Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
  เชิญร่วมปฏิบัติธรรมและรับแจกพระบรมสารีริกธาตุ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ดาวประกาย
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 15 มิ.ย. 2005
ตอบ: 53

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2005, 10:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุญาติท่านเวปมาสเตอร์ ฝากประชาสัมพันธ์ข่าว..แก่พุทธศาสนิกชนทั่วไปด้วยนะค่ะ

-----------------------------------------------------------------------------------------



โครงการบ้านภาวนา 4 มุมเมือง เป็นโครงการหนึ่งฯในการเผยแผ่ธรรมปฏิบัติแก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป โดยมุ่งเน้นการพัฒนาสติในการภาวนาให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถนำไปปฏิบัติเข้าสู่ชีวิตประจำวันอย่างกลมกลืนเป็นธรรมชาติ




การศึกษาและปฏิบัติธรรม ตามความเข้าใจของคนทั่วๆไปนั้น ก็คือ จะต้องไปฟังธรรม รักษาศีล และเจริญภาวนากันที่วัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเจริญภาวนานั้น พุทธศาสนิกชนเกือบทั้งหมด ก็จะเข้าใจว่าการเจริญภาวนา ก็คือ การนั่งสมาธิ หรือวิปัสสนา ในรูปแบบของการนั่งอย่างเดียว ซึ่งจะต้องปลีกวิเวกจากผู้คนหรือสังคมไปหาที่สงบเพื่อที่จะนั่งสมาธิหรือวิปัสสนา อันนี้เป็นจุดอ่อนของการเผยแผ่และศึกษาปฏิบัติธรรม ทำให้ประชาชนทั่วไปหรือสังคมรอบข้าง มองว่าการปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องที่ห่างไกลจากชีวิตประจำวัน คือจะต้องหลบลี้ผู้คน หรือปลีกตัวออกจากสังคมเพื่อไปหาสถานที่นั่งภาวนา ทำให้หลายๆคนมักจะพูดอยู่เสมอว่าไม่มีเวลา ไม่ว่างที่จะไปปฏิบัติธรรมบ้าง จึงเป็นเหตุให้ประชาชนทั้งหลายเหินห่างจากพระพุทธศาสนา เพราะเหตุมองว่าคำสอนในพระพุทธศาสนานั้นเป็นเรื่องไกลตัว และแบ่งแยกต่างหากโดยต้องไปนั่งสมาธิวิปัสสนากันที่วัด หากเราสามารถนำหลักคำสอนในพระพุทธศาสนามาปฏิบัติให้กลมกลืนกับชีวิตประจำวัน คือให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น และผู้เบิกบานเสมอ ในการทำงานหรือการดำเนินชีวิตในชีวิตประจำวัน โดยการฝึกปฏิบัติและเจริญสติให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่นและผู้เบิกบานควบคู่กับการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน และเราช่วยกันเผยแผ่เพื่อเปลี่ยนความคิด หรือ concept ของประชาชนส่วนใหญ่ให้เห็นว่าการปฏิบัติธรรมก็คือการปฏิบัติในชีวิตประจำวันให้เป้นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่เสมอ หากประชาชนที่ยังห่างไกลจากหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศานาได้ยินคำสอนในลักษณะนี้ ก็จะรู้สึกว่าการปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องที่ไม่ยากและไม่เสียเวลา เพราะทำได้ทุกขณะเวลาและเป็นการปฏิบัติแบบธรรมชาติสบายๆ กลมกลืนกับชีวิตประจำวันจริงๆ คือให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่เสมอ เมื่อเป็นเช่นนี้ พระพุทธศาสนาก็จะเกิดความมั่นคงและรุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่ง เพราะประชาชนส่วนใหญ่หันมาประพฤติปฏิบัติธรรมกัน คนไทยส่วนมากมักจะทำอะไรตามๆกัน เมื่อนักปฏบัติทั้งหลายที่ปฏิบัติธรรมโดยการนั่งสมาธิวิปัสสนากันในรูปแบบของการนั่งอยู่แล้ว ได้ศึกษาเพิ่มเติมให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเจริญ และพัฒนาสติในการภาวนา ให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่เสมอในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ยาก ไม่ซับซ้อน ไม่มีรูปแบบ และสามารถปฏิบัติกลมกลืนได้กับการทำงานและการดำเนินชีวิตในชีวิตประจำวัน อีกทั้งการปฏิบัติด้วยการเจริญสติในชีวิตประจำวันนั้นจะช่วยเสริมการปฏิบัติในรูปแบบของการนั่งให้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น และเมื่อฝึกเจริญสติต่อเนื่องในชีวิตประจำวัน ผลการปฏิบัติก็จะปรากฏให้เห็นเร็วกว่าการนั่งปฏิบัติอย่างเดียว การปฏิบัติธรรมด้วยการเจริญสติในฃีวิตประจำวันจึงเหมาะกับประชาชนทั่วไปที่มีมีชีวิตที่เร่งรีบ และแข่งขันกันโดยเฉพาะในโลกยุคโลกาภิวัตน์ หรือยุคข้อมูลข่าวสารนี้ จากหยดน้ำหยดหนึ่งบนใบบัวช่วยกันปลุกระดมธรรม สร้างแนวความคิดหรือ Concept นี้ ให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบ อาตมาเชื่อว่าเมื่อประชาชนที่ยังห่างเหินจากหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปฏิบัติธรรมที่กลมกลืนกับชีวิตประจำวันเช่นนี้ ก็จะเริ่มหันเข้ามาสนใจศึกษาหลักธรรมและข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ให้ลึกซึ้ง และกว้างขวางอย่างจริงจังต่อไปเอง



มูลนิธิจักรวาลฯ โดยหลวงพ่ออุดมศักดิ์ ประธานมูลนิธิฯ จึงได้จัดกิจกรรมการอบรมพัฒนาสติในการภาวนาครั้งนี้ โดยจะแจกพระบรมสารีริกธาตุให้แก่ผู้ที่มาร่วมการฝึกอบรมครั้งนี้ เพื่อบูชาเป็นพุทธานุสติให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองทั้งในทางโลกและทางธรรม มีความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมเข้าสู่มรรคผลตามสมควรแก่การปฏิบัติ และช่วยกันจรรโลงธำรงไว้ซึ่งหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา เป็นการช่วยสืบอายุพระพุทธศาสนาแก่ชนรุ่นหลัง ให้สมกับที่เป็นพุทธบริษัท ๔ สืบไป



ผู้ที่จะมาร่วมกิจกรรมและมารับแจกพระบรมสารีริกธาตุครั้งนี้ กรุณานำเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุมาพร้อมกันนี้ด้วย ทุกท่านจะได้รับแจกพระบรมสารีริกธาตุพร้อมกับประดิษฐานในเจดีย์ที่ท่านนำมานี้ เพื่อไปบูชาเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ท่านและครอบครัวสืบไป

**********************************************************



กำหนดการในการฝึกอบรมพัฒนาสติในภาวนาให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ณ มูลนิธิจักรวาล ครั้งที่ ๑ จะจัดฝึกอบรมในวันเสาร์ที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๔๘ เวลา ๑๖.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. ณ มูลนิธิจักรวาลฯ ชั้น ๒ บริษัทจักรวาลอะไหล่แทรกเตอร์ จำกัด รายละเอียดแผนที่บริษัทฯ กรุณาคลิ๊กไปที่

http://www.universal-tractor.com/universal-tractor.php



อนึ่ง กรุณาสมัครได้โดยตรงในกระทู้นี้ และรับจำนวนจำกัด



[url]http://larndham.net/index.php?act=S...t=0#entry121835 [/url]
 

_________________
ยังนึก..ม่าย..ออก!!!!!
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ดาวประกาย
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 15 มิ.ย. 2005
ตอบ: 53

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2005, 10:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนึ่ง กรุณาสมัครได้โดยตรงในกระทู้นี้ และรับจำนวนจำกัด



[url]http://larndham.net/index.php?act=S...t=0#entry121835 [/url]



http://larndham.net/index.php?act=S...t=0#entry121835
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ดาวประกาย
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 15 มิ.ย. 2005
ตอบ: 53

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2005, 10:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอโทษค่ะ ด้านบนลงผิด ต้องสมัครที่กระทู้นี้ค่ะ



http://larndham.net/index.php?showtopic=16499&st=0
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ดาวประกาย
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 15 มิ.ย. 2005
ตอบ: 53

ตอบตอบเมื่อ: 13 ก.ย. 2005, 11:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การจัดฝึกอบรมภาวนา ครั้งที่ ๒ ณ มูลนิธิจักรวาลฯ บริษัทจักรวาลแทรกเตอร์ (ชั้น ๒) โทร.02-8888051-3 ถนนปิ่นเกล้านครชัยศรี ก่อนถึงพุทธมณฑลสาย ๔ จะจัดให้มีขึ้นในวันเสาร์ที่ 24 กันยายน 2548 เวลา 16.00 – 18.00 น. โดยดูแผนที่ได้ที่

http://www.universal-tractor.com/universal-tractor.php
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ดาว
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ย. 2005, 4:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การบ้านภาวนาครั้งที่ ๑๕ : การทวนกระแสปฏิจจสมุปบาทเริ่มจากการเห็นปฏิจจสมุปบาทด้วยความผู้เบิกบาน ความเป็นผู้ตื่น และความเป็นผู้รู้



ดูการบ้านภาวนาครั้งที่ ๑ - ครั้งที่ ๑๕ ได้ที่http://larndham.net/index.php?showtopic=16275&st=4



*******************************************************************



กำหนดการฝึกอบรมพัฒนาสติในการภาวนาให้เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น และ ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 16 วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน 2548



จะจัดให้มีการฝึกอบรม ณ สถาบันสอนภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า โดยเปิดการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 รอบ ดังนี้

รอบที่ 1 เวลา 10.00–12.00 น.(สำหรับผู้ที่ได้ฝึกอบรมพื้นฐานมาแล้ว 2 ครั้ง)

เรื่อง“การฝึกภาวนาเพื่อพัฒนาความรู้สำตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้รู้”

รอบที่ 2 เวลา 13.00 -15.00 น. (ผู้เริ่มต้นควรเข้าฝึกอบรมพื้นฐานนี้ 2 ครั้ง)

เรื่อง“การฝึกภาวนาเพื่อพัฒนาสติให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้”

อนึ่ง ขอให้ท่านผู้สนใจเข้ารับการฝึกอบรมฯ ได้กรุณาแจ้งความจำนง โดยสมัครเพื่อสำรองที่นั่ง พร้อมแจ้งชื่อ-นามสกุล ระบุวันและรอบเวลาที่ต้องการเข้าฝึกอบรม ส่งมาที่ wimoak@yahoo.comหรือโทร.05-8326441 (คุณหมอปิยะ) ส่วนแผนที่ Home English Center สามารถคลิ๊กไปดูได้.....ที่
http://albums.photo.epson.com/j/ViewPhoto?u=4275026&a=31594700&p=72423772

และรถเมล์ที่ผ่าน..มีดังนี้รถเมล์สาย19,42,57,68,80,124,127,146,203,507,509,511 (ผ่านหน้าห้างพาต้า ปิ่นเกล้า)

หมายเหตุ :

(1) สำหรับผู้เริ่มต้นที่ยังตามไม่ค่อยทัน หรือยังไม่แจ่มแจ้ง และรวมทั้งผู้ที่มีความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติให้เกิดความต่อเนื่อง สามารถเข้ารับการฝึกอบรมรอบพิเศษ ทุกวันอังคาร และพฤหัส เวลา 18.00-20.00 น. ณ สถาบันภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า อนึ่ง รอบวันธรรมดานี้ไม่ต้องสมัครจองล่วงหน้า ท่านใดสะดวกที่จะมาร่วม ก็มาได้เลย



(2) สำหรับผู้มาเข้าฝึกอบรมฯเป็นครั้งแรก และ ผู้ที่เคยเข้าฝึกอบรมแล้ว แต่ยังตามไม่ค่อยทันหรือยังไม่แจ่มแจ้ง ควรจะสมัครเข้าฝึกอบรมในวันอาทิตย์รอบบ่าย ซึ่งจะมีการสอนหลักปฏิบัติโดยบรรยายให้ความรู้ตั้งแต่พื้นฐานและทบทวนการปฏิบัติเพื่อพัฒนาสติให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ ส่วนผู้ที่เคยมาเข้าฝึกอบรมขั้นพื้นฐานมาแล้วจนสามารถเจริญสติด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ ควรจะสมัครเข้าฝึกอบรมต่อในวันอาทิตย์รอบเช้า จะได้เน้นการปฏิบัติเจริญสติเพื่อพัฒนาความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้รู้ อันเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินเข้าสู่ทางอริยมรรค ทั้งนี้ อาตมาเป็นเพียงผู้ช่วยแนะนำร่นระยะเวลาการเดินทางและนำพาทุกท่านให้เข้าสู่อริยมมรรค ส่วนการบรรลุอริยผล ทุกท่านต้องเพียรปฏิบัติเอง หนทางนี้มีอยู่ อยู่ที่เดินให้ถูกทางด้วยความเพียรของแต่ละท่านเอง



อนึ่ง ขอเชิญรับหนังสือการพัฒนาสติในการภาวนา ได้ในวันและเวลาที่มาอบรมดังกล่าว หรือ ดูรายละเอียดได้ที่
http://larndham.net/index.php?showtopic=16219&st=22



*********************************************************************************

การจัดฝึกอบรมภาวนา ครั้งที่ ๒ ณ มูลนิธิจักรวาลฯ บริษัทจักรวาล แทรกเตอร์ (ชั้น ๒) โทร.02-8888051-3 ถนนปิ่นเกล้านครชัยศรี ก่อนถึงพุทธมณฑลสาย ๔ จะจัดให้มีขึ้นใน วันเสาร์ที่ 24 กันยายน 2548 เวลา 15.00 – 18.00 น. พร้อมกับรับแจกพระบรมสารีริกธาตุ จากหลวงพ่ออุดมศักดิ์ ประธานมูลนิธิจักรวาลฯ

โดยดูรายละเอียดที่http://larndham.net/index.php?showtopic=16499&st=47และ

ดูแผนที่ได้ที่http://www.universal-tractor.com/universal-tractor.php

****************************************************************
 
ดาวประกาย
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 15 มิ.ย. 2005
ตอบ: 53

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ย. 2005, 11:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เจริญพร



ด้วยในการฝึกอบรมการพัฒนาสติในการภาวนา เต็มวันที่ได้จัดให้มีขึ้น ณ บุญนิเวศน์ธรรมสถาน เมื่อวันเสาร์ที่ 17 กันยายน 2548 นั้น ปรากฏว่าการฝึกอบรมแบบต่อเนื่องเต็มวัน ทำให้หลายๆท่านได้เริ่มสัมผัสและเข้าใจสภาวะของการเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและใจที่เป็นกลางๆ และเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้หลายๆท่านที่ไม่สามารถมาเข้าร่วมฝึกอบรมฯในครั้งนั้น อาจจะด้วยเหตุว่าบ้านอยู่ไกลและเดินทางมาไม่สะดวก และเมื่อมีหลายๆท่านที่ได้ผ่านเข้าฝึกอบรมเต็มวันครั้งนี้ ได้รับประโยชน์ มีความรู้ความเข้าใจในการเจริญสติในการภาวนาที่ถูกต้อง โดยหลายๆท่านสามารถสัมผัสถึงความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานได้ในเวลาเพียง 1 วันที่เข้ามาฝึกอบรมดังกล่าว ซึ่งนับเป็นความสำเร็จของโครงการฝึกอบรมฯ อันสามารถนำพาท่านทั้งหลายได้เข้าสู่ทางแห่งมรรคผล ด้วยศิลปะในการภาวนาด้วยการเจริญสติซึ่งอาตมาได้พยายามให้อุบายธรรมแก่ท่านทั้งหลาย เพื่อให้เข้าสู่ทางการปฏิบัติที่ไม่เนิ่นช้า เพื่อว่าท่านทั้งหลายจะได้มุ่งปฏิบัติเพื่อมรรคผลด้วยความเพียรของท่านทั้งหลายต่อไป

อาตมาจึงได้จัดโครงการฝึกอบรมการพัฒนาสติในการภาวนา ให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน คอร์สพิเศษ คือ ฝึกอบรมเต็มวัน ครั้งนี้ โดยจะจัดให้มีขึ้นในวันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2548 เวลา 8.00 – 18.00 น. ณ วัดกระโจมทอง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี เพื่อเปิดโอกาสให้หลายท่านที่พักอยู่ในระแวกใกล้เคียงนี้ และสะดวกที่จะเดินทางมาฝึกอบรมเต็มวันที่วัดกระโจมทอง ครั้งนี้ โดยภาคเช้าจะอบรมเรื่อง "การพัฒนาสติให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้" และภาคบ่ายจะอบรมเรื่อง "การพัฒนาความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้รู้"



ผู้ที่สนใจสามารถสมัครเข้ารับการฝึกอบรมครั้งนี้ได้โดยตรงในกระทู้นี้ หรือ อีเมล์มาสมัครกับอาตมาได้ที่ wimoak@yahoo.comและสามารถดูแผนที่วัดกระโจมทองโดยคลิ๊กไปที่

http://albums.photo.epson.com/j/ViewPhoto?u=4329668&a=31894165&p=72826502



การแต่งกายกรุณาแต่งกายด้วยเสื้อสีขาวหรือสุภาพ และกรณีท่านที่มีความประสงค์บวชเนกขัมมะ(สตรี-บุรุษ) 1 วัน กรุณาแต่งชุดขาว พร้อมกับนำดอกไม้ธูปเทียนเพื่อขอบวชเนกขัมมะ ( ศีล 8 ) 1 วัน และท่านที่มีความประสงค์จะนำอาหารมาเลี้ยงเพลหรือถวายสังฆทาน กรุณานำอาหารมาให้ที่โรงครัวในช่วงเช้า



อนึ่ง หลายปีมาแล้ว สมัยเป็นฆราวาส อาตมาเคยไปร่วมกิจกรรมกับกลุ่มนักธุรกิจกลุ่มหนึ่ง คือ นักธุรกิจกลุ่มนี้ จะนัดพบปะสังสรรค์โดยการนัดกันไปปิคนิคทานอาหารและพัฒนาวัดเดือนละครั้งช่วงวันหยุด โดยต่างคนก็เตรียมเศษผ้า ไม้กวาด ไม้ถูพื้น แล้วหิ้วกระป๋องไปทำความสะอาดอุโบสถ หอสวดมนต์ เช็ดโต๊ะหมู่บูชา ตู้พระไตรปิฎก ปัดกวาดลานวัด และอื่นๆ เรียกได้ว่าไปพัฒนาวัด ปิคนิกทานอาหารกันที่วัด และพบปะพูดคุยสังสรรค์กันแบบสบายๆ อาตมาก็ถามนักธุรกิจกลุ่มนี้ว่า มีความคิดอะไร ถึงได้จัดกิจกรรมกันเช่นนี้ ก็ได้คำตอบว่า พวกเขามีฐานะร่ำรวย มั่นคง เจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะมีท่านหนึ่งชี้ชวนอาตมาว่า เพราะเขามาทำความสะอาดวัดเช็ดถู ล้างพระอุโบสถเป็นประจำเช่นนี้มาหลายปี ปรากฏว่าเมื่อก่อนนี้มาแต่ตัวเปล่า หรือเริ่มจากศูนย์ แต่เดี๋ยวนี้มีเงินเป็นพันล้าน นักธุรกิจกลุ่มนี้จึงมีความเชื่อว่า เพราะอานิสงส์จากการมาพัฒนาวัดนั่นเอง สิ่งนี้จึงอยู่ในความคิดของอาตมาว่า ถ้ามีโอกาสจะชี้ชวนคนทั้งหลายมาช่วยกันพัฒนาวัด ฉะนั้น เมื่ออาตมามีโอกาสนำพาญาติโยมฝึกเจริญภาวนาในครั้งนี้ อาตมาก็จะผนวกโครงการพัฒนาวัดควบคู่ไปด้วย คือแทนที่จะเดินจงกรม อาตมาจะแทรกโปรแกรมการพัฒนาวัดในช่วงพักหลังทานอาหารกลางวัน เพราะนอกจากจะเป็นการฝึกตื่น รู้ เบิกบานด้วยการพัฒนาวัดแล้ว ยังได้บุญอีกด้วย ทำบุญลักษณะนี้ ไม่ต้องใช้เงินทองอะไร คือ ออกแรงกายพัฒนาวัด แถมยังทำให้จิตตื่นหายง่วงด้วย

ฉะนั้น รายการนี้จึงเป็นรอบพิเศษจริงๆ คือได้ทั้งกุศลอันเกิดจากการภาวนาแล้ว ยังได้บุญอันเกิดจากการพัฒนาวัดด้วย อาตมาจึงเชิญชวนทุกท่านมาร่วมกิจกรรมนี้โดยทั่วกัน อนึ่ง ในเบื้องต้น ก็จะจัดกิจกรรมนี้ที่วัดกระโจมทอง และถ้าในเดือนถัดๆไป ก็จะลองหาดูวัดไหนที่มีสถานที่ให้ปฏิบัติภาวนา และพัฒนาวัดในลักษณะนี้ได้ไปพร้อมๆกัน



ข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ



http://larndham.net/index.php?showtopic=16703&st=10



หากท่านใดไม่สะดวกเรื่องการติดต่อ จะลงข้อมูล ชื่อ และ อีเมล์ติดต่อกลับไว้ที่กระทู้นี้ก็ได้ค่ะ ดิฉันจะได้นำข้อมูลไปให้หลวงพ่ออีกครั้งหนึ่ง



ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันสนใจปฏิบัติธรรม ขอให้ธรรมรักษาค่ะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ดาวประกาย
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 15 มิ.ย. 2005
ตอบ: 53

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2005, 1:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การบ้านภาวนาครั้งที่ ๑๖ : การทวนกระแสปฏิจจสมุปบาทด้วยอาตาปี สัมปชาโน สติมา

ดูการบ้านภาวนาครั้งที่ ๑ - ครั้งที่ ๑๕ ได้ที่



[url] http://larndham.net/index.php?showtopic=16275&st=4[/url]



อาตาปี สัมปชาโน สติมา คือ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ เป็นข้อสรุปในการปฏิบัติธรรมทั้งหลาย อาทิ มรรคมีองค์ ๘ สติปัฏฐาน ๔ โพชฌงค์ ๗ และอื่นๆ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงให้อุบายไว้ อย่างสั้น ลัด และเป็นธรรมชาติ



ประเด็นสำคัญของอุบายธรรมข้อนี้ ก็คือ มีความเพียรอย่างไร มีสัมปชัญญะอย่างไร และมีสติอย่างไร



มีความเพียรอย่างไร ?[/color ข้อนี้ ก็เป็นข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับการทำความเพียร เพราะหลายๆท่านถ้าไม่เพียรมากไป ก็เพียรน้อยไป พอเพียรมากไปก็ตั้งใจมากไปหรือจรดจ่อมากไป หากเพียรน้อยไป ก็ทำๆ หยุดๆ หรือเกิดความท้อแท้ เหนื่อยหน่ายในการปฏิบัติ นักปฏิบัติโดยส่วนมากพอเริ่มต้นมาปฏิบัติก็เพียรเอาจริงเอาจัง แบบเดินหน้าเต็มที่ หรือตั้งใจอย่างเอาเป็นเอาตาย พอเพียรอย่างเต็มที่ แล้วหากปฏิบัติไม่ได้ผลอย่างที่ตนมุ่งมั่นไว้ ก็กลับน๊อตหลุด คือ เกิดความท้อแท้ เหนื่อยหน่ายในการปฏิบัติ และในที่สุดก็ทิ้งการปฏิบัติไปเลย แล้วความเพียรที่พอดีเป็นอย่างไรเล่า? ความเพียรที่พอดี ต้องเป็นความเพียรที่เกิดจากความพึงพอใจหรือ “ฉันทะ” ในอิทธิบาท ๔ เป็นพื้นฐาน อิทธิบาท ๔ หรือธรรมที่ทำให้ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการคือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา กล่าวคือ เมื่อมีฉันทะหรือความพึงพอใจในการปฏิบัติเพราะได้รับประโยชน์หรือเห็นประโยชน์จากการปฏิบัติ ความเพียรหรือวิริยะก็จะเกิดเอง คือเมื่อเรามีความพึงพอใจในการเจริญภาวนาเพราะเห็นประโยชน์จากการเจริญภาวนาด้วยจิตด้วยใจจริงๆ ก็จะเป็นเหตุให้เกิดอิทธิบาทภาวนา องค์ธรรมทั้ง ๔ ประการดังกล่าวก็จะทำงานเอง กล่าวคือ เมื่อมีฉันทะคือความพึงพอใจ ก็จะเกิดวิริยะหรือความเพียร คือ การปฏิบัติอย่างต่อเนื่องที่เป็นไปเองหรือหมั่นทำอยู่เนืองๆ แบบสบายๆ เป็นธรรมชาติ เมื่อหมั่นปฏิบัติสม่ำเสมออยู่เนืองๆ จิตตะคือความเอาใจใส่ ไม่ทอดธุระก็จะเกิดขึ้น เมื่อมีความเอาใจใส่ ไม่ทอดธุระ ก็จะเป็นอุปการะแก่วิมังสาคือความสอดส่องใคร่ครวญในธรรมหรือในเหตุและผล อันยังให้เกิดความความสำเร็จในเรื่องนั้นๆ ตรงกันข้าม การเจริญภาวนาที่ปราศจากฉันทะในเบื้องต้น ในที่สุดก็หมดแรง แม้จะเพียรอย่างไร? ในที่สุดก็หxxxำลัง เพราะขาดฉันทะอันเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงส่งเสริมความเพียรนั้น การเจริญภาวนาที่จะได้ผลและมีความก้าวหน้า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีฉันทะ คือ ความพึงพอใจในการปฏิบัติเสียก่อน ไม่ใช่เพราะสักแต่ว่าทำ หรือปฏิบัติภาวนาแบบทำตามๆกัน โดยไม่เห็นคุณค่าหรือประโยชน์จากการภาวนาที่แท้จริง อันเป็นเหตุให้การเจริญภาวนาไม่มีความก้าวหน้า หรือย่ำอยู่กับที่เพราะขาดแรงส่ง คือฉันทะในการปฏิบัติแต่เบื้องต้น การปฏิบัติธรรมจึงจำเป็นต้องมีฉันทะหรือความพึงพอใจในการปฏิบัติภาวนา อันเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงหรือสนับสนุนให้การเจริญภาวนานั้นมีความต่อเนื่องและเป็นไปอย่างผ่อนคลาย ปล่อยวาง หรือเบาๆสบายๆอย่างเป็นธรรมชาติ การมีฉันทะในการภาวนา ก็คือ ความพึงพอใจที่รู้สึกในใจหรือออกมาจากส่วนลึกของจิตใจจริงๆ เพราะได้ตระหนักถึงคุณค่าและประโยชน์จากการภาวนานี้ และเมื่อมีฉันทะเพราะเห็นประโยชน์ในการภาวนานี้ ก็จะยังให้องค์ธรรมในอิทธิบาท ๔ นั้นเจริญ ซึ่งจะยังผลให้การภาวนาของนักปฏิบัติ เป็นอิทธิบาทภาวนา



เมื่อก่อนนี้ อาตมาเคยฟังธรรมจากครูอบาอาจารย์และอ่านจากพระไตรปิฎกว่า ผู้ที่เจริญอิทธิบาท ๔ หากปรารถนาที่จะมีชีวิตยืนยาวตลอด 1 กัปป์ ก็จะสามารถมีชีวิตอยู่จนชั่วอายุขัยในกัปป์นั้นได้ ทำให้ช่วงนั้นในสมัยเด็กๆ อาตมาจึงพยายามไตร่ถามครูบาอาจารย์ทั้งหลายว่าจะเจริญอิทธิบาท ๔ อย่างไร มาภายหลังเมื่อได้ปฏิบัติภาวนามาหลายสำนักหลายรูปแบบ พอในที่สุดเมื่อได้รับประโยชน์หรือเห็นประโยชน์จากการภาวนาจริงๆ จากการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ด้วยอาตาปี สัมปชาโน สติมา ทำให้เกิดฉันทะและความพึงพอใจในการภานาเป็นแรงส่งหล่อเลี้ยงจิตใจตลอดเวลา และเมื่อมีฉันทะเป็นพื้นฐาน ปรากฏว่า การภาวนาก็ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วมาก ทำให้อาตมาจึงแจ้งแก่ใจว่า หากมีความประสงค์ต้องการเจริญอิทธิบาท ๔ ก็ให้เจริญภาวนาด้วยอิทธิบาท ๔ จนเกิดเป็นอิทธิบาทภาวนา แล้วอิทธิบาท ๔ ก็จะถึงพร้อมสมบูรณ์เอง สรุปแล้ว ความเพียรที่จะเป็นความเพียรที่พอดีได้นั้นจะต้องประกอบด้วยฉันทะในอิทธิบาท ๔ เป็นพื้นฐาน เพราะเมื่อมีความพึงพอใจหรือฉันทะเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง ความเพียรก็จะเป็นความเพียรที่ไม่มุ่งมั่นมากไปและก็ไม่ย่อหย่อนเกินไป เรียกว่าเป็นความเพียรที่พอดีๆ ทำเนืองๆ บ่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ เบาสบายเป็นธรรมชาติจริงๆ



มีสัมปชัญญะอย่างไร ? อุบายในการเจริญสัมปชัญญะนั้น อาตมาก็ได้ฝึกตามที่ได้ทรงแนะนำ คือ ให้มีสัมปชัญญะอันเป็นไปในภายใน อันเป็นไปในภายนอก และเป็นไปทั้งภายในภายนอก กล่าวคือ ในเบื้องต้นการฝึกสัมปชัญญะซึ่งนักปฏิบัติหลายๆท่านจะเข้าใจความหมายของสัมปชัญญะว่าคือความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นไปในภายนอก หมายถึง การฝึกสัมปชัญญะหรือความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นไปในภายนอก ก็ให้ฝึกโดยรู้สึกถึงกายภายนอกแบบทั่วพร้อมเคร่าๆเป็นองค์รวม โปร่งเบา สบายๆ และเมื่อมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมทั่วสรรพางค์กาย ใจก็จะเกิดความเป็นกลางๆเอง อันนี้ คือการฝึกสัมปชัญญะคือความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นไปภายนอก



สัมปชัญญะอันเป็นไปในภายในเป็นอย่างไร? เมื่อเราได้ทราบถึงลักษณะอาการของสัมปชัญญะที่เป็นไปในภายนอกว่า เป็นความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นความรู้สึกที่เกี่ยวเนื่องด้วยกายหรือ ”รูป” ต่อไป เราก็ลองมาพิจารณาดูว่า สัมปชัญญะอันเป็นไปในภายในนั้นเป็นอย่างไร? แน่นอนที่สุด ภายใน ก็คือ ความรู้สึกตัวภายในอันเกี่ยวเนื่องด้วยจิตใจหรือ ”นาม”นั่นเอง หรือจะอธิบายให้ง่ายขึ้นก็คือให้รู้สึกถึงอาการทางใจอันเป็นไปในภายในอย่างทั่วถึง อาทิ อาการฟูออกหรือยื้อๆยุดๆของจิตด้วยอำนาจของโลภะ โทสะ โมหะ ความสดชื่นเบิกบาน ความหงุดหงิดท้อแท้ ความสุข ความทุกข์ ความดีใจ เสียใจ ความยินดี ความยินร้าย รวมทั้งความไม่สุขไม่ทุกข์ ความไม่ยินดียินร้าย ฯลฯ ส่วนการฝึกสัมปชัญญะคือความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นไปในภายในนั้น หากท่านใดที่มีพื้นฐานการเจริญสติและสมาธิดีพอสมควร ก็สามารถฝึกได้โดยการดูจิตดูใจตนเองหรืออีกนัยหนึ่งก็คือการฝึกดูอาการทางจิตหรือใจนั่นเอง เมื่อฝึกดูจิตอยู่เนืองๆ ก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงอาการทางใจต่างๆนานา เรียกว่า อาการทางใจนี้ค่อยๆหายไป หรือ ดับไป ก็มีอาการทางใจอื่นค่อยๆปรากฏขึ้นแทน ทำให้เห็นอาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปของอาการทางใจอยู่เนืองๆ แต่บางท่านที่มีกำลังสติหรือสมาธิที่ยังไม่ตั้งมั่นเพียงพอ ก็อาจจะเห็นอาการทางใจแบบเคร่าๆ แล้วสติก็จะถอยกำลังมารู้ถึงความรู้สึกตัวทั่วพร้อมทั่วสรรพางค์กาย เพื่อเป็นฐานกำลังให้แก่สติ เหมือนชาร์จสติให้มีพละกำลังและมีความละเอียด จนสามารถไปรับรู้หรือสัมผัสอาการทางใจที่ละเอียดยิ่งๆขึ้นไป ต่อไป และอาจจะถอยกลับมาสู่กายอีก แล้วจากกายก็มีแรงส่งเป็นกำลังให้แก่สติไปรู้อาการทางใจที่ละเอียดยิ่งๆขึ้นไปอีก ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติจะเริ่มต้นจากการตั้งสติไว้ในฐานใดก่อนก็ได้ เพราะจากการตั้งสติไว้ที่ฐานกาย (กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน) เมื่อสติมีกำลังโดยอาศัยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเป็นฐานกำลังหรือเครื่องอาศัยแก่สติ สติก็จะมีกำลังและความละเอียดไปรับรู้หรือเห็นเวทนา ( เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ) และไปรับรู้หรือเห็นจิต (จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน) หรือนักปฏิบัติบางท่านไปเริ่มต้นด้วยการดูเวทนา อันเป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จากเวทนา เมื่อสติมีกำลังและมีความละเอียด ก็จะไปเห็นอาการหรือความเป็นไปของจิตอันเป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นจิตตสังขารต่างๆนานา และหากสติมีกำลังไม่พอ แม้จะให้เริ่มต้นจากการดูเวทนา แต่ในที่สุด ก็ไม่สามารถมีกำลังและความละเอียดไปเห็นอาการทางจิตได้ คือ สติก็จะกลับมารับรู้หรือเห็นกายเอง เป็นกายคตาสติ เพื่อชาร์จ อบรมสติให้มีกำลังและมีความละเอียดเพื่อสามารถไปรู้ไปเห็นเวทนา และอาการทางจิตหรือใจที่ละเอียดยิ่งๆขึ้นไป ฉะนั้น ไม่ต้องลังเลสงสัยว่าจะต้องเริ่มต้นรับรู้หรือเห็นฐานใดก่อน จนเกิดความกังวลหรือคอยพะวงว่า เดี๋ยวกลายเป็นดูนั่นที ดูนี่ที คือ ขอให้ทุกอย่างเป็นไปเอง กล่าวคือ อารมณ์ใดรู้สึกชัดได้ในความรู้สึก จะเป็นกายก็ดี เวทนาก็ดี จิตก็ดี ธรรมก็ดี ก็ให้รู้เท่าที่จะรู้ได้ และเป็นการรู้ที่ผุดขึ้นมาในความรู้สึกหรือรู้เองได้ในความรู้สึก (ไม่ใช่ความคิดนึก) ที่เป็นปัจจุบันจริงๆ



อุบายธรรมในการฝึกความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นไปในภายในก็คือ ฝึกให้ใจยิ้มอยู่เนืองๆ เพราะธรรมดาปุถุชน ใจคนเรามักจะถูกกิเลสครอบงำ คือ หงุดหงิด ท้อแท้ รำคาญใจ เบื่อเซ็ง ใจฟูๆแฟบๆ ฯลฯ อุบายธรรมที่อาตมาจะแนะนำนี้ ก็คือหัดพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส อาทิ เมื่อใจเราหงุดหงิด ท้อแท้ รำคาญใจ ฯลฯ ก็ใม่ต้องไปเที่ยวค้นหาใจหรือตามจิตว่า ฐานของใจหรือจิตนั้นอยู่ตรงไหน กล่าวคือ จิตหรือใจก็อยู่ตรงที่รู้สึกหรือเสวยอารมณ์นั้นนั่นเอง พอรู้เช่นนี้ เราก็ฝึกใจยิ้มออกมาตรงที่หงุดหงิด ท้อแท้ รำคาญใจ เบื่อเซ็ง ฟูๆแฟบๆ ฯลฯ นั่นเอง ซึ่งไม่ยากเลย เพียงทุกท่านสังเกตดูซิว่าเวลาหงุดหงิด หงุดหงิดตรงไหน ทุกท่านก็ฝึกหัดพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส โดยฝึกใจยิ้มน้อยๆตรงที่ใจเค้าหงุดหงิดนั่นเอง พอฝึกใจยิ้มบ่อยๆ ก็จะเกิดความสดชื่นเบิกบานแผ่ซ่านออกมาจากจิตจากใจ จนรู้สึกอาการผ่องใสหรือยิ้มน้อยๆที่แสดงออกทางใบหน้า ใครเห็น ใครเข้าใกล้ ก็จะรู้สึกสบายใจ เมื่อเราฝึกใจยิ้มน้อยๆ อยู่เนืองๆ ใจก็จะเปิด และมีความรู้สึกสดชื่นเบิกบานอยู่เสมอ ทุกท่านจะพบว่าในยิ้มนั้น เป็นความว่างที่กว้างใหญ่ไพศาลมาก ในยิ้มนั้น รู้ไปหมด รู้ต่อเนื่อง แต่รู้แล้วต้องปล่อยวาง ไม่งั้นจะหายไป ( ดังที่โยมVrj ได้อธิบายไว้ ) และเราจะสังเกตได้ว่า เมื่อใจเรายิ้มอยู่เนืองๆ ใจก็จะเข้าสู่ความเป็นกลางๆ เอง และข้อสำคัญคือ ในใจยิ้มนั้นมีพลังความรู้สึกตัวอย่างไพศาล อย่างเป็นธรรมชาติ เมื่อใจยิ้มเนืองๆ ก็จะเกิดเป็นความรู้สึกตัวทั่วถึงอันเป็นไปในภายใน ประกอบกับทุกท่านได้เจริญสติอยู่กับกายเนืองๆ จนเป็นความรู้สึกตัวทั่วพร้อมทั่วสรรพางค์กาย อานิสงส์ที่ท่านจะได้สัมผัสก็คือ ความรู้สึกตัวทั่วถึงอันเป็นไปในภายในและความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นไปในภายนอก ได้มาเชื่อมประสานกันเป็นหนึ่งเดียว เป็นความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นไปทั้งภายในและภายนอกอย่างทั่วถึงโดยปราศจากพรมแดนคือร่างกายที่กางกั้นแบ่งแยกความรู้สึกตัวทั่วพร้อมที่เป็นไปในภายในและภายนอกดังกล่าว เสมือนหนึ่งเป็นความรู้สึกตัวทั่วถึงเป็นหนึ่งเดียวที่ไม่ยึดติดกับกาย จนปราศจากกายอันเป็นพรมแดนกางกั้นดังกล่าว และผลอันยิ่งใหญ่ที่สำคัญเมื่อเกิดเป็นความรู้สึกตัวทั่วพร้อมที่ประสานกันทั้งภายนอกและภายในจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก็คือ การทวนกระแสก็จะเกิดขึ้นได้เองอย่างอัตโนมัติ กล่าวคือ นักปฏิบัติจะเริ่มเห็นกายของเราที่กำลังนั่ง กำลังทำงาน กำลังพูด กำลังทำอะไรต่างๆนานา เห็นการกระทบของอายตนะภายนอกและภายใน เห็นอารมณ์ที่กำลังปรุงแต่งค่อยๆก่อตัวเกิดขึ้น กำลังตั้งอยู่ แล้วค่อยๆกำลังดับไป เห็นกิเลส ตัณหา อุปาทาน ตัวโกรธ ตัวโลภ ตัวหลง และอื่นๆ ที่กำลังดำเนินไปเหมือน เราดูอยู่ห่างๆ ไม่ไปเสวยอารมณ์นั้น หรือถ้าจะเข้าไปเสวยอารมณ์นั้นบ้าง ก็เข้าไปเสวยอารมณ์นั้นอย่างมีสติ ด้วยความรู้สึกตัวทั่วถึง ไม่ไหลถลำลึกเข้าไปเสวยจนจมปลักอยู่ในอารมณ์นั้น อาทิ แม้จะเผลอโกรธ เกลียด รัก ชอบ ชัง และอื่นๆบ้าง ก็จะโกรธ เกลียด รัก ชอบ ชังด้วยความมีสติและรู้สึกตัวว่ากำลังเผลอไปกับอารมณ์นั้นๆ แต่แล้วในที่สุด ก็ไม่ถึงกับถลำลึกลงไปจมอยู่กับอารมณ์นั้นจนเนิ่นนาน ทั้งนี้เพราะเห็นอารมณ์นั้นที่กำลังก่อตัวขึ้น พร้อมทั้งเห็นโทษของการเข้าไปสัมผัสในอารมณ์นั้นๆ ในที่สุด เค้าก็จะถอยห่างเป็นอิสระและอยู่เหนืออารมณ์นั้น และเมื่อจิตเป็นอิสระจนอยู่เหนืออารมณ์นั้นจนเกิดเป็นใจผู้รู้ได้สักครั้งหนึ่ง ก็จะเริ่มมีประสบการณ์สามารถอยู่เหนืออารมณ์ทั้งหลายได้มากขึ้นๆๆ จนเสมือนหนึ่งว่ามีกิเลสอยู่ แต่ไม่ใช้กิเลสนั้น เพราะเหตุใจผู้รู้ได้อยู่เหนืออารมณ์นั้นๆได้มากขึ้น จนอยู่เหนือได้โดยสิ้นเชิงในที่สุด หรืออีกนัยหนึ่ง กิเลสมีอยู่ แต่ใจผู้รู้ก็ไม่ใช้กิเลสในการพูด การทำ การคิด แต่สามารถพลิกกลับไปใช้ปัญญาซึ่งมีอยู่อย่างมหาศาลในใจยิ้มน้อยๆนั้นแทน และเมื่อฝึกขัดเกลาไม่ใช้กิเลส แต่รู้จักใช้ปัญญาบ่อยขึ้น มากขึ้น เหมือนกับอบรมบ่มจิตให้มีพละกำลังอยู่เหนือกิเลสเนืองๆ ในที่สุดก็จะเกิดความผ่องใส เป็นผู้เบิกบาน ผู้ตื่น และผู้รู้ ที่รู้เอง เป็นเอง จนเกิดความแจ่มแจ้งในธรรรมได้ในที่สุด



มีสติอย่างไร? อันนี้ อาตมาก็ได้อธิบายอยู่เสมอๆว่า ให้เจริญสติในสัมปชัญญะ คือ ระลึกรู้ในความรู้สึกในขณะนั้นๆ หรืออีกนัยหนึ่ง “รู้สึกอะไร อย่างไร ก็รู้ในความรู้สึกนั้น” จากการที่เราฝึกระลึกรู้ความรู้สึกอันเป็นไปในภายนอกคือความรู้สึกตัวทั่วพร้อมทั่วสรรพางค์กาย สติก็จะเริ่มมีความละเอียดไปสัมผัสรับรู้ความรู้สึกตัวทั่วถึงที่เป็นไปในภายใน และสติก็จะมีความละเอียดและมีกำลังมากขึ้น จนสามารถสัมผัสรับรู้ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมที่เป็นไปในภายนอก และความรู้สึกตัวทั่วพร้อมที่เป็นไปในภายในโดยปราศจากพรมแดนคือร่างกายอันเป็นเครื่องกางกั้น ประหนึ่งเป็นกำแพงแห่งอัตตาที่ขวางทางเดินของนักปฏิบัติให้เกิดการแบ่งแยก กล่าวคือ นักปฏิบัติโดยมาก แม้จะรู้จักความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นไปในภายนอกบ้าง ภายในบ้าง ปรากฏว่า ถ้าไม่ไหลไปสู่ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นไปในภายนอกถ่ายเดียว ก็ไหลไปสู่ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นไปในภายในถ่ายเดียว พอเมื่อความความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นไปในภายนอกและอันเป็นไปในภายในประสานกันเป็นหนึ่ง ด้วยเหตุที่ละวางพรมแดนคือร่างกายอันเป็นเครื่องกางกั้นนี้ด้วยกำลังของความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นไปทั้งภายนอกและภายในประสานรวมเป็นหนึ่งเดียวเป็นความรู้สึกตัวทั่วถึงที่ไม่ยึดติดกับร่างกายนี้ และเมื่อเรามีสติ คือ ”รู้” ความรู้สึกที่เกิดขึ้นอันเป็นความรู้สึกตัวทั่วถึงที่ปราศจากพรมแดนนี้เป็นปัจจุบันอยู่เนืองๆ ก็จะเกิดเป็น ”รู้” ที่เป็นกลางๆ อยู่เหนือความรู้สึกอีกชั้นหนึ่ง เพราะเหตุความรู้สึกนี้ก็ยังเป็นขันธ์ ๕ พอถึงที่สุดเมื่อมีความรู้สึกตัวทั่วถึงทั้งภายนอกและภายในประสานกันเป็นหนึ่งเดียวกัน ก็จะเกิดการทวนกระแสเกิดขึ้นเอง และเมื่อเกิดการทวนกระแส ก็จะเกิดการละวางไปโดยลำดับ จนสามารถละวางขันธ์ ๕ นี้ได้ทั้งหมด คงมีแต่ ”รู้” ที่เป็นกลางๆ หรือ “รู้” ที่อยู่เหนือความรู้สึก เห็นว่าแม้ความรู้สึกนี้ก็ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ความรู้สึกนี้ เพิกถอนอัตตาออกจากความรู้สึกนี้ไปโดยลำดับ จนเกิดเป็น “รู้” ที่เป็นปัญญาหรืออาสวักขยญาณ อยู่เหนือโลก อยู่เหนือสมมติบัญญัติทั้งหลาย ถึงซึ่งวิมุตติความหลุดพ้นที่เป็นไปเอง เพราะเหตุแห่งการรู้และละวาง และมีแต่ ”รู้” ที่ทวนกระแสเองโดยที่ไม่มีตัวเราเข้าไปทวนกระแสนั้น

**************************************************************

กำหนดการฝึกอบรมพัฒนาสติในการภาวนาให้เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น และ ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 17 วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม 2548 จะจัดให้มีการฝึกอบรม ณ สถาบันสอนภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า โดยเปิดการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 รอบ ดังนี้

รอบที่ 1 เวลา 10.00–12.00 น.(สำหรับผู้ที่ได้ฝึกอบรมพื้นฐานมาแล้ว 2 ครั้ง)

เรื่อง“การฝึกภาวนาเพื่อพัฒนาความรู้สำตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้รู้”

รอบที่ 2 เวลา 13.00 -15.00 น. (ผู้เริ่มต้นควรเข้าฝึกอบรมพื้นฐานนี้ 2 ครั้ง)

เรื่อง“การฝึกภาวนาเพื่อพัฒนาสติให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้”



อนึ่ง ขอให้ท่านผู้สนใจเข้ารับการฝึกอบรมฯ ได้กรุณาแจ้งความจำนง โดยสมัครเพื่อสำรองที่นั่ง พร้อมแจ้งชื่อ-นามสกุล ระบุวันและรอบเวลาที่ต้องการเข้าฝึกอบรม ส่งมาที่ wimoak@yahoo.comหรือโทร.05-8326441 (คุณหมอปิยะ) ส่วนแผนที่ Home English Center สามารถคลิ๊กไปดูได้ที่



http://albums.photo.epson.com/j/ViewPhoto?u=4275026&a=31594700&p=72423772



และรถเมล์ที่ผ่าน..มีดังนี้รถเมล์สาย19,42,57,68,80,124,127,146,203,507,509,511 (ผ่านหน้าห้างพาต้า ปิ่นเกล้า)

หมายเหตุ :



(1) สำหรับผู้เริ่มต้นที่ยังตามไม่ค่อยทัน หรือยังไม่แจ่มแจ้ง และรวมทั้งผู้ที่มีความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติให้เกิดความต่อเนื่อง สามารถเข้ารับการฝึกอบรมรอบพิเศษ ทุกวันอังคาร และพฤหัส เวลา 18.00-20.00 น. ณ สถาบันภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า อนึ่ง รอบวันธรรมดานี้ไม่ต้องสมัครจองล่วงหน้า ท่านใดสะดวกที่จะมาร่วม ก็มาได้เลย



(2) สำหรับผู้มาเข้าฝึกอบรมฯเป็นครั้งแรก และ ผู้ที่เคยเข้าฝึกอบรมแล้ว แต่ยังตามไม่ค่อยทันหรือยังไม่แจ่มแจ้ง ควรจะสมัครเข้าฝึกอบรมในวันอาทิตย์รอบบ่าย ซึ่งจะมีการสอนหลักปฏิบัติโดยบรรยายให้ความรู้ตั้งแต่พื้นฐานและทบทวนการปฏิบัติเพื่อพัฒนาสติให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ ส่วนผู้ที่เคยมาเข้าฝึกอบรมขั้นพื้นฐานมาแล้วจนสามารถเจริญสติด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ ควรจะสมัครเข้าฝึกอบรมต่อในวันอาทิตย์รอบเช้า จะได้เน้นการปฏิบัติเจริญสติเพื่อพัฒนาความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้รู้ อันเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินเข้าสู่ทางอริยมรรค ทั้งนี้ อาตมาเป็นเพียงผู้ช่วยแนะนำร่นระยะเวลาการเดินทางและนำพาทุกท่านให้เข้าสู่อริยมมรรค ส่วนการบรรลุอริยผล ทุกท่านต้องเพียรปฏิบัติเอง หนทางนี้มีอยู่ อยู่ที่เดินให้ถูกทางด้วยความเพียรของแต่ละท่านเอง

อนึ่ง ขอเชิญรับหนังสือการพัฒนาสติในการภาวนา ได้ในวันและเวลาที่มาอบรมดังกล่าว หรือ ดูรายละเอียดได้ที่



[url] http://larndham.net/index.php?showtopic=16219&st=22[/url]

*********************************************************************************

การจัดฝึกอบรมภาวนาจัดโครงการฝึกอบรมการพัฒนาสติในการภาวนา ให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน คอร์สพิเศษ คือ ฝึกอบรมเต็มวัน ครั้งนี้ โดยจะจัดให้มีขึ้นในวันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2548 เวลา 8.00 – 18.00 น. ณ วัดกระโจมทอง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี เพื่อเปิดโอกาสให้หลายท่านที่พักอยู่ในระแวกใกล้เคียงนี้ และสะดวกที่จะเดินทางมาฝึกอบรมเต็มวันที่วัดกระโจมทอง ครั้งนี้ โดยภาคเช้าจะอบรมเรื่อง "การพัฒนาสติให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้" และภาคบ่ายจะอบรมเรื่อง "การพัฒนาความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้รู้"



ผู้ที่สนใจสามารถสมัครเข้ารับการฝึกอบรมครั้งนี้ได้โดยตรงในกระทู้ตามลิ๊งก์นี้… http://larndham.net/index.php?showtopic=16703&st=0

หรือ อีเมล์มาสมัครกับอาตมาได้ที่ [url]wimoak@yahoo.com[/url] และสามารถดูแผนที่วัดกระโจมทองโดยคลิ๊กไปที่



[url] http://albums.photo.epson.com/j/ViewPhoto?u=4329668&a=31894165&p=72826502[/url]

]
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
พรภัสส์ แดงบรรยง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2005, 3:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จะมีการอบรมรุ่นต่อไปเมื่อไหร่ โปรดแจ้งให้ทราบด้วย
 
ดาวประกาย
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 15 มิ.ย. 2005
ตอบ: 53

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ย. 2005, 9:40 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอบคุณ พรภัสส์ แดงบรรยง ค่ะ....



ช่วงนี้ มีรายการอบรมหลายแห่งที่กำลังจะมาถึง คือ



วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2548 เวลา 8.00 – 18.00 น. ณ วัดกระโจมทอง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี และจะมีการจัดกิจกรรมทำความสะอาดวัดด้วยค่ะ



แผนที่วัดค่ะ



http://albums.photo.epson.com/j/ViewPhoto?u=4329668&a=31894165&p=72826502





ส่วนทุกวันอาทิตย์ หลวงพ่อจะอบรมที่ Home English Centre เป็นประจำแน่นอนค่ะ



[url]http://albums.photo.epson.com/j/ViewPhoto?u=4275026&a=31594700&p=72423772 [/url]



กำหนดการฝึกอบรมพัฒนาสติในการภาวนาให้เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น และ ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำ วัน ครั้งที่ 17 วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม 2548



จะจัดให้มีการฝึกอบรม ณ สถาบันสอนภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า โดยเปิดการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 รอบ ดังนี้

รอบที่ 1 เวลา 10.00–12.00 น.(สำหรับผู้ที่ได้ฝึกอบรมพื้นฐานมาแล้ว 2 ครั้ง)

เรื่อง“การฝึกภาวนาเพื่อพัฒนาความรู้สำตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้รู้”

รอบที่ 2 เวลา 13.00 -15.00 น. (ผู้เริ่มต้นควรเข้าฝึกอบรมพื้นฐานนี้ 2 ครั้ง)

เรื่อง“การฝึกภาวนาเพื่อพัฒนาสติให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้”



อนึ่ง ขอให้ท่านผู้สนใจเข้ารับการฝึกอบรมฯ ได้กรุณาแจ้งความจำนง โดยสมัครเพื่อสำรองที่นั่ง พร้อมแจ้งชื่อ-นามสกุล ระบุวันและรอบเวลาที่ต้องการเข้าฝึกอบรม ส่งมาที่ wimoak@yahoo.comหรือโทร.05-8326441(คุณหมอปิยะ)





ซึ่งจริงๆ รายละเอียดจะ อัพเดทให้ในการโพสล่าสุดทุกครั้งค่ะ แต่เนื่องด้วยหลวงพ่อ

มีการเวียนสถานที่สอน เพราะต้องการกระจายให้ไป 4 มุมเมือง ดังนั้นในช่วงวันเสาว์

มักจะเป็นสถานที่ที่เวียนไปจัด เพื่อให้ผู้สนใจที่อยู่ใกล้ที่ใด ก็สามารถไปได้สะดวกขึ้นค่ะ หากสนใจและอ่านข้อมูลง่ายๆก็สามารถแวะไปที่เวปไซด์ของท่าน ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่าง

การจัดทำ ยังไม่เรียบร้อยสมบูรณ์เท่าไหร่ค่ะ แต่อย่างน้อยก็จะติดตามข้อมูลง่ายขึ้นค่ะ



http://www.vimokkhadhamma.com/index_th.htm
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ดาวประกาย
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 15 มิ.ย. 2005
ตอบ: 53

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ย. 2005, 10:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เจริญพร



สำหรับกิจกรรม และการปฏิบัติธรรมในวันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2548 เวลา 8.00 – 18.00 น. ณ วัดกระโจมทอง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี หลวงพ่อแจ้งว่า....



ภาคกลางคืน ก็ตั้งใจจะพาผู้ที่ค้างคืนนั่งรอบพิเศษ 2 ชั่วโมงนะ คือ ตั้งแต่ 1ทุ่ม ถึง 3 ทุ่ม สำหรับผู้ที่ไม่ค้างคืน แต่มีความประสงค์ จะร่วมปฏิบัติ อาตมาก็ขออนุโมทนาด้วย

อนึ่ง ในการฝึกภาวนาในครั้งนี้ อาตมาตั้งใจจะฝึกอบรมให้ทุกท่าน..........

1. ตื่นจากภวังค์ ไม่หลับไหล หรือ นิ่งอยู่ในภวัวค์

2. มีความรู้ตัวทั่วพร้อมอันเป็นทั้งภายนอกและภายใน

3. พัฒนาความรู้สึกตัวทั่วพร้อม>สำนึกรู้>ใจผู้รู้

4. มีใจเป็นกลางๆ รู้เอง เป็นเอง

5. ปัญญาอบรมสมาธิ

6. นั่งภาวนาได้นาน สามารถอยู่เหนือเวทนาได้

7. เข้าสมาธิได้เร็ว ภายในไม่กี่นาที หรือวินาที

8. เข้าถึง "พุทโธ"ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

9. เจริญอิทธิบาทภาวนาอย่างไร?

10. เข้าสู่ทางหรือมรรคมีองค์ 8 ส่วนการหลุดพ้น ต้องเพียรเอง

การเจริญภาวนา จะฝึกภาวนารอบเช้า 2 รอบ รอบบ่าย 2 รอบ และรอบพิเศษสำหรับผู้ที่ค้างคืนหรืออยู่ดึกได้ 1 รอบ

ขออนุโมทนาต่อผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรมทุกท่าน

วิโมกข์

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ดาวประกาย
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 15 มิ.ย. 2005
ตอบ: 53

ตอบตอบเมื่อ: 04 ต.ค.2005, 10:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การบ้านภาวนาครั้งที่ ๑๗ : การทวนกระแสปฏิจจสมุปบาทด้วยอิทธิบาทภาวนา

ดูการบ้านภาวนาครั้งที่ ๑ - ครั้งที่ ๑๖ ได้ที่

http://larndham.net/index.php?showtopic=16275&st=4



เรื่องอิทธิบาทภาวนานี้ เป็นเงื่อนงำที่สำคัญในการเดินทางเข้าถึงธรรม เพราะทุกวันนี้ นักปฏิบัติธรรมโดยมากจะปฏิบัติธรรมหรือนั่งภาวนาแบบแห้งๆ คือขาดความสดชื่นเบิกบานเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงและเป็นกำลังแก่การภาวนา ดูจากการนั่งภาวนา จะสังเกตได้ว่า ใบหน้าไม่ผ่องใส หน้าตาในขณะนั่งดูบึ้งๆ ตึงๆ จริงจัง เคร่งขรึม แบบจะเค้นภาวนาให้บรรลุหรือจ้องหาทางบรรลุธรรมให้ได้ ยิ่งเดินจงกรมด้วยแล้ว เดินกันจนเป็นหุ่นยนต์ไปหมดแล้ว คือ เดินแบบตึงๆ กำหนดแบบจดจ่อ แบบกดๆ จิกการเดิน จนสติที่เคยตื่นอยู่บนใบหน้าเมื่อตอนก่อนเดิน ไหลลงสู่ปลายเท้าจนใบหน้าเริ่มหมอง ความตื่น สดชื่น เบิกบานบนใบหน้าหายไป ยิ่งเดินก็ยิ่งหนัก พอเดินหนักๆสักพัก ก็เริ่มเพลีย เริ่มล้า ในที่สุดก็เริ่มง่วง เคลิ้ม ค่อยๆไหลลงสู่ภวังค์ พอเปลี่ยนอิริยาบถจากเดิน ไปสู่การนั่ง ก็นั่งได้ไม่นาน จะเริ่มรู้สึกเคลิ้ม ง่วงและสัปหงก หรือไม่ก็หลับในโดยไม่รู้ตัว อาการที่ว่ามานี้ จะเป็นกันมาก โดยเฉพาะเมื่อตอนเริ่มต้นนั่งภาวนา และรีบหลับตากำหนดองค์บริกรรม โดยขาดการทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม จนรู้สึกโปร่ง เบา สดชื่น เบิกบาน โดยหารู้ไม่ว่า สมาธิไม่ต้องไปทำ หรือรีบร้อนไปเอาสมาธิ เพราะสมาธิไม่ใช่ไปทำให้นิ่งอย่างที่เข้าใจ สมาธิที่ถูกต้องที่เป็นสัมมาสมาธินั้นเป็นความสงบ ที่เกิดจากกายสังขารสงบระงับ จิตตสังขารสงบระงับ การที่กายสังขารจะสงบระงับได้ ต้องเริ่มจากการรู้จักปรับผ่อนคลายร่างกายให้เกิดความสดชื่น สบายเนื้อสบายตัว ไม่เกร็ง จนรู้สึกโปร่งเบา ผ่อนคลาย สบายๆ เกิดการปล่อยวาง ทำให้ใจมีความเบิกบานและเกิดความเป็นกลางๆเอง อันจะทำให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมที่เป็นไปเอง และรู้ความรู้สึกของลมหายใจที่แผ่วเบา ขณะหายใจออก หายใจเข้าที่รู้ได้เอง เป็นไปเอง โดยไม่ต้องไปตั้งใจรู้ หรือ กำหนดรู้แต่อย่างใด ในที่สุดกายสังขารก็จะเริ่มสงบระงับลง เมื่อกายสังขารสงบระงับ สติก็จะไปรู้ความเป็นไปของเวทนา ที่เป็นความรู้สึกอันเป็นไปในภายในที่เบาสบาย ปีติ อิ่มเอิบ ปราโมทย์ จนจิตตสังขาร อันได้แก่ ความกำหนัด ความลุ่มหลง หรืออาการที่ประทุเป็นเชื้อ ยื้อๆ ยุดๆ อยู่ในใจ ด้วยหวง ห่วง เยื่อใย อาลัยอาวรณ์ ค่อยๆ จางคลาย สลัดหายไป และสงบระงับในที่สุด ความสงบอันเกิดจากกายสังขารสงบระงับและจิตตสังขารสงบระงับ ก็จะเกิดเอง เป็นเอง ทั้งนี้ เป็นผลจากการมีสติรู้เท่าทันกายสังขารและจิตตสังขาร จนกายสังขารและจิตตสังขารสงบระงับไปในที่สุด หากไปพยายาม ตั้งใจ ทำให้นิ่งสงบ เหมือนเข้าไปพยายามนิ่ง แบบสะกด กด หรือข่ม โดยไม่ได้เจริญสติให้รู้เท่าทันความเป็นไปของกายสังขารและจิตตสังขารจนรู้ทั่วถึง และสามารถกำราบหรือทำกายสังขารและจิตตสังขารให้สงบระงับได้ดังกล่าว ก็จะยังมีเชื้อประทุอยู่รอบด้าน คอยรุมเร้าและพร้อมที่จะประทุออกมาได้ทุกเมื่อ เพราะเหตุไม่ได้เจริญสติกำราบให้อยู่หมัด หรือสาดทิ้งเชื้อประทุอันเป็นตะกอนที่นอนนิ่งอยู่ก้นบึ้ง สาดเททิ้งไป ดังนั้น เมื่อนักปฏิบัติที่มุ่งแต่ทำสมาธิอย่างเดียวโดยไม่ได้เจริญสติด้วยอุบายดังกล่าว ก็จะพบความสงบนิ่งแบบหินทับหญ้า คือ เมื่อยกหินออก หญ้าคือเชื้อประทุในใจก็จะฟูขึ้นออกมาเช่นเดิน ต่างจากผู้ที่เข้าสู่สมาธิด้วยการเจริญสติรู้เท่าทันอารมณ์และกิเลสต่างๆ จนกายสังขารและจิตตสังขารสงบระงับ อันนี้ จะเป็นความสงบที่มีความผ่องใสภายใน คือ สงบนิ่ง แบบ รู้ ตื่น เบิกบาน อยู่ภายใน เพราะด้วยเหตุการเจริญสติแบบเททิ้งตะกอนทางใจหรือล้างอาการทางใจไปโดยลำดับ



การเจริญสติแบบเททิ้งตะกอนทางใจหรือล้างอาการทางใจไปโดยลำดับนั้น ก็ต้องเริ่มปฏิบัติตั้งแต่เริ่มต้นทำสมาธิด้วยการเจริญฉันทสมาธิและปธานสังขาร ปธาน คือ ความเพียร ๔ ประการได้แก่

๑. สังวรปธาน คือ เพียรระวังไม่ให้บาปหรืออกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น

๒. ปหานปธาน คือ เพียรละบาปหรืออกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว

๓. ภาวนาปธาน คือ เพียรให้กุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น

๔. อนุรักขนาปธาน คือ เพียรรักษากุศลที่เกิดแล้วไม่ให้เสื่อม คือ ให้กุศลที่เกิดแล้ว เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป



ส่วนฉันทะนั้น ก็เป็นข้อแรกของอิทธิบาท ๔ คือ ธรรมเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ หมายถึงหลักธรรมที่เป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติตามถึงซึ่งความสำเร็จสมประสงค์ มี ๔ ประการ คือ

๑.ฉันทะ คือ ความพอใจในสิ่งที่กระทำ

๒.วิริยะ คือ เพียรหมั่นประกอบในสิ่งนั้น

๓. จิตตะ คือ เอาใจจดจ่อในสิ่งที่ทำด้วยสติที่มั่นคง

๔. วิมังสา คือ หมั่นสอดส่องใคร่ครวญพิจารณาในสิ่งที่ทำ



อุบายธรรมในการเจริญฉันทสมาธิและปธานสังขาร เริ่มต้นด้วยการฝึกหัดเปิดใจตนเอง ปกติ คนโดยมากจะทำอะไร พูดอะไร หรือ คิดอะไร ก็ทำไปโดยอาการที่เกิดจากการปรุงแต่งนึกคิดในสมอง โดยสั่งการจากกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานหรือสัญญาที่จดจำเอาไว้ในจิตใต้สำนึก ภายในจิตใต้สำนึกนั้นก็มีทั้งสิ่งดี และสิ่งไม่ดี สิ่งไม่ดีก็คือบาปอกุศลและกิเลสทั้งหลาย สิ่งที่ดีก็คือ คุณงามความดี บุญกุศล สติ ปัญญา ความรู้ ที่สั่งสมมาข้ามภพข้ามชาติ ด้วยคนเราปล่อยให้บาปอกุศลครอบงำจิตมาเนิ่นนาน เวลาจะทำอะไร พูดอะไร หรือคิดอะไร บาปอกุศลที่สั่งสมในสัญญานี้ ก็จะเป็นเชื้อประทุที่คอยสั่งการให้เกิดความคิดปรุงแต่งในสมอง ทั้งรู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง แต่มักจะเผลอทำไปตามความเคยชิน หรือ ความทะยานอยากเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยขาดการยั้งคิดด้วยสติ ทำให้สติไม่สามารถพัฒนาต่อไปเป็นสำนึกรู้หรือจิตสำนึกที่มีกำลังและเป็นอิสระอยู่เหนือการครอบงำของบาปอกุศลหรือกิเลสที่สั่งสมอยู่ในจิตใต้สำนึกได้ อันนี้ เรียกว่าใจปิด เพราะปิดมืดมิดด้วยบาปอกุศลทั้งหลาย หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่ง จิตของปุถุชนโดยมากไหลลงสู่ภวังค์ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของบาปอกุศลที่สั่งสมอยู่ในจิตใต้สำนึก อวิชชาหรือโมหะจึงครอบงำจิตมนุษย์ไปถ้วนหน้า เปรียบเหมือนคนที่กำลังจะจมน้ำ ร่างกายส่วนใหญ่จมอยู่ใต้ผิวน้ำ มีเพียงศีรษะที่ลอยคออยู่เหนือน้ำเพียงเพื่อพอให้หายใจเอาตัวรอดได้ เปรียบกับสำนึกรู้หรือจิตสำนึกของปุถุชน ที่ลอยคออยู่เหนือน้ำพอให้หายใจเอาตัวรอดไปได้ เป็นลมหายใจเฮือกสุดท้ายที่พยายามหายใจให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่รอดได้ด้วยสติที่ทำให้มนุษย์ยังพอมีจิตสำนึกหรือสำนึกรู้ในการดำรงชีวิตอยู่ต่อไป สติที่ทำให้เกิดสำนึกรู้หรือจิตสำนึกนี้ บางครั้งก็หxxxำลังไหลลงสู่ใต้ผิวน้ำ แต่บางครั้งก็ยังพอมีกำลัง พอจะทะยานสู่พ้นเหนือน้ำให้สามารถหายใจเพื่อยังชีวิตอยู่ได้ ขึ้นอยู่กับว่ากำลังในการประคองตัวลอยคออยู่เหนือน้ำของบุคคลนั้นจะมีมากน้อยแค่ไหน เปรียบเหมือนปธานหรือความเพียร ๔ ประการ ซึ่งหล่อเลี้ยงด้วยฉันทะ คือ ความพอใจในการละอกุศลทั้งที่เกิดขึ้นแล้วและยังไม่เกิด และยินดีในการเจริญกุศล หรือคุณความงามความดีทั้งหลายที่เพิ่งเกิดหรือที่มีอยู่แล้วให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป



นักปฏิบัติทั้งหลายจึงควรน้อมนำเอาอิทธิบาทภาวนานี้ไปปฏิบัติในการเจริญภาวนาและบูรณาการให้กลมกลืนเข้าสู่การดำเนินชีวิตในชีวิตประจำวัน ดังอุบายที่อาตมาได้แนะนำให้ทุกท่านฝึกใจยิ้มน้อยๆ เพื่อให้เกิดความสุขสดชื่น ปราโมทย์ เบิกบานใจอยู่เสมอ เพราะเมื่อมีความสดชื่นเบิกบานใจ ความตื่นก็จะเกิดขึ้นเอง เมื่อมีความตื่นและสดชื่นเบิกบานใจ “รู้” ก็จะเกิดเอง เป็นไปเอง โดยไม่ต้องไปพยายาม “รู้” ด้วยอาการขวนขวาย ตั้งใจ จดจ่อแต่อย่างใด “รู้” ที่เป็นไปเอง ก็จะยิ่งทำให้ใจเข้าสู่สภาวะความเป็นกลางๆมากขึ้น ความรู้ตัวทั่วพร้อมก็จะเกิดเองเป็นเอง การฝึกยิ้มน้อยๆ เพียงให้เกิดความสุขสดชื่นอยู่ในใจ ก็จะเป็นกำลังทำให้เกิดความตื่น ความตื่นก็จะทำให้เกิดการเห็น เหมือนเปิดตาเห็น (แต่เป็นความรู้สึกหรือตาภายใน) การเห็นก็จะทำให้เกิดการรู้ การรู้ก็จะทำให้เกิดการละ ฉะนั้น คำว่า “พุทโธ” หรือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จะเข้าถึงได้ไม่ใช่ด้วยการไปพยายามเพียรรู้ เพราะการเพียรรู้ โดยที่ยังไม่เคยสัมผัสกับความตื่นและความเบิกบาน การเพียรรู้ก็จะหxxxำลัง หรือ หากยังพอมีกำลัง ก็จะไปพยายามเรียนรู้แบบไขว่คว้าหาอนาคตคือสิ่งที่ยังมาไม่ถึงบ้าง และย้อนหาอดีตคือสิ่งที่ล่วงไปแล้วบ้าง อุบายธรรมในการเจริญภาวนาให้เป็นอิทธิบาทภาวนานี้ จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เฉกเช่นดังที่ได้ทรงตรัสว่า “ทรงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเพราะเจริญอิทธิบาท ๔“ ( ต้องขออนุโมทนาคุณความรู้ตัวที่ช่วยค้นจากพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พุทธสูตร ข้อ ๑๑๑๘ ซึ่งมีนัยสำคัญอย่างยิ่ง )



การฝึกใจยิ้ม ด้วยความสดชื่น เบิกบานที่ออกมาจากใจ เป็นอุบายสำคัญในการเจริญฉันทะ บางท่านอาจจะสงสัยว่าการฝึกใจยิ้มดังกล่าว จะไม่เป็นการไปปรุงแต่งหรือเป็นการฝืนทำด้วยสมถะหรือ ? กรณีนี้ ท่านก็ต้องลองมองในมุมกลับว่า ระหว่างการยิ้มกับหน้าบื้อๆ แห้งๆ แบบหดหู่ ไม่มีชีวิตชีวา อย่างไหนจะเป็นการปรุงแต่งที่ทำให้การสังวรระวังบาปอกุศลไม่ให้เกิด และยังกุศลให้เกิด เจริญยิ่งขึ้นไปตามหลักสัมปธาน ๔ ดังที่อาตมาได้อธิบายไว้ข้างต้น การฝึกใจยิ้มจะทำให้เกิดสัมปชัญญะคือความรู้สึกตัวทั่วถึงอันเป็นไปในภายใน และผนวกกับความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นไปในภายนอก ก็จะประสานกันเป็นกำลังให้นักปฏิบัติสามารถล้วงลึกเข้าไปสู่ก้นบึ้งของจิตใจ จนสามารถทำจิตตสังขารให้สงบระงับไปได้ในที่สุด อาตมาจึงอยากจะแนะนำว่า หลายท่านที่ฝึกการเจริญสติรู้เท่าทันความเป็นไปของจิต ดังที่หลายท่านเรียกว่า “ดูจิต” นั้น หากท่านฝึกเจริญสติควบคู่ไปกับสัมปชัญญะ จนเป็นสัมปชัญญะที่เป็นความรู้สึกตัวทั่วถึงอันเป็นไปทั้งภายในและภายนอกที่ประสานกันเป็นหนึ่งและมีกำลัง ต่อไปนักปฏิบัติก็สามารถน้อมตัวสัมปชัญญะหรือความรู้สึกตัวทั่วถึงที่มีกำลังนี้ ทวนกระแสเข้าไปสัมผัสหรือล้วงลึกจนถึงก้นบึ้งของจิตและกำราบเชื้อประทุในจิตใจหรือทำจิตตสังขารให้สงบระงับได้ อุบายธรรมในการปฏิบัติขณะนั่งภาวนา ก็คือ เมื่อฝึกใจยิ้มสดชื่น เบิกบาน และเกิดความรู้สึกตัวทั่วถึงอันเป็นไปในภายใน จนเริ่มปล่อยวางร่างกายไปโดยลำดับ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นไปในภายนอกทั่วสรรพางค์กาย ก็จะประสานเข้าไปสู่ความรู้สึกตัวทั่วถึงอันเป็นไปในภายใน ซึ่งนักปฏิบัติจะรู้สึกถึงอาการโปร่งเบาสบาย เกิดปีติ ปราโมทย์ เบิกบานอยู่ภายใน พอให้นักปฏิบัติได้พักเป็นกำลังอยู่กับปีติปราโมทย์นี้ แล้วก็วางปีติปราโมทย์นี้ พร้อมกับน้อมความรู้สึกตัวทั่วถึงที่มีกำลังนี้ เข้าไปสัมผัสเชื้อประทุลึกๆในจิตใจ หรือ อาการไหวน้อยๆซึ่งอยู่ในก้นบึ้งของจิตใจ แล้วมีสติรู้ความรู้สึกอันเป็นสัมปชัญญะที่เข้าไปสัมผัสหรือล้วงลึกธรรมารมณ์ในก้นบึ้งของจิตใจนั้นจนจิตตสังขารสงบระงับไปในที่สุด อุบายธรรมในการใช้สัมปชัญญะนำ แล้วใช้สติตาม จะทำให้ท่านไม่ต้องคอยเฝ้าระวังมาก เพราะตัวสัมปชัญญะจะสามารถแทรกซึมเข้าไปถึงก้นบึ้งของจิตใจได้เองเสมือนรดน้ำต้นไม้ น้ำก็จะแทรกซึมลงสู่ผิวดินไปจนถึงรากของต้นไม้ได้เองในที่สุด ทั้งนี้ เมื่อใช้สัมปชัญญะนำ นักปฏิบัติก็จะรู้สึก”รู้”ได้เอง โดยไม่ต้องออกแรงหรือพยายามกำหนดรู้เพื่อให้รู้เท่าทันจิตแต่อย่างใด เพราะมีสัมปชัญญะเป็นแรงขับเคลื่อนนั่นเอง และลำพังสติโดยขาดสัมปชัญญะเป็นกำลังส่งหรือฐานกำลังแก่สติ นั้น จะรู้เท่าทันกิเลสได้ยาก หากแต่ท่านผนวกสติเข้ากับสัมปชัญญะ ไม่เพียงแต่จะรู้เท่าทันกิเลสแบบรู้ได้เอง สบายๆ คือ รู้ได้โดยไม่ต้องพยายามหรือตั้งใจรู้ เพราะสัมปชัญญะหรือความรู้สึกตัวทั่วถึงนี้แผ่ซ่านไปถึงไหน สติก็จะรู้ได้เอง ณ ที่นั้น และไม่เพียงแต่จะรู้เท่าทันกิเลส หรือ กองสังขารนี้เท่านั้น หากแต่จะสามารถรู้ได้ทั่วถึงกองกิเลสหรือกองสังขารนี้ ด้วย ดังที่ ครูบาอาจารย์ท่านหนึ่งได้กล่าวกับอาตมาว่า การละกิเลส ความจริงไม่ได้ละกิเลสอะไรหรอก เพียงแต่มีสติรู้เท่าทันและรู้ทั่วกองสังขาร เมื่อรู้ทั่วกองสังขาร ก็วางสังขาร และไม่ใช้บาปอกุศลและกิเลสเท่านั้นเอง ตรงกันข้าม สติจะเลือกใช้แต่กุศลและยังกุศลอื่นๆให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป ( ดังความในสัมปธาน ๔ ข้างต้น )

******************************************************************



การฝึกอบรมพัฒนาสติใน การภาวนารอบพิเศษ ๓ วัน ณ เกาะมหามงคล อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี วันเสาร์ที่ ๒๒ - วันจันทร์ที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๔๘

ออกเดินทางจากสถานีรถไฟธนบุรี วันเสาร์ทื่ ๒๒ ตุลาคม เวลา ๗.๓๐ น. และ กลับถึงกรุงเทพฯ วันจันทร์ที่ ๒๔ ตุลาคม เวลา ๑๘.๐๐ น.

ค่าโดยสารรถไฟไป-กลับประมาณ ๘๐ บาท

มีอาหารมังสวิรัติเลี้ยง ๒ มื้อ แต่งกายชุดขาว และรักษาศีล ๘



ทัศนียภายของเกาะมหามงคล สามารถคลิ๊กไปดูได้ที่ …..

http://www.sarnfun.com/show.php?Category=4&No=8233&PHPSESSID=3fa7e02cec79f6f129a6616f83eb81b0



อนึ่ง วิธีการเดินทาง อาจจะเปลี่ยนแปลงโดยการไปโดยรถบัสปรับอากาศ เพราะกำลังพิจารณาอยู่ว่า จะพาสมาชิกไปเที่ยวชมวัดถ้ำเขาวง ( คลิ๊กดูรูป ) เขตติดต่อกับทุ่งใหญ่นเรศวร และสถานที่อื่นๆที่เป็นทางผ่าน ( ตามคำแนะนำของสมาชิก )



ทัศนียภาพของวัดถ้ำเขาวง คลิ๊กดูได้ที่………



http://albums.photo.epson.com/j/ViewPhoto?u=4329668&a=31894165&p=72916729

http://albums.photo.epson.com/j/ViewPhoto?u=4329668&a=31894165&p=72916730

http://albums.photo.epson.com/j/ViewPhoto?u=4329668&a=31894165&p=72916731



****************************************************************



ดังที่อาตมาได้เคยปรารภว่า การแจกหนังสือการพัฒนาสติในการภาวนาในส่วนที่เป็นธรรมทาน นั้น ยังอยู่ในวงแคบ คือ แจกให้กับผู้ที่สนใจซึ่งทราบข่าวจาก website ลานธรรมและอื่นๆ รวมทั้งผู้ที่มาเข้ารับการฝึกอบรมด้วย ฉะนั้น เพื่อให้การเผยแพร่หนังสือการพัฒนาสติในการภาวนได้กระจายออกไปกว้างขวางทั่วประเทศ อาตมาจึงได้จัดพิมพ์หนังสือการพัฒนาสติในการภาวนา ฉบับวางจำหน่ายตามร้านหนังสือ ต่างหาก โดยออกแบบปกใหม่ เพื่อให้แตกต่างจากหนังสือในส่วนที่แจกเป็นธรรมทาน ขณะนี้ หนังสือได้จัดพิมพ์เรียบร้อยแล้ว และได้รับความเอื้อเฟื้อจากโรงพิมพ์สุภาการพิมพ์ ที่ได้ให้เครดิตในการพิมพ์ครั้งนี้ โดยสามารถคลิ๊กไปดูแบบปกได้ที่



[url]http://albums.photo.epson.com/j/ViewPhoto?u=4329668&a=31894165&p=72916603[/url



อาตมาจึงขอประชาสัมพันธ์ในการเปิดตัวหนังสือการพัฒนาสติในการภาวนาสู่สาธารณชน โดยจะเริ่มวางจำหน่ายในงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์ ถนนรัชฎาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ วันที่ ๖ - ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๘ โดยจะวางจำหน่ายในบู๊ทของร้านสุขภาพใจ นายอินทร์ ซีเอ็ดฯ ธรรมสภา เคล็ดไทย และมูลนิธิโกมลคีมทอง และหลังจากงานมหกรรมหนังสือนี้ ก็จะกระจายหนังสือส่งไปจำหน่ายตามร้านหนังสือทั่วประเทศ ได้แก่ ร้านซีเอ็ดทุกสาขา ร้านนายอินทร์ทุกสาขา ร้านแพร่พิทยา และอื่นๆ ( รายละเอียดจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง )



************************************************************

การฝึกอบรมพัฒนาสติในการภาวนาให้เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น และ ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 18 วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม 2548 จะจัดให้มีการฝึกอบรม ณ สถาบันสอนภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า โดยเปิดการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 รอบ ดังนี้

รอบที่ 1 เวลา 10.00–12.00 น.(สำหรับผู้ที่ได้ฝึกอบรมพื้นฐานมาแล้ว 2 ครั้ง)

เรื่อง“การฝึกภาวนาเพื่อพัฒนาความรู้สำตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้รู้”

รอบที่ 2 เวลา 13.00 -15.00 น. (ผู้เริ่มต้นควรเข้าฝึกอบรมพื้นฐานนี้ 2 ครั้ง)

เรื่อง“การฝึกภาวนาเพื่อพัฒนาสติให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้”

อนึ่ง ขอให้ท่านผู้สนใจเข้ารับการฝึกอบรมฯ ได้กรุณาแจ้งความจำนง โดยสมัครเพื่อสำรองที่นั่ง พร้อมแจ้งชื่อ-นามสกุล ระบุวันและรอบเวลาที่ต้องการเข้าฝึกอบรม ส่งมาที่ wimoak@yahoo.comหรือโทร.05-8326441 (คุณหมอปิยะ) ส่วนแผนที่ Home English Center สามารถคลิ๊กไปดูได้ที่



http://albums.photo.epson.com/j/ViewPhoto?u=4275026&a=31594700&p=72423772

และรถเมล์ที่ผ่าน..มีดังนี้รถเมล์สาย19,42,57,68,80,124,127,146,203,507,509,511 (ผ่านหน้าห้างพาต้า ปิ่นเกล้า)

หมายเหตุ :

(1) สำหรับผู้เริ่มต้นที่ยังตามไม่ค่อยทัน หรือยังไม่แจ่มแจ้ง และรวมทั้งผู้ที่มีความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติให้เกิดความต่อเนื่อง สามารถเข้ารับการฝึกอบรมรอบพิเศษ ทุกวันอังคาร และพฤหัส เวลา 18.00-20.00 น. ณ สถาบันภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า อนึ่ง รอบวันธรรมดานี้ไม่ต้องสมัครจองล่วงหน้า ท่านใดสะดวกที่จะมาร่วม ก็มาได้เลย



(2) สำหรับผู้มาเข้าฝึกอบรมฯเป็นครั้งแรก และ ผู้ที่เคยเข้าฝึกอบรมแล้ว แต่ยังตามไม่ค่อยทันหรือยังไม่แจ่มแจ้ง ควรจะสมัครเข้าฝึกอบรมในวันอาทิตย์รอบบ่าย ซึ่งจะมีการสอนหลักปฏิบัติโดยบรรยายให้ความรู้ตั้งแต่พื้นฐานและทบทวนการปฏิบัติเพื่อพัฒนาสติให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ ส่วนผู้ที่เคยมาเข้าฝึกอบรมขั้นพื้นฐานมาแล้วจนสามารถเจริญสติด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ ควรจะสมัครเข้าฝึกอบรมต่อในวันอาทิตย์รอบเช้า จะได้เน้นการปฏิบัติเจริญสติเพื่อพัฒนาความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้รู้ อันเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินเข้าสู่ทางอริยมรรค ทั้งนี้ อาตมาเป็นเพียงผู้ช่วยแนะนำร่นระยะเวลาการเดินทางและนำพาทุกท่านให้เข้าสู่อริยมมรรค ส่วนการบรรลุอริยผล ทุกท่านต้องเพียรปฏิบัติเอง หนทางนี้มีอยู่ อยู่ที่เดินให้ถูกทางด้วยความเพียรของแต่ละท่านเอง

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ดาวประกาย
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 15 มิ.ย. 2005
ตอบ: 53

ตอบตอบเมื่อ: 11 ต.ค.2005, 8:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การบ้านภาวนาครั้งที่ ๑๘ : การทวนกระแสปฏิจจสมุปบาทด้วยการทำจิตตสังขารให้สงบระงับด้วยใจที่ยิ้มน้อยๆ



ดูการบ้านภาวนาครั้งที่ ๑ - ครั้งที่ ๑๗ ได้ที่http://larndham.net/index.php?showtopic=16275&st=4



ด้วยอุบายของพระพุทธองค์ที่ทรงตรัสว่า อาตาปี สัมปชาโน สติมา มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ การเจริญความเพียรนั้น พระพุทธองค์ทรงให้อุบายในการเจริญการเพียรไว้ในหลักอิทธิบาท ๔ อันเป็นธรรมเครื่องช่วยให้เกิดความสำเร็จว่า ความเพียร หรือ วิริยะนั้น เป็นผลจากการมีฉันทะหรือความพึงพอใจ โดยทรงวางหลักเกณฑ์ให้ฉันทะเป็นข้อแรก ลำดับต่อไปจึงเป็นวิริยะ กล่าวอีกนัยหนึ่ง หากมีความพึงพอใจ ความเพียรนั้นจะเกิดขึ้นเอง โดยไม่ต้องมีใครมาบังคับให้ทำ เมื่อมีความเพียรหรือทำอยู่เนืองๆ สม่ำเสมอ จิตตะคือความตั้งใจมั่นในสิ่งที่กระทำ และวิมังสา คือความใคร่ครวญพิจารณาในธรรมก็จะเกิดเอง เป็นเองไปโดยลำดับเช่นกัน



ใจที่ยิ้มน้อยๆ ทำให้เกิดความสดชื่นเบิกบาน อันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทะหรือความพึงพอใจ การภาวนาด้วยใจที่ยิ้มน้อยๆ สดชื่น เบิกบาน จึงทำให้เกิดฉันทะเป็นเครื่องช่วยให้เกิดความสำเร็จไปตั้งแต่เริ่มต้นที่มีการภาวนาด้วยฉันทะ ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ทรงเจริญสมาธิด้วยฉันทะสมาธิ และในที่สุดก็ได้ทรงแนะนำให้เจริญภาวนาด้วยอิทธิบาทภาวนา โดยทรงตรัสว่า การที่พระองค์ได้ทรงบรรลุเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเพราะเจริญอิทธิบาท ๔



ใจที่ยิ้มน้อยๆ จะช่วยประสานความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นไปในภายนอกเข้าสู่ความรู้สึกตัวทั่วถึงอันเป็นไปในภายใน กล่าวอีกนัยหนึ่งประสานความรู้สึกทางกายเข้าไปเป็นหนึ่งเดียวรวมกับความรู้สึกทางใจ จนเกิดเป็นความรู้สึกตัวทั่วถึงอันเป็นไปในภายใน เมื่อใจยิ้มน้อยๆ อยู่เนืองๆ จะสัมผัสได้ว่าความรู้สึกตัวทั่วถึงอันเป็นไปในภายในจะกลายเป็นพลังงานที่เป็นกำลังความอิ่มเอิบ ทำให้เกิดการตื่นของจิต อันเป็นกำลังแก่สติให้มีการตื่นรู้มากขึ้น และความอิ่มเอิบของจิตอันเกิดจากการยิ้มน้อยๆ ก็จะทำให้จิตมีความสดชื่นเบิกบานอยู่เนืองๆ อันเป็นความสดชื่นเบิกบานที่ไปปรับสมดุลของการตื่นรู้ของสติ ให้เป็นการตื่นรู้ที่เป็นไปเองอย่างธรรมชาติสบายๆ โดยไม่จำเป็นต้องพยายามหรือตั้งใจประคองสติให้ตื่นรู้แต่อย่างใด เพราะความสดชื่นเบิกบานอันเกิดจากการยิ้มน้อยๆ นี้ จะเป็นเสมือนหนึ่งเครื่องอาศัยหรือวิหารธรรมของสติ



การใช้ความสดชื่นเบิกบานอันเกิดจากการยิ้มน้อยๆ นี้ เข้าไปสยบหรือกำราบจิตตสังขารให้สงบระงับ เมื่อผู้ปฏิบัติได้ฝึกใจยิ้มน้อยๆ สดชื่น อยู่เนืองๆ ความสดชื่นนี้นอกจากจะทำให้เกิดการตื่นรู้ของสติที่เป็นไปเองอย่างธรรมชาติสบายๆแล้ว ความสดชื่นนี้ยังทำให้เกิดความสงบที่ล้ำลึกด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่ง ความสงบของจิต หรือความระงับของจิตตสังขาร จะค่อยเกิดเอง และเป็นไปเอง เมื่อจิตใจมีความสดชื่น เบิกบานอยู่เนืองๆ



ความสดชื่นเบิกบานทำให้เกิดการตื่น (จากภวังค์) ของสติ เมื่อมีความสดชื่นเบิกบาน และการตื่น จะทำให้สติเกิด “การรู้” ที่เป็นไปเอง หรืออีกนัยหนึ่งเป็น ”รู้” ที่ถึงพร้อมด้วยความตื่น และความเบิกบาน คือ “พุทโธ” นั่นเอง ทุกวันนี้ นักปฏิบัติหลายๆ ท่าน เจริญภาวนาแบบแห้งๆ คือ กำหนดรู้ โดยขาดความตื่นและความสดชื่นเบิกบาน ยิ่งเพียรตั้งใจมาก ก็จะรู้สึกตึง เคร่งเครียด ไม่ผ่องใส เพราะเจริญภาวนาแบบแห้งๆ ดังกล่าว การภาวนาแบบแห้งๆ นั้น ใจไม่เปิด ทำให้นักปฏิบัติภาวนาติดอยู่ในห้วงของความคิดนึก ไม่ได้ภาวนาออกจากใจ การภาวนาด้วยใจนั้น มีอุบายว่า เมื่อเริ่มนั่งภาวนา อย่ารีบร้อนหลับตา และให้นั่งแบบผ่อนคลายร่างกายสบายๆ เสมือนนั่งเล่น นั่งพักผ่อนอยู่ริมชายทะเล อาจจะจินตนาการช่วยในเบื้องต้นก็ได้ คือ ทำความรู้สึกเหมือนเรานั่งเล่นพักผ่อนอยู่ริมชายทะเล ดูวิวทิวทัศน์ ที่สวยงาม จนรู้สึกจิตใจแช่มชื่น เบิกบาน และกายเริ่มผ่อนคลายสงบระงับ โดยสังเกตได้ว่ารู้สึกการเต้นของชีพจรที่แผ่วเบาๆๆ และเริ่มสัมผัสรู้สึกได้ถึงลมหายใจที่ระเรื่อผ่านออกมาและผ่านเข้าไป รู้สึกถึงความรู้สึกของลมหายใจที่ผ่านเข้าและผ่านออกในโพรงจมูกโดยไม่ต้องไปตั้งใจกำหนดรู้ คือ สามารถรู้เองเป็นเองได้โดยอัตโนมัติ



ความสดชื่นอันเกิดจากใจยิ้มน้อยๆ ทำให้เกิดความสงบที่ล้ำลึกและสติที่ “รู้” เป็นกลางๆ อย่างเป็นธรรมชาติ ความสงบที่ล้ำลึกนั้นเป็นภาวะของ ”สัมมาสมาธิ” และ “รู้” ที่เป็นกลางๆ อย่างเป็นธรรมชาติ เป็นภาวะของ”สัมมาสติ” เท่ากับว่าผู้ปฏิบัติได้เจริญสติและเจริญสมาธิควบคู่พร้อมๆกันไป กล่าวคือ กระแสจิตและกระแสวิญญาณ ( ธาตุรู้ ) คู่ขนานกันไป แบบถอยห่าง และถอยห่างกันมากขึ้น แบบขนานกันไป กล่าวคือ ความสงบก็ยิ่งล้ำลึกไป และ ความตื่นรู้ที่เป็นกลางๆ ของสติก็ตื่นรู้และเป็นกลางๆ มากยิ่งขึ้น ทำให้ในภาวะความสงบนั้น สติสามารถรู้ความเป็นไปของจิตจนจิตตสังขารระงับไปในที่สุด โดยทั่วไป กระแสจิตและกระแสวิญญาณของนักปฏิบัติโดยส่วนมากจะแนบชิดสนิทกัน คือ จิตก็สงบนิ่งไป แต่สติไหลไปแช่ยึดติดอยู่ในความสงบนิ่ง ทำให้แทนที่จะเป็นความสงบนิ่งอันถึงพร้อมด้วยอุเบกขาและมีความตื่น อยู่ภายใน กลายเป็นความสงบนิ่งโดยไม่มีความตื่นรู้อยู่ภายใน หรือเป็นความนิ่งแบบครึ่งหลับครึ่งตื่น หรือไม่ก็ตกภวังค์ เหมือนหายไปจากโลกนี้ชั่วขณะ มารู้สึกตัวก็ตอนถอนออกจากสมาธิ เป็นเพราะสติแนบแน่นกับสมาธินั่นเอง เป็นผลให้จิตตสังขารเพียงแค่สงบไปบ้างชั่วขณะ แต่ไม่สงบระงับไปในที่สุด ( ดูรายละเอียดได้ในหนังสือสภาวะสังขารธรรม ของหลวงพ่อกัสสปมุนี หากผู้ใดสนใจศึกษา ก็มาขอถ่ายเอกสารจากอาตมาได้ )



*********************************************************************

การฝึกอบรมพัฒนาสติในการภาวนารอบพิเศษ ๓ วัน ณ เกาะมหามงคล อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี วันเสาร์ที่ ๒๒ - วันจันทร์ที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๔๘



ออกเดินทางจากกรุงเทพฯโดยรถตู้/รถบัส วันเสาร์ทื่ ๒๒ ตุลาคม เวลา ๐๕.๐๐ น. และ กลับถึงกรุงเทพฯ วันจันทร์ที่ ๒๔ ตุลาคม เวลา ๒๐.๐๐ น. มีอาหารมังสวิรัติเลี้ยง ๒ มื้อ แต่งกายชุดขาว และรักษาศีล ๕ หรือศีล ๘



อนึ่ง การเดินทางไปในวันแรก ช่วงเช้าจะแวะกราบฟังธรรมหลวงพ่อปราโมทย์ ที่ท่ามะกา และช่วงบ่ายกราบฟังธรรมหลวงพ่อมิตซูโอะ และแวะกราบครูบาอาจารย์ท่านอื่นๆ แล้วแต่เวลาจะอำนวย ทั้งนี้รายละเอียดการเดินทางกรุณาดูในกระทู้ “เชิญฝึกอบรมภาวนากับท่านวิโมกข์ ณ เกาะมหามงคล” โดยคลิ๊กไปที่



[url]http://larndham.net/index.php?showtopic=16918&st=35 [/url]



ทัศนียภายของเกาะมหามงคล สามารถคลิ๊กไปดูได้ที่ …..
http://www.sarnfun.com/show.php?Category=4&No=8233&PHPSESSID=3fa7e02cec79f6f129a6616f83eb81b0

ทัศนียภาพของวัดถ้ำเขาวง คลิ๊กดูได้ที่………
http://albums.photo.epson.com/j/ViewPhoto?u=4329668&a=31894165&p=72916729
http://albums.photo.epson.com/j/ViewPhoto?u=4329668&a=31894165&p=72916730
http://albums.photo.epson.com/j/ViewPhoto?u=4329668&a=31894165&p=72916731





*************************************************************

กำหนดการฝึกอบรมพัฒนาสติในการภาวนาให้เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น และ ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 19 วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม 2548

จะจัดให้มีการฝึกอบรม ณ สถาบันสอนภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า โดยเปิดการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 รอบ ดังนี้

รอบที่ 1 เวลา 10.00–12.00 น.(สำหรับผู้ที่ได้ฝึกอบรมพื้นฐานมาแล้ว 2 ครั้ง)

เรื่อง“การฝึกภาวนาเพื่อพัฒนาความรู้สำตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้รู้”

รอบที่ 2 เวลา 13.00 -15.00 น. (ผู้เริ่มต้นควรเข้าฝึกอบรมพื้นฐานนี้ 2 ครั้ง)

เรื่อง“การฝึกภาวนาเพื่อพัฒนาสติให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้”

อนึ่ง ขอให้ท่านผู้สนใจเข้ารับการฝึกอบรมฯ ได้กรุณาแจ้งความจำนง โดยสมัครเพื่อสำรองที่นั่ง พร้อมแจ้งชื่อ-นามสกุล ระบุวันและรอบเวลาที่ต้องการเข้าฝึกอบรม ส่งมาที่ wimoak@yahoo.comหรือโทร.05-8326441 (คุณหมอปิยะ) ส่วนแผนที่ Home English Center สามารถคลิ๊กไปดูได้ที่
http://albums.photo.epson.com/j/ViewPhoto?u=4275026&a=31594700&p=72423772

และรถเมล์ที่ผ่าน..มีดังนี้รถเมล์สาย19,42,57,68,80,124,127,146,203,507,509,511 (ผ่านหน้าห้างพาต้า ปิ่นเกล้า)

หมายเหตุ :

(1) สำหรับผู้เริ่มต้นที่ยังตามไม่ค่อยทัน หรือยังไม่แจ่มแจ้ง และรวมทั้งผู้ที่มีความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติให้เกิดความต่อเนื่อง สามารถเข้ารับการฝึกอบรมรอบพิเศษ ทุกวันอังคาร และพฤหัส เวลา 18.00-20.00 น. ณ สถาบันภาษา Home English Center ปิ่นเกล้า อนึ่ง รอบวันธรรมดานี้ไม่ต้องสมัครจองล่วงหน้า ท่านใดสะดวกที่จะมาร่วม ก็มาได้เลย

(2) สำหรับผู้มาเข้าฝึกอบรมฯเป็นครั้งแรก และ ผู้ที่เคยเข้าฝึกอบรมแล้ว แต่ยังตามไม่ค่อยทันหรือยังไม่แจ่มแจ้ง ควรจะสมัครเข้าฝึกอบรมในวันอาทิตย์รอบบ่าย ซึ่งจะมีการสอนหลักปฏิบัติโดยบรรยายให้ความรู้ตั้งแต่พื้นฐานและทบทวนการปฏิบัติเพื่อพัฒนาสติให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ ส่วนผู้ที่เคยมาเข้าฝึกอบรมขั้นพื้นฐานมาแล้วจนสามารถเจริญสติด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ ควรจะสมัครเข้าฝึกอบรมต่อในวันอาทิตย์รอบเช้า จะได้เน้นการปฏิบัติเจริญสติเพื่อพัฒนาความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและสำนึกรู้ให้เป็นใจผู้รู้ อันเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินเข้าสู่ทางอริยมรรค ทั้งนี้ อาตมาเป็นเพียงผู้ช่วยแนะนำร่นระยะเวลาการเดินทางและนำพาทุกท่านให้เข้าสู่อริยมมรรค ส่วนการบรรลุอริยผล ทุกท่านต้องเพียรปฏิบัติเอง หนทางนี้มีอยู่ อยู่ที่เดินให้ถูกทางด้วยความเพียรของแต่ละท่านเอง





คำอวยพร :- อนึ่ง ขอเชิญรับหนังสือการพัฒนาสติในการภาวนา ได้ในวันและเวลาที่มาอบรมดังกล่าว หรือ ดูรายละเอียดได้ที่

[url] http://larndham.net/index.php?showtopic=16219&st=22[/url]

*********************************************************************************
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง