Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 หลักปฏิบัติปฏิปทาหลักพระป่าธุดงคกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทั อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
วีรยุทธ
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 24 มิ.ย. 2005
ตอบ: 1790
ที่อยู่ (จังหวัด): สกลนคร

ตอบตอบเมื่อ: 28 ต.ค.2005, 4:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หลักปฏิบัติปฏิปทาหลักพระป่าธุดงคกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถระ



(หลักปฏิบัติของพระสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

ที่ได้สั่งสอนหมู่คณะสงฆ์และศิษย์ยานุศิษย์ในทางปฏิบัติที่ดีดังนี้



ปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐานสายพระอาจารย์ใหญ่หลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถระ วัดป่าหนองผือนาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร







ปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐาน (สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถร)

..........พระภิกษุ ฝ่ายที่มุ่งศึกษาธรรม โดยการกระทำ หรือลงมือปฏิบัติ และพำนักอยู่ ตามป่าเขาที่สงบ สงัด สะดวกต่อการปฏิบัติจึงเรียกว่า พระฝ่ายอรัญวาสี พระธุดงคกรรมฐาน หรือ พระป่า

..........พระภิกษุ ที่ได้รับการยกย่องนับถือว่า เป็นพระบุพพาจารย์ใหญ่แห่งกองทัพธรรมพระกรรมฐานในประเทศไทย ได้แก่ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตผู้ได้บำเพ็ญความเพียร ในขั้นเอกอุ จนบรรลุถึงธรรมชั้นสูงสุด

.......... พระป่า หรือพระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มีต้นเค้าดั้งเดิม ประมาณว่า เริ่มแต่ พระอาจารย์สีทา ชัยเสโน อดีตเจ้าอาวาสวัดบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี .......... สำหรับพระเถระผู้มีบทบาท ในการสร้างหลักปักธงชัย พระกรรมฐาน ในแผ่นดินที่ราบสูง แดนอีสานได้แก่

..........ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ ..........หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล วัดเลียบ อุบลราชธานี

.......... และ หลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถร ซึ่งกาลต่อมา ได้ให้การอบรม สั่งสมบารมีธรรม แก่พระภิกษุสามเณร จนมีศิษย์ เป็นพระธุดงคกรรมฐาน ผู้ทรงคุณธรรม สัมมาปฏิบัติ ออกจาริกธุดงค เผยแผ่ธรรมนำศรัทธาสาธุชน ได้ผลดี เป็นอันมาก ต่อกิจการงานพระศาสนาสร้างสำนักป่า วัดวา ศาสนสถานในพระพุทธศาสนา ตามแบบที่เรียกว่า "วัดป่า" ที่เน้นธรรมชาติ ความเรียบง่าย สะอาด สงบ สว่างด้วยแสงธรรม

..........พระสายนี้ ชาวบ้านศรัทธาเรียกว่า พระธุดงคกรรมฐานหรือพระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งดำเนินปฏิปทา ตามแนวพ่อแม่ครูอาจารย์

..........พระป่าพระธุดงคกรรมฐาน จะปฏิบัติต่อครูอาจารย์ ที่เรียกท่าน ด้วยความเคารพอย่างสูงว่า "พ่อแม่ครูอาจารย์" ด้วยความเคารพนับถือ ดุจบิดรมารดาแลครูอาจารย์

.......... ผู้เป็นพ่อแม่ ครูอาจารย์ ก็จะปกครอง อบรมดูแล ลูกศิษย์ ด้วยความเมตตาดุจพ่อแม่ แลครูอาจารย์ เช่นกัน



ประมาณปี พ.ศ.2459 เป็นต้นมา พระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เริ่มทยอย เพิ่มจำนวนมากขึ้น ขยายงานการเผยแผ่ ในภาคอีสาน โดยเฉพาะ ทางจังหวัดอุดรธานี หนองคาย นครพนม สกลนคร อุบลราชธานี นครราชสีมา ขอนแก่น และตามภูมิภาคต่าง ๆ ที่รังสีธรรม แห่งกองทัพธรรมพระกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้แผ่ไปถึง

..........พระป่าทุกองค์ จะต้องรักษาศีล อย่างบริสุทธิ์ ในกระบวนไตรสิกขา ศีลสมาธิปัญญานั้น ศีล เป็นข้อที่ง่ายที่สุดและเท่ากับ เป็นเครื่องทดสอบ สมณะเพศ เพราะการรักษาศีล ต้องการศรัทธา ความตั้งใจ ถ้าผู้ใดรักษาศีล ให้บริสุทธิ์ไม่ได้ ก็อย่าหวังเลย ที่จะก้าวหน้า ในทางธรรมชั้นสูง

..........ศีล เป็นฐานที่ตั้งแห่งสมาธิ ทำให้บังเกิดสมาธิ และตั้งมั่น ศีลจะต้องดีก่อน สมาธิจึงจะดีได้ นอกจากนั้น ในการจาริกธุดงค แสวงหา ที่สัปปายะ สำหรับอบรมจิต ต้องฟันฝ่าอุปสรรค นานาประการ พระป่าจึงเชื่อว่าศีลที่บริสุทธิ์ จะเป็นเกราะป้องกัน ที่ดีที่สุด





.......... พระธุดงคกรรมฐาน หรือพระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต แต่ละรูป ตามประวัติได้ เคยบุกป่าฝ่าดงไปตามป่าเขา เผชิญกับสิงสาราสัตว์ ที่ดุร้าย ผจญกับภัยธรรมชาติ และมนุษย์ที่ตั้งตนเป็นศัตรู แต่ด้วยศีลที่บริสุทธิ์ของท่าน ได้เป็นเกราะแก้ว คุ้มกันพิทักษ์ รักษาพระคุณเจ้า ประสพสวัสดิภาพ ด้วยดีด้วยศีล ด้วยบุญกุศล



..........พระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นสุปฏิปันโน ที่มีปฏิปทา คือข้อวัตรข้อปฏิบัติต่างๆ ที่น่าเลื่อมใสศรัทธา เป็นปฏิปทา ที่ทำได้ไม่ง่าย เพราะเป็นปฏิปทา ที่ทวนกระแสโลก ทั้งทางกาย วาจา และใจ ซึ่งหลักปฏิปทานี้ คือ ธุดงควัตร 13 ขันธวัตร 14 เป็นเครื่องบำเพ็ญทางกาย และมี กรรมฐาน 40 เป็นเครื่องบำเพ็ญทางใจ สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันไป ในอริยาบทต่าง ๆ ของความเพียร ทั้งนี้เพราะธุดงควัตร 13 และวัตรต่าง ๆ ตลอดจนกรรมฐานทั้งมวล ล้วนเป็นธรรม เครื่องอบรมบ่มนิสัย ที่ติดกายมา ตั้งแต่ครั้งเป็นฆราวาส และเป็นธรรม ที่จะทำลายล้างข้าศึกภายในใจ คือกิเลสตัณหา ให้หมดสิ้นไป



การถือธุดงค์ ของพระป่า พระธุดงคกรรมฐาน เป็นเจตนา ที่แสดงออก เพื่อประหารกิเลส ของตน เกี่ยวเรื่อง เครื่องนุ่งห่ม อาหารการขบฉัน ที่อยู่อาศัย และความเพียร ด้วยข้อปฏิบัติ "ธุดงควัตร"







สรุปพระภิกษุฝ่ายอรัญวาส ในพระพุทธศาสนา พระภิกษุ แบ่งออกได้เป็นสองฝ่าย คือ .......... o ฝ่ายปริยัติ ได้แก่ พระภิกษุ ที่มุ่งศึกษาศาสนธรรม จากตำราจากคัมภีร์ ส่วนมาก พำนักอยู่ที่วัด ในเมือง หรือชุมชน จึงเรียกว่า พระฝ่ายคามวาสี หรือพระบ้าน

.......... o พระภิกษุอีกฝ่ายหนึ่ง มุ่งศึกษาโดยการกระทำ หรือลงมือปฏิบัติ และพำนักอยู่ ตามป่าตามเขา ที่สงบ สงัด สะดวกต่อการปฏิบัติ จึงเรียกว่า พระฝ่ายอรัญวาสี หรือ พระป่า หรือ พระธุดงคกรรมฐาน

..........พระภิกษุ ได้รับการยกย่อง นับถือว่า เป็นพระบุพพาจารย์ใหญ่ แห่ง กองทัพธรรมพระธุดงคกรรมฐาน ในประเทศไทย ได้แก่ท่านหลวงปู่มั่น ภูริทัตตตมหาเถร ผู้ได้บำเพ็ญความเพียรในขั้นเอกอุจนบรรลุ ถึงธรรมชั้นสูงสุด ดังมีหลักฐานปรากฎ คืออัฐิของท่านกลายเป็น พระธาตุดังที่มีบรรยาไว้ว่าเป็นลักษณะของพระอรหันตสาวก ซึ่ง ปัจจุบันได้นำมาประดิษฐาน ณ วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานที่มีลูกศิษย์จำนวนมาก อาทิ

..........



รายนามท่านพระกรรมฐานศิษย์หลวงปู่มั่นที่มรณภาพแล้วอัฐิได้กลายเป็นพระธาตุ



หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม วัดป่าสาลวัล อ.เมือง จ.นครราชสีมา

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัล อ.เมือง จ.นครราชสีมา

หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู

หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ วัดประสิทธิธรรม อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี

หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล วัดป่าสันติกาวาส อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี

หลวงปู่พวง สุวีโร วัดป่าปูลูสันติวัฒนา อ.หนองหาร จ.อุดรธานี

หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท วัดป่าภูริทัตปฏิปทาราม อ.สามโคกจ.ประทุมธานี

หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย วัดเขาสุกิม อ.ท่าใหม่ จ. จันทบุรี

หลวงปู่ชา สุภัทโท วัดป่าหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

ท่านพ่อลี วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

หลวงพ่อเฟื่อง โชติโก วัดธรรมสถิต จ.ระยอง หลวงปู่หล้า เขมปัตโต วัดบรรพตคีรี ( ภูจ้อก้อ ) อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร

หลวงปู่ปราโมช ประโมชโช วัดป่านิโครธาราม อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

หลวงปู่ถิร ถิรธัมโม วัดทิพย์รัฐนิมิตร อ.เมือง จ.อุดรธานี

หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ วัดป่าเขาน้อย จ.บุรีรัมย์

พระอาจารย์พร สุมโน วัดป่าประชานิยม อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

หลวงปู่จวน กุลเชฐโฐ วัดเจติยาคีรีวิหาร ( ภูทอก ) อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย

พระอาจารย์วัน อุตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อ.ส่องดาว จ.สกลนคร

หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ วัดพระธาตุมีชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม

พระอาจารย์สีทัด - วัดพระธาตุท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม

หลวงปู่คำดี ประภาโส วัดถ้ำผาปู่ จ.เลย

หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ อ.วังสะพุง จ.เลย

หลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดป่าสำราญนิวาส อ.เกาะคา จ.ลำปาง

หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าพระอาจารย์ตื้อ จ.เชียงราย

หลวงปู่คำ ยสสกุลโล วัดป่าศรีจำปาชนบท อ.พังโคน จ.สกลนคร

หลวงปู่คำพอง ติสโส วัด - จ.อุดรธานี

หลวงปู่คำฟอง เขมจาโร วัดศรีสำราญ ต.กุดเรือคำ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร

หลวงปู่เขียน - วัดป่ารังสีปาลิวัน อ.คำม่วง จ.กาฬสินธิ์

หลวงปู่ทองรัตน์ กันตสีโล วัดป่านกคุ้ม อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี

หลวงปู่กินรี









รายนามท่านพระคณาจารย์ศิษย์หลวงปู่มั่นที่ยังมีชีวิตรและดำรงขันธ์อยู่



หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี

หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาม อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด

หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป วัดโพธิ์สมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี

หลวงปู่หลอด ประโมทิโต วัดในกรุงเทพมหานคร

หลวงปู่แบน ธนกโร วัดดอยธรรมเจดีย์ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร

หลวงปู่มหาเจิม ปัญญาพโล วัดสระมงคล อ.กำพงแสน จ.นครปฐม

หลวงปู่บุญเพ็ง เขมารภิรโต วัดถ้ำกลองเพล อ.โนนทัน จ.อุดรธานี

หลวงปู่เพียร วิริโย วัดภูดินแดง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

หลวงปู่จันทา ถาวโร วัดป่าเขาน้อย อ.วังทรายพูล จ.พิจิตร

หลวงปู่มี ปริปุญโน วัดถ้ำเกีย อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก วัดวิเวกธรรมมาราม จ.ขอนแก่น

หลวงปู่มหาเนียม สีลเสฐโฐ วัดเจริญสมณกิจ จ.ภูเก็ต

หลวงปู่สาย เขมธัมโม วัดป่าพรหมวิหาร อ.โนนสังจ.หนองบัวลำภู

พระอาจารย์อุทัย สิรินธโร วัดถ้ำพระภูวัว อ.เซกา จ.หนองคาย

หลวงปู่ทองพูล สิริกาโม วัดสามัคคีอุปถัมภ์(ภูกระแต) อ.บึงกาฬจ.หนองคาย

หลวงปู่ลี กุสลธโร วัดถ้ำภูผาแดง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

หลวงพ่อทูล ขิปปัญโญ วัดป่าบ้านค้อ อ.บ้าผือ จ.อุดรธานี

พระอาจารย์ทองคำ - วัดภูวัว อ. เซกา จ.หนองคาย

หลวงปู่อ่ำ ธัมกาโม สำนักสงฆ์ธุดงค์สถานสันติวรญาณ จ.เพรชบูณ์

หลวงปู่วิริยังค์ สิรินธโร วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ

หลวงตาแตงอ่อน กัลยาณธัมโม วัดป่าโชคไพศาล อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร

หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป วัดป่าประทีปปุญญาราม อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร

หลวงปู่พวง - วัดป่าศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร

หลวงปู่บุญหนา ธัมทินโน วัดป่าโสตถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

หลวงตาสรวง สิริปุญโญ วัดป่าศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร

พระอาจารย์คำบ่อ ฐิตปัญโญ วัดใหม่บ้านตาล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญวิเวก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

พระอาจารย์ประสิทธิ์ ประภากโร วัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

พระอาจารย์กันหา สุขกาโม วัดทับทิมแดงธรรมาราม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

พระครูโกวิทสังฆการ ( สัมภาส โกวิโท ) วัดกุดเรือคำ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร

หลวงปู่แปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

พระอาจารย์หลอ นาถกโร วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อ.ส่องดาว จ.สกลนคร

พระอาจารย์บุญมา คัมภีรธัมโม วัดหนองป่ากุง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

พระอาจาย์เขี่ยม โสรโย วัดถ้ำขาม อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

พระอาจารย์เลี่ยม ฐิตธัมโม วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

พระอาจารย์มนตรี - วัดป่าละอู จ.ประจวบคีรีขันธ์

หลวงปู่แฟ็บ สุภัทโท วัดป่าดงหวาย อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร

พระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ วัดป่ามณีกาญจน์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี

พระอาจารย์สมหมาย - วัดป่าสันติกาวาส อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี



เป็นต้น และรายชื่อพระคุณเจ้ายังมีอีกมาก

พระคุณเจ้า ทั้งหลายนี้ ได้สืบต่อ การปฏิบัติ ข้อวัตร ตามแนวทาง ของท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ในกาลต่อมา เมื่อศิษย์ในสาย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลายองค์ ถึงแก่มรณภาพ อัฐิของท่าน ก็ได้ แปรสภาพ ไปในทำนองเดียวกับ ของพระอาจารย์มั่น อาทิ อัฐิธาตุ ของหลวงปู่ขาว อนาลโย ของท่าน พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ประกอบกับ ความเค่งครัด ในวินัย และศีลาจารวัติ ได้เสริมสร้าง ศรัทธา ของ ประชาชน ในการปฏิบัติกรรมฐาน เพิ่มมากขึ้น และเป็นเหตุแห่ง การฟื้นฟู วัดป่า และชักจูงให้ มีผู้บวช เป็นพระป่า พระสายปฏิบัติกรรมฐาน เพิ่มมากขึ้น เช่นกัน

การเริ่มต้นชีวิต แบบพระป่า อาจทำได้ สองวิธี ดังนี้ คือ



วิธีที่หนึ่ง วิธีที่สอง ..........สำหรับ ผู้ที่เคยเข้าไป สัมผัสวัดป่า เป็นครั้งแรก ความรู้สึก ที่กระทบจิตใจ เมื่อย่างเข้า ถึงเขต วัดป่าคือ "ความร่มรื่น" ซึ่งเกิดจาก ต้นไม้น้อย ใหญ่ ภายในวัด สิ่งกระทบใจ ประการที่สอง คือ ความสะอาด และ มีระเบียบ "ความสงบเงียบ" ไม่อึกทึก พลุกพล่าน ต้นไม้ ธรรมชาติ จะได้รับ การรักษา ให้ยืนยง คงอยู่

..........กุฏิเสนาสนะ ที่พำนัก ของพระป่า จะปลูกสร้าง อย่างเรียบง่าย สมถะ ด้วยวัสดุพื้น ๆ เว้นแต่ บางแห่ง ที่มีคณะศรัทธา ญาติโยม สร้างถวาย ก็อาจใช้วัสดุ หรือการก่อสร้าง ที่พิถีพิถัน แต่บางแห่ง ท่านก็ไม่ยอมให้สร้างใหญ่โต หรือพิถีพิถัน เกินไป เพราะแกรงว่า จะทำให้ พระ คุ้นกับความสบาย จน "ติดสุข" ไม่อยากออกไป เผชิญความลำบาก ในการออกเดินธุดงค์ ซึ่งเป็นภารกิจ ที่สำคัญ ของพระป่า

..........โดยทั่วไป ภายในกุฏิ ของพระป่า จะมีเพียงกลด พร้อมด้วยมุ้งกลด เสื่อ ปูนอน เครื่องอัฐบริขาร ผ้าห่มนอน จีวร ตะเกียง หรือเทียนไข และหนังสือ ที่หัวนอน อาจมีหิ้งพระ รูปพระอาจารย์ต่างๆ ส่วนของมีค่า อุปกรณ์ อำนวยความสะดวกสบายนั้น ท่านไม่สะสม กุฏิแต่ละหลัง ผู้พำนักอาศัย ต้องรักษา ให้สะอาด ทั้งในกุฏิ และบริเวณ

..........พวกชาวเมือง ที่ได้ไปเยือนวัดป่าครั้งแรก มักจะแปลกใจว่า นี่ท่านทำอย่างไร วัดจึงสะอาดฉะนี้ ทั้งๆ ที่ มีต้นไม้ เต็มไปหมด ทุกแห่ง ทางเดินของท่าน ก็โล่งเตียน ห้องน้ำ ก็สะอาด ศาลา ก็สะอาด คำตอบคือ พระป่า ท่านปฏิบัติ ตามพระวินัย ท่านต้องรักษา เสนาสนะ ที่อยู่อาศัย และบริเวณ ให้สะอาด ทุก ๆ วัน เวลาประมาณ บ่ายสามโมง เป็นเวลา ปัดกวาดลานวัด ซึ่งปกติท่าน สมภาร หรือ ประธานสงฆ์ ก็จะลงมือกวาด ด้วย ยกเว้น ก็แต่ ผู้อาพาธ เท่านั้น งานปัดกวาดนี้ ใช้แรงมาก เพราะ ไม้กวาดหนัก และด้ามยาวกว่า จะแล้วเสร็จ ก็เหงื่อท่วมตัว ซึ่งเท่ากับ เป็นการออกกำลังกาย ไปในตัว พระป่าท่าน เดินจงกรม เดินบิณฑบาต ทุกวัน ถูศาลา ทุกวัน และกวาดวัด ทุกวัน ท่านจึงแข็งแรง และสุขภาพดี

.......... พระพุทธศาสนา เป็นตัวอย่าง ของประชาธิปไตย ตั้งแต่เริ่มเข้ามาบวช เป็นสมาชิกของวัด ก็ต้อง ผ่านการลงมติ ของคณะสงฆ์ เสียก่อน ข้าวของต่างๆ ที่มีผู้ถวายแก่วัด ย่อมเป็นของกลาง ใครจะ นำไป เป็นประโยชน์ ส่วนตัว ไม่ได้ ทุกคน มีส่วนที่จะ ได้รับประโยชน์ จากของสงฆ์ ถ้ามีการพิพาทกัน ก็ต้อง ตั้งกรรมการ พิจารณา เหล่านี้ เป็นตัวอย่าง ของประชาธิปไตย แต่เป็นแบบพุทธ คือ เป็นการสมัครใจ ไม่บังคับ ถ้าไม่พอใจ ก็ไปที่อื่นเสีย แล้วก็ยังมีคาราวะ มีอาวุโส มีบารมี มีกรรม มีวิบาก ไม่ใช่ทุกคน เท่ากันหมด อาหารที่บิณฑบาต มาได้ จะนำมารวมกันก่อน แล้วจึงแจกไป ให้ทั่วถึง ..........พระป่า ท่านมีคติ อีกอย่างหนึ่ง คือ ไม่ว่าวันไหน จะบิณฑบาต ได้ภัตตาหาร มากน้อย เท่าใด ต้อง ฉันแต่น้อย แต่พอดี แม้จะมีอาหาร ล้นเหลือ ก็จะไม่ฉัน จนอิ่มตื้อ เพราะ ถ้าทำเช่นนั้น จะง่วง ภาวนา ไม่ได้ นอกจาก ระวังไม่ฉันมากแล้ว พระป่า ท่านยังระวัง ไม่ให้ติด รสอาหาร ด้วย โดยการหลีกเลี่ยง อาหารที่อร่อย ทั้งนี้ เพราะเกรงว่าจะ "ติดสุข" นั่นเอง ในเวลาฉัน ต้องพิจารณา ตามแบบ ที่พระพุทธเจ้า ทรงสอน พูดง่าย ๆ คือว่า กินเพื่ออยู่ เพื่อประทังชีวิต ประทังความหิว ท่านจึงเงียบสงบ ระหว่างฉัน ไม่สนทนาพาที อะไรกัน เพราะท่านต้อง พิจารณาอาหาร ไปด้วย

..........กิจวัตร ของพระป่า คือ ตื่นนอน ตั้งแต่ตีสาม หรือตีสี่ เพื่อปฏิบัติภาวนา สวดมนต์ ทำวัตรเช้า ทำกิจส่วนตัว แล้วเตรียมตัว ออกบิณฑบาต ครั้นรุ่งอรุณ พระป่า จากอรัญญวาสี จะออกบิณฑบาต เป็นแถว เป็นแนว เป็นระเบียบ

.......... บรรยากาศ ยามรุ่งอรุณ กลิ่นไอธรรมชาติ ความบริสุทธิ์ ของชนบท ดวงหน้า ที่เอิบอิ่มใน บุญกุศล ของชาวบ้าน เป็นภาพชีวิต อันประทับใจ ผู้ได้สัมผัส พระป่าจะต้อง ออกบิณฑบาต ทุกวัน นอกจาก อาพาธ หรือเดินไม่ได้ ตามปกติ วัดป่า ต้องอยู่ ห่างหมู่บ้าน เพื่อให้พ้นจาก การรบกวน คน สัตว์ และ เสียงอึกทึก แต่ต้องไม่ไกล เกินไป จนเดินไปบิณฑบาต ไม่ไหว โดยมาก เว้นระยะห่าง จากหมู่บ้าน ประมาณ 2-3 กิโลเมตร ซึ่งพอจะเดินไปกลับ ได้ภายใน หนึ่งชั่วโมง

..........การอบรม พระป่า ตามวัดต่างๆ ในสายท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จะอาศัยหลัก อย่างเดียวกัน แต่การปฏิบัติ แตกต่างกันไป ตามความเห็น และความถนัด ของท่านอาจารย์ ทุกวัด มีการเน้นเรื่อง ศีล พระป่า ทุกองค์ จะต้องรักษาศีล อย่างบริสุทธิ์

..........ในการะบวนไตรสิกขา ศีลเป็นข้อที่ ง่ายที่สุด และเท่ากับ เป็นเครื่องทดสอบ พระภิกษุ เพราะ การรักษาศีล ต้องการเพียง ความตั้งใจ เท่านั้น ถ้าผู้ใด รักษาศีล ให้บริสุทธิ์ ไม่ได้ ผู้นั้น ก็ไม่มีหวัง ที่จะก้าวหน้า ไปถึงธรรมชั้นสูง ศีลเป็นเครื่องรองรับ หรือเป็นฐาน ของสมาธิ ทำให้สมาธิ เกิดง่าย และตั้งอยู่ โดยมั่นคง ศีลต้องดีก่อน สมาธิ จึงจะดีได้

..........นอกจากนั้น ในการออกธุดงค์ แสวงหา ที่สัปปายะ สำหรับอบรมจิต จะต้องฝ่าอันตราย ต่าง ๆ นานา พระธุดงคกรรมฐาน หรือพระป่า ท่านมีความเชื่อมั่นว่า ศีลที่บริสุทธิ์ จะเป็นเกราะกำบัง ที่ดีที่สุด พระอาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ แต่ละองค์ มีประวัติ บุกป่าฝ่าดง ไปในแดนสัตว์ร้าย เช่น เสือ ช้าง และงู ทนแดด ทนฝน ทนลมหนาว ต้องผจญกับ มนุษย์ ที่ถูกอวิชชาครอบงำ…. แต่เพราะท่าน รักษาศีลบริสุทธิ์ สัตว์ร้าย หรือคนร้าย ตลอดจน สภาวอากาศ ที่แปรปรวน ก็ไม่อาจ ทำอันตรายท่านได้ เพราะฉะนั้น พระป่า ที่จะออกธุดงค์ จะต้องแน่ใจว่า ศีลของท่าน บริสุทธิ์จริง ๆ เพื่อให้มั่นใจ ในข้อนี้ และแน่ใจว่า จะไม่พลั้งเผลอ ท่านจึงรักษาศีล ให้บริสุทธิ์อยู่ เสมอ

..........ในวัดป่า จะมีการไหว้พระ สวดมนต์ร่วมกัน การสวดมนต์ มีผลให้ใจสงบลง เป็นการเตรียม สำหรับ การภาวนาต่อไป ตามปกติ เมื่อฉันเสร็จ จัดการชำระล้าง ทำความสะอาด บาตร เรียบร้อยแล้ว พระป่า ท่านจะกลับกุฏิ มาลงมือภาวนา ส่วนมาก มักจะเริ่มด้วยการ เดินจงกรม เพื่อแก้อาการง่วง ซึ่งอาจเกิดขึ้น ภายหลังฉันอาหาร ใกล้ ๆ กับกุฏิ ทุกหลัง จะมีลานเดินจงกรม กว้างประมาณ 1 เมตร ยาวประมาณ 10-15 เมตร ระหว่างเดิน อาจบริกรรมภาวนา หรือพิจารณา เกี่ยวกับสังขาร ร่างกาย จุดประสงค์ เพื่อให้เกิดความสงบ เกิดสมาธิ หรือปัญญา เมื่อหยุดเดิน ก็เข้าที่นั่งภาวนา พอเมื่อย หรือ ง่วง ก็ออกมาเดินอีก สลับกันไป ในการภาวนา พระป่า สายท่าน พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล และ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จะใช้บริกรรม "พุทโธ" รวมกับอานาปานสติ เช่น หายใจเข้านึก พุท หายใจออกนึก โธ หายใจเข้านึก พุท หายใจออกนึก โธ ซึ่งวิธีเหล่านี้ ใช้กันโดยทั่วๆ ไป

..........ครูบาอาจารย์ จะคอยติดตาม การดำเนินของการปฏิบัติ อยู่เสมอ โดยการซักถาม ปรากฎการณ์ ทางจิต ของศิษย์ จึงสามารถ ดัดแปลงแก้ไข การปฏิบัติ ให้เหมาะสม กับภาวะ ของแต่ละคน ช่วยให้ได้ ผลดีขึ้น ไปเรื่อย ๆ ถ้าหากมีอะไร แทรกแซงขึ้นมา เช่น นิมิตเห็น ภูตผีปีศาจ หรือยักษ์ เห็นมาร อาจารย์ ก็จะชี้แจง ให้ทราบความหมาย ของนิมิตนั้น ๆ และบอกวิธี ที่จะป้องกัน ไม่ให้เกิดขึ้น ต่อไป หลักสำคัญ ประการหนึ่ง ซึ่งท่านอาจารย์ ในสายของท่าน พระอาจารย์มั่น เน้นอยู่เสมอ คือ "ธรรมะทั้งหลาย อยู่ภายในกาย ของเราเอง"

.......... ในการพิจารณา ให้ส่งจิต เข้าภายในกาย ไม่ให้ส่งออก ไปภายนอก เพราะนอกจาก จะไม่ได้ ประโยชน์แล้ว ยังจะเกิดการล่องลอย ของจิตอีกด้วย การแสดงธรรมของ พระป่า ไม่มีพิธีรีตองอะไร มากนัก แต่จะเน้นที่ เนื้อหาสาระ ใช้ภาษา สำนวน ที่ฟังง่าย เข้าใจง่าย ตรงไปตรงมา .......... การอบรมจิต แนะนำ การเจริญภาวนา วิปัสสนากรรมฐาน เป็นภาระกิจ ที่ครูอาจารย์ จะต้องให้การ อบรม แนะนำแก่ศิษย์ ทั้งที่เป็นพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา และชาวบ้านทั่วไป .......... ลปฏิปทาศีลาจารวัตร ของครูบาอาจารย์ใหญ่ พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และสานุศิษย์ของท่าน อีกหลายองค์ เป็นประทีปนำทาง ให้พระป่า มีความวิริยะ อุตสาหะ ในการบำเพ็ญ ความเพียร เพราะเห็นแสงสว่าง ข้างหน้า ขอเพียงให้เดินโดยถูกทาง ถูกวิธี ไม่ย้อท้อ ต่อความยากแค้น และอุปสรรคทั้งมวล

..........พระป่า พระธุดงค์กรรมฐาน เป็นผู้ชูธงชัย แห่งกองทัพธรรม ของพระพุทธองค์ เป็นผู้ วีรอาจหาญ เป็นนักรบ ที่จะสู้ กับกิเลสตันหา ความดิ้นรน ทะยานอยาก เพื่อมุ่งสู่จุดหมาย คือ มรรคผล นิพพาน ตามรอยพระยุคลบาท พระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้รู้. ผู้ตื่น. ผู้เบิกบาน.







 

_________________
ท่านสามารถฟังวิทยุเสียงธรรมหลวงตามหาบัวได้ทั่วประเทศ
และโทรทัศน์ดาวเทียมเสียงธรรมทั้งภาพและเสียงได้แล้วที่
http://www.luangta.com
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คนใต้
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 31 ต.ค.2005, 9:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทางทีมงานไม่ทราบว่าพอจะมีหนังสือ หรือหาหนังสือ หลักปฏิปทาพระธุดงค์กรรมฐาน

สายหลวงปู่มั่น ได้ที่ไหน ครับ เพราะต้องการศึกษาสายท่านพระอาจารย์ทมั่น ว่าท่านสอนศิษย์อย่างไร ถึงมีศิษย์ที่บรรลุธรรมมากที่สุดในประเทศไทย และมีศิษย์ท่านที่อัฐิกลานยเป็นพระธาตุ มากหลายรูป



กราบขออนุโมมทนาสาธุครับ
 
ร.ร. วิถีพุทธสุพรรณ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 พ.ย.2005, 9:12 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กราบขออนุโมทนาสาธุยิ่งครับ



ที่เมตตาเอาข้อมูลลงมาโพสให้ได้อ่านชึ่งเอาไว้เพื่อการศึกษาครับ



 
กลุ่มศรัทธา
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 พ.ย.2005, 9:32 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กราบสาธุครับ



 
ศิษย์วัดป่าเมืองตรัง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ย.2005, 11:12 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ประเทศไทยถือว่าโชคดีที่มีพระป่ากรรมฐานสายหลวงปู่มั่น มาบุกเบิกธรรมปฏิบัติจนเป็นที่สามารถทำให้สืบทอดพระบวรพระพุทธศาสนามาโดยตลอด ปฏิบัติถูกตามหลัก จนสามารถนำหมู่คณะให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ กราบสาธุ





 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง