัมมาวายามะ เพียรที่จะมีสติระลึกรู้สภาวะนั้น และละไปด้วยเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นทุกข์ค่ะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
max
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ย.2005, 12:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุครับท่าน satima สาธุ

"ยิ่งคิด ยิ่งไม่รู้ หยุดคิด จึงรู้ แต่ต้องอาศัยคิด"
 
lee123
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ย.2005, 7:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไดัรับความรู้เพิ่มอีกมาก ขออนุโมทนา ท่านอาคันตุค่ะ
 
อาคันตุก
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ย.2005, 10:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณคุณสติมา ที่ช่วยอธิบายได้อย่างละเอียดได้เกินปัญญาที่ผมเองไม่สามารถจะอธิบายได้

ทำให้เข้าใจการพิจารณา ที่จริงมีคำว่า "เพ่ง พิจารณา" สองคำคู่กัน อันน่าจะหมายถึง สมถะกับวิปัสสนาก็ได้ สิ่งใดที่เข้าสู่ใจทำให้ใจเห็นหรือรู้ได้ชัด สิ่งนั้นน่าจะเรียกว่าได้พิจารณาโดยปัญญาแล้ว แต่จะเป็นปัญญาในระดับไหนก็คงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
 
อาคันตุก
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 พ.ย.2005, 5:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นผู้พิจารณา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=595
 
ลุงสิน
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 16 พ.ย.2005, 9:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความเป็นจริงแล้ว สติปัฏฐานสูตรนั้นเป็นการกล่าวเน้นที่สติมากกว่าอย่างอื่น เหตุที่เป็นเช่นนี้นั้นมาจากว่า การที่พระพุทธองค์จะแสดงธรรมนั้นจะดูที่อุปนิสัยของผู้ที่จะสามารถบรรลุมรรคผลได้เป็นอันดับแรก ในสติปัฏฐานสูตรนั้นก็ไม่ต่างกัน เป็นกล่าวอริยสัจ ๔ ทั้งหมดแต่ว่าพระองค์ทรงเน้นที่สติมากกว่า

แล้วที่กล่าวว่ามีการพิจารณานั้นก็คือ สัมมาทิฏฐิ แล้วตัวที่จะช่วยให้สัมมาทิฏฐิทำงานได้อีกก็คือ สัมมาวายามะ ที่พระองค์ทรงกล่าวไว้ว่า มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชชาและ โทมนัสในโลกเสียได้ คงจะคุ้นกับคำๆ นี้มาก แล้วกายวาจาที่ถูกต้องนั้นก็มีส่วยช่วยในที่จะทำให้จิตใจนั้นพร้อมที่จะทำงานในการพิจารณาให้เห็นแจ้งตามความเป็นจริงได้โดยง่าย ก็เท่ากับว่าพระองค์นั้นทรงแสดงมรรคครบทุกๆ องค์ แต่ว่าเน้นที่สติ

ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าพระองค์นั้นทรงตรัสสัจจทั้ง ๔ ไว้อย่างครบถ้วน มีการกล่าวถึงทุกขสัจ และเหตุแห่งทุกข์ที่เรียกว่า สมุทยสัจจก็ได้กล่าวไว้ เพื่อที่จะต้องละ อภิชชาและโทมนัส ถ้าละได้ ก็คือ นิโรธสัจจ นี้ก็จะเห็นได้ว่า พระองค์นั้นได้กล่าวอริยสัจจ ทั้ง ๔อย่างครถ้วนเลย

แล้วก็ลองสังเกตให้ดีๆ ทุกพระสูตรนั้นไม่มีนอกเหนือจากอริยสัจจ ๔ เลย ถ้านอกเหนือจากอริยสัจจ ๔ หรือว่าไม่เป็นไปเพือ่ความดับทุกข์แล้ว ไม่ได้เป็นการตรัสของพระพุทธเจ้า

แล้วที่พระองค์ทรงกล่าวว่า ทางเอกหรือว่าทางเดียว หรือว่าการไปคนเดียวนั้นก็คือ มรรคมีองค์ ๘ นั้นเอง ตรงนี้น่าสังเกตุอย่างมากว่าการปฏิบัติธรรมนั้นมีเพียงการปฏิบัติเพียงทางเดียวเท่านั้นที่จะดับทุกข์ได้จริง และก็ใครทำคนนั้นก็ดับทุกข์ได้เอง ทำแทนกันไม่ได้

ขออนุโมทนา
 
tanawat30
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2005
ตอบ: 256

ตอบตอบเมื่อ: 16 พ.ย.2005, 9:55 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การทำอาณาปานสติง่ายมากครับ ความหมายคือจำกัดความนึกคิดอยู่ที่ลมหายใจ พึงสังเกตว่าติเตามลมหายใจไปเฉย ๆ ไม่ต้องท่องด้วยวลีใด ๆ ทั้งสิ้น ดูธรรมชาติของลมหายใจ การทำอาณาปานสติเป็นหัวใจหลักสำคัญของการปฏิบัติสมาธิภาวนา เพราะเราจะปฏิบัติสมาธิภาวนาแล้วมีความก้าวหน้าหรือไม่นั้น ขึ้นกับการทำอาณาปานสติเป็นสำคัญ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
อาคันตุก
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 พ.ย.2005, 7:11 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิธีที่จะรู้ว่าการทำอานาปานสติง่ายหรือไม่ สำหรับบุคคลใด ผมใคร่เสนอดังนี้ครับ เมื่อทำความรู้ในการหายใจเข้าออกแล้ว ท่านยังมีอารมณ์อื่นไปรู้และคิดเรื่องอื่นในขณะนั้นได้อีกหรือไม่มากน้อยเพียงใด

ถ้าไม่มีความคำนึงในเรื่องอื่นๆ ในการทำความรู้ในเรื่องลมหายใจเข้าออกแล้ว ท่านคิดว่าจะเกิดอะไรในการภาวนาเจริญอานาปานสติ ?

อย่าได้คิดว่าอานาปานสติทำได้ง่ายๆ เลย
 
นิพพาน
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 30 ต.ค. 2006
ตอบ: 34

ตอบตอบเมื่อ: 02 พ.ย.2006, 11:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เจริญพร ครับ มีอะไรก็บอกด้วย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
suvitjak
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 26 พ.ค. 2008
ตอบ: 457
ที่อยู่ (จังหวัด): khonkaen

ตอบตอบเมื่อ: 06 มิ.ย.2008, 8:29 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สู้ สู้ ขอบคุณครับ
 

_________________
ซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ค.2008, 3:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อานาปานสติไม่ยากอย่างที่คิด

เพียงดูลม เข้ายาว และในลมเข้ายาว เราคิดอะไร สุดลมสังขารก็ดับ

มาดูลมออกยาวอีก ว่าคิดเรื่องอะไร สุดลมออก สังสารก็ดับอีก

เห็นการเกิดดับได้เลยครับ

เป็นวิปัสสนาได้เลย เรียกว่า ลักขณูปณิชฌาน

จะเอามะพร้าวมาขายสวนหรือเปล่าไม่ทราบ

เศร้า
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 10:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ทศพล
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 10 ก.พ. 2008
ตอบ: 153
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 4:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ
 

_________________
"ธรรมทาน คือ ทานอันสูงสุด"
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"

http://www.wimutti.net
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ย. 2008, 9:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง