Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ขอเชิญร่วมพิธีเททองหล่อพระพุทธบูชา ตามจิตศรัทธา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เณรแจ็ค
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 21 ต.ค.2005, 12:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระนาคปรก พระสังกัจจาย พระพุทธชินราช พระกริ่งหลวงพ่อใหญ่

ณ วัดบางน้ำผึ้งใน ตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังสมุทรปราการ

ทำพิธีเททองในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๔๘ (วันปิยะมหาราช)
 
เณรแจ็ค และ สหายเป้
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 21 ต.ค.2005, 1:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

รายนามพระพุทธรูปที่จะหล่อ



1. จะทำการ หล่อพระชัยนำฤกษ์ 1 องค์ พระนาม พระชัยมหาพุทธสิริมงคลรัตนมุนี

2. พระพุทธชินราช 2 องค์

3. พระหน้าปรก

4. พระสังกัจจายน์

5. พระกริ่งหลวงพ่อใหญ่ จำนวน 500 องค์

6. และเป็นพระกริ่ง ช่อพิเศษ 10 ช่อ



ในงานหล่อพระครั้งนี้ ทางวัดได้นำสูตร พระยันต์๑๐๘ของวัดป่าแก้ว (วัดใหญ่ชัยมงคล) นำมาสร้างพระพุทธรูป ซึ่งมีพระยันต์๑๐๘และนะปถมัง ๑๔ นะ



…..พระยันต์๑๐๘ พระยันต์นั้น ประกอบด้วยยันต์ต่างๆ ดังต่อไปนี้......

๑. พระยันต์ประทุมจักร ๕ ยันต์ มีพระคุณประเสริฐวิเศษนัก

๒. พระยันต์ถควัมบดี ๕ ยันต์ ป้องกันสรรพอาวุธทั้งปวง

๓. พระยันต์ไตรสรณาคม ๓ ยันต์ มีคุณอันประเสริฐ

๔. พระยันต์พระนวโลกุตรธรรม ๑ ยันต์ กันสรรพโรค

๕. พระยันต์พระพุทธศาสนา ๗ ยันต์ มีคุณหาที่สุดมิได้

๖. พระยันต์นะโมพุทธายะ ๕ ยันต์ กันภัยต่างๆ

๗. พระยันต์จตุราริยสัจจ์ ๒ ยันต์ ป้องกันอุบัติภัย

๘. พระยันต์พระรัตนฦไตร ๑ ยันต์ เป็นอุดมมงคล

๙. พระยันต์จักรสิรโลก ๙ ยันต์ เข้าสู่สงครามแคล้วคลาด

คมอาวุธประเสริฐนัก

๑๐. พระยันต์มลกุฎพระเจ้า ๑ ยันต์ เสริมสร้างสวัสดิมงคล

๑๑. พระยันต์บารมี ๓๐ ทัศ ๑ ยันต์ เสริมสร้างตะบะเดชะ

๑๒. พระยันต์มหาละลวย ๒ ยันต์ เป็นเมตตามหานิยม

๑๓. พระยันต์ปถมังพระเจ้า ๕ พระองค์ แคล้วคลานคมอาวุธทั้งปวง

๕ ยันต์

๑๔. พระยันต์องครักษ์ ๔ ยันต์ คุ้มภยันอันตรายทั้ง ๔ ทิศ

๑๕. พระยันต์โสฬสมงคล ๑ ยันต์ เป็นมหามงคล

๑๖. พระยันต์ฆเฏสิ ๑ ยันต์ กันโจรภัยทั้งปวง

๑๗. พระยันต์จตุโร ๑ ยันต์ ทำให้บังเกิดทรัพย์

๑๘. พระยันต์ชฎาพระพรหม ๑ ยันต์ คุ้มภัยทั้งปวง

๑๙. พระยันต์นวภา ๒๕ ยันต์ กันอมนุษย์ สัตว์ร้าย เขี้ยวงา

กันเสนียด ชนะความ

๒๐. พระยันต์วิปัสสิ ๒๘ ยันต์ กันสรรพอาวุธ และภัยต่างๆ



สิริรวมเป็น ๑๐๘ พระยันต์ และนะปถมัง ๑๔ นะนั้น คือ



๑. นะบังสมุทร์

๒. นะนาคบาศ

๓. นะวชิราวุธ

๔. นะทน

๕. นะกำจาย

๖. นะปรีชาทุกทิศ(ลงฆ้องไชย)

๗. นะครอบจักรวาฬ

๘. นะบังไตรภพ

๙. นะบังเมฆา

๑๐. นะสะท้านแผ่นดินไหว (ลงเสวตร์ฉัตร์)

๑๑. นะกำจัด

๑๒. นะปิด

๑๓. นะปิดอากาศ

๑๔. นะล้อม

พระยันต์๑๐๘ และนะปถมัง ๑๔ นะ นี้ ท่านสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสุสเทวมหาเถร)ท่านได้นำตำรับพระยันต์นี้มาสร้าง พระกริ่ง วัดสุทัศนเทพวราราม ที่เรื่องฤา ตราบเท่าทุกวันนี้

ก็ได้สูตรพระยันต์นี้มาใช้เช่นเดียวกัน

 
สหายเป้อารามบอย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 21 ต.ค.2005, 1:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธชินราช



พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย ที่มีลักษณะงดงาม ที่สุดในโลก มีขนาดหน้าตักกว้าง ห้าศอก 1 คืบ ห้านิ้ว (2.875 เมตร) สูงเจ็ดศอก (3.5 เมตร) หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ขัดเงาเกลี้ยง สมเด็จพระเอกาทศรถได้ทรงปิดทองเป็นครั้งแรกเมื่อ

พ.ศ.2146 และในเมื่อ พ.ศ.2478 ได้มีการลงรักปิดทองเต็มองค์อีกครั้งหนึ่ง และเป็นการ ถาวร อยู่จนทุกวันนี้

พระพุทธชินราช ประดิษฐานอยู่ ณ พระวิหารทางทิศตะวันตกของวัดพระศรี

รัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร องค์พระนั่งขัดสมาธิอยู่บนฐานชุกชีบัวคว่ำบัวหงาย

พระพักตร์หันไปทางทิศตะวันตก (ด้านริมแม่น้ำน่าน) พระพุทธชินราชมีซุ้มเรือนแก้วและสลักด้วยไม้สักลงรักปิดทอง ประดับเบิ้อง พระปฤษฎางค์ ปราณีตอ่อนช้อยงดงามช่วยเน้นให้พระวรกายของพระพุทธชินราช งดงาม เด่น ชัดเจนยิ่งขึ้น พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปศิลปสุโขทัย แต่มีลักษณะพิเศษ เพราะมี พระเกศรัศมียาวเป็นเปลวเพลิง วงพระพักตร์ ค่อนข้างกลมไม่ยาวรีเหมือนผลมะตูมเช่นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย

มีพระอุณาโลมผลิก อยู่ระหว่างพระโขนง พระวรกายอวบอ้วนมีสังฆายาวปลายหยักเป็นเขี้ยวตะขาบ ฝังด้วยแก้วนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน ฝ่าพระบาทแบนราบ ค่อนข้าแคบ เมื่อเทียบกับยุคสุโขทัย ส้นพระบาทยาว มีรูปอาฬวกยักษ์และรูปท้าวเวสสุวัณ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์เฝ้าอยู่ ที่พระเพลาเบื้องขวาและซ้ายขององค์ตามลำดับ

พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปศิลปสุโขทัย ที่มีลักษณะเด่นเป็นพิเศษ ต่างไปจาก พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย แบบอื่น ๆ อย่างชัดเจน เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัยหมวดพิเศษ คือ พระพุทธชินราช ตามตำนาน การสร้างพระพุทธชินราช พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไทย) รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์ ที่ได้โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.1900 พระพุทธรูป ที่สร้างขึ้นในคราวเดียวกันนั้น มี 3 องค์ คือ

1. พระพุทธชินราช หน้าตักกว้าง ห้าศอกคืบห้านิ้ว ณ วิหารใหญ่ทิศตะวันตก

2. พระพุทธชินสีห์ หน้าตักกว้าง ห้าศอกคืบสี่นิ้ว ณ วิหารทิศเหนือ

3. พระศรีศาสดา หน้าตักกว้าง สี่ศอกคืบหกนิ้ว ณ วิหารด้านทิศใต้

ในการหล่อพระพุทธรูป เมื่อหล่อเสร็จแล้วยังมีทองเหลืออยู่ จึงเอามารวมกัน หล่อเป็นพระพุทธรูป นั่งขัดสมาธิปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง หนึ่งศอกเศษ เรียกพระนามว่า พระเหลือกับพระสาว เป็นพระยืนอีก 2 องค์

เมื่อการสร้างพระพุทธรูปเสร็จสมบูรณ์แล้ว พระมหาธรรมราชชาที่ 1 โปรดให้อัญเชิญ พระพุทธชินราช ประดิษฐาน ณ พระวิหารใหญ่ด้านทิศตะวันตก พระพุทธชินศรี ประดิษฐาน ณ พระวิหารด้านทิศเหนือ พระศรี ศาสดา ประดิษฐาน

ณ พระวิหารด้านทิศใต้

พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ที่ประดิษฐานในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุปัจจุบันนี้ เป็นพระพุทธรูปปั้นก่ออิฐถือปูน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้สร้างขึ้นใหม่แทน พระพุทธชินสีห์ และพระ ศรีศาสดาองค์เดิม และอัญเชิญองค์เดิมไปประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร



ตำนานพระพุทธชินราช

ตำนานการสร้างพระพุทธชินราชปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีว่า พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไทย) รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์พระรวง กรุงสุโขทัย โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.1900 ตามพงศาวดารเหนือ ได้กล่าวเรื่องการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา เจือนิยายไว้ มีใจความว่า เมื่อพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกได้โปรดให้สร้าง เมืองพิษณุโลก เสร็จเรียบร้อยแล้วก็ตรัสให้สร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ มีพระมหาธาตุรูปปรางค์ (หรือพระปรางค์) สูง 8 วา และ พระวิหารทิศ กับระเบียงรอบพระมหาธาตุ ทั้ง 4 ทิศ โปรดให้ช่างชาวชะเลียง (สวรรคโลก) เชียงแสน และหริภุณชัย(ลำพูน) ร่วมมือกันสร้าง พระพุทธรูป หล่อด้วยทองสัมฤทธฺ์ 3 องค์ สำหรับประดิษฐานในพระวิหารทิศ ได้เริ่มทำพิธีเททองหล่อ ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีเถาะ สัปตศกจุลศักราช 317 (พ.ศ.1498) เมื่อกะเทาะหุ่นออกแล้ว ทองคงแล่น ติดเป็นองค์พระบริบูรณ์เพียง 2 องค์ คือ พระพุทธชินสีห์ กับพระศรีศาสดา ส่วนพระพุทธชินราชทอง

ไม่แล่นติดเต็มพระองค์ ต้องทำพิธีหล่อต่อมาอีก 3 ครั้งก็ยังไม่สำเร็จ ครั้งหลังสุด พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก ต้องตั้งสัษจาธิษฐาน แล้วทำพิธีเททองหล่อเมื่อ วันพฤหัสบดี ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง นพศกจุลศักราช 319 (พ.ศ.1500) จึงสำเร็จเป็นองค์พระบริบูรณ์ในการหล่อครั้งหลังสุดนี้ปรากฏว่ามีปะขาวผู้หนึ่งจะมาแต่ใด ไม่มีใครทราบได้มาช่วยปั้นหุ่น และเททองหล่อพระด้วยเมื่อเสร็จพิธีหล่อพระแล้ว ปะขาวก็ออกเดินทาง ไปทางเหนือเมือง พอถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งก็หายตัวไปไม่มีผู้ ใดพบเห็นอีก ดังนั้น จึงเข้าใจกันว่าปะขาว ผู้นั้นคือ เทวดา แปลงตัวมาช่วยหล่อพระพุทธชินราชจึงได้พุทธลักษณะงดงามยิ่งนัก เลยเป็นเหตุให้เกิด ความเลื่อมใสในพระพุทธรูปองค์นี้ยิ่งขึ้น ส่วนหมู่บ้านที่ปะขาวไปหายตัวนั้น ก็เลยได้นามในภายหลังว่า บ้านปะขาวหาย หรือตาผ้าขาวหาย มาจนทุกวันนี้





.........................................

(พระพุทธชินราช ในพระราชนิพนธ์ของ ร.5 พ.ศ.2460)

 
สหายเป้อารามบอย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 21 ต.ค.2005, 1:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่วัดมีตลาดน้ำวัดบางน้ำผึ้งด้วยครับ บรรกาศOkey เชิญทุกท่าน ด้วยนะครับ
 
ธรรมรักษ์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 27 ต.ค.2005, 1:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



ไฟล์ชนิด '' ถูกปิดไว้โดยผู้ดูแล จึงไม่สามารถแสดงให้ดูได้


วันอาทิตย์ ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๘ จะมีพิธีเททองหล่อพระพุทธชินราชจำลอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๐๙ นิ้ว พร้อมพระโมคคัลลาน์ และ พระสารีบุตร ณ สำนักปฏิบัติธรรมมหาราช วัดหน้าวัว ต.เจ้าปลุก อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา ขอเรียนเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมบำเพ็ญบุญในครั้งนี้โดยพร้อมเพรียงกัน แผนที่ทางไปวัดผมได้แนบมาด้วยแล้ว



ขอผลบุญจงมีในทุกๆท่าน
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง