Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ขันธ์5 สัมพันธ์กับชีวิตอย่างไร อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ใฝ่ธรรม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ค.2005, 12:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



ขันธ์5 สัมพันธ์กับชีวิตอย่างไร และศึกษาษาแล้วให้แนวคิดที่เป็นประโยชน์กับชีวิต



อย่างไรบ้าง................



..............................................................ช่วยตอบให้ด้วยนะคับ...........



..............................................................................ใฝ่ธรรม..........
 
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ค.2005, 6:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความหมายของชีวิต



ชีวิตคือขันธ์ 5 ตามหลักพุทธธรรม ชีวิต คือ ผลรวมขององค์ประกอบ 5 ตัว หรือสิ่งของ 5 อย่าง มารวมตัวกันเข้าเรียกตามภาษาธรรมะว่า ขันธ์ 5 (The Five Aggregates)



คำว่า ขันธ์ แปลว่า หมวดหมู่ ชนิด ประเภท อันเป็นคำในภาษาบาลี ได้แก่



1) รูปขันธ์ กองรูป



2) เวทนาขันธ์ กองเวทนา



3) สัญญาขันธ์ กองสัญญา



4) สังขารขันธ์ กองสังขาร



5) วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ



4.2 องค์ประกอบของชีวิต ได้แก่ ขันธ์ 5



ขันธ์ 5 สิ่งที่เรียกว่า ขันธ์ 5 หรือผลรวมของสิ่งของ 5 อย่างดังกล่าวแล้ว เรียกว่า ชีวิต ประกอบด้วย





รูปขันธ์ (Corporeality) คือกองรูป หรือส่วนที่เป็นรูปธรรม อันหมายถึง ร่างกายและสิ่ง เกิดจากร่างกาย เช่น พฤติกรรมและคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น เสียง สี กลิ่น รส เพศ เป็นต้นรูปขันธ์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ มหาภูตรูป รูปใหญ่หรือรูปหลัก และอุปาทายรูป รูปอาศัยหรือรูปแฝงอยู่ในรูปใหญ่นั้น





มหาภูตรูป ประกอบด้วยธาตุ 4 ได้แก่



ปฐวีธาตุ ธาตุดิน



อาโปธาตุ ธาตุน้ำ



วาโยธาตุ ธาตุลม



เตโชธาตุ ธาตุไฟ





อุปาทายรูป มี 24 อย่าง ได้แก่



ปสาทรูป 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย



โคจรรูป (รูปที่เป็นอารมณ์ของอินทรีย์) 4 คือ รูป เสียง กลิ่น รส



ภาวรูป (รูปที่เป็นเพศ) 2 คือ ความเป็นหญิง (อิตถีภาวะ) และความเป็นชาย (ปุริสภาวะ)



ชีวิตรูป หมายถึง ชีวิต (รูปที่เป็นชีวิต) 1 คือ ชีวอินทรีย์



อาหารรูป (รูปคืออาหาร) 1 คือ กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าวที่เรากินเข้าไป)



ปริจเฉทรูป (รูปกำหนดสถานที่เป็นหลัก 1 คือ อากาศธาตุ ได้แก่ ช่องว่างที่มีอากาศในร่างกาย



วิญญัติรูป (การเคลื่อนไหวเพื่อให้รู้ความหมาย) 2 คือ กายวิญญัติ (ความเคลื่อนไหวทางกาย)และวจีวิญญัติ (ความเคลื่อนไหวทางวาจา)



หทัยวัตถุ (ที่ตั้งของจิต 1)



วิการรูป (อาการที่ทำให้ผิดปกติ) 3 คือ ลหุตา (ความอ่อน) มุทุตา (ความเบา)



และกัมมัญญตา (ความควรแก่การงาน)



ลักขณรูป (อาการที่เป็นเครื่องกำหนด) 4 คือ อุปจย (การก่อตัวหรือเจริญเติบโต) สันตติ



(ความสืบต่อ) ชรตา (ความทรุดโทรม) และอนิจจตา (ความแปรปรวน) เมื่องรวมธาตุทั้ง 4 ซึ่งจัดเป็นมหาภูตรูป (รูปใหญ่) เมื่อนำมารวมเข้ากับอุปทายรูป (รูปอาศัย24) แล้วก็จะเป็นรูป 28 อย่างรวมรูปทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วเรียก รูปขันธ์





เวทนาขันธ์ (Feeling) คือ กองเวทนา คือส่วนที่เป็นความรู้สึกอันเกิดจากการรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 3 ได้แก่



(1) สุขเวทนา รู้สึกดีใจ



(2) ทุกขเวทนา รู้สึกเสียใจ



(3) อทุกขมสุขเวทนา รู้สึกไม่เสียใจและไม่ดีใจ บางทีเรียกอุเบกขาเวทนา



คือรู้สึกเฉยๆ





สัญญาขันธ์ (Perception) คือ กองแห่งความจำ ในวิถีชีวิตของคน ๆ หนึ่ง ถ้าเขาไม่มีความพิการทางสมอง ก็จะสามารถจดจำวัตถุ บุคคล และเหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามาทางประสาทสัมผัสได้



(1) รูปสัญญา ความจำรูปได้



(2) สัททสัญญา ความจำเสียงได้



(3) คันธสัญญา ความจำกลิ่น



(4) รสสัญญา ความจำรสได้



(5) โผฐัพพสัญญา ความจำสิ่งสัมผัสกายได้



(6) ธัมมสัญญา ความจำเรื่องราวต่าง ๆ หรือมโนภาพได้



4) สังขารขันธ์ (Mental formation) คือ กองสังขาร หมายถึง ส่วนที่เป็นความปรุงแต่งจิตให้ดี ชั่ว หรือเป็นกลาง ๆ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เป็นคุณสมบัติต่าง ๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำที่ปรุงแต่งจิตให้เป็นกุศลหรืออกุศล



สังขารขันธ์แบ่งออกเป็น 3 อย่าง คือ





ปุญญาภิสังขาร สภาวะที่ปรุงแต่งจิตดี หรือเป็นกุศล





อปุญญาภิสังขาร สภาวะปรุงแต่งจิตชั่ว หรือเป็นอกุศล





อเนญชาภิสังขาร สภาวะปรุงแต่งจิตไม่ดีไม่ชั่ว คือ คิดไม่ดีไม่ชั่ว





วิญญาณขันธ์ (Consciousness) คือ กองแห่งความรู้ ได้แก่ ความรู้แจ้งอารมณ์ต่าง ๆ ที่มากระทบเข้าทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบกับอายตนะภายนอกคือ อารมณ์ต่าง ๆ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัส และมโนภาพ หรือธัมมารมณ์ ก็จะเกิดความรู้ขึ้น เช่น เมื่อตากระทบกับรูป โดยมีแสงสว่างเป็นสื่อกลางก็จะเป็นความรู้ทางตา ที่เรียกว่า จักขุวิญญาณขึ้น



วิญญาณ มีหน้าที่ 2 อย่าง คือ วิญญาณธาตุ และวิญญาณขันธ์ วิญญาณธาตุ หมายถึง ตัวรู้ คือ จิต



ส่วนวิญญาณขันธ์ หมายถึง อาการที่จิตรู้อารมณ์ต่าง ๆ วิญญาณขันธ์อาจดับได้ทั้ง ๆ ที่วิญญาณธาตุยังมีอยู่



..........
http://board.dserver.org/e/easydharma/00000311.html
http://www.dhammajak.net/webboard/show.php?Category=d_book&No=247



....

เท่าที่พอหาได้ในเน็ตนะครับ

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ค.2005, 7:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความหมายโดยลึกซึ้ง เวบมาสเตอร์ตอบแล้วนะครับ ผมขอสรุปสั้นๆ

ขันธ์ 5 เข้าใจง่ายๆ ว่า คือ กาย กับ ใจ ดังนั้น จึงสัมพันธุ์กับชีวิต อย่างยิ่ง

เพราะถ้ามีแต่กาย ไม่มีใจ เขาเรียกว่า ศพ คือ ไร้ชีวิต

และถ้ามีแต่ใจ ไม่มีกาย เขาเรียกว่า ผี ไม่มีรูปขันธุ์



ศึกษาขันธ์ 5 และให้ประโยชน์กับชีวิตว่า ชีวิตเราไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง จึงไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 ของเรา ว่าจะเป็นอมตะ ฉันเป็นผู้ยิ่งใหญ่ อยู่ค้ำฟ้า แต่สุดท้าย ก็ต้องไปอยู่ที่เดียวกัน คือ เชิงตะกอนทั้งสิ้น



เมื่อฝึกจิตให้คลายความยึดมั่นในขันธ์ 5 ได้บ่อยๆ จิตก็จะหลุดพ้น สู่สภาวะนิพพานได้ครับ

 
ขาแจมในตำนาน
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ค.2005, 11:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่บริษัท ถาม ขันธ์ 5 ที่เป็น เครื่องบูชา เช่น ธูป เทียน พาน กรวย ดอกไม้

อะไรอย่างนี้ ไว้ ตอนไป ขอศีล



อันนี้ ก็ไม่เกี่ยวหลอก มาบอกเล่าให้ฟัง

 
เขม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ค.2005, 9:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นั่นเป็นขันธ์ของคนทรงเจ้า

รู้กันในหมู่คนทรงด้วยกันว่า รับขัน
 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ค.2005, 9:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณขาแจมในตำนาน



ปกติมนุษย์เราก็แบกขันธ์5 กันอยู่หนักพอแล้ว อย่างที่ท่านเว็บมาสเตอร์และคุณเกียรติอธิบาย ทีนี้อีกความหมายหนึ่งที่ว่าเป็นเครื่องบูชา ก็อุปโลกน์กันขึ้นมา เนื่องจากความไม่รู้ ความเชื่อ ความงมงายที่คอยหาลาภ สักการะใส่ตน ไม่มีประโยชน์อะไร ซ้ำร้ายจะทำอันตรายอย่างที่เราๆท่านๆคาดไม่ถึง



ศีลไม่ต้องไปขอใคร รู้ว่าศีลมีอะไรบ้างก็ให้มีความละอาย ให้เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งจิตใจ อยู่ที่ตนเอง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทวดาหน้าไหน



มณี ปัทมะ ตารา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ลุงสุชาติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ค.2005, 2:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อมีวิญญาณปฏิสนธิมาอาศัยอยู่ในรูป (มหาภูตรูป=ดิน น้ำลมไฟ ธาตุ ๖) จึงเกิดนามรูป คือ ขันธ์ ๕ ขึ้น เป็นรูปขันธ์ ๑ และนามขันธ์ ๔ ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

กิเลสตัณหาที่เกิดจากการปรุงแต่ง (บุญญาภิสังขาร) เกิดจากการติดต่อระหว่างอายตนะภายใน และภายนอกทั้ง ๖ ทำให้เกิดเวทนาคืออารมณ์มีทั้งอารมณ์ยินดีพอใจ หนือ อิฏฐารมณ์ อารมณ์ไม่ยินดีไม่พอใจ หรืออนิษฐารมณ์ ได้แก่ความโทสะ พยาบาท เมื่อไม่ได้สิ่งหนึ่งใดปรารถนามาไว้ครอบครอง และความโศกเศร้าที่ต้องพลัดพราก หรือ สูญเสียสิ่งที่ตนรักและครอบครองไว้ จึงทำให้กิเลสตัณหาเล่านี้เข้าไปอาศัยอยู่ในขันธ์ ๕ ทำให้เกิดเป็นอุปทานขันธ์ ยึดติดอยู่ภพ ชาติ ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏไม่มีที่สิ้นสุด หากจะต้องการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ก็จะต้องกำจัดกิเลสตัณหาที่อาศัยอยู่ในขันธ์ ๕ ให้หมดสิ้น ขันธ์ ๕ จึงจะหลุดพ้นจากสังสารวัฏ บรรลุนิพพาน ดังที่พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงความจริงไว้ในอริยสัจจ์ ๔
 
ลุงสุชาติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ค.2005, 3:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอแก้ไขข้อความ "กิเลสตัณหาที่เกิดจากการปรุงแต่ง (บุญญาภิสังขาร)" เป็น "กิเลสตัณหาที่เกิดจากการปรุงแต่ง (อภิสังขาร)"
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง